เมษายน, 2010 | รับทำเงินเดือน - Part 3 เมษายน, 2010 | รับทำเงินเดือน - Part 3

คณะบุคคล ช่องทางเลี่ยงภาษีจริงหรือ

ข่าวสรรพากรใล่บี้ภาษีจากผู้ที่เสียภาษีในรูป "คณะบุคคล" ซึ่งกรมสรรพากรถือว่าบุคคลพวกนี้อาจอยู่ในข่ายเลี่ยงภาษี ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่ทางกรมสรรพากรตั้งขึ้นมาก่อน เพื่อในการเป็นข้ออ้างในการตรวจสอบ

กรมสรรพากร ได้ เคยแถลงข่าวใว้ว่า  ได้ตรวจสอบพบว่า ปัจจุบันได้มีการหลีกเลี่ยงภาษี หรือฉ้อโกงภาษี มีการจัดตั้ง คณะบุคคลเป็นเท็จ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สร้างรายจ่ายเท็จ เช่น รายจ่ายค่าขนส่ง ค่านายหน้า ค่าที่ปรึกษา ค่าจ้างทำของ ฯลฯ เพื่อให้มีกำไรสุทธิน้อยลง หรือมีผลขาดทุนสุทธิ ทำให้เสียภาษีน้อยลงหรือ ไม่ต้องเสียภาษี หรือมีการขอคืนภาษี โดยวิธีการจัดตั้งคณะบุคคลเป็นเท็จ และสร้างหลักฐานว่ามีการจ่าย ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้แก่คณะบุคคล ซึ่งกรมสรรพากรได้ตรวจสอบแล้ว ก็จะพบว่า ผู้มีชื่อร่วมเป็นคณะบุคคล ไม่มีส่วนรู้เห็นในการจัดตั้งคณะบุคคล หรือมิได้มีการประกอบกิจการร่วมกันในฐานะคณะบุคคล แต่อย่างใด รวมถึง ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้จำนวนมาก หลีกเลี่ยงภาษีโดยวิธีจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมา หลาย ๆ คณะ โดยแต่ละคณะบุคคลจะมีชื่อของผู้มีเงินได้อยู่ในทุกคณะบุคคล แต่ชื่อผู้ร่วมจัดตั้งคณะบุคคล จะเปลี่ยนไป เพื่อเกิดเป็นคณะบุคคลใหม่ ทั้งนี ้ เพื่อเป็นการกระจายฐานเงินได้ของผู้มีเงินได้ที่แท้จริง ทำให้ เสียภาษีในอัตราต่า

   ตาม มาตรา 1012 แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ " อันสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน ด้ววัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น "

        มาตรา 1013 แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งประเภทของห้างหุ่นส่วนออกเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด  ( จดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์ )

       สำหรับ คณะบุคคล ( การร่วมกันทำกิจการของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์แบ่งเป็นผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการที่กระทำ ร่วมกันดังกล่าว ) นั้นไม่มีสถานภาพบุคคลตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ในบทบัญญัติของประมวลรัษฏากร ถือให้เป็นหน่วยภาษีที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับ ห้างหุ้นส่วนสามัญ

นอกจาก “คณะบุคคล” จะมีหน้าที่เสียภาษีเสมือนหนึ่งเป็นบุคคลที่แยกออกจากบุคคลธรรมดาทั่วไปแล้ว เมื่อประกอบธุรกิจมีผลกำไร ในแต่ละปี แล้วนำกำไรของคณะบุคคลมาแบ่งให้กับบุคคลที่อยู่ในคณะบุคคล ส่วนแบ่งกำไร ดังกล่าวก็ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (14) เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลที่อยู่ในคณะบุคคลไม่ต้องนำเงินได้ที่ได้รับจากการแบ่งกำไรจากคณะบุคคล ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
“(14) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม”

การคำนวณหัก ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน คณะบุคคลมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ พึงประเมินประเภทต่างๆ ที่ได้รับเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา แต่สำหรับการหักค่าลดหย่อนคณะบุคคลสามารถหักค่าลดหย่อนตามจำนวนบุคคลที่เป็น บุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนซึ่ง  เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยได้คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เท่านั้น คณะบุคคลจะหักลดหย่อนประเภทอื่นๆ เช่นการหัก ลดหย่อนคู่สมรส การหักลดหย่อนบุตร การหัก ลดหย่อนเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต การหักลดหย่อนเงินที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย ดังเช่นที่บุคคลธรรมดามีสิทธิไม่ได้

     การเสียภาษีของคณะบุคคล การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้พึงประเมินภายหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว (หรือเงินได้สุทธิ) คณะบุคคลจะต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate)

    อ่านไปอ่านมาจึงเกิดข้อสงสัยว่ามันจะแตกต่างกันตรงใหนกับการเสียภาษีของ บุคคลธรรมดา หรืออาจจะคิดไปว่าถ้าหากเปรียบเที่ยบไปจะประหยัดสักเท่าไรกัน

ประเด็นที่ยกให้เห็นจะเป็นข้อแตกต่างจาก บุคคลธรรมดาก็คือ การแตกออกมาเป็นหน่วยหนึ่งของการเสียภาษี หมายถึงแยกออกมา ก็หมายความว่าขยายฐานภาษออกมาให้กว้างขึ้น จากที่อาจจะเสียในอัตราสูงสุด 37% พอขยายฐานออกมา รายได้ก็ลดลงกลายเป็นเสียในอัตรา 10% ( ซึ่งจริงๆแล้วกรมสรรพากรก็รู้อยู่แก่ใจแต่จะทำไรได้ครับเมื่อมันมีช่องทาง ให้ผู้มีอันจะกินหลบออกไป  )

อีกหนึ่งประเด็นที่เห็นได้ชัดเจนว่า เมื่อประกอบธุรกิจมีผลกำไร ในแต่ละปี แล้วนำกำไรของคณะบุคคลมาแบ่งให้กับบุคคลที่อยู่ในคณะบุคคล ส่วนแบ่งกำไร ดังกล่าวก็ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (14) เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้  ( ประเด็นนี้ก็ได้อีกต่อหนึ่งเหมือนกันนะครับ )

เพราะฉนั้นพวกวิชาชีพต่างๆ เช่น นักแสดง วิศวะ กฏหมาย แพทย์ บัญชี หรือกระทั้งพ่อค้า หัวใสต่างๆหรือที่ไม่หัวใสแต่มีที่ปรึกษาด้านการบริหารภาษีทีดี ส่วนใหญ่หันไปพึงพา จดเป็นคณะบุคคลเป็นว่าเล่น ไม่นับรวมเอาญาติพี่น้องมาจดร่วมกันหรือว่าเพื่อนฝูงโดนจดร่วมกันทั้งที่ไม่ รู้และก็รู้  คนๆหนึ่งมีไม่ต่ำกว่าหนึ่ง คณะบุคคล

  ถ้ากรมสรรพากรจะจริงจังในการตรวจสอบการเสียภาษีของ คณะบุคคล เห็นทีจะต้องไปแก้กฎหมายเสียใหม่ก่อนนะครับ เพราะว่ามันเป็นชอ่งทางให้คนเขาเดินออกจริงๆ ถ้าปิดได้ก็คงจะดี

" คณะบุคคล " จะเป็นช่องทางที่หลบเลี่ยงภาษีหรือไม่ ลองพิจารณาดูเอาเองครับ เพราะเมือ่มี "คณะบุคคล" ขึ้นมาแล้ว เสียภาษีน้อยกว่าปกติ ครับ

การจดคณะบุคคล และภาระภาษี

คณะบุคคล… อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม

การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดหน่วยภาษีที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาไว้จำนวน 4 หน่วย อันได้แก่ บุคคลธรรมดาผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งในการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่ นิติบุคคล จะช่วยให้กิจการมีเงินลงทุนมากขึ้น และในแง่ของการตัดสินใจจะรอบคอบมากกว่าการดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา คนเดียว เพราะมีการร่วมกันตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน รวมทั้งจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน หนี้สินนั้นอีกด้วย เรื่องจากปกฉบับนี้จึงได้นำเสนอภาระหน้าที่การเสียภาษีของคณะบุคคลและแนวคำ วินิจฉัยที่น่าสนใจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างรอบด้านในการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง

ภาระภาษี

1. ความหมายของ “คณะบุคคล” ในทางทฤษฎีภาษีอากร จะพบว่าประมวลรัษฎากรมิได้ให้คำนิยามของคำว่าคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคลไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น จึงต้องใช้ความหมายโดยเทียบเคียงจากคำว่าห้างหุ้นส่วนสามัญตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่วางหลักไว้ว่าห้าง หุ้นส่วน คือ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น เมื่อคณะบุคคลเป็นหน่วยภาษีที่กำหนดขึ้นตามประมวลรัษฎากรเพื่อให้ครอบคลุม การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงอาจให้คำนิยามได้ว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล” หมายถึง บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น ส่วน “คณะบุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคน ขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน แต่ไม่มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำนั้น
อย่างไรก็ ดี ในทางปฏิบัติมักจะพบว่า การให้ความหมายคำว่าห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล และคำว่าคณะบุคคล จะมีทิศทางที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยมิได้แยกความแตกต่างกันที่วัตถุ ประสงค์การแบ่งปันกำไรดังได้กล่าวข้างต้น ซึ่งการให้ความหมายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันดังกล่าวก็มิได้ทำให้ผล ของการชำระภาษีเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใด เพราะไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือจะเป็นคณะบุคคลก็จะมีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกัน และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเงินได้ที่ได้รับ ก็จะเป็นเลขเดียวกัน
ปัญหา บางประการเกี่ยวกับคณะบุคคลที่ควรได้ทำความเข้าใจคือ การรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งคณะบุคคลมีข้อจำกัดหรือไม่ ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอดังนี้
ก. นิติบุคคลสามารถร่วมกับบุคคลธรรมดาจัดตั้งคณะบุคคลได้หรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่า การจัดตั้งคณะบุคคลจะต้องเป็นการรวมตัวกันระหว่างบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป นิติบุคคลไม่อาจมาจัดตั้งคณะบุคคลร่วมกับบุคคลธรรมดาได้ เนื่องจากหากมีนิติบุคคลมาร่วมจัดตั้งด้วยแล้ว ฐานะของการร่วมทุนจะเปลี่ยนไปเป็นกิจการร่วมค้าทันที
ข. สามีภริยาจะร่วมกันจัดตั้งเป็นคณะบุคคลได้หรือไม่ ในประเด็นนี้ผู้เขียนเห็นว่า ตามมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ถือว่าเงินได้ของภริยาให้เป็นเงินได้ของสามีในกรณีที่ความเป็นสามี ภริยามีอยู่ตลอดปีภาษีดังนั้น สามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจจัดตั้งเป็นคณะบุคคลได้โดยปริยาย แต่อย่างไรก็ดี หากเป็นการจัดตั้งคณะบุคคลที่ประกอบด้วยสามี ภริยา และบุตร แล้วก็ไม่ถือว่ากรณีมีข้อจำกัดแต่ประการใด

2. การขอมีเลข ประจำตัวผู้เสียภาษีอากร คณะบุคคลจะต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้พึงประเมินโดยใช้แบบ ล.ป.10.2 ยื่นต่อสำนักงานสรรพากรดังนี้
ก. ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ที่ผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาอยู่
ข. ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ที่ผู้ยื่นคำร้องมี ภูมิลำเนาอยู่กรณีผู้เสียภาษีอากรที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่สะดวกที่จะยื่นคำร้อง ณ สถานที่ ดังกล่าวข้างต้น จะยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่งในท้องที่ของจังหวัดที่มีภูมิ ลำเนาอยู่หรือ จะยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานครก็ได้
ทั้งนี้ คณะบุคคลจะต้องแนบเอกสารดัง ต่อไปนี้ไปพร้อมกับแบบคำร้องการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทคณะ บุคคล (แนบพร้อมกับแบบ ล.ป.10.2)
ก. กรณีขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจจัดการและผู้ร่วมคณะทุกคน
(2) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของที่ตั้งสถานประกอบการ
(3) ภาพถ่ายสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงในการจัดตั้งคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ (ถ้ามี)
ข. กรณีขอแก้ไขรายละเอียดผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ของคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ฉบับเดิม
ค. กรณีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรชำรุดหรือสูญหาย ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน/ ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจจัดการ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม (ถ้ามี)
ง. กรณีขอคืนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหนังสือที่แสดงว่าคณะบุคคลเลิกประกอบกิจการ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่คืน

3. การคำนวณภาษีเงินได้ คณะบุคคลมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียว กับบุคคลธรรมดาทั่วไป โดยถือเป็นหน่วยภาษีอีกหน่วยหนึ่งแยกต่างหากไปจากบุคคลที่อยู่ในคณะบุคคล นั้นๆ โดยมาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้บัญญัติไว้ดังนี้
“ใน กรณีที่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลมีเงินได้พึงประเมิน ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของ ห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและ ตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะ บุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นเสมือนเป็นบุคคลคนเดียวไม่มีการ แบ่งแยก ทั้งนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคน ไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสีย ภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือ บุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย”
นอกจาก “คณะบุคคล” จะมีหน้าที่เสียภาษีเสมือนหนึ่งเป็นบุคคลที่แยกออกจากบุคคลธรรมดาทั่วไปแล้ว เมื่อประกอบธุรกิจมีผลกำไร ในแต่ละปี แล้วนำกำไรของคณะบุคคลมาแบ่งให้กับบุคคลที่อยู่ในคณะบุคคล ส่วนแบ่งกำไร ดังกล่าวก็ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (14) เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลที่อยู่ในคณะบุคคลไม่ต้องนำเงินได้ที่ได้รับจากการแบ่งกำไรจากคณะบุคคล ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
“(14) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม”

4. การคำนวณหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน คณะบุคคลมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ พึงประเมินประเภทต่างๆ ที่ได้รับเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา แต่สำหรับการหักค่าลดหย่อนคณะบุคคลสามารถหักค่าลดหย่อนตามจำนวนบุคคลที่เป็น บุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนซึ่ง เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยได้คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เท่านั้น คณะบุคคลจะหักลดหย่อนประเภทอื่นๆ เช่นการหัก ลดหย่อนคู่สมรส การหักลดหย่อนบุตร การหัก ลดหย่อนเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต การหักลดหย่อนเงินที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย ดังเช่นที่บุคคลธรรมดามีสิทธิไม่ได้

5. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้พึงประเมินภายหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว (หรือเงินได้สุทธิ) คณะบุคคลจะต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate) ดังนี้
untitled20_413

บทสรุป
อาจกล่าวได้ว่าหน่วยภาษีที่เรียกว่า “คณะบุคคล” นั้น เป็นหน่วยภาษีที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองซึ่งในเบื้องต้นอาจทำให้มองภาพว่าน่า จะมีความซับซ้อนและยุ่งยากโดยเฉพาะในการคำนวณภาษีเงินได้ ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างไปจากหน่วยภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดาบ้างในบางประเด็น แต่หากได้ศึกษาทำความเข้าใจอย่างรอบด้านก็จะพบว่ามิได้มีข้อยุ่งยากต่อการ คำนวณภาษีแต่ประการใด จึงหวังว่าเนื้อหาที่ได้นำเสนอมาข้างต้นคงได้ก่อให้เกิดความเข้าใจในประเด็น ต่างๆ แก่ท่านผู้อ่านเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องและสนับสนุนให้เกิดธุรกรรม ในรูปแบบของคณะบุคคลอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมในท้ายที่สุด

ที่มา สรรพากรสาส์น

ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า

มีคำถามว่า “ประกอบธุรกิจให้เช่าบ้าน อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น รวมทั้งการให้เช่าที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง” 

ขอเรียนว่า ในแต่ละปีผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวมีหน้าที่เสียภาษีประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  1. ภาษีโรงเรือนและที่ดินในอัตรา 12.5% ของค่ารายปี ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ตามแบบ ภ.ร.ด.2

  2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี สำหรับเงินได้ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน โดยต้องยื่นแบบ    ภ.ง.ด.94 พร้อมกับชำระภาษีเงินได้ (ถ้ามี) ภายในเดือนกันยายนของปีภาษี

  3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับเงินได้ตลอดปีภาษี โดยต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 พร้อมกับชำระภาษีเงินได้ (ถ้ามี) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
  เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินนั้น ในทางภาษีสรรพากร ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบัญญัติว่า “เงินได้หรือประโยชน์ที่ได้จากการให้เช่า ทรัพย์สิน” ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่า เงินกินเปล่า เงินค่าซ่อมแซม เงินช่วยค่าก่อสร้าง ค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้กรรม สิทธิ์ โดยจำแนกประเภทของทรัพย์สินที่ให้เช่าออกเป็นดังนี้

  1. บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น และแพ
  2. ที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม อาทิ ที่ดินที่เป็นสวน ไร่ หรือนา

  3. ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตรกรรม อาทิ ที่ดินที่ให้เช่าเพื่อปลูกสร้างอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ที่ดินที่ใช้เพื่อจอดรถ เพื่อทำการค้า

  4. ยานพาหนะ

  5. ทรัพย์สินอื่น เช่น การให้เช่าเสื้อผ้า หนังสือ ต้นไม้ เครื่องจักร เป็นต้น
  อย่างไรก็ตามในการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ผู้มีเงินได้ไม่ต้องนำเงินได้ที่เป็นเงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้าง เงินค่าซ่อมแซม และค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์มารวมคำนวณแต่อย่างไร เพราะต้องนำไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 เพื่อเสียภาษีเงินได้ล่วงหน้า
สำหรับเงินได้ขั้นต่ำที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 นั้น แยกเป็นกรณีที่ไม่มีคู่สมรส หรือห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ต้องมีเงินได้เกินกว่า 30,000 บาท แต่สำหรับท่านที่มีคู่สมรส ต้องมีเงินได้เกินกว่า 60,000 บาท จึงจะมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตาม
ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์แล้ว ให้หักลดหย่อนได้กึ่งหนึ่งของค่าลดหย่อนประจำปี คงเหลือเป็นเงินได้สุทธิเท่าใด ให้นำจำนวนเงินได้สุทธิที่ได้รับยกเว้นไม่เกิน 150,000 บาท มาหัก แล้วคำนวณภาษีเงินได้ตามอัตราก้าวหน้า หากมีเงินได้เกินกว่า 1 ล้านบาท จึงจะคำนวณภาษีเงินได้ในอัตรา 0.5% ของเงินได้พึงประเมิน เพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนภาษี ที่คำนวณได้จากเงินได้สุทธิ แล้วเสียตามจำนวนที่สูงกว่า

บทความโดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์