ท่านที่ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน โดยเฉพาะภาคเอกชน ช่วงนี้หนาวๆ ร้อนๆ กันหน่อย หากได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลกระทบต่อการผลิตและการจ้างงาน หลายประเทศเริ่มปลดพนักงานเพื่อลดต้นทุนหรือเพื่อให้บริษัทอยู่รอดได้ใน สถานการณ์เช่นนี้
อย่างไรก็ตาม หากต้องถูกออกจากงานและนายจ้างได้จ่ายเงิน ให้มาก้อนหนึ่ง หรือที่ภาษาชาวบ้านเราเรียกว่าเงินชดเชย หรือเงินเลิกจ้างก็แล้วแต่ โดยปกติเงินได้นั้นถือเป็นเงินที่ได้จากการทำงานให้นายจ้าง เงินได้นั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ แต่กฎหมายก็ได้มีการยกเว้นภาษีให้บางส่วน
ค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินได้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานจากการเลิกจ้างพนักงาน ลูกจ้าง อันเนื่องมาจากการเลิกบริษัท การยุบแผนก หรือเลิกจ้างเพื่อลดต้นทุนบริษัท โดยที่ลูกจ้างหรือพนักงานไม่ได้สมัครใจลาออกจากงาน เงินชดเชยที่ลูกจ้าง พนักงานได้รับมีวิธีการคิดคำนวณภาษี หรือได้รับยกเว้นภาษีอย่างไร สรุปได้ดังนี้
ค่าชดเชยที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ เงินชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือเงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หากลูกจ้างหรือพนักงานออกจากงานโดยไม่สมัครใจ หรือที่เราได้ยินกันบ่อยครั้งว่า ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก กรมสรรพากรและรัฐบาลเห็นใจผู้ที่ออกจากงานโดย ไม่สมัครใจ จึงได้ออกกฎหมายให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้จากค่าชดเชย โดยให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับค่าจ้างหรือเงินเดือนค่า จ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายก่อนออกจากงาน แต่รวมแล้วไม่เกิน 3 แสนบาท ไม่ว่าลูกจ้างหรือพนักงานนั้นจะทำงานมา กี่ปีก็ตาม
แต่ไม่ใช่ผู้ออกจากงานทุกคนได้รับการยกเว้นภาษีจากค่าชดเชยคนละ 3 แสนบาท จะได้สิทธิยกเว้นภาษีสูงสุดถึง 3 แสนบาทหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วัน สุดท้ายก่อนออกจากงาน ตรงนี้เข้าใจผิดกันเยอะ สำหรับค่าชดเชยส่วนที่เหลือจากการยกเว้นภาษีเงินได้ ผู้ที่ได้รับค่าชดเชยจะต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม ปกติ
ตัวอย่าง ได้รับเงินชดเชย 5 แสนบาท แต่ค่าจ้าง 300 วัน สุดท้ายก่อนออกจากงานเท่ากับ 2.5 แสนบาท จะได้รับยกเว้นภาษีเท่ากับ 2.5 แสนบาทเท่านั้น แต่ถ้าหากค่าจ้าง 300 วันสุดท้าย เท่ากับ 3.5 แสนบาท ก็จะได้รับยกเว้นภาษีเท่ากับ 3 แสนบาท
ค่าชดเชยส่วนที่เหลือจากการยกเว้นภาษี ลูกจ้างหรือพนักงาน ที่ทำงานมาไม่น้อยกว่า 5 ปี สามารถเลือกที่จะนำเงินค่าชดเชยส่วนที่เหลือจากการยกเว้นภาษีไปแยกคำนวณตาม ใบแนบแบบ ภ.ง.ด.91 แยกต่างหากจากเงินเดือนค่าจ้างที่กรอกในแบบ ภ.ง.ด.91 ได้ ผลก็คือทำให้เสียภาษีน้อยลงมาบ้างเพราะฐานภาษีถูกแยกออกไป กรณีที่ทำงานไม่ถึง 5 ปี จะต้องนำค่าชดเชยไปรวมกับเงินเดือนค่าจ้างในแบบ ภ.ง.ด.91 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเลือกคำนวณตามใบแนบ
สำหรับท่านที่ได้รับค่าชดเชย แต่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ไม่ว่าจากเหตุใดก็ตาม หากทำงานมาไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้สิทธิแยกคำนวณภาษีตามใบแนบแบบ ภ.ง.ด.91 ได้เช่นเดียวกัน
ท่านที่ได้รับเงินค่าชดเชยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ต้องเป็นไปตาม เงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้น และอย่าลืมให้นายจ้างออกหนังสือเป็นหลักฐาน โดยระบุว่าออกจากงานเพราะสาเหตุใด ผู้ออกจากงานเริ่มทำงานและออกจากงานวัน เดือน ปีใด เงินเดือน 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานแต่ละเดือน จะได้ใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบเสียภาษีต่อไปครับ
ที่มา…โพสต์ ทูเดย์
อ้างอิงวิธีการคำนวณตามประกาศของสรรพากร ประกาศเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 45
I just want to posted a comments that it is a good quality service of you for I have ever received and for the people who have some or lack of knowledge in this field who I am.
I would like to say Thank you once again to you who can give people in good quality service and it is nice to visited a good website like you.
Regards,