กุมภาพันธ์, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 4 กุมภาพันธ์, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 4

เงินปันผล และเครดิตภาษีเงินปันผล

เครดิตภาษีสำหรับเงินปันผล (1)

สิทธิประโยชน์ประการหนึ่งของผู้มีเงินได้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้ รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

กรุงเทพ ธุรกิจออนไลน์ : ก็คือการใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกรมสรรพากรได้เคยออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 119/2545 เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 พ.ย.2545 โดยยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.108/2544 ลงวันที่ 27 ก.ค.2544 แต่ด้วยระยะเวลาได้ล่วงเลยมานานแล้วจึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา – วิสัชนา อีกครั้งหนึ่งดังนี้ครับ

ปุจฉา ทำไมจึงต้องมีการให้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

วิสัชนา การให้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อาจพิจารณาได้เป็น 2 ประการคือ

ประการที่ 1 เป็นไปเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังกล่าวได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อนำเงินกำไรหลังจากภาษีเงินได้นิติบุคคลมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก ครั้งหนึ่ง ซึ่งถือเป็นความซ้ำซ้อนทางเศรษฐกิจ (ECONOMIC DOUBLE TAXATION) รัฐๆ หนึ่งจัดเก็บภาษีเงินได้จากเงินได้ก้อนเดียวกันตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป)

ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่เกิดจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยให้แก่ผู้อยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้มีภูมิลำเนาในไทย จึงกำหนดให้ผู้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าว ได้รับเครดิตภาษีเท่ากับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล หารด้วยร้อยลบอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งอาจแสดงเป็นสูตรได้ดังนี้

เครดิตภาษี    =    เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร   x   อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

100 – อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

เครดิตภาษีที่ได้รับให้นำมาถือรวมเป็นเงินได้พึงประเมิน เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้เป็นเงินภาษีเท่าใด ให้นำเครดิตภาษี (รวมทั้งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย) มาหักออก หากยังขาดให้ชำระเพิ่ม แต่ถ้าเกินให้มีสิทธิขอคืนภาษีจากกรมสรรพากร

ซึ่งวิธีการเครดิตภาษีดังกล่าวเป็นการที่รัฐให้เครดิตภาษีเต็มจำนวน (FULL CREDIT) ที่ผู้มีเงินได้ได้ชำระภาษีเงินได้ในรูปของภาษีเงินได้นิติบุคคล

ประการที่ 2 การพิจารณาให้เครดิตภาษีดังกล่าว เป็นการให้ทางเลือกเเก่ผู้มีเงินได้ที่จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลัก ความสามารถในการเสียภาษี (ABILITY TO PAY PRINCIPLE) กล่าวคือ หากผู้มีเงินได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% ของเงินปันผล เท่ากับผู้มีเงินได้ได้เสียภาษีเงินได้ไปแล้วเป็นจำนวนถึง 37% ของกำไรสุทธิ ซึ่งเป็นอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขั้นสูงสุด ที่ใช้สำหรับผู้ที่มีเงินได้สุทธิเกินกว่าสี่ล้านบาทขึ้นไป กฎหมายจึงให้สิทธิแก่ผู้มีเงินได้ที่จะเลือกเสียภาษีเงินได้เท่ากับจำนวน ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้อีกต่อไป เพราะโดยภาพรวมรัฐได้เม็ดเงินภาษีจากผู้มีเงินได้ท่านนั้นเต็มตามจำนวนที่ รัฐพึงได้แล้ว

แต่สำหรับผู้มีเงินได้ที่ความสามารถในการเสียภาษียังไม่ถึงขั้นที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้ในอัตราสูงสุดหรือ 37% ของเงินได้สุทธิ การได้สิทธิเครดิตตามเหตุผลประการที่ 1 ดังกล่าว ย่อมทำให้เกิดความเป็นธรรมที่ผู้มีเงินได้จะได้เริ่มคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาจากเงินกำไรสุทธิในส่วนของตนอีกครั้งหนึ่ง ตามขั้นหรือระดับความสามารถในการเสียภาษีของตน

ปุจฉา การได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรจะเกิดขึ้นในกรณีใดและเมื่อใด

วิสัชนา เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้จ่ายเงิน ปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ไม่ว่าผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ ตาม บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้จ่ายเงินได้จะทำการหักภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 10% ของเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งขอกำไร ซึ่งผู้เงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 เลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่าที่ถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย โดยไม่นำเงินได้ที่เป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรมารวมคำนวณเพื่อ เสียเงินได้ตามปกติ และไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายนั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ได้ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน โดยวิธีนี้ ผู้มีเงินได้จะไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด

วิธีที่ 2 เลือกที่จะนำเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาตามวิธีปกติ คือ นำเงินได้พึงประเมินมาหักด้วยค่าใช้จ่าย (ถ้ามี) และค่าลดหย่อน คงเหลือเป็นเงินสุทธิเท่าใด นำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้า แต่จำนวนภาษีที่ต้องเสียต้องไม่น้อยกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้จากอัตรา 0.5% ของเงินได้พึงประเมินที่จำนวนตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป แต่ทั้งนี้ไม่รวมเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร

โดยวิธีนี้ เฉพาะผู้มีเงินได้ที่อยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้มีภูมิลำเนาในไทย จะได้รับเครดิตภาษีเท่ากับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล หารด้วยร้อยลบอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยจะต้องนำเครดิตภาษีที่ได้รับให้นำมาถือรวมเป็นเงินได้พึงประเมิน เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

เครดิตภาษีสำหรับเงินปันผล (2)

ขอนำประเด็นสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้รับเงินปันผล หรือ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 มา ปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่จะได้รับเครดิตภาษี หรือไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรอย่างไร

วิสัชนา หลักเกณฑ์เบื้องต้นในการพิจารณาว่า ผู้มีเงินได้รายได้จะได้รับเครดิตภาษีตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้

1. สิทธิประโยชน์ข้อนี้ กำหนดไว้เป็นพิเศษแก่เฉพาะผู้มีเงินได้ที่เป็นอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี หรือไม่ก็ต้องเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย กล่าวคือ เป็นผู้มีชื่อในทะเบียนราษฎร์ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร์ของไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้มีเงินได้ดังกล่าวจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าว

2. ต้องเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย รวมทั้งกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย หรือจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น กองทุนสินภิญโญ กองทุนทรัพย์ทวิ เป็นต้น

3. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล รวมทั้งกิจการร่วมค้า เว้นแต่กองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้ผ่านการเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิมาแล้ว

ปุจฉา กรณีใดบ้างที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไร แต่ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

วิสัชนา กรณีดังต่อไปนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่ง ของกำไร โดยไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

1. สำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

(1) กรณีได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยจ่ายจากกำไรของโครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน และได้รับในช่วงเวลาที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนนั้น

(2) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยบริษัทการจัดการกองทุนรวม

(3) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น โรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือกิจการฝึกอบรมภายในแก่พนักงานของตนและพนักงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลในเครือเดียวกัน บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ประกอบกิจการขนส่งสินค้าโดยเรือเดิน ทะเล

2. สำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

(1) เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล ซึ่งกฎหมายกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42(14) แห่งประมวลรัษฎากร

(2) เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากกองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ปุจฉา กรณีได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยได้รับเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล แต่มีการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวภายหลังพ้นระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริมการลง ทุน ผู้ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งขอกำไรดังกล่าวมีภาระภาษีอย่างไร และมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่

วิสัชนา กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล อาจแยกพิจารณาได้ดังนี้

1. กรณีกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนได้จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของ กำไรในช่วงเวลาที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผู้ได้รับเงินปันผลจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด และไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีสำหรับเงินได้ดังกล่าว

2. กรณีกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนได้จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของ กำไรภายหลังพ้นระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว ผู้จ่ายเงินปันผลต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ออกให้แก่ผู้มีเงินได้ว่า “ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร” ด้วย ทั้งนี้ ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด

เครดิตภาษีสำหรับเงินปันผล (3)

ขอ นำประเด็นสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้รับเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายไทย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 มา ปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ

ปุจฉา ช่วยตอกย้ำแนวคิดในการมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อีกสักครั้งหนึ่ง เพราะยังไม่ชัดเจนในส่วนที่เกี่ยวกับเหตุผลความจำเป็น

วิสัชนา เป็นคำถามที่ดี ที่ยังไม่ได้ชี้แจงมาก่อน จึงขอโอกาสนี้กล่าวถึงแนวคิดในการมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้ครับ

1.ในบ้านเรากำหนดหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นสองระดับ กล่าวคือ นอกจากระดับที่เป็นกำไรสุทธิ ซึ่งอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยทั่วไป คือ ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ คงเหลือกำไรสะสมหลังจากเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวนร้อยละ 70 ของกำไรสุทธิ ในระดับที่สอง คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินปันผล ซึ่งเสียภาษีสูงสุดในอัตราร้อยละ 10 ของเงินกำไรสะสมที่เหลือดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 7 ของกำไรสุทธิ

เมื่อรวมภาษีเงินได้ที่ชำระทั้งสองระดับแล้วเทียบกับกำไรสุทธิทั้งสิ้น โดยคิดเป็นอัตรา % ก็จะได้เป็นร้อยละ 37 ของกำไรสุทธิ ซึ่งจะเห็นได้ว่า อัตราร้อยละ 37 เป็นอัตราเดียวกับอัตราสูงสุดของอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นั่นเองเป็นคำตอบว่าทำไมอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรดาสูงสุดจึงเป็นอัตราร้อย ละ 37 ของเงินได้สุทธิ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดความเป็นกลางในการจัดเก็บภาษีเงินได้ทั้งสองประเภท เพราะไม่ว่าจะเลือกประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดาหรือประกอบกิจการในรูป ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลก็ตาม อัตราภาษีเงินได้สูงสุดก็จะไม่เกินร้อยละ 37 ทั้งสองรูปแบบ อันเป็นหลักการของภาษีอากรที่ดี ในข้อที่ว่าด้วย “ความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ”
ดังนั้น หากผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งได้สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละ 10 ของเงินปันผล ตามมาตรา 48(3) แห่งประมวลรัษฎากร ก็จะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าว เสียภาษีเงินได้ทั้งสิ้นร้อยละ 37 ของกำไรสุทธิ

2.กล่าวสำหรับผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่อาจจะมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 37 ของกำไรสุทธิ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดของอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงเกิดแนวคิดที่จะให้ผู้มีเงินได้รายนั้นๆ ได้ความเป็นธรรมในระบบภาษีอากรสูงสุด และเป็นไปตามหลักความสามารถในการเสียภาษีอากร กล่าวคือ หากมีเงินได้น้อยก็ให้เสียภาษีเงินได้ในอัตราต่ำ และเพิ่มอัตราสูงขึ้นไปเป็นขั้นบันไดหรือที่นิยมเรียกกันว่า “อัตราก้าวหน้า” (PROGRESSIVE RATE) ทั้งนี้ โดยให้ผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้รับเงินได้ ที่เป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือมีภูมิลำเนาในประเทศไทย ได้สิทธิเสียภาษีจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น เสมือนเป็นผู้ประกอบกิจการเองแต่เพียงลำพัง จึงให้คำนวณและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากกำไรสุทธิในส่วนของผู้มีเงิน ได้อีกครั้งหนึ่ง สำหรับภาษีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ตนได้เสียไป ก็ให้นำมาเป็นเครดิตหักออกจากจำนวนภาษีที่คำนวณได้ หากเหลือก็ให้มีสิทธิได้รับคืนจากรัฐ

แนวคิดดังกล่าว เป็นแนวคิดที่ประเทศไทยเราได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ อันเป็นแม่แบบของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยเรียกการให้เครดิตในลักษณะนี้ว่า ระบบเครดิตเต็มจำนวน (FULL CREDIT)
แต่เดิมอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระบบอัตราเดียว คือ ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ การบัญญัติกฎหมายมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร จึงกำหนดเป็นการตายตัวว่า เครดิตที่ผู้มีเงินได้ได้รับคิดเป็นอัตราเศษ 3 ส่วน 7 ของเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ผู้มีเงินได้ได้รับ

ครั้นต่อมา มีการพัฒนาระบบอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระบบหลายอัตรา จึงจำเป็นต้องปรับจำนวนเครดิตภาษีให้เป็นธรรมตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นๆ ได้เสียไปจริง

ปุจฉา การจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิที่เกิดจากการรับรู้รายได้ตามเกณฑ์ส่วนได้ส่วนเสีย (EQUITY METHOD) มีผลกระทบต่อการได้รับเครดิตภาษีอย่างไร

วิสัชนา เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากบริษัทที่รับรู้รายได้ตามเกณฑ์ส่วนได้ส่วน เสีย จะไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อบริษัทผู้จ่ายปันผลได้รับเงินปันผลจากบริษัทร่วมหรือบริษัทในเครือ ของตน ก็ไม่มีสิทธินำมาจ่ายเงินปันผลอีก จึงทำให้ผู้ถือหุ้นเสียสิทธิประโยชน์ข้อนี้ไป แต่ข้อดีคือผู้ถือหุ้นได้สิทธิรับเงินปันผลก่อน

เครดิตภาษีสำหรับเงินปันผล (4)

ขอนำประเด็นสิทธิ ประโยชน์เกี่ยวกับการใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้รับเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 มา ปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ

ปุจฉา กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไร จากกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจะได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่

วิสัชนา กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือมีภูมิลำเนาในประเทศไทย และเป็นผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการใน ประเทศไทย และได้ผ่านการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิในอัตรา 30% ของกำไรสุทธิ ผู้มีเงินได้ดังกล่าวก็ย่อมได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรด้วย เนื่องจากกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ถือเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิเช่นเดียวกับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทยทั่วไป เงินส่วนแบ่งของกำไรจึงถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

ปุจฉา กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น กองทุนสินภิญโญ หรือกองทุนทรัพย์ทวี และเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร และผู้ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร จะได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่

วิสัชนา กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม เช่น กองทุนสินภิญโญ กองทุนทรัพย์ทวี ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าว มีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเลือกเสียภาษีเท่าที่ถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 10% ของเงินได้ หรือจะนำเงินส่วนแบ่งของกำไรไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแบบ ภ.ง.ด.90 เมื่อสิ้นปีภาษีตามปกติก็ได้ ซึ่งผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด เนื่องจากเงินได้ของกองทุนรวม และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไร จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 เช่น กองทุนบัวหลวง กองทุนรวงข้าว เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นนี้ผู้ได้รับเงินปันผลไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด เนื่องจากกองทุนดังกล่าวไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และหากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 10% ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการ ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเลือกเสียภาษีเท่าที่ถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย หรือจะนำเงินส่วนแบ่งของกำไรไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแบบ ภ.ง.ด.90 เมื่อสิ้นปีภาษีตามปกติก็ได้ ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 262) พ.ศ.2536

โดยทั้งสองกรณี ผู้จ่ายเงินได้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ออกให้แก่ผู้มีเงินได้ว่า “ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร” ด้วย

ปุจฉา กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการสถานฝึกอบรม เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างของตน หรือของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ผู้ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร จะได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่

วิสัชนา เนื่องจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนและ สถาบันอุดมศึกษา หรือกิจการสถานฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างของตน หรือของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวล รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 284) พ.ศ.2538 ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการดังกล่าว จะไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนและสถาบันอุดมศึกษา ยังได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2(37) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ส่วนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ประกอบกิจการสถานฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างของตน หรือของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ผู้จ่ายเงินปันผลต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 10% ของเงินได้ ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนผู้จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร จะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ออกให้แก่ผู้มีเงินได้ว่า “ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร” ด้วย

เครดิตภาษีสำหรับเงินปันผล (5)

ขอนำประเด็นสิทธิ ประโยชน์เกี่ยวกับการใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีเงินได้ที่เป็นถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้รับเงินปันผลหรือ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 119/2545 มา

ปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

วิสัชนา กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหลายอัตรา เมื่อจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ทราบโดยชัดแจ้งว่า จ่ายจากเงินกำไรสุทธิหลังจากเสียภาษีในอัตราใด ผู้จ่ายเงินได้จะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้น จำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวไม่สามารถทราบโดยชัดแจ้งว่า จ่ายจากเงินกำไรสุทธิหลังจากเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราใด ให้เฉลี่ยเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามส่วนของกำไรสุทธิหลังจากเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลในแต่ละอัตราภาษี และจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้น จำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราใด ซึ่งในกรณีนี้ ทั้งยุ่งยาก และที่สุดแล้วก็ต้องระบุอยู่ดีว่า ได้จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกำไรสุทธิหลังจากเสียภาษีเงิน ได้บุคคลอัตราใด ดังนั้น จึงควรที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหลาย อัตรา เช่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท รวมทั้งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับการลดอัตรา หรือกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จะได้จัดทำบัญชีแยกประเภทกำไรสะสมหลังจากเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมทั้งบัญชีสำรองตามกฎหมาย (สำหรับบริษัทจำกัด) เป็นรายอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อความสะดวกในการจัดสรรกำไรสะสมเป็นเงินปันผล โดยเลือกจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิหลังจากเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอัตราใด ก่อนหลังก็ได้

ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับโทษ กรณีระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิการได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไร วิสัชนา มีแนวปฏิบัติดังนี้

1. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผล แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้โดยถูกต้องและครบถ้วนแล้ว หากผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี หรือนำไปใช้เครดิตภาษีถูกต้องตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผล แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว หากผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่ใช้เครดิตภาษีไม่ถูกต้อง โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบ ถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับผู้มีเงินได้ต้องรับผิดตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงิน ภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียก เก็บภาษีเพิ่มเติมจากผู้มีเงินได้ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร

3. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผล แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร

4. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผล แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้จะได้รับเงินภาษีคืนเกินไป หากผู้มีเงินได้ยังไม่ได้รับเงินภาษีคืน หรือได้รับเงินภาษีคืนแต่ยังไม่เกินกว่าจำนวนที่พึงได้รับ ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร

5. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผล แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบ ถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืน เกินไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียก เก็บภาษีเพิ่มเติมจากผู้จ่ายเงินได้ก่อน

แต่ถ้าเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้จ่ายเงินได้ไม่ได้หรือไม่ครบ จำนวนที่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้มีเงิน ได้ ตามมาตรา 18 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินปันผลจากผู้จ่ายเงินได้หลายราย และผู้จ่ายเงินได้บางรายแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการ หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง หากผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบ ถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงิน ภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

เครดิตภาษีสำหรับเงินปันผล (6)

ขอนำประเด็นสิทธิ ประโยชน์เกี่ยวกับการใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีเงินได้ที่เป็นถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้รับเงินปันผลหรือ เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 มาปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ

ปุจฉา กรณีบริษัทจดทะเบียน บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการดังต่อไปนี้ ผู้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าว จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ อย่างไร

1. บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

2. กองทุนรวมทั้งกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น กองทุนสินภิญโญ กองทุนทรัพย์ทวี และกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535

3. กิจการร่วมค้า (JOINT VENTURE: JV) ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร

4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุน

วิสัชนา กรณีดังกล่าวอาจแยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้

1. สำหรับบริษัทจดทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งกรณีบริษัทจดทะเบียนทั่วไป (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาด MAI

(1) กรณีได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการดังต่อไปนี้ ให้ได้สิทธิไม่ต้องนำเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้นิติบุคคล (ก) บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

(ข) กองทุนรวมทั้งกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และกองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

(ค) กิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

(ง) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน โดยได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ ได้ส่งเสริมการลงทุน และได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวในช่วงเวลาที่ได้รับส่ง เสริมการลงทุน

กรณีตาม (ก) และ (ข) ต้องถือหุ้นหรือหน่วยลงทุนในกิจการผู้จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ดังต่อไปนี้ ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเดือนทั้งก่อนและหลังวันได้รับเงินปันผลหรือเงิน ส่วนแบ่งของกำไร จึงจะได้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว

(1) กรณีได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการดังต่อไปนี้ ต้องนำเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลทั้งจำนวน (ก) ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

2. สำหรับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

(1) กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยได้ถือหุ้นในกิจการผู้จ่ายเงินปันผล ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเดือนทั้งก่อนและหลังวันได้รับเงินปันผล

(ก) บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยทั่วไป ได้สิทธินำเงินปันผลมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียงกึ่งหนึ่ง (50%)

(ข) สำหรับบริษัท HOLDING COMPANY หรือบริษัทจำกัดที่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่น้อยกว่า 25% ของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง และบริษัทจำกัดตามข้อ 1 มิได้ถือหุ้นในบริษัท HOLDING COMPANY ผู้รับเงินปันผลไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และได้ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผลตามข้อ 1 ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเดือนทั้งก่อนและหลังวันได้รับเงินปันผล บริษัท HOLDING COMPANY จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินปันผลที่ได้รับนั้นทั้งจำนวน

(2) กรณีได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร หรือกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 จะได้สิทธินำเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน ได้นิติบุคคลเพียงร้อยละ 50

(3) กรณีได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการร่วมค้า ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลง ทุน และเป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ ได้ส่งเสริมการลงทุน และได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวในช่วงเวลาที่ได้รับส่ง เสริมการลงทุน จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร จากกิจการดังกล่าวทั้งจำนวน

โปรแกรมบัญชีฟรี เท่าที่หามาได้

ผมเองหาโปรแกรมบัญชีทั้งฟรีและไม่ฟรีมาหลายโปรแกรม ใช้โปรแกรมบัญชีมาก็หลายตัวอยู่เหมือนกัน ทั้งของคนไทยและของฝรั่ง แต่เป็นโปรแกรมบัญชีขนาดเล็กและกลางนะครับไม่ใช่โปรแกรมขนาดใหญ่ ปัจจุบันเห็นโปรแกรมบัญชีของคนไทยที่ให้ใช้งานฟรีออกมาอยู่ 2-3 ราย ก็เลยเอามาแนะนำให้ เผื่อใครสนใจอยากลองเอาไปใช้งานดู ของต่างประเทศก็มีนะครับ ส่วนใครนำโปรแกรมไปทดลองใช้แล้วเป็นยังไงก็เอามาเล่าให้ฟังหน่อยก็ดีเหมือนกันนะครับ

โปรแกรมบัญชีฟรีของคนไทย

1. โปรแกรมบัญชี Formula Smartbiz, Formula Accounting Firm, Formula Smallbiz, Formula Payroll  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.kiatchai.com/archives/138 ต้องเข้าไปลงทะเบียนเพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมและคู่มือการใช้งาน ที่นี่ http://crystalsoftwaregroup.com/index.asp?pageid=1531&pagelink=yes&parent=1186

2. โปรแกรมบัญชีล้านนา เดิมที่เป็นโปรแกรมบัญชีบ้านเชียง รุ่นที่ใช้งานฟรี แต่เปลี่ยนชื่อมาเป็น โปรแกรมบัญชีล้านนา มีให้โหลด 2 รุ่นคือ Lanna Acoount for Windows กับ Lanna POS for windows สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้โดยไม่ต้องลงทะเบียน (ไม่มีคู่มือการใช้งานต้องสั่งซื้อเพิ่มเติม) ที่ http://www.lannasoft.com/download.php 

3. โปรแกรมบัญชี MyGL โปรแกรมนี้จัดทำขึ้นโดยสภาวิชาชีพบัญชี เป็นระบบัญชีแยกประเภท สามารถนำไปใช้งานได้ฟรี มีคู่มือการใช้งานโปรแกรม อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ http://www.fap.or.th/MY_GL/

4. โปรแกรมระบบบัญชีแยกประเภทสำหรับธุรกิจสหกรณ์ เห็นบอกว่าสามารถนำมาใช้จัดทำบัญชีและงบการเงินของธุรกิจได้ ต้องลงทะเบียนเพื่อสมัครสมาชิกก่อนจึงจะสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม พร้อมทั้งคู่มือการใช้งานได้ทันที หรือสามารถเรียนรู้วิธีการใช้ ที่ http://accsoft.cad.go.th/fap/index_accsoft.php

 

โปรแกรมบัญชีฟรีของต่างประเทศ

1. โปรแกรมบัญชี OpenBravo ERP เป็น open source ของ linux ใช้งานฟรี สามารถเข้าไปทดลองการใช้งานโปรแกรมได้ที่ http://demo3.openbravo.com/openbravo/security/Login_FS.html หรือเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมภาษาอังกฤษได้ที่ http://wiki.openbravo.com/wiki/Virtual_appliances สำหรับใครที่ต้องการดาวน์โหลดโปรแกรมมีให้เลือก 2 รุ่นคือ OpenBravo ERP และ OpenBravo POS เข้าไปดาวน์โหลดได้ที่นี่ http://www.openbravo.com/downloads/ โดยจะมีแบบสอบถามให้ติ๊ก และใส่ชื่อที่อยู่ของเรา (อันนี้ไม่ใส่ก็ได้ สามารถกด Skip ข้ามขั้นตอนได้) หรือไม่ก็เข้าไปโหลดตรงที่นี่ได้ http://sourceforge.net/project/showfiles.php?group_id=162271&package_id=183066

2. โปรแกรมบัญชี TurboCash อันนี้เป็นโปรแกรมบัญชี open source ใช้งานฟรี ของฝรั่ง รองรับ 17 ภาษาเห็นมีภาษาไทยด้วยนะครับ แต่ถ้าต้องการคู่มือภาษาไทย คำแนะนำการใช้งาน และโปรแกรมเสริม (Plugin) ต้องซื้อเพิ่มเติม เห็นมีคนทำออกมาขายประมาณ 1,750 บาท TurboCash เป็นโปรแกรมบัญชีแยกประเภท โปรแกรมเจ้าหนี้-รายจ่าย/ลูกหนี้-รายรับ โปรแกรมระบบลูกหนี้-เจ้าหนี้ และมีโปรแกรมระบบ POS รวมอยู่ด้วย สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://sourceforge.net/forum/forum.php?forum_id=586304

3. Microsoft Office Accounting Express 2009 (U.S.Version) สำหรับระบบบัญชีที่มี ได้แก่  General ledger, A/R, A/P, invoicing, bill payment and online banking สามารถดาวน์โหลดเวอร์ชั่นฟรี ได้ที่ http://www.ideawins.com/downloads1.aspx

4. Microsoft Office Acoounting Express 2008 (U.K.Version) สำหรับระบบบบัญชีที่มี ได้แก่ General ledger, Sales Ledger, Purchase Ledger, invoicing, payments and banking สามารถดาวน์โหลดเวอร์ชั่นฟรี ได้ที่ http://www.msofficeaccounting.co.uk/Downloads1.aspx แนะนำว่าควรใช้ UK Version เนื่องจากที่อังกฤษจะใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนในประเทศไทย

5. โปรแกรมบัญชี Dynacom Accounting (Startup Edition) ปัจจุบันเห็นออกมาเป็น Version 11 แล้วนะครับ รุ่น Startup Edition จะเป็น Free Version ประกอบไปด้วยโมดูล Bank, Customization, General Ledger, Payroll, Purchase, Sales, Tools สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.dynacom.com/downloads/FreeVersion.aspx

แนะนำว่าให้ใช้ของคนไทยดีกว่านะครับ ผมว่าใช้งานได้ง่ายกว่า รองรับในเรื่องของระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ด้วย ส่วนโปรแกรมบัญชีฟรีของต่างเทศ ส่วนใหญ่แล้วจะมีขนาดไฟล์ใหญ่และกิน Spec เครื่องสูง ใครทดลองใช้โปรแกรมไหนแล้วเป็นยังไงก็ช่วยเอามาเล่าให้ฟังหน่อย หรือถ้าใครเจอว่ามีโปรแกรมบัญชีที่ไหนฟรีอีกก็ช่วยแนะนำมาด้วยนะครับ

ถามตอบ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

  • คำถาม : ลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต สำหรับบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยมีขั้นตอนอย่างไร
    คำตอบ : ขั้นตอนการลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต สำหรับบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยมีขั้นตอนดังนี้

             1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากรที่ www.rd.go.th => เลือก ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ เลือก บริการอิเล็กทรอนิกส์ => เลือก ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
             2. เมื่อปรากฏหน้าจอของสำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ท่านดูในส่วน WHAT’S NEW หัวข้อ “ภ.ง.ด.90/91” => เลือก [ลงทะเบียน]
             3. หน้าจอจะปรากฏสถานะของผู้มีหน้าที่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาให้เลือกได้แก่
                           บุคคลธรรมดา 
                                   สัญชาติไทย 
                                   ต่างด้าว 
                           คณะบุคคล 
                           ห้างหุ้นส่วนสามัญ 
                           กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง
    หากท่านเป็นบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย ก็ให้เลือกหัวข้อ “บุคคลธรรมดา” “สัญชาติไทย”
             4. หน้าจอจะปรากฏช่องว่างในส่วนต่าง ๆ ขึ้นมา 5 ส่วน ให้ท่านกรอกรายละเอียดในแต่ละช่องให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามคำแนะนำที่ปรากฏอยู่ข้างท้าย ของแต่ละส่วนให้ถูกต้อง
             5. ส่วนที่ 1 ให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้

    เลขประจำตัวประชาชน

    ให้กรอกเลขประจำตัวประชาชน (13 หลัก) ของผู้มีเงินได้ที่ต้องการลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 (ห้ามใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี)

    ชื่อและชื่อสกุล

    ให้กรอกชื่อและชื่อสกุลของผู้มีเงินได้ (ไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อ)

    วันเดือนปีเกิด

    ให้กรอกวันเดือนปีเกิดเป็นตัวเลขทั้งหมด เช่น เกิดวันที่ 28 ธันวาคม 2498 ให้กรอก 28/12/2498 (กรณีทราบเพียง พ.ศ.เกิด ให้กรอกวัน/เดือน เป็น 00/00 แล้วตามด้วย พ.ศ.เกิด)

    ชื่อและชื่อสกุลบิดา

    ชื่อและชื่อสกุลของบิดาของผู้มีเงินได้โดยไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ ให้กรอกระหว่างชื่อและชื่อสกุลให้เว้นวรรคอย่างน้อย 1 ตัวอักษร

    ชื่อและชื่อสกุลมารดา

    ให้กรอกชื่อและชื่อสกุลของมารดาของผู้มีเงินได้โดยไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อระหว่างชื่อและชื่อสกุลให้เว้นวรรคอย่างน้อย 1 ตัวอักษร

    เบอร์โทรศัพท์

    ให้กรอกหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ (จะเป็นหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือหมายเลขโทรศัพท์บ้านก็ได้)

             6. ส่วนที่ 2 หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน (Userid และ Password)

    หมายเลขผู้ใช้

    ระบบจะ แสดงหมายเลขผู้ใช้ (เลขประจำตัวประชาชน) ให้อัตโนมัติเมื่อท่านกรอกเลขประจำตัวประชาชนในส่วนที่ 1โดยท่านไม่ต้องกรอกข้อมูลซ้ำอีก

    รหัสผ่าน

    ท่าน สามารถกำหนดรหัสผ่านได้เอง เป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 8 ตัวอักษร ต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับชื่อผู้ใช้ และไม่ใช้คำว่า  “password” (รายละเอียดในการตั้งรหัสผ่านให้ดูคำแนะนำคำถามคำตอบข้อที่ 2)

             7. ส่วนที่ 3 เลือกคำถามเพื่อใช้ในกรณีที่ท่านลืมรหัสผ่าน

    คำถาม

    ให้ท่านเลือกคำถามโดยใช้ปุ่ม drop down แล้วเลือกคำถามที่มีอยู่

    คำตอบ

    ให้ ท่านใส่คำตอบให้สัมพันธ์กับคำถามที่เลือกไว้ก่อนแล้ว การตั้งคำถามคำตอบจะเป็นประโยชน์กรณีที่ท่านลืมรหัสผ่าน ระบบจะให้ท่านกรอกข้อมูลคำถามคำตอบ ที่ท่านกำหนดไว้ เพื่อทำการค้นหารหัสผ่านให้ท่าน โดยไม่ต้องเสียเวลาในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ดังนั้นควรเลือกคำถามและคำตอบให้เหมาะสมควร เป็นข้อมูลที่ท่านสามารถจดจำได้ง่าย แต่ผู้อื่นไม่สามารถคาดเดาได้ เพื่ป้องกัน มิให้ผู้อื่นทราบรหัสของท่านและเข้าไปดูข้อมูลส่วนตัวของท่านโดยที่ท่านไม่ อนุญาต

             8. ส่วนที่ 4 ระบุอีเมล์ของท่าน
                           อี เมล์ของท่าน : ให้ท่านกรอกอีเมล์ของท่านที่สามารถติดต่อได้ (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อของเจ้าหน้าที่ (กรณีที่ไม่มีอีเมล์ไม่ต้องกรอกก็ได้)
             9. ส่วนที่ 5 รับข้อตกลง
                           ให้ ท่านคลิ๊กที่ ข้อตกลง ระบบจะแสดงรายละเอียดข้อตกลงในการลงทะเบียน เมื่อท่านเข้าใจและยอมรับเงื่อนไขในข้อตกลง ดังกล่าว ให้ท่านคลิ๊กที่ ปุ่มยอมรับ จากนั้นระบบจะกลับไปที่หน้าจอลงทะเบียน ให้ท่านตรวจสอบข้อมูลที่ท่านได้กรอกไว้ ในแต่ละส่วนอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเห็นว่าข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้คลิ๊ก ปุ่มลงทะเบียน หากมีข้อผิดพลาดที่ส่วนใดจะปรากฏข้อความแจ้งเตือน ให้ท่านแก้ไขตามที่ระบบแจ้งเตือนให้ถูกต้อง

  • คำถาม :  การตั้งรหัสผ่าน กรณีลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต มีข้อกำหนดอย่างไร
    คำตอบ : ข้อกำหนดในการตั้งรหัสผ่าน

         1. รหัสผ่านต้องมีความยาว 8 ตัวอักษร
         2. ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษได้ (ทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่)
         3. ใช้ตัวเลข และ/หรือ สัญลักษณ์ได้
         4. ไม่ใช้ คำว่า “password”
         5. ต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับชื่อผู้ใช้

    คำแนะนำ
    1. การสร้างรหัสผ่านที่มีความปลอดภัย
             (1) ไม่ควรใช้คำที่เดาได้ง่าย เช่น คำในพจนานุกรม หรือชื่อของคน สถานที่ หรือสิ่งของ
             (2) ไม่ควรใช้ตัวอักษรหรือตัวเลขเรียงลำดับต่อเนื่องกัน (เช่น abcdef หรือ 12345678)
             (3) ควรใช้การผสมกันของตัวอักษร ตัวเลข และ/หรือ สัญลักษณ์
    2. การตั้งรหัสผ่านที่จำได้ง่าย
             (1) ผสมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเข้าด้วยกัน แล้วนำไปรวมกับตัวเลข
             (2) ย่อกลุ่มคำ หรือ สำนวนที่ท่านสามารถจดจำได้ 
             (3) ตัดสระออกจากคำพูดซึ่งเป็นที่ชื่นชอบ แล้วเพิ่มตัวเลขลงไป
         3. การป้องกันรหัสผ่าน เก็บรักษารหัสผ่านของท่านไว้ในที่ปลอดภัย เพื่อไว้ใช้ในปีต่อไป

  • คำถาม : ลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต และมีรหัสผู้ใช้กับรหัสผ่านแล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ สามารถทำได้หรือไม่
    คำตอบ : ได้ โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

             1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากรที่ www.rd.go.th => ในส่วนของ Hot Menu เลือก ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ เลือก บริการอิเล็กทรอนิกส์ => เลือก ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
             2. เมื่อปรากฏหน้าจอของสำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ท่านดูในส่วน WHAT’S NEW หัวข้อ “ภ.ง.ด.90/91” => เลือก [เปลี่ยนรหัสผ่าน]
             3. หน้าจอจะปรากฏ “บริการเปลี่ยนรหัสผ่าน สำหรับผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91/94 ปีภาษี 2551 ผ่านอินเทอร์เน็ต”
             4. ให้ท่านกรอกข้อมูลในช่องว่างให้ถูกต้องตามคำแนะนำที่ปรากฏ โดยที่ท่านจะต้องจำรหัสผ่านเดิมได้ และ สามารถกำหนดรหัสผ่านใหม่ได้ด้วยตัวเอง (ซ้ำ 2 ครั้ง) แล้วกดปุ่มยืนยัน ท่านก็จะสามารถใช้รหัสผ่านใหม่ ในการดำเนินการเกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทันที 

  • คำถาม : ลงทะเบียนและยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่จำรหัสผ่านไม่ได้จะต้องทำอย่างไร
    คำตอบ : กรณีลืมรหัสผ่านสามารถนำเม้าส์คลิ้กที่ตัวอักษร "ลืมรหัส" เพื่อกรอกข้อมูลและเลือกคำถามคำตอบที่ได้ให้ไว้เมื่อครั้งที่สมัครเข้ายื่น แบบฯ ถ้ากรอกข้อมูลได้ตรงกัน ระบบจะแสดงรหัสที่เคยตั้งไว้ เพื่อนำไปใช้ในการเข้าระบบยื่นแบบแสดงรายการภาษี
  • คำถาม : ลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ลืมคำถาม- คำตอบที่ได้เลือกไว้ จะขอรหัสผ่านใหม่ได้หรือไม่
    คำตอบ : สามารถติดต่อที่หมายเลข 0-2272-8000 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 18.00 น. ทุกวันทำการ (เฉพาะเดือน มีนาคม 2552 ให้บริการตั้งแต่เวลา 08.30 – 20.00 น. และวันเสาร์ ให้บริการตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น.)
  • คำถาม : ลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบแจ้งว่า ชื่อบิดา มารดา ไม่ตรงกับฐานข้อมูลกรมสรรพากร จะต้องดำเนินการอย่างไร
    คำตอบ : ให้ติดต่อ สรรพากร Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 0-2272-8000 หรือที่ว่าการเขต/อำเภอ/กิ่งอำเภอ เพื่อขอตรวจสอบชื่อบิดา มารดา จากฐานข้อมูลสำนักทะเบียนราษฎร์ที่คัดค้นข้อมูลด้วยเลขประจำตัวประชาชนของ บุตร หากชื่อบิดา มารดาไม่ตรงกับฐานข้อมูลสำนักทะเบียนราษฎร์ ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขฐานข้อมูลสำนักทะเบียนราษฎร์ และส่งเอกสารที่ได้แก้ไขชื่อบิดา มารดาแล้วไปที่ สรรพากร Call Center ทางโทรสารหมายเลข 0-2272-9861 และหมายเลข 0-272-9858 เพื่อรวบรวมส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
  • คำถาม : ผู้สูงอายุยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบแจ้งวันเดือนปีเกิดเป็น 01/01/544 ต้องทำอย่างไร
    คำตอบ : กรณีผู้สูงอายุยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ระบบแจ้งวันเดือนปีเกิดเป็น 01/01/544 ให้ส่งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมระบุเลขประจำตัวประชาชนเพื่อความชัดเจน ไปที่ สรรพากร Call Center ทางโทรสารหมายเลข 0-2272-9861 หรือ 0-2272- 9858 เพื่อรวบรวมส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
  • คำถาม : คนต่างด้าวขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรทางอินเทอร์เน็ต ได้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรแล้ว สามารถนำไปลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ผ่านอินเทอร์เน็ตทันทีได้หรือไม่
    คำตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากระบบขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรทางอินเทอร์เน็ตมิใช่ระบบ Online ต้องให้ระยะเวลาในการปรับปรุงฐานให้เป็นปัจจุบัน จึงจะสามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ทางอินเทอร์เน็ตได้
  • คำถาม : ชาวต่างชาติลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบแจ้งว่า ชื่อ หรือวัน/เดือน/ปีเกิด ไม่ตรงกับฐานข้อมูลกรมสรรพากร จะแก้ไขอย่างไร
    คำตอบ : ยื่นแบบ ล.ป.10.1 ณ สำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่มี ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสำนักงานประจำตั้งอยู่ก็ได้ โดยแนบภาพถ่ายหนังสือเดินทางพร้อมบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม(ถ้า มี) ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ เรื่องกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร
  • คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต บันทึกข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตไม่ได้ ระบบแจ้งว่า "M003 เกินสิทธิที่ได้รับลดหย่อน" จะต้องดำเนินการอย่างไร
    คำตอบ : ให้ตรวจสอบสาเหตุที่บันทึกข้อมูลไม่ได้ อาจเกิดจาก

             1. ยังมิได้พิมพ์จำนวนเงินได้พึงประเมิน
             2. บันทึกข้อมูลไม่ถูกต้อง โดยต้องบันทึกที่ค่าลดหย่อนจำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
             3. กรณีมีคู่สมรส หากภริยาไม่มีเงินได้ ได้รับลดหย่อนเพียง 10,000 บาท
             4. กรณีมีเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ส่วน ก ข้อ 12 น้อยกว่า 90,000 บาท ให้บันทึกข้อมูลเท่ากับจำนวนเงินได้สุทธิ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้เป็นการยกเว้นเงินได้ หากมีเงินได้สุทธิเท่าใดก็ให้ได้รับยกเว้นเท่านั้นแต่ไม่เกิน 90,000 บาท 

  • คำถาม : มีเงินได้จากเงินเดือน 4 ล้าน และถูกหักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในระหว่างปีซื้อกองทุนรวม RMF เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ไม่เกิน 500,000 บาท แต่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ใช้สิทธิลดหย่อนกองทุนรวม RMF ทั้งจำนวนในส่วน ค ระบบแจ้งว่า "M007 ไม่มีสิทธิได้รับลดหย่อน" เพราะสาเหตุใด
    คำตอบ : ค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม RMF ต้องไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อปี ดังนั้น ในการกรอกแบบ ภ.ง.ด.91 ส่วน ค ให้กรอก 5,000 บาท ส่วนที่เหลือให้นำไปรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนที่เกิน 10,000 บาท ในส่วน ข ซึ่งเป็นรายการยกเว้นได้
  • คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ในหน้าจอบันทึกข้อมูลผู้จ่ายเงินได้ ให้กรอกอย่างไร
    คำตอบ : ให้กรอกหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ (กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นนิติบุคคล) หรือหมายเลขประจำตัวประชาชน (กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา) ในแต่ละช่องตามประเภทเงินได้นั้นๆ โดยดูได้จากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้ออกให้ กรณีเงินได้ประเภทหนึ่งๆ มีผู้จ่ายเงินได้หลายราย ให้เลือกกรอกเพียงรายเดียว
  • คำถาม : การบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองมีหลักเกณฑ์อย่างไร
    คำตอบ : การบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองมีหลักเกณฑ์ และวิธีการดังนี้

              1. ผู้บริจาคต้องเป็นบุคคลธรรมดา และมีสัญชาติไทย โดยผู้บริจาคต้องระบุความประสงค์ไม่บริจาค หรือบริจาคในช่องที่กำหนดไว้ในแบบ ภ.ง.ด.90/91 ถ้าบริจาคให้ใส่รหัสพรรคการเมืองที่ต้องการบริจาค และ สามารถค้นหารหัสพรรคการเมืองจากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง www.ect.go.th หรือกรมสรรพากร www.rd.go.th หากไม่ระบุความประสงค์ หรือไม่ระบุรหัสพรรคการเมือง ไว้ในช่องที่กำหนดถือว่า ไม่ได้แสดงเจตนาบริจาค 
                2. การแสดงเจตนาบริจาคเงินภาษีให้แก่รหัสพรรคการเมืองตาม 1. จะบริจาคได้เพียง 1รหัสพรรคการเมือง โดยบริจาคได้ปีละ 100 บาท และจะแสดงเจตนาบริจาคได้เมื่อผู้บริจาคมีเงินภาษีที่ต้องเสีย ตั้งแต่ 100 บาท ขึ้นไป
                3. การแสดงเจตนาบริจาคเงินภาษีให้แก่รหัสพรรคการเมืองตาม 1. ห้ามมิให้นำไปหักเป็นค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร
                4. ผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิระบุการแสดงเจตนาบริจาคเงินภาษีให้แก่รหัสพรรคการ เมืองในแบบแสดงรายการ ให้ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้
                      (1) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ฝ่ายที่มีเงินได้เป็นผู้ระบุความประสงค์ในแบบแสดงรายการภาษี
                      (2) กรณีสามีหรือภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีสิทธิระบุความประสงค์ในแบบแสดงรายการภาษี

  • คำถาม : หลังจากได้ดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 แล้วจะสามารถทราบได้อย่างไรว่า กรมสรรพากรได้รับแบบฯ แล้ว และถือว่าการยื่นแบบฯ นั้นเสร็จสมบูรณ์
    คำตอบ : เมื่อทำรายการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตเสร็จสมบูรณ์ กรมสรรพากรจะยืนยันข้อมูลและตอบรับการยื่นแบบฯ โดยแจ้งผลการยื่นแบบพร้อมหมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบให้ทราบทันทีที่หน้าจอ และหากมีภาษีที่ต้องชำระ การยื่นแบบฯ จะเสร็จสมบูรณ์เมื่อได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรเรียบ ร้อยแล้ว
  • คำถาม : ภายหลังจากได้ดำเนินการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90/91 จะสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินและแบบฯ ได้เมื่อใดและ หากยังไม่ได้ดำเนินการจัดพิมพ์จะสามารถจัดพิมพ์ได้จนถึงเมื่อใด
    คำตอบ : สำหรับผู้ที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถดำเนินการจัดพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน และแบบฯ ด้วยตนเองได้ทางเว็บไซต์ ภายหลังจากวันที่ยื่นแบบฯ 2 วันทำการ โดยเลือกหัวข้อ "พิมพ์แบบฯ / ใบเสร็จ" และ Log in เข้าสู่ระบบด้วยหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน ให้สังเกตวันที่ที่ปรากฏอยู่หน้าจอว่า สามารถพิมพ์ได้ถึงวันที่เท่าใด (สำหรับการพิมพ์แบบฯ สามารถพิมพ์ได้ทันทีที่ทำรายการเสร็จ แต่ถ้าหากออกจากหน้าจอพิมพ์แบบฯ มาแล้วจะต้องรอให้ประมวลผลเสียก่อนประมาณ 2 วันทำการ) ทั้งนี้ สามารถจัดพิมพ์ใบเสร็จรับเงินและแบบฯ ย้อนหลังได้ไม่เกิน 1 ปี หากประสงค์จะพิมพ์แบบฯ หลังจากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว สามารถดำเนินการติดต่อขอคัดแบบฯ ได้ที่สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร
  • คำถาม : ในกรณีที่พบว่ารายการข้อมูลการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ไม่ถูกต้อง ต้องดำเนินการอย่างไร
    คำตอบ : กรณีที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อมาภายหลังพบว่าข้อมูลที่แจ้งไว้นั้นไม่ถูกต้อง สามารถดำเนินการได้ดังนี้

              1. กรณีที่เป็นแบบฯ ที่มีภาษีชำระแต่ยังไม่ได้ชำระ ให้ Log in เข้าสู่ระบบจะปรากฏสถานะแบบค้างชำระให้ Double Click ที่ หมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบ จะปรากฏแบบฯ ขึ้นมา ให้ทำการยกเลิกการยื่นแบบฯ ฉบับนั้น โดยกดปุ่ม “ยกเลิกการยื่นแบบ” (ที่ด้านล่างของแบบ) แล้วทำการยื่นแบบฯ ใหม่
              2. กรณีที่เป็นแบบฯ ที่มีภาษีชำระและได้ชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว หรือเป็นแบบฯ ที่ไม่มีภาษีชำระ หรือเป็นแบบฯ ที่มีเงินคืนภาษี ถือว่าการยื่นแบบเสร็จสมบูรณ์ ไม่สามารถดำเนินการยกเลิกการยื่นแบบฯ ได้ ให้ทำรายการยื่นแบบฯ ใหม่โดยการ Log in เข้าสู่ระบบ และบันทึกรายการ ข้อมูลใหม่ทั้งหมด โดยกรมสรรพากรจะถือว่าแบบฯ ที่ยื่นฉบับล่าสุดเป็นแบบฯ ที่ถูกต้องที่สุด แต่หาก เป็นแบบฯ ที่มีเงินคืนภาษีจะทำให้การได้รับเงินคืนช้าลงเล็กน้อย เพราะเป็นแบบฯ ที่ติดเงื่อนไข เนื่องจากมีการยื่นแบบฯ มากกว่าหนึ่งฉบับในปีภาษีเดียวกัน

  • คำถาม : ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 แล้ว หากพบว่าที่อยู่ที่แจ้งไว้ไม่ถูกต้องซึ่งอาจทำให้ไม่ได้รับเช็คคืนภาษี จากกรมสรรพากร ต้องดำเนินการอย่างไร
    คำตอบ : ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต หากที่อยู่ที่แจ้งไว้ไม่เป็นปัจจุบัน หรือต้องการเปลี่ยนแปลงให้เป็นที่อยู่ที่สะดวกในการติดต่อ สามารถแก้ไขได้ทันทีที่หน้าจอก่อนทำรายการยื่นแบบฯ เท่านั้น หากดำเนินการยื่นแบบฯ เสร็จเรียบร้อยแล้วจะไม่สามารถแก้ไขที่อยู่ได้ ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะจัดส่งหนังสือแจ้งคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาพร้อมเช็คไปให้ทาง ไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้กับกรมสรรพากร ซึ่งหากไม่มีผู้รับไปรษณีย์จะส่งคืน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (จังหวัด) ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏตามแบบฯ ดังนั้น ผู้ขอคืนสามารถติดต่อขอรับเช็คฉบับดังกล่าวได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (จังหวัด) ฝ่ายคืนเงินภาษี
  • คำถาม : การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต หากวันสุดท้ายของการยื่นแบบฯ ตรงกับวันหยุดราชการสามารถยื่นแบบฯ ในวันถัดไปได้หรือไม่
    คำตอบ : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถยื่นแบบฯ ได้ตามเวลาที่กฎหมายกำหนดทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และหากวันสุดท้ายของการยื่นแบบฯ ตรงกับวันหยุดราชการ สามารถยื่นแบบฯ ได้ในวันทำการถัดไป แต่หากเป็นแบบฯ ที่มีภาษีชำระต้องทำรายการยื่นแบบและชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อนเวลา 22.00 น. ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการสิ้นสุดระยะเวลาในการให้บริการของหน่วยรับชำระภาษีที่เลือก เช่น ธนาคาร / ไปรษณีย์ / ATM
  • คำถาม : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องนำส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการหักค่าลดหย่อนให้กรมสรรพากรหรือไม่ และหากไม่ต้องนำส่งต้องเก็บรักษาเอกสารไว้นานเท่าใด และกรมสรรพากรมีวิธีการตรวจสอบข้อมูลอย่างไร
    คำตอบ : การยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ตไม่ต้องนำส่งเอกสารหลักฐานแต่อย่างใด แต่ผู้เสียภาษียังคงต้องเก็บรักษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการลดหย่อนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี กรณีมีเหตุสงสัย เจ้าหน้าที่สรรพากรอาจขอตรวจสอบดูเอกสารหลักฐาน จะต้องนำมาแสดงตามที่ได้ใช้สิทธิ์ไว้ ซึ่งกรมสรรพากรมีระบบการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายในและภายนอก ดังนั้น หากข้อมูลใดไม่สามารถสืบค้นได้ จึงจะขอดูเอกสารหลักฐานเฉพาะบางประเด็นที่จำเป็นเท่านั้น
  • คำถาม : ทำไมวันที่ 1 เมษายน 2552 ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ตไม่ได้ และต้องชำระค่าปรับอย่างไร
    คำตอบ : เนื่องจากการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการให้บริการสำหรับการยื่นแบบฯ ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ 31 มีนาคม 2552 เมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 แล้วต้องไปยื่นแบบฯ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเท่านั้น และต้องเสียค่าปรับดังนี้

                 ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 100 บาท
                 เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 200 บาท
       หากมีเงินภาษีต้องชำระ ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย

  •  

    ที่มา..กรมสรรพากร