สัญญานไม่ปกติ ยามทุนเสรีมีปัญหา | รับทำเงินเดือน สัญญานไม่ปกติ ยามทุนเสรีมีปัญหา | รับทำเงินเดือน

สัญญานไม่ปกติ ยามทุนเสรีมีปัญหา

โดย : ดุลยทัศน์ พืชมงคล
ลงวันที่ : 2552-01-06

ใน ยามที่เศรษฐกิจของโลกอยู่ในช่วงขาลงคราวใด มักจะมีเหตุการณ์แปลกๆที่น่าสนใจและเป็นเสมือนลางบอกเหตุกลายๆเกิดขึ้นอยู่ เสมอ ครั้งนี้ก็เป็นเช่นเดียวกันครับ แต่ที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญก็คือ จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกรอบนี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์และแนว โน้มที่ส่อได้ว่าระบบทุนนิยมที่พัฒนามาถึงขั้นทุนนิยมโลกาภิวัฒน์นั้นกำลัง สุ่มเสี่ยงต่อความต่อการล่มสลายเต็มที โดยมีปรากฏการณ์สำคัญเท่าที่เรารวบรวมได้ดังต่อไปนี้

1.  การยอมรับสารภาพของนายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานเฟดของสหรัฐที่มีชื่อเสียงกระเดื่องนามว่าเป็นมหาครุแห่งลัทธิทุน นิยมเสรียุคใหม่ และมีบทบาทคุมบังเหียนเศรษฐกิจโลกเป็นเวลายาวนานที่สุด โดยได้ยอมรับอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้ว่า ความเชื่อและความคิดของเขาที่เคยมั่นใจตลอดโดยมาว่าระบบทุนนิยมดีที่สุด ก้าวหน้าที่สุด และสามารปรับตัวเองได้ดีที่สุดนั้น อาจเป็นความเชื่อและความคิดที่ผิดอย่างมหันต์ และเป็นเหตุให้เศรษฐกิจทั่วโลกต้องตกอยู่ในภาวะวิกฤต

คุณกรีนสแป นยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าเมื่อเกิดความล้มเหลวขึ้นในภาคส่วนเศรษฐกิจใดๆ แท้จริงแล้วระบบทุนนิยมปรับตัวเองตามธรรมชาติไม่ได้ แต่จำเป็นต้องอาศัยการอุ้มชูแทรกแซงโดยรัฐเสมอ และการอุ้มชูหรือแทรกแซงนั้นเกือบทั้งหมดก็ต้องชดเชยด้วยเงินภาษีของประชาชน เพียงแต่สามารถใช้สื่อและการอธิบายด้วยเหตุผลที่ดูเหมือนน่าเชื่อถือเท่า นั้น โดยเนื้อหาแท้จริง ผลประโยชน์กลับตกแก่ทุนใหญ่เพียงไม่กี่ราย และแก่ภาคการเงินเกือบทั้งหมด ในขณะที่ภาคส่วนอื่น ๆ ยังคงถูกปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม (กรณนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากการที่รัฐบาลสหรัฐอัดฉีดเงินเข้าช่วยเหลือสถาบัน การเงินบางแห่งรวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมรถยนต์)

การออกมา กล่าวเช่นนี้ของนายอลัน กรีนสแปน ส่งผลให้หลักคิดของลัทธิทุนนิยมเสรีต้องสั่นคลอนและกระทบกระเทือนอย่างยิ่ง ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันก็ทำให้คำประกาศของคาร์ลมาร์คที่ว่า กำไรซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของระบบทุนนิยมนั้น แท้จริงคือตัวปัญหาของระบบทุนนิยมเองที่ไม่มีทางแก้ไขให้ตกไปได้ และจะเป็นตัวทำลายระบบทุนนิยมเสรีในที่สุด ก้องกระหึ่มและได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวางขึ้น

2.  นิตยสารเพลย์บอย ซึ่งเป็นนิตยสารภาพด)เปลือยยอดนิยมของโลกได้ประกาศรับสมัครผู้บริหารสถาบัน การเงินชั้นนำในย่านวอลล์สตรีท เพื่อให้มาเปลื้องผ้าถ่ายแบบปกให้กับนิตยสารเพลย์บอยกระทั่งเกิดเป็นข่าวฮือ ฮาไปทั่วทั้งโลก
เนื่องเพราะย่านวอลล์สตรีทนั้นเป็นศูนย์กลางการเงิน ของสหรัฐและของโลก เป็นศูนย์กลางและความเชื่อถือของโลกมานับศตวรรษ และโดยปกติผู้บริหารสถาบันการเงินในย่านนี้มีรายได้สูงและมีเกียรติในระดับ โลก การประกาศรับสมัครดังกล่าวแม้จะมองได้ว่าเป็นกลุยุทธ์ทางการตลาดชั้นดี แต่อีกด้านหนึ่งก็ปฎิเสธไม่ได้เช่นกันว่า เป็นการเสียดสีโลกทุนนิยมอย่างถึงพริกถึงขิง เพราะแม้แต่ผู้บริหารการเงินจากศูนย์กลางแห่งโลกทุนนิยมยังถึงกับมีชะตาต้อง มาเปลื้องผ้าท้าชาวโลกในหน้านิตยสารเพลย์บอย และในขณะเดียวกันก็กล่าวได้ว่าสังคมทุนนิยมนั้นสามารถซื้อได้ทุกสิ่ง ทุกอย่างแม้แต่ความทะเยอทะยาน

3.  ธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำ 7 แห่งของโลกยอมรับว่าได้นำเงินมาเล่นเงินต่อเงินหรือเรียกง่ายๆว่าแชร์ลูกโซ่ เพื่อเอาผลกำไรจำนวนมากมาโปะให้กับฐานะการดำเนินงานของตนเป็นเวลาหลายปีแล้ว และขณะนี้แชร์ลูกโซ่ดังกล่าวล้มครืนลงแล้ว เกิดผลเสียหายขึ้นเป็นมูลค่ากว่า 50,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

ขบวน การเงินต่อเงินดังกล่าวดำเนินการในรูปของกองทุนเพื่อการเก็งกำไรหลายประเภท และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติ ทำนองเดียวกันกับแชร์แม่ชม้อยหรือแชร์แม่นกแก้วในบ้านเราในอดีต (เพียงแต่ต่างกันมากในเรื่องของขนาด, เจ้ามือ และประสิทธิภาพในขยายวง ซึ่งการดำเนินการในลักษณะนี้ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการใช้เงินต่อเงินในลักษณะเดียวกันกับระบบแชร์ ในที่สุดกองทุนเหล่านี้ก็ล้มครืนลงและผู้บริหารถูกจับกุมดำเนินคดี ข้อมูลความเสียหายมหาศาลจึงถูกเปิดเผยต่อชาวโลก

ทำให้ชาวโลกได้รู้ ว่าธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำของโลกทั้ง 7 แห่ง ซึ่งเบื้องหน้าแสดงตนเองตลอดมาว่าเป็นมืออาชีพ และเป็นธรรมาภิบาลที่เหนือกว่ามาตรฐานในระบบการเงินของโลกนั้น เบื้องลึกแล้วแล้วก็ล้วนแล้วแต่เล่นเกมพิสดารทางการเงินทั้งสิ้น และที่สำคัญคือการบ่งบอกได้ถึงสมรรถนะในการสร้างกำไรในธุรกิจปกติ ที่ถูกค้ำยันให้ยืนอยู่ได้ด้วยผลกำไรจากธุรกิจนอกระบบ และส่งผลให้เกิดคำถามต่อบริษัทจัดลำดับมาตรฐานความน่าเชื่อถือต่างๆของโลก ด้วย ว่าแท้จริงเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด

4.  บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของโลกหลายแห่งถูกตั้งข้อสงสยในเชิงทฤษฎีสมคบคิดใน กรณีสารเมลามีน ซึ่งมีปั่นสร้างราคาที่เกินจริง และปิดบังโลกเพื่อสร้างฐานราคาทุนของพลังงานให้ดูเสมือนมีต้นทุนที่มีเหตุผล ในอัตรากำไรมาตรฐานของพลังงานทั้งโลก และเกิดเป็นข้อกังขาว่าอาจเป็นกลการเพิ่มตัวเลขขึ้นในส่วนต้นทุน ทำให้ต้นทุนพลังงานทั้งโลกสูงเกินจริง และทำให้ผู้บริโภคทั้งโลกต้องจ่ายให้กับตัวเลขนี้เป็นเวลายาวนาน คิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เกิดการตรวจสอบตัวเลขที่แท้จริงอย่างขนานใหญ่ และกดดันให้ราคาพลังงานต้องลดต่ำลงในปัจจุบัน

5.  วิกฤตแฮมเบอเกอร์ที่เริ่มต้นขึ้นในสหรัฐ ถูกเปิดเผยว่าปมเงื่อนที่แท้จริงอยู่ที่การขายรายได้ในอนาคตของประชาชน ชาวอเมริกันล่วงหน้า เป็นมูลค่ารายได้คูณด้วยระยะเวลาถึง 65 ปี เป็นมูลเหตุให้เกิดการก่อหนี้จำนวนมหาศาลขึ้นในทุกภาคส่วน ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์จำพวกธนบัตร หุ้น และตราสารหนี้ต่าง ๆ มีมูลค่าสูงเกินจริงเหมือนฟองสบู่ ครั้นเมื่อฟองสบู่แตก มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดจึงดิ่งเหว และขณะนี้ตกลงไปร่วม 70% แล้ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดถึงก้นเหวเมื่อใด ทำให้ตลาดเงิน ตลาดทุน โดยเฉพาะตราสารหนี้ต้องประสบปัญหาอย่างรุนแรงทั้งในสหรัฐและทั่วโลก

ปรากฏการณ์ ดังกล่าวนี้กำลังท้าทายปรัชญา หลักคิด แนวทาง และมาตรการทั้งหลายระบบเศรษฐกิจของโลกและทำให้ระบบทุนนิยมเสรีเพลี้ยงพล้ำ อ่อนแรงอย่างชัดเจนที่สุดในประวัติศาสตร์.

ที่มา www.paisalvision.com

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.