เมษายน, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 4 เมษายน, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 4

จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ขั้นตอนและวิธีการ

คำแนะนำการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนจำกัด

จะจัดตั้งห้างหุ้นส่วนได้อย่างไร
การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงที่จะทำการค้าร่วมกัน โดยมุ่งหวังที่จะแบ่งผลกำไรจากการดำเนินกิจการค้านั้น

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ทำความตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญ ๆ
ห้างหุ้นส่วนเป็นรูปแบบการประกอบกิจการค้าที่มีคนหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างประกอบการค้า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงควรทำความตกลงกันในเรื่องสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ไว้ก่อนให้ชัดเจน

1. จำนวนเงินลงทุนหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะนำมาลงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ (ยกเว้นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดจะลงทุนด้วยแรงงานไม่ได้) แต่การลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือแรงงาน ต้องตีราคาเป็นจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาชำระเงินหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำมาลงทุน ซึ่งควรชำระให้ครบก่อนการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
2. กำหนดขอบเขตหรือกรอบของกิจการค้าที่ห้างหุ้นส่วนจะประกอบกิจการ หรือที่เรียกว่า “วัตถุที่ประสงค์” ในปัจจุบันส่วนมากจะกำหนดวัตถุประสงค์ไว้หลาย ๆ กิจการ เพื่อความคล่องตัวในการเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนกิจการค้า จะได้ไม่ต้องเสียเวลา
ในการดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มหรือเปลี่ยนวัตถุที่ประสงค์ แต่การจดทะเบียนวัตถุที่ประสงค์ไว้
เป็นหลาย ๆ กิจการ นั้นอาจไม่เป็นผลดี เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารประกอบกิจการค้าที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ตนถนัดและให้อำนาจกว้างขวางมากเกินไป *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุที่ประสงค์*
3. แต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนผู้จัดการคือ ผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วน ซึ่งต้องแต่งตั้งจากหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น)
4. การแบ่งส่วนผลกำไรและขาดทุน
5. เรื่องอื่น ๆ เช่น หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาจัดตั้งห้างเดิม
สถานที่ที่จะใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ข้อจำกัดในการใช้อำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ และการตั้งผู้ชำระบัญชี เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 ขอตรวจสอบและจองชื่อห้างหุ้นส่วน
ในปัจจุบันมีการประกอบกิจการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อที่คล้ายหรือซ้ำกัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่ต้องขอตรวจและจองชื่อนิติบุคคลก่อนจะจดทะเบียนจัดตั้ง

ขั้นตอนที่ 3 จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ
เมื่อผ่านการตรวจและตอบรับจากเจ้าหน้าที่ว่าชื่อที่จะจดทะเบียนไม่คล้ายหรือซ้ำกับชื่อของนิติบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนต้องกรอกรายละเอียด (โดยวิธีการพิมพ์) ในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามความเป็นจริงใน
แบบพิมพ์คำขอจดทะเบียน

ขั้นตอนที่ 4 การยื่นขอจดทะเบียน
การยื่นขอจดทะเบียนทำได้ 2 วิธี คือ

1. ยื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมเอกสารประกอบต่อนายทะเบียน กรณีนี้
หุ้นส่วนผู้จัดการจะไปยื่นขอจดทะเบียนด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนก็ได้
2. ยื่นขอจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th เพื่อให้นายทะเบียนตรวจพิจารณาคำขอจดทะเบียนก่อน และเมื่อผ่านการตรวจและตอบรับว่าคำขอจดทะเบียนถูกต้องแล้ว ให้ผู้ขอจดทะเบียนสั่งพิมพ์ (print out) เอกสารคำขอจดทะเบียนดังกล่าวให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของห้าง หลังจากนั้นก็นำไปยื่นขอจดทะเบียน ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีความรวดเร็วกว่ากรณีการยื่นขอจดทะเบียนตาม 1. มาก เนื่องจากนายทะเบียนจะตรวจเอกสารคำขอจดทะเบียนที่นำมายื่นนั้นว่ามีข้อความถูกต้องตรงกับที่ยื่นไว้ทางอินเทอร์เน็ตหรือไม่เท่านั้น

ข้อมูลที่ใช้
1. ชื่อของห้างหุ้นส่วน
2. วัตถุประสงค์ของห้าง
3. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสาขา
4. ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ และสิ่งที่นำมาลงหุ้น
5. ชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ (ต้องเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด)
กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทุกคน
6. ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี)
7. ตราสำคัญของห้าง *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดดวงตรา*

เอกสารและหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน
ในการขอจดทะเบียนต้องเตรียมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
1. คำขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน (แบบ หส. 1)
2. รายการจดทะเบียน (แบบ หส.2) /ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ใช้เฉพาะหน้า 1 และ 3
3. วัตถุประสงค์ (แบบ ว.)
4. แบบ สสช. 1 จำนวน 1 ฉบับ
5. แบบจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่เกินกำหนด
6. สำเนาบัตรประจำตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
7. สำเนาหลักฐานการรับชำระเงินลงหุ้นที่ห้างหุ้นส่วนได้ออกให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน
8. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน*
9. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเองก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและปิดอากรแสตมป์ด้วย)
10. กรณีมีคนต่างด้าวลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือมีคนต่างด้าวลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนต่ำกว่า ร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียน แต่คนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วน ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนที่มีสัญชาติไทยส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุน ซึ่งปรากฏจำนวนเงินสอดคล้องกับจำนวนเงินที่นำมาลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน ดังนี้
– สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร หรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน หรือ
– เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรอง หรือแสดงฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้น หรือ
– สำเนาหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาลงทุน
คำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบสามารถขอและซื้อได้ที่หน่วยงานของกรมพัฒนาธุรกิจทุกแห่ง หรือ Download ได้จาก www.dbd.go.th

อัตราค่าธรรมเนียม
1. การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนทุกจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท แห่งทุนที่กำหนดไว้ 100 บาท เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท ทั้งนี้ รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า 1,000 บาท และไม่ให้เกิน 5,000 บาท
2. หนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
3. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
4. กรณีขอให้นายทะเบียนรับรองสำเนาเอกสารการจดทะเบียน หน้าละ 50 บาท
สถานที่จดทะเบียน
1. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนได้ที่ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 9 ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี หรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง *ดูรายละเอียด*
2. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น ยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่ห้างหุ้นส่วนมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
3. ยื่นจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th

รูปภาพประกอบในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

Partnership

ข้อมูลอ้างอิง..กระทรวงพาณิชย์

จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ขั้นตอนและวิธีการ

จะดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดภายในหนึ่งวันได้อย่างไร
ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนตั้งบริษัทไปพร้อมกันภายในวันเดียวก็ได้
1. จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
2. ประชุมจัดตั้งบริษัท เพื่อพิจารณากิจการต่างๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม (มอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนได้)
และผู้เริ่มก่อการ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคน ให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น 1
3. ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการบริษัท
4. กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ใช้เงินค่าหุ้น โดยจะเรียกครั้งเดียวเต็มมูลค่าหรือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามมาตรา 1110 วรรคสองก็ได้ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนได้ชำระเงินค่าหุ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัทจำกัด
1. ชื่อของบริษัท (ตามที่ได้จองชื่อไว้) *ดูหลักเกณฑ์การจองชื่อนิติบุคคล*
2. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ (ตั้งอยู่ ณ จังหวัดใด)
3. วัตถุที่ประสงค์ของบริษัทที่จะประกอบกิจการค้า *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุที่ประสงค์*
4. ทุนจดทะเบียน จะต้องแบ่งเป็นหุ้นๆ มีมูลค่าหุ้นเท่าๆ กัน (มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท)
5. ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ และจำนวนหุ้นที่ผู้เริ่มก่อการจองซื้อไว้
6. ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ ของพยาน 2 คน
7. อากรแสตมป์ 200 บาท
8. ข้อบังคับ (ถ้ามี)
9. จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชำระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
10. ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการ
11. รายชื่อหรือจำนวนกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท (อำนาจกรรมการ) *ดูตัวอย่างการกำหนดอำนาจกรรมการ*
12. ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน
13. ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ และจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
14. ตราสำคัญ *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดดวงตรา*
15. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่/สาขา
บริษัทจะไม่จดทะเบียนตราสำคัญของบริษัทก็ได้ หากว่าอำนาจกรรมการไม่ได้กำหนดให้ต้องประทับตราสำคัญด้วย

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
2. หนังสือบริคณห์สนธิ (แบบ บอจ.2) ผนึกอากรแสตมป์ 200 บาท
3. รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)
4. แบบวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.)
5. รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
6. แบบจองชื่อนิติบุคคล
7. หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม เช่น ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กิจการข้อมูลเครดิต บริหารสินทรัพย์ กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็น)
8. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
9. สำเนารายชื่อผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นในการประชุมให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมจัดตั้งบริษัทพร้อมลายมือชื่อ
10. สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
11. สำเนาข้อบังคับ ผนึกอากร 200 บาท (ถ้ามี)
12. สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
13. กรณีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัด ตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือกรณีมีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัดต่ำกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียนแต่คนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ให้ผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละราย อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
13.1 สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร หรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน หรือ
13.2 เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรอง หรือแสดงฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้น หรือ
13.3 สำเนาหลักฐานที่แสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระค่าหุ้น
14. แบบ สสช.1 จำนวน 1 ฉบับ
15. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
16. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน*
17. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกอากรแสตมป์ด้วย)
แบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถขอและซื้อได้จากหน่วยงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือ Download จาก www.dbd.go.th

ค่าธรรมเนียม
1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิทุกจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 50 บาท เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท ทั้งนี้รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า 500 บาท
และไม่ให้เกิน 25,000 บาท
2.. จดทะเบียนตั้งบริษัทคิดตามทุนจดทะเบียนแสนละ 500 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และไม่เกิน 250,000 บาท (เศษของแสนคิดเป็นแสน)
3. หนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
4. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
5. รับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท
สถานที่จดทะเบียน
1. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนได้ที่ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี หรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง *ดูรายละเอียด*
2. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น ยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่บริษัทมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
3. ยื่นจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th *ดูคำแนะนำการจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต*

 

รูปภาพประกอบ

OneDayRegist

ที่มา…กระทรวงพาณิชย์

จดทะเบียนพาณิชย์ ขั้นตอนและวิธีการ

เนื่องจากข้อมูลในส่วนของเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนที่กระทรวงการคลังไม่ตรงกับที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร ผมจึงปรับข้อมูลใหม่โดยใช้ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานครแทน เนื่องจากงานจดทะเบียนพาณิชย์ได้โอนไปให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการรับจดทะเบียนแทนกระทรวงพาณิชย์แล้ว โดยในแต่ละจังหวัด แต่ละเขตอำเภอจะเป็นผู้ดำเนินการรับจดทะเบียน

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ผู้ประกอบการพาณิชที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในท้องที่กรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน ที่ประกอบ  12 พานิชยกิจ จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ โดยสามารถยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขต ที่สถานที่ประกอบการนั้นตั้งอยู่ หรือที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง ชั้น 2 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 (เสาชิงช้า)

ประเภทกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ฝ่ายปกครองสำนักงานเขต หรือ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 (เสาชิงช้า)

การทำโรงสีข้าว และการทำโลงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดขายได้เป็นเงินตั้งแต่
20 บาทขึ้นไปหรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป
การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียว หรือ หลายอย่างก็ตามและ
สินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
การประกอบหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้
มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงิน
ตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป
การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือรถยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม

หมายเหตุ กิจการนอกเหนือจากที่ระบุติดต่อสอบถามรายละเอียดที่สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-4438, 0-2547-5979

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์
เอกสารที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

1. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล)
หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในต่างประเทศ (กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ)
2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดสแตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
4. สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจ (ถ้ามี)
5. กรณีเจ้าของกิจการมิได้เป็นเจ้าบ้าน ณ
สถานประกอบการดังกล่าว แนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
5.1 หนังสือยินยอมจากเจ้าบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน
5.2 (กรณีเช่าสถานที่)
(1) ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา
สำเนาทะเบียนเบียนบ้านของเลขที่ตั้งสถานประกอบการ
สำเนาสัญญาเช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
สำเนาบัตรประชาชนผู้ใช้เช่า (เจ้าบ้าน)
(2) ผู้ใช้เช่ามีลักษณะเป็นบริษัท
สำเนาสัญญาเช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
หนังสือรับรองบริษัท พร้องลงรายมือชื่อของผู้มีอำนาจกระทำการแทรบริษัท
สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
(3) กรณีการซื้ออาคารชุด/ห้องชุด
สำเนาโฉนดที่ดิน/ห้องชุด
6. กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้น่สวนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลให้แนบเอกสารของผู้เป็น หุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล,
สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้เป็นหุ้นส่วน

เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง Download file

1. บัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล)
หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ (กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ)
2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
4. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
5. ใบทะเบียนพาณิชย์

เอกสารที่ต้องใช้จดยกเลิกทะเบียนพาณิชย Download file

1. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการ ในประเทศ
กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ
2. ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความ กรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย
3. สำเนาเอกสารการสั่งเลิกประกอบกิจการในประเทศ กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ
4. สำเนาใบมรณะบัตรของผู้ประกอบกิจการ กรณีผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม
5. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
6. สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)

เอกสารที่ใช้กรณีการคัดรับรองสำเนา การขอตรวจเอกสารทะเบียนพาณิชย Download file

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง


การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทอนิกส์

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านเคลือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP)
3. ให่เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ขาย (Web Hosting)
4. บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ (E-Marketplace)

ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะออกเครื่องหมายรับรองการจด
ทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (REGISTERED) ให้แก่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียน เพื่อนำไปแสดงไว้บนเวปไซต์ของตนเอง
เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย REGISTERED แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เพิ่มมากขึ้น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะนำรายชื่อเวปไซต์ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปเผยแพร่ไวบนเวปไซต์ของ
กรมฯ (ww.dbd.go.th) เืพื่อช่วยประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของผู้ประกอบการอีกช่องทางหนึ่ง
ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่จดทะเบียนแล้วสามารถยื่นขอใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ
(Trustmark) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ ซึ่งเครื่องหมาย Trustmark นี้ จะมีความน่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย
REGISTERED กล่าวคือ จะออกให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมฯ กำหนดเท่านั้น
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.trustmarkthai.com)
– การได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น การเข้าร่วมอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำต่าง และการได้รับข้อมูลข่าวสาร
ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

สถานที่จดทะเบียน

1. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ต่อสำนักงาน
เขตต่างๆ และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
2. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์
ต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นๆ หรือ เมืองพัทยา แล้วแต่กรณี

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์

มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบการกรอกฟอร์ม ระบบตระกร้า E-mail หรืออื่นๆ
มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระด้วยบัตรเครติด หรือ
e-cash เป็นต้น
มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่นๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ)
มีวัตถุประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการโฆษณานั้น
รับจ้างออกแบบเว็บไซต์
เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น (เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน)
เว็บไซต์ที่สามารถส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ Download เพลง โปรแกรม
เกมส์ Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ไม่ต้องจดทะเบียน

มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้
ติดต่อได้ เช่น สนใจโทรติดต่อ… หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…
มีการโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทาง
การค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติด และมีรายได้จาก banner ก็ตาม
การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น
เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า
เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว
เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

Download แบบฟอร์มรายระเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์

อัตราค่าธรรมเนียม

  • จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ฉบับละ 50 บาท
  • จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ฉบับละ 20 บาทท
  • จดทะเบียนยกเลิก ฉบับละ 20 บาท
  • ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
  • ตรวจเอกสาร ครั้งละ 20 บาท
  • คัดสำเนาและรับรองสำเนา ฉบับละ 30 บาท

ที่มา…ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการคลังและการลงทุนของกรุงเทพมหานคร