มกราคม, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 3 มกราคม, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 3

ความหมายของ Sub-Prime กับ CDO

ข่าวเก่านะครับ แต่เห็นว่าเป็นที่มาของปัญหาเศรษฐกิจโลก ลองมาอ่านทำความเข้าใจกันก่อน

Money Pro : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ  กรุงเทพธุรกิจ  วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สองสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่านคงสงสัยว่าทำไมหุ้นทั่วโลกตกเอาๆ และเหตุผลของการตกคือ เรื่องของซับไพร์ม แถมไม่พอยังมีข่าวว่า ธนาคารพาณิชย์บางแห่งไปลงทุนในซีดีโอ แล้วซีดีโอคืออะไร เกี่ยวกับซับไพร์มไหม วันนี้จะขอมาปูพื้นความเข้าใจของท่านเพื่อให้ท่านติดตามข่าวได้อย่างเข้าใจมากขึ้นค่ะ

ซับไพร์ม (sub-prime) จริงๆ แล้วเป็นเพียงคำวิเศษณ์ (คำนำหน้าที่ใช้ขยายคำอื่น) แปลว่าคุณภาพเป็นรอง ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปขยายความอะไร เช่น หากเป็นสินเชื่อที่คุณภาพรองลงไปก็เรียกว่า sub-prime loan หากเป็นสินเชื่อคุณภาพรองที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ก็เรียกกันว่า sub-prime mortgage เพื่อความเข้าใจ ดิฉันจะขอใช้คำแทนสินเชื่อ sub-prime นี้ว่า “หนี้เกรดสอง”

ในสหรัฐอเมริกา หนี้เกรดสอง เป็นหนี้ที่ผู้ให้กู้ปล่อยให้กับผู้กู้ที่โดยทั่วไปไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินปกติได้ ผู้ปล่อยกู้เหล่านี้บางแห่งก็เป็นบริษัทอิสระ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงิน โดยผู้ให้กู้เหล่านี้ จะปล่อยกู้ให้กับผู้กู้ที่หากไปขอสินเชื่อตามปกติก็จะไม่ผ่านการอนุมัติ อาจจะเป็นเพราะสัดส่วนของกระแสเงินสด ที่จะนำมาชำระคืนหนี้ต่ำเกินไป อันอาจเกิดจากรายจ่ายสูง รายได้จึงไม่เหลือมากพอที่จะผ่อนจ่ายคืนหนี้ในสัดส่วนที่ผู้ให้กู้พอใจ

ผู้ให้กู้ในกลุ่มหนี้เกรดสองนี้ ก็จะให้กู้โดยมีหลักเกณฑ์ที่ผ่อนคลายกว่า แต่ก็ชดเชยความเสี่ยงด้วยการคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า และอาจจะให้กู้ได้เป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับหลักประกัน นอกจากนี้ หากผู้กู้ชำระคืนก่อนกำหนดก็จะเสียค่าปรับสูงกว่าด้วยค่ะ

ผู้ให้กู้กลุ่มนี้มักจะให้กู้แก่ผู้กู้ที่มีหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจึงเป็นสินเชื่อที่ผู้ให้กู้แก่หนี้เกรดสอง ให้กู้เป็นส่วนใหญ่ เพราะมองเห็นว่า คนมักจะไม่ค่อยทิ้งบ้าน หากกู้แล้วก็มักจะต้องพยายามผ่อนส่ง และหลักประกันก็คุ้มวงเงินให้กู้ ซึ่งก็ทำให้ดูเหมือนว่าผู้ปล่อยกู้กลุ่มนี้มีความเสี่ยงไม่มากนัก

ปัญหาอยู่ที่ว่า ในช่วง 4-5 ปีมานี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มผู้ให้กู้เหล่านี้ก็แข่งกันทำตลาดด้วยการเชิญชวนผู้กู้ทั้งหลาย ทั้งผู้กู้เดิม และผู้กู้รายใหม่มาใช้บริการกับตนเอง ด้วยการเสนอวงเงินกู้ที่สูงขึ้นตามราคาประเมินของบ้านที่เพิ่มขึ้น เช่น เคยกู้ 1.8 ล้านบาท เพื่อซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาท อาจจะผ่อนไปบางส่วนจนเงินต้นเหลือ 1.5 ล้านบาท วันดีคืนดี บริษัทเหล่านี้ก็มาเสนอวงเงินกู้ให้ 2.5 ล้านบาท ตามราคาประเมินใหม่ ผู้กู้ก็รับสิคะ เพราะได้เงินเพิ่มมาอีกตั้ง 1 ล้านบาท และชาวอเมริกันทั้งหลาย ซึ่งเคยชินกับการใช้เงินอนาคต ก็นำเงินสินเชื่ออีก 1 ล้านบาทที่ได้เพิ่มนั้นมาใช้จ่าย ซื้อของอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ทีวีแอลซีดีเครื่องใหม่ เครื่องเสียงชุดใหม่ หรือแม้กระทั่งซื้อรถยนต์คันใหม่ เพราะอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัย จะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิต หรือสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

ทีนี้ พอเศรษฐกิจของอเมริกาไม่ค่อยดี การผ่อนชำระก็เริ่มมีปัญหา ผู้กู้ก็ผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น นอกจากนี้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ก็ตกลงมาในช่วงตั้งแต่ปีที่แล้ว ผู้ให้กู้ที่เคยคิดว่าตนเองไม่ได้เสี่ยงอะไรมาก เพราะถึงแม้ผู้กู้จะมีกระแสเงินสดไม่มากที่จะผ่อนชำระคืน แต่มูลค่าหลักประกันก็ยังคุ้มกับมูลหนี้ ตอนนี้มูลค่าหลักประกันลดลงแล้ว จึงต้องตั้งสำรองเผื่อหนี้สูญมากขึ้น และเข้มงวดระมัดระวังไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับรายใหม่ๆ

ตอนแรกทุกคนก็เข้าใจว่าปัญหานี้อาจจะไม่ลุกลามมากนัก เพราะสถาบันการเงินใหญ่ๆ ต่างก็ไม่ได้ให้กู้กับลูกค้ากลุ่มนี้ แต่ที่ไหนได้คะ เรื่องค่อยๆ โผล่มาทีละน้อยละน้อย สถาบันการเงินดังๆ ต่างไปลงทุนซื้อตราสารที่มีหนี้เกรดสองเป็นหลักประกันกันจำนวนมากมาย ตราสารเหล่านี้เรียกว่า ซีดีโอ หรือ Collateralized Debt Obligation (CDO) เป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือทำ Securitization แบบที่มีหลักประกัน (Asset Backed Securities)แบบหนึ่งคือ บริษัทที่ปล่อยกู้ หนี้เกรดสองเหล่านี้ ออกตราสารมาขายโดยมีหนี้เกรดสองเป็นหลักประกัน เพื่อให้มีเงินไปปล่อยกู้เพิ่มอีก

ซีดีโอ เป็นตราสารหนี้อย่างหนึ่ง ซึ่งจะจ่ายคืนเงินให้กับผู้ลงทุนในตราสารในรูปของกระแสเงินสดที่ได้มาจากการเก็บหนี้ที่นำมาค้ำประกันตราสารนั้นๆ โดยอาจมีการจัดเกรดของตราสารเป็นหลายกลุ่ม กลุ่มแรก อาจจะมีการจัดอันดับเครดิตเป็น AAA ก็จะได้เงินคืนก่อน แต่ดอกเบี้ยอาจจะไม่สูงนัก และกลุ่มถัดๆ มา ก็จะมีตั้งแต่ AA, A, BBB และ BB ซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยสูงขึ้น และกลุ่มท้ายสุดคือ กลุ่มทุน (equity) กลุ่มนี้ไม่มีการจัดอันดับเครดิต แต่จะรับกระแสเงินสดส่วนที่เหลือคือ หากเหลือจากที่จ่ายให้คนอื่นก็ได้คืน ซึ่งจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ แต่หากไม่เหลือก็ไม่ได้คืน การเก็บหนี้ และการเก็บหลักประกัน ก็จะมีผู้ดำเนินการให้ คาดว่าตลาดซีดีโอ มีขนาดประมาณ 489,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2006

เมื่อตลาดหนี้เกรดสองมีปัญหา การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ประเภทนี้ก็มีปัญหา คาดว่ากลุ่มตราสารประเภทนี้จะทยอยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงไป และเมื่อความน่าเชื่อถือถูกปรับลดลง ราคาตราสารเหล่านี้ก็จะตกลงไปด้วย นั่นคือ สาเหตุที่กองทุนที่ลงทุนในซีดีโอ 3 กองทุนของบีเอ็นพี พาริบาส์ ซึ่งเป็นผู้จัดการซีดีโอ รายใหญ่ของยุโรป มูลค่า 3 กองทุนรวมกันกว่า 2 พันล้านยูโร ต้องหยุดการซื้อขายเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ผ่านมา เนื่องจากไม่สามารถหามูลค่ายุติธรรมของตราสารเหล่านี้ของสหรัฐ ซึ่งลงทุนไว้เป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สินรวมได้ และตอนนี้ทุกคนก็ถามกันใหญ่ว่ามีใครบ้างที่ลงทุนทั้งทางตรง และทางอ้อมในหนี้เกรดสองเหล่านี้ สถาบันการเงินทั้งหลายจึงต้องทยอยออกมาชี้แจงค่ะ

เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น สถาบันการเงินในสหรัฐก็ระมัดระวังการให้สินเชื่อ ผู้มีเครดิตดีก็พลอยไม่สามารถกู้เงินได้ด้วย ทำให้เกิดการตึงตัวในตลาดเงิน ต้นทุนการกู้ยืมก็เพิ่มขึ้น จนธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ต้องใส่เงินเข้าไปในระบบเพิ่มเติมกว่า 150,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อให้ระบบการเงินไม่สะดุด และผู้ลงทุนต่างก็หันเข้าหาแหล่งลงทุนที่ปลอดภัยกว่า คือ พันธบัตรรัฐบาล ราคาหุ้นของสถาบันการเงินที่มีการลงทุน หรือให้กู้กับหนี้เกรดสองเหล่านี้ก็ตกลงไปกันหมด หุ้นของผู้ที่จะทำการขยายกิจการหรือซื้อกิจการโดยใช้เงินกู้ก็ตกลงไป เพราะตลาดกังวลว่าอาจไม่สามารถหาสินเชื่อได้ หรือถ้าหาได้ก็อาจจะแพง และเลยพลอยลามมาถึงตลาดหุ้นอื่นทั่วโลกด้วย

นั่นคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาค่ะ หากท่านไม่มีการลงทุนในตราสารหรือหนี้เกรดสองเหล่านี้ ท่านก็ไม่ควรกังวลจนเกินเหตุ แต่ต้องติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดค่ะ

สัญญานไม่ปกติ ยามทุนเสรีมีปัญหา

โดย : ดุลยทัศน์ พืชมงคล
ลงวันที่ : 2552-01-06

ใน ยามที่เศรษฐกิจของโลกอยู่ในช่วงขาลงคราวใด มักจะมีเหตุการณ์แปลกๆที่น่าสนใจและเป็นเสมือนลางบอกเหตุกลายๆเกิดขึ้นอยู่ เสมอ ครั้งนี้ก็เป็นเช่นเดียวกันครับ แต่ที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญก็คือ จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกรอบนี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์และแนว โน้มที่ส่อได้ว่าระบบทุนนิยมที่พัฒนามาถึงขั้นทุนนิยมโลกาภิวัฒน์นั้นกำลัง สุ่มเสี่ยงต่อความต่อการล่มสลายเต็มที โดยมีปรากฏการณ์สำคัญเท่าที่เรารวบรวมได้ดังต่อไปนี้

1.  การยอมรับสารภาพของนายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานเฟดของสหรัฐที่มีชื่อเสียงกระเดื่องนามว่าเป็นมหาครุแห่งลัทธิทุน นิยมเสรียุคใหม่ และมีบทบาทคุมบังเหียนเศรษฐกิจโลกเป็นเวลายาวนานที่สุด โดยได้ยอมรับอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้ว่า ความเชื่อและความคิดของเขาที่เคยมั่นใจตลอดโดยมาว่าระบบทุนนิยมดีที่สุด ก้าวหน้าที่สุด และสามารปรับตัวเองได้ดีที่สุดนั้น อาจเป็นความเชื่อและความคิดที่ผิดอย่างมหันต์ และเป็นเหตุให้เศรษฐกิจทั่วโลกต้องตกอยู่ในภาวะวิกฤต

คุณกรีนสแป นยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าเมื่อเกิดความล้มเหลวขึ้นในภาคส่วนเศรษฐกิจใดๆ แท้จริงแล้วระบบทุนนิยมปรับตัวเองตามธรรมชาติไม่ได้ แต่จำเป็นต้องอาศัยการอุ้มชูแทรกแซงโดยรัฐเสมอ และการอุ้มชูหรือแทรกแซงนั้นเกือบทั้งหมดก็ต้องชดเชยด้วยเงินภาษีของประชาชน เพียงแต่สามารถใช้สื่อและการอธิบายด้วยเหตุผลที่ดูเหมือนน่าเชื่อถือเท่า นั้น โดยเนื้อหาแท้จริง ผลประโยชน์กลับตกแก่ทุนใหญ่เพียงไม่กี่ราย และแก่ภาคการเงินเกือบทั้งหมด ในขณะที่ภาคส่วนอื่น ๆ ยังคงถูกปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม (กรณนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากการที่รัฐบาลสหรัฐอัดฉีดเงินเข้าช่วยเหลือสถาบัน การเงินบางแห่งรวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมรถยนต์)

การออกมา กล่าวเช่นนี้ของนายอลัน กรีนสแปน ส่งผลให้หลักคิดของลัทธิทุนนิยมเสรีต้องสั่นคลอนและกระทบกระเทือนอย่างยิ่ง ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันก็ทำให้คำประกาศของคาร์ลมาร์คที่ว่า กำไรซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของระบบทุนนิยมนั้น แท้จริงคือตัวปัญหาของระบบทุนนิยมเองที่ไม่มีทางแก้ไขให้ตกไปได้ และจะเป็นตัวทำลายระบบทุนนิยมเสรีในที่สุด ก้องกระหึ่มและได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวางขึ้น

2.  นิตยสารเพลย์บอย ซึ่งเป็นนิตยสารภาพด)เปลือยยอดนิยมของโลกได้ประกาศรับสมัครผู้บริหารสถาบัน การเงินชั้นนำในย่านวอลล์สตรีท เพื่อให้มาเปลื้องผ้าถ่ายแบบปกให้กับนิตยสารเพลย์บอยกระทั่งเกิดเป็นข่าวฮือ ฮาไปทั่วทั้งโลก
เนื่องเพราะย่านวอลล์สตรีทนั้นเป็นศูนย์กลางการเงิน ของสหรัฐและของโลก เป็นศูนย์กลางและความเชื่อถือของโลกมานับศตวรรษ และโดยปกติผู้บริหารสถาบันการเงินในย่านนี้มีรายได้สูงและมีเกียรติในระดับ โลก การประกาศรับสมัครดังกล่าวแม้จะมองได้ว่าเป็นกลุยุทธ์ทางการตลาดชั้นดี แต่อีกด้านหนึ่งก็ปฎิเสธไม่ได้เช่นกันว่า เป็นการเสียดสีโลกทุนนิยมอย่างถึงพริกถึงขิง เพราะแม้แต่ผู้บริหารการเงินจากศูนย์กลางแห่งโลกทุนนิยมยังถึงกับมีชะตาต้อง มาเปลื้องผ้าท้าชาวโลกในหน้านิตยสารเพลย์บอย และในขณะเดียวกันก็กล่าวได้ว่าสังคมทุนนิยมนั้นสามารถซื้อได้ทุกสิ่ง ทุกอย่างแม้แต่ความทะเยอทะยาน

3.  ธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำ 7 แห่งของโลกยอมรับว่าได้นำเงินมาเล่นเงินต่อเงินหรือเรียกง่ายๆว่าแชร์ลูกโซ่ เพื่อเอาผลกำไรจำนวนมากมาโปะให้กับฐานะการดำเนินงานของตนเป็นเวลาหลายปีแล้ว และขณะนี้แชร์ลูกโซ่ดังกล่าวล้มครืนลงแล้ว เกิดผลเสียหายขึ้นเป็นมูลค่ากว่า 50,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

ขบวน การเงินต่อเงินดังกล่าวดำเนินการในรูปของกองทุนเพื่อการเก็งกำไรหลายประเภท และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติ ทำนองเดียวกันกับแชร์แม่ชม้อยหรือแชร์แม่นกแก้วในบ้านเราในอดีต (เพียงแต่ต่างกันมากในเรื่องของขนาด, เจ้ามือ และประสิทธิภาพในขยายวง ซึ่งการดำเนินการในลักษณะนี้ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการใช้เงินต่อเงินในลักษณะเดียวกันกับระบบแชร์ ในที่สุดกองทุนเหล่านี้ก็ล้มครืนลงและผู้บริหารถูกจับกุมดำเนินคดี ข้อมูลความเสียหายมหาศาลจึงถูกเปิดเผยต่อชาวโลก

ทำให้ชาวโลกได้รู้ ว่าธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำของโลกทั้ง 7 แห่ง ซึ่งเบื้องหน้าแสดงตนเองตลอดมาว่าเป็นมืออาชีพ และเป็นธรรมาภิบาลที่เหนือกว่ามาตรฐานในระบบการเงินของโลกนั้น เบื้องลึกแล้วแล้วก็ล้วนแล้วแต่เล่นเกมพิสดารทางการเงินทั้งสิ้น และที่สำคัญคือการบ่งบอกได้ถึงสมรรถนะในการสร้างกำไรในธุรกิจปกติ ที่ถูกค้ำยันให้ยืนอยู่ได้ด้วยผลกำไรจากธุรกิจนอกระบบ และส่งผลให้เกิดคำถามต่อบริษัทจัดลำดับมาตรฐานความน่าเชื่อถือต่างๆของโลก ด้วย ว่าแท้จริงเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด

4.  บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของโลกหลายแห่งถูกตั้งข้อสงสยในเชิงทฤษฎีสมคบคิดใน กรณีสารเมลามีน ซึ่งมีปั่นสร้างราคาที่เกินจริง และปิดบังโลกเพื่อสร้างฐานราคาทุนของพลังงานให้ดูเสมือนมีต้นทุนที่มีเหตุผล ในอัตรากำไรมาตรฐานของพลังงานทั้งโลก และเกิดเป็นข้อกังขาว่าอาจเป็นกลการเพิ่มตัวเลขขึ้นในส่วนต้นทุน ทำให้ต้นทุนพลังงานทั้งโลกสูงเกินจริง และทำให้ผู้บริโภคทั้งโลกต้องจ่ายให้กับตัวเลขนี้เป็นเวลายาวนาน คิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เกิดการตรวจสอบตัวเลขที่แท้จริงอย่างขนานใหญ่ และกดดันให้ราคาพลังงานต้องลดต่ำลงในปัจจุบัน

5.  วิกฤตแฮมเบอเกอร์ที่เริ่มต้นขึ้นในสหรัฐ ถูกเปิดเผยว่าปมเงื่อนที่แท้จริงอยู่ที่การขายรายได้ในอนาคตของประชาชน ชาวอเมริกันล่วงหน้า เป็นมูลค่ารายได้คูณด้วยระยะเวลาถึง 65 ปี เป็นมูลเหตุให้เกิดการก่อหนี้จำนวนมหาศาลขึ้นในทุกภาคส่วน ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์จำพวกธนบัตร หุ้น และตราสารหนี้ต่าง ๆ มีมูลค่าสูงเกินจริงเหมือนฟองสบู่ ครั้นเมื่อฟองสบู่แตก มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดจึงดิ่งเหว และขณะนี้ตกลงไปร่วม 70% แล้ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดถึงก้นเหวเมื่อใด ทำให้ตลาดเงิน ตลาดทุน โดยเฉพาะตราสารหนี้ต้องประสบปัญหาอย่างรุนแรงทั้งในสหรัฐและทั่วโลก

ปรากฏการณ์ ดังกล่าวนี้กำลังท้าทายปรัชญา หลักคิด แนวทาง และมาตรการทั้งหลายระบบเศรษฐกิจของโลกและทำให้ระบบทุนนิยมเสรีเพลี้ยงพล้ำ อ่อนแรงอย่างชัดเจนที่สุดในประวัติศาสตร์.

ที่มา www.paisalvision.com

จ่ายค่าภาษีและเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ

เลขที่หนังสือ กค 0706/7251

วันที่ 28 มีนาคม 2549

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินค่าภาษี และค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ

ข้อกฎหมาย มาตรา 65 ตรี (3)(13) มาตรา 40() และมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ

บริษัท ก. จำกัด ได้มีมติที่ประชุมกำหนดให้บริษัทฯ จ่ายเงินค่าภาษีเงินได้ และค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไป บริษัทฯ จึงขอทราบว่า

1. บริษัทฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่

2. ค่าภาษีและเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ ออกแทนให้ ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของกรรมการผู้จัดการที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

3. กรณีบริษัทฯ เป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ บริษัทฯ ต้องนำค่าสินไหมทดแทนหรือเงินได้จากการประกันภัย มาถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีหรือไม่

4. กรณีตาม 1 ถึง 3 บริษัทฯ มีสิทธินำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้หรือไม่ และการจ่ายค่าภาษีเงินได้ และค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการผู้จัดการ บริษัทฯ จะบันทึกบัญชีอย่างไร

แนววินิจฉัย

1. กรณีตาม 1 เงินค่าภาษีเงินได้ และค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายแทนกรรมการตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ ตามข้อเท็จจริงข้างต้น หากเป็นกรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทฯ แล้ว รายจ่ายดังกล่าวไม่ใช่รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทฯ มีสิทธินำค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีตาม 2 เงินค่าภาษีเงินได้ และค่าเบี้ยประกันชีวิตไม่ว่าบริษัทฯ จะเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ที่บริษัทฯ จ่ายให้กับกรรมการหรือไม่ก็ตาม ตามข้อเท็จจริงข้างต้น เข้าลักษณะเป็นประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกรรมการผู้จัดการต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม มาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร

3. กรณีตาม 3 เงินค่าสินไหมทดแทนหรือเงินได้จากการประกันชีวิตที่บริษัทฯ เป็นผู้รับผลประโยชน์ บริษัทฯ ต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

4. กรณีตาม 1 ถึง 3 ใช้บังคับกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้เช่นเดียวกัน ส่วนการบันทึกบัญชีของบริษัทฯ ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป

เลขตู้ 69/34455

ที่มา..http://www.rd.go.th/publish/32668.0.html