บทความประกันสังคม | รับทำเงินเดือน บทความประกันสังคม | รับทำเงินเดือน

อัตรานำส่งเงินสมทบประกันสังคมสำหรับปี 2556 (กฎกระทรวง)

อัตรานำส่งเงินสมทบประกันสังคมปี 2556 ค่อนข้างจะมีความสับสนในการนำส่งค่อนข้างมาก เนื่องจากหน่วยงานประกันสังคมแต่ละหน่วย (รวมถึง 1506) และในเพสบุ๊ค จะตอบไม่ค่อยตรงกัน แรกๆ ก็ให้หัก 4% ตอนหลังมาบอกให้หัก 5% แถมขู่อีกว่า ถ้าหัก 4% จะมีหนังสือแจ้งและเรียกเก็บค่าปรับเพิ่ม แต่ถ้าหัก 5% เมื่อมีกฎกระทรวงออกมาค่อยมาทำเรื่องขอคืน พอไปยื่นแบบจริง (ประมาณต้นเดือนกพ.2556) ก็บอกให้กลับไปแก้เป็น 4% โดยบอกว่าในตอนนี้ยื่น 4% ได้แล้วไม่ต้องรอกฎกระทรวง เพราะในระบบคอมพิวเตอร์ (หน้าจอคอม) สามารถเลือกอัตรา 4% ได้แล้ว (เดิมเลือกไม่ได้ จึงจำเป็นต้องแจ้งเป็น 5% ไปก่อน)

กฎกระทรวง
กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2556

 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓และมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
            ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
            ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๕๕
            ข้อ ๓ ให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บ ป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ตามบัญชีอัตราเงินสมทบท้ายกฎกระทรวงนี้ ดังต่อไปนี้
            (๑) ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชี ก.
            (๒) ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชี ข.
 
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
เผดิมชัย สะสมทรัพย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

บัญชีอัตราเงินสมทบ บัญชี ก.

  

ผู้ออกเงินสมทบ

อัตราเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้างของผู้ประกันตน

 
๑. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร
(๑) รัฐบาล
(๒) นายจ้าง
(๓) ผู้ประกันตน
 
๒. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร
และกรณีชราภาพ
(๑) รัฐบาล
(๒) นายจ้าง
(๓) ผู้ประกันตน
 
 

 
0.5
0.5
0.5
 
 
 
2
3
3

  

บัญชีอัตราเงินสมทบ บัญชี ข.

  

ผู้ออกเงินสมทบ

อัตราเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้าง
ของผู้ประกันตน

 
๑. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร
(๑) รัฐบาล
(๒) นายจ้าง
(๓) ผู้ประกันตน
 
๒. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร
และกรณีชราภาพ
(๑) รัฐบาล
(๒) นายจ้าง
(๓) ผู้ประกันตน
 
 
 
 

1.5

1.5
1.5
 
 
 
 
1
3
3

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีคลอดบุตร  กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ โดยกำหนดให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓  ออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราที่เหมาะสม เพื่อเป็นการบรรเทาภาระของนายจ้างและผู้ประกันตนให้สอดคล้องกับสภาพทาง เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2556 จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ปี 2555

กฎกระทรวง

กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกับสังคม พ.ศ.2555

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซี่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซี่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี่ให้ใช้บังคับตั้งแต่,วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2555 เป็นต้นไป

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ข้อ ๓ ให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ ออกเงินสมทบเข้ากองทุน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรีอเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ตามบัญชีอัตราเงินสมทบท้ายกฎกระทรวงนี้ ดังต่อไปนี้

(๑) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ค. 2555 ให้เป็นไป ตามอัตราในบัญชี ก.

(๒) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ให้เป็นไป ตามอัตราในบัญชี ข.

(๓) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชี ค.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕

(นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

บัญชีอัตราเงินสมทบ บัญชี ก.

ผู้ออกเงินสมทบ อัตราเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้าง ของผู้ประกันตน
๑.เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บปวย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร(๑) รัฐบาล  0.5
(๒) นายจ้าง 0.5
(๓) ผู้ประกันตน 0.5
๒. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีขราภาพ(๑) รัฐบาล 2.0
(๒) นายจ้าง 2.0
(๓) ผู้ประกันตน 2.0

 

บัญชีอัตราเงินสมทบ บัญชี ข.

ผู้ออกเงินสมทบ อัตราเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้าง ของผู้ประกันตน
๑.เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บปวย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร(๑) รัฐบาล  0.5
(๒) นายจ้าง 0.5
(๓) ผู้ประกันตน 0.5
๒. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีขราภาพ(๑) รัฐบาล  2.0
(๒) นายจ้าง 3.0
(๓) ผู้ประกันตน 3.0

 

บัญชีอัตราเงินสมทบ บัญชี ค.

ผู้ออกเงินสมทบ อัตราเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้าง ของผู้ประกันตน
๑.เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บปวย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร(๑) รัฐบาล  1.5
(๒) นายจ้าง 1.5
(๓) ผู้ประกันตน 1.5
๒. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีขราภาพ(๑) รัฐบาล  1.0
(๒) นายจ้าง 3.0
(๓) ผู้ประกันตน 3.0

 

กฎกระทรวง

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน

ในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินลมทบ (ฉบับที่ ๒)

พ.ศ. ๒๕๕๕

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ค. ๒๕๓๓ ซี่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาคัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นตันไป

ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒/๑ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะใบช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบ พ.ศ. ๒๕๕๒

“ข้อ ๒/๑ การจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้ประกันตนซี่งออกเงินสมทบเข้ากองทุนในช่วงเวลา ที่มีการลดอัตราเงินสมทบตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ค. ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๑ ของค่าจ้างที่มีตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นจากอัตราที่กำหนดในข้อ ๖ (๒) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐”

ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕

(นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ดูกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบประกันสังคมปี 2555

ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบปี 2555

คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบลดอัตราเงินสมทบปี 2555 ช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ประสบอุทกภัย          
          สำนักงานประกันสังคม  เผยมติคณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง และผู้ประกันตน ม.33 และม.39 ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์อุทกภัยในวงกว้าง โดยลดอัตราเงิน สมทบกองทุนประกันสังคมปี 2555 เตรียมเร่งยื่นเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ เพื่อออกกฎกระทรวงบังคับใช้ต่อไป
          นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทรัพย์สินต่อบ้านเรือน บริษัทห้างร้านสถานประกอบการต่างๆ และส่งผลกระทบต่อนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้รับความเดือดร้อนโดยทั่วกัน ดังนั้น สำนักงานประกันสังคมจึงได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันสังคม โดยคณะกรรมการประกันสังคมได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เห็นชอบให้ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมแก่นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน เป็นระยะเวลา 1 ปี ในปี 2555 โดยลดจากอัตราเงินสมทบที่จ่ายในปัจจุบันฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ดังนี้         
ครึ่งปีแรก (1 มกราคม -  30 มิถุนายน 2555) จ่ายในอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ลดลงจากเดิม ฝ่ายละร้อยละ 2 
ครึ่งปีหลัง (1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2555) จ่ายในอัตราฝ่ายละร้อยละ 4 ลดลงจากเดิม ฝ่ายละร้อยละ 1
          ทั้งนี้ รัฐบาลยังคงจ่ายสมทบในอัตราเดิม คือ 2.75 การลดอัตราเงินสมทบในครั้งนี้ จะช่วยแบ่งเบาภาระนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละประมาณ 16,700 ล้านบาท ในส่วนของผู้ประกันตนแบ่งเบาภาระ ได้เฉลี่ยคนละประมาณ 1,700 บาท/ปี (คำนวณจากค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39)
           การลดอัตราเงินสมทบดังกล่าวผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนเดิมทุกกรณี โดยเฉพาะการรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

           ทั้งนี้ มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)

ที่มาข่าว…ประกันสังคม