ค่าจ้างตามประกันสังคม | รับทำเงินเดือน ค่าจ้างตามประกันสังคม | รับทำเงินเดือน

ค่าจ้างตามประกันสังคม

ค่าจ้างตามความหมายของประกันสังคม

ค่าจ้าง คือ เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลา หรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณหรือจ่ายในลักษณะใด หรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร

องค์ประกอบของค่าจ้าง

  • 1. เป็นตัวเงิน
  • 2. นายจ้างเป็นผู้จ่ายให้แก่ลูกจ้าง
  • 3. เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างในวันและเวลาทำงานปกติ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างในวันหยุด และวันลา ที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย

ดังนั้น เงินใดก็ตามที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้าง หากเป็นไปตามองค์ประกอบดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่านายจ้างจะเรียกชื่ออย่างไร กำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใด หรือโดยวิธีการใดก็ตามย่อมเป็นค่าจ้างทั้งสิ้น

ข้อสังเกตเงินที่ไม่ใช่ค่าจ้าง

  • 1.เงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้าง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ไม่ถือเป็นการตอบแทนการทำงาน
  • 2. เงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อจูงในให้ลูกจ้างทำงานให้มาก ทำงานให้ดี หรือจ่ายให้ตอนออกจากงาน เช่น เบี้ยขยัน เงินโบนัส เงินบำเหน็จ เงินสะสม ค่าชดเชย แม้จะมีการจ่ายประจำ ก็ไม่ถือเป็นการตอบแทนการทำงาน
ที่เป็นค่าจ้าง ที่ไม่เป็นค่าจ้าง
– เงินเดือน – ค่าล่วงเวลา
– ค่าครองชีพ – โบนัส, ค่ารักษาพยาบาล
– ค่าตอบแทนการทำงาน – เบี้ยขยัน
ค่ากะ – บิลมาเบิกค่าน้ำมัน
– ค่าจ้างรายวัน – ค่าเบี้ยประชุม
– เงินประจำตำแหน่ง – ค่าจ้างทำของ
– ค่าแรง – เงินรางวัล
  ค่าคอมมิสชั่น

เพิ่มเติม

ค่าคอมมิสชั่น จะนำมารวมคำนวณประกันสังคมหรือไม่ขึ้นอยู่กับลักษณะการจ่าย

ค่าคอมมิสชั่นที่ต้องนำมารวมคำนวณประกันสังคม ต้องเป็นค่าคอมมิสชั่นที่เกิดจากการขายสินค้าต่อชิ้น คำนวณตามจำนวนชิ้นที่ขายได้ ขายได้น้อยก็ได้คอมมิสชั่นน้อย ขายได้มากก็ได้ค่าคอมมิสชั่นมาก

ค่าคอมมิสชั่นที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณประกันสังคม ต้องเป็นค่าคอมมิสชั่นที่กำหนดจากเป้าหรือยอด เช่น ถ้าขายได้ครบ 100 ชิ้นจะได้ค่าคอมมิสชั่น 1,000 บาท หรือถ้าขายได้ถึงเป้าที่กำหนดเช่น กำหนดเป้าการขายไว้ 100,000 บาท จะได้ค่าคอมมิสชั่นจากส่วนที่เกิน 100,000 บาท เป็นต้น

ค่าเช่าบ้าน ไม่ถือเป็นค่าจ้าง

ตย.เช่น บริษัทได้กำหนดให้มีการจ่ายค่าเช่าบ้านให้แก่พนักงานพร้อมกับเงินเดือนในอัตราร้อยละ 15 ของเงินเดือน แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2,000 บาท เพื่อเป็นสวัสดิการสำหรับค่าที่พัก โดยบริษัทจะจ่ายให้แก่พนักงานทุกคนและมิได้กำหนด เงื่อนไขว่าพนักงานที่จะมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านจะต้องเป็นผู้ที่เช่าบ้านอาศัยอยู่จริง การจ่ายค่าเช่าบ้านดังกล่าวถือได้ว่าบริษัทมีเจตนาที่จะจ่ายค่าเช่าบ้านเพื่อเป็นสวัสดิการช่วยเหลือเป็นค่าเช่าที่พักแก่พนักงาน มิได้มีเจตนาจ่ายให้แก่พนักงานเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ จึงมิใช่ค่าจ้าง ………….

ค่าตำแหน่ง ถือเป็นค่าจ้าง
บริษัทกำหนดให้มีการจ่ายเงินค่าตำแหน่งให้เฉพาะพนักงานตำแหน่งระดับโฟร์แมน ในอัตราเดือนละ 2,000 บาท โดยจ่ายให้พร้อมกับเงินเดือน  เงินค่าตำแหน่งจึงป็นเงินที่บริษัทจ่ายเพิ่มจากค่าจ้างปกติที่พนักงานตำแหน่งระดับโฟร์แมนได้รับอยู่แล้ว โดยมีการจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือน และมีจำนวนเงินแน่นอน และเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ จึงเป็นค่าจ้าง……………..

ค่าอาหาร ไม่ถือเป็นค่าจ้าง

ตย.เช่น บริษัทได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินค่าอาหารเพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานทุกคน โดยจ่ายพร้อมกับเงินเดือนในอัตราคนละ 250 บาทต่อเดือน และจ่ายให้ทุกวันที่ 25 ของเดือน การจ่ายเงินค่าอาหารดังกล่าวถือได้ว่า บริษัทมีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเพื่อให้ความสงเคราะห์และช่วยเหลือพนักงานเพื่อการใช้จ่ายเป็นค่าอาหาร อันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่พนักงาน มิได้จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ จึงมิใช่ค่าจ้าง ตามนัยคำพิพากษาฏีกาที่ 1717/2530…………….

ค่ากะ ที่ถือเป็นค่าจ้าง
บริษัทกำหนดระยะเวลาการทำงานของพนักงานออกเป็น 3 กะดังนี้
กะเช้า    ตั้งแต่เวลา  06.00 – 14.00 น.
กะบ่าย  ตั้งแต่เวลา  14.00  -  22.00 น.
กะดึก    ตั้งแต่เวลา  22.00  – 06.00 น.
และได้กำหนดลักษณะการจ่ายเงินค่ากะ ดังนี้

1.      จ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการช่วยเหลือพนักงานที่ต้องทำงานในระหว่างการทำงานกะ
2.      จ่ายเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าอาหารของพนักงานในระหว่างการทำงานกะ
3.      จ่ายเงินค่ากะให้แก่พนักงานฝ่ายผลิตที่เข้าทำงานกะเท่านั้น
4.      จ่ายให้เป็นรายเดือน เดือนละ 1 ครั้งพร้อมเงินเดือน
5.      จ่ายตามตำแหน่ง คือ พนักงานโอเปอร์เรเตอร์เดือนละ 600 บาท พนักงานโฟร์ แมน เดือนละ 800 บาท

เงินค่ากะที่บริษัทจ่ายให้แก่พนักงานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าจ้าง เนื่องจากเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติและจ่ายให้เป็นการประจำและเป็นจำนวนที่แน่นอน  การที่บริษัทได้กำหนดเงื่อนไขการจ่ายว่าเป็นการจ่ายเพื่อ สวัสดิการและช่วยเหลือค่าอาหารนั้น ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อสนับสนุนว่าเงินค่ากะมิใช่ค่าจ้างได้ เพราะเมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่ากะแล้ว ปรากฏว่ามีองค์ประกอบการจ่ายเป็นไปตามนิยามของคำว่า “ค่าจ้าง” คือเป็นเงินที่ นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ………….

Comments

  1. สอบถามเงินค่าอาหารกลางวัน บริษัทฯ จ่ายให้พนักงานทุกคน วันละ 40 บาทในวันที่มาทำงานปกติในเดือนนั้นๆ โดยจ่ายให้ทุกสิ้นเดือนพร้อมเงินเดือน โดยมีเงื่อนไข ในเดือนนั้นต้อง ไม่ขาด ไม่ลากิจ ไม่พักร้อน ไม่ลาป่วย เกิน 2 วัน ถ้าเกิน ก็จะไม่ได้รับเงินช่วยค่าอาหารกลางวันทั้เดือนเลย

  2. สวัสดุค่ะ

    บริษัทจ้างบุคคลธรรมดา จัดหาคนงานให้ (งานก่อสร้าง) เป็นการจ้างเหมา ผู้รับจ้างจัดหาคนงานเอง แต่ให้บริษัทจ่ายเงินโดยโอนเข้าบัญชี คนงานแต่ละคน คนงานเราต้องเข้าระบบประกันสังคมไหมค่ะ

    ขอบคุณค่ะ
    ออมสิน

  3. ลาวรรณ says:

    สอบถามค่ะ
    กรณีนายแจ้งได้เปลี่ยนระบบ การจ่ายเงินใหม่ กล่าวคือ ตั้งแต่เข้างานมา รวมเวลา 12 ปี การจ่ายเงินเดือนของบริษัท จะจ่ายเงินเดือน ยอดเดียว คือ เงินเดือน+ค่าตำแหน่ง แต่ล่าสุด ในรอบสินเดือน สิงหาคม 18 บริษัท ได้ทำการจ่ายแยก..โชร์ในสลิป เงินเดือน ว่า มี เงินเดือน และ ค่าตำแหน่ง ซึ่งในอนาคต มันจะมีผลในการปรับเงินเดือน โบนัส และเงินสำรองเลี้ยงชีพ อยากสอบถามค่ะว่า แบบนี้ ทางบริษัท ทำได้ด้วยหรือ และ ขวัญกำลังใจพนงอยู่ที่ไหน อย่างไรช่วยตอบด้วยค่ะ

  4. ณัฎฐชานันท์ says:

    สอบถามค่ะ หากทางบริษัท จ่ายเงินเดือน พนักงานขายเดือนละ 5,000 บาททุกเดือน แต่มีค่าคอมมิชชั่น และอยากทราบว่าทางบริษัทหักประกันสังคมตามจริงที่ 5000 แบบนี้ผิดกฎหมายไหมคะ เพราะไม่ได้นำค่าคอมมิชชั่นมารวมคำนวณในการคิดประกันสังคม

  5. ตอบคุณ 10deep

    ที่ถูกต้องแล้ว ยอดที่ใช้ยื่นประกันสังคม ต้องเป็นยอดเงินเดือนหลังหักขาดงานและลาโดยไม่ได้รับค่าจ้างครับ

  6. สอบถามเกี่ยวกับค่าจ้างที่ต้องยื่นปกส.

    ถ้าในเงินเดือนในเดือนนั้น มีการหักขาดงาน และมีการหักลาโดยไม่รับค่าจ้าง

    เงินเดือน 10,000.00

    ยอดที่ต้องยื่นปกส.คือ 10,000.00 หรือยอดหลังจากหักขาดงานและลาโดยไม่รับค่าจ้างค่

  7. ตอบคุณอั๋น

    ถูกต้องแล้่วครับ เงินได้ที่นำมาคำนวณประกันสังคมต้องเป็นเงินได้ที่ได้รับประจำ ได้รับแน่นอนทุกเดือนครับ

  8. เงินเดือน , ค่าตำแหน่ง , ค่าอาหาร นำมาคำนวนประกันสังคมแต่ไม่นำมาคำนวนโอทีหรือค่าชดเชย นายจ้างทำถูกหรือไม่ครับ

  9. ตอบคุณชัยวัฒน์

    ค่ากะที่จ่ายตามวันทำงาน ไม่ถือเป็นค่าจ้างตามประกันสังคมครับ แต่ถ้าจ่ายเหมาโดยไม่สนใจว่าเข้ากะกี่วัน แบบนี้ถึงจะถือเป็นค่าจ้างตามประกันสังคม

  10. ชัยวัฒน์ says:

    รบกวนสอบถามครับ
    ที่บริษัทให้ค่ากะทั้งกะเช้า-ดึก ในอัตรา 15 % ของเงินเดือน แต่ไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท
    จะเริ่มให้เมื่อพนักงานเข้าทำงานเป็นกะ(ช่วงแรกที่พนักงานเข้ามาใหม่จะฝึกงานอยู่ Daytime ก่อน)
    เดือนที่ฝึกงานเสร็จแล้วโดนสั่งให้เข้ากะ หากเข้ากะเกิน 15 วันปฎิทิน จะได้ค่ากะเต็มจำนวน หากไม่เกิน 15 วัน จะได้ตามจำนวนวันที่เข้าจริง
    ค่ากะอย่างนี้ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่ครับ
    ขอบคุณมากครับ

  11. ตอบคุณวราภรณ์

    บริษัทต้องจ่ายสมทบประกันสังคมด้วยครับ

  12. วราภรณ์ says:

    บริษัทว่าจ้างแรงงานแบบลูกจ้างรายวัน สัญญา 1 ปี โดยจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนทุกสิ้นเดือน บริษัทได้หักเงินประกันสังคมของลูกจ้างและนำส่งตามระเบียบ ในส่วนของบริษัทจะต้องจ่ายสมทบเงินประกันสังคมด้วยหรือไม่ค่ะ

  13. ตอบคุณพนารัตน์

    พนักงานรายเดือน ถ้าทำงานในวันหยุดในช่วง 8 ชั่วโมงแรก จะได้ OT 1 เท่า แต่ถ้าทำงานในวันธรรมดาจะได้ OT 1.5 เท่า

    ถ้าทำงานในวันหยุดเกิน 8 ชั่วโแรก จะได้ OT 3 เท่า ครับ

  14. พนารัตน์ says:

    กะแรกเริ่มเวลา 00.00 – 8.00 น.
    วันที่ 26 มิ.ย. (วันอาทิตย์) เป็นวันหยุดของดิฉันค่ะ
    ดิฉันเป็นพนักงานรายเดือนค่ะ
    หัวหน้างานสั่งให้มาทำงานวันที่ 26 มิ.ย. (วันอาทิตย์) ตั้งแต่ 20.00 – 08.00
    ดิฉันได้ OT 4 ช.ม. ( เวลา 20.00 – 24.00 )
    ดิฉันจะได้ OT อัตรา 1 เท่า หรือ 1.5 เท่าค่ะ

  15. ตอบคุณพนารัตน์

    ให้ดูว่ากะแรก เริ่มกี่โมงถึงกี่โมง และกะสุดท้ายสิ้นสุดเมื่อไหร่ (ถึงแม้เวลาจะคาบเกี่ยวกันก็ไม่จำเป็นต้องถือว่าทำงานในวันอาทิตย์) เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันหยุดงาน กฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องจัดให้มีวันหยุด 1 วัน ต้องดูว่าเป็นวันหยุดของเราหรือเปล่า

    กรณีทำงานในวันหยุดต้องได้ค่าแรง 2 เท่า

  16. พนารัตน์ says:

    ทำงานเข้ากะ 24.00-8.00 (วันออกเป็นกะ) คือ เข้า 24.00 วันอาทิตย์ ออก 8.00 วันจันทร์ เป็นการทำงานของวันจันทร์ หากวันที่
    26 มิ.ย.54 ดิฉันมาทำงานตั้งแต่เวลา 20.00 – 8.00 น.
    ค่าล่วงเวลา 20.00 – 24.00 น. จำนวน 4 ชั่วโมง ต้องได้อัตราเท่าไหร่ค่ะ

  17. ตอบคุณสิริพร

    ถ้าจ่ายลักษณะนี้ ไม่ถือเป็นค่าจ้างตามประกันสังคมครับ แบบที่จะถือเป็นค่าจ้างต้องจ่ายให้ทุกเดือนเท่ากัน

  18. สิริพร says:

    ในกรณีที่มีการจ่ายค่าสึกหรอพาหนะของ messenger หรือ ช่างเทคนิค เนื่องจากพนักงานใช้รถของพนักงานในการวิ่งงาน โดยคิดเป็นอัตราต่อกิโลเมตร (ตามที่ระบุในสัญญาจ้างงาน) เช่นนี้ ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่คะ และต้องคำนวณหักประกันสังคมด้วยหรือไม่คะ

  19. ตอบคุณก้อย

    ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ ….

    ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าจ้างที่นายจ้างตัดหรือไม่จ่ายนั้นได้ตามกฎหมายครับ

  20. หากลาป่วยเรามีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างหรือไม่..ถ้าไม่ได้รับนายจ้างผิดไม

  21. อยากทราบว่าเงินค่าเสี่ยงภัย ในพื้นที่พิเศษ ถือเป็นค่าจ้าง และต้องรวมเป็นรายได้ที่ต้องหักประกันสังคมด้วยหรือไม่

  22. ตอบคุณสุภาวดี

    กรณีนักศึกษาฝึกงาน ไม่ได้มีการกำหนดค่าจ้างไว้ครับ นักศึกษาฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างก็มีครับ

  23. สุภาวดี says:

    สวัดีค่ะ ขอรวบกวนถามกรณีนักศึกษาทำงานช่วงปิดเทอมแล้วทางบริษัทให้อยู่ตำแหน่งเด็กฝึกงานก่อนจ้างก็ไม่ได้แจ้งค่าแรงล่วงหน้าก่อนจ้างพอเงินเดือนออกได้ไม่ถึงค่าแรงขั้นต่ำ(แถมยังได้น้อยมาก) ทั้งๆที่นักศึกษาทำงานครบตามชม.แถมยังทำโอทีอีกหรือว่าค่าแรงผู้หญิงกับผู้ชายไม่เท่ากันคะ แล้วถ้ากรณีอย่างนี้ค่าจะอยู่ประมาณที่เท่าไหร่คะกรุณาตอบโดยด่วนนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

  24. ตอบคุณ kung

    การหักเงินประกันสังคมหักตามที่จ่ายจริงครับ (กรณีลาออกจากงาน เ้ข้างานใหม่ ก็ไม่ได้หักตามเงินเดือนนะครับ หักตามที่จ่ายจริงในเดือนนั้น)

  25. สวัสดีค่ะ ขอถามกรณีเป็นสมาคม ถ้าเจ้าหน้าที่มาทำงานสายหรือมีคำสั่งจ่ายเงินเดือนครึ่งเดือน การหักประกันสังคมต้องหักตามจ่ายจริงหรือว่าต้องจ่ายเต็มตามอัตราเงินเดือนปกติค่ะ

  26. สวัสดีค่ะ ดิฉันขอรบกวนถามท่านอีกรอบหนึ่ง เกี่ยวกับค่าตำแหน่งในระหว่างการลาคลอดที่ท่านตอบมา เกี่ยวกับสำนักงานประกันสังคมอย่างเดียว หรือว่ารวมถึงบริษัทด้วยคะที่ต้องจ่ายค่าตำแหน่งในระหว่างการลาคลอด แล้วถ้าบริษัทหัก ดิฉันจะเรียกร้องได้จากที่ไหนคะ เพราะไม่มีหลักฐานหรือเอกสารเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานข้อนี้ไปยืนยันกับบริษัทเลยค่ะ

  27. ตอบคุณอรอนงค์

    ปกติเงินค่าตำแหน่งจะเหมือนกับเงินเดือนครับ ถ้าได้รับเงินเดือน ค่าตำแหน่งก็ต้องได้รับด้วย

  28. ตอบคุณปอ

    ประกันสังคมจ่ายชดเชยให้กรณีว่างงาน และมักจะให้เราไปขึ้นทะเบียนหางานกับกรมแรงงานด้วย ทุกเดือนที่ไปรับเงินชดเชย เค้ามักจะถามว่าเราได้งานหรือยัง ไปสมัครงานมาหรือยัง มาแจ้งความคืบหน้าก่อนที่จะจ่ายเงินชดเชยให้

    ส่วนการที่คุณทำธุรกิจแล้ว การไปแจ้งกรมแรงงานน่าจะเพื่อไปบอกว่าคุณมีงานแล้ว (ทำูธุรกิจส่วนตัว) เพราะกรมแรงงานมีหน้าที่หางานให้คุณทำกรณีคุณว่างงานครับ กรณีคุณมีงานทำแล้่วก็ไม่เกี่ยวกับกรมแรงงานแล้ว จะส่งรูปให้กรมแรงงานหรือไม่ก็ได้ (ไม่ส่งก็ได้)

    ส่วนประกันสังคมให้ขึ้นไปขึ้นทะเบียน ไม่ทราบว่าขึ้นทะเบียนอะไรครับ เป็นผู้ว่างงาน เป็นลูกจ้าง เป็นนายจ้าง หรืือว่าอะไร

  29. ลาคลอดมีสิทธิ์ได้รับค่าตำแหน่งมั้ยคะ เพราะว่าบริษัทหักค่าตำแหน่งของดิฉันในระหว่างลาคลอด และบอกว่าไม่ได้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ อย่างนี้มีสิทธิ์หักได้มั้ยคะ

  30. สวัสดีค่ะ ดิฉันก็เป็นอีกคนที่มีปัญหารบกวนถามคือว่า ดิฉันได้ลาออกจากที่ทำงานเดิมแล้วไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานไว้เพื่อรับประโยชน์ทดแทน ในระหว่างนี้ ก็เปิดธุรกิจส่วนตัวด้วย และได้ขอใบทะเบียนพาณิชย์ แล้ว ทางประกันสังคมได้ส่งหนังสือให้ไปขึ้นทะเบียนประกันสังคม แล้วดิฉันต้องทำอย่างไร และ จะต้องแนบรูปถ่ายร้านเพื่อไปยื่นกับกรมแรงงานรึเปล่า เพราะไม่ได้ไปสมัครงานที่ไหนเลย รบกวนให้ความกระจ่างด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

  31. การโดนตัดเงินเดือนมาทำงานสาย เงินจ่ายประกันสังคมจะลดลงตามที่โดนตัดไปด้วยหรือไม่ค่ะ

  32. ตอบคุณปฐมพงษ์

    ค่ากะ ที่ถือเป็นค่าจ้างต้องเป็นค่ากะที่จ่ายประจำ (ไม่มาทำงานก็จ่าย) แต่ถ้าจ่ายให้เฉพาะพนักงานที่เข้ากะเท่านั้น ไม่เข้ากะไม่จ่าย อย่างนี้ไม่ถือเป็นค่าจ้างครับ เช่น พนักงานเข้ากะกลางคืน

  33. ปฐมพงษ์ says:

    ผมได้ยินมาว่า บางบริษัทเขียนในข้อบังคับการทำงานให้ค่ากะเป็นสวัสดิการ จึงถือว่าไม่ใช่ค่าจ้าง ทำให้สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ตัดสินว่า เป็นสวัสดิการ เงินค่ากะดังกล่าวที่คิดเป็นชั่วโมงจึงไม่ถูกหักประกันสังคม

    คุณเกียรติชัยพอจะมีข้อมูลมัยครับ

  34. ตอบคุณศรีแพร

    ค่าพาหนะแบบนี้ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณประกันสังคมครับ

  35. ที่บริษัทมีค่าพาหนะ โดยจะจ่ายให้กับพนักงานก็ต่อเมื่อทำงานแล้วไม่มีรถบริการกลับที่พัก (โดยปกิติแล้วที่บริษัทมีรถรับ-ส่งพนักงาน)

  36. ค่ากะ คือเงินพิเศษที่จ่ายให้ลูกจ้างเพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงานกะ ส่วนใหญ่จะจ่ายให้กะกลางคืน

  37. คือว่าที่โรงงานของดิฉันมีกะการทำงาน 4 กะ ตามเวลาการทำงานดังนี้ค่ะ
    กะ 1 08.00-16.00 น.
    กะ 2 16.00-24.00 น.
    กะ 3 24.00- 08.00 น.
    กะ 4 08.00-17.00 น.
    แล้วจะมีการให้ค่ากะพนักงาน คือกะ 2และ 3 ซึ่งเหตุผลตอนแรกดิฉันคิดว่าเพราะเป็นกะกลางคืนจึงมีการให้เงินค่ากะ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้พนักงานที่ต้องมาทำงานในเวลาที่คนอื่นเขาต้องนอน แต่พอประชุมเสร็จมีหน่วยงานหนึ่งที่พนักงานทำงานกะ 1 แล้วเขาจะเอาค่ากะด้วย ทางผู้ใหญ่ท่านก็อนุมัติ ดิฉันเลยไม่ทราบเหตุผลที่แท้จริงเลยว่าเงินค่ากะเขาให้เพื่ออะไร
    ดิฉันจึงอยากขอความเห็นจากท่านผู้รู้ทุกท่านเกี่ยวกับเรื่องเงินค่ากะด้วยค่ะ
    ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องให้เงินค่ากะ ขอบคุณค่ะ

  38. ตอบคุณสุดาวรรณ

    ค่ากะตามที่อธิบายมาไม่ถือเป็นค่าจ้างประจำ ไม่ต้องนำมารวมเพื่อคำนวณประกันสังคมครับ

  39. สุดาวรรณ says:

    รบกวนสอบถามเรื่องค่ากะค่ะ

    เนื่องจากว่าบริษัทมีการจ่ายค่ากะ โดยจะจ่ายให้เฉพาะค่ากะกลางคืนเท่านั้น นั่นคือ ถ้าวันไหนที่เข้างานในช่วงเวลสกลางคืน ก็จะได้ค่ากะ แต่ถ้าเขางานในช่วงกลางวันก็จะไม่ได้ ถ้าเป็นเช่นนี้จะต้องนำเงินค่ากะไปคำนวณเพื่อเสียเงินประกันสังคมหรือไม่

  40. ตอบคุณนงนุช

    ปกติประกันสังคมจะหักจากเงินได้ประจำที่จ่ายในแต่ละเดือน ถ้าเดือนไหนไม่มีก็ไม่ต้องหัก แต่ถ้าขาดส่งติดต่อกันนานเกิน 3 เดือน อาจจะถูกตัดสิทธิ์ได้ (ปกติลาคลอดนานสุด 90 วัน จ่ายค่าจ้าง 45 วัน ซึ่งจะส่งผลให้ขาดส่งประกันสังคมไปเพียง 1 เดือนเท่านั้น ไม่กระทบสิทธิ์)

  41. ถ้าดิฉันลากิจ หลายเดือนติดกัน ทางที่ทำงานและตัวดิฉันจะต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคมหรือไม่ค่ะ

  42. ตอบคุณวาสนา

    สามารถนำสวัสดิการที่ให้พนักงานมาบันทึกเป็นรายจ่ายของกิจการได้ครับ
    ถ้าเป็นเงินเดือนค่าจ้าง ก็บันทึกบัญชี เป็น เงินเดือน หรือ ค่าจ้าง
    ถ้าเป็นสวัสดิการพนักงาน ก็บันทึกในบัญชี สวัสดิการพนักงาน ก็ได้

  43. สวัสดีค่ะคุณเกียรติชัย
    ดิฉันมีข้อสงสัยมาปรึกษาน่ะค่ะ คือว่าปัจจุบันนี้ดิฉันมีสวัสดิการให้ลูกจ้างคือมีอาหารให้ 3มื้อ มีที่พักให้ฟรี ค่าน้ำค่าไฟไม่ต้องจ่าย มีเงินเดือนให้ มีค่าโอทีให้ ถ้าทำงานในวันหยุดมีเงินพิเศษให้ต่างหาก คำถามน่ะค่ะตอนนี้ดิฉันกำลังตัดสินใจว่าถ้าเปิดเป็นรูปบริษัท ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถเอามาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ได้ไหม แล้วต้องเรียกชื่อว่าค่าใช้จ่ายอะไรค่ะ ขอโทษน่ะค่ะถ้าคำถามดูอาจจะไม่เข้าใจ

  44. ตอบคุณเสาวลักษณ์

    มีหลายบริษัทมักจะแบ่งเงินเดือนออกเป็นส่วนๆ เช่น เงินค่าตำแหน่ง ค่าวิชาชีพ ฯลฯ ซึ่งถ้าจ่ายประจำทุกเดือน ก็ต้องหักประกันสังคมครับ แต่ถ้าเป็นรายได้ไม่ประจำอย่าง OT INTENSIVE (ถือเป็นรายได้ไม่ประจำ ไม่ทำก็ไม่ได้) อย่างนี้ไม่ต้องหักครับ

  45. เสาวลักษณ์ says:

    ค่าวิชาชีพ ต้องมีใบ Certificate ถึงจะได้เงินเดือนละ 3,000.- บาท ต้องหักประกันสังคมหรือไม่ และเงินค่าภาษาเดือนละ 1,000.- บาท ต้องหักประกันสังคมหรือไม่

  46. ตอบคุณปทุมวดี
    ถ้าเป็นการจ่ายประจำ ไม่มาำทำงานก็จ่าย ประกันสังคม ถือเป็นเงินได้ประจำต้องหักครับ

  47. ถ้าให้ลักษณะเหมาเท่ากันทุกเดือนจะต้องหักประกันสังคมหรือไม่

  48. ค่าโทรศัพท์ , น้ำมันรถ , ค่าเสื่อมราคารถยนต์ , เงินตกเบิก เงินได้ดังกล่าวที่จ่ายให้ลูกจ้างต้องหักประกันสังคมหรือไม่ค่ะ

  49. ตอบคุณวีระยุทธ
    ต้องจ่ายครับ ขึ้นต่ำคิดที่ 1,650 คูณอัตรา 5% เป็นเงิน 83 บาท

  50. วีระยุทธ says:

    อยากทราบว่า ถ้าเดือนแรกได้รับค่าจ้าง 610 ต้องจ่ายประกันสังคมหรือเปล่าครับ
    ถ้าจ่ายต้องจ่ายเท่าไร

  51. ดูไม่เหมือนค่าตำแหน่งเลยนะครับ ดูแล้วคล้ายๆ กับค่าผลงานหรือเบี้ยขยัน ซึ่งปกติแล้วจะไม่หักประกันสังคมครับ

  52. แล้วถ้าหากค่าตำแหน่งที่ได้ไม่เท่ากันทุกเดือนต้องหักหรือเปล่าครับ
    เช่นเดือนนี้ได้ 2000 แต่เดือนหน้าได้ 1500
    ( บริษัทผมมีการประเมินค่าตำแหน่งทุกเดือน ไม่รู้ว่ามีที่ไหนเขาทำกันบ้าง)

  53. สวัสดิการต้องเป็นการจ่ายให้กับพนักงานทุกคนในอัตราที่เท่ากัน (หรืออัตราเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอน)
    บริษัทที่ผมเคยทำงานก็มีการจ่ายค่ากะ แต่จะจ่ายให้กับพนักงานรายวันที่มาทำงานเท่านั้น วันไหนไม่มาก็ไม่ได้ หรือไม่ได้อยู่กะก็ไม่ได้ อย่างนี้ไม่ต้องนำมารวมคำนวณประกันสังคม

  54. โน้ต ชีวีวัฒน์ says:

    พอดีเมื่อก่อนบริษัทจะให้ค่าเดินทางตามจริงครับ คือในกะที่เดินทางลำบากจะได้ค่าเดินทาง ส่วนกะที่มีรถเดินทางสะดวกกว่าจะไม่ได้ เลยไม่ได้นำเงินส่วนนี้มาคิดเงินสมทบประกันสังคมด้วย แต่เมื่อเดือนที่ผ่านมาเปลี่ยนเป็นจ่ายเงินค่าเดินทางเป็นแบบเหมาเป็นจำนวนเท่ากันทุกคน ทั้งเดือนเลยเกิดข้อสงสัยนี้ขึ้น

    อย่างนี้การจะนับเงินส่วนนี้มาคิดเงินสมทบหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับแค่ว่าจะเรียกว่าเป็นเงินตอบแทนในการทำงาน หรือจะเรียกว่าเป็นสวัสดิการเท่านั้นเองหรือครับ

  55. ผมยังไม่เคยได้ยินมาว่า มีการให้สวัสดิการเป็นค่าเดินทาง ส่วนใหญ่บริษัทจะจัดเป็นรถรับส่งพนักงานมากกว่า แต่ถ้าให้ค่าเดินทางกับพนักงานทุกคนในอัตราที่แน่นอนก็เป็นไปได้ เนื่องจากถือเป็นสวัสดิการพนักงาน ไม่ใช่เงินที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนในการทำงาน

  56. โน้ต ชีวีวัฒน์ says:

    ถ้าคิดตามหลักเดียวกับค่าอาหารที่เขียนไว้ข้างต้น แสดงว่าค่าเดินทางที่บริษัทให้ทุกเดือนเป็นจำนวนเท่ากัน เช่น 1300 บาท ไม่ถือเป็นค่าจ้าง ไม่ต้องนำมาคิดเงินประกันสังคมด้วยใช่หรือไม่ครับ
    ขอบคุณครับ

  57. ไม่มีข้อกำหนดในเรื่องนี้ แต่ผมเห็นบางบริษัทให้ค่าอยู่กะ (เฉพาะกะกลางคืน) บางบริษัทจ่ายเป็นค่ารถ หรือบางบริษัทก็ใช้วิธีสลับกันอยู่กะก็มี

  58. มิ่ง อินต๊ะปัญญา says:

    ขอรบกวน สอบถามค่าจ้างการทำงาน 3 กะ ครับ
    ลูกจ้างมีสิทธ์ได้รับค่าจ้างเพิ่มหรือเปล่าครับเนื่องจากการทำงาน 3 กะไม่มี
    ot. เงินเดือนน้อยครับ ตอนนี้ที่ทำงานของผมทำ 3 กะแต่ไม่มีเพิ่มค่าจ้างเลย
    สักอย่าง ขอรบกวนถามสั้นๆครับ ที่จริงคงมียาวกว่านี้ครับ

    ขอขอบคุณครับ..

  59. ค่าจ้างตามประกันสังคม

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.