เมษายน, 2010 | รับทำเงินเดือน เมษายน, 2010 | รับทำเงินเดือน

มาตรฐานการบัญชี

มาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงใหม่ (มาตรฐานการบัญชีปรับปรุงใหม่ ปี 2549 และ 2550 จนถึงปัจจุบัน ที่มีผลบังคับใช้แล้ว)  ประกาศเหล่านี้จัดเก็บในรูป pdf ไฟล์ สามารถคลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด

ประการสภาวิชาชีพบัญชี

จดทะเบียนธุรกิจแบบไหนดีกว่า

รูปแบบธุรกิจ

1. บุคคลธรรมดา บุคคลทั่วไปที่มีชีวิตอยู่ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา15)

2. คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อการทำกิจการร่วมกัน โดยไม่มีวัตถุประสงค์แบ่งปันกำไรที่ ได้จากกิจการที่ทำ (หน่วยภาษีตามมาตรา 56แห่งประมวลรัษฎากร)

3. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อการทำกิจการร่วมกันโดยมีวัตถุ ประสงค์แบ่งปันกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำ (หน่วยภาษีตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร)

4. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน นิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน โดยหุ้นส่วน ทุกคนไม่จำกัดความรับผิดและต้องจดทะเบียน เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์

5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน หุ้นส่วนมีทั้งที่จำกัดความรับผิดและ ไม่จำกัดความ รับผิดและต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

6. บริษัทจำกัด บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นรับผิดในหนี้ต่าง ๆ ไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนลงทุน และต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

7. บริษัทมหาชนจำกัด บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยความ ประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนให้ผู้ถือหุ้นมีความรับผิด จำกัด ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ (มาตรา 15 พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด)

8. กิจการร่วมค้า กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางการ ค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและ/หรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดาคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น

– เป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (มาตรา 39)

9. นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

10. กิจการที่ดำเนินการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ เป็นกิจการของรัฐบาลต่างประเทศหรือ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

– เป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (มาตรา 39)

11. มูลนิธิหรือสมาคม เป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรและมี หน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่จะได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลถ้าเป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังประกาศให้เป็นองค์การสาธารณะ กุศล

 

ผมมักจะได้รับคำถามว่า ควรจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด อย่างไหนดีกว่ากัน ก่อนที่จะมาดูข้อสรุป เรามาดูว่าแต่ละแบบ มีรูปแบบหรือลักษณะเป็นอย่างไรกันดีกว่า

ข้อ 1,2 และ 3 บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา ที่เหลือข้อ 4 ถึง 11 มีสภาพเป็นนิติบุคคล ที่ต้องแยกเนื่องจากมีผลต่อการเสียภาษีและการจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์

กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ก็เสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา (ภงด.90,91,94) และไม่ต้องจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์

กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องเสียภาษีแบบนิติบุคคล (ภงด.50,51) และจดทะเบียนนิติบุคคลที่กระทรวงพาณิชย์ด้วย

คณะบุคคล คือ บุคคลตั้งแต่สองคน ไม่เกินสามคน (ที่ไม่ใช่ สามี ภรรยา ซึ่งจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย) ร่วมธุรกิจกันประกอบกิจการการค้า โดยต้องทำสัญญาตกลงจัดตั้งคณะบุคคล โดยระบุวัตถุประสงค์ที่ต้องการจัดตั้งและต้องมอบหมายให้ บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการของคณะบุคคลนี้ โดยยื่นต่อกรมสรรพากร เพื่อขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กรณีประกอบกิจการซื้อมาขายไปต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ต่อสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ หรือสำนักทะเบียนพาณิชย์ของแต่ละจังหวัด กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อออกใบทะเบียนพาณิชย์

ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคล หมายถึง บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น

ที่จริงแล้ว คณะบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล มีรูปแบบเหมือนกันทุกประการ แต่ปัจจุบันสรรพากรได้คำนิยามของคณะบุคคลต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จด ทะเบียน ตรงที่ว่า คณะบุคคลไม่มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำ (หรือผู้ที่จะจดทะเบียนคณะบุคคลได้ต้องเป็นมูลนิธิ สมาคม องค์กรสาธารณะกุศล เป็นต้น)

การจดทะเบียนพาณิชย์ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ถ้าประกอบธุรกิจการซื้อมาขายไป ก็ต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์ด้วยนะครับ ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://www.kiatchai.com/archives/1102 ถ้าประกอบธุรกิจบริการ หรือเป็นนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด) ก็ไม่ต้องจด (เหตุผลก็เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์มีข้อมูลอยู่แล้ว) แต่อาจจะมีบางประเภทธุรกิจที่ยังต้องจดอยู่ ลองเข้าไปดูตาม Link ที่ให้ไว้นะครับ

ส่วนเหตุผลที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ก็ง่ายๆ เลยนะครับ ทางรัฐบาลต้องการข้อมูล เพื่อง่ายต่อการควบคุม ส่งเสริม และสนับสนุน

มาดูประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์

รัฐบาล ได้ตราพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับแรกถูกตราขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2479) โดยพิจารณาเห็นว่า สมควรจะให้มีการจดทะเบียนประกอบพาณิชยกิจ เพื่อประโยชน์การจัดทำสถิติของการประกอบพาณิชยกิจที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ซึ่งแต่เดิมมานั้นไม่อาจจะทราบได้ว่าในประเทศไทยมีการประกอบพาณิชยกิจประเภท ต่าง ๆ เป็นจำนวนเท่าใด สำนักงานแห่งใหญ่และสาขาตั้งอยู่ที่ไหน ใครเป็นเจ้าของ หุ้นส่วนหรือผู้จัดการเป็นคนไทยหรือเป็นคนต่างชาติ สัญชาติอะไร มีทุนเท่าไร และเริ่มประกอบพาณิชยกิจตั้งแต่เมื่อใด เป็นต้น

กรณีที่ไม่มีข้อมูลการประกอบพาณิชยกิจดังกล่าวจึงไม่สะดวกในการติดต่อ ค้า ขาย และเป็นการยากที่รัฐบาลจะควบคุมหรือส่งเสริมการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม ก็จะต้องทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลใหม่ทุกครั้งไป ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเวลาและงบประมาณ และยังไม่ทันความต้องการอีกด้วย

ข้อมูลที่ได้จากการทดทะเบียนพาณิชย์นอกจากจะเป็นประโยชน์สำหรับรัฐบาลใน การส่งเสริมการพาณิชย์และอุสาหกรรมแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบพาณิชยกิจในการใช้เป็นหลักฐานในทางการค้าและ เป็นศูนย์ข้อมูลกลางซึ่งพ่อค้าและประชาชนโดยทั่วไปสามารถใช้เป็นแหล่งในการ ตรวจดูรายละเอียดข้อมูลทางการค้าต่าง ๆ และขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่คัดสำเนา และรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐาน ได้อีกด้วย

ห้างหุ้นส่วน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญ
คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้น ส่วนไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" โครงสร้างห้างหุ้นส่วนสามัญ
1. มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
2. มีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว คือ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดชอบ โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวง ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน
3. ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้
4. จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนเรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล"

ห้างหุ้นส่วนจำกัด
คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้คือ
1. หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
2. หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน โครงสร้างห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
2. ผู้เป็นหุ้นส่วนมี 2 จำพวก คือ
2.1 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบ รับผิดเฉพาะจำนวนเงินที่รับว่าจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วน
2.2 หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความผิดชอบ รับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
3. ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
4. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การดำเนินการจัด ตั้งห้างหุ้นส่วน
เมื่อมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงใจที่จะเข้าร่วมลงทุนประกอบกิจการเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประเภทใด ประเภทหนึ่งดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องเป็นผู้มีหน้าที่ ดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
กรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด กฎหมายกำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จะเป็นได้เฉพาะแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น

บริษัทจำกัด
คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ มูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

โครงสร้างของ "บริษัทจำกัด"
1. ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 3 คน
2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
3. มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
4. ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
5. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การดำเนินการจัดตั้ง บริษัทจำกัด ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วไปจดทะเบียน
2. เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้นมีผู้ เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
3. ดำเนินการประชุมตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
4. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
5. กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อย ละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งเป็นกี่หุ้นก็ได้แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
6. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน ภายหลังจากการประชุมตั้งบริษัท
7. ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนตั้งบริษัทไปพร้อมกันภาย ในวันเดียวก็ได้
7.1 จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
7.2 ประชุมจัดตั้งบริษัท  เพื่อพิจารณากิจการต่างๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม และผู้เริ่มก่อการ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคน ให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น
7.3 ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการบริษัท
7.4 กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ใช้เงินค่าหุ้น โดยจะเรียกครั้งเดียวเต็มมูลค่าหรือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามมาตรา 1110 วรรคสองก็ได้  และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนได้ชำระเงินค่าหุ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว

บท สรุป

เมื่อดูหลักการกันแล้วจะเห็นว่า ถ้ารายได้ไม่มาก การประกอบธุรกิจในแบบบุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน น่าจะดีกว่าเพราะขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องจัดทำบัญชี ไม่ต้องไปจดทะเบียนนิติบุคคลที่กระทรวงพาณิชย์ แต่ถ้ามีรายได้มาก และค่าใช้จ่ายก็มากตามด้วย การเสียภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายเหมาในแบบบุคคลธรรมดาอาจจะดูน้อยไปสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และการจดทะเบียนนิติบุคคล ดูจะน่าเชื่อถือกว่า (หรือบางทีก็เป็นเงื่อนไขในการทำธุรกิจ) เมื่อธุรกิจมีขนาดใหญ่ขึ้น การจดทะเบียนนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริจำกัด) ก็เป็นเรื่องที่เหมาะสมมากกว่าในการทำธุรกิจ

ปัญหาการรับงบการเงินของกระทรวงพาณิชย์

ฉบับที่ กธ.3/วันที่ 5 มีนาคม 2553
เรื่อง ปัญหาการรับงบการเงิน

สำนักบริการข้อมูลธุรกิจได้รวบรวมปัญหา เกี่ยวกับการรับงบการเงินในแต่ละปีที่ผ่านมาเพื่อเผยแพร่ให้นิติบุคคลที่มี หน้าที่ส่งงบการเงินได้ทราบทั่วกัน เพื่อให้สามารถ จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ครบถ้วนถูกต้องสามารถนำส่งงบการเงินได้ อย่างสะดวกรวดเร็วประหยัดเวลา ดังนี้

1. ประชาสัมพันธ์ เรื่องการกรอกแบบ ส.บช.3 ขอความร่วมมือให้นิติบุคคลดาวน์โหลด แบบฟอร์ม จาก www. dbd.go.th หรือ www.google.co.th เนื่องจากสามารถพิมพ์รายละเอียดในแบบ ฟอร์มได้ ไม่ควรพริ้นท์แบบฟอร์มเปล่าออกมาเขียนด้วย หมึกเพราะผู้บันทึกข้อมูลงบการเงินอาจอ่านเลขทะเบียนนิติบุคคลผิดพลาด ได้ จะกลายเป็นนิติบุคคลอื่นได้ส่งงบการเงินแทน

2. สำหรับงบการเงินของนิติบุคคลที่มี รอบปีบัญชี 31 ธันวาคม 2552 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนิติบุคคลต่างประเทศและกิจการร่วม ค้า ต้องส่งงบการเงินภายใน 5 เดือนนับแต่วันสิ้นงวด คือต้องไม่เกิน 31 พฤษภาคม 2553 เท่านั้น และกรณีเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนต้องนำงบการเงินเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญ ประจำปีภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นงวด คือไม่เกินวันที่ 30 เมษายน 2553 และต้องส่งงบการเงินภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ประชุมฯ ขอความร่วมมือนิติบุคคลให้รีบนำส่งเสียแต่เนินๆ หากไปส่งในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน พฤษภาคม 2553 อาจ ไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร

3. หากต้องการให้นายทะเบียนรับรองเอกสาร สำเนางบการเงินหรือสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ขอ ความร่วมมือให้รีบส่งก่อนสิ้นระยะเวลาการส่งงบการเงิน เพราะ หากส่งในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม อาจไม่ ได้รับความสะดวก

4. ขอความร่วมมือผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีฯ ให้แจ้งรายชื่อธุรกิจต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนที่จะนำส่งงบการเงิน

5. ก่อนส่งงบการเงินควรตรวจสอบรอบปีบัญชีใน แบบ ส.บช.3 หน้ารายงานผู้สอบบัญชี และ ในงบการเงินควรต้องสอดคล้องเป็นรอบปีบัญชีเดียวกัน

6. วันที่ลงลายมือชื่อของผู้สอบบัญชีฯ ในหน้ารายงานผู้สอบบัญชีฯ ต้องเป็นวันที่ก่อนวันที่ ประชุมอนุมัติงบการเงิน เนื่องจากงบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีฯ ก่อนนำเสนอให้ที่ประชุมใหญ่ฯ อนุมัติงบดุล

7. การลงลายมือชื่อในงบการเงินให้ผู้มี อำนาจหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในแบบ ส.บช.3 , งบดุลและงบกำไรขาดทุน ตามอำนาจที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วน เอกสารอื่นนอกจากนี้ให้ผู้มีอำนาจหนึ่งคนลงลายมือชื่อได้

8. ขอความร่วมมือผู้ทำบัญชีอย่าลืมลงลายมือ ชื่อในแบบ ส.บช.3 เพราะในแต่ละปีมีงบการเงินที่ผู้ ทำบัญชีไม่ได้ลงลายมือชื่อในแบบ ส.บช.3 เป็นจำนวนมาก

9. งบการเงินของนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิก หรือเสร็จการชำระบัญชีก่อนสิ้นรอบปีบัญชีในรอบปีนั้นๆ ไม่ ต้องส่งงบการเงินประจำปี งบการเงิน ณ วันเลิกเป็นเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเท่านั้น

10. งบ การเงินของบริษัทที่ถูกขีดชื่อเป็นบริษัทร้างแล้วไม่ต้องส่งงบการเงินจนกว่า จะได้ร้องขอคืนสภาพนิติบุคคลต่อศาล และศาลได้สั่งให้คืนสภาพนิติบุคคลแล้ว

11. นิติบุคคล ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลสั่งล้มละลายไม่ต้องส่งงบการเงิน แต่หากมีความประสงค์จะส่งจะต้องนำส่งงบการเงินโดยเจ้า พนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิใช่กรรมการผู้มีอำนาจอีกต่อไป

12. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ส่งพร้อมงบการเงินต้องเป็นสำเนาบัญชีรายชื่อ ผู้ถือหุ้นที่รับรองจากการประชุมสามัญประจำปีเท่านั้น ถ้าเป็นการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นหรือเป็นการคัดลอกจาก สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ให้จัดทำหนังสือแยกส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่างหาก

สำนักกำกับดูแลธุรกิจ
DBD E-Newslet