เมษายน, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 5 เมษายน, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 5

ข่าวสรรพากรตรวจสอบคณะบุคคลและให้ส่งรายงาน

“สรรพากร”อุดรูรั่ว สกัดพวกหัวใสตั้งคณะบุคคลเป็นดอกเห็ด ใช้เป็นช่องทางหลบภาษี-สร้างรายจ่ายเทียมให้บริษัทนำไปหักภาษี ระบุบางรายมีชื่อในคณะบุคคลร่วมพันแห่ง ร่อนจดหมายแจ้งถึงคณะบุคคลทั่วประเทศ ต้องรายงานให้กรมสรรพากรรู้ก่อน 15 พ.ค.นี้

นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากการตรวจสอบฐานข้อมูลของกรมสรรพากรในเบื้องต้น พบว่ามีผู้เสียภาษีมายื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งคณะบุคคลเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้พบรายที่น่าสงสัยมีชื่อร่วมจัดตั้งคณะบุคคลมากกว่า 100 แห่งจนถึง 1,000 แห่ง เพื่อหลบเลี่ยงภาษี นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมมีผู้ถือหุ้นหรือพนักงานในบริษัทแยกออกไปตั้งคณะ บุคคล เพื่อย้อนกลับมารับงานจากบริษัทออกไปทำ โดยทุกๆ ครั้งที่บริษัทมีการจ่ายเงินค่าจ้างจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งกรมสรรพากรทุกเดือน

ทั้งนี้รายจ่ายในส่วนนี้บริษัทสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ ส่วนภาษีหัก ณ ที่จ่าย คณะบุคคลจะนำไปขอคืนกับกรมสรรพากร ซึ่งกรณีนี้กรมสรรพากรตั้งข้อสงสัยว่า อาจจะมีคณะบุคคลบางแห่งจัดตั้งขึ้นโดยไม่ได้มีการประกอบกิจการจริงๆ เพื่อสร้างรายจ่ายเทียมให้บริษัทนำไปหักภาษี

ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ที่เสียภาษีอย่างถูกต้อง กรมสรรพากรได้ยกเลิกการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งคณะบุคคลทางอินเทอร์เน็ต โดยผู้สนใจจะขอจัดตั้งคณะบุคคลต้องไปติดต่อที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ เพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนตามแบบฟอร์มที่กำหนด  โดยเจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูลอย่างละเอียด

จากนั้นในเดือน เม.ย.นี้กรมสรรพากรจะส่งหนังสือถึงบริษัทผู้สอบบัญชี, ที่ปรึกษาด้านภาษีอากร และผู้เสียภาษีที่มีชื่ออยู่ในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลมากกว่า 1 แห่ง ขอความร่วมมือให้แจ้งรายละเอียดการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนและคณะบุคคลมา ให้กรมสรรพากรได้ทราบภายใน 15 พฤษภาคมนี้

“มาตรการนี้จะเป็นการขอความร่วมมือให้ผู้ที่อยู่ในข่ายจัดตั้งคณะบุคคล มากกว่า 1 แห่ง จะต้องกรอกแบบฟอร์มกลับมา เพื่อขอข้อมูลจากผู้เสียภาษีเท่านั้น เราคงจะไปห้าม หรือไปบังคับไม่ให้ผู้เสียภาษีตั้งเป็นคณะบุคคลไม่ได้ เพราะในกฎหมายบัญญัติเอาไว้ แต่ถ้าการจัดตั้งมีขึ้นเพื่อเลี่ยงภาษี ไม่สามารถตอบคำถามหรือกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มที่กรมกำหนด หรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทางกรมจะถือเป็นการแจ้งความเป็นเท็จ หากไปตรวจพบในภายหลังจะมีความผิดตามกฎหมาย” นายวินัยกล่าว

นายวินัยกล่าวอีกว่า ผู้อยู่ในข่ายต้องทบทวนและกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์ม ล.ป.10.2 พร้อมกับแนบสัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลส่งไปให้สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ภายในวันที่ 15 พ.ค.นี้จะมีอยู่ 2 กรณี 

1) ประสงค์จะดำเนินการต่อไป กรณีนี้จะต้องระบุในแบบ ล.ป. 10.2 ข้อ 1-6 ให้ถูกต้อง โดยขอให้ระบุชัดเจนว่า ธุรกิจอยู่ในสถานะของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ซึ่งมีหลักในการพิจารณาคือ กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะหมายถึง สัญญาที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาทำกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากการทำกิจการนั้น

ส่วนกรณีของคณะบุคคล ตามประมวลรัษฎากรจะมีความแตกต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญตรงที่การจัดตั้งคณะ บุคคลขึ้นมาไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลกำไร โดยกรมสรรพากรจะขอความร่วมมือให้ผู้ที่อยู่ในข่ายดังกล่าวกรอกข้อมูลให้ถูก ต้องตามความเป็นจริง หากพบว่ามีบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นตัวการไปกระทำการหลีกเลี่ยงภาษีจะมีความผิด ตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดเอาไว้ว่า “ผู้ใดจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะนี้มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และถูกปรับตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท

กรณีที่ 2) หากไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป ให้กรอกข้อมูลในแบบ ลป.10.2 ในข้อ 1-4 และข้อ 8 ส่งไปยังสำนักงานสรรพากรพื้นที่ พร้อมบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี เพื่อให้กรมสรรพากรนำไปปรับปรุงฐานข้อมูลให้ถูกต้องต่อไป

ทั้งนี้คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญปัจจุบันเสียภาษีเสมือนบุคคลธรรมดา ทั้งนี้รายได้ที่ได้จากการทำธุรกิจสามารถนำมาหักลดหย่อนส่วนบุคคล, หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย, ประกันชีวิตได้ จากนั้นจะนำเงินได้สุทธิมาคำนวณเสียภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้าในอัตรา 5%, 10%, 20%, 30% และ 37% ตามลำดับ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ที่จดทะเบียนก่อตั้งคณะบุคคลส่วนใหญ่จะประกอบวิชาชีพอิสระ อาทิ แพทย์ ตัวแทนประกัน สถาปนิก วิศวะ ทนายความ ผู้สอบบัญชี ดารา พิธีกรโทรทัศน์ เป็นต้น

โดยก่อนหน้านี้ทางกรมสรรพากรได้ระบุว่า มีกรณีร้านแว่นตาแห่งหนึ่งที่มีแฟรนไชส์ 100 แห่ง ได้ใช้การจัดตั้งคณะบุคคล แจ้งว่าแต่ละแห่งมีรายได้ 1 ล้านบาท สามารถหักค่าใช้จ่าย 80% ทำให้ยอดรายได้คงเหลือแค่ 2 แสนบาท หักลดหย่อนได้อีก 60,000 บาท จึงเหลือรายได้ที่ต้องเสียภาษีแค่ 140,000 บาท เสียภาษีเพียง 4,000 บาท แฟรนไชส์ 100 แห่ง เสียภาษีรวม 4 แสนบาท แต่หากตั้งเป็นนิติบุคคล แฟรนไชส์ 100 แห่ง รวมรายได้ 100 ล้านบาท นำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 80% มีรายได้เหลือ 20 ล้านบาท หักลดหย่อนได้อีก 60,000 บาท เหลือเงินได้นำมา 19,940,000 บาท ทำให้ต้องจ่ายภาษีถึง 6-7 ล้านบาท

นอกจากนี้เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้ออกประกาศว่า มีพฤติการณ์ของการหลีกเลี่ยงภาษี หรือฉ้อโกงภาษี โดยการจัดตั้งคณะบุคคลเป็นเท็จ สร้างรายจ่ายเท็จ ทำให้เสียภาษีน้อยลงหรือไม่ต้องเสียภาษี หรือมีการขอคืนภาษี โดยวิธีการจัดตั้งคณะบุคคลเป็นเท็จขึ้นมาหลายๆ คณะ โดยแต่ละคณะบุคคลจะมีชื่อของผู้มีเงินได้อยู่ในทุกคณะบุคคล เพื่อเป็นการกระจายฐานเงินได้ของผู้มีเงินได้ที่แท้จริง ทำให้เสียภาษีในอัตราต่ำ นอกจากนี้คณะบุคคลยังมีการขอคืนภาษี โดยอ้างว่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งกรมสรรพากรไว้

ที่มา..ข่าวมติชน วันที่ 25 มีนาคม 2552

ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ขั้นตอนและวิธีการ

เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

กรม สรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีอากรทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและ นิติบุคคลและเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บจึงได้ใช้ระบบ คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บฐานข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรโดยกำหนดให้ผู้มี หน้าที่เสียภาษีอากรแต่ละรายมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเพียง 1 หมายเลข ประกอบด้วยตัวเลข 10 หลัก ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ดังนี้
”มาตรา 3 เอกาทศ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรและผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้ มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรได้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ โดยอนุมัติรัฐมนตรี
การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา”

เลขประจำตัวประชาชนใช้แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่ หักภาษี ณ ที่จ่าย เฉพาะบุคคลธรรมดาที่มีและใช้เลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียน ราษฎร ใช้เลขประจำตัวประชาชนในการยื่นรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและยื่นรายการ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ยังคงต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

ประเภทผู้เสียภาษี

การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

กำหนดเวลา

แบบคำร้อง

สถานที่ยื่นคำร้อง

1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(1) กรณีไม่มีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เช่น คนต่างด้าว ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล กองมรดก ที่ยังมิได้แบ่ง(2) กรณีบุคคลธรรมดาที่ประสงค์จะจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่า เพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ(3) กรณีเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะอยู่ ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2546

ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้พึงประเมิน

(1) บุคคลธรรมดาใช้แบบ
ล.ป.10.1

(2) คณะบุคคลใช้แบบ
ล.ป.10.2

ก. ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ที่ผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาอยู่

ข. ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ที่ผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาอยู่กรณีผู้เสียภาษีอากรที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่สะดวกที่จะยื่นคำร้อง ณ สถานที่ดังกล่าวข้างต้น จะยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา แห่งใดแห่งหนึ่งในท้องที่ของจังหวัดที่มีภูมิลำเนาอยู่หรือ จะยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา แห่งใดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครก็ได้

2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไทยหรือ วันที่นิติบุคคลต่างประเทศเริ่มประกอบกิจการ ในประเทศไทย

แบบ
ล.ป.10.3

ก. ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

ข. ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ กรณีเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สามารถยื่น ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ได้อีกแห่งหนึ่ง

3. ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้

ภายใน 60 วัน ก่อนวันจ่ายเงินได้

แบบ
ล.ป.10.4

ก. ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ที่ผู้จ่ายเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่หรือที่สำนักงานของผู้จ่ายเงินได้ตั้งอยู่

ข. ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ที่ผู้จ่ายเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่หรือที่สำนักงานของผู้จ่ายเงินได้ตั้งอยู่

เอกสารที่ต้องแนบพร้อมกับแบบคำร้องการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

ประเภทบุคคลธรรมดา (แนบพร้อมกับแบบ ล.ป.10.1)

1. กรณีขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทาง / บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรประจำตัวข้าราชการ
(2) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียภาษี / ผู้จัดการมรดก
(3) ภาพถ่ายคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
2. กรณีขอแก้ไขรายละเอียดผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล หรือที่อยู่
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม
3. กรณีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรชำรุดหรือสูญหาย ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / บัตรประจำตัวข้าราชการ / ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว / หนังสือเดินทาง
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม (ถ้ามี)
4. กรณีขอคืนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายใบมรณบัตรของผู้เสียภาษีอากร
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่คืน

ประเภทคณะบุคคล (แนบพร้อมกับแบบ ล.ป.10.2)

1. กรณีขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจจัดการและผู้ร่วมคณะทุกคน
(2) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของที่ตั้งสถานประกอบการ
(3) ภาพถ่ายสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงในการจัดตั้งคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ (ถ้ามี)
2. กรณีขอแก้ไขรายละเอียดผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ของคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม
3. กรณีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรชำรุดหรือสูญหาย ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจจัดการ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม (ถ้ามี)
4. กรณีขอคืนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหนังสือที่แสดงว่าคณะบุคคลเลิกประกอบกิจการ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่คืน

ประเภทนิติบุคคล (แนบพร้อมกับแบบ ล.ป.10.3)

1. กรณีขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นสถานประกอบการของสำนักงานใหญ่
(2) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
(3) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการประกอบกิจการในประเทศไทย
(4) ภาพถ่ายหนังสือสัญญาประกอบกิจการร่วมกัน
(5) ภาพถ่ายหนังสือสัญญาแต่งตั้งลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนฯในประเทศไทย
(6) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทางของกรรมการผู้จัดการ /
หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจจัดการหรือลูกจ้างผู้ทำการแทนฯ ในประเทศไทย
(7) ภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (กรณีที่ใช้สถานที่ของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ)
(8) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้มีอำนาจจัดการ / ลูกจ้าง / ผู้ทำการแทนฯ ในประเทศไทย
2. กรณีขอแก้ไขรายละเอียดผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ ที่ตั้งนิติบุคคล
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม
3. กรณีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรชำรุดหรือสูญหาย ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทางของกรรมการผู้จัดการ
หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจจัดการ หรือลูกจ้างผู้ทำการแทนฯในประเทศไทย
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม (ถ้ามี)
4. กรณีขอคืนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหนังสือจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ / ควบกิจการ / โอนกิจการทั้งหมด
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่คืน

ประเภทผู้จ่ายเงินได้ (แนบพร้อมกับแบบ ล.ป.10.4)

1. กรณีขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งสำนักงาน
(2) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล / ใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนราษฎร์
(3) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจจัดการ
2. กรณีขอแก้ไขรายละเอียดผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ ที่ตั้งนิติบุคคล
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม
3. กรณีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรชำรุดหรือสูญหาย ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทางของผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจจัดการ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม (ถ้ามี)
4. กรณีขอคืนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหนังสือจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ / ควบกิจการ / โอนกิจการทั้งหมด
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่คืน

ที่มา..กรมสรรพากร

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขั้นตอนและวิธีการ

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.   แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

แบบคำขอที่ใช้ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ แบบ ภ.พ.01 ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานครขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(เขต/อำเภอ) หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำหรับในจังหวัดอื่นขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ทุกแห่ง

2.   เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(1)   คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ

(2)   สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว

(3)   บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว

(4)   สัญญาเช่าอาคารอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ และหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นเจ้าบ้าน, สัญญาซื้อขาย, คำขอหมายเลขบ้าน, ใบโอนกรรมสิทธิ์, สัญญาเช่าช่วง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการและภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

(5)   หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล)

(6)   หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นนิติบุคคล)

(7)   บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

(8)   แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป และภาพถ่ายสถานประกอบการจำนวน 2 ชุด

(9)   กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมภาพถ่ายบัตรดัง กล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป

กำหนดเวลาจดทะเบียน

1.   ผู้ประกอบการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบการมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีการดำเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การสร้างอาคารสำนักงานหรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ผู้ประกอบการมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ

2.   ผู้ประกอบการที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษี-มูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี

สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 ณ สถานที่ดังต่อไปนี้

1.  กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่ สถานประกอบการตั้งอยู่

2.   กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ และกรณีสถานประกอบการตั้งในท้องที่อำเภอ หรือกิ่งอำเภอตั้งใหม่ที่กรมสรรพากรมิได้จัดอัตรากำลังไว้ ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ที่เคยควบคุมพื้นที่เดิมของอำเภอหรือกิ่งอำเภอตั้งใหม่นั้น

กรณีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่สถานประกอบการอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว

3.   กรณีสถานประกอบการที่อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ ยื่น ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ก็ได้