ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | รับทำเงินเดือน ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | รับทำเงินเดือน

ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ตอน..เมื่อถึงเวลายื่นภาษีประจำปี (2 มี.ค. 50)

สวัสดีค่ะ.. ผู้ที่ติดตามอ่านสรรหามาเล่าทุกท่าน ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีแล้วนะ คะ  เชื่อว่าทุกท่านคงจะได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายกันครบถ้วนแล้วใช่ไหมคะ และนั่นหมายความว่าเราพร้อมที่จะยื่นแบบชำระภาษีกันได้แล้วล่ะค่ะ สรรหามาเล่าฉบับนี้ขอนำสาระเกี่ยวกับภาระภาษีของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาเล่าให้ฟังแบบทุกแง่ทุกมุมเลยค่ะ

สำหรับท่านที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ในกองทุน  ท่านสามารถนำเงินที่จ่ายสะสมเข้ากองทุนในปีนั้นมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษี  แต่หากสมาชิกมีการลงทุนใน  RMF ด้วย เงินที่ได้รับยกเว้นทั้งสองกองทุนรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทค่ะ

สำหรับท่านที่สิ้นสมาชิกภาพและได้รับเงินจากกองทุน ลองพิจารณาดูว่าท่านตรงกับกรณีใดใน 3 กรณีดังนี้

กรณีแรก ถ้าท่านลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน  ให้ท่านนำเงินที่ได้รับจากกองทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบไปรวมคำนวณกับเงินได้ทุกประเภทเพื่อชำระภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาประจำปี โดยเงินได้สุทธิจำนวน 150,000 บาทแรกได้รับยกเว้นภาษี

กรณีที่สอง ถ้าท่านลาออกจากงาน ให้ดูว่าท่านมีระยะเวลาทำงานกี่ปี หากท่านมีระยะเวลาทำงานน้อยกว่า 5 ปี ท่านมีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับกรณีแรก  หรือถ้าท่านมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ท่าน สามารถเลือกเสียภาษีโดยนำเงินที่ได้รับจากกองทุนไปรวมคำนวณกับเงินได้ทุก ประเภทเพื่อชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีเช่นเดียวกับกรณีแรก หรือจะไม่นำไปรวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่นก็ได้ ซึ่งหากท่านไม่นำไปรวมคำนวณ ให้นำเงินที่ได้รับจากกองทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบไปคำนวณภาษี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากับ 7,000 บาท คูณจำนวนปีที่ทำงาน เหลือเท่าใดหักได้อีกร้อยละ 50 แล้วคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีข้อสังเกตว่าการคำนวณภาษีในกรณีนี้จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ สุทธิจำนวน 150,000 บาทแรก และอย่าลืมกรอกใบแนบ ภงด. 91 หรือ 90 ตามแบบของกรมสรรพากรด้วย ท่านที่ไม่คุ้นเคยกับใบแนบ ลองเข้าไปดูได้ตาม ลิงค์ นี้ได้ค่ะ การกรอกใบแนบก็เพื่อให้สรรพากรทราบว่าท่านเลือกใช้สิทธิแยกคำนวณภาษีค่ะ

กรณีที่สาม ถ้า ท่านเกษียณอายุ  ให้ดูว่าท่านเป็นสมาชิกกองทุนกี่ปี หากเป็นสมาชิกกองทุนน้อยกว่า 5 ปี  เงินที่ท่านได้รับจากกองทุนไม่เข้าข่ายได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จึงต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับกรณีแรก หรือถ้าท่านเป็นสมาชิกกองทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ให้ดูเพิ่มเติมว่าท่านมีอายุขณะเกษียณตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไปหรือไม่ เพราะ เงินที่ได้รับจากกองทุนจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวนหากท่านเป็นสมาชิกกองทุน ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์

สำหรับท่านที่อยากทราบจำนวนภาษีที่ต้องชำระ  ลองเข้าโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีที่อยู่บนเว็บไซต์ thaipvd.com ดูก็ได้ค่ะ คลิก

สำหรับท่านที่ลาออกจากงานโดยขอคงเงินไว้ในกองทุนเดิมเพื่อรอโอนย้ายไปเข้ากองทุนของนายจ้างรายใหม่ กรณีนี้ท่านไม่มีเงินได้เกิดขึ้น  จึงยังไม่มีหน้าที่ยื่นแบบชำระภาษีจากเงินจำนวนดังกล่าว อย่างไรก็ดี หากครบ 1 ปีแล้วยังไม่มาแจ้งว่าให้โอนเงินดังกล่าวไปเข้ากองทุนใหม่  ท่านต้องรับเงินออกจากกองทุนและมีหน้าที่ชำระภาษีจากเงินจำนวนดังกล่าว ส่วนวิธีคำนวณจะเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาว่าท่านมีอายุงานกี่ปี โดยพิจารณาแบบเดียวกันกับกรณีที่สอง

ถึงตอนนี้ท่านคงพร้อมที่จะยื่นแบบชำระภาษีกันแล้วใช่ไหมคะ   สรรหามาเล่าจะเสนอสาระเรื่องภาษีของสมาชิกกองทุนที่เกษียณแล้วแต่ได้รับการว่าจ้างให้ทำงานต่อมาเล่าให้ฟังในฉบับต่อๆไป  ติดตามอ่านให้ได้นะคะ.. แล้วพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ

ผมเองมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ และก็เคยสอบถามถึงการเสียภาษีไปทาง TISCO (ที่ทำงานเก่าใช้ของที่นี่) ซึ่งก็เป็นไปตามบทความ เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินที่หักจากการทำงานบริษัท ถ้าท่านลาออกจากงาน ก็ต้องลาออกจากกองทุนโดยปริยาย แต่ทั้งนี้ท่านสามารถโอนย้ายกองทุนได้ภายใน 1 ปี

Kiatchai Accounting & Payroll รับทำเงินเดือน รับทำบัญชี ในราคาไม่แพง

หมายเหตุ ในส่วนที่เป็นสีแดงคือส่วนที่ผมแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่ปรับปรุงในปี 2551

ที่มาบทความ..http://www.thaipvd.com/thaipvd_v3/sunha/article05-50.shtml

ตัวอย่างการการคำนวณภาษี

กรณีที่หนึ่ง ลาออกจากงานและมีอายุงานน้อยกว่า 5 ปี
กรณีนี้จะไม่ได้รับการยกเว้น ต้องเสียภาษีเงินได้ตามปกติ โดยนำ ส่วนของเงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ของ เงินสะสม + ผลประโยชน์ของเงินสมทบ มารวมเป็นเงินได้ เพื่อเสียภาษี
ตัวอย่างเช่น : สมมติว่ามีสมาชิกลาออกจากกองทุน หลังจากทำงานมาแค่ 4 ปี และได้รับเงินจากกองทุน 150,000 บาท โดยเป็นเงินสะสม 40,000 บาท ดังนั้น เงินได้ที่ต้องนำคำนวณเพื่อเสียภาษี จะเท่ากับ 150,000 – 40,000 = 110,000 บาท

กรณีที่สอง ลาออกจากงานแต่มีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
เสียภาษีเงินได้โดยนำส่วนเงินสมทบของนายจ้าง+ผลประโยชน์ จากเงินสะสม + ผลประโยชน์จากเงินสมทบ มาคำนวณเพื่อ เสียภาษี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ปีละ 7,000 บาท เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายได้อีกครึ่งหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น : สมมติว่ามีสมาชิกลาออกจากกองทุน หลังจาก ที่ทำงานมาแล้ว 6 ปี และได้รับเงินจากกองทุน 250,000 บาท โดยเป็นส่วนของเงินสะสม 50,000 บาท ดังนั้น
เงินได้ที่นำมาคำนวณภาษีได้                                                        200,000
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 * 6 ปี)                                            (42,000)
คงเหลือ 158,000 หัก ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 (158,000/2)               (79,000)
คงเหลือเป็นเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี                                            79,000

Comments

  1. กรณีลาออกจากงานมานานมาก แต่ไม่เคยเบิกเงินทิสโก้คืนเลย
    ไปเบิกตอนนี้จะได้ไหม

  2. วิไลรัตน์ says:

    ขอสอบถามค่ะ ทางบริษัท กำลังจะทำกองทุนทดแทน แต่ดิฉันยังรังเร เพราะเคยได้ยินมาว่า ทำงาน ครบ 2 ปี ทางบริษัท ให้เงินสมทบ 25% ตามข้อกำหนด แต่ทาง บริษัทกองทุนกลับไม่ให้เงินส่วนที่สบทบไป บอกว่าส่งเงินไม่ครบตามระยะที่กำหนด แบบนี้ได้ด้วยหรอค่ะ
    เราต้องส่งเงินสมทบ ขั้นต่ำกี่ปี

  3. ลาออกจากกองทุน. แต่ไม่ได้ลาออกจากงาน แต่อยากสมัครใหม่ในบริษัทเดิม สามารถทำได้ไหม แต่เคยสอบถามทางบริษัทไม่สามารถทำได้คืองง ถามเหตุผลว่า ทำไมไม่ได้ เค้าก้อตอบเราไม่ได้
    อยากทราบว่าสามารถ สมัครใหม่ได้ไหมค่ะ. ลาออกจากกองทุนมาแล้ว 2 ปี เสียดายมากๆ ค่ะ แต่เงินที่ส่งไปยังไม่ได้รับคืนค่ะ

  4. แล้วถ้าเราเขียนใบลาออกตั้งแต่วันทีา1ม.ค.เราจะได้เบี้ยกองทุนเมื่อไรค่ะนับจากหลังยื่นใบลาออกหรือหลังจากวันที่ทำงานวันสุดท้าย

  5. นันท์นภัส สุดทองคง says:

    ลาออกจากโลตัสตั้งแต่เดือนมิถุนายน2557จนปัจุบันเข้าปี2558ยังไม่ได้รับเงินกองทุนเลยสักบาทค่ะ ตอนลาออกอายุงาน2ปี5เดือน อยากทราบว่าตรวจสอบไปที่ไหนได้บ้างค่ะ เพราะโทรไปที่โลตัสบอกให้รอตรวจสอบเงืนว่าเข้ามาให้แต่ไม่รู้ว่าวันไหนค่ะ

  6. ภูดิศ พญามงคล says:

    ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว แต่ต้องการสมัครใหม่ ในที่ทำงานเดิมๆ จะทำได้หรือไม่ และทำได้อย่างไรบ้าง

  7. ภูดิศ พญามงคล says:

    สอบถามว่า
    เมื่อลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว และต้องการสมัครใหม่จะทำได้หรือไม่ และต้องทำอย่างไรเพื่อต้องการเก็บเงินหลังเกษียณจากการทำงานแล้ว

  8. ตอบคุณ winita s

    ให้ซื้อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากธนาคารครับ มีทั้งแบบ RMF และ LTF

  9. รบกวนขอสอบถามคะ ทำงานมา 23 ปี ลาออกเนื่องจากเปลี่ยนงาน แต่ที่ทำงานใหม่ไม่มีกองทุนสำรองเลี่ยงชีพ แต่ไม่อยากเสียภาษี ควรทำอย่างไรคะ แนะนำด้วยคะ ขอบคุณคะ

  10. แก้ข้อความค่ะ

    ปีภาษี 2555 ไม่ใช่ 2554 ที่สามารถยื่นใบแนบได้ทางอินเทอร์เน็ต

  11. ปีภาษี 2554 สามารถยื่นใบแนบทางอินเทอร์เน็ตได้แล้วค่ะ

    และโปรแกรมช่วยคำนวณที่โหลดจากเว็บสรรพากร สามารถกรอกส่วนใบแนบได้ด้วย
    เมื่อ save ไฟล์แล้ว สามารถเอาไปอัพโหลดได้เลยค่ะ

  12. สอบถามค่ะ
    ตอนนี้ได้ออกจากงานที่เดิม เนื่องจากขาดงานติดต่อเกิน 3วัน
    ทางบริษัทเดิม แจ้งว่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกแล้ว ให้มาติดต่อรับ
    ตอนนี้ได้เข้าทำงานที่ใหม่แล้ว
    เงินกองทุน จะโอนย้ายเข้าที่ทำงานใหม่ แบบอัติโนมัติ หรือเปล่าคะ หรือต้องเข้าไปรับเงินที่บริษัทเดิม
    ขอบพระคุณค่ะ

  13. มีปัญหาสอบถามดังนี้ค่ะ
    1) กรณี บริษัท มีการควบรวมกิจการ (A+B) โดยทางกฎหมาย มีบริษัทเกิดใหม่ เป็นบริษัท C (ได้เลขนิติบุคคลใหม่)
    สอบถามว่า ความเป็นสมาชิกภาพกองทุนฯของพนักงาน A หรือ B จะเป็นเช่นไร มีผลอย่างไร วันสิ้นสมาชิกภาพ ยึดถึอตามวันที่ควบรวมใช่หรือไม่อย่างไร
    2) หากพนักงาน บริษัท A ปฏิเสธการโอนเป็นพนักงาน บริษํท C มีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการฟ้องร้องต่อศาลแรงงาน ซึ่งยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ ยังไม่มีผลสรุปของคดี
    สอบถามว่า การที่บริษัท C จะแจ้งต่อ บลจ. ว่า เหตุแห่งการสิ้นสภาพของสมาชิก คือ ลาออกจากกองทุน ถูกต้องหรือไม่อย่างไร
    และจากเหตุข้างต้นอันเนื่องจากการควบรวมกิจการ บลจ. ควรดำเนินกาคืนเงินกองทุนให้กับสมาชิกเมื่อใด และมีผลต้องชำระดอกเบี้ย ให้กับสมาชิกฯหรือไม่เนื่องจากเกินกว่า 30 วันนับแต่วันควบรวมกิจการ ที่พนักงาน ปฏิเสธไม่โอนไปเป็นพนักงาน บริษัท

  14. ตอบคุณรุ่งนภา

    เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพ กฎหมายกำหนดให้บริษัทดำเนินการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้างภายในไม่เกิน 30 วัน
    กรณีที่สมาชิกยังไ่ม่มารับเงิน บริษัทจัดการยังมีหน้าที่ต้องเก็บเงินนั้นไว้เพื่อรอจ่ายให้กับสมาชิกต่อไปครับ

  15. รุ่งนภา says:

    ถ้าออกจากงานโดยไม่ได้ลาออกแล้วมีเงินสะสมอย่ในกองทุนทิสโก้อยู่ประมาณ 50000 บาทแล้วก็ยังไม่ได้ติดต่อผ่านไปเป็นเวลา 2ปี
    จะสามารถติดต่อรับเงินคืนได้หรือไม่

  16. ตอบคุณ put

    แนะนำคุณ put ขอดูนโยบายของกองทุนครับ เงินสะสม+ผลประโยชน์ของบริษัทจะจ่ายคืนให้ตามเงื่อนไขการทำงาน เช่น ทำงานครบ 5 ปี ได้ 50% 6 ปีได้ 60% เป็นไปได้ครับ ไม่แน่ใจว่านโยบายกำหนดไว้เท่าไหร่

  17. รบกวนสอบถามครับ.
    ผมทำงานที่บริษัทนี้มา 8 ปี (สายธนาคาร) มีความต้องการที่จะลาออกจากกองทุนสำรองฯแต่ไม่ลาออกจากงาน !!!!!
    1.บริษัทบอกว่าถ้าออกแล้วจะไม่สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนได้อีกบริษัทจะไม่จ่ายเงินสมทบให้อีก. (ในส่วนนี้ผมยอมรับเพราะเป็นการตัดสินใจของผมเอง)
    2.บริษัทแจ้งว่าผมจะได้รับเงินในส่วนที่เป็นเงินสะสม+ผลประโยชน์จากเงินสะสมเท่านั้น (ในส่วนที่เป็นเงินสมทบ+ผลประโยชน์จากเงินสมทบนั้นผมจะไม่ได้เลย)
    จึงอยากจะสอบถามว่าบริษัทมีสิทธิที่จะกระทำการดังกล่าวได้หรือไม่!!!! (ผมมีความรู้สึกว่าเหมือนถูกริดรอนสิทธิที่ผมควรจะได้และไม่ได้รับความยุติธรรมเลยซึ่งเงินส่วนนี้ก็เป็นเงินที่เยอะอยู่พอสมควรผมคิดว่ามันน่าจะเป็นสวัสดิการที่บริษัทควรให้กับพนักงานไม่ควรที่จะตัดสิทธิส่วนนี้ออกเลย) ผมจึงอยากจะขอคำแนะนำหน่อยครับว่าพอจะมีวิธีการไหนบ้างที่ผมพอจะเรียกร้องเงินส่วนนี้ให้กับตัวผมได้ครับ.
    ขอบพระคุณมากครับ. (รบกวนตอบกลับทางอีเมลล์ด้วยนะครับ)

  18. ตอบคุณวินัส

    มันเป็นคนละเรื่องกันครับ ไม่ได้เกี่ยวกัน

  19. สมาชิกที่ทำสินเชื้อกับกองทุนเพื่อซื้อรถมีส่วนลดไหมครับ

  20. ตอบคุณ Isy

    เงินได้ที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ที่มีระยะเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกคำนวณภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่น ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร และคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยแสดงรายการในใบแนบพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.91

    การหักค่าใช้จ่ายส่วนแรก 7,000 บาทให้คูณปีที่ทำงานครับ (ไม่เกี่ยวกับอายุกองทุน)

  21. สวัสดีค่ะ

    กรณีที่บริษัทเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯหลังจากที่เราเข้าทำงานแล้ว ยังคงคำนวณด้วยอายุงานเช่นเดียวกันใช่หรือไม่
    ตัวอย่างลาออกจากบริษัทและสมาชิกกองทุน โดยอายุงานคือ 10 ปี และอายุกองทุนคือ 6 ปี

    การหักค่าใช้จ่ายส่วนแรก 7000 ยังคงคูณ 10 (ตามอายุงาน) ใช่หรือไม่คะ ไม่มีข้อยกเว้นใช่ไหมคะ

  22. ตอบคุณดวงดาว

    ผมไปค้นข้อมูลมาเพิ่มเิติมให้ดังนี้

    ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ฉบับที่ 188 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 202) http://www.rd.go.th/publish/43496.0.html บรรทัดสุดท้ายระบุว่า “กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาโดยตลอด ต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน ถ้าเป็นสมาชิกยังไม่ถึง 5 ปีต่อเนื่องกัน ต้องเป็นสมาชิกไปจนมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน”

    อันนี้เป็นการนับอายุสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งสามารถนับอายุการเป็นสมาชิกต่อเนื่องกันได้ ตอนที่มีการย้ายกองทุน (ไม่ใช่อายุงาน)

    ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเงินได้เพราะเหตุออกงาน (มีเงินได้อยู่ 4 ประเภท) ในกรณีต้องการใช้ิสิทธิแยกยื่น ระบุไว้ดังนี้
    มาตรา 48 (5) เงินที่นายจ้างให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานและได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด (ข้อนี้กำหนดเรื่องอายุงานไว้)

    ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ฉบับที่ 45 http://www.rd.go.th/publish/3213.0.html ระบุไว้ว่า “เป็นเงินได้ที่จ่ายให้เนื่องจากออกจากงานที่มีระยะเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี” (กรณีใช้สิทธิแยกยื่น)

    มิน่าละ สรรพากรถึงนับอายุการทำงาน (ไม่ใช่อายุการเป็นสมาชิกกองทุน)

  23. ดวงดาว says:

    ขอบคุณคะ เพิ่มเติมข้อมูลคะได้คุยกับเจ้าหน้าที่ call center สรรพากร ถาม 3 ครั้งได้คำตอบเหมือนกัน 2 ครั้งคะ คือ ไม่สนใจอายุกองทุนคะ นับแต่อายุงานที่สุดท้ายก่อนลาออกจากกองทุน หากมีอายุงานล่าสุดเกิน 5 ปีถึงจะสามารถแยกยื่นได้ แต่ในกรณีของดิฉัน อายุงานที่สุดท้ายไม่ถึง 5 ปีดังนั้นต้องนำไปรวมกับรายได้ปกติแล้วยื่นรวมในภ.ง.ด90/91 คะ

    ในหนังสือรับรองหักภาษีของกองทุนจะระบุอายุงานที่สุดท้ายก่อนลาออกจากกองทุนเท่านั้นเหมือนกันคะ ไม่มีตรงไหนในนั้นระบุการโอนย้ายกองทุนหรืออายุงานต่อเนื่อง จริงคะ ไม่มีใครมานับให้เราหรอกเราต้องนับของเราเองเรื่องอายุงานเนี่ย ใครจะมาบันทึกให้เรา ส่วนเรื่องการจ่ายเงินสมทบของฝั่งนายจ้างก็เช่นกันคะ ที่สมทบมาให้ถ้าเราลาออกก่อนครบ 5 ปี แม้ไม่ได้ลาออกจากกองทุน เงินที่ได้ในกองแล้วจะโอนไปที่อื่นหรือปิดกิงเค้าก็จะให้แต่เงินสมทบของตัวเราเองและเงินสะสมในกองเก่า และผลประโยชน์จากเงินสองส่วนนี้เท่านั้นคะ ส่วนของบริษัทที่สะสมให้ดึงคืนหมด

    แย่จังเลยนะคะมนุษย์เงินเดือนตาดำๆ พอมีรายได้ใหม่ๆค่าครองชีพก็เอาไปกินหมด จนไม่เหลือเก็บ พอมีรายได้พอเก็บได้ ก็โดนภาษีเอาไปถึง 30% 1 ใน 3 เงินที่สะสมมาควรจะได้ถึงคราวจำเป็นต้องเอามาใช้ยังมีโดนภาษีอีก 30% เศร้าใจกับระบบบ้านเราจังเลยคะ พอจะตั้งตัวก็ต้องเอามาเสียภาษีหมด รีดเลือกับปูจริงๆคะ

    ส่วนเศรษฐีทั้งหลายในบ้านเมือง. เลี่ยงภาษีกันหน้าตาเฉยเป็นหมื่นๆล้าน ทำไมไม่ไปคิดอัตราก้าวหน้าแบบมากๆกับคนที่มีรายได้ปีปีหนึ่งเกิน10 ล้านไปหละคะ
    ขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะ

  24. ตอบคุณดวงดาว

    เมื่อก่อนผมก็คิดว่าต้องนับอายุงานต่อเนื่องครับ ผมเคยตอบไปแบบนั้นเหมือนกัน แต่มีคนโทรมาแจ้งผมว่า เค้าคำนวณอายุงานต่อเนื่อง แต่สรรพากรไม่ยอม เค้าจะนับอายุงานจากที่ทำงานสุดท้ายเท่านั้นครับ

    ประมาณว่า ถ้าสละสิทธิโอนย้ายแล้ว อายุงานก็จะถูกยกเลิกไปด้วย ต้องเริ่มนับใหม่ เหมือนๆ กับว่า ย้ายไปยังกองทุนใหม่ ที่ทำงานใหม่

    อีกอย่างผมยังไม่เคยเห็น หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากกองทุนฯ ว่า เค้าคำนวณภาษียังไง เค้านับอายุงานยังไง บริษัทแจ้งอายุงานไปเท่าไหร่ วันสมัครกองทุนเมื่อไหร่กันแน่ อีกอย่างใครจะเป็นคนตามนับอายุงานต่อเนื่องให้ อายุงานจะถูกบันทึกไว้ตอนย้ายกองทุนหรือไม่? ที่ทำงานใหม่ มีเกณฑ์จ่ายสมทบตอนออกจากงานยังไง เช่น ทำงานครบ 3 ปีได้ 60% ถ้าไม่ครบจะได้หรือไม่ (ถ้าแจ้งอายุงานต่อเนื่อง จะทำให้ต้องจ่ายสมทบในส่วนของบริษัทใหม่ เพิ่มหรือไม่)

  25. ดวงดาว says:

    ขอสอบถามถึงการแยกยื่นกรณีลาออกจากเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคะ หากทำงานที่ A มา15ปีลาออกจากงานไปทำที่ B 2 ปีแล้วย้ายกลับมาA โดยอยู่ต่อที่A อีก2ปีทั้งหมดนี่ไม่ได้ลาออกจากกองทุน ใช้วิธีโอนย้ายกองทุนตามไปมา แต่หลังสุดลาออกจาก A ไปทำงานที่C โดยลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วยคะ หมายความว่าสามารถนำเงินกองทุนที่ได้ในครั้งนี้แยกยื่นภาษีตามใบแนบ ภ.ง.ด. 90ได้หรือไม่คะ โดยไม่นำไปรวมกับรายได้ปกติจากC เนื่องจากกองทุนนั้นอายุนับต่อเนื่องรวมๆแล้วน่าจะมากว่า10 ปี อายุงานรวมๆแล้วก็เกือบ20 ปี ไม่่แน่ใจว่าเงื่อนไขการยื่นแยกแบบนี้นับอายุงานล่าสุดหรืออายุกองทุนคะ เพราะหากนักแต่อายุงานล่าสุดก็ไม่fair เลยเนื่องจากเงินก้อนนี้สะสมมามากกว่า10ปีอีกทั้ง แล้วก็ไม่ได้ยกเว้นภาษีเพียงแต่เป็นการแยกยื่น หากต้องนำไปรวมรายได้ปกติในภ.ง.ด90 ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงมากๆเลยคะ รบกวนตอบด่วนด้วยได้ไหมขอบคุณคะเพราะจะเลยกำหนดการยื่นภาษีแล้ว และหากแยกยื่นต้องไปยื่นเองที่สรรพากรใช่ไหมคะส่วนภ.ง.ด90 ปกติก็ยื่นทางinternet ได้เหมือนเดิมใช่ไหมคะ ขอบคุณคะ

  26. ตอบคุณ Parinda

    ถูกต้องครับ ถือเป็นกรณีที่ 2

  27. ขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ ว่าหากเป็นการสิ้นสมาชิกภาพจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทเดิม เนื่องจากลาออกจากงาน เพราะได้ที่ทำงานใหม่ แต่ที่ทำงานใหม่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงไม่ได้มีการโอนย้ายกองทุน ดังนั้นเงินที่ได้รับจากกองทุนต้องนำมาคำนวณเสียภาษีอย่างไรคะ (อายุงานที่เดิม > 5 ปีค่ะ) ซึ่งกองทุนฯได้คำนวณหักภาษีไว้ให้ตามแบบกรณีที่ 2 คือมีหักค่าใช้จ่าย 7,000 บาท/ปี และลดหย่อนอีก 50% แต่ไม่แน่ใจค่ะว่าถูกต้องหรือไม่ (กรณีนี้เข้าข่ายกรณีที่สอง หรือไม่คะ) ขอบคุณมากค่ะ

  28. ตอบคุณ wichai

    ทางกองทุนน่าจะออกเอกสารตามที่คุณแจ้งไปนะครับ ส่วนกรณีการแยกยื่น ภงด.90 กรณีที่เค้าตรวจสอบพบ ก็จะมีเบี้ยปรับเงินเพิ่มครับ

  29. เพิ่มเติม โดยที่เอกสารที่กองทุนออกให้ ระบุว่าออกจากกองทุนเนื่องจากลาออกจากงาน

  30. กรณีลาออกจากกองทุนแต่ไม่ลาออกจากงาน แต่ไปแยกยื่นเป็น ภงด 90 มีความผิดอย่างไร

  31. ตอบคุณ naynae

    ใช่ครับ ถือเป็นกรณีที่ 1
    เงินสะสมนำไปกรอกรวมในข้อ ก (1) ถือเป็นเงินได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง ครับ

  32. เนื่องจากลาออกจากบริษัทมาโดยไม่ถึง 5 ปี แล้วได้กองทุน 100% แบบนี้สามารถคำนวณตามกรณีที่ 1 ได้เลยใช่ไหมคะ แล้วเงินสะสมของเรานำไปกรอกในช่องไหนคะ ? แล้วยอดที่เหลือนำไปรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีตามปกติถูกต้องไหมคะ

  33. ตอบคุณพนิดา

    ลองติดต่อแผนกบุคคลบริษัทเก่าออกว่า ได้ทำเรื่องแจ้งออกให้หรือยัง หรือจะติดต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยตรงก็ได้ครับ

  34. ตอบคุณ Pisit

    เงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับการยกเว้นภาษีกรณีเดียวคือเกษียณและมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป

    นอกนั้นจะไม่ได้รับการยกเว้นครับ ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ

  35. ออกจากงานเก่า 6 เดือน แล้วยังไม่ได้ เงินจากกองทุนคืน ต้องทำยังงัยบ้าง

  36. บริษัทต้องเปลี่ยน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพราะแยกบริษัทออกจากบริษัทใหญ่

    ผมเลือกไม่โอนเงินสำรองเลี้ยงชีพเดิมทั้งหมด จำนวน 8 แสนไป (รวมเงินสะสม เงินสมทบ ผลประโยชน์จากเงินสะสม เงินสมทบ)

    ไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอันใหม่

    แต่มีปัญหาที่จะต้องคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา ว่าต้องเอาเงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมารวมกับเงินรายได้อื่นๆ (เงินเดือน Commission) ทำให้เสียภาษีสูงมาก
    ต้องนำเงินที่ได้จากกองทุนสำรองฯ มารวมคำนวณด้วยจริงๆไหมครับ
    ช่วยแนะนำด้วยครับ

  37. ตอบคุณปิยะ

    ปกติทางกองทุนจะส่งเอกสารให้ทุก 6 เดือน จะบอกรายละเอียดเงินสมทบของเราและของฝ่ายนายจ้างครับ

    ส่วนเงินสมทบของนายจ้างจะได้เท่าไหร่ให้ดูที่นโยบายของบริษัท บางที่ครบ 3 ปีจะได้ส่วนของนายจ้าง 60 % หรือ 4 ปี ได้ 70% เป็นต้น แต่ละทีให้ไม่เท่ากันครับทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัท

  38. อยากถามว่า ตอนนี้ทำงานและอยู่ในสมาชิกกองทุนมา 4ปี ไม่แน่ใจว่าเงิน สมทบเปนเท่าไร
    แต่จากก่อนยื่นภาษี ข้อมูลแจ้งไว้คือปะมาน 25000 ส่วนของตัวเราเองไม่เกี่ยวนายจ้าง รวมนายจ้างปะมาน 50000
    ถ้าตอนนี้ผมจำเป็นต้อง ลาออกจากกองทุนเพื่อนำเงินมาใช้ ผมจะได้เงินจากกองทุน เท่าไรแน่ัคับ
    นาจะได้แค่ เฉพาะส่วนของผมเอง ไม่ได้ส่วนของนายจ้าง ใช่รึไม่คับ

  39. อยากรู้ว่าเราสามารถซื้อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มเองได้รึเปล่าครับ พอดีต้องการหักลดภาษีเพิ่ม นอกเหนือจากการซื้อประกันชีวิต และกองทุน LTF แต่ผมไม่ต้องการซื้อ กองทุน RMF และประกันชีวิตแบบบำนาญ เพราะระยะเวลามันยาวเกินไปครับ เลยย้อนกลับมามอง ช่องของการซื้อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มเติมจากการที่เราจ่ายประจำทุกๆเดือน(ซึ่งสามารถหักลดได้ถึง 15%ของค่าจ้าง ตอนนี้ผมจ่ายอยู่ที่ 5% นายจ้างจ่าย 7% ครับ) แล้วถ้าซื้อได้เงื่อนไขการออกจากกองทุนจะเป็นยังไงครับ

    รบกวนแนะนำหน่อยครับ

  40. ตอบคุณชนันท์กานต์

    ระเบียบเรื่องการสมัครเข้ากองทุน การลาออกจากกองทุน หรือการสมัครใหม่ ปกติทางบริษัทจะเป็นผู้กำหนดขึ้นมาเองครับ

    บางแห่งไม่อนุญาตให้ลาออกจากกองทุนโดยไม่ลาออกจากงาน ที่ทำงานเก่าที่ผมเคยทำงานด้วย สามารถลาออกจากกองทุนแล้วสมัครใหม่ได้ภายใน 1 ปี

    ผมเคยถามกองทุน ทั้ง AIA และ TISCO เกี่ยวกับการลาออกแล้วสมัครใหม่ ไม่มีข้อกำหนดเรื่องนี้ แต่บริษัทส่วนใหญ่ มักจะให้สมัครใหม่ได้ครับ (อย่างน้อยไม่เกิน 2 ครั้ง) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทครับ

  41. ชนันท์กานต์ says:

    ลาออกจากกองทุน แต่ไม่ได้ออกจากงาน เกิน 10 ปี สามารถสมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกครั้งได้หรือไม่คะ

  42. ตอบคุณจามร

    ถูกต้องครับ

  43. ขอบคุณมากครับ..

    ยังมีข้อสงสัยอีกเรื่องครับ การหักภาษี ณ ที่จ่ายของกองทุน
    ยอดเงินสะสม 840,000 บาท ( ฐานภาษี 20 % )
    แต่ถ้านำไปรวมกับยอดรายได้ 1,590,000 บาท ( ฐานภาษี 30 % )
    การหัก ณ ที่จ่าย หมายถึง หักจากยอดเงินสะสม ( หักเลย )
    และเมื่อผมจะยื่นภาษีประจำปี ผมก็มีโอกาสที่จะเสียภาษีเพิ่มอีก ใช่มั้ยครับ

    รบกวนชี้แนะด้วยครับ…

  44. ตอบคุณจามร

    1.ถูกต้องครับ ลาออกจากกองทุนไม่ได้รับการยกเว้น ต้องเป็นการลาออกจากงานหรือเกษียณอายุ ถืงจะได้รับการยกเว้นภาษี

    2.ปกติทางกองทุนจะคำนวณภาษีก่อน โดยถือเป็นการเงินได้ตามมาตรา 40(1) ถ้าคำนวณแล้วมีภาษีต้องเสีย ก็จะหัก ณ ที่จ่ายไว้ โดยจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ที่จ่ายไว้ให้ครับ

  45. ขอสอบถามครับ…
    ผมเป็นสมาชิกกองทุนประมาณ 10 ปี มีเงินสะสมประมาณ 840,000 บาท
    มียอดรายได้ที่ต้องเสียภาษีทั้งปีประมาณ 750,000 บาท
    1.ถ้าผมลาออกจากกองทุนโดยไม่ลาออกจากงาน ผมต้องนำเงินทั้ง 2 ยอดนี้ไปรวมกันเพื่อเสียภาษี ในปีภาษีนั้น ๆ ใช่มั้ยครับ ( 1,590,000 บาท )
    2.เงินที่ผมจะได้จากกองทุน เป็นเงินสะสมที่ไม่ถูกหักใด ๆ ใช่มั้ยครับ ( 840,000 บาท )
    รบกวนช่วยชี้แนะด้วยครับ ( จำเป็นต้องใช้เงิน..)

    ขอบคุณครับ

  46. ขอบคุณมากครับ

  47. ตอบคุณ Sirakorn

    1. ยื่นแบบ ภงด.91 ถูกต้องครับ
    2. ให้ดูที่หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือแบบคำนวณภาษีที่กองทุนออกให้ครับ
    3. ถือเป็นเงินเดือนค่าจ้างครับ ต้องกรอกในหมวด ก ข้อ 1
    นอกนั้นไม่ต้องกรอก เพราะปี 2553 ไม่ได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว
    4. ถูกต้องครับ

  48. ตอบคุณกัลยาณี

    กรณีใช้ใบแนบแยกคำนวณ ไม่สามารถยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตทางเน็ตได้ครับ ต้องไปยื่นที่สำนักงานสรรพากร

  49. เรียนถามคุณเกียรติชัยครับ
    ผมลาออกจากงานและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดือนธันวา 52 ได้เงินค่าจ้างที่ค้างอยู่จากบริษัทในเดือนมกรา 53 อยู่ 20,000 บาท

    อายุงานไม่ถึง 5 ปี
    ได้เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 110,000 บาท ต้นเดือนกุมภา 53 (เป็นเงินสะสมของตนเอง 50,000 บาท)

    1) ปีภาษี 53 ผมต้องยื่นแบบภงด. 91 ใช่ไหมครับ? (หลังออกจากงานไปบวช ไม่มีรายได้)
    2) ผมต้องเอาเงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสะสม และผลประโยชน์เงินสมทบ =110,000-50,000=60,000 บาท ไปรวมกับค่าจ้างที่

    ได้มา 20,000 รวมเป็น 80,000 บาท ที่ต้องกรอกในช่องเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ของแบบภงด.91 ถูกไหมครับ? ไม่ทราบกรอก

    ช่องนี้ถูกไหม?
    3) หมวด ข 1) ช่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนที่เกิน 10,000 ใส่ 0 ส่วนหมวด ค 8) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนที่ไม่เกิน 10,000

    ใส่แค่ 380 บาทตามเอกสารที่บริษัทหักเงินไว้เข้ากองทุน(ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมหักทั้งที่ลาออกจากกองทุนแล้ว) ถูกไหมครับ?
    4) รวมรายได้ทั้งหมดไม่เกิน 150,000 ไม่ต้องเสียภาษี ถูกต้องไหมครับ?

  50. กัลยาณี says:

    ขอสอบถามค่ะว่า กรณีที่เราแยกยื่นเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกจากเงินเดือนตามปกติ เราสามารถเข้าไปทำ ภงด.91 online ได้ตามปกติ หรือไม่คะ แล้วตัวแยกยื่นเราต้องไปกรอกใบแนบตรงส่วนไหนคะ หาไม่เจอน่ะค่ะ หรือว่าจำเป็นต้องไปยื่นที่สำนักงานสรรพากรโดยตรงคะ
    ขอบพระคุณมากค่ะ

  51. ตอบคุณชุติมา

    ถ้าหมายถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้คืนครับ ให้ยื่นเรื่องลาออกจากกองทุนกับทางบริษัทที่คุณทำงานด้วยครับ

  52. ชุติมา says:

    จะสอบถามกรณีทำงานไม่ถึงปีได้เข้ากองทุนเงินทีได้ไม่ถึงหนึ่งพันบาทอยากทราบว่าจะได้คืนหรือไม่แล้วต้องทำยังไงบ้าง

  53. ตอบคุณ auto

    ต้องนำเงินได้จากกองทุนมารวมเสียภาษีกับเงินได้ตามปกติครับ (ไม่สามารถใช้สิทธิแยกคำนวณได้ เนื่องจากไม่ได้ลาออกจากงาน) ปกติ ได้รับเงินเมื่อไหร่ก็ให้เสียภาษีของปีนั้นๆ ครับ

  54. 1. ผมเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประมาณ 9 ปี มีเงินประมาณ 740000 ถ้าผมลาออกจากกองทุนโดยไม่ลาออจากงานผมจะต้องเสียภาษีเท่าไรครับ ถ้าเสียภาษีต้องนำเงินที่ได้ไปคิดรวมกับเงินได้ในปีภาษีนั้นๆๆมั้ยครับ

    ขอบคุณครับ

  55. ตอบคุณกิ๊ก

    ถูกต้องแล้วครับ

  56. รบกวนสอบถามแทนคนอื่นหน่อยค่ะ
    พอดีเค้าออกจากงานจำนวนปีที่เป็นสมาชิกกองทุน 0 ปี 176วัน
    ในปี 2553 มีเงินสะสมจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5,678 บาท
    ในหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวนเงินที่กองทุนจ่ายให้เป็นจำนวน 7,065.18 บาท
    จำนวนภาษีที่หักไว้ 0.00 บาท อยากถามว่าส่วนที่จ่ายเข้ากองทุน 5,678 เอาไปใส่ที่ส่วนหักลดหย่อน แล้ว 7,065.18 เอาไปรวมกับเงินได้พึงประเมินช่องเงินเดือนมาตรา 40(1) ใน ภ.ง.ด.91 ใช่มั้ยคะ ขอบคุณค่ะ

  57. ขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะ

    วันนี้โทรไปถามสรรพากรอีกครั้งค่ะ เค้าแจ้งดิฉันทำงานที่สุดท้ายไม่เกิน 5 ปี ถึงแม้ว่ากองทุนจะต่อเนื่อง แต่อายุงานเค้าไม่นับรวมค่ะ เค้าดูแค่ที่สุดท้าย จึงไม่สามารถแยกยื่นในส่วนของเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับครั้งเดียวตอนออกจากงาน
    อย่างนี้ถ้าคนนึงทำงานที่เก่ามา 10 ปี แล้วมาทำที่ใหม่ 2 ปี โอนกองทุนมาด้วย แล้วลาออก ได้รับเงินสำรองเลี้ยงชีพมา ก็ไม่มีสิทธิแยกยื่นเลยใช่มั๊ยคะ ก็เสียภาษีอานเลย

  58. ตอบคุณ maliwan

    การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (ก) และ (ข) ถ้ามีการโอนเงินหรือผลประโยชน์ระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้นับอายุการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อเนื่องกัน

    ลองเข้าไปอ่านประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 188 (ฉบับเต็ม) ได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/43496.0.html อยู่เกือบบรรทัดสุดท้าย

  59. รบกวนสอบถามนะคะ จากเท่าที่อ่านบทความและ comments ทั้งหมด ดิฉันเข้าใจว่าเราสามารถนับอายุงานต่อเนื่องได้

    ดิฉันทำงานที่แรก 3 ปี 316 วัน และที่สอง 2 ปี 199 วัน (อายุงานนะคะ ถ้าอายุกองทุนก็จะน้อยกว่านี้นิดนึง เพราะมีช่วงทดลองงาน ไม่ได้สะสมกองทุน) ทำงานต่อเนื่องทันทีค่ะ (โดยโอนกองทุนสำรองเลี้ยงไปที่ทำงานใหม่ด้วยค่ะ ไม่ได้เอาออกมา) สรุปรวมอายุงานแล้วก็เกิน 5 ปีค่ะ

    ดิฉันลาออกจากงานและไม่ได้ทำงานต่อ ยื่นเสียภาษี ภงด.91 โดยยื่นใบแนบภงด.91 ในส่วนของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับมาก้อนนึงจากการออกจากงาน
    แต่สรรพกรแจ้งว่าดิฉันคำนวณผิดค่ะ ทางสรรพกรเอาเงินก้อนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งก้อนเข้าไปรวมเป็นรายได้ปกติ ทำให้ดิฉันได้รับคืนภาษีน้อยลง (หรือเสียภาษีมากขึ้นนั่นเอง)

    ดิฉันรบกวนขอความรู้จากคุณเกียรติชัยในกรณีนี้นิดนึงนะคะ สงสัยจริงๆค่ะ

    ปล.เจ้าหน้าที่สรรพกรบอกว่าดูจากประกาศอธิบดีกรมสรรพกร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 45 ค่ะ ได้ความว่าเงินกองทุนที่รับมา ได้จากนายจ้างสุดท้าย ซึ่งเวลาทำงานไม่เกิน 5 ปีค่ะ

    ขอบคุณมากค่ะ

  60. ตอบคุณ Wittawat

    การคำนวณภาษีให้นับอายุงานครับ และกฎหมายกองทุนในปัจจุบัน ให้เรานับอายุงานต่อเนื่องจากที่เดิมได้ (ที่เดิมที่มีเรามีกองทุนอยู่)

  61. เรียนคุณเกียรติชัย ในกรณีที่ทำงานมา 3 ที่ (แต่ละที่อยู่ 3ปี 1 ปี และ4 ปี)แต่รวมกันมีอายุกองทุน 7 ปี 8 เดือนโดย โอนกองทุนต่อเนื่อง ครับ แต่โดนออก จากงาน โดยที่สุดท้ายอายุงานไม่ถึง 5ปี โดยผมถอนเงินกองทุนออกมาโดยมีการคำนวนเป็นอายุงาน 8 ปีและหักภาษีจากกองทุนให้ อยากถามว่าต้องคำนวนภาษีโดยใช้อายุกองทุนได้หรือไม่ครับ

  62. ขอบคุณครับ คุณเกียรติชัย

  63. ตอบคุณ suwands

    นับอายุการทำงานครับ

  64. คุณเกียรติชัยครับ

    ผมไล่อ่านมาตั้งแต่ต้นมีข้อสงสัยที่สุดคือเรื่อง 5ปี เวลา5ปีนี้เป็นการ
    (1)นับอายุงาน หรือ
    (2)นับอายุที่เราทำกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    เพราะว่าเห็นแต่ละคำถามจะถามแยกกัน ผมขอถามรวมเลยครับว่า การพิจารณาให้พิจราณาที่จุดไหน หรือพิจารณาทั้งคู่ครับ

    ปล.ไม่เคยรู้เลยว่ามีทั้งการโอน และ การคิดภาษีแบบนี้…เศร้าเลยตู

  65. ตอบคุณญาณิพัชญ์

    ไม่เคยได้ยินเหมือนกันครับ แต่มีกรณีที่พนักงานลาออกจากงานแล้ว เงินสมทบในส่วนของบริษัท จ่ายคืนพนักงานไม่ทั้งหมด (ดูที่อายุงาน) แบบนี้กองทุนจะแยกเช็คเป็น 2 ใบ จ่ายคืนบริษัท 1 ใบ จ่ายคืนพนักงาน 1 ใบ แต่ผมเห็นหลายบริษัทเงินสมทบในส่วนของบริษัท จะไม่รับกลับคืน แต่จะจ่ายคืนให้กองทุนเพื่อใปเฉลี่ยให้กับพนักงานในกองอีกที

  66. ญาณิพัชญ์ says:

    รบกวนสอบถามค่ะ

    ลาออกจากงาน แล้วได้เช็คกองทุนคืน
    โดนหักไปยอด 7993.91 เค้าแจ้งว่าเป็นส่วนอุทิศกลับเข้ากองทุน

    มันเป็นยังไงคะ ไม่เข้าใจค่ะ ทำไมต้องหักเข้ากองทุนด้วยคะ

    ขอบคุณค่ะ

  67. ตอบคุณมิวสิค

    1.โอนย้ายกองทุนไม่เสียภาษีครับ
    2.อายุงานของกองทุนนับต่อเนื่องให้
    3.ถูกต้องครับ
    4.นับอายุงานให้ต่อเนื่องจึงไม่เสียสิทธิ์ครับ
    5.ไม่จำเป็นครับ ของ Tisco ก็ดี ของธนาคารก็ดีครับ ส่วนใหญ่ก็มั่นคง ปลอดภัย ผลตอบแทนอยู่ที่นโยบายในการลงทุนของกองทุนครับ

  68. มิวสิค says:

    ขอเรียนสอบถามคุณเกียรติชัยหน่อยนะคะ พอดีกำลังจะลาออกจากบริษัทเดือนหน้าค่ะ เกี่ยวกับการนับอายุงานและการโอนเงิน providend fund

    ตอนนี้กำลังจะลาออกจากบริษัท A ซึ่งอายุงานที่นี่เป็นเวลา 4 ปี 11 เดือน 15 วัน (ขาดแค่ 15 วัน จะครบ 5 ปี!!) กำลังจะย้ายงานไปบริษัท B ซึ่งมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัท AIA เหมือนกัน วันลาออกจากบริษัท A 14 กพ 53 เริ่มทำงานบริษัท B 15 กพ 53 ทันที (เป็นการลาออกเองค่ะ)

    เมื่อได้สอบถามไปยังที่บริษัท B (ที่ใหม่) เขาอนุญาตให้โอนย้าย Provident fund ไปที่เขาได้

    ดิฉันต้องการโอนกองทุนโดยไม่เสียภาษีหรือเสียน้อยที่สุดค่ะ ต้องการได้เงินก้อนตอนเกษียณ ตอนนี้เก็บไปเรื่อยๆ

    1. เราควรขออยู่ต่อที่บริษัท A ในครบ 5 ปีเต็มมั๊ย โดยที่ providend fund โอนได้อยู่แล้วไปบริษัท B จำเป็นต้องขออยู่ต่ออีกครึ่งเดือนมั๊ยคะ เพื่อประหยัดเสียภาษีตามเกณฑ์ 5 ปี

    2. อายุงานของกองทุนจะนับต่อเนื่องจาก A ไป B มั๊ยคะ หรือต้องเริ่มใหม่

    3 ในกรณีที่โอนได้ไม่มีปัญหา เราไม่ต้องเสียภาษีใดๆในการออกจากบริษัท A ใช่มั๊ยคะปี 2553 นี้

    4. ถ้าดิฉันคาดว่าจะทำงานที่บริษัท B เพียง 1 – 2 ปี คุณเกียติชัยจะแนะนำให้โอนหรือไม่ค่ะ เพราะถ้าต้องเริ่มนับใหม่ที่ B นั้น อายุงานที่ A จะมากกว่าและประหยัดภาษีได้มากกว่า

    5. ในกรณีที่เราเปลี่ยนงานใหม่บ่อยๆ ต้องหาบริษัทที่มีกองทุน AIA เหมือนกันเท่านั้นหรือจึงจะขอโอนจนเกษียณได้

    ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำแนะนำคะ

  69. ตอบคุณ Nong

    ทางกองทุนจะจ่ายเช็คเป็นชื่อพนักงานครับ ถ้าจะหักค่าชดเชยก็สามารถหักได้ตามจำนวนค่าเสียหายครับ (ปกติตามกฎหมายแรงงานหักไม่ได้)

  70. ถามข้อสงสัย

    กรณี ไม่ลาออกจากกองทุน แต่เปลี่ยนนายจ้างใหม่ หากมีการกระทำผิดพลาด ต่อระเบียบงานของบริษัท ซึ่งบริษัทจะทำการยึดเงินในกองทุนเพื่อมาจ่ายชดใช้ค่าเสียหาย บริษัทจะสามารถยึดเงินตั้งแต่เริ่มต้นเป็นสมาชิกกองทุน หรือวันที่เริ่มเปลี่ยนนายจ้างใหม่

    ขอบคุณค่ะ

  71. ตอบคุณ Nong

    ลาออกจากงานทุน โดยไม่ได้ลาออกจากงาน เงินได้ที่ได้รับจากการกองทุนจะเสียภาษีทั้งหมดครับ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี

    ส่วนยอดเงินไหนที่ต้องเสียให้ดูจากหนังสือรับรองการหักภาษีของกองทุนก็ได้ครับ

  72. ขอสอบถามข้อสงสัยค่ะ

    ทำงานที่บริษัทมา 10 ปี แล้วบริษัทโอนย้ายพนักงานไปบริษัทหลาน แต่นับอายุงานต่อเนื่อง แต่ให้เซ็นลาออกจากบริษัท และเขียนใบสมัครใหม่ในบริษัทหลาน สามารถจะลาออกจากกองทุนได้หรือไม่ แล้วจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร สมมุต ว่ามีเงินสะสม 100,000 ผลประโยชน์สะสม 10,000 บริษัทสมทบ 200,000 ผลประโยชน์ 10000 จะต้องคำนวณภาษีอย่างไร ช่วยแนะนำด้วย ขอบคุณค่ะ

  73. ดิฉันออกจากงานกลางปี53 มีรายได้ดังนี้
    1. รายได้จากเงินเดือนรวม 160,000 บาท
    2. เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน 700,000บาท
    3. เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 300,000 บาท

    ดิฉันมีข้อสงสัยดังนี้ค่ะ
    1. ดิฉันต้องยี่นแบบภ.ง.ด.90 หรือ 91 คะ ? (ไม่มีรายได้อื่น)
    2. ดิฉันจะนำเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปรวมกับรายได้จากเงินเดือนโดยกรอกในแบบภ.ง.ด.ในช่องเงินเดือน ค่าจ้าง (ช่องแรก) ได้มั้ยคะ ? และควรซื้อกองทุน LTF หรือ RMF มาลดหย่อนภาษีคะ แบบไหนถึงจะถูกต้องเหมาะสมที่สุดกับเงินได้สองส่วนนี้
    3. เงินได้ 700,000 บาทแยกไปคำนวณในใบแนบ
    วิธีที่กล่าวมาจะสามารถเสียภาษีได้น้อยที่สุดหรือไม่คะ
    ขอบคุณค่ะ

  74. ตอบคุณบุญช่วย

    เงินชดเชย เพราะเหตุออกจากงาน ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ไม่เกิน 300,000 บาท ส่วนเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีเกษียณ จึงจะได้รับการยกเว้นภาษี ลองดูว่าทางกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้หรือเปล่า ถ้าไม่ได้หักไว้ แสดงว่าทางบริษัทส่งเรื่องว่าคุณเกษียณ เงินที่ได้รับจึงยกเว้นภาษีทั้งจำนวนครับ

  75. บุญช่วย นันทสกุลการ says:

    ผมถูกเลิกจ้าง เมื่อเดือน เม.ย. 53 ขณะอายุ 55ปี 16 วัน ได้รับเงินชดเชยตามกฏหมาย และลาออกจากกองทุนเมื่อ เดือน พ.ค.53 เป็นสมาชิกกองทุน
    13 ปี ทั้งหมดจะต้องเสียภาษี ในปีนี้ ไม่ทราบว่าในส่วนของกองทุน จะได้รับการยกเว้นในการคำนวนภาษี หรือไม่? อย่างร? ครับ

  76. บุญช่วย นันทสกุลการ says:

    ผมถูกเลิกจ้าง มีอายุ ณ วันถูกเลิกจ้าง 55 ปี 16วัน ได้เงินชดเชยตามกฏหมาย และลาออกจากกองทุนแล้ว เป็นสมาชิกกองทุน 13 ปี จะกรอกเสียภาษีอย่างไร? ได้รับการยกเว้นไม่ต้องคิดภาษีหรือไม่?

  77. มีข้อมูลใหม่ว่า ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 277 ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และ ประกาศอธิบดีสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 188 เรื่องกำหนดเงื่อนไขและวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ออกจากงานสามารถขอยกเว้นภาษีเงินได้ ถ้าเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้

    ผู้ที่สนใจให้ไปศึกษาดูได้

  78. ตอบคุณ nmk0307

    ยอด 173,805 ต้องนำมาคำนวณภาษีก่อน แล้วหักด้วยภาษีที่กองทุนหักไว้ (คำนวณในใบแนบ) คงเหลือเงินที่ต้องชำระเพิ่มเติมหรือชำระไว้เกินให้นำมากรอกในแบบ ภงด.91 ข้อ 15 หรือ 16

    วิธีรอให้ 5 ปีก่อน แล้วค่อยลาออก คุ้มกว่าครับ

  79. ขอรบกวนถามเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่งค่ะ ยังงงอยู่

    2.ยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากเป็นการใช้สิทธิแยกคำนวณ(ในใบแนบ) จึงต้องนำเงินได้ที่แยกคำนวณไปคิดภาษีก่อน คือนำยอด 173,805 ไปคำนวณภาษี (เงินได้ส่วนนี้จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีในส่วนของ 150,000 แรกบาทแล้ว) ได้ภาษีเท่าไหร่ใ้ห้นำไปรวมกับ ภงด.91 แล้วนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายของกองทุนมาหักอีกที ลองดูในแบบนะครับ
    >>แล้วยอด 173,805 นี้ จะต้องเอาไปหักภาษีกี่เปอร์เซนต์คะ
    แล้วภาษีที่ได้นั้นเอาไปใส่ในช่องไหนของภงด 91 คะ ใช่ช่องภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือเปล่า

    3.กรณีอายุงานไม่ถึง 5 ปี จะใช้สิทธิแยกคำนวณตามข้อ 2 ไม่ได้ ต้องนำเงินได้ทั้งหมดที่ได้รับ ไปรวมกับเงินได้ตามปกติ (1,000,000+382,611) คำนวณในแบบ ภงด.91(150,000 จะยกเว้นให้ตอนคำนวณภาษีครับ)

    เงินได้ทั้งหมดที่ได้รับ ใช่ยอดนี้ไหมคะ

    เงินที่ได้จากกองทุนทั้งหมด ลบ เงินสะสมของเรา

    หรือว่าต้องเอาเงินสะสมส่วนของเราเข้าไปรวมเสียภาษีด้วยคะ เริ่มงง

    เอาง่ายๆ นะคะ วิธีไหนจะเสียภาษีน้อยกว่ากัน : ) ระหว่างรอห้าปี กับ ไม่ครบห้าปี

  80. ตอบคุณ mnk0307

    1.ได้ครับ
    2.ยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากเป็นการใช้สิทธิแยกคำนวณ(ในใบแนบ) จึงต้องนำเงินได้ที่แยกคำนวณไปคิดภาษีก่อน คือนำยอด 173,805 ไปคำนวณภาษี (เงินได้ส่วนนี้จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีในส่วนของ 150,000 แรกแล้ว) ได้ภาษีเท่าไหร่ใ้ห้นำไปรวมกับ ภงด.91 แล้วนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายของกองทุนมาหักอีกที ลองดูในแบบ
    3.กรณีอายุงานไม่ถึง 5 ปี จะใช้สิทธิแยกคำนวณตามข้อ 2 ไม่ได้ ต้องนำเงินได้ทั้งหมดที่ได้รับ ไปรวมกับเงินได้ตามปกติ (1,000,000+382,611) คำนวณในแบบ ภงด.91(150,000 จะยกเว้นให้ตอนคำนวณภาษีครับ)
    4.ถูกต้องครับ ลองนึกถึงว่าถ้าเราเป็นเจ้าหน้าที่รัฐมาตรวจเจอว่าคุณอายุงานไม่ครบ แบบนี้ควรจะยกเว้นหรือไม่ ถ้ายกเว้นจะถือว่าเป็นการทุจริตหรือไม่ (หรือจะเรียกว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ก็ได้)

  81. รบกวนสอบถามดังนี้ค่ะ

    1 ปัจจุบันอายุงานประมาณ 4.5 ปี ถ้าลาออกจากงานตอนนี้ แต่ยังไม่เอาเงินกองทุนออกมา hold ไว้ก่อน จนถึงปีหน้า แล้วค่อยถอนออกมาปีหน้า แล้วยื่นภาษีของปี 2554 ได้ไหมคะ

    2. ถ้าอดทนอยู่ต่อ จนถึง 5 ปี แล้วมีสิทธิ์แยกยื่น จะคิดได้ดังนี้

    เงินได้ที่นำมาคำนวณภาษีได้ 382,611.45
    หัก คาใช้จ่ายส่วนแรก (7000*5) 35000
    347,611.45
    หัก คาใช้จ่ายส่วนที่สอง (347,611.45/2)173805.725

    คงเหลือยอดที่ต้องเสียภาษี 173,805.73
    จะสอบถามว่าเราต้องนำยอด 173,805.73 ไปเป็นยอดรายได้ของปีที่เราลาออก แล้วเสียภาษีใช่ไหมคะ

    คือ ถ้ารายได้ประจำปี 1,000,000

    ต้องเอายอด 173,805.73 นี้ไปบวก แล้วเอาภาษี ณ ที่จ่ายที่กองทุนหักไว้มาหักได้ ถูกต้องไหมคะ

    3. แต่ถ้าในกรณีที่ออกมาเลย จะต้องเอายอดไหนมารวมกับรายได้ประจำปีคะ ใช่ยอดที่เป็นยอดรวมทั้งหมด ลบ ยอดที่เราสะสม หรือไม่

    ถ้าใช่ จะคิดได้ดังนี้

    เงินได้ที่นำมาคำนวณภาษีได้ 382,611.45
    หักลดหย่อน 150000
    คงเหลือยอดที่ต้องเสียภาษี 232,611.45

    แล้วค่อยเอายอด 232,611.45 ไปรวมกับรายได้ประจำปี เพื่อเสียภาษี ใช่หรือไม่คะ

    ถ้าเอาเงินออกมาพร้อมกับลาออก ก็จะได้ยอดเสียภาษี

    1,000,000+
    232,611.45

    แต่ถ้ายังไม่เอาออกมา ก็แล้วแต่ว่าปีหน้าเราจะมีรายได้เท่าไหร่ หรือว่าถ้าเราไม่มีรายได้เลย ก็จะเสียภาษีจากยอด 232,611.45
    ใช่หรือไม่คะ

    4. เรื่องอายุงาน นับอย่างไรคะ เห็นเพื่อนมาบอกว่า ต้องเป๊ะ ๆ สมมุติว่า เข้างานวันที่ 4 เมษายน 2549 จะครบ 5 ปี เมื่อไรคะ เอาแบบสูตรตามสรรพากร

    รบกวนช่วยตอบด่วนค่ะ เนื่องจากกำลังตัดสินใจว่าจะอยู่ต่อ หรือว่าลาออกเลยดี

    ขอบคุณมากนะคะ

    nmk0307

  82. ตอบเพื่อนกุสุมา

    การนับอายุการทำงานเพื่อประโยชน์ทางภาษี หากสมาชิกออมเงินในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างต่อเนื่อง ให้นับรวมอายุงานที่สมาชิกทำงานกับนายจ้างทุกราย แต่ไม่นับช่วงระยะเวลาที่ไม่มีส่งเงินสมทบเข้ากองทุน ยกเว้นว่าหากสมาชิกลาออกจากกองทุนและมีการรับเงินจากกองทุนแล้ว จะต้องเริ่มต้นนับอายุงานใหม่

    การหักลดหย่อนให้คูณจำนวนปีที่ทำงานครับ ส่วนหลักฐานคงต้องเป็นใบรับรองการทำงานประกอบ เว้นแต่ว่ามีหลักฐานที่กองทุนสามารถแจ้งได้ว่าทำงานในแต่ละนายจ้างกี่ปี

  83. เพื่อนกุสุมา says:

    ขอถามเพิ่มเติมค่ะ ว่าถ้าเรามีการเปลี่ยนงานบ่อยๆ อยู่ที่ละ 2-3ปี แต่ไม่ได้เอาเงินออกจากกองทุน แต่ใช้โอนไปกองทุนใหม่แทน อย่างนี้การคำนวนอายุกองทุน สามารถนำจำนวนปีที่ทำงานทั้งหมดมารวมกันเพื่อคิดภาษีกรณีอยู่เกินห้าปีได้ไหมคะ ถ้าได้แล้วจำนวนปีที่ทำงานเพื่อมาหักลดหย่อนจะเท่ากับจำนวนปีที่อยู่ในกองทุนหรือไม่ หรือต้องแนบเอกสารรับรองการทำงานของแต่ละที่ด้วยคะ

  84. เพื่อนกุสุมา says:

    กรณีคุณกุสุมาสามารถเลือกเป็นแบบที่ 1 คือรวมเงินผลประโยชน์ที่ได้จากกองทุนเข้ากับรายได้พึงประเมิน แล้วขอลดหย่อน 150,000 แทน ได้ไหมคะ?

  85. ตอบคุณกุสุมา

    คำนวณในแบบแนบตามที่คุณกุสุมา คำนวณมาให้ดูไงครับ คือ เอา 133,000 หัก 7000xอายุงาน หักค่าใช้จ่าย 50% คำนวณภาษีได้เท่าไหร่ ก็ไปรวมที่ ภงด.91 แล้วเอาภาษีที่กองทุนหักไว้ (ถ้ามี) มาหักออก

  86. กุสุมา says:

    โอยจะเป็นลม งี้ก็โดนภาษีสองเด้งเลยใช่มั้ยคะ T_T
    ยอดเงินได้จากกองทุน 133,000 บาทนี้ คิดที่ฐานภาษ๊ 10% ก็ 13,300 บาทใช่มั้ยคะ

  87. ตอบคุณกุสุมา

    ต้องนำมาคิดในใบแนบ ภงด.91 แล้วนำยอดที่ได้มารวมกับ ภงด.91 อีกที (เหมือนกับคำนวณแยกกัน 2 ใบ แล้วนำยอดมารวมกัน) แล้วนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายของทั้งคู่มาหักออกอีกที (ถ้ามี)

  88. กุสุมา says:

    ที่สงสัยคือว่า ยอดเงิน 133,000 นี้ต้องเอามาคิดใน ภงด 91 อีกหรือไม่คะ

  89. คำนวณได้ถูกต้องแล้วครับ

    ปกติทางกองทุนจะส่งแบบคำนวณภาษีมาให้ด้วย และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งจะมียอดเงินได้ที่ใช้คำนวณภาษี และยอดภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย

  90. ขอถามเพิ่มเติมนะคะ ยังไม่ค่อยเคลียเรื่องยอดเงินที่จะเอาไปคำนวณภาษีตาม ภงด 91 ค่ะ
    สมมุติว่า เงินสมทบ+ผลประโยชน์เงินสะสม+ผลประโยชน์เงินสมทบ เป็นเงิน 133,000 ยอดนี้จะเป็นยอดที่เอาไปคิดเปนไงได้ใน ภงด 91 ใช่มั้ยคะ แล้วต้องเอาไปรวมกันเงินเดือนของปีภาษีนั้นใช่มั้ยคะ
    แล้วส่วนที่บอกว่า ให้หักลดหย่อนปีที่ทำงาน ที่เหลือคิดที่ยอด 50% นี้คือยังไงคะ ยังงงอยู่ อย่างตัวเลขที่สมมุติไว้นะคะ
    เงินที่นำไปคิดเป็นภาษีเงินได้ 133,000
    หักค่าใช้จ่าย (7000*5 ปี) (35,000)
    คงเหลือ 98,000 ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 (98,000/2) (49,000)
    คงเหลือเงินได้ที่นำไปคิดภาษี 49,000
    ยอดที่ทางกองทุนหักภาษี ณ ที่จ่ายจะเป็น ยอด 2,450

    แล้วตัวเลขพวกนี้ เราต้องเอาอะไรไปใช้ในการคำนวณ ภงด 91 คะ งงอย่างแรงค่ะ เพราะตอนนี้กำลังจะคำนวณเงินที่จะเอาไปซื้อ LTF และประกันชีวิตเพื่อมาลดหย่อนภาษีค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

  91. ตอบคุณ anything

    – ต้องเอารายได้ที่กองทุนใช้คำนวณภาษีมาถือเป็นรายได้ แล้วคำนวณภาษีตามปกติ เมื่อได้ยอดภาษีแล้วค่อยเอาภาษีที่กองทุนหักไว้มาลบออก
    * ส่วนเหตุผลเนื่องจากกฎหมายบังคับให้กองทุนหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วนำส่งไปก่อน ส่วนผู้ที่ถูกหัก ก็นำรายได้ที่ได้รับมาคำนวณภาษีอีกรอบ อาจจะได้คืนภาษีหรือต้องจ่ายเพิ่มก็ได้
    – ถูกต้องครับ นำส่งเองไม่ได้

  92. สงสัยในคำตอบที่ได้ตอบคุณชำนาญในวันที่ 13/7/2009

    -เรื่องที่ทางกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืนเงินให้ ไม่ครบจำนวน โดยมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว อยากทราบว่าเวลาเราคำนวณภาษีประจำปี เรายังต้องเอารายได้กองทุนส่วนที่เหลือหลังจากเคยหักภาษีไปแล้วมากคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกไหมคะ สงสัยว่าหักไปแล้วทำไมต้องนำมาคำนวณอีกรอบหนึ่งคะ

    -ทำงานมา 6 ปีแล้วคะ ที่ทำงานใหม่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เราจำเป็นต้องลาออกจากกองทุนได้อย่างเดียวเลยใช่ไหมคะ ไม่สามารถส่งเงินเองได้หรือคะ

  93. ตอบคุณอ้อยทิพย์

    การลาออกจากกองทุนโดยไม่ลาออกจากงาน ต้องนำเงินที่ได้จากกองทุนมาเสียภาษีโดยไม่ได้รับการยกเว้น แต่ถ้าเป็นการลาออกจากงานและมีอายุงานเกิน 5 ปี สามารถใช้สิทธิแยกคำนวณภาษีได้และหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายได้ 50% ครับ
    ดูตัวอย่างวิธีการคำนวณข้างบน ผมใส่ไว้ให้แล้ว

  94. อ้อยทิพย์ says:

    กรณีที่บริษัทแยกบริษัทใหม่อีกบริษัท และมีการโอนย้ายพนักงานที่บริษัทเก่าไป ทางบริษัทให้สิทธิในการนำเงินกองทุนออกได้ จะถามว่า
    เมื่ออายุกองทุนเกิน 5 ปีแล้ว สามารถแยกคำนวณ เงินกองทุนที่จะได้รับกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่ และมีหลักการอย่างไร
    เช่น รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อยต่างๆของการคำนวณภาษีคือ 620000 เงินกองทุนที่จะได้ปรับ 170000 จะเสียภาษีเท่าไร

  95. ตอบคุณเฉลิมพล

    เนื่องจากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเกษียณอายุเท่านั้นถึงจะได้รับการยกเว้นภาษี กรณีนี้จะเสียภาษีจากเงินได้ครึ่งหนึ่งนะครับ (หักค่าใช้จ่ายได้ 50%)

  96. มีคำถามว่าเป็นพนักงานองค์การของรัฐกว่าสามสิบปี เมื่อประมาณปี 2530 ที่สถาบันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้เข้าเป็นสมาชิก จนบัดนี้กว่ายี่สิบปีแล้ว เมื่อต้นปีนี้ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บริหารขององค์การที่ทำงานอยู่ตามมติคณะรัฐมนตรี ทางองค์การจึงให้พ้นสมาชิกภาพการเป็นสมาชิกกองทุนฯ แต่ระหว่างนี้ยังไม่ได้เอาเงินไปใหนจึงให้กองทุนดูแลต่อไม่เกินหนึ่งปี เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้แสดงความประสงค์ขอลาออกจากกองทุนฯ ปรากฎว่า ทาง บลจ.ที่ดูแลกองทุนหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้งหมดที่ไม่ใช่ส่วนของพนักงาน ตั้งแต่เริ่มเข้ากองทุนเมื่อยี่สิบกว่าปี ทั้งๆที่ขณะที่รับตำแหน่งผู้บริหารก็มีอายุเกิน 55 ปีแล้ว สงสัยว่าทำไมถึงต้องหักภาษีย้อนหลังทั้งหมด น่าจะหักเฉพาะหลังออกจากการเป็นพนักงานประจำเมื่อต้นปีเท่านั้น

    เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเกษียณอายุ แต่ทำงานตามมติครม.ที่แต่งตั้งและยังทำงานที่องค์การเดิมอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผู้ที่ซื้อกองทุนรวม rmf-ltf อยู่แค่ ห้าปี อายุ 55 ก็ออกได้ไม่เสียภาษี แต่เราถูกหักย้อนหลังตั้งแต่เริ่มเข้ากองทุน อยากทราบว่ามีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้นหรือไม่ จึงทำกับเราแบบนี้?

  97. ตอบคุณเอกราช

    คำนวณตามกรณีที่สอง เนื่องจากอายุงานเกิน 5 ปีครับ (ดูที่อายุงาน)

  98. ทำงานมา 22 ปี ทางบริษัทฯ ให้สิทธิประโยชน์จากการลาออกจากงานตามอายุงานคือถ้าทำงานมา 22 ปี จะได้รับเงินเดือน ๆ สุดท้าย คุณด้วยอายุทำงาน
    แต่ในปี 2549 เดือนธัีนวาคม ทางบริษัทฯ ให้สิทธิพนักงานเลือกว่าจะนำเงินสวัสดิการที่ได้ตามอายุงาน รวมเขาไปในกองทุนสำรองเลี้ยงขีพได้
    และกรผมได้เลือกไปคือตอนนั้น อายุงานประมาณ 17 ปีได้เลือกโอนเงินสวัสดิการถ้าลาออกจากงานเขากองทุนสำรองเลียงขีพของทางยริษัทฯ
    และได้เริ่มหักเงินเขากองทุนสะสมในส่วนของตนเองและทางบริษัทฯ ก็ได้สมทบในจำนวนเท่ากัน ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี2549
    คำถาม – ถ้าผมลาออกภายใน เดือนกันยายน ปี2553 (ซื่งจะไม่ครบ 5ปี ขาดไป 2 เดือน) ในกรณีนี้จะคำนวณภาษีในกรณ๊ไหนครับ กรณ๊แรก หรือ กรณีที่สอง

  99. ตอบคุณนนธิภา

    ควรจะติดต่อแผนกบุคคลของบริษัท สอบถามความคืบหน้าว่าติดปัญหาเรื่องอะไร
    ปกติถ้าเคยได้รับสลิปจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาก่อน ในสลิปจะมีเบอร์โทรติดต่อกองทุนฯ ลองโทรไปสอบถามดูก็ได้

  100. นนธิภา says:

    1.ดิฉันลาออกจากงานแล้วยังไม่ได้รับเงินกองทุนเนื่องจากบริษัทไม่ได้ดำเนินการให้ต้องร้องเรียนที่ไหน
    2.ดิฉันลาออกจากโลตัสปราณบุรี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2553 จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 เป็นจำนวน 61 วันแล้วยังไม่ได้รับเงินคืน
    3.รบกวนช่วยให้คำแนะนำด้วยค่ะในกรณีนี้

  101. ตอบคุณริสา

    ทางกองทุนคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้

    หนังสือรับรองการหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายสามารถนำมาเป็นเครดิตภาษีตอนคำนวณสิ้นปีได้ครับ ส่วนวิธีการคำนวณกรณีสามารถใช้สิทธิคำนวณแยก(ตามใบแนบ)ได้ เราจะเลือกใช้วิธีไหนก็ได้ครับ

  102. ดิฉันได้ลาออกจากกองทุนในปีนี้ และวางแผนที่จะเสียภาษีตามแบบภ.ง.ด.91 แต่ทางกองทุนได้คำนวณหักภาษีโดยคิดตามใบแนบ เช่นนี้แล้วดิฉันยังสามารถคำนวณภาษีตามแบบภ.ง.ด.91 ได้หรือไม่ จะผิดกฎหมายของสรรพากรมั้ย หรือ

    1. ดิฉันควรแจ้งกองทุนให้แก้ไขการหักภาษีใหม่ตามแบบภ.ง.ด.91 หรือ
    2. ดิฉันต้องคำนวณภาษีตามใบแนบ วิธีเดียวกับที่กองทุนคำนวณคะ

  103. ตอบคุณชมภู่

    ลองติดต่อไปที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยตรงก็ได้ ดูจากสลิปกองทุนที่เคยได้รับก็ได้ น่าจะมีเบอร์โทรติดต่ออยู่

  104. ทำไงดีค่ะ ถ้าลาออกจากบริษัทแล้ว และต้องการเงินกองทุนเลี้ยงชีพ
    แต่บริษัทไม่ส่งรายละเอียดให้ทางกองทุน
    เราจะมีวิธีการร้องเรียนได้บ้างมั้ยค่ะ

  105. ตอบคุณธนภรณ์

    ประมาณ 1 เดือนครับ

  106. ลาออกจากงานแล้วกี่เดือนจึงจะได้รับเงินกองทุนคืนค่ะ

  107. ได้ครับ ถ้าเป็นคนละปีภาษีกัน ลองเข้าไปอ่านที่นี่ดูนะครับ
    http://www.kiatchai.com/archives/1016

  108. ถามแทนเพื่อน says:

    หากเป็นพนักงานอยู่บริษัท ก. แล้วออกโดยได้เงินชดเชย / เงินได้ครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน เมื่อสิ้นปีก็ยื่นภาษีพร้อมใช้ใบแนบ ต่อมาทำงานที่ใหม่และได้รับเงินแบบเดียวกับบริษัทแรก สามารถใช้ใบแนบอีกได้หรือไม่ (คนละปีภาษี) เพราะอะไร ขอบคุณค่ะ

  109. – การลาออกจากกองทุนไม่จำเป็นต้องลาออกจากงานครับ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระเบียนข้อบังคับของบริษัท บางบริษัทก็ต้องลาออกด้วย แต่ที่ผมเคยทำงานด้วย ไม่จำเป็นต้องลาออกจากงานครับ
    – การนับอายุงานถือเป็นเรื่องสำคัญ ผมแนะนำว่าคุณควรจะอยู่ให้ครบ 5 ปีครับ

  110. รบกวนถาม..เกี่ยวกับเงินกองทุน ครับ
    1…การลาออกจากองทุนจำเป็นด้วยมั้ยที่ต้องลาออกจากงานก่อน ทางบริษัทไม่ยอมให้ลาออกก่อน น่ะงง
    2.อยู่มา5ปี ถ้าลาออกแล้วทำงานไม่ครบตามกำหนด1เดือนขาดงานไป4-5วัน ทางบริษัทเค้ามีสิทธิตัดเงินในส่วนของที่บริษัทที่ให้สมทบมาได้รึเปล่า แต่ถ้า4-5วันนี้เราใช้เป็นพักร้อนที่เหลือหละเค้าจะหักเราได้อีกรึเปล่าสงสัย
    ตอบด้วยนะครับผู้รู้

  111. ตอบคุณรัธนินทร์
    – ต้องนำเงินทั้งสองกองทุนมารวมกันครับ การนับอายุงานก็ให้นับต่อเนื่องกันจากที่ทำงานเดิมที่เคยเป็นสมาชิกอยู่ครับ
    – เนื่องจากทำงานเกิน 5 ปี จะเสียภาษีตามวิธีที่ 2 ลองอ่านด้านบนดูนะครับ

  112. รัธนินทร์ says:

    ผมรบกวนสอบถามเกี่ยวกับการคำนวณภาษี คือว่า

    1. ผมโอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากบริษัทเก่าที่ทำงานมา 10 ปี จำนวน 350,000 บาท (เงินสะสม 150,000 เงินสมทบ 200,000 บาท)
    2. ผมทำงานอยู่ในบริษัทปัจจุบันมา 2 ปี มีเงินสะสม 50,000 บาท
    3. เงินที่จะได้จากกองทุนทั้งหมด (ซึ่งรวมเงินที่โอนมาจากบริษัทก่อนด้วย) อยู่ที่ประมาณ 420,000 บาท

    อยากทราบว่า หากผมลาออก จะโดนหักภาษีอย่างไร เนื่องจากว่ามีเงินโอนมาจากกองทุนบริษัทเก่าด้วย

    ขอบคุณมากครับ

  113. ตอบคุณบีเบญ ในส่วนของเงินที่หักจากพนักงาน และผลประโยชน์ คืนให้ทั้งหมด ส่วนที่เป็นของนายจ้าง คืนให้ตามข้อกำหนดบริษัท เช่น ทำงาน 3 ปีแต่ไม่ถึง 4 ปี น่าจะได้รับอยู่ประมาณ 60% (ทั้งนี้ต้องไปดูข้อกำหนดของบริษัทครับไว้จ่ายเท่าไหร่)

  114. ขอสอบถามว่าถ้าดิฉันทำงานมา 3 ปีแล้วจะลาออกจากงาน ทางกองทุนสำรองเลียงชีพจะได้คืนเงินยังไงคิดเป็น %ก็ได้คะขอบคุณคะ

  115. ตอบคุณสงสัย โดยปกติกองทุนจะส่งเช็คพร้อมแนบแบบคำนวณภาษีมาให้ ให้ดูจากแบบคำนวณ ถ้าดูในแบบจะเห็นว่าในส่วนของเงินได้พึงประเมิน จะไม่รวมเงินสะสมของพนักงาน แต่จะรวมเงินสะสมนายจ้าง+ผลประโยชน์ในส่วนนายจ้าง+ผลประโยชน์ในส่วนลูกจ้าง

    หรือถ้าดูในโปรแกรมคำนวรจะนำเงินได้ทั้งหมด-เงินสะสม(พนักงาน) แล้วคำนวณภาษีครับ ตามข้อที่ 1 ที่เขียนมา

  116. กรณีลาออกจากงานและลาออกจากกองทุน ทำงานมากกว่า 5 ปี
    จากข้อความข้างบนและใบแนบ ภงด 90/91 ไม่ได้กล่าวถึงเงินสะสมของพนักงาน แตาในโปรแกรมคำนวณนั้นสามารถหักเงินสะสมของพนักงานได้

    เงินที่ได้รับจากกองทุน = เงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์เงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์เงินสะสมของพนักงาน
    เงินสะสม = เงินสะสมของพนักงาน

    สงสัยว่าจะคำนวณตามแบบไหนระหว่าง
    1. {เงินที่ได้รับจากกองทุน – เงินสะสม – (7000*จำนวนปีที่ทำงาน)} * 0.5
    2. {เงินที่ได้รับจากกองทุน – (7000*จำนวนปีที่ทำงาน)} * 0.5

  117. ตอบคุณมาดาม การเสียภาษีกฎหมายให้แยกยื่นแบบได้ ถ้าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) คือเงินเดือนค่าแรงเท่านั้น ส่วนเงินได้ประเภทอื่นของภรรยาให้นำไปรวมคำนวณกับของสามีครับ

  118. ไม่เห็นตอบมาดามเลยค่ะ

  119. ตอบคุณชำนาญ
    1.ใช่ครับ
    2.ถูกต้องครับ

  120. พี่ชายดิฉันไม่ได้จดทะเบียนหย่ากับภรรยาแต่ได้แยกกันอยู่เป็น 10 แล้ว
    สาเหตุที่ไม่จดทะเบียนหย่าก็เพราะเห็นแก่หลานๆ (ลูกของพี่ชาย)
    จะมีก็เพียงแต่การแจ้งบันทึกประจำวันกับสถานีตำรวจว่าได้แยกกันอยู่
    ต่อมามีปัญหาว่าภรรยาของพี่ชายเกิดมีรายได้ขึ้นมา สรรพากรตรวจสอบว่า
    พี่ชายกับพี่สะไภ้ไม่ได้จดทะเบียนหย่าจึงต้องเสียภาษีรวมกัน

    พอจะมีวิธีแก้ปัญหาบ้างหรือเปล่าคะ สงสารพี่ชายเพราะต้องเสียภาษีเยอะมากค่ะ

    ขอบคุณมากค่ะ

  121. ขอบคุณมากครับ
    1 ผมเห็นมีโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้ สำหรับเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ด้านล่าง) โปรแกรมนี้สามารถคำนวณดูได้เลยใช่มั้ยครับ เฉพาะ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ใช่มั้ย
    2 ตามข้อ 3 ผมยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร แยกคำนวณ คือ
    แยกระหว่าง รายได้ปกติ กับ เงินกองทุนที่ได้รับ ใข่หรือไม่

  122. ตอบคุณชำนาญ
    1. ปกติในรายงาน Slip จะมีเงินอยู่ 2 ส่วนคือส่วนของพนักงาน กับส่วนของนายจ้างสมทบ และทั้ง 2 ส่วนจะแยกอีกว่า เป็นเงินสมทบ กับ ผลประโยชน์ ตามที่ผมเคยเห็นนะครับ จะไม่นำเงินสมทบในส่วนของพนักงานมาคิด แต่จะนำเงินสมทบของนายจ้าง (เงินสมทบ+ผลประโยชน์) กับ ส่วนของพนักงาน (จะนำเฉพาะผลประโยชน์มาคิดเท่านั้น)

    2.เงินที่ต้องนำมาคำนวณภาษี (ตามที่ข้อ 1)

    3.เนื่องจากคุณชำนาญเป็นสมาชิกกองทุนมากกว่า 5 ปี จึงสามารถใช้สิทธิ์แยกคำนวณได้ แต่จะไม่ได้รับการยกเว้น 150,000 แรกนะครับ

  123. ขอบคุณมากครับ แต่ยังมีคำถามอีกนิดนะครับ
    1. เงินที่ได้รับ หมายถึง เงิน (สะสม+สมทบ) ใช่หรือเปล่า หรือว่าคิดจากส่วนสมทบ ที่นายจ้างจ่ายให้
    2. เมื่อคิดตามสูตรแล้ว (เงินที่ได้รับ-(7000*13))*50% แล้วไปคำนวณตามอัตราภาษี แล้ว หัก ณ ที่จ่าย ใช่มั้ยครับ
    3. พอ มี.ค. ต้องนำ เงินที่ได้รับมารวมกับรายได้ทั้งปี แล้วก็ยื่นแบบ ภงด.90/91 อีกทีใช่หรือไม่
    ขอบคุณครับ

  124. ตอบคุณชำนาญ ปกติแล้วทางกองทุนจะต้องคืนเงินให้สมาชิกครบตามจำนวนครับ แต่ที่เค้าคืนไม่ครบเกิดจากการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามระบบภาษี

    อย่างเช่นถ้าเป็นการเกษียนอายุ ทางกองทุนจะจ่ายคืนให้เต็มจำนวนไม่มีการหักภาษี แต่ในกรณีของคุณชำนาญจะอยู่ในกรณีที่ 2 โดยจะต้องนำเงินที่ได้รับมาคำนวณภาษีก่อน วิธีการคำนวณภาษีก็นำเงินที่ได้รับ มาหัก 7000×13ปี เหลือเท่าไหร่หักค่าใช้จ่ายได้อีก 50% แล้วนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทางกองทุนจะหักภาษีไว้นำส่งสรรพากร ส่วนที่เหลือคืนให้สมาชิก

    หากต้องการย้ายเงินกองทุนไปยังที่ทำงานใหม่ ค่าธรรมเนียมส่วนใหญ่แล้วทางกองทุนจะไม่คิด แต่เห็นมีบางกองทุนคิดค่าธรรมเนียมในการโอนย้าย 100 บาทครับ

  125. 1.ลาออกจากที่ทำงานเก่า และ ลาออกจากกองทุนด้วย
    2.เงินกองทุนรวม 240,000 (ส่วนสะสม 110,000 ส่วนสมทบ 130,000)
    3.อายุงาน 13 ปี เริ่มทำงานปี 2539 แต่เริ่มสะสมกองทุนสำรอง ปี 2543 (9 ปี)
    4.หากต้องการรับเงินคืนจากกองทุน จะได้รับเงินคืนเท่าใด และหลักการเสียภาษีคิดอย่างไร
    5.หากไม่ต้องการรับเงินคืน แต่ต้องการโอนเงินกองทุนไปของที่ทำงานใหม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียม ภาษี อะไร หรือไม่
    ขอบคุณครับ
    ชำนาญ โทร. 08-6544-2273

  126. ได้ครับ แล้วแต่ข้อบังคับของบริษัท แต่ละบริษัทอาจกำหนดเวลาไว้ไม่เท่ากัน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1 ปี

  127. ดิฉันอยากสอบถามว่า ถ้าลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนฯโดยไม่ได้ลาออกจากงาน สามารที่จะกลับเข้าไปเป็นสมาชิกอีกครั้งได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องสมัครโดยเว้นระยะห่างจากการลาออกเป็นเวลาเท่าใด ขอบคุณคะ

  128. ตอบคุณชนัญญา เนื่องจากคุณชนัญญา เป็นสมาชิกกองทุนเกินกว่า 5 ปีและมีอายุยังไม่ครบ 55 ปี จะอยู่ในกรณีที่ 2 คือได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติม ดังนี้
    1. สามารถใช้สิทธิแยกยื่นโดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น (ใช้ใบแนบ ภงด.90/91)
    2. สามารถหักค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ดังนี้ นำ 7000 x จำนวนปีที่ทำงาน เหลือเงินได้เท่าไร สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้อีก 50 %

    แต่เนื่องจากวิธีแยกคำนวณภาษีจะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้ 150,000 บาทแรกนะครับ
    ที่ถามว่าควรจะเก็บไว้ก่อนดีกว่าหรือไม่ ถ้าไม่รีบร้อนใช้เงินผมก็เห็นว่าควรเก็บไว้ก่อน ถึงแม้ว่าภาษีที่จะเสียในปีนี้ หรือปีหน้าอาจจะไม่แตกต่างกัน อยู่ที่จำนวนเงินได้ในปีหน้า และจำนวนเงินได้จากกองทุน (ถ้ามาก ก็ไม่แตกต่างกัน) ในปีหน้าผมคิดว่าค่าลดหย่อนที่จะได้รับน่าจะมากกว่าในปีนี้

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.