ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร | รับทำเงินเดือน ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร | รับทำเงินเดือน

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

ขอนำประเด็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรมาปุจฉา-วิสัชนาประโยชน์ในการปฏิบัติงานทางด้านภาษีเงิน ได้หัก ณ ที่จ่าย

ขอ นำประเด็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร มาปุจฉา – วิสัชนา เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานทางด้านภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าเบี้ยประกันวินาศภัย อย่างไร

วิสัชนา การจ่ายเงินได้ที่เป็นสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าเบี้ยประกัน วินาศภัย ให้แก่ผู้มีเงินได้ที่ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และนำส่งมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นิติบุคคลอื่น ที่มิใช่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น

2. เงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ได้แก่ ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
(1) ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ค่าเบี้ยประกันภัยในการขนส่งสินค้า
(2) ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ

การประกอบธุรกิจรับประกันวินาศภัย ถือเป็นการให้บริการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นมา บริษัทผู้รับประกันภัยต้องนำมูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้ บริการ รวมถึงเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใดๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินมารวมเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทผู้รับประกันภัยจะต้องนำค่าเบี้ยประกันภัยและค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับ จากผู้เอาประกันภัยมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด และเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้จ่ายเงินค่าเบี้ยประกันภัยและค่าอากรแสตมป์ ก็ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 1% ของยอดเงินที่จ่ายดังกล่าว ทั้งนี้สำหรับยอดก่อนค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีบริษัทประกันวินาศภัยประกอบธุรกิจประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลและประกันสุขภาพโดยแยกเป็นกรมธรรม์เดี่ยว จะต้องเสียภาษีดังนี้

(1) กรณีกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือกรณีกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และประกันสุขภาพ ซึ่งอยู่ในกรมธรรม์เดียวกัน ถือเป็นการประกอบกิจการประกันชีวิต ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2(3) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
(2) กรณีกรมธรรม์ประกันสุขภาพ ถือเป็นการประกอบกิจการประกันวินาศภัย ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 1%

3. ผู้มีเงินได้ที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย  ให้ผู้จ่ายเงินได้ที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยตาม กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย  คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งในอัตราร้อยละ 1.0 ของยอดเงินได้

ปุจฉา กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับตามสัญญารายหนึ่งๆ มีจำนวนทั้งสิ้นไม่ถึง 1,000 บาท ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่ อย่างไร

วิสัชนา การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.101/2544 ต้องมีจำนวนตามสัญญารายหนึ่งๆ ตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท ดังนั้น ในกรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับตามสัญญารายหนึ่งๆ มีจำนวนทั้งสิ้นไม่ถึง 1,000 บาท จึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

คำว่า “สัญญารายหนึ่งๆ” หมายความว่า ในกรณีที่มีการตกลงทำสัญญากันในแต่ละคราวๆ นั้น หากมีจำนวนเงินได้พึงประเมินที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้มีเงินได้รายหนึ่งๆ ต้องมีจำนวนทั้งสิ้นถึง 1,000 บาท ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งหากแม้ในการจ่ายคราวหนึ่งๆ จะมีจำนวนไม่ถึง 1,000 บาทก็ตามก็ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายเช่นกัน เช่น กรณีการจ่ายค่าบริการที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้กับธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ โดยเป็นการจ่ายค่าบริการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว หากค่าบริการแต่ละรายการที่ให้บริการ (Transaction) ในแต่ละครั้ง มีจำนวนไม่ถึงหนึ่งพันบาท ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

กรณีการทำสัญญารายหนึ่งๆ หรือครั้งหนึ่งๆ มีการตกลงจ่ายค่าจ้างหรือสินจ้างตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้จะแบ่งจ่ายเป็นหลายครั้ง ครั้งละไม่ถึงหนึ่งพันบาท ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เช่น บริษัท ก จำกัด ทำสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น จำนวน 1 คูหา จากนาง พ. เป็นระยะเวลา 20 ปี โดยชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนเดือนละ  950 บาท  กรณีดังกล่าว แม้ว่าบริษัท ก จำกัด จะชำระค่าเช่าในเดือนหนึ่งๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาทก็ตาม แต่โดยที่สัญญาเช่ามีระยะเวลา 20 ปี  ซึ่งเมื่อรวมค่าเช่าตลอดอายุสัญญาเช่าแล้วเป็นจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้น ไป ดังนั้น เมื่อบริษัท ก จำกัด ชำระค่าเช่าให้กับนาง พ. บริษัท ก จำกัด จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

อย่างไรก็ตาม หากในแต่ละสัญญาที่ตกลงกันมีจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายไม่ถึง 1,000 บาท เมื่อมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามสัญญาดังกล่าว ก็ไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่เมื่อได้จ่ายร่วมกับสัญญาอื่น ซึ่งทำให้จำนวนเงินที่จ่ายในคราวนั้นถึง 1,000 บาท ก็ตาม ผู้จ่ายเงินได้ก็มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.