ผมได้รับคำถามเกี่ยวกับเรื่องของนิติบุคคลอาคารชุดอยู่หลายครั้งเหมือนกัน เราลองมาดูข้อกฎหมายกันนะครับ
เนื่องจากนิติบุคคลอาคารชุดไม่ใช่นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
เราจะเห็นได้ว่านิติบุคคลอาคารชุด ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งในทางการค้าเพื่อหากำไร จึงไม่อยู่ในบังคับให้ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงิน และไม่ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีเซ็นต์รับรองงบการเงิน
การเก็บเงินจากสมาชิกของนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง ลองมาคิดดูนะครับ ถ้านิติบุคคลอาคารชุดต้องเสียภาษีหรือต้องจ่าย VAT เค้าก็ต้องมาเก็บเงินเพิ่มกับสมาชิกอยู่ดี ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องครับ
นิติบุคคลอาคารชุด อาจจัดให้มีการทำบัญชีหรือจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ เพื่อความโปร่งใสในการทำงานเพื่อให้คณะกรรมการและสมาชิกสามารถตรวจสอบได้
เมื่อนิติบุคคลไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย แต่ถ้าหากนิติบุคคลเป็นผู้จ่ายเงินได้ ยังคงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งนะครับ เช่น จ่ายเงินเดือน จ่ายค่ายาม ฯลฯ
อ้างอิงคำวินิจฉัยของสรรพากร
กิจการที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เลขที่: :
401537
เรื่อง: :
นิติบุคคลอาคารชุดไม่เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำถาม: :
นิติบุคคลอาคารชุดต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
คำตอบ: :
นิติบุคคลอาคารชุดไม่เป็นนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 33/2540ฯ นิติบุคคลอาคารชุดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ซึ่งกระทำการเฉพาะตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องนำเงินกองทุน ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าสาธารณูปโภคที่เป็นค่าไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ หรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นที่เรียกเก็บจากเจ้าของห้องชุดมารวมคำนวณ เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. นิติบุคคลอาคารชุดต้องกระทำกิจการเฉพาะเพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วน กลางหรือกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายว่าด้วยอาคารชุดกำหนดไว้
2. นิติบุคคลอาคารชุดต้องไม่กระทำกิจการใดนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายว่าด้วยอาคารชุดกำหนด
3. นิติบุคคลอาคารชุดต้องไม่ขายสินค้าหรือให้บริการใดกับบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่เจ้าของห้องชุดนั้น
4. กิจการตามวัตถุประสงค์ ตาม 1. ต้องเป็นกิจการซึ่งตามปกติวิสัยในการจัดการดูแลรักษาอาคารชุดเป็นกิจการที่จำเป็นและสมควร
ในเมื่อนิติบุคคลอาคารชุด เป็นนิติบุคคลฯที่ไม่ไดมีวัตถุประสงค์เพื่อกำไรอยู่แล้ว และไม่ได้เป็นผู้ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้นอยากสอบถามว่าหากมีการจ่าย ค่าบริการต่างๆ ออกไป จำเป็นไหม ต้องจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายของ ผู้ให้บริการแก่คอนโด ถ้าหากไม่หัก จะมีความผิดไหม และผิดกฎหมายข้อไหนคะ
สอบถาครับ เป็นเสมียร นิติคอนโด ได้รับเงินเดือนจากผู้จัดการนิติของคอนโด เป็นเงินสดบ้าง โอนเข้า บช บ้าง แต่ไม่มีหักภาษี ณ.ที่จ่าย จะยื่นภาษี ภงด91 ก็ต้องใส่เลขที่ผู้หักภาษี แต่ นิติไม่มีเลขที่ผู้หักภาษี ทำให้เรายื่นภาษีไม่ได้ คำถามคือ เราต้องทำอย่างไรครับ หรือ ไม่ต้องยื่นภาษี ทำงานตามปกติ ครับ
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นค่ะ ในฐานนะที่เป็นนักบัญชี พอจะทราบหลักการหัก ภาษีอยู่บ้างค่ะ
จากคำถามของความเห็นของคุณ อภิษฐา แยกออกเป็น 2 กรณี
กรณีที่ 1 คือ ถ้านิติบุคคลจ่ายค่าใช้จ่าย แล้วต้องหัก ณ ที่จ่ายด้วยหรอคะ แล้วจะเอาไปใช้ตอนไหนคะ
ขอตอบว่า ต้องหัก ณ ที่จ่ายค่ะ เพราะ เงินที่เราหัก ไว้เป็นเงินของฝั่งตรงข้ามค่ะ แล้วพอหัก ไว้แล้วก็นำไปส่งให้สรรพากรค่ะ ไม่ใช่เงินคอนโดค่ะ เหมือนทำหน้าที่แทนสรรพากรเฉยๆค่ะ
กรณีที่ 2 คือ กรณีจ่ายค่าเบี้ยประกัน บางครั้งก็หัก บางครั้งก็ไม่หัก
ขอตอบว่า การจ่ายค่าเบี้ยประกัน ปกติแล้วต้องหัก ณ ที่จ่าย 1 % สำหรับค่าเบี้ยประกันวินาศภัย ประกันสุขภาพค่ะ
แต่ถ้าเป็นประกันสุขภาพพ่วงประกันชีวิต ไม่ต้องหักค่ะ ข้อหารือ สรรพากร ตามลิงค์แนบค่ะ http://interapp3.rd.go.th/call_center_inter/show/faq1.php?id=401746&caption=6.%20%C0%D2%C9%D5%CB%D1%A1%20%B3%20%B7%D5%E8%A8%E8%D2%C2
ถ้านิติบุคคลอาคารชุดเป็นผู้จ่ายเงินได้ ยังคงต้องมีหน้าหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือคะ แล้วเขาจะเอาไปใช้ได้ไงคะ ในเมื่อเขาไม่ได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ยกตัวอย่าง ค่าเบี้ยประกันวินาศภัยค่ะ
เป็นปัญหากันมากเลยว่าเวลาเขาจ่ายเงินให้บริษัทประกันภัย ต้องหักภาษี ไว้หรือไม่ เพราะธรรมเนียมปฏิบัติเขาหักกันอยู่ค่ะ
แต่บางที่เขาก็ไม่ได้หักมา อย่างนี้ต้องทำไงคะ
อยากทราบว่า ถ้านิติบุคคลอาคารชุดนั้น ได้มีการขายทรัพย์สินออกไป
จะต้องยื่น Vat เหมือนกิจการปกติทั่วไปหรือไม่ค่ะ หรือว่าได้รับยกเว้น
ขอบคุณค่ะ
ตอบคุณกมลชนก
สามารถทำได้ครับ แต่ปกติแล้วไม่ค่อยมีใครทำกัน อีกอย่างปกติงานสอบบัญชีตามมาตรฐานเค้าตรวจเป็นปีๆ ครับ ราคาค่าทำงบ 2 ปี กับทำแยกทีละปี ไม่แตกต่างกันครับ
พอดีมีเพื่อนเป็นกรรมการอาคารชุด
เค้ารับตำแหน่งตั้งแต่กรกฏาคม 52
ยังไม่เคยปิดบัญชี หรือมีการประชุมเลย
ตอนนี้เพื่อนจะจัดประชุมเพื่อเลือกกรรมการชุดใหม่
จึงจะทำการปิดงบรายรับ/จ่ายให้ที่ประชุมรับทราบ
อยากทราบว่าถ้าจะปิดทีเดียว ณ สิ้นสุด 31 ธ.ค.54
และให้ผู้สอบบัญชีเซ็นรับรอง จะสามารถทำได้หรือไม่คะ
(ทำเป็นเล่มเดียว ไม่แยกรายปี)
ขอบพระคุณค่ะ