มกราคม, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 2 มกราคม, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 2

7 ประเภทผู้นำที่องค์กรต้องการ

เผอิญได้ฟังเทปรายการ new dimension ของ ดร.บุญชัย แล้วผมชอบตอนนี้มาก มีจดโน๊ตย่อเอาไว้ ก็เลยเอามาลงที่นี่ เผื่อจะเข้ามาอ่านอีกเมื่อไหร่ก็ได้ และสำหรับใครที่อยู่ในระดับผู้บริหารหรือผู้จัดการจะได้รู้ว่าตนเองอยู่ในประเภทไหนใน 7 ประเภทนี้

สำหรับผู้แต่งหรือเขียนบทความนี้คือ David Rooke และ William R.Torbert  ชื่อบทความคือ Seven Transformations of Leadership จากประสบการณ์ของผู้แต่งและจากการสำรวจแบบสอบถามผู้จัดการและผู้เชี่ยวชาญกว่า 1,000 ราย ในอเมริกาและยุโรป ที่มีอายุระหว่าง 25-55 ปี ผู้แต่งได้แบ่งผู้นำ ออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้

1. นักฉวยโอกาส (Opportunist) มีอยู่ประมาณ 5%  มีนิสัยเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ไม่ฟังผู้อื่น มองโลกในแง่ร้าย ใช้เลห์เหลี่ยมกลอุบายทุกรูปแบบเพื่อให้ได้มาซื่งตำแหน่งฐานะและการยอมรับ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์อย่างเดียว มองเพื่อนร่วมงานหัวหน้าและลูกน้องเป็นเพียงวัตถุที่ต้องแสวงหาผลประโยชน์ เป็นพวกบ้าอำนาจ ไม่ยอมผู้อื่น ชอบข่มขู่ ควบคุมผู้อื่น มองโลกแคบ

2. นักการทูต (Diplomat) มีอยู่ประมาณ 12% น่าจะเป็นอีกด้านหนึ่งของนักฉวยโอกาส คือแทนที่จะควบคุมบังคับผู้อื่น แต่ใช้วิธีการบังคับการแสดงออกของตัวเองแทน ชอบเอาใจนาย ประจบนาย ชอบสร้างภาพ เป็นคนสุภาพเรียบร้อย ที่สำคัญจะไม่เอาเรื่องวุ่นวายมาบอกนาย (ถ้าบอกก็จะใช้วิธีเลี่ยง กลัวเจ้านายไม่สบายใจ) ผู้จัดการประเภทนี้จะไม่มีปัญหามากในที่ประชุม เป็นคนเงียบ ไม่บอกปัญหาซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับองค์กรได้

3. ผู้ชำนาญการณ์ (Expert) มีอยู่ประมาณ 38% เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะ และจะควบคุมผู้อื่นด้วยความรู้จริงของตนเอง มักจะคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองแน่ ตัวอย่างเช่นคนในอาชีพ นักบัญชี นักวิเคราห์การลงทุน นักวิจัยด้านการตลาด โปรแกรมเมอร์ คนประเภทนี้ จะเป็นประเภทรู้จริง ชอบการพัฒนาปรับปรุง มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ชอบทำงานของตัวเองให้ดีที่สุด ข้อเสียคือ มีความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป คิดว่าตัวเองรู้มากกว่าผู้อื่น

4. ผู้จัดการ (Achiever) มีอยู่ประมาณ 30% เป็นคนที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานใดทำงานหนึ่งได้ดีภายในเวลาที่กำหนดไว้ สามารถสร้างความสามัคคีกลมเกลียว สร้างทีมเวิค์ล สร้างบรรยากาศในการทำงาน รับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง ทำงานกับผู้อื่นได้ดี ข้อเสียคือเป็นผู้ที่ทำงานแบบรายวันได้ดี ไม่ค่อยมีวิสัยทัศน์ไกล ไม่สามารถคิดนอกกรอบได้ กลัวการสูญเสียอำนาจ กลัวว่าจะทำงานไม่ตรงกับที่ฝ่ายบริหารต้องการ ซึ่งจะทำให้ไม่เจริญก้าวหน้าในงาน ไม่ชอบเสนอสิ่งที่อยู่นอกขอบเขตความความรับผิดชอบของตนเอง

5. ปัจเฉกบุคคล (Individualist) มีอยู่ประมาณ 10% เป็นพวกชอบทำงานคนเดียว ไม่ไว้ใจผู้อื่น แต่ก็เป็นคนที่มองโลก 2 ด้านเสมอ ชอบทำงานแบบ One man show เป็นคนทำงานเก่ง มีจิตนาการสูง เป็นผู้ผลักดันงานได้ดี เป็นคนประเภท ยอมหักไม่ยอมงอ ไม่ยอมผู้อื่น มีความเชื่อมั่นใจตัวเองสูงเกินไป ไม่ยอมให้ใครมาขัดขวางการทำงานหรือความคิดของตน พวกนี้จะสร้างศตรูไว้มาก ชอบการปะทะโต้แย้ง ชอบความขัดแย้ง มักมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานเสมอ

6. นักวางแผน (Strategist) มีอยู่ประมาณ 4% เป็นคนที่เข้าใจองค์กรได้เป็นอย่างดี เข้าใจว่า อะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ เป็นคนมีวิสัยทัศน์ มีความารถในการพัฒนาลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ให้สามารถทำงานเพื่อองค์กร สามารถรับความขัดแย้งได้ทุกรูปแบบ เป็นคนเก่ง สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรได้ เห็นภาพรวมขององค์กรได้ทั้งหมด เป็นคนมีคุณธรรม

7. นักเล่นแร่แปรธาตุ (Alchemist) มีอยู่ประมาณ 1% ถือว่าเป็นผู้นำที่ดีที่สุด Great Leader พร้อมที่จะพัฒนาตัวเอง พัฒนาองค์กร และเป็นคนไม่ยอมหยุดนิ่ง สามารถปรับปรุง แก้ไข ประยุกต์ หรือสร้างใหม่ มีการทำงานแบบไร้รูปแบบที่แน่นอน ปรับเปลี่ยนได้ตลอดตามแต่ที่องค์กรมีอยู่ (คน วัตถุ สิ่งของ) รับได้ทุกสถานการณ์ ไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีความอึดอัด เข้าได้กับทุกระดับ รู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา เป็นคนมีคุณธรรมสูงมาก
.

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

ขอนำประเด็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรมาปุจฉา-วิสัชนาประโยชน์ในการปฏิบัติงานทางด้านภาษีเงิน ได้หัก ณ ที่จ่าย

ขอ นำประเด็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร มาปุจฉา – วิสัชนา เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานทางด้านภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าเบี้ยประกันวินาศภัย อย่างไร

วิสัชนา การจ่ายเงินได้ที่เป็นสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าเบี้ยประกัน วินาศภัย ให้แก่ผู้มีเงินได้ที่ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และนำส่งมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นิติบุคคลอื่น ที่มิใช่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น

2. เงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ได้แก่ ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
(1) ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ค่าเบี้ยประกันภัยในการขนส่งสินค้า
(2) ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ

การประกอบธุรกิจรับประกันวินาศภัย ถือเป็นการให้บริการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นมา บริษัทผู้รับประกันภัยต้องนำมูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้ บริการ รวมถึงเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใดๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินมารวมเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทผู้รับประกันภัยจะต้องนำค่าเบี้ยประกันภัยและค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับ จากผู้เอาประกันภัยมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด และเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้จ่ายเงินค่าเบี้ยประกันภัยและค่าอากรแสตมป์ ก็ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 1% ของยอดเงินที่จ่ายดังกล่าว ทั้งนี้สำหรับยอดก่อนค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีบริษัทประกันวินาศภัยประกอบธุรกิจประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลและประกันสุขภาพโดยแยกเป็นกรมธรรม์เดี่ยว จะต้องเสียภาษีดังนี้

(1) กรณีกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือกรณีกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และประกันสุขภาพ ซึ่งอยู่ในกรมธรรม์เดียวกัน ถือเป็นการประกอบกิจการประกันชีวิต ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2(3) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
(2) กรณีกรมธรรม์ประกันสุขภาพ ถือเป็นการประกอบกิจการประกันวินาศภัย ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 1%

3. ผู้มีเงินได้ที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย  ให้ผู้จ่ายเงินได้ที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยตาม กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย  คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งในอัตราร้อยละ 1.0 ของยอดเงินได้

ปุจฉา กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับตามสัญญารายหนึ่งๆ มีจำนวนทั้งสิ้นไม่ถึง 1,000 บาท ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่ อย่างไร

วิสัชนา การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.101/2544 ต้องมีจำนวนตามสัญญารายหนึ่งๆ ตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท ดังนั้น ในกรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับตามสัญญารายหนึ่งๆ มีจำนวนทั้งสิ้นไม่ถึง 1,000 บาท จึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

คำว่า “สัญญารายหนึ่งๆ” หมายความว่า ในกรณีที่มีการตกลงทำสัญญากันในแต่ละคราวๆ นั้น หากมีจำนวนเงินได้พึงประเมินที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้มีเงินได้รายหนึ่งๆ ต้องมีจำนวนทั้งสิ้นถึง 1,000 บาท ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งหากแม้ในการจ่ายคราวหนึ่งๆ จะมีจำนวนไม่ถึง 1,000 บาทก็ตามก็ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายเช่นกัน เช่น กรณีการจ่ายค่าบริการที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้กับธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ โดยเป็นการจ่ายค่าบริการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว หากค่าบริการแต่ละรายการที่ให้บริการ (Transaction) ในแต่ละครั้ง มีจำนวนไม่ถึงหนึ่งพันบาท ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

กรณีการทำสัญญารายหนึ่งๆ หรือครั้งหนึ่งๆ มีการตกลงจ่ายค่าจ้างหรือสินจ้างตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้จะแบ่งจ่ายเป็นหลายครั้ง ครั้งละไม่ถึงหนึ่งพันบาท ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เช่น บริษัท ก จำกัด ทำสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น จำนวน 1 คูหา จากนาง พ. เป็นระยะเวลา 20 ปี โดยชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนเดือนละ  950 บาท  กรณีดังกล่าว แม้ว่าบริษัท ก จำกัด จะชำระค่าเช่าในเดือนหนึ่งๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาทก็ตาม แต่โดยที่สัญญาเช่ามีระยะเวลา 20 ปี  ซึ่งเมื่อรวมค่าเช่าตลอดอายุสัญญาเช่าแล้วเป็นจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้น ไป ดังนั้น เมื่อบริษัท ก จำกัด ชำระค่าเช่าให้กับนาง พ. บริษัท ก จำกัด จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

อย่างไรก็ตาม หากในแต่ละสัญญาที่ตกลงกันมีจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายไม่ถึง 1,000 บาท เมื่อมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามสัญญาดังกล่าว ก็ไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่เมื่อได้จ่ายร่วมกับสัญญาอื่น ซึ่งทำให้จำนวนเงินที่จ่ายในคราวนั้นถึง 1,000 บาท ก็ตาม ผู้จ่ายเงินได้ก็มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

นักศึกษาฝึกงานไม่ต้องหักภาษีและประกันสังคม

นักศึกษาฝึกงานไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย อ้างอิงตามเอกสารของสรรพากรดังนี้

เลขที่ข่าว ปชส. 18/2547

วันที่แถลงข่าว 4  มีนาคม  2547

เรื่อง กรมสรรพากรสนับสนุนเต็มที่ในการจ้างงานนักเรียน นักศึกษา ในช่วงปิดภาคเรียน

—————————————————————————————————————————————-

กรมสรรพากรสนับสนุนนโยบายรัฐบาลอย่างเต็มที่ในการส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา

เข้าทำงาน part time ในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ในการทำงานและมีรายได้เป็นการแบ่งเบาภาระ ของผู้ปกครองได้อีกทางหนึ่ง

นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า  ” นักเรียน นักศึกษา ที่ทำงาน part time ตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด ถึงแม้จะทำงานเต็มฤดูกาลช่วงปิดภาคเรียน ก็ยังจะมีเงินได้พึงประเมิน ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี นายจ้างจึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เงินได้ของนักเรียน นักศึกษา ที่เข้าทำงานกรณีนี้แต่อย่างใด

สำหรับนายจ้างที่จ่ายเงินค่าจ้าง นักเรียน นักศึกษา เข้าทำงานเพื่อกิจการของตน ก็สามารถหักรายจ่าย ของธุรกิจในการเสียภาษีเงินได้ประจำปีได้ และถ้าหากการจ้างงานนี้เป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานแล้ว ก็จะทำให้สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายของธุรกิจได้ 1.5 เท่า เป็นพิเศษอีกด้วย”

ในส่วนของประกันสังคมก็ไม่ต้องหักเงินสมทบเนื่องจากเหตุผลดังนี้

ประเด็นแรกที่จะต้องพิจารณา คือ ระหว่างนักศึกษาและบริษัทมีนิติสัมพันธ์กันในฐานะลูกจ้างและนายจ้างหรือไม่ กฎหมายประกันสังคมกำหนดความหมายของลูกจ้างไว้ว่า หมายถึง ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ส่วนนายจ้าง หมายถึง ผู้ซึ่งรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง การที่นักศึกษาเข้ารับการฝึกงานกับบริษัท นักศึกษาไม่ได้มีเจตนาที่จะทำงานโดยมุ่งประสงค์ที่จะรับค่าจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน แต่มีความประสงค์เพื่อฝึกงานตามหลักสูตรเท่านั้น

ส่วนบริษัทก็มิได้ตกลงรับนักศึกษาเข้าทำงานโดยประสงค์ที่จะใช้แรงงานเยี่ยงลูกจ้างทั่วไป ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและบริษัท จึงมิใช่ลูกจ้างนายจ้างตามกฎหมายประกันสังคม ดังนั้น เงินที่บริษัทจ่ายให้กับนักศึกษาจึงมิใช่ค่าจ้างที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อจ่ายเป็นเงินสมทบ

อ้างอิง…สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงราย