เศรษฐกิจการเงิน | รับทำเงินเดือน เศรษฐกิจการเงิน | รับทำเงินเดือน

ความหมายของ Sub-Prime กับ CDO

ข่าวเก่านะครับ แต่เห็นว่าเป็นที่มาของปัญหาเศรษฐกิจโลก ลองมาอ่านทำความเข้าใจกันก่อน

Money Pro : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ  กรุงเทพธุรกิจ  วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สองสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่านคงสงสัยว่าทำไมหุ้นทั่วโลกตกเอาๆ และเหตุผลของการตกคือ เรื่องของซับไพร์ม แถมไม่พอยังมีข่าวว่า ธนาคารพาณิชย์บางแห่งไปลงทุนในซีดีโอ แล้วซีดีโอคืออะไร เกี่ยวกับซับไพร์มไหม วันนี้จะขอมาปูพื้นความเข้าใจของท่านเพื่อให้ท่านติดตามข่าวได้อย่างเข้าใจมากขึ้นค่ะ

ซับไพร์ม (sub-prime) จริงๆ แล้วเป็นเพียงคำวิเศษณ์ (คำนำหน้าที่ใช้ขยายคำอื่น) แปลว่าคุณภาพเป็นรอง ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปขยายความอะไร เช่น หากเป็นสินเชื่อที่คุณภาพรองลงไปก็เรียกว่า sub-prime loan หากเป็นสินเชื่อคุณภาพรองที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ก็เรียกกันว่า sub-prime mortgage เพื่อความเข้าใจ ดิฉันจะขอใช้คำแทนสินเชื่อ sub-prime นี้ว่า “หนี้เกรดสอง”

ในสหรัฐอเมริกา หนี้เกรดสอง เป็นหนี้ที่ผู้ให้กู้ปล่อยให้กับผู้กู้ที่โดยทั่วไปไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินปกติได้ ผู้ปล่อยกู้เหล่านี้บางแห่งก็เป็นบริษัทอิสระ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงิน โดยผู้ให้กู้เหล่านี้ จะปล่อยกู้ให้กับผู้กู้ที่หากไปขอสินเชื่อตามปกติก็จะไม่ผ่านการอนุมัติ อาจจะเป็นเพราะสัดส่วนของกระแสเงินสด ที่จะนำมาชำระคืนหนี้ต่ำเกินไป อันอาจเกิดจากรายจ่ายสูง รายได้จึงไม่เหลือมากพอที่จะผ่อนจ่ายคืนหนี้ในสัดส่วนที่ผู้ให้กู้พอใจ

ผู้ให้กู้ในกลุ่มหนี้เกรดสองนี้ ก็จะให้กู้โดยมีหลักเกณฑ์ที่ผ่อนคลายกว่า แต่ก็ชดเชยความเสี่ยงด้วยการคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า และอาจจะให้กู้ได้เป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับหลักประกัน นอกจากนี้ หากผู้กู้ชำระคืนก่อนกำหนดก็จะเสียค่าปรับสูงกว่าด้วยค่ะ

ผู้ให้กู้กลุ่มนี้มักจะให้กู้แก่ผู้กู้ที่มีหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจึงเป็นสินเชื่อที่ผู้ให้กู้แก่หนี้เกรดสอง ให้กู้เป็นส่วนใหญ่ เพราะมองเห็นว่า คนมักจะไม่ค่อยทิ้งบ้าน หากกู้แล้วก็มักจะต้องพยายามผ่อนส่ง และหลักประกันก็คุ้มวงเงินให้กู้ ซึ่งก็ทำให้ดูเหมือนว่าผู้ปล่อยกู้กลุ่มนี้มีความเสี่ยงไม่มากนัก

ปัญหาอยู่ที่ว่า ในช่วง 4-5 ปีมานี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มผู้ให้กู้เหล่านี้ก็แข่งกันทำตลาดด้วยการเชิญชวนผู้กู้ทั้งหลาย ทั้งผู้กู้เดิม และผู้กู้รายใหม่มาใช้บริการกับตนเอง ด้วยการเสนอวงเงินกู้ที่สูงขึ้นตามราคาประเมินของบ้านที่เพิ่มขึ้น เช่น เคยกู้ 1.8 ล้านบาท เพื่อซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาท อาจจะผ่อนไปบางส่วนจนเงินต้นเหลือ 1.5 ล้านบาท วันดีคืนดี บริษัทเหล่านี้ก็มาเสนอวงเงินกู้ให้ 2.5 ล้านบาท ตามราคาประเมินใหม่ ผู้กู้ก็รับสิคะ เพราะได้เงินเพิ่มมาอีกตั้ง 1 ล้านบาท และชาวอเมริกันทั้งหลาย ซึ่งเคยชินกับการใช้เงินอนาคต ก็นำเงินสินเชื่ออีก 1 ล้านบาทที่ได้เพิ่มนั้นมาใช้จ่าย ซื้อของอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ทีวีแอลซีดีเครื่องใหม่ เครื่องเสียงชุดใหม่ หรือแม้กระทั่งซื้อรถยนต์คันใหม่ เพราะอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัย จะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิต หรือสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

ทีนี้ พอเศรษฐกิจของอเมริกาไม่ค่อยดี การผ่อนชำระก็เริ่มมีปัญหา ผู้กู้ก็ผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น นอกจากนี้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ก็ตกลงมาในช่วงตั้งแต่ปีที่แล้ว ผู้ให้กู้ที่เคยคิดว่าตนเองไม่ได้เสี่ยงอะไรมาก เพราะถึงแม้ผู้กู้จะมีกระแสเงินสดไม่มากที่จะผ่อนชำระคืน แต่มูลค่าหลักประกันก็ยังคุ้มกับมูลหนี้ ตอนนี้มูลค่าหลักประกันลดลงแล้ว จึงต้องตั้งสำรองเผื่อหนี้สูญมากขึ้น และเข้มงวดระมัดระวังไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับรายใหม่ๆ

ตอนแรกทุกคนก็เข้าใจว่าปัญหานี้อาจจะไม่ลุกลามมากนัก เพราะสถาบันการเงินใหญ่ๆ ต่างก็ไม่ได้ให้กู้กับลูกค้ากลุ่มนี้ แต่ที่ไหนได้คะ เรื่องค่อยๆ โผล่มาทีละน้อยละน้อย สถาบันการเงินดังๆ ต่างไปลงทุนซื้อตราสารที่มีหนี้เกรดสองเป็นหลักประกันกันจำนวนมากมาย ตราสารเหล่านี้เรียกว่า ซีดีโอ หรือ Collateralized Debt Obligation (CDO) เป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือทำ Securitization แบบที่มีหลักประกัน (Asset Backed Securities)แบบหนึ่งคือ บริษัทที่ปล่อยกู้ หนี้เกรดสองเหล่านี้ ออกตราสารมาขายโดยมีหนี้เกรดสองเป็นหลักประกัน เพื่อให้มีเงินไปปล่อยกู้เพิ่มอีก

ซีดีโอ เป็นตราสารหนี้อย่างหนึ่ง ซึ่งจะจ่ายคืนเงินให้กับผู้ลงทุนในตราสารในรูปของกระแสเงินสดที่ได้มาจากการเก็บหนี้ที่นำมาค้ำประกันตราสารนั้นๆ โดยอาจมีการจัดเกรดของตราสารเป็นหลายกลุ่ม กลุ่มแรก อาจจะมีการจัดอันดับเครดิตเป็น AAA ก็จะได้เงินคืนก่อน แต่ดอกเบี้ยอาจจะไม่สูงนัก และกลุ่มถัดๆ มา ก็จะมีตั้งแต่ AA, A, BBB และ BB ซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยสูงขึ้น และกลุ่มท้ายสุดคือ กลุ่มทุน (equity) กลุ่มนี้ไม่มีการจัดอันดับเครดิต แต่จะรับกระแสเงินสดส่วนที่เหลือคือ หากเหลือจากที่จ่ายให้คนอื่นก็ได้คืน ซึ่งจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ แต่หากไม่เหลือก็ไม่ได้คืน การเก็บหนี้ และการเก็บหลักประกัน ก็จะมีผู้ดำเนินการให้ คาดว่าตลาดซีดีโอ มีขนาดประมาณ 489,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2006

เมื่อตลาดหนี้เกรดสองมีปัญหา การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ประเภทนี้ก็มีปัญหา คาดว่ากลุ่มตราสารประเภทนี้จะทยอยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงไป และเมื่อความน่าเชื่อถือถูกปรับลดลง ราคาตราสารเหล่านี้ก็จะตกลงไปด้วย นั่นคือ สาเหตุที่กองทุนที่ลงทุนในซีดีโอ 3 กองทุนของบีเอ็นพี พาริบาส์ ซึ่งเป็นผู้จัดการซีดีโอ รายใหญ่ของยุโรป มูลค่า 3 กองทุนรวมกันกว่า 2 พันล้านยูโร ต้องหยุดการซื้อขายเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ผ่านมา เนื่องจากไม่สามารถหามูลค่ายุติธรรมของตราสารเหล่านี้ของสหรัฐ ซึ่งลงทุนไว้เป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สินรวมได้ และตอนนี้ทุกคนก็ถามกันใหญ่ว่ามีใครบ้างที่ลงทุนทั้งทางตรง และทางอ้อมในหนี้เกรดสองเหล่านี้ สถาบันการเงินทั้งหลายจึงต้องทยอยออกมาชี้แจงค่ะ

เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น สถาบันการเงินในสหรัฐก็ระมัดระวังการให้สินเชื่อ ผู้มีเครดิตดีก็พลอยไม่สามารถกู้เงินได้ด้วย ทำให้เกิดการตึงตัวในตลาดเงิน ต้นทุนการกู้ยืมก็เพิ่มขึ้น จนธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ต้องใส่เงินเข้าไปในระบบเพิ่มเติมกว่า 150,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อให้ระบบการเงินไม่สะดุด และผู้ลงทุนต่างก็หันเข้าหาแหล่งลงทุนที่ปลอดภัยกว่า คือ พันธบัตรรัฐบาล ราคาหุ้นของสถาบันการเงินที่มีการลงทุน หรือให้กู้กับหนี้เกรดสองเหล่านี้ก็ตกลงไปกันหมด หุ้นของผู้ที่จะทำการขยายกิจการหรือซื้อกิจการโดยใช้เงินกู้ก็ตกลงไป เพราะตลาดกังวลว่าอาจไม่สามารถหาสินเชื่อได้ หรือถ้าหาได้ก็อาจจะแพง และเลยพลอยลามมาถึงตลาดหุ้นอื่นทั่วโลกด้วย

นั่นคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาค่ะ หากท่านไม่มีการลงทุนในตราสารหรือหนี้เกรดสองเหล่านี้ ท่านก็ไม่ควรกังวลจนเกินเหตุ แต่ต้องติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดค่ะ

สัญญานไม่ปกติ ยามทุนเสรีมีปัญหา

โดย : ดุลยทัศน์ พืชมงคล
ลงวันที่ : 2552-01-06

ใน ยามที่เศรษฐกิจของโลกอยู่ในช่วงขาลงคราวใด มักจะมีเหตุการณ์แปลกๆที่น่าสนใจและเป็นเสมือนลางบอกเหตุกลายๆเกิดขึ้นอยู่ เสมอ ครั้งนี้ก็เป็นเช่นเดียวกันครับ แต่ที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญก็คือ จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกรอบนี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์และแนว โน้มที่ส่อได้ว่าระบบทุนนิยมที่พัฒนามาถึงขั้นทุนนิยมโลกาภิวัฒน์นั้นกำลัง สุ่มเสี่ยงต่อความต่อการล่มสลายเต็มที โดยมีปรากฏการณ์สำคัญเท่าที่เรารวบรวมได้ดังต่อไปนี้

1.  การยอมรับสารภาพของนายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานเฟดของสหรัฐที่มีชื่อเสียงกระเดื่องนามว่าเป็นมหาครุแห่งลัทธิทุน นิยมเสรียุคใหม่ และมีบทบาทคุมบังเหียนเศรษฐกิจโลกเป็นเวลายาวนานที่สุด โดยได้ยอมรับอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้ว่า ความเชื่อและความคิดของเขาที่เคยมั่นใจตลอดโดยมาว่าระบบทุนนิยมดีที่สุด ก้าวหน้าที่สุด และสามารปรับตัวเองได้ดีที่สุดนั้น อาจเป็นความเชื่อและความคิดที่ผิดอย่างมหันต์ และเป็นเหตุให้เศรษฐกิจทั่วโลกต้องตกอยู่ในภาวะวิกฤต

คุณกรีนสแป นยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าเมื่อเกิดความล้มเหลวขึ้นในภาคส่วนเศรษฐกิจใดๆ แท้จริงแล้วระบบทุนนิยมปรับตัวเองตามธรรมชาติไม่ได้ แต่จำเป็นต้องอาศัยการอุ้มชูแทรกแซงโดยรัฐเสมอ และการอุ้มชูหรือแทรกแซงนั้นเกือบทั้งหมดก็ต้องชดเชยด้วยเงินภาษีของประชาชน เพียงแต่สามารถใช้สื่อและการอธิบายด้วยเหตุผลที่ดูเหมือนน่าเชื่อถือเท่า นั้น โดยเนื้อหาแท้จริง ผลประโยชน์กลับตกแก่ทุนใหญ่เพียงไม่กี่ราย และแก่ภาคการเงินเกือบทั้งหมด ในขณะที่ภาคส่วนอื่น ๆ ยังคงถูกปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม (กรณนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากการที่รัฐบาลสหรัฐอัดฉีดเงินเข้าช่วยเหลือสถาบัน การเงินบางแห่งรวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมรถยนต์)

การออกมา กล่าวเช่นนี้ของนายอลัน กรีนสแปน ส่งผลให้หลักคิดของลัทธิทุนนิยมเสรีต้องสั่นคลอนและกระทบกระเทือนอย่างยิ่ง ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันก็ทำให้คำประกาศของคาร์ลมาร์คที่ว่า กำไรซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของระบบทุนนิยมนั้น แท้จริงคือตัวปัญหาของระบบทุนนิยมเองที่ไม่มีทางแก้ไขให้ตกไปได้ และจะเป็นตัวทำลายระบบทุนนิยมเสรีในที่สุด ก้องกระหึ่มและได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวางขึ้น

2.  นิตยสารเพลย์บอย ซึ่งเป็นนิตยสารภาพด)เปลือยยอดนิยมของโลกได้ประกาศรับสมัครผู้บริหารสถาบัน การเงินชั้นนำในย่านวอลล์สตรีท เพื่อให้มาเปลื้องผ้าถ่ายแบบปกให้กับนิตยสารเพลย์บอยกระทั่งเกิดเป็นข่าวฮือ ฮาไปทั่วทั้งโลก
เนื่องเพราะย่านวอลล์สตรีทนั้นเป็นศูนย์กลางการเงิน ของสหรัฐและของโลก เป็นศูนย์กลางและความเชื่อถือของโลกมานับศตวรรษ และโดยปกติผู้บริหารสถาบันการเงินในย่านนี้มีรายได้สูงและมีเกียรติในระดับ โลก การประกาศรับสมัครดังกล่าวแม้จะมองได้ว่าเป็นกลุยุทธ์ทางการตลาดชั้นดี แต่อีกด้านหนึ่งก็ปฎิเสธไม่ได้เช่นกันว่า เป็นการเสียดสีโลกทุนนิยมอย่างถึงพริกถึงขิง เพราะแม้แต่ผู้บริหารการเงินจากศูนย์กลางแห่งโลกทุนนิยมยังถึงกับมีชะตาต้อง มาเปลื้องผ้าท้าชาวโลกในหน้านิตยสารเพลย์บอย และในขณะเดียวกันก็กล่าวได้ว่าสังคมทุนนิยมนั้นสามารถซื้อได้ทุกสิ่ง ทุกอย่างแม้แต่ความทะเยอทะยาน

3.  ธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำ 7 แห่งของโลกยอมรับว่าได้นำเงินมาเล่นเงินต่อเงินหรือเรียกง่ายๆว่าแชร์ลูกโซ่ เพื่อเอาผลกำไรจำนวนมากมาโปะให้กับฐานะการดำเนินงานของตนเป็นเวลาหลายปีแล้ว และขณะนี้แชร์ลูกโซ่ดังกล่าวล้มครืนลงแล้ว เกิดผลเสียหายขึ้นเป็นมูลค่ากว่า 50,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

ขบวน การเงินต่อเงินดังกล่าวดำเนินการในรูปของกองทุนเพื่อการเก็งกำไรหลายประเภท และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติ ทำนองเดียวกันกับแชร์แม่ชม้อยหรือแชร์แม่นกแก้วในบ้านเราในอดีต (เพียงแต่ต่างกันมากในเรื่องของขนาด, เจ้ามือ และประสิทธิภาพในขยายวง ซึ่งการดำเนินการในลักษณะนี้ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการใช้เงินต่อเงินในลักษณะเดียวกันกับระบบแชร์ ในที่สุดกองทุนเหล่านี้ก็ล้มครืนลงและผู้บริหารถูกจับกุมดำเนินคดี ข้อมูลความเสียหายมหาศาลจึงถูกเปิดเผยต่อชาวโลก

ทำให้ชาวโลกได้รู้ ว่าธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำของโลกทั้ง 7 แห่ง ซึ่งเบื้องหน้าแสดงตนเองตลอดมาว่าเป็นมืออาชีพ และเป็นธรรมาภิบาลที่เหนือกว่ามาตรฐานในระบบการเงินของโลกนั้น เบื้องลึกแล้วแล้วก็ล้วนแล้วแต่เล่นเกมพิสดารทางการเงินทั้งสิ้น และที่สำคัญคือการบ่งบอกได้ถึงสมรรถนะในการสร้างกำไรในธุรกิจปกติ ที่ถูกค้ำยันให้ยืนอยู่ได้ด้วยผลกำไรจากธุรกิจนอกระบบ และส่งผลให้เกิดคำถามต่อบริษัทจัดลำดับมาตรฐานความน่าเชื่อถือต่างๆของโลก ด้วย ว่าแท้จริงเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด

4.  บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของโลกหลายแห่งถูกตั้งข้อสงสยในเชิงทฤษฎีสมคบคิดใน กรณีสารเมลามีน ซึ่งมีปั่นสร้างราคาที่เกินจริง และปิดบังโลกเพื่อสร้างฐานราคาทุนของพลังงานให้ดูเสมือนมีต้นทุนที่มีเหตุผล ในอัตรากำไรมาตรฐานของพลังงานทั้งโลก และเกิดเป็นข้อกังขาว่าอาจเป็นกลการเพิ่มตัวเลขขึ้นในส่วนต้นทุน ทำให้ต้นทุนพลังงานทั้งโลกสูงเกินจริง และทำให้ผู้บริโภคทั้งโลกต้องจ่ายให้กับตัวเลขนี้เป็นเวลายาวนาน คิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เกิดการตรวจสอบตัวเลขที่แท้จริงอย่างขนานใหญ่ และกดดันให้ราคาพลังงานต้องลดต่ำลงในปัจจุบัน

5.  วิกฤตแฮมเบอเกอร์ที่เริ่มต้นขึ้นในสหรัฐ ถูกเปิดเผยว่าปมเงื่อนที่แท้จริงอยู่ที่การขายรายได้ในอนาคตของประชาชน ชาวอเมริกันล่วงหน้า เป็นมูลค่ารายได้คูณด้วยระยะเวลาถึง 65 ปี เป็นมูลเหตุให้เกิดการก่อหนี้จำนวนมหาศาลขึ้นในทุกภาคส่วน ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์จำพวกธนบัตร หุ้น และตราสารหนี้ต่าง ๆ มีมูลค่าสูงเกินจริงเหมือนฟองสบู่ ครั้นเมื่อฟองสบู่แตก มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดจึงดิ่งเหว และขณะนี้ตกลงไปร่วม 70% แล้ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดถึงก้นเหวเมื่อใด ทำให้ตลาดเงิน ตลาดทุน โดยเฉพาะตราสารหนี้ต้องประสบปัญหาอย่างรุนแรงทั้งในสหรัฐและทั่วโลก

ปรากฏการณ์ ดังกล่าวนี้กำลังท้าทายปรัชญา หลักคิด แนวทาง และมาตรการทั้งหลายระบบเศรษฐกิจของโลกและทำให้ระบบทุนนิยมเสรีเพลี้ยงพล้ำ อ่อนแรงอย่างชัดเจนที่สุดในประวัติศาสตร์.

ที่มา www.paisalvision.com

วิกฤตทางเศรษฐกิจของโลกและผลกระทบต่อประเทศไทย

วันที่ 4 ตุลาคม 2551

1. ทฤษฎีวิทยาศาสตร์สังคมระบุว่า ระบบทุนนิยมนั้นมีปัญหาในตัวที่ไม่มีทางแก้ไขให้ตกไปได้ คือ “กำไร” ซึ่งเป็นเส้นชีวิตและเป็นชีวิตของระบบทุน
ระบบทุนจะต้องแสวงหากำไรอย่างไม่หยุดยั้ง หยุดเมื่อใดก็ตายเมื่อนั้น เหมือนหนึ่งการเติมฟืนเข้ากองไฟ กองไฟต้องการฟืนตลอดไป ยิ่งเติมฟืนมากเท่าใด กองไฟก็ยิ่งใหญ่ และกินฟืนมากเท่านั้น ในที่สุดฟืนก็จะต้องหมดไป และไฟก็จะดับ

กำไรคือผลิตผลของการแสวงหาในระบบทุน ที่แสวงหาเอาจากคนส่วนใหญ่ในทุกวิธีการ ทำให้คนส่วนใหญ่ค่อยๆ สิ้นเนื้อประดาตัว และกำไรจะมารวมศูนย์กระจุกอยู่ที่จุดเดียว หรือคณะเดียว ในที่สุดคนส่วนใหญ่ก็จะล้มระบบทุนนั้น หรือเมื่อคนส่วนใหญ่สิ้นเนื้อประดาตัวแล้ว ระบบทุนก็จะล่มสลาย

คาลมาร์คได้นำเสนอทฤษฎีนี้ และวันนี้เป็นที่ยอมรับในฐานะที่เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์สังคมแล้ว

2. ระบบทุนเกือบพังทะลายเมื่อ 80 ปีก่อนมาครั้งหนึ่งแล้ว

สหรัฐ คือเมืองหลวงของระบบทุนตั้งแต่สองศตวรรษมานี้ โดยยุโรปรั้งลำดับสอง เอเชียเป็นลำดับสาม และอาฟริกาอยู่ลำดับสุดท้าย ทั้งนี้นับเอาออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สังกัดอยู่กับยุโรปด้วย

เมื่อ 80 ปีก่อน ระบบทุนในสหรัฐเริ่มพังทะลาย ส่งผลกระทบไปทั่วยุโรป แต่ไม่กระทบถึงเอเชียและอาฟริกา เพราะขณะนั้นทั้งสองทวีปนี้ยังไม่นำตัวเองเข้าไปผูกพันกับระบบทุนเท่าใดนัก ธุรกิจทุกระบบทั้งในสหรัฐและยุโรปพังทะลายระเนระนาด

เยอรมันเป็นประเทศที่ริเริ่มกอบกู้วิกฤตจากผลกระทบนี้ได้สำเร็จ โดยการก่อตั้งโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลต่อการกระจายรายได้แก่ประชาชน

วิกฤตครั้งนั้นทำให้นักปราชญ์ทางเศรษฐศาสตร์ได้นำเสนอทฤษฎีลองเวฟ (Long Wave) คือทฤษฎีการพังทะลายของระบบทุน ว่าจะเกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่เกินทุก 100 ปี โดยจะเริ่มตั้งแต่ปีที่ 80 เป็นต้นไป

บัดนี้ครบ 80 ปีนับแต่เกิดวิกฤตโลกครั้งนั้นแล้ว นักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อสำนักคิดเช่นนี้จึงวินิจฉัยว่าการพังทะลาย ของระบบทุนจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว และจะสิ้นสุดในระยะเวลาไม่เกิน 20 ปีจากนี้ไป พวกเขาเห็นว่าความเติบใหญ่ของระบบทุนของโลกปัจจุบันมากกว่าเมื่อ 80 ปีก่อนมาก ห่างไกลกันมาก เวลาล่มสลายจึงยืดยาวออกไปและส่งผลกระทบที่กว้างไกลใหญ่หลวง กระทั่งอาจเป็นการสิ้นสุดของระบบทุนสำหรับรอบ 80 ปีนี้

3. ลัทธิบริโภคนิยมทำให้มหาอำนาจแห่งระบบทุนนิยมกลายเป็นลูกหนี้ลำดับหนึ่งของโลก

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยุโรปตระหนักถึงอันตรายของลัทธิบริโภคนิยม จึงมีแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์เข้ามาเสริมอย่างทั่วด้าน และแสดงออกในทุกปริมณฑลของ   ยุโรป ในขณะที่สหรัฐซึ่งเป็นเจ้าโลกทุนนิยมและเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงโลกทุน นิยมที่แท้จริงได้เพิ่มการบริโภคขึ้นถึงขั้นสูงสุด ประชากร 300 ล้านในประเทศเดียวบริโภคพลังงานน้ำมันกว่า 30% ของปริมาณการบริโภคทั้งโลก ทรัพยากรส่วนใหญ่ของโลกและผลิตผลจากผลผลิตของทั่วทั้งโลกหลั่งไหลไปรวมอยู่ ที่สหรัฐ ทำให้เกิดลัทธิบริโภคนิยมขั้นสูงสุดขึ้น ทุกอณูของประชาชาติก่อหนี้สินจนล้นพ้นตัว จนเกินฐานะปัจจุบัน เพราะถ้าหากถือฐานะปัจจุบันแล้ว ประชาชาติสหรัฐทั้งประเทศจะต้องล้มละลายตั้งแต่ปีที่ 30 นับแต่เกิดวิกฤตโลกครั้งก่อน

แต่เจ้าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของสหรัฐมีรากฐานความคิดยิวเป็นพื้นฐาน หลังจากไอสไตล์ประสพความสำเร็จในการค้นคว้าทฤษฎีเกี่ยวกับเวลาหรือ Time Dimension และบรรลุขั้นสูงสุดในการค้นพบอณูที่เล็กที่สุดของเซลล์คือปรมาณูแล้ว ก็มีการใช้รากฐานความคิดดังกล่าวในทางเศรษฐศาสตร์ด้วย นั่นคือการใช้มิติแห่งเวลาเสริมเข้ามาในระบบทุน เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องนี้คือการก่อสร้างหนี้ในอนาคต นั่นคือนำรายได้ในอนาคตมาเป็นฐานในการคิดคำนวณขีดความสามารถในการชำระหนี้ใน ปัจจุบัน จึงทำให้ประชาชาติสหรัฐสามารถก่อหนี้สินได้เพิ่มขึ้น โดยคำนวณจากอายุขัยเฉลี่ย 65 ปี

ดังนั้นลัทธิบริโภคนิยมในปัจจุบันของสหรัฐจึงนำเอารายได้ในอนาคตของทั้ง ประชาชาติในอีก 65 ปีข้างหน้ามาเป็นฐานและการสร้างรายจ่ายปัจจุบัน

เหตุนี้ประชาชาติสหรัฐซึ่งควรจะล้มละลายไปเมื่อ 50 ปีก่อนจึงรอดพ้นและเสวยสุขโดยลัทธิบริโภคนิยม โดยนำเอารายได้ในอนาคตอีก 65 ปีมาเป็นฐานรายจ่าย จึงทำให้หนี้สินเพิ่มพูนจนสุดที่จะประมาณ เป็นผลให้สหรัฐกลายเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นหนี้ประชาชาติทั่วโลก ในขณะที่ประชาชาติสหรัฐเองก็มีแต่หนี้ท่วมหัวไปถึงชาติหน้า

4. ทุนสำรองระหว่างประเทศกับความเป็นมหาลูกหนี้ของสหรัฐ

นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา แทบไม่มีสักปีเดียวที่งบประมาณของสหรัฐจะไม่ติดลบ นั่นคืองบประมาณของสหรัฐเป็นแบบขาดดุลต่อเนื่องมาเกือบ 50 ปีแล้ว และปริมาณการขาดดุลเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ล่าสุดปริมาณการขาดดุลงบประมาณเพียงปีเดียว มากกว่างบประมาณรายจ่ายของอาฟริกาทั้งทวีป นั่นคือประเทศสหรัฐได้สั่งสมหนี้สินมากขึ้นจนไม่อาจหยุดยั้งได้

สหรัฐประสพความสำเร็จในการก่อหนี้สินกับทุกประเทศทั่วโลก ภายใต้ทฤษฎี “In God We Trust” ของยอดนักเศรษฐศาสตร์ชาวยิว-อเมริกัน ยึดกุมฐานะให้กับเงินดอลลาร์ในการเป็นสกุลเงินกลางในการค้าขายระหว่างประเทศ และทำให้เงินดอลลาร์กลายเป็นสินทรัพย์ที่แทบทุกประเทศต้องสั่งสมเป็นทุน สำรอง ผลแท้จริงคือผลผลิตจากผลิตผลของประชาชาติทั่วโลก หรือดุลการค้าของทุกประเทศทั่วโลก ได้ถูกนำไปซื้อพันธบัตรจากรัฐบาลสหรัฐ แล้วนำมาถือไว้เป็นทุนสำรอง โดยที่พันธบัตรและเงินดอลลาร์นั้นไม่มีหลักประกันใด ๆ เลย นอกจากคำว่า “In God We Trust” ที่ระบุไว้ในธนบัตรดอลลาร์สหรัฐ (เนื้อหาที่แท้จริง แล้วไม่ใช่ “In God We Trust” แต่เป็น “In Gun We Trust” ดังนั้นสหรัฐจึงต้องดำรงความเป็นมหาอำนาจทางทหารหรือ “Gun” ไว้ตลอดไป)

ทว่าความฉลาดของรากฐานทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ยิวดังกล่าวไม่อาจตบตาชาวโลกได้ตลอด ไป โดยเหตุบังเอิญประเทศอาหรับที่มีความขัดแย้งกับสหรัฐและถูกคว่ำบาตรแล้วจำ เป็นต้องใช้เงินสกุลอื่นในการทำการค้าระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ต้องใช้เงินสกุลดอลลาร์ขึ้น และเมื่อสหรัฐดำเนินนโยบายคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจมากประเทศขึ้น จึงเกิดการก่อตัวของประเทศที่ถูกคว่ำบาตร ซึ่งต้องใช้เงินสกุลอื่นแทนดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกันประเทศมุสลิมที่ต่อต้านสหรัฐก็เริ่มให้ความสำคัญกับการค้าที่ ไม่ต้องใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ตลาดสกุลเงินใหม่ขยายตัวไป และในทันทีที่สกุลเงินยูโรกำเนิดขึ้นในโลก ตลาดดังกล่าวนี้จึงใช้สกุลเงินยูโรเป็นสกุลกลาง ทำให้สกุลเงินยูโรก้าวสู่สกุลเงินลำดับที่สองในตลาดการค้าระหว่างประเทศ อย่างรวดเร็ว

5. จีนใช้พันธบัตรสหรัฐแทนระเบิดนิวเคลียร์

หลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย และจีนประสพความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและรวดเร็ว ทำให้จีนมั่งคั่งขึ้น เงินทุนสำรองซึ่งเป็นสกุลเงินดอลลาร์ได้เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อนสิ้นศตวรรษก่อนปริมาณเงินทุนสำรองของจีนในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมีมาก เป็นลำดับที่สองในเอเชีย แต่ถ้ารวมเงินทุนสำรองของฮ่องกงซึ่งกลับมาเป็นของจีนแล้ว จะมากเป็นลำดับที่หนึ่ง ครั้นจีนรวมมาเก๊าเข้ากับมาตุภูมิอีก ก็ยิ่งทำให้ปริมาณเงินทุนสำรองของจีนยิ่งมากขึ้น ในปีสุดท้ายของศตวรรษที่แล้ว เฉพาะเงินทุนสำรองของจีนอย่างเดียวก็มากเป็นลำดับหนึ่งของเอเชียและใน ปัจจุบัน เมื่อรวมฮ่องกง มาเก๊า เงินทุนสำรองของจีนก็มากเป็นลำดับหนึ่งของเอเชีย หากรวมกับประเทศพันธมิตรในโลกที่สาม ก็จะกลายเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ

เพราะเหตุที่ทุกหน่วยงานไม่ว่างานเศรษฐกิจและงานความมั่นคงอยู่ภายใต้องค์ เอกภาพการนำทางการเมืองของกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลาง พคจ. ได้ทำให้การบริหารจัดการทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงและวัฒนธรรม ตลอดจนสังคมเป็นเอกภาพ

ก่อนสิ้นศตวรรษที่แล้ว จีนได้พบว่าแผนเพนตาก้อน กรอบใหญ่ 15 ปีสองกรอบ หรือ 30 ปีก่อนสิ้นศตวรรษที่แล้ว สหรัฐได้แปรเปลี่ยนจีนจากประเทศที่ต้องเฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิดรองจากสหภาพ โซเวียต มาเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิดเป็นลำดับแรกของโลก และต่อมาหน่วยราชการลับจีนก็ได้พบว่าในแผนเพนตาก้อน กรอบ 15 ปีแรกของศตวรรษนี้ได้ถือจีนเป็นศัตรูลำดับที่หนึ่ง แทนระดับที่เป็นประเทศที่ต้องเฝ้าจับตาระมัดระวังอย่างใกล้ชิด ต่อมาก็พบอีกว่าร่างเอกสารแผนเพนตาก้อน กรอบ 15 ปีที่สอง มีการร่างแนวความคิดที่ถือว่าจีนเป็นประเทศเป้าหมายที่จะต้องถูกทำลายล้าง เป็นลำดับแรก จึงทำให้จีนต้องเตรียมตัวทั้งทางการเมืองระหว่างประเทศ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทางการทหารและเศรษฐกิจ

สถานการณ์กำหนดให้จีนต้องเตรียมรับมือกับสหรัฐในลำดับสูงสุดทุกด้าน ในปีที่ 3 ก่อนสิ้นศตวรรษที่แล้ว มีการอภิปรายสถานการณ์โลกของสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์ของกองทัพปลดแอกประชาชน จีน มีนักวิชาการนิรนามของไทยคนหนึ่งไปร่วมถกแถลงและได้เสนอว่าโลก ในอนาคต แนวรบด้านสื่อมวลชนจะเป็นแนวรบหน้าสุด และความเป็นลูกหนี้ลำดับหนึ่งของโลกจะทำให้พันธบัตรสหรัฐกลายเป็นอาวุธที่ อาจถูกใช้ไปทำลายสหรัฐเอง

ต่อมาบุคคลเดียว กันได้เขียนบทความว่าเงินทุนสำรองของจีนมีอานุภาพยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูที่ สหรัฐเคยใช้ถล่มฮิโรชิม่าและนางาซากิของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองหลาย เท่า และถ้าจีนใช้อาวุธนี้เมื่อใด สหรัฐจะพังพินาศ

แม้ว่าเป็นการนำเสนอแนวคิดในเชิงเพ้อฝันสักหน่อย และไม่มีใครเห็นด้วยเลย แต่ข้อเสนอนี้ได้ถูกนำไปนำเสนอในหนังสือเวียนภายในของกรรมการกลาง พคจ. และได้รับความสนใจ

ในกลางสมัยของนายกรัฐมนตรีจูหรงจีของจีน ได้เริ่มมีการอภิปรายถึงความร้ายแรงและอันตรายของการใช้เงินทุนสำรองสกุล ดอลลาร์สหรัฐกระทำต่อสหรัฐ และระบบเศรษฐกิจโลก

ระยะแรก คณะกรรมการกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางของ พคจ. (จงฉางเหว่ย หรือ Politburo) เห็นชอบตามข้อเสนอของรัฐบาลจีนให้ปรับลดสัดส่วนการถือครองเงินสกุลดอลลาร์ สหรัฐในกองทุนสำรองของจีนลง และเป็นครั้งแรกที่จีนให้ความสำคัญแก่ระบบตะกร้าเงิน และใช้เงินสกุลอื่นหลายสกุลในกองทุนเงินสำรอง

ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการกรมการเมือง โดยหูจิ่งเทาขึ้นเป็นผู้นำศูนย์การนำรุ่นที่ 3 ก็ได้เพิ่มสัดส่วนเงินสกุลอื่นโดยเฉพาะสกุลยูโรแทนที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ มากขึ้น ล่าสุดได้ยกระดับสัดส่วนจาก 30% เป็น 40% และกำลังเดินหน้าไปสู่ระดับเกินครึ่ง เป็นผลให้เงินทุนสำรองใหม่ของจีนเป็นเงินสกุลอื่น โดยค่อย ๆ ถ่ายโอนเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐออกไป อันเป็นการลดสัดส่วนอย่างนุ่มนวล (Soft Landing) เป็นผลให้การก่อหนี้ของสหรัฐเริ่มกระทบกระเทือน และทำให้เครดิตของเงินดอลลาร์สหรัฐถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดมากขึ้นโดยลำดับ

ประเทศอ่าวหลายประเทศซึ่งใกล้ชิดกับจีน ได้เห็นสถานการณ์ดังกล่าวภายใต้การชี้นำของผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน (กองทุนแห่งชาติของคูเวตมีผู้เชี่ยวชาญวาณิชธนกิจถึง 10 ชาติเป็นผู้บริหาร มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอนดอน) และเห็นผลกระทบที่จะเกิดในอนาคตจากการขยับตัวของจีน จึงเริ่มลดสัดส่วนการถือครองเงินดอลลาร์ตามจีน โดยเริ่มที่ซาอุดิอาระเบีย คูเวต และอีกหลายประเทศ ในที่สุดญี่ปุ่นและไต้หวันก็ดำเนินรอยตาม เพราะรู้ดีว่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะไร้ค่าลงไปทุกวันเนื่องจากตลาดต้องการน้อย ลง ใครถือเงินดอลลาร์เป็นคนสุดท้ายก็จะกลายเป็นเงินกงเต๊ก

จึงเป็นผลให้การก่อหนี้ของสหรัฐได้รับผลกระทบ พันธบัตรตราสารหนี้ต่าง ๆ รวมทั้งสกุลเงินดอลลาร์เสื่อมความเชื่อถือลงในทุกตลาด ในขณะที่เงินได้หลั่งไหลแปรไปเป็นเงินสกุลยูโรเพิ่มขึ้นโดยลำดับด้วย

พันธบัตรและตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์กำลังแปรสภาพเป็นอาวุธนิวเคลียร์ในการ ถล่มระบบเศรษฐกิจของสหรัฐไปแล้ว ขณะนี้ภาระหนี้ของสหรัฐยังสูงสุดและเป็นลำดับหนึ่งของโลก ทั่วโลกโดยเฉพาะจีน ยุโรป ญี่ปุ่น ไต้หวัน และประเทศอ่าวคือประเทศเจ้าหนี้สำคัญของสหรัฐ การต่อสู้ระหว่างลูกหนี้ที่ล้มละลายแล้ว แต่ถือปืน กับประเทศเจ้าหนี้ที่กำลังปืนสู้สหรัฐไม่ได้ แต่กำลังเติบโตขึ้นและผนึกกำลังกันเหนียวแน่นขึ้น จึงกลายเป็นโครงสร้างของสงครามที่ร้ายกาจในศตวรรษใหม่

6. เจดีย์ทรายทางเศรษฐกิจของสหรัฐเริ่มพังทะลาย และส่งผลกระทบไปทั่วโลก

การล้มละลายของกิจการขนาดใหญ่ของสหรัฐเกิดขึ้นในปีแรกหลังจากจีนลดสัดส่วน เงินทุนสำรองสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลง และเริ่มลุกลามเข้าสู่สถาบันการเงินของสหรัฐ หลังกองทุน Long Term ซึ่งเป็นกิจการวาณิชธนกิจที่เป็นเจ้าของกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดล้มลง ก็ได้เปิดฉากการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมของสหรัฐ

ในครั้งนั้น สถาบันแห่งนี้ถูกปล่อยให้ล้มโดยถือแนวคิดว่ารัฐไม่พึงใช้เงินภาษีของประชาชน ไปแก้ปัญหาความผิดพลาดในการบริหารของเอกชน ส่งผลให้กิจการวาณิชธนกิจขนาดใหญ่ลำดับสอง สาม ล้มตามลงไปอีก และลุกลามเข้าสู่ทั้งระบบการเงินมาโดยลำดับ

ปี 2551 สถาบันการเงินขนาดใหญ่ 3 ใน 5 แห่งของสหรัฐล้มครืนลง และล่าสุด AIG ซึ่งเป็นสถาบันการเงินและการลงทุนที่ใหญ่ที่สุด มีสินทรัพย์เกือบ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ กำลังล้มละลาย รัฐบาลพรรคลิพลับริกันจึงจำต้องตระบัดสัตย์และตบปากตนเอง ด้วยการเสนอกฎหมายเอาเงินภาษีของประชาชนไปอุ้มสถาบันแห่งนี้

เป็นผลให้ธนาคารกลางหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นต้องตั้งกองทุนกลางเพื่อพยุงสถาบันการเงินในประเทศของตน ซึ่งดูเหมือนว่าจะแก้ไขปัญหาได้

นักลงทุนรายย่อยของไทยที่หลงใหลไปตามกระแสข่าวจึงพากันเข้าช้อนซื้อหุ้นที่ กำลังตกต่ำอย่างหนัก ทำให้อัตราการลดต่ำของดัชนีชะลอลงบ้าง แต่ในที่สุดคงขาดทุนยับเยิน

ขณะนี้ IMF ได้ออกแถลงการณ์ระบุอย่างชัดเจนว่าวิกฤตทางการเงินของสหรัฐลุกลามไปทั่วโลก แล้ว (น่าจะครอบคลุมเฉพาะประเทศทุนนิยมที่เอาระบบเศรษฐกิจของตนไปผูกเชื่อมกับ ระบบเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐมากกว่า) ถึงแม้สหรัฐจะผ่านกฎหมายใช้เงิน 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐไปพยุงสถานะสถาบันการเงินและประเทศในยุโรป รวมทั้งจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ตั้งกองทุนกลางก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จะมีผลเพียงชะลอให้ปัญหายืดเยื้อไปอีกสามปีเท่านั้น

IMF ระบุว่าความเสียหายของระบบเศรษฐกิจสหรัฐเกินกว่าที่จะเยียวยา และความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อยุโรปและโลกก็มากกว่าที่คาดคิด วงเงินที่จัดตั้งไว้ไม่เพียงพอและไม่มีทางที่จะจัดหาเงินมาโอบอุ้มได้อย่าง เพียงพอด้วย

IMF ยืนยันว่ามาตรการดังกล่าวนั้นเป็นเพียงยาที่ยืดเวลาตายเท่านั้น

สอดคล้องกับนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งอยู่นอกอำนาจรัฐของหลายประเทศในโลกที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกับรายงานสรุปของ IMF ดังกล่าว

ตรงกันข้ามกับแนวความคิดของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่มองสถานการณ์นี้ว่าไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ถึงมีผลบ้างก็เล็กน้อย ไม่ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกระทบกระเทือน

ดังนั้นมาตรการรับมือกับผลกระทบของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์  10 ประการจึงไม่มีเนื้อหาที่มีผลต่อการรับมือกับผลกระทบนั้นเลย ยังคงเป็นมาตรการที่ใช้นโยบายประชานิยมเพื่อผลในการเลือกตั้ง นโยบายหลอกคนมีเงินโดยลดภาษีเพื่อให้นำเงินออมไปซื้อกองทุนเอาไปใช้ในการ พยุงหุ้น (ซึ่งจะมีผลขาดทุนยับเยินในเวลาไม่นาน) และมาตรการเร่งเมกกะโปรเจ็กต์ เร่งการใช้เงิน ที่มีผลต่อการคอร์รัปชั่นและสั่งสมทุนเพื่อการเลือกตั้งเท่านั้น

โบราณ ว่าคนตาบอดไม่เห็นเสือ เด็กทารกไม่กลัวจระเข้ ได้สะท้อนออกจากมาตรการดังกล่าวของรัฐบาล จึงเป็นผลให้ประเทศไทยจะต้องเผชิญและรับมือกับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจของ โลก ชนิดที่เรียกว่าเต็มหน้า และตามยถากรรม

7. คาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย

7.1 วิกฤตทางเศรษฐกิจในสหรัฐที่ขยายตัวไปทั่วโลกได้ส่งผลเบื้องต้นแล้ว ดังรายงานของธนาคารโลกว่าประชาชาติสหรัฐและยุโรปได้ชะลอการใช้เงินลง จะมีผลกระทบต่อภาคการผลิต การอุปโภคและบริโภค ตลาดส่งออกของไทยซึ่งพึ่งพาตลาดสหรัฐและยุโรปจึงได้รับผลกระทบโดยตรงอย่าง แน่นอน การส่งออกของไทยนับจากนี้ไปน่าจะลดน้อยลง ยกเว้นเฉพาะการส่งออกตามข้อตกลงเก่าที่ยังปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามสัญญาเท่า นั้น และจะส่งผลตามมาคือโรงงานอุตสาหกรรมและการผลิตที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการ ส่งออกอาจต้องปิดตัวเองลง ส่งผลกระทบต่อราคาวัตถุดิบและผลผลิตต้นน้ำ และกระทบต่อประชากรส่วนใหญ่

7.2 เพราะสหรัฐและยุโรปชะลอการใช้จ่าย ดังนั้นรายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้ลำดับสอง แต่มีเงินได้สุทธิเป็นลำดับที่หนึ่งของไทยก็จะได้รับผลกระทบตามมาด้วย รายได้ท่องเที่ยวในฤดูหนาวหรือไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 จะลดลงอย่างแน่นอน กระทบต่อทุกกิจการในภาคการท่องเที่ยว

7.3 ปลายรัฐบาลทักษิณและต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลปัจจุบัน ได้ส่งเสริมให้มีการตั้งกองทุนและนำเงินจากกองทุนต่าง ๆ ไปซื้อตราสารหนี้ในสหรัฐ ส่งผลให้ธนาคาร สถาบันการเงิน และกองทุนต่าง ๆ ติดบ่วงดังกล่าว และเริ่มปรากฏผลขาดทุนเบื้องต้นแล้ว เช่น ธนาคารกรุงเทพ ขาดทุนเฉพาะจากการลงทุนในบริษัทเลย์แมนบราเดอร์สถึง 3,800 ล้านบาท ธนาคารกรุงไทย 2,800 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ไม่แจ้งยอดจำนวน แต่มีการคาดหมายว่าอาจจะถึง 3,000 ล้านบาท กองทุนประกันสังคมขาดทุน 60 ล้านบาท เป็นต้น ทำให้ต้องตั้งสำรองและเกิดความเสียหาย ในขณะที่บริษัทประกันกำลังขาดสภาพคล่อง ใกล้ปิดกิจการ 3 บริษัท ที่เหลือนอกจากวิริยะประกันภัยกำลังร่อแร่ และกำลังถูกถอนกรมธรรม์อย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีมาตรการใด ๆ ที่น่าเชื่อถือในการรับมือแก้ไข มีแต่การปลอบใจว่าไม่มีผลกระทบเท่านั้น ดังนั้นธนาคาร สถาบันการเงิน และกองทุนต่าง ๆ น่าจะได้รับอันตรายจากผลกระทบนี้อย่างรุนแรง และอาจจะหนักกว่าเมื่อปี 2540 แต่ในภาคประชาชนที่มีเงินฝากกับธนาคารและสถาบันการเงิน แม้ได้รับผลกระทบบ้างแต่คงไม่เสียหาย เพราะปี 2508 เป็นปีแรกที่กฎหมายประกันเงินฝากบังคับใช้ ยังมีผลคุ้มครองเงินฝาก 100% และจะค่อย ๆ ลดลง ทว่าผลเสียหายที่แท้จริงของคนมีเงินฝากคืออัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝาก ยุคนี้จึงเป็นยุคที่คนมีเงินฝากก็ต้องขาดทุนอย่างย่อยยับ

7.4 เพราะเหตุที่ประชาชนไทยถูกส่งเสริมให้ก่อหนี้ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย หนี้สินต่อภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นจนมีจำนวนเกือบ 200,000 บาทต่อครัวเรือน โดยสินทรัพย์หลักคือที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตถูกใช้เป็นหลักประกัน ดังนั้นจึงถูกฟ้องร้องเรียกหนี้สินหรือถูกใช้มาตรการพักหนี้เพื่อหาเสียง แต่แม้ว่านโยบายประชานิยมที่สร้างหนี้เพิ่มจะถูกกำหนดแล้วก็อาจหาเงินไปใช้ ไม่พอหรือปล่อยกู้ได้ไม่เต็มที่เพราะหนี้เต็มวงเงินก็ได้ แต่ยิ่งก่อหนี้มากก็ยิ่งเดินตามรอยชาวอเมริกันที่สิ้นเนื้อประดาตัวไปถึง อนาคตด้วย

7.5 ประเมินสถานการณ์ว่าอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะลดลงเหลือไม่เกิน 3.5% ในปีหน้า รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณมากขึ้น ขาดดุลการค้ามากขึ้น (จากการซื้อสิ่งของและสินค้าในโครงการเมกกะโปรเจ็กต์) ขาดดุลเงินสดมากขึ้น

ตลาดหุ้นอาจจะลดจากเกือบ 600 ในขณะนี้ ไปอยู่ที่ระดับ 280 ในไตรมาสแรกของปีหน้า ราคาทองคำจะสูงขึ้น ราคาพลังงานจะทรงอยู่เพราะกำลังซื้อทั้งโลกลดลง

หนี้เสียจะเกิดขึ้นทั่วทั้งระบบ ธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐจะขาดสภาพคล่องและทุนหมุนเวียน ต้องเพิ่มทุน ในขณะที่ของภาคเอกชนอาจถูกปิดหรือควบคุมกิจการหรืออาจขายให้แก่ต่างชาติใน ราคาถูก

สินทรัพย์เสี่ยงหรือสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบธนาคารและสถาบัน การเงินจะถูกขายออกในราคาถูก ๆ และเพิ่มความเสียหายให้แก่ระบบ

ภาคการก่อสร้างจะหยุดชะงัก ทำให้สินทรัพย์กลายเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และทำให้ผู้ลงทุนล้มละลาย

ภาคอุตสาหกรรมจะปิดตัวโดยทั่วไป คนจะว่างงานเพิ่มมากขึ้น

โจรผู้ร้ายจะชุกชุม

8. ตัวช่วยของเศรษฐกิจไทย

ประเทศไทยเป็นแดนศักดิ์สิทธิ์ เป็นเมืองพระพุทธศาสนา พระสยามเทวาธิราชมีจริง พระเจ้าอยู่หัวทรงทศพิธราชธรรม บรรลุภูมิธรรมขั้นสูงในพระพุทธศาสนา มี อนาคตังสญาณ จึงแทนที่จะรับผลร้ายเต็มที่ กลับบรรเทาเบาบางลงด้วยมีตัวช่วยดังต่อไปนี้

8.1 ผลิตผลความคิดทางยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องสอดคล้องกับประเทศไทย ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงวางไว้ยังหลงเหลืออยู่ ทำให้ประเทศไทยไม่ตกอยู่ในวังวนระบบทุนนิยมเต็มรูปแบบทั้งประเทศ นั่นคือแนวทางและผลิตผลที่ทรงวางให้ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจทางเกษตร อุตสาหกรรม และเป็นมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมบริการ ยังกระจัดกระจายอยู่โดยทั่วไป ทั้งสองภาคนี้เป็นทรัพยากรที่ตกได้แก่ประชาชนไทยอย่างเต็มที่ ดังนั้นแม้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่มีผลต่อประชากรส่วนใหญ่และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยไม่อดตาย และยังคงมีความร่าเริงบันเทิงใจได้ (หากประเทศไทยไม่ล้มยุทธศาสตร์ทั้งสองแนวทางนี้ของพระองค์ท่านตั้งแต่แผน พัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ขณะนี้ประเทศไทยคงรุ่งเรืองเป็นเมืองทองไปแล้ว)

8.2 รากฐานความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ในเรื่องกรรมและสันโดษ บวกกับคำสอนของพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้คนไทยมีความพอใจในความเป็นอยู่ตามสภาพที่เป็นจริง แม้จะเผชิญหน้ากับวิกฤตทางเศรษฐกิจก็ไม่ทุกข์ ไม่ร้อน จนเกินการ มีความพอใจ มีความรู้ประมาณ มีความรู้เหตุรู้ผล และรับได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งมีความเชื่ออีกว่าสรรพสิ่งเป็นไปตามกฎแห่งพระไตรลักษณ์ วิกฤตเมื่อมีได้ ความสดใสก็จะตามมา ทำให้รอคอยได้

8.3 กองทัพแรงงานอนาถาและพเนจรของไทยที่ออกไปทำงานทั่วโลกมีจำนวนมากพอที่จะ นำรายได้เข้าสู่ประเทศ กระจายไปยังพื้นที่ชนบทของประเทศไทย ทำให้ความขาดแคลนลดน้อยลง และเป็นรายได้ที่พยุงฐานะสังคมชนบทของไทยไม่ให้ลุกฮือขึ้น แรงงานเหล่านี้มีทั้งแรงงานมีฝีมือ ไร้ฝีมือ แรงงานบริการ และหญิงบริการ ซึ่งไม่เคยมีการจัดกระบวนรบให้มีฐานะเป็น “กองทัพเศรษฐกิจ หรือกองทัพแรงงาน” เลย

8.4 หญิงไทยเป็นที่นิยมและชื่นชมของชาวตะวันตก เกิดกระแสนิยม 2 สาย คือนำเข้าหญิงไทยไปเป็นภริยา หรือคนรับใช้กึ่งภริยา โดยมีค่าตัวสูง และแพร่หลายในยุโรป ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไต้หวัน กระแสหนึ่ง และอีกกระแสหนึ่งคือชาวยุโรปที่เกษียณอายุย้ายถิ่นฐานเข้ามาสมรสกับหญิงชนบท ไทย จนตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นในหลายตำบล หลายจังหวัดในพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือ จนบางตำบลผู้ชายไทยต้องไปแต่งงานกับหญิงนอกพื้นที่แล้ว ชาวตะวันตกเหล่านี้ได้นำเงินรายได้และสวัสดิการบำเหน็จบำนาญต่าง ๆ เข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดกำลังซื้อขึ้นในชนบทไทย (โดยที่รัฐบาลไทยไม่เคยคิดจะดูดซึมเอาความรู้ความสามารถของชาวตะวันตกเหล่า นั้นมาขยายผลและใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยตามรอยพระบาทล้นเกล้ารัชกาล ที่ 5 ซึ่งทรงดำเนินนโยบายเรื่องนี้อย่างดีเยี่ยม).

จาก เวบไซด์ คุณไพศาล พืชมงคล

อดีตสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

http://www.paisalvision.com/paisal/

ที่มา..http://www.oknation.net/blog/print.php?id=366121