จดทะเบียนธุรกิจแบบไหนดีกว่า | รับทำเงินเดือน จดทะเบียนธุรกิจแบบไหนดีกว่า | รับทำเงินเดือน

จดทะเบียนธุรกิจแบบไหนดีกว่า

รูปแบบธุรกิจ

1. บุคคลธรรมดา บุคคลทั่วไปที่มีชีวิตอยู่ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา15)

2. คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อการทำกิจการร่วมกัน โดยไม่มีวัตถุประสงค์แบ่งปันกำไรที่ ได้จากกิจการที่ทำ (หน่วยภาษีตามมาตรา 56แห่งประมวลรัษฎากร)

3. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อการทำกิจการร่วมกันโดยมีวัตถุ ประสงค์แบ่งปันกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำ (หน่วยภาษีตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร)

4. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน นิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน โดยหุ้นส่วน ทุกคนไม่จำกัดความรับผิดและต้องจดทะเบียน เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์

5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน หุ้นส่วนมีทั้งที่จำกัดความรับผิดและ ไม่จำกัดความ รับผิดและต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

6. บริษัทจำกัด บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นรับผิดในหนี้ต่าง ๆ ไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนลงทุน และต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

7. บริษัทมหาชนจำกัด บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยความ ประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนให้ผู้ถือหุ้นมีความรับผิด จำกัด ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ (มาตรา 15 พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด)

8. กิจการร่วมค้า กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางการ ค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและ/หรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดาคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น

– เป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (มาตรา 39)

9. นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

10. กิจการที่ดำเนินการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ เป็นกิจการของรัฐบาลต่างประเทศหรือ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

– เป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (มาตรา 39)

11. มูลนิธิหรือสมาคม เป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรและมี หน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่จะได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลถ้าเป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังประกาศให้เป็นองค์การสาธารณะ กุศล

 

ผมมักจะได้รับคำถามว่า ควรจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด อย่างไหนดีกว่ากัน ก่อนที่จะมาดูข้อสรุป เรามาดูว่าแต่ละแบบ มีรูปแบบหรือลักษณะเป็นอย่างไรกันดีกว่า

ข้อ 1,2 และ 3 บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา ที่เหลือข้อ 4 ถึง 11 มีสภาพเป็นนิติบุคคล ที่ต้องแยกเนื่องจากมีผลต่อการเสียภาษีและการจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์

กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ก็เสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา (ภงด.90,91,94) และไม่ต้องจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์

กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องเสียภาษีแบบนิติบุคคล (ภงด.50,51) และจดทะเบียนนิติบุคคลที่กระทรวงพาณิชย์ด้วย

คณะบุคคล คือ บุคคลตั้งแต่สองคน ไม่เกินสามคน (ที่ไม่ใช่ สามี ภรรยา ซึ่งจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย) ร่วมธุรกิจกันประกอบกิจการการค้า โดยต้องทำสัญญาตกลงจัดตั้งคณะบุคคล โดยระบุวัตถุประสงค์ที่ต้องการจัดตั้งและต้องมอบหมายให้ บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการของคณะบุคคลนี้ โดยยื่นต่อกรมสรรพากร เพื่อขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กรณีประกอบกิจการซื้อมาขายไปต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ต่อสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ หรือสำนักทะเบียนพาณิชย์ของแต่ละจังหวัด กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อออกใบทะเบียนพาณิชย์

ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคล หมายถึง บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น

ที่จริงแล้ว คณะบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล มีรูปแบบเหมือนกันทุกประการ แต่ปัจจุบันสรรพากรได้คำนิยามของคณะบุคคลต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จด ทะเบียน ตรงที่ว่า คณะบุคคลไม่มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำ (หรือผู้ที่จะจดทะเบียนคณะบุคคลได้ต้องเป็นมูลนิธิ สมาคม องค์กรสาธารณะกุศล เป็นต้น)

การจดทะเบียนพาณิชย์ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ถ้าประกอบธุรกิจการซื้อมาขายไป ก็ต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์ด้วยนะครับ ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://www.kiatchai.com/archives/1102 ถ้าประกอบธุรกิจบริการ หรือเป็นนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด) ก็ไม่ต้องจด (เหตุผลก็เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์มีข้อมูลอยู่แล้ว) แต่อาจจะมีบางประเภทธุรกิจที่ยังต้องจดอยู่ ลองเข้าไปดูตาม Link ที่ให้ไว้นะครับ

ส่วนเหตุผลที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ก็ง่ายๆ เลยนะครับ ทางรัฐบาลต้องการข้อมูล เพื่อง่ายต่อการควบคุม ส่งเสริม และสนับสนุน

มาดูประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์

รัฐบาล ได้ตราพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับแรกถูกตราขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2479) โดยพิจารณาเห็นว่า สมควรจะให้มีการจดทะเบียนประกอบพาณิชยกิจ เพื่อประโยชน์การจัดทำสถิติของการประกอบพาณิชยกิจที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ซึ่งแต่เดิมมานั้นไม่อาจจะทราบได้ว่าในประเทศไทยมีการประกอบพาณิชยกิจประเภท ต่าง ๆ เป็นจำนวนเท่าใด สำนักงานแห่งใหญ่และสาขาตั้งอยู่ที่ไหน ใครเป็นเจ้าของ หุ้นส่วนหรือผู้จัดการเป็นคนไทยหรือเป็นคนต่างชาติ สัญชาติอะไร มีทุนเท่าไร และเริ่มประกอบพาณิชยกิจตั้งแต่เมื่อใด เป็นต้น

กรณีที่ไม่มีข้อมูลการประกอบพาณิชยกิจดังกล่าวจึงไม่สะดวกในการติดต่อ ค้า ขาย และเป็นการยากที่รัฐบาลจะควบคุมหรือส่งเสริมการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม ก็จะต้องทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลใหม่ทุกครั้งไป ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเวลาและงบประมาณ และยังไม่ทันความต้องการอีกด้วย

ข้อมูลที่ได้จากการทดทะเบียนพาณิชย์นอกจากจะเป็นประโยชน์สำหรับรัฐบาลใน การส่งเสริมการพาณิชย์และอุสาหกรรมแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบพาณิชยกิจในการใช้เป็นหลักฐานในทางการค้าและ เป็นศูนย์ข้อมูลกลางซึ่งพ่อค้าและประชาชนโดยทั่วไปสามารถใช้เป็นแหล่งในการ ตรวจดูรายละเอียดข้อมูลทางการค้าต่าง ๆ และขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่คัดสำเนา และรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐาน ได้อีกด้วย

ห้างหุ้นส่วน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญ
คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้น ส่วนไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" โครงสร้างห้างหุ้นส่วนสามัญ
1. มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
2. มีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว คือ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดชอบ โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวง ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน
3. ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้
4. จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนเรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล"

ห้างหุ้นส่วนจำกัด
คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้คือ
1. หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
2. หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน โครงสร้างห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
2. ผู้เป็นหุ้นส่วนมี 2 จำพวก คือ
2.1 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบ รับผิดเฉพาะจำนวนเงินที่รับว่าจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วน
2.2 หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความผิดชอบ รับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
3. ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
4. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การดำเนินการจัด ตั้งห้างหุ้นส่วน
เมื่อมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงใจที่จะเข้าร่วมลงทุนประกอบกิจการเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประเภทใด ประเภทหนึ่งดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องเป็นผู้มีหน้าที่ ดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
กรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด กฎหมายกำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จะเป็นได้เฉพาะแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น

บริษัทจำกัด
คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ มูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

โครงสร้างของ "บริษัทจำกัด"
1. ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 3 คน
2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
3. มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
4. ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
5. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การดำเนินการจัดตั้ง บริษัทจำกัด ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วไปจดทะเบียน
2. เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้นมีผู้ เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
3. ดำเนินการประชุมตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
4. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
5. กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อย ละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งเป็นกี่หุ้นก็ได้แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
6. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน ภายหลังจากการประชุมตั้งบริษัท
7. ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนตั้งบริษัทไปพร้อมกันภาย ในวันเดียวก็ได้
7.1 จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
7.2 ประชุมจัดตั้งบริษัท  เพื่อพิจารณากิจการต่างๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม และผู้เริ่มก่อการ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคน ให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น
7.3 ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการบริษัท
7.4 กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ใช้เงินค่าหุ้น โดยจะเรียกครั้งเดียวเต็มมูลค่าหรือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามมาตรา 1110 วรรคสองก็ได้  และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนได้ชำระเงินค่าหุ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว

บท สรุป

เมื่อดูหลักการกันแล้วจะเห็นว่า ถ้ารายได้ไม่มาก การประกอบธุรกิจในแบบบุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน น่าจะดีกว่าเพราะขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องจัดทำบัญชี ไม่ต้องไปจดทะเบียนนิติบุคคลที่กระทรวงพาณิชย์ แต่ถ้ามีรายได้มาก และค่าใช้จ่ายก็มากตามด้วย การเสียภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายเหมาในแบบบุคคลธรรมดาอาจจะดูน้อยไปสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และการจดทะเบียนนิติบุคคล ดูจะน่าเชื่อถือกว่า (หรือบางทีก็เป็นเงื่อนไขในการทำธุรกิจ) เมื่อธุรกิจมีขนาดใหญ่ขึ้น การจดทะเบียนนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริจำกัด) ก็เป็นเรื่องที่เหมาะสมมากกว่าในการทำธุรกิจ

Comments

  1. รบกวนสอบถามค่ะ จะเปิดร้านขายของกินแบบซุปเปอร์มาร์เก็ตและมีชาวต่างชาติเป็นผู้จัดการร้าน ต้องเปิดแบบไหนค่ะ ที่จะทำ Work Promit ให้ ผจก.ชาวต่างชาติได้ // ขอบคุณค่ะ

  2. ตอบคุณทวีสิน

    ทุนจดทะเบียนบริษัท จะลงทุนเท่าไหร่ก็ได้ครับ ไม่ขั้นต่ำ หรือขั้นสูง ส่วนการลงทุนด้วยแรงงาน ต้องเป็นแรงงานที่ได้กระทำลงไปแล้ว ส่วนการลงทุนด้วยทรัพย์สิน ต้องระบุมูลค่า ส่วนที่ดินก็เช่นกัน และต้องทำการโอนกรรมสิทธิืให้บริษัทด้วยนะครับ

  3. ผมขอคำแนะนำเกี่ยวกับการจดทะเบียนด้วยทรัพย์สินและแรงงานครับ ( คือผมอยากติดต่อขอรับงานมาทำที่บ้านและมีทีมงานพร้อมที่จะทำ / รับงานจากบริษัทครับ) ๑.คือผมอยากคำแนะนำว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ๒. ถ้าผมนำเอาที่ดินมาจดทะเบียนจะได้ใหมครับ ๓. ต้นทุนในการจดทะเบียนเท่าไรครับ เพราะผมมีต้นทุนน้อยแต่มีความรู้เกี่ยวงานที่ทำอยู่ (จิ่วเวลล์รีครับ)

  4. ตอบคุณกิติยา

    1.ค่าเช่าหักภาษี ณ ที่จ่าย 5%
    2.ค่าบริการ หักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
    3.ปกติผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องดูว่ากฎหมายกำหนดให้ใครมีหน้าที่หักบ้าง

  5. ตอบคุณนุกนิก

    1.จดแบบไหนก็ได้ครับ ไม่จดก็ได้ครับ คือ ทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา (เีสียภาษีในนามตนเอง) ก็ได้
    2.ถ้าใช้ชื่อยี่ห้อใหม่ ต้องขอ อย.ใหม่ครับ

  6. ตอบคุณ ploy

    ควรจะใช้ตัวเลขจริงครับ (ต้องมีการเก็บตัวเลข)

  7. ตอบคุณโยโย่

    สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรส จะมีหน่วยภาษีเดียวกันครับ คือ เงินได้ของภรรยาให้ถือเป็นเงินได้ของสามี แต่จะยกเว้นไว้เฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40(1) เงินเดือนค่าจ้าง จะแยกยื่นก็ได้ (หรือจะยื่นร่วมเหมือนเดิมก็ได้เช่นกัน)

  8. นุกนิก says:

    ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ ขอถามต่ออีกนิดนะครับ

    ผมอยากทำธุรกิจเกี่ยวกับสมุนไพร เช่น สบู่สมุนไพร มีแหล่งผลิตอยู่แล้ว สินค้าได้มาตราฐาน มี อย. ขอถามดังนี้ครับ

    – หากผมจะนำสินค้ามาขายโดยใช้แบนด์ของตัวเอง ควรจดทะเบียนแบบไหนครับ หากจดแบบบุคคลธรรมดาจะได้มั้ยครับ
    – หากทำได้ ผมต้องยื่นขอ อย. ใหม่รึเปล่าครับ มีค่าใช้จ่ายยังไง

    ขอบคุณครับ

  9. ขอบคุณคะสำหรับคำตอบ รบกวนถามต่ออีกนิดนึงนะคะ แล้วกรณีมีเงินได้จากการค้าขาย เราจะเอาเงินได้ตัวไหนมาคิดคำนวณค่ะ ธุรกิจเป็นแบบซื้อมาขายไป หรือเราประมาณการเอาเองจากการขายทั้งปี แล้วเอาเงินได้มาคำนวณ รวมกับรายได้ประจำคือเงินเดือน ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกต้องหรือเปล่าคะ
    ขอบคุณคะ

  10. อย่างที่เรียนถามไปนะค่ะ ทางเราได้ทำสัญญาจัดตั้ง หสม.ติดอากร 100 บาท แล้วนำไปขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีมาแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีข้อสงสัยแต่อย่างใด แต่พอมาอ่านเจอในเว็ปบอร์ดนี้ก็เลยไม่แน่ใจว่าที่จัดตั้ง หสม.ขึ้นมานี้ได้ถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นแล้วเลยอย่างจะขอรบกวน เอกสารอ้างอิง หรือลิงค์ความรู้ด้วยค่ะ (คือดิฉันทำบัญชีให้เจ้านายค่ะ แล้วเจ้านายได้ไปจด หสม.มา ซึ่งดิฉันไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ หสม. ) ขอบคุณด้วยนะค่ะ

  11. ตอบคุณโยโย่

    จดไม่ได้ครับ แต่ถ้าจดกับร่วมกับ บิดา มารดา บุตร พี่ น้อง สามารถจดได้ครับ ยกเว้นสามีภรรยา จดร่วมกันไม่ได้

  12. ตอบคุณ Ploy

    กรณีมีเงินได้จากเงินเดือนอย่างเดียวให้ยื่นแบบ ภงด.91 แบบ ภงด.91 ถูกออกแบบมาให้กรอกเงินได้ประเภทเงินเดือน อย่างเดียว แต่ถ้ามีเงินได้อย่างอื่นด้วย ต้องยื่นแบบ ภงด.90 ครับ เพราะแบบ ภงด.90 จะมีช่องให้กรอกเงินได้ทุกประเภท (รวมทั้งเงินเดือนด้วย)

    เงินได้แต่ละประเภทจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากันครับ ให้ดูในแบบครับ จะบอกไว้ว่าัหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่

  13. รบกวนสอบถามนะค่ะ สามี ภรรยา สามารถจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ(ไม่จดทะเบียน)ได้หรือไม่ค่ะ
    เหตุที่จะจดคือมีรายได้จากการให้เช่าอาคารค่ะ เพื่อที่จะได้เสียภาษีน้อยลง

  14. รบกวนสอบถามเรื่องการคิดเงินเสียภาษีคะ ดิฉันเป็นพนักงานบริษัทมีเงินได้ประจำทุกเดือน และเปิดร้านค้าเป็นของตัวเอง มีการจดทะเบียนการค้าด้วย ไม่ทราบว่าเวลายื่นภาษีต้องยื่นแบบไหน และต้องคำนวณยังไง รบกวนตอบด้วยน่ะคะ
    ขอบคุณคะ

  15. ตอบคุณนุกนิก

    สามารถจดได้ครับ

  16. นุกนิก says:

    หากเราติดบูโร หรือมีหนี้สินที่ยังค้างชำระอยู่ หรือติดแบล็คลิส เราจะยังสามารถจดแบบบุคคลธรรมดา หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนได้มั้ยครับ

  17. ตอบคุณอรอนงค์

    ให้ดูที่่การบริหารงานเป็นหลักครับ ลองนึกถึงบริษัททั่วไปครับ อย่ามองแค่เรื่อง Work Permit กรณีที่เป็นกรรมการ ก็ทำเรื่องขอ Work Permit ได้เช่นกัน

    – กรณีไม่มีรายได้เข้ามาก็ไม่มีภาษีต้องเสียครับ
    – บุคคลธรรมดาสามารถประกอบธุรกิจได้ครับ
    – การทำ Work Permit ถ้าคุณสมบัติเงื่อนไขเป็นไปตามข้อกำหนด ก็เสียค่าธรรมเนียมครับ

  18. อยากเปิิดธุรกิจประเภท อบรม สัมมนา เพื่อให้สามีต่างชาติ ทำงานได้ ไม่ทราบว่า–แบบไหนดีกว่า เรื่องภาษี ระหว่าง ให้เป็นเจ้าของบริษัทร่วม หรื่อว่า จ้างเป็นพนักงาน
    -ถ้าปีแรกยังไม่มีรายได้เข้ามา จะแจ้งภาษียังไง เนื่องจากเปิดใหม่ยังต้องหาลูกค้า
    -ต้องใช้ทุน จดทะเบียนเท่าไหร่ สามารถทำเป็นในรูป บุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนได้ไม๊คะ
    -คิดว่าต้องทำ work permit ให้สามีด้วย ต้องจ่ายภาษียังไง
    ขอบคุณค่ะ

  19. ตอบคุณ Pan

    จดเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด จะดูน่าเชื่อกว่าครับ
    จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า เนื่องจากค่าธรรมเนียมที่กระทรวงพาณิชย์ถูกกว่า
    จองชื่อนิติบุคคลประมาณ 2-3 วัน จัดทำเอกสารส่งเซ็นและนำไปจดทะเบียนอีกประมาณ 2-3 วัน รวมแล้วไม่เกิน 1 สัปดาห์ครับ

  20. รบกวนครับ หากทำอาชีพเกี่ยวกับงานตกแต่งสถานที่ ซึ่งเป็นงานรับเหมาโดยใช้ฝีมือ(ประเภทออกแบบจัดสร้าง) ไม่ใช่แนวสินค้า และงานก็เข้าไม่ต่อเนื่อง ซึ่งถ้าหากจะรับงานของหน่วยงานราชการ ที่มีค่ารับจ้างวงเงินประมาณ 2 ล้านบาท จึงมีหัวข้อฝากถามครับ
    -ต้องใช้หลักฐานหรือควรจะจดทะเบียนรูปแบบใด เพื่อความน่าเชื่อถือ
    เป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนดี เนื่องจากมีทีมงาน แต่ไม่มีหน้าร้านและผู้ร่วมหุ้น
    -ทั้งสองประเภทค่าใช้จ่ายเท่าไร เนื่องจากดูข้อมูลของ บ.บัญชี รับจดไม่เท่ากันครับ
    -หากทำเรื่องขอจดทะเบียนแล้วกี่วันถึงจะใช้เอกสารไปยื่นรับงานได้
    ขอบคุณ๕รับ

    ขอบคุณครับ

  21. ตอบคุณปุ๋ย

    ถ้าเพิ่งเริ่มทำแล้วยังไม่มั่นใจ ให้ทำแบบบุคคลธรรมดาไปก่อนครับ หรือจะจดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนก็ได้

  22. กำลังจะทำกิจการซื้อสินค้ามาใส่แบรนด์ตัวเองค่ะ และขายส่ง จะจดทะเบียนแบบไหนดีค่ะ ขอบคุณค่ะ

  23. ตอบคุณ Meiji

    สามีภรรยา จดคณะบุคคล/ห้างฯไม่จดทะเบียน ไม่ได้ครับ แต่จดร่วมกับน้องชายได้ ปกติ 2 คนก็จดได้แล้วครับ

  24. ขอบคุณมากๆสำหรับคำตอบนะคะ
    ขอถามเพิ่มเติมค่ะ
    การจดทั้งสองแบบด้านบน (คณะบุคคล / ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน)
    มีชื่อสามี ภรรยา และน้องชายภรรยา ทั้งสามคนได้หรือไม่ค่ะ

  25. ตอบคุณ Meiji

    จดทะเบียนคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน สามีภรรยา จดร่วมกันไม่ได้ครับ แต่ถ้าเป็นน้องชายภรรยา สามารถจดร่วมกันได้

    การเสียภาษีระหว่างคณะบุคคล กับห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล เหมือนกันครับ

  26. อยากทำธุรกิจร้านอาหารและชำระภาษีแบบบุคคลธรรมดาโดยจัดตั้งคณะบุคคล

    หากจัดตั้ง 3 คนโดยมีสามีภรรยาและน้องชายภรรยาได้ไม๊คะ

    หรือจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลโดยใช้ชื่อสามีภรรยาแค่สองคนได้หรือไม่คะ
    การเสียภาษีจะต่างกันอย่างไร
    ขอบคุณมากค่ะ

  27. ตอบคุณ koi

    ทำแบบบุคคลธรรมดาก็ได้ครับ

  28. อยากจะสอบถามว่า กำลังจะทำธุรกิจกิจเกี่ยวกับชากระชายดำ ซึ่งทางเราจะเป็นคนซื้อกระชายที่สำเร็จรูปแล้ว และเราก็ไปจ้างให้เขาบรรจุใส่ซองให้ แล้วเราก็นำชาที่จ้างเขาบรรจุให้ส่งไปขาย กรณีแบบนี้เราควรจะจดทะเบียนเป็น หจก.หรือว่าบุคคลธรรมดาดีค่ะ

  29. ตอบคำถาม
    1.ควรจดทะเบียนพาณิชย์ครับ ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องจดครับ
    2.ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ข้อ 27 การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่น ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต โดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ 80%

  30. มีคำถามครับ says:

    ถ้าผมอยากจะเปิดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จดทะเบียน
    ทำธุรกิจขายเวชสำอางส่งและอาหารเสริม ไม่ได้มีโรงงานผลิตเอง
    1. ผมจำเป็นต้องจดทะเบียนการค้าไหมครับ
    2.เรื่องภาษี ผมต้องต้องเสีย ภงด 94 40(8) หมวดไหนครับ แล้วหักค่าใช้จ่ายได้ 80% ผมเข้าใจถูกไหมครับ

  31. ตอบคุณจุ๊บ

    แนะนำให้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดครับ หรือจะทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาแบบที่เคยทำไปก่อนก็ได้ จะได้ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

  32. ตอบคุณนิ

    ทุนจดทะเบียน กฎหมายไม่ได้กำหนดขั้นต่ำกับขั้นสูงสุดไว้ครับ เพราะฉะนั้นจะลงทุนเท่าไหร่ก็ได้ ส่วนใหญ่ทุนจดทะเบียนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับธุรกิจที่ทำมากกว่า เช่น เปิดโรงงานคงต้องใช้ทุนสูงหน่อยเพราะต้องซื้อเครื่องจักร ฯลฯ

  33. รบกวนสอบถามค่ะ ทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไปแบบเรียนไม่มีหน้าร้าน รายได้ทั้งปีไม่ถึง 1ล้านบาท ทำคนเดียวค่ะ ควรจะจดทะเบียนแบบไหนดีค่ะ และต้องเสียภาษีแบบไหน

  34. รบกวนหน่อยครับ อยากเปิด หจก ธุรกิจประเภทซื้อมา ขายไป ประเภทอิเล็กทรอนิค ตามอุตสาหกรรม ทุนขั้นตำในการเปิดเป็น หจก เท่าไหร่ครับ

  35. ตอบคุณ kangpla

    จดทะเบียนเป็นบริษัทดูดีกว่าครับ แต่..ให้ดูว่าคุ้มค่าหรือไม่ เนื่องจากการจดทะเบียนบริษัทจะมีค่าใช้จ่าย และต้องส่งงบการเงินทุกปีนะครับ

  36. เรียนถามว่าผมทำธุรกิจเกี่ยวกับwebsite คือรับจดโดเมน เช่าโฮส และรับออกแบบเว็บไซต์ รายรับตอนนี้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 15,000-20,000 เเต่เนื่องจากหน่วยงานและองค์กรที่ผมไปติดต่อเป็นของรํบส่วนใหย์และบริษัทอยากทราบว่าผมต้องจดแบบไหนเพื่อให้ดูมีความน่าเชื่อถือเนื่องจากบางครั้งหน่วยงานที่ผมไปติดเขาต้องการใบเสร็จที่มี vatหรือ ภาษี ผมต้องจดแบบไหนครับ รบกวนแนำนำด้วยครับ ถ้าจด จะเป็นห้างหุ้นส่วนดีหรือบริษัทดี และมีขั้นตอนอย่างไรบ้างครับ รบกวนท่านด้วยครับ

  37. ตอบคุณก้อย

    ไม่ต่างกันครับ อธิบายเพิ่มเติม สรรพากรแบ่งตามวิธีการคำนวณเสียภาษี เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล (บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ไม่ได้แบ่งตามประเภทธุรกิจครับ

  38. รบกวนขอสอบถามน่ค่ะ

    คือว่า จะร่วมทุนเปิดบริษัท ซื้อมา ขายไป กับเพื่อนต่างชาติ ส่งออกสิ้นค้าไปขายต่างประเทศ และอยากจะเปิดบริษัทเป็น Trader
    อยากจะทราบว่า Trader กับบริษัทจำกัด ต่างกันกันไหมค่ะ
    การเสียภาษีให้สรรพากร เหมือนกันไหมค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

  39. ตอบคุณวี

    เนื่องจากว่าไม่ได้แจ้งว่าเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาจะเสียภา๊ษีจากรายรับ หักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตรา 80% หักค่าลดหย่อนแล้วจึงนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษี

    ส่วนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องทำบัญชีโดยนำรายรับ หักต้นทุนสินค้าที่ขาย (ถ้ายังไม่ขายให้ถือเป็นสินค้าคงเหลือ) หักค่าใช้จ่ายอื่นๆ แล้วจึงนำกำไรไปคำนวณสียภาษี (ถ้าขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี)

    เนื่องจากเป็นกิจการที่มีสินค้า จึงต้องจัดทำบัญชีสินค้าหรือที่เราเรียกว่า Stock Card ครับ บัญชีนี้ปกติไม่ต้องยื่นสรรพากรครับ เว้นแต่ว่าเค้าจะขอตรวจ

  40. ขอถามเพิ่มเติมครับ แล้วจะต้องทำบัญชีสินค้าคงเหลือ เพื่อยื่นสรรพากร หรือไม่ อย่างไรครับ

  41. ขอสอบถามครับ ถ้าทำธุรกิจซื้อมาขายไป มียอดขายต่อเดือนน้อยกว่าค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและดำเนินการ (คือ ยอดขายสินค้าต่อเดือนประมาณ 20,000 บาท แต่ต้องลงทุนซื้อสินค้าเพิ่มเพื่อให้มีสินค้าหลากหลายให้ลูกค้าเลือกซื้อต่อเดือนประมาณ 30,000 บาท) ต้องเสียภาษีอย่างไร และไม่ทราบว่าจะต้องลงบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายอย่างไรครับ

  42. ตอบคุณปลา

    ถ้าต้องการจดทะเบียนบริษัทจำกัด ต้องมีผู้ร่วมก่อการ (ผู้ถือหุ้น) อย่างน้อย 3 คน ถ้าจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมีหุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คนครับ ส่วนคุณปลาจะเป็นกรรมการ คนเดียวก็ได้

  43. ขอบคุณค่ะ แต่เพื่อความน่าเชื่อถือต่อลูกค้าและบริษัทที่เราขอเป็นตัวแทนเค้าน่ะค่ะ เลยคิดว่าจดทะเบียนเป็นบริษัทจะดีกว่าไหม (แต่ไม่ค่อยเข้าใจวิธีการสักเท่าไหร่ค่ะ) และดิฉันทำคนเดียวค่ะเลยไม่รู้ว่าจะไปจดทะเบียนแบบไหน? ช่วยแนะนำด้วยนะคะ

  44. ตอบคุณปลา

    จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือว่าจะทำในนามบุคคลธรรมดาก็ได้ครับ ให้ดูขนาดของธุรกิจก่อน ดูว่ารายได้มากน้อยแค่ไหน แนะนำว่าทดลองทำในแบบบุคลลธรรมดาไปก่อน ถ้าธุรกิจไปได้ดี ค่อยไปจดเป็นบริษัทก็ได้

  45. ขอสอบถามค่ะ คือว่าอยากจะเป็นตัวแทนของบริษัท(ต่างประเทศ)ที่ทำธุรกิจทางออนไลน์ และเราจะต้องดูแลเรื่องการจำหน่ายและโอนเงินค่าสินค้าในประเทศไทย ดิฉันต้องจัดตั้งเป็นบริษัทหรือต้องจดทะเบียนการค้าแบบไหนคะ ขอบคุณค่ะ

  46. บริษัท2บริษัทต้องการรับทำงานร่วมกันโดยแบ่งผลกำไรขาดทุน ควรจดทะเบียนแบบใด มีการจดร่วมทุนหรือไม่ หรือแค่เปลี่ยนรายชื่อผู้ถืหุ้นในชื่อของบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่ตั้งไว้อยู่แล้ว ผลดีผลเสียต่างกันอย่างไร ในแง่รายได้และการเสียภาษี

  47. ตอบคุณ pari

    ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วอย่างน้อย 2 ล้านบาทครับ

  48. แล้วถ้ายังไม่มี work permit หากต้องการจดทะเบียนเพิ่มทุนต้องมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้นเท่าไรคะ

  49. ตอบคุณเปีย

    การประกอบธุรกิจสามารถทำในแบบบุคคลธรรมดาก็ได้ เพียงแต่อาจจะดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่านั้น ถ้าคุณเปียสามารถหาลูกค้าได้ในชื่อบุคคล ก็ไม่น่าจะต้องไปจดครับ ส่วนเรื่องการเสียภาษีก็เสียในแบบบุคคลธรรมดาให้ถูกต้องก็จบแล้ว

    ส่วนการจดทะเบียนแนะนำว่าจดเป็นบริษัทจำกัด ดีกว่าครับ ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่า แต่มีความคล่องตัวในหลายเรื่อง

  50. ขอสอบถามด้วยค่ะ ตอนนี้ทำธุรกิจประเภทรับเหมาติดตั้งงานระบบสายสัญญาณและระบบไฟฟ้าส่องสว่าง รายได้รับยังไม่หักค่าใช้จ่ายต่อปีประมาณ 1 ล้านเศษ
    ทำมาได้ประมาณ เกือบ 7 ปีแล้วค่ะ แต่ว่ายังไม่กล้าจดทะเบียน ไม่แน่ใจว่าจะจดเป็นแบบใหนดี แต่ก็ตั้งใจว่าจะต้องจดให้ได้ ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ ว่าจะจดเป็นแบบบริษัทจำกัด หรือเป็นแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด อย่างใหนดี
    และถ้าจดตอนนี้มีเงินในบัญชีค้างอยู่ไม่ถึง แสน จะจดได้ไหม

    อย่างไร ต้องเสืยเงินในการจดเท่าไหร่ ถึงจะเป็นรูปแบบของนิติบุคคลโดยสมบูรณ์

  51. ตอบคุณนานา

    ถ้าเค้ามี Work Permit อยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องขอใหม่ครับ

  52. รบกวนสอบถามเพิ่มเติมคะ กรณีต่างชาติร่วมทุนคะ…
    กรณี work permit ของเพื่อนต่างชาติคนนี้ คือเขาเป็นอาจารย์สอนอยู่ในเมื่องไทยอยู่แล้ว แล้วเขาต้องการเปิดบริษัทร่วมทุนกับเรา แบบนี้เค้าไม่ต้องขอ work permit ใหม่ใช่หรือไม่คะ…

  53. ตอบคุณศราวุธ

    ต้องลองคำนวณภาษีดูครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณศราวุธมีรายได้ทั้งปี 900,000 บาทจากธุรกิจซื้อมา-ขายไป จะไม่เสียภาษี ถ้าเกินจากนี้เสียภาษี

    วิธีคำนวณ 900,000 หักค่าใช้จ่ายเหมา 80% คงเหลือ 180,000 บาท หักลดหย่อน 30,000 บาท คงเหลือเิงินได้ที่ต้องนำไปคำนวณภาษี 150,000 บาท (เงินได้ 0-150,000 ได้รับการยกเว้นภาษี)

    คำนวณวิธีที่ 2 นำเงินได้ 900,000 บาท x 0.5% เท่ากับ 4,500 บาท (ผลคำนวณต่ำกว่า 5,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี)

  54. อ่านบทสรุปแล้ว พอมีเกณฑ์ไหมครับว่า รายได้ไม่มาก วัดจากยอดขาย หรือผลกำไร ถ้าเป็น ผลกำไร ประมาณ เดือนละเท่าไร ถึงจะเรียกว่า ไม่มาก
    ตอนนี้กำลังเริ่มต้นทำการค้าประเภท ซื้อมา ขายไป คาดว่าน่าจะมีผลกำไร เดือนละประมาณ 1 หมื่น ถึง 6 หมื่นบาท คิดว่าควรจดทะเบียนเป็นอะไรดีครับ ระหว่าง คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนประเภทใด จึงจะสมเหตุสมผล

  55. ตอบคุณนานา

    ถ้าคนต่างชาติไม่ต้องการขอ work permit ก็ไม่ต้องมีเกณฑ์อะไรทั้งสิ้นครับ ยังไงก็ได้

  56. รบกวนปรึกษาเรื่องการเปิดบริษัทหน่อยคะ ถ้าหุ้นส่วน 3 คนแล้วมี 1 คน เป็นชาวเกาหลี จะต้องมีเกณฑ์กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำเท่าไหร่คะ แล้วต้องมีเกณฑ์การจ้างงานด้วยหรือเปล่าว่าต้องมีพนักงานกี่คนต่อต่างชาติ 1คน เพราะกำลังจะเปิดบริษัทร่วมหุ้นกับเพื่อนต่างขาติด้วย และไม่ได้จ้างพนักงานเลยคือทำกันเอง เป็นงานออกแบบ คะ รบกวนชี้แนะด้วยนะคะ…..

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.