เมษายน, 2010 | รับทำเงินเดือน - Part 2 เมษายน, 2010 | รับทำเงินเดือน - Part 2

การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการถึงแก่กรรม

เรื่อง การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการ ถึงแก่กรรม
                  เมื่อหุ้นส่วนของห้างถึงแก่กรรม ห้างหุ้นส่วนย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 1055(5) และ มาตรา 1080 แต่หุ้นส่วนที่ยังคงอยู่อาจตกลงให้ห้างยังคงอยู่
ต่อไป โดยรับทายาทของหุ้นส่วนที่ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนได้ (ตามนัยคำ พิพากษาฎีกา
ที่ 3196/2532)
                  ในการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการเดิมถึงแก่กรรม จะถือว่า
มีการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการก็ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนทำสัญญา หรือมีมติที่ประชุมของ
ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนตกลงกันให้เปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมของห้างหุ้นส่วนตาม มาตรา 1032 ให้
เปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการโดยให้หุ้นส่วนผู้จัดการเดิมที่ถึงแก่กรรม พ้นจากตำแหน่งและตั้ง
หุ้นส่วนผู้จัดการใหม่ ดังนั้น ห้างหุ้นส่วนจึงต้องนำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้
เป็นหุ้นส่วนทุกคนทำสัญญาหรือมีมติที่ประชุมของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนตกลงกัน ให้เปลี่ยนแปลง
หุ้นส่วนผู้จัดการ

สำนักทะเบียนธุรกิจ
18 มกราคม 2553

ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านทะเบียนธุรกิจ
สำนักทะเบียนธุรกิจ
DBD E-Newsletter

ความหมายของคำว่า คัดจากสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น

ความหมายของคำว่า"คัดจากสมุดทะเบียน ผู้ถือหุ้น"ในแบบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น(แบบ บอจ.5)

ความหมาย ของคำว่า "คัดจากสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น" ในแบบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ. 5 )
การกรอกรายละเอียดในแบบ สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5) ให้ปฏิบัติตาม
ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน และบริษัท พ.ศ. 2549 ข้อ 55
แก้ไขโดยระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้าง หุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ.2549
แก้ไขเพิ่มเติม(ครั้งที่ 1) พ.ศ.2551 ข้อ 10 คือ การนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนอกจากวันประชุมสามัญ
ประจำปี หากผู้ยื่นไม่ได้ระบุวันประชุมสามัญประจำปีหรือวิสามัญก็ให้รับไว้ โดยให้ระบุว่า "ได้คัดลอก
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นจากสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อวัน เดือน ปีใดแทน)
สำนักทะเบียนธุรกิจ
25 มกราคม 2553

ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านทะเบียนธุรกิจ
สำนักทะเบียนธุรกิจ
DBD E-Newsletter

การเสียภาษีอากรของคณะบุคคล

เลข ที่หนังสือ : กค 0706/10581

วัน ที่ : 19 ตุลาคม 2550

เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการมีเงินได้และการเสียภาษีอากรของคณะบุคคล

ข้อ กฎหมาย : มาตรา 56 และมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ

          สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ทำการตรวจสภาพกิจการของคณะบุคคล พบว่า มีการจัดตั้งคณะบุคคลจำนวนหกคณะ มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกัน ประกอบกิจการประเภทเดียวกัน และมีผู้จัดการคณะบุคคลคนเดียวกัน ซึ่งจากการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน คณะบุคคลฯ ทั้งหกคณะประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง โดยมีนาย จ. เป็นผู้จัดการคณะบุคคล เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 ได้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับบริษัท ก. จำกัด (ผู้ว่าจ้าง) ฝ่ายหนึ่ง และคณะบุคคลฯ ทั้งหกคณะ โดยนาย จ. (ผู้จัดการ) (ผู้รับจ้าง) อีกฝ่ายหนึ่ง โดยรับจ้างทำงานก่อสร้าง (ทั้งวัสดุและค่าแรง) เพื่อก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 3 ชั้นครึ่ง จำนวน 10 หน่วย ในโครงการอาคารพาณิชย์ เป็นค่าจ้างจำนวน 9,500,000 บาท โดยถือราคาเหมารวม และกำหนดจ่ายเงินค่าจ้างตามผลการทำงานแล้วเสร็จและได้ตรวจรับแล้วเป็นงวด จำนวน 10 งวด นอกจากนี้คู่สัญญาได้กำหนดรายละเอียดเบิกเงินงวด งานตามคณะบุคคล ซึ่งไม่สอดคล้องกับงวดงานที่ทำเสร็จ เนื่องจากพบกรณีการแบ่งจ่ายเงินค่าจ้างของงวดงานที่ทำแล้วเสร็จ โดยมิให้คณะบุคคลใดมีเงินได้เกินมูลค่าฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม คือไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี เพื่อให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

แนววินิจฉัย

          การจัดตั้งคณะบุคคลจำนวนหกคณะ โดยมีนาย จ. เป็นผู้จัดการคณะบุคคลทั้งหกคณะเพื่อเข้าทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับบริษัท ก. จำกัด ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 3 ชั้นครึ่ง จำนวน 10 หน่วย มูลค่างานเป็นเงิน 9,500,000 บาท โดยทำสัญญาฉบับเดียวกันและมีผู้ว่าจ้างรายเดียวกันเป็นกรณีที่คณะบุคคลทั้ง หกคณะมีเจตนาร่วมกันในการก่อสร้างอาคารดังกล่าว เข้าลักษณะบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำกิจการร่วมกัน คณะบุคคลทั้งหกคณะ ดังกล่าวจึงมีลักษณะประกอบกิจการร่วมกันเป็นคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคล แม้ว่าในรายละเอียดการเบิกเงินตามเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างจะมี การระบุรายละเอียดงานและจำนวนเงินงวดตามคณะบุคคล แต่สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างเป็นสัญญาที่ตกลงจ้างคณะบุคคลทั้งหกคณะ มิได้กำหนดว่าจ้างเป็นรายคณะบุคคลและการดำเนินการก่อสร้างก็ไม่อาจแบ่งแยก เนื้องานได้อย่างชัดเจนประกอบกับข้อสัญญาในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระบุการ จ่ายค่าจ้างเป็นรายงวดของงานที่ทำเสร็จให้แก่ผู้รับจ้างคิดเป็นมูลค่ารวมมิ ได้แบ่งแยกแต่อย่างใด

          ดังนั้น คณะบุคคลทั้งหกคณะดังกล่าวจึงต้องเสียภาษีเงินได้ในนามคณะบุคคลเพียงคณะ เดียวหรือในนามห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และเนื่องจากการรับเหมาก่อสร้างดังกล่าวเป็นการให้บริการที่มีมูลค่าของฐาน ภาษีเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลดังกล่าวจึงต้องเสียภาษี มูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 และมาตรา 82 แห่งประมวลรัษฎากร

ที่มา..กรมสรรพากร

space