เมษายน, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 3 เมษายน, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 3

ค่ารับรอง หลักเกณฑ์และตัวอย่างประกอบ

ค่ารับรอง กิจการสามารถนำค่ารับรองมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ โดยบันทึกรวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ค่ารับรองเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้

ลองมาดูหลักเกณฑ์ค่ารับรองตามกฎกระทรวงมาตรา 143 กันนะครับ

  1. เป็นค่ารับรองตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป ต้องเป็นการรับรองบุคคลอื่น (ลูกค้า) ไม่ใช่พนักงานของบริษัท เว้นแต่พนักงานบริษัทต้องเข้าร่วมในการรับรองนั้น
  2. กรณีให้เป็นสิ่งของต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ (2,000 บาท/คน/ครั้ง)
  3. จำนวนเงินค่ารับรอง ให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่จ่าย แต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินโดยคำนวณจาก
    – ยอดรายได้ทั้งปี หรือ ยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดในรอบระยะเวลาบัญชี
    – ทุนจดทะเบียนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
    โดยบริษัทสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ตัวเลขจากยอดใด ซึ่งแล้วแต่ว่าจำนวนใดจะมากกว่า แต่ทั้งนี้กฎหมายกำหนดให้หักได้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
  4. ค่ารับรอง ต้องมีกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติหรือสั่งจ่ายค่ารับรอง หรือค่าบริการนั้นด้วย
  5. ต้องมีหลักฐานการจ่าย ใบเสร็จรับเงิน

นอกจากนี้ควรมีข้อมูลประกอบการเบิกค่ารับรองเพิ่มเติมคือ

  1. ต้องระบุบุคคลที่ได้รับการรับรองได้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อไว้ในใบเบิกจ่ายเงิน หรือใบสำคัญจ่าย
  2. ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบุคคลที่ได้รับการรับรอง เกี่ยวข้องกับกิจการหรือเอื้อประโยชน์ต่อกิจการอย่างไร เช่น เป็นลูกค้า

ค่ารับรองที่ถือเป็นรายจ่ายได้ ตัวอย่างเช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ดูมหรสพ การกีฬา การให้กระเช้าของขวัญในเทศกาลปีใหม่กับลูกค้า เป็นต้น

ค่ารับรองที่ไม่สามารถบันทึกรายจ่ายได้ ตัวอย่างเช่น ซื้อบัตรการกุศล ค่าของขวัญและดอกไม้วันเกิด ค่าสมาชิกกอล์ฟ ค่าช่วยงานต่าง ๆ เช่น งานศพ งานแต่งงานให้ลูกค้า เป็นต้น ถือเป็นรายจ่ายส่วนตัว หรือการให้โดยเสน่หาเพื่อประโยชน์ทางสังคมของผู้มีอำนาจจ่ายเงิน

ค่ารับรองที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ซึ่งต้องบวกกลับตอนคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนสิ้นปี

ตัวอย่างที่สรรพากรตอบไว้นะครับ

เลขที่: : 404928

เรื่อง: : พาลูกค้าไปเล่นกอล์ฟถือเป็นค่ารับรอง

คำถาม: : บริษัทพาลูกค้าไปเล่นกอล์ฟจะถือเป็นค่ารับรองได้หรือไม่

คำตอบ: : ได้ แต่ไม่เกินคนละ 2,000 บาท เนื่องจากเป็นการรับรองลูกค้าอันจำเป็นตามประเพณีทางธุรกิจทั่วไป ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี(4) แห่งประมวลรัษฎากร และ กฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522)

เลขที่: : 401490

เรื่อง: : รายจ่ายต้องห้าม กรณีค่าซื้อบัตรการกุศล ค่าซื้อของขวัญวันเกิด และค่าช่วยงาน

คำถาม: : บริษัท มีรายจ่ายค่าซื้อบัตรการกุศล ค่าของขวัญและดอกไม้วันเกิด ค่าสมาชิกกอล์ฟ และค่าช่วยงานต่าง ๆ เช่น งานศพ งานแต่งงานให้ลูกค้า ซึ่งเป็นไปตามประเพณีนิยมในการดำเนินกิจการค้าขายโดยทั่วไปต้องมีค่าเลี้ยง ดู ค่ารับรองแขกในรูปต่าง ๆ รายจ่ายดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายใ

คำตอบ: : รายจ่ายดังกล่าว ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หาเพื่อประโยชน์ ทางสังคมของผู้มีอำนาจจ่ายเงิน มิใช่รายจ่ายเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจ จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี(3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร (คำพิพากษาฎีกาที่ 7124/2545 และ 3661/2545)

เลขที่: : 405580

เรื่อง: : จ่ายช่วยค่าของรางวัลในการจัดกีฬาสีของบริษัทลูกค้า

คำถาม: : บริษัทได้จ่ายช่วยค่าของรางวัลในการจัดกีฬาสีของบริษัทลูกค้าจะถือเป็นค่าส่งเสริมการขายหรือค่ารับรองได้หรือไม่

คำตอบ: : ไม่ถือเป็นค่าส่งเสริมการขายและค่ารับรอง แต่เป็นการให้โดยเสน่หาต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งถ้าจะเป็นค่ารับรองต้องเข้าเงื่อนไข ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522)

เลขที่: : 408405

เรื่อง: : ซื้อกระเช้าของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้าเข้าลักษณะเป็นค่ารับรองถือเป็นรายจ่ายได้

คำถาม: : ซื้อกระเช้าของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้าถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

คำตอบ: : รายจ่ายค่ากระเช้าของขวัญที่ซื้อมาแจกหรือให้เป็นของขวัญแก่ลูกค้าเนื่องใน พิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี  เข้าลักษณะเป็นค่ารับรอง ดังนั้น จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522) แก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 222 (พ.ศ.2542)

อ้างอิง กฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้

ค่าน้ำมันรถ กรณีนำรถส่วนตัวมาใช้งาน

กรณีเป็นรถยนต์ของบริษัท ค่าน้ำมันรถ ค่าซ่อมแซม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ สามารถนำมาบันทึกบัญชีได้ แต่กรณีไม่ใช่รถบริษัท อาจจะเป็นรถของกรรมการ หรือพนักงาน นำรถมาใช้ในการประกอบกิจธุระของกิจการ สามารถนำค่าน้ำมันมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้หรือไม่ และพนักงานต้องนำเงินได้นี้มารวมเพื่อคำนวณเป็นเงินได้ประจำปีหรือไม่

มาดูคำตอบที่สรรพากรตอบไว้นะครับ

เลขที่หนังสือ : กค 0706/6969

วันที่ : 13 กรกฎาคม 2550

เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน

ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (3) และมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ

บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ในกรณีที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวในกิจธุระของบริษัทฯ ตามอัตราที่กำหนดและประกาศให้พนักงานทราบทุกสิ้นเดือน โดยบริษัทฯใช้อัตราราคาน้ำมันที่สูงที่สุดในเดือนนั้น ๆ ของกระทรวงพลังงานมาคำนวณเพื่อจ่ายคืนแก่พนักงานเดือนละครั้ง และต้องระบุรายละเอียดการเดินทางและกิจธุระที่ทำในหน้าที่ของพนักงานพร้อมใบ เสร็จรับเงินค่าน้ำมันที่จ่ายจริง บริษัทฯ หารือว่า
1. บริษัทฯ จะบันทึกค่าน้ำมันที่จ่ายให้กับพนักงานเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
2. พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำเงินได้ที่ได้รับดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

แนววินิจฉัย

1. กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ตามจำนวนที่จ่ายจริงในกรณีที่พนักงานใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางไปทำงานให้ บริษัทฯ ถือเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการประกอบกิจการของบริษัทฯบริษัทฯ มีสิทธินำค่าน้ำมันดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าน้ำมันรถยนต์ส่วนที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปเกินกว่าจำนวนที่พนักงานของบริษัทฯ ได้จ่ายไปจริง ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่าย ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีพนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่าน้ำมันในกรณีนี้ไปรวมคำนวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น จะต้องมีหลักฐานการใช้รถยนต์และพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่การตรวจสอบไต่ สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่นั้นด้วยประกอบกับ บริษัทฯ ต้องมีระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ได้และมีหนังสืออนุญาต พร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานจากที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาทางเท่าใด ชื่อเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียนรถยนต์ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถยนต์ที่มี การระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน

เลขตู้ : 70/35139

เลขที่ : 401748
เรื่อง :         ค่าใช้จ่ายรถยนต์ใช้ในกิจการถือเป็นรายจ่ายได้แม้ไม่ใช่รถยนต์ของกิจการ
คำถาม :    รถยนต์ไม่ใช่ของบริษัท แต่บริษัทเอาค่าน้ำมันมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่
คำตอบ :    ค่าน้ำมันรถยนต์ซึ่งไม่ใช่รถยนต์ของบริษัท ไม่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าเป็นการนำรถยนต์มาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อกิจการ มีหลักฐานการใช้รถยนต์ซึ่งสามารถพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่เจ้าพนักงาน เช่น มีระเบียบอนุญาตในการเบิกจ่าย มีหนังสืออนุญาตพร้อมบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานเรื่องใด จากที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาเท่าใด ทะเบียนรถยนต์ และบิลค่าน้ำมันระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ ทะเบียนรถยนต์

สรุปอีกที ค่าน้ำมันรถที่จ่ายให้พนักงานถ้าเป็นการใช้เพื่อกิจธุระของกิจการ ก็สามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ ส่วนพนักงานก็ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเป็นงินได้ประจำปี โดยมีเงื่อนไขดังนี้

ต้องมีหลักฐานการใช้รถ และพิสูจน์ได้ว่าเป็นการจ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของตน  และจำนวนเงินค่าใช้จ่ายนั้นได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ นั้นด้วย และ

  • มีระเบียบของนายจ้างอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถได้
  • มีหนังสือหรือบันทึกอนุญาตให้เดินทางไป ติดต่องาน  ระบุว่าเป็นการเดินทางจากที่ใดไปที่ใด  ระยะทางเท่าใด  ชื่อเจ้าของรถ และหมายเลขทะเบียนรถ
  • ใบเสร็จค่าน้ำมันรถที่ระบุชื่อเจ้าของรถ  หมายเลขทะเบียนรถ
  • ต้องมีการอนุมัติจากผู้มีอำนาจ

มีข้อหารือสรรพากรในเรื่องการเบิกค่าน้ำรถโดยใช้ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัว

เลขที่: : 408259

เรื่อง: : อัตราการจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ชดเชยให้แก่พนักงานที่นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในกิจการ

คำถาม: : พนักงาน บริษัทนำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้เดินทางไปปฏิบัติงานของบริษัท โดยเบิกค่าน้ำมันรถยนต์กับบริษัท หากไม่มีหลักฐานการจ่ายที่พิสูจน์ว่าได้จ่ายไปเท่าไร เมื่อบริษัทจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ชดเชยให้กับพนักงาน บริษัทสามารถลงเป็นรายจ่ายได้อย่างไร

คำตอบ: : หากบริษัทจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ชดเชยให้พนักงานกรณีที่นำรถยนต์ส่วนตัวไปใช้ใน กิจการงานของบริษัท บริษัทสามารถลงเป็นรายจ่ายได้ตามจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินกิโลเมตรละ 2 บาท สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล หรือกิโลเมตรละ 1 บาท สำหรับรถจักรยานยนต์ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัว เดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2547 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2547 เป็นต้นไป ที่กำหนดเงินชดเชยเหมาจ่ายสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 2 บาท และรถจักรยานยนต์ กิโลเมตรละ 1 บาท หากบริษัทจ่ายตามอัตราดังกล่าวที่กำหนด สามารถเป็นรายจ่ายได้ และพนักงานที่ได้รับค่าน้ำมันชดเชยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร

ระเบียบการเบิกค่าพาหนะเดินทางปรับใหม่ในปี 2550 ดูไฟล์เอกสารได้ที่ http://www.cgd.go.th/uploadfile/doc/4027_doc.pdf

เงินชดเชยในการใช้ยานพาหนะส่วนตัวในการเดินทางไปราชการ

  1. รถยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 4 บาท
  2. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมิตรละ 2 บาท

สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก (SMEs) มักจะพบปัญหาการนำรถกรรมการมาใช้ในกิจการ รายจ่ายค่าน้ำมัน ค่าซ่อมแซม สามารถเบิกได้หรือไม่ ถ้าพิสูจน์ได้ว่านำรถมาใช้ในกิจการจริง ก็สามารถที่จะนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่ผมว่าบางที่มันก็พิสูจน์ยากเหมือนกัน ผมเคยอ่านเจอว่า ค่าน้ำมันรถกรรมการ สามารถเบิกได้ แต่วันหยุดเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดตามประเพณี เบิกไม่ได้ อันนี้ผมว่า ขึ้นอยู่ที่ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน เพราะในข้อกฎหมายก็เขียนไว้ว่า จะต้องมีหลักฐานการใช้รถยนต์และพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่การตรวจสอบไต่ สวนของเจ้าพนักงานประเมิน แต่ถ้าทำให้ถูกต้องก็ต้องมีการจดบันทึกหลักฐานการใช้รถ ตามที่กล่าวข้างต้น

การยื่นงบการเงิน และค่าปรับยื่นงบล่าช้า

เพิ่มเติม

1.จากเดิมที่ต้องส่งแบบ สปช.3 จำนวน 3 ฉบับ และงบการเงิน 2 ชุด ปัจจุบัน(ปี 2551) ให้ส่งแบบ สปช.3 จำนวน 2 ฉบับและงบการเงิน 1 ชุด (ต่างจังหวัดให้เพิ่มอีกอย่างละ 1) และในวันนำส่งงบ จะมีการตรวจสอบว่าผู้สอบบัญชีแจ้งรายชื่อธุรกิจแล้วหรือยัง โดยจะมีตรายางประทับไว้ในแบบ สปช.3 ที่คืนมา 1 ฉบับ

ดูประกาศแก้ไข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒ คลิ๊ก

2.อีกเรื่องที่ต้องระวังก่อนส่งงบการเงิน ให้ตรวจสอบก่อนว่าในข้อบังคับบริษัท กำหนดรอบบัญชีไว้เป็นเมื่อไหร่ ถ้าส่งงบไม่ตรงกับรอบบัญชีที่แจ้งไว้ตอนจดทะเบียนบริษัท ทางเจ้าหน้าที่จะไม่รับแบบ ต้องไปแก้ไขข้อบังคับ หรือทำหนังสือยืนยันให้กรรมการเซ็นรับรองและประทับตราว่า บริษัทจะดำเนินการเปลี่ยนรอบบัญชีในข้อบังคับต่อไป

กำหนดเวลายื่นงบการเงิน
1) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายของต่างประเทศที่ ประกอบ ธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พฤษภาคมของปีถัดไป
2) บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ต้องจัดทำงบการเงินขึ้นเพื่อให้ผู้สอบบัญชี ีรับอนุญาตตรวจสอบ รับรอง แล้วจึงนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ โดยจะต้องจัดให้มี การประชุมเพื่ออนุมัติิงบการเงิน ภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้นรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี จะต้องจัด ประชุมภายในวันที่ 30 เมษายนของปีถัดไป มิฉะนั้นจะมีความผิดโทษปรับไม่ เกิน 20,000 บาท
งบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมแล้ว จะต้องนำไปยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติ จากที่ประชุมใหญ่

ตัวอย่าง

  1. ประชุมเมื่นวันที่ 31 มีนาคม จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 30 เมษายน ของเดือนถัดไป
  2. ประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 20 พฤษภาคม ของเดือนถัดไป
  3. ประชุมเมื่อวันที่ 30 เมษายน จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 31 พฤษภาคม ของเดือนถัดไป

เอกสารที่ต้องการใช้ในการยื่นงบการเงิน
กิจการที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
1) แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) จำนวน 2 ฉบับ (แก้ไขใหม่)
2) งบการเงิน จำนวน 1 ชุด (แก้ไขใหม่)
3) สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมใหญ่อนุมัติงบการเงินของบริษัทจำกัด จำนวน 1 ชุดจะต้องยื่นภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมใหญ่
***กรณีมิได้ยื่นพร้อมกับงบการเงิน จะต้องมีหนังสือนำส่งลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจประทับตรา (ถ้ามี) ด้วยสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดจะต้องลงนามรับรองโดยกรรมการอย่างน้อย 1 คน
4) สำเนารายงานการประชุมเฉพาะที่เกี่ยวกับการอนุมัติงบการเงิน การจัดสรรกำไร และการแบ่งเงินปันผล (กรณีเป็นบริษัทมหาชนจำกัด) จำนวน 1 ชุด
5) รายงานประจำปี (กรณีเป็นบริษัทมหาชนจำกัด) จำนวน 1 ชุด

กิจการที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค
ยื่นเอกสารเช่นเดียวกับนิติบุคคลที่ตั้งในกรุงเทพมหานคร แต่ต้องเพิ่มเอกสารตาม 1-5 (แล้วแต่ประเภทกิจการ) อีกอย่างละ 1 ชุด

*การกรอกแบบนำส่งงบการเงิน (ส.บ.ช.3)

  1. ให้กรอกข้อความลงในชื่อว่างหรือทำเครื่องหมายถูกในช่องสี่เหลื่อมตามที่ประกอบอยู่จริงเท่านั้น
  2. ให้ระบุประเภทธุรกิจและระบุสินค้า/บริการที่ประกอบกิจการอยู่ในปัจจุบันให้ตรงตามความเป็นจริง เนื่องจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะให้เป็นข้อมูลเพื่อเผยแพร่ธุรกิจของท่านทั้งทางอินเตอร์เน็ต และตามที่มีผู้ขอข้อมูล
  3. ผู้ทำบัญชีต้องลงชื่อในแบบนำส่งด้วย โดยผู้ทำบัญชีต้องเป็นผู้ที่ได้แจ้งรายชื่อต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไว้แล้วว่าเป็นทำบัญชีของกิจการที่นำส่งงบการเงิน
  4. ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการต้องลงลายมือชื่อในแบบด้วยตนเอง จะมอบอำนาจให้ผู้ใดลงลายมือแทนมิได้ และประทับตรา (ถ้ามี) ด้วย

รายละเอียดในงบการเงิน ประกอบด้วย
1.ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการจะต้องลงลายมือชื่อและประทับตรา (ถ้ามี) ในงบดุลและงบกำไรขาดทุนทุกหน้าส่วนเอกสารงบการเงินอื่น ให้ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อรับรอง
2.งบการเงินของบริษัทจำกัดให้ระบุข้อความไว้ในหน้างบดุลด้วยกว่า "งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด เมื่อวันเดือนปีใด" เว้นแต่กรณีส่งสำเนารายงานการประชุมดังกล่าวมาพร้อมกับการยื่นงบการเงิน
3.งบการเงินของนิติบุคคลที่ตั้งในกรุงเทพมหานครจะต้งมีต้นฉบับที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อด้วยหมึก อย่างน้อย 1 ชุด กรณีตั้งในภูมิภาคต้องมีต้นฉบับอย่างน้อย 2 ชุด สำเนาที่นำส่งพร้อมต้นฉบับจะต้องรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการและประทับตรา (ถ้ามี) ในเอกสารทุกหน้า
4.ให้หมายเหตุในงบดุลหรือแจ้งในแบบ ส.บช.3ว่าไม่ประกอบกิจการ หากธุรกิจมิได้ประกอบกิจการในรอบปีบัญชีที่นำส่งงบการเงิน

การแจ้งรายชื่อธุรกิจที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อรับรองงบการเงิน
– งบการเงินที่ยื่นตอ่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อกรมฯได้รับงบการเงินดังกล่าวแล้วเจ้าหน้าที่จะดำเนินการ ตรวจสอบว่าเป็นนิติบุคคลที่ผู้สอบบัญชีได้แจ้งชื่อไว้ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 44 (พ.ศ.2544) หรือไม่ หากไม่ปรากฎชื่อกรมฯ จะทำการแจ้งนิติบุคคลให้ดำเนินการให้ถูกต้อง ภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง จึงจะถือว่าได้ยื่นงบการเงินไว้โดยถูกต้องแล้วนับตั้งแต่วันที่ยื่นครั้งแรก หากไม่ดำเนินการภายในระยะเลาดังกล่าวจะถือว่าไม่ได้ยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าย่อมเป็นความผิดมีโทษปรับตามกฏหมาย
– จึงขอให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีหรือผู้ที่เกี่ยวข้องว่าผู้สอบบัญชีได้แจ้งรายชื่อธุรกิจไว้แล้วหรือไม่หรือตรวจสอบได้ที่ www.dbd.go.th หากยังมิดได้แจ้งขอให้ดำเนินการแจ้งรายชื่อต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก่อนำมายื่น

สถานที่ยื่นงบการเงิน
– กิจการที่ตั้งในกรุงเทพมหานคร ยื่นที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 1100
– กิจการที่ตั้งในต่างจังหวัด ยื่นที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ สำนัหงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่ตั้งกิจการการจัดส่งทางไปรษณีย์
– ส่ง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ในกรุงเทพฯและไปรษณีย์นนทบุรี ถนนติวานนท์ ถึงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยสามารถเลือกใช้วิธีไปรษณีย์รับประกันทั้งไปและกลับ และแนบซองติดแสตมป์จ่าหน้าซองกลับถึงตัวผู้รับได้ 2 แบบคือ

  1. ฝากส่งงบการเงิน จำนวน 1 ชุด ชำระค่าบริการ 65 บาท หากเอกสารสูญหาย/เสียหายจะได้ชดใช้เป็นเงิน 500 บาท ทั้งไปและกลับ หรือ
  2. ฝากส่งงบการเงิน จำนวนไม่เกิน 5 ชุดส่งในซอง/กล่องเดียวกัน ชำระค่าบริการ 105 บาท ซึ่งหากเอกสารสูญหาย/เสียหาย จะได้รับชดใช้เป็นเงิน 700 บาท สำหรับขาไป และ 500 บาท สำหรับขากลับ

กรณีส่งถึงสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสามารถเลือกส่งได้เฉพาะไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือพัสดุไปรษณีย์หรือไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) เท่านั้น แต่ต้องแนบซองติดแสตมป์จ่าหน้าซองกลับเช่นเดียวกัน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะถือว่ากิจการได้ยื่นงบการเงินตั้งแต่วันที่ประทับบนซองจดหมาย/กล่อง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทาง

คำเตือน

1)เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ขอให้นิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดรีบดำเนินการจัดส่งงบการเงินก่อนเดือนพฤษภาคม หากนำมายื่นในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมอาจมีปัญหาไม่ได้รับความสะดวกและรวดเร็วเท่าที่ควร หรือจัดส่งทางไปรษณีย์จะได้รับความสะดวกกว่า
2)กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะได้รับฝากงบการเงินที่ยื่นครั้งละจำนวนมากของสำนักบริการรับทำบัญชีอีกต่อไป
3)ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้าเกินกำหนดเวลามีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และปรับผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการอีกไม่เกิน 50,000 บาท ด้วย ทั้งนี้ กรมได้กำหนดอัตราค่าปรับตามระยะ เวลาที่ยื่นงบการเงิน หากยื่นงบการเงินล่าช้าอัตราค่าปรับก็จะเพิ่มขึ้น หากมีข้อสงสัยประการใด สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02 547 4369-70 หรือสายด่วน 1570

ตารางค่าปรับ

 ลำดับ

  ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วน

   ยอดรวม

1.อัตราค่าปรับกรณียื่่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน 

1

ทุกประเภทยกเว้นกิจการร่วมค้า

600

600

1,200

2

กิจการร่วมค้า

600

600

2.อัตราค่าปรับกรณียื่่นงบการเงินล่าช้า่เกินกว่า 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน 

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

1,200

1,200

2,400

2

บริษัทจำกัด

2,400

2,400

4,800

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

6,000

6,000

12,000

4

บริษํทมหาชนจำกัด

12,000

12,000

24,000

5

กิจการร่วมค้า

6,000

6,000

3.อัตราค่าปรับกรณียื่่นงบการเงินล่าช้า่เกินกว่า 4เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน 

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

2,400

2,400

4,800

2

บริษัทจำกัด

4,800

4,800

9,600

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

12,000

12,000

24,000

4

บริษํทมหาชนจำกัด

24,000

24,000

48,000

5

กิจการร่วมค้า

12,000

12,000

4.อัตราค่าปรับกรณียื่่นงบการเงินล่าช้า่เกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป หรือไม่ยื่นงบการเงิน 

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

3,600

3,600

7,200

2

บริษัทจำกัด

6,000

6,000

12,000

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

18,000

18,000

36,000

4

บริษํทมหาชนจำกัด

36,000

36,000

72,000

5

กิจการร่วมค้า

18,000

18,000

 

สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีรอบบัีญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เป็นต้นไป อายุความของค่าปรับเป็น 1 ปี
นับจากวันครบกำหนดวันสุดท้ายของการยื่นงบการเงิน

ที่มา..http://www.dbd.go.th/mainsite/fileadmin/contents/docservice/files/html/explanation_account.html