กุมภาพันธ์, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 3 กุมภาพันธ์, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 3

ภาษีเงินได้ออกจากงาน

ท่านที่ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน โดยเฉพาะภาคเอกชน ช่วงนี้หนาวๆ ร้อนๆ กันหน่อย หากได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลกระทบต่อการผลิตและการจ้างงาน หลายประเทศเริ่มปลดพนักงานเพื่อลดต้นทุนหรือเพื่อให้บริษัทอยู่รอดได้ใน สถานการณ์เช่นนี้

อย่างไรก็ตาม หากต้องถูกออกจากงานและนายจ้างได้จ่ายเงิน ให้มาก้อนหนึ่ง หรือที่ภาษาชาวบ้านเราเรียกว่าเงินชดเชย หรือเงินเลิกจ้างก็แล้วแต่ โดยปกติเงินได้นั้นถือเป็นเงินที่ได้จากการทำงานให้นายจ้าง เงินได้นั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ แต่กฎหมายก็ได้มีการยกเว้นภาษีให้บางส่วน

ค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินได้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานจากการเลิกจ้างพนักงาน ลูกจ้าง อันเนื่องมาจากการเลิกบริษัท การยุบแผนก หรือเลิกจ้างเพื่อลดต้นทุนบริษัท โดยที่ลูกจ้างหรือพนักงานไม่ได้สมัครใจลาออกจากงาน เงินชดเชยที่ลูกจ้าง พนักงานได้รับมีวิธีการคิดคำนวณภาษี หรือได้รับยกเว้นภาษีอย่างไร สรุปได้ดังนี้

ค่าชดเชยที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ เงินชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือเงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หากลูกจ้างหรือพนักงานออกจากงานโดยไม่สมัครใจ หรือที่เราได้ยินกันบ่อยครั้งว่า ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก กรมสรรพากรและรัฐบาลเห็นใจผู้ที่ออกจากงานโดย ไม่สมัครใจ จึงได้ออกกฎหมายให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้จากค่าชดเชย โดยให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับค่าจ้างหรือเงินเดือนค่า จ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายก่อนออกจากงาน แต่รวมแล้วไม่เกิน 3 แสนบาท ไม่ว่าลูกจ้างหรือพนักงานนั้นจะทำงานมา กี่ปีก็ตาม

แต่ไม่ใช่ผู้ออกจากงานทุกคนได้รับการยกเว้นภาษีจากค่าชดเชยคนละ 3 แสนบาท จะได้สิทธิยกเว้นภาษีสูงสุดถึง 3 แสนบาทหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วัน สุดท้ายก่อนออกจากงาน ตรงนี้เข้าใจผิดกันเยอะ สำหรับค่าชดเชยส่วนที่เหลือจากการยกเว้นภาษีเงินได้ ผู้ที่ได้รับค่าชดเชยจะต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม ปกติ

ตัวอย่าง ได้รับเงินชดเชย 5 แสนบาท แต่ค่าจ้าง 300 วัน สุดท้ายก่อนออกจากงานเท่ากับ 2.5 แสนบาท จะได้รับยกเว้นภาษีเท่ากับ 2.5 แสนบาทเท่านั้น แต่ถ้าหากค่าจ้าง 300 วันสุดท้าย เท่ากับ 3.5 แสนบาท ก็จะได้รับยกเว้นภาษีเท่ากับ 3 แสนบาท

ค่าชดเชยส่วนที่เหลือจากการยกเว้นภาษี ลูกจ้างหรือพนักงาน ที่ทำงานมาไม่น้อยกว่า 5 ปี สามารถเลือกที่จะนำเงินค่าชดเชยส่วนที่เหลือจากการยกเว้นภาษีไปแยกคำนวณตาม ใบแนบแบบ ภ.ง.ด.91 แยกต่างหากจากเงินเดือนค่าจ้างที่กรอกในแบบ ภ.ง.ด.91 ได้ ผลก็คือทำให้เสียภาษีน้อยลงมาบ้างเพราะฐานภาษีถูกแยกออกไป กรณีที่ทำงานไม่ถึง 5 ปี จะต้องนำค่าชดเชยไปรวมกับเงินเดือนค่าจ้างในแบบ ภ.ง.ด.91 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเลือกคำนวณตามใบแนบ

สำหรับท่านที่ได้รับค่าชดเชย แต่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ไม่ว่าจากเหตุใดก็ตาม หากทำงานมาไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้สิทธิแยกคำนวณภาษีตามใบแนบแบบ ภ.ง.ด.91 ได้เช่นเดียวกัน

ท่านที่ได้รับเงินค่าชดเชยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ต้องเป็นไปตาม เงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้น และอย่าลืมให้นายจ้างออกหนังสือเป็นหลักฐาน โดยระบุว่าออกจากงานเพราะสาเหตุใด ผู้ออกจากงานเริ่มทำงานและออกจากงานวัน เดือน ปีใด เงินเดือน 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานแต่ละเดือน จะได้ใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบเสียภาษีต่อไปครับ

ที่มา…โพสต์ ทูเดย์

อ้างอิงวิธีการคำนวณตามประกาศของสรรพากร ประกาศเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 45

ใบกำกับภาษี เอกสารทางบัญชี ต้องเก็บกี่ปี

ตามกฏหมายภาษี – กำหนดให้ผู้เสียภาษีต้องเก็บเอกสารทางบัญชีและภาษีไม่น้อยกว่า 5 ปี  ภายใต้เงื่อนไขต้องยื่นแบบทุกปี ทั้งนี้ไม่ว่าผู้เสียภาษีจะยื่นแบบภาษีถูกหรือยื่นผิดก็ตาม โดยปกติเจ้าพนักงานมีสิทธิประเมินย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี (ไม่นับปีปัจจุบัน) เช่น ถ้าปัจจุบันปี 2551 ก็ย้อนหลังได้คือปี 49 – 50 เป็นต้น แต่ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษี เจ้าพนักงานสรรพากรมีอำนาจประเมินขยายระยะเวลาได้ถึง 5 ปี  ดังนั้นผู้เสียภาษีจึงควรเก็บเอกสารให้เกิน 5 ปี (ทำลายเอกสารในปีที่หก) แต่ถ้าผู้เสียภาษีไม่เคยยื่นแบบเลย สรรพากรสามารถประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี

ตามกฏหมายบัญชี – กำหนดให้ต้องเก็บเอกสารทางบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี

เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ จ่ายให้ผู้ประกันตนที่มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท

สำนักงานประกันสังคม ขอความร่วมมือนายจ้างเก็บข้อมูลผู้ประกันตน กรอกแบบ สปส.รบ.2000 รวบรวมส่งก่อน 16 มี.ค.52

เลขที่ :
วันที่ประกาศ : 12/2/2552

สปส.ขอความร่วมมือนายจ้างเก็บข้อมูลผู้ประกันตน กรอกแบบ สปส.รบ.2000 รวบรวมส่งก่อน 16 มี.ค.52

สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ขอความร่วมมือนายจ้างเก็บข้อมูลผู้ประกันตนตามแบบ คำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือฯ (สปส.รบ.2000) และรวบรวมข้อมูลส่ง สปส. ภายในวันที่ 16 มีนาคม 2552 นี้ ส่วนผู้ประกันมาตรา 39 และ 40 สปส.ได้ส่งตรงถึงผู้ประกันตนโดยตรงขอให้ผู้ประกันตนรีบกรอกรายละเอียดและส่ง แบบคำขอคืนภายใน วันที่ 16 มีนาคม 2552 เช่นกัน
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างขวัญกำลังใจและช่วย เหลือค่าครองชีพแก่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาทเป็นเงินคนละ 2,000 บาท ตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ ในขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานได้สนองนโยบายของรัฐบาลโดยได้ออกมาตรการบรรเทา ปัญหาการเลิกจ้าง ของกระทรวงแรงงานคือ มาตรการ 3 ลด 3 เพิ่ม ได้แก่ ลดการเลิกจ้าง ลดการเคลื่อนย้ายแรงงาน ลดค่าครองชีพ เพิ่มการจ้างงาน เพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพ และเพิ่มการพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานประกันสังคม ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้แก่ผู้ประกันตน จึงได้จัด ส่งแบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐใน ส่วนของผู้ประกันตน (สปส.รบ.2000) ให้กับนายจ้าง โดยสำนักงานประกันสังคมขอความร่วมมือจากนายจ้างช่วยจัดเก็บข้อมูลผู้ประกัน ตนที่ทำงานกับนายจ้าง (มาตรา 33 ) โดยนายจ้างต้องสำเนาแบบคำขอให้ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน ณ วันที่ 13 มกราคม 2552 ที่มีค่าจ้างต่ำกว่า 15,000 บาท กรอกรายละเอียดและส่งแบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ ประชาชนและบุคลากรภาครัฐในส่วนของผู้ประกันตน (สปส.รบ.2000) พร้อมแนบเอกสาร ประกอบด้วย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยนายจ้างต้องรวบรวมคำขอพร้อมเอกสารแนบและจัดทำใบนำส่งแบบคำขอรับเงิน ตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพฯ (สปส.รบ.2000/1) ส่งให้สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ซึ่งสถานประกอบการตั้งอยู่ กรณีที่ผู้ประกันตนเกิน 100 คน นายจ้างสามารถทยอยส่งได้ โดยขอความร่วมมือนายจ้างจัดส่งภายในวันที่ 16 มีนาคม 2552
นอกจากนี้ สำหรับผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) และผู้ประกันตนที่ประกันตนเอง (มาตรา 40) สำนักงานประกันสังคมได้จัดส่งแบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ ประชาชนและบุคลากรภาครัฐในส่วนของผู้ประกันตน (สปส.รบ.2000) ให้กับผู้ประกันตนโดยตรง ซึ่งผู้ประกันตนต้องกรอกรายละเอียดและแนบเอกสารเช่นเดียวกับผู้ประกันตนที่ ทำงานกับนายจ้าง (มาตรา 33) แล้วนำส่งได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดหรือสำนักงานประกันสังคมเขต พื้นที่ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ภายในวันที่ 16 มีนาคม 2552 เช่นเดียวกัน หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัยต้องการตรวจสอบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่า ครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐในส่วนของผู้ประกันตน (สปส.รบ.2000) โปรดติดต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัดหรือสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ที่ท่านยื่นแบบคำขอ
สำหรับนายจ้างหรือผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) หรือผู้ประกันตนที่ประกันตนเอง (มาตรา 40) ต้องการดาวน์โหลดแบบคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและ บุคลากรภาครัฐในส่วนของผู้ประกันตน (สปส.รบ.2000) เพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้ที่  www.sso.go.th เลือก e–Service และเลือก ดาวน์โหลด แบบฟอร์มคำขอรับเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ ในส่วนของผู้ประกันตน (สปส.รบ.2000)

เอกสารประกอบ

——————————————————–
ศูนย์สารนิเทศ  สายด่วนประกันสังคม  1506  www.sso.go.th