กุมภาพันธ์, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 5 กุมภาพันธ์, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 5

เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี

เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี?

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี มีอยู่หลายกรณีที่สำคัญๆ ได้แก่ การยกเว้นตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 การยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับต่างๆ เป็นต้น  เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมีดังนี้

1. ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือ ค่าพาหนะ ซึ่ง ลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงาน ให้ได้จ่ายไปโดยสุจริต ตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมด ในการนั้น
2. ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตรา ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
3. เงินค่าเดินทางซึ่ง นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็น เพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างสิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการย้ายกลับ ถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายใน 365 วัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง
4. ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากันโดยสุจริตก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดว่า นายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัส ให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเดียวเมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดแล้ว แม้ เงินเต็มจำนวนนั้นจะได้ชำระภายหลังที่ใช้ บทบัญญัติในส่วนนี้ก็ดี เงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัส  ส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงาน อันได้ทำในเวลาก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 นั้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
5. เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าสำหรับข้าราชการสถานทูต หรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
6. เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล
7. เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้
8. ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่ได้รับยกเว้นภาษี ได้แก่ ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้
(1) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภท ฝากเผื่อเรียก
(2) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
(3) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภท ออมทรัพย์เฉพาะ กรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดี ประกาศ(มาตรา 42(8))
(4) ดอกเบี้ยเงินฝากที่เกิดจากการฝากเงินกับธนาคารในประเทศไทยและจากสหกรณ์ออม ทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ในประเทศ เป็นรายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 24 เดือน นับแต่วันที่ฝาก โดยมียอดเงินฝากแต่ละคราวเท่ากันแต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือนและรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 600,000 บาท
9. การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไปหรือแพ
10. เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
11. รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสิน ของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความ ผิด
12. บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด
13. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัยหรือการฌาปนกิจสงเคราะห์
14. เงินส่วนแบ่งกำไรจาก ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งต้องเสียภาษี ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม
15. เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าว อันเกิดจากกสิกรรมที่ตนและหรือครอบครัว ได้ทำเอง
16. เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดกซึ่งได้เสียภาษีเงินได้ไว้ในนามของกองมรดกแล้ว
17. รางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย เงินได้จากการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุง กาชาดไทย
18. ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการคืนเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
19. เงินได้ที่เป็นเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนที่สหกรณ์จ่ายให้แก่สมาชิก
20. เงินปันผลที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบการขนส่งทางทะเลและ ถือกรรมสิทธ์เรือ ไทย หรือที่ประกอบกิจการอู่เรือที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ก็ต่อเมื่อได้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวล รัษฎากรแล้ว
21. เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
22. เงินได้ของกองทุนรวม
23. เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตน ได้รับจากกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วย การประกันสังคม
24. เงินได้จากกิจการโรงเรียนราษฎร์ (โรงเรียน เอกชน) แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายของ การรับจ้างทำของหรือการให้บริการอื่นใดที่โรงเรียนราษฎร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาได้รับจากผู้ซึ่งมิใช่นักเรียน
25. เงินได้จากการจำหน่ายหรือส่วนลดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งของรัฐบาล
26. เงินได้ส่วนที่เป็นค่าจ้างการทำงานในระหว่างเวลาปิดภาคการศึกษาของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือนิสิตที่เข้ามาศึกษา ณ สถานศึกษาในประเทศไทย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
27. เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ
(1) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย
(2) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว
ทั้งนี้ เงินจำนวนดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
28. เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เป็นเงินค่าเช่าบ้าน หรือ เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้ อยู่บ้านที่ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร เงินยังชีพหรือ เงินค่าอาหารทำการนอกเวลา
29. เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่าที่ผู้มี เงินได้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความเป็นจริง หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้ อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าและรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้
30. เงินช่วยการศึกษาบุตร เงิน ช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดารหรือเงินยังชีพที่ได้รับจาก รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในอัตราเดียวกับที่ทางราชการให้ แก่ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าว ให้
31. รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีอากร
32. ดอกเบี้ยเงินสะสมที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจ ซึ่ง มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้ แก่ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าว ให้
33. เงินได้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้รับจากรัฐบาลของตน ทั้งนี้ โดยให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
34. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนและเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ที่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้รับจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ
35. ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์เฉพาะเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ ซึ่งใช้สมุดคู่ฝากในการฝากถอน
36. เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้เบิกจ่ายได้
37. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือ ค่าจ้างและเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ที่คน ต่างด้าวซึ่งไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับจาก
(1) คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานในการปฏิบัติงาน ในประเทศไทย
(2) รัฐบาลแห่งประเทศของตนในการปฏบัติงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพจาก อินโดจีนในประเทศไทย
38. เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือ อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการ ให้โดยเสน่หาที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยาหรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น
39. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบ ครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน บุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมด้วย
40. เงินได้จากการขายสินค้ายาสูบที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังได้เสียภาษีเงินได้แทน ผู้ขายสินค้าดังกล่าวทุกทอดตามมาตรา 48 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
41. ดอกเบี้ยพันธบัตรหรือดอกเบี้ยหุ้นกู้ หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายพันธบัตร หรือหุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ทั้งนี้ เฉพาะพันธบัตรหรือหุ้นกู้ของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และผู้มีเงินได้นั้นมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
42. ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
43. เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงเงินได้ จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร
44. เงินได้จากการขายโลหะดีบุกตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 สำหรับโลหะดีบุกที่ซื้อมาระหว่างวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ทั้งนี้ เฉพาะที่ไม่นำรายจ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการซื้อและขายโลหะดีบุกดังกล่าว ไปรวมคำนวณเป็นรายจ่ายในการคำนวณเงินได้สุทธิ
45. เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร แล้วแต่กรณีจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคลหรือจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทย ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่เป็นการคำนวณจากเงินได้จากการขายโลหะดีบุกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 สำหรับโลหะดีบุกที่ซื้อระหว่างวันที่ กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และรายจ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการซื้อและขายโลหะดีบุกดังกล่าว
46. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มี ค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนา
47. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มี ค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมนาชินีนาถ
48. เงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืน และอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน
49. เงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้
(1) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาซื้อตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใดๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและมีการ จำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคา ไถ่ถอน แต่ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาเป็นผู้ทรงคนแรก
(2) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใดๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ไม่มี ดอกเบี้ย
(3) ดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใดๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการเป็นผู้ทรงตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร จากดอกเบี้ย ดังกล่าว ทั้งจำนวนไว้แล้ว
50. เงินได้ที่ผู้เชี่ยวชาญของประชาคมยุโรปที่ เป็นคนต่างด้าวและไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับเนื่องจากการเข้ามาทำ งานในประเทศไทย ภายใต้โครงการความช่วยเหลือที่ประเทศไทยได้รับจากประชาคม ยุโรป
51. เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ แต่ ไม่รวมถึงเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
52. เงินได้ที่คณะกรรมการอำนวยการปรับปรุงพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทได้รับเพื่อประโยชน์ในการสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่และปรับปรุงพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
53. เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในจำนวนคนละ ไม่เกินสองชุดต่อปีและเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี
54. เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตาม กฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
55. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือตายดังนี้
(1) กรณีเกษียณอายุลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
(2) กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและ แสดงความเห็นว่าลูกจ้างผู้นั้นไม่สามารถที่จะทำงานในตำแหน่งหน้าที่ซึ่ง ปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป ไม่ว่าเหตุทุพพลภาพนั้นจะเกิดเนื่องจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่ก็ ตาม
(3) กรณีตาย ไม่ว่าการตายนั้นจะเกิดจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่
56. เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวจะต้องมิได้ประกอบกิจการอื่นนอกจาก กิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือกิจการสถาบันอุดม ศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
57. ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่ เกิน 20,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น
58. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างที่คนประจำเรือได้รับเนื่องจากการปฏิบัติงาน บนเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวีที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
59. เงินได้ที่คณะกรรมการบริหาร “ทุนการกุศลสมเด็จพระเทพฯ” ได้รับเพื่อประโยชน์ ของการกุศลสมเด็จพระเทพฯ
60. เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(1) บ้าน โรงเรียน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
(2) อสังหาริมทรัพย์ตาม (1) พร้อมที่ดิน
(3) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
ทั้ง นี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้อสังหาริมทรัพย์ตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจดทะเบียนการได้มาใน พ.ศ. 2540 และขายอสังหาริมทรัพย์นั้นภายหลังจากการจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550
61. ผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากันของธนาคารตาม กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และหรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
62. เงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจ่าย เป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
63. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ เนื่องจากออกจากราชการ เพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย ดังนี้
(1) กรณีเหตุสูงอายุ
(2) กรณีเหตุทุพพลภาพ สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะป่วย เจ็บ ทุพพลภาพ ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าไม่สามารถที่จะรับ ราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
(3) กรณีเหตุทดแทน สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะทางราชการเลิก หรือ ยุบตำแหน่งหรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิดหรือทหารซึ่งออกจากกองหนุน เบี้ยหวัด
(4) กรณีตาย สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะถึงแก่ความตายในระหว่าง รับราชการ
64. เงินได้ที่คณะกรรมการกองทุนลานกีฬาต้านยาเสพติด สำนักนายกรัฐมนตรีได้รับ เพื่อประโยชน์ของกองทุนลานกีฬาต้านยาเสพติดดังกล่าว
65. ดอกเบี้ยพันธบัตรออมสิน รุ่นพันธบัตรเงินฝากช่วยชาติ
66. เงินได้ที่เป็นเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ ซึ่ง เป็นคนต่างด้าวและไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ได้รับจากศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ เนื่องจากการเข้ามาทำงาน ในประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ
67. รางวัลบัตรออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
68. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่ วัด วัดบาดหลวงโรมันคาทอลิค หรือมัสยิด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ทั้งนี้เฉพาะการโอนที่ดินส่วนที่ทำให้วัด วัดบาดหลวงโรมันคาทอลิค หรือมัสยิดมีที่ดินไม่เกินห้าสิบไร่
69. ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัดควบเข้ากัน หรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
70. ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้ รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและค่าชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมาย ว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงานสามร้อย วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
71. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ ยืมนั้น ตามจำนวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ซึ่งจ่ายให้แก่
(1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(3) นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลัก ทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจ เพื่อแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจ ดังกล่าว เข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมตาม (1) หรือ (2) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์หรือนายจ้าง
72. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้ แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้างสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อเช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจำนองอาคาร ที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ซึ่งรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท และเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
อาคารตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย
73. เงินได้เท่าที่ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชนจ่าย เป็นเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
74. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะ ส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น โดยผู้มีเงินได้ต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกและไถ่ถอนหน่วยลงทุนนั้นเมื่อผู้มี เงินได้มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
กรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วยเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตาม วรรคหนึ่งเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90))
ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในวรรคสามให้ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นตามวรรค หนึ่งและต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามวรรคหนึ่ง มาแล้วด้วย
75. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับจากกองทุนรวมดังกล่าวเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
76. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เมื่อครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
77. ยกเว้นเงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่ง จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้มาตรา 5 อัฏฐารส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.
2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ. 2545
78. ยกเว้นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่ง จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตร 5 อัฏฐารส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ. 2545
79. ยกเว้นเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่กองทุนบำเหน็บบำนาญข้าราชการ ตาม กฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำหรับการกู้ยืมเงิน เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
อาคารตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย
80. ยกเว้นดอกเบี้ยและรางวัลสลากออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แต่ไม่รวมถึงดอกเบี้ย ซึ่งผู้รับมิใช่ผู้ทรงคนแรก ทั้งนี้สำหรับสลากออกทรัพย์ที่ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไป
81. ยกเว้นเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยใน ปีภาษีสำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่ เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท โดยกรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร ทั้งนี้สำหรับเบี้ยประกันที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
82. เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(1) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
(2) อสังหาริมทรัพย์ตาม (1) พร้อมที่ดิน
(3) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
ทั้ง นี้ เฉพาะสำหรับกรณีการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้มีเงินได้ใช้เป็น ที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อย กว่า 1 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
การ ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องปรากฏว่าภายในกำหนดเวลา 1 ปีก่อนหรือนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ผู้มีเงินได้ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ซึ่งมีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน และให้ได้รับยกเว้นเท่ากับจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ ทั้งนี้ ให้ถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
83. เงินได้จากการขายข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย เฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้าเกษตร
84. เงินบำเหน็จดำรงชีพที่ผู้ได้รับบำนาญขอใช้สิทธิรับบำเหน็จดำรงชีพในระหว่างวันที่ยังมีชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2546
85. เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และเงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับสิทธิยก เว้นภาษีเงินได้
86. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตาม กฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้มีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็น กองทุนรวมภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2550 ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และเงินได้ดังกล่าวต้องเป็นเงินได้ของผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ ยังไม่ได้แบ่ง ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรค หนึ่ง และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
ในกรณีที่ผู้มี เงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในวรรคสอง ให้ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามวรรคหนึ่งด้วย
87. เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้ แก่ กองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มี เงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีทุพพลภาพหรือตาย และเงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับสิทธิยก เว้นภาษีเงินได้
88. ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วต้องมีจำนวนทั้งสิ้น ไม่เกิน 30,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
89. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี
90. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ในโครงการเขื่อนคลองท่าด่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก
91. เงินได้ดังต่อไปนี้เป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ สำหรับปีภาษี 2547 และปีภาษี 2548
(1)  เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาล ตามพระราชกฤษฎีกาเงิน ช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาล พ.ศ. 2547
(2)  เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาลในการเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาลในการ เพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ พ.ศ. 2548
(3)  เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เมื่อออกจากราชการตาม (1) หรือ (2)
92.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่บุคคลในคณะทูต คณะกงสุล และบุคคลที่ถือว่า อยู่ในคณะทูตตามความตกลง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ
93. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการขาย แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการขายตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
(1) การให้ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน
(2) การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะในกรณีที่ส่วน ราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้นมิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่างอื่นนอก จากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น
94. ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม มาตรา 4 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 ซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (5) แห่งประมวลรัษฎากร และได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว
95. ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทย และได้รับเงินส่วนแบ่งของกองทุนรวมที่ จัดตั้ง ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้
96. ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม มาตรา 48(3)(ก) และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรประเภท เงินฝากประจำ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนด
97. เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนแล้ว โดยให้ยกเว้นเท่าจำนวนเงินที่บริจาคให้กองทุนปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50
98. เงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินเท่าจำนวนเงินที่บริจาคในการจัดสร้างเครื่องทรง พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
99. เงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ หรือการประนอมหนี้ตามคำขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้ มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการและการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการดำเนินการ ตามคำขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบ ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
100. ภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(1) เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท แรก สำหรับปีภาษีนั้น (พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551)
101. เงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงินที่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
102. เงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การ ขายสินค้า หรือการให้บริการ และการกระทำ ตราสารอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศ ไทยกำหนด
103. เงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนำหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดมาใช้โดยอนุโลม
104. เงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การ ขายสินค้า หรือการให้บริการ และสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้ อื่นโดยนำหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงิน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดมาใช้โดยอนุโลม
105. เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมายอื่นในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ ดังต่อไปนี้
(1) เงินปันผลที่ ได้รับจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ผู้ ได้รับการส่งเสริมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น
(2) แห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น จากผู้ได้รับการส่งเสริมตามสัญญาที่ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมา รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้มีกำหนดระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับการส่งเสริมมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการ ส่งเสริม
106. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และการบริจาคอสังหาริมทรัพย์ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 ทั้งนี้ สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2546 เป็นต้นไป
107. เงินได้จากการขายสุรากลั่นชุมชนของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ ทำสุรากลั่นชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา จำนวนไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อปี เป็นเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ทำสุรากลั่นชุมชน เฉพาะกรณีที่ได้รับอนุญาตให้นำสุรากลั่นชุมชนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548
108. เงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อ การได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานเพื่อการ ปรับเปลี่ยนแทนอุปกรณ์เดิม เป็นจำนวนร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายนั้น เฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(6)(7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเงินเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยก เว้นภาษี สำหรับระยะเวลา 5 ปีภาษี
109. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่สภากาชาดไทย
110. เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ เฉพาะ ส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
111. เงินที่มีลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพ ตาม กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ ซึ่งพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย และพนักงานธนาคารออมสิน ได้รับตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป โดยมีอัตราและวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมาย ว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
112. เงินได้ที่คณะกรรมการโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ได้รับเพื่อประโยชน์ของโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
113. เงินได้จากการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตาม กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกระทำในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้า ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 เป็นต้นไป (กฎกระทรวง 260 พ.ศ.2549)

114. เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้ แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภรยาของผู้มีเงินได้ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอแก่ การยังชีพ ทั้งนี้ ต้องเป็นเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายในปี พ.ศ.2549 เป็นต้นไปและให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด (กฎกระทรวง 263 พ.ศ.2550)

115. เงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้ แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน 1 ปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับ
(ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย
(ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2549 เป็นต้นไป (กฎกระทรวง 263 พ.ศ.2550)

116. เงินได้ของรัฐวิสาหกิจชุมชน ตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งมีเงินได้ไม่เกิน 1,200,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด (กฎกระทรวง 266 (พ.ศ. 2551))

ที่มา..สรรพากร

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับรางวัล ส่วนลดจากการส่งเสริมการขาย

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ

ตอน 1

ขอนำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 เพื่อให้การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 มาเป็นประเด็น ปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายกำหนดไว้อย่างไร

วิสัชนา การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขพอสรุปได้ดังนี้

  1. ผู้ขายสินค้าต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น
  2. ต้องเป็นเงินอุดหนุน เงินสนับสนุน เงินช่วยเหลือ เงินส่วนลด หรือเงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าที่เป็นผู้ขายปลีกหรือขายส่งสินค้า หรือผู้แทนจำหน่าย ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะคำนวณจากฐานการซื้อขายหรือคำนวณจากฐานอื่นใด เพื่อให้มีผลต่อการขาย การลดต้นทุน หรือลดรายจ่าย ของผู้ซื้อสินค้านั้น
  3. มูลค่ารางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ จากการส่งเสริมการขายที่อยู่ในข่ายที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายต้องมีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดจากข้อกำหนดที่ตกลงกันเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากสัญญาระยะยาวก็ตาม
  4. ให้คำนวณหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ปุจฉา กรณีตัวอย่างการจ่ายรางวัล ส่วนลดจากการส่งเสริมการขายที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

วิสัชนา กรมสรรพากรได้ยกตัวอย่างการจ่ายรางวัล ส่วนลดจากการส่งเสริมการขายที่อยู่ในข่ายต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายดังนี้

  1. ค่าสิทธิประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้าและ การจ่ายค่าธรรมเนียมสินค้าแรกเข้า (ENTRANCE FEE) โดยมีข้อตกลงว่าผู้ซื้อต้องขายสินค้าของบริษัทผู้ขายสินค้าเท่านั้น ไม่สามารถนำสินค้าจากแหล่งอื่นมาขายได้
  2. คูปองส่วนลดซึ่งมีค่าเป็นเงินสด ที่บริษัทผู้ขายสินค้าได้แนบติดกับตัวสินค้าเพื่อเป็นการส่งเสริมการขาย เมื่อลูกค้านำสินค้าพร้อมคูปองมาชำระเงิน บริษัทผู้แทนจำหน่ายจะให้ส่วนลดเงินสดตามราคาคูปองนั้น และได้รับเงินชดเชยส่วนลดเงินสดตามคูปองนั้นคืนจากบริษัทผู้ขาย
  3. เงินช่วยเหลือ หรือเงินชดเชย อาทิ บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าธรรมเนียมธนาคารในการรับรองตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ค่าสินค้าที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายซื้อ จากบริษัทฯ ให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายทั้งหมด บริษัทฯ ยกเลิกคลังสินค้าทั่วประเทศ และใช้สำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับ บริษัทผู้แทนจำหน่าย เป็นผลให้บริษัทผู้แทนจำหน่ายจะต้องจ่ายค่าโทรศัพท์เพิ่มขึ้น บริษัทฯ จึงจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าโทรศัพท์ในส่วนที่เกินจากค่าโทรศัพท์ในเขต พื้นที่เดียวกันให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย บริษัทฯ ประกอบกิจการขายสินค้าอุปโภคบริโภคโดยส่งสินค้าถึงบริษัทผู้แทนจำหน่าย ต่อมามีข้อตกลงว่า หากบริษัทผู้แทนจำหน่ายขนสินค้าที่ซื้อด้วยตนเอง บริษัทฯ จะจ่ายเงินช่วยเหลือค่าขนส่ง หรือจะลดราคาสินค้าให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย บริษัทฯ ประกอบกิจการขายกระเบื้องและเครื่องสุขภัณฑ์ จ่ายเงินช่วยเหลือค่าก่อสร้างให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย ที่นำสินค้าที่ซื้อไปจัดแสดงหรือติดตั้งให้เห็นสภาพการใช้งานจริง เช่น ปูกระเบื้องและติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์เพื่อจัดแสดงเป็นห้องน้ำ บริษัทฯ ประกอบกิจการขายสินค้า ได้จ่ายเงินช่วยเหลือค่าเดินทางและค่าที่พักให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายที่ เข้าร่วมสัมมนาเพื่อแนะนำสินค้าใหม่หรือเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจใน สินค้าของบริษัทฯ โดยมิได้เรียกเก็บค่าสัมมนาจากบริษัทผู้แทนจำหน่าย
  4. ส่วนลดภายหลังขายได้ตามเป้าที่กำหนด (REBATE) อาทิ บริษัทฯ ประกอบกิจการขายยางรถยนต์ จ่ายส่วนลดภายหลังขายได้ตามเป้าที่กำหนด ให้บริษัทผู้แทนจำหน่าย โดยจ่ายในลักษณะเป็นใบลดหนี้ (CREDIT NOTE) เพื่อให้บริษัทผู้แทนจำหน่ายนำมาชำระหนี้ค่าซื้อยางรถยนต์ในคราวต่อไป บริษัทฯ เป็นผู้นำเข้ายาจากต่างประเทศ ตกลงให้ส่วนลดแก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายในอัตรา 35% ของราคาสินค้า ให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย โดยรวบรวมยอดส่วนลดในแต่ละเดือนตามใบแจ้งหนี้
  5. เงินค่าอุดหนุน (SUBSIDIZE) เช่น บริษัทฯ ประกอบกิจการขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จ่ายเงินค่าอุดหนุน มูลค่า 500 บาท ต่อ 1 เครื่อง ให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายที่สามารถขายสินค้ารุ่นเก่าออกจากสต็อกได้ เป็นต้น

 

ตอน 2

เนื่อง จากการส่งเสริมการขาย คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 เพื่อให้การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 มาเป็นประเด็น ปุจฉา – วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

ปุจฉา กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายในลักษณะเป็นสิ่งของ ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร

วิสัชนา กรณีดังกล่าว ให้ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในวันที่ที่มีการส่งมอบสิ่งของ โดยคำนวณมูลค่าของสิ่งของตามราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ส่งมอบของนั้น ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

ปุจฉา กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายในลักษณะเป็นใบลดหนี้ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร

วิสัชนา กรณีดังกล่าวให้ผู้จ่าย คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามวันที่ที่ออกใบลดหนี้นั้น

ปุจฉา กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ได้ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อซึ่งซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ โดยมีการแถมสินค้าไปพร้อมกับสินค้าที่ขายซึ่งมูลค่าของสินค้าที่แถมไม่เกิน มูลค่าของสินค้าที่ขาย ไม่ว่าสินค้าที่แถมนั้นจะเป็นสินค้าประเภท และชนิดเดียวกับสินค้าที่ขายหรือไม่ ผู้ขายสินค้าต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร

วิสัชนา กรณีดังกล่าวบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ผู้ขายสินค้าไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับมูลค่าของสินค้าที่แถมแต่อย่างใด

ปุจฉา กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นได้ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อซึ่งซื้อสินค้าโดยมีวัตถุ ประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ โดยมีข้อตกลงให้ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนภายหลังจากที่ขายสินค้าไปแล้ว ซึ่งเป็นส่วนลดเงินสดผู้ขายสินค้าต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร

วิสัชนา กรณีดังกล่าว หากผู้ขายมีข้อตกลงให้ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนภายหลังจากที่ขายสินค้าไปแล้ว ซึ่งเป็นส่วนลดเงินสดที่เป็นปกติตามประเพณีทางการค้า และได้มีการระบุเงื่อนไขส่วนลดเงินสดไว้ในใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ หรือใบกำกับภาษีให้ชัดเจน เช่น ถ้าผู้ซื้อชำระราคาภายใน 2 เดือน จะลดให้ 2% ของราคาสินค้า ส่วนลดดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ปุจฉา การจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายกรณีใดบ้างที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

วิสัชนา กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น จ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ให้แก่ผู้ซื้อดังต่อไปนี้ ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

1. กรณีการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้า ซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยตรง และได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภคหรือ ใช้สอย โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ เช่น ผู้ซื้อได้ซื้อสินค้าเพียงเล็กน้อย เป็นต้น

2. กรณีการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้า ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่นำสินค้าไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ เช่น การขายอาหารสัตว์ให้แก่ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ให้ใช้บังคับกับกรณีผู้ซื้อสินค้าเป็นผู้แทนจำหน่ายของผู้ขายซึ่งซื้อ สินค้าเพื่อนำไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง เช่น บริษัท แห่งหนึ่งได้ขายสินค้าให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายซึ่งโดยปกติบริษัทผู้แทน จำหน่ายซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ แต่ในบางกรณีบริษัทผู้แทนจำหน่ายต้องการซื้อสินค้า เพื่อนำไปใช้ในการประกอบกิจการของบริษัทผู้แทนจำหน่าย กรณีดังกล่าว ให้บริษัทผู้ขายสินค้าคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับเงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

ปุจฉา การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ใช้กับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นได้ให้บริการด้วยหรือไม่

วิสัชนา กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นได้ให้บริการแก่ผู้รับบริการซึ่งผู้ให้บริการทราบโดยชัด แจ้งว่าผู้รับบริการนั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะให้บริการต่อ หรือตามพฤติการณ์ผู้รับบริการมีวัตถุประสงค์ที่จะให้บริการต่อแน่นอน ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายเนื่องจากการให้บริการดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ โดยให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายเนื่องจากการดังกล่าวข้างต้นมาปรับใช้โดยอนุโลม

ปุจฉา ผู้รับรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ อย่างไร

วิสัชนา เนื่องจากรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ จากการส่งเสริมการขาย ไม่เข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้รับจึงไม่ต้องนำเงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ ดังกล่าวไปรวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

 

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

วิธีถอดรหัส password ไฟล์ Excel

การทำงานในสำนักงานบางครั้งจำเป็นต้องใช้ไฟล์ตารางข้อมูลร่วมกัน และคุณอาจจะต้อง ป้องกันข้อมูลบางส่วนไว้เพื่อไม่ให้พนักงานคนอื่น ๆ มาแก้ไขข้อมูลของคุณ สำหรับไฟล์ตารางข้อมูล Excel จะมีเมนู Tools (เครื่องมือ) เพื่อให้คุณใช้รหัสป้องกันข้อมูลบน Worksheet ไม่ให้ถูกแก้ไข โดยการใส่รหัส (Password) แต่ อย่าไว้ใจว่ารหัสนั้นจะช่วยคุณได้  ไฟล์ของคุณจะไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด ข้อเสนอโครงการมูลค่าหลักล้านอาจจะลดเหลือหลักแสน เพราะมีโปรแกรมที่สามารถ ถอดรหัสออกมาได้

โปรแกรมนี้ดาวน์โหลดได้จาก www.straxx.com/excel/password.html เรามาทดลองทำตามขั้นตอนของการใส่รหัสป้องกัน Worksheet ก่อน ดังนี้

  1. เปิดไฟล์ Excel ของคุณขึ้นมา 1 ไฟล์
  2. ไปที่เมนู Tools เพื่อใส่รหัสป้องกันแผ่นงาน (Worksheet)
  3. ทดลองคีย์ข้อมูลลงไป และแน่นอนว่า Excel จะไม่ยอมให้คุณคีย์ข้อมูล    อะไรลงไปอีก
  4. บันทึกไฟล์ (Save File)

การถอดรหัสให้ทำดังนี้

  1. ดาวน์โหลดไฟล์ PASSWORD.XLA จากเว็บไซต์ข้างต้นและติดตั้งให้เรียบร้อย
  2. ให้คุณดับเบิ้ลคลิ้กไฟล์จะมีข้อความว่า Password remover now loaded หมายความว่าโปรแกรมพร้อมที่จะทำงานแล้ว
  3. เปิดไฟล์ Excel ที่คุณได้ใส่รหัสไว้แล้ว
  4. ไปที่เมนู Tools เลือกเมนูย่อย Unprotect sheet
  5. รอจนโปรแกรมทำการถอดรหัสของคุณจนเสร็จจะมีข้อความ This sheet should now be unprotect

ถึงตอนนี้คุณก็สามารถแก้ไข ข้อมูลบน Worksheet ได้ตามปกติ และเมื่อคุณปิดโปรแกรม Excel ออกไป คำสั่ง Unprotect sheet ก็จะหายไปด้วย ผมทดสอบโปรแกรมนี้กับไฟล์  Excel ของ Office 2003 ถ้าคุณใช้วิธีการป้องกันแบบเดียวกับตัวอย่างข้างต้นนี้ ผมบอกได้เลยว่าไม่ปลอดภัย

ที่มา..http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=9aa893fd2080bb8a6dd17b8dcbcce044&pageid=4&bookID=454&read=true&count=true

ความเห็นเพิ่มเติม ผมเองก็เคยใช้โปรแกรมนี้มาก่อน เพราะบางไฟล์ที่เคยทำไว้ใส่รหัสป้องกันไว้ แล้วก็บ่อยครั้งที่จำรหัสไม่ได้ (ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เก่า) ตัวอย่างไฟล์ที่ผมเข้ารหัสไว้ก็จะเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นความลับเช่น รายงานการจ่ายโบนัส อัตราเงินเดือนพนักงาน หรือแม้แต่ในไฟล์ word อย่างหนังสือรับรองเงินเดือนผมก็ใส่รหัสป้องกันเอาไว้

ผมเองไม่เคยถอดรหัสไฟล์ของคนอื่นนะครับ เคยแต่ถอดรหัสให้ตัวเองหรือน้องที่แผนกใส่รหัสป้องกันไฟล์ใน excel ไว้แล้วเป็นงานที่ผมต้องเอามาใช้ ก็เลยต้องหาวิธีถอดรหัสไฟล์ให้ ปัจจุบันมีโปรแกรมถอดรหัส password ของ excel อยู่หลายโปรแกรมมีทั้งฟรีและไม่ฟรี ส่วนใหญ่ของฟรีจะถอดรหัสได้ไม่เกิน 4 ตัว การถอดรหัสยิ่งมีรหัสตัวอักษรมากก็จะยิ่งใช้เวลามากขึ้น ถ้าใช้รหัสมากกว่า 8 ตัวและใช้อักษรพิเศษร่วมด้วย การถอดรหัสอาจต้องใช้เวลานานมาก (มากกว่า 8 ชั่วโมง)

เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ต้องการให้มีใครมาถอดรหัสไฟล์ของเราได้ คำแนะนำในการตั้ง password ก็คือให้ตั้ง password มากกว่า 8 ตัวอักษร(ใช้ตัวเลขร่วมกับตัวอักษรและตัวอักษรพิเศษ) เพราะโปรแกรมถอดรหัสฟรี (Freeware) ส่วนใหญ่ถอดรหัสมากกว่า 4 ตัวอักษรไม่ได้ และถ้าใช้รหัสมากกว่าถึง 8 ตัวอักษร เวลาในการถอดรหัสก็จะใช้เวลามากขึ้น(ทั้งวัน) และถ้าตั้งรหัสเป็นภาษาไทยได้ก็ยิ่งดี โปรแกรมพวกนี้จะไม่สามารถถอดรหัสได้เลยเพราะมันไม่รู้จักภาษาไทย แต่ข้อเสียก็คือถ้าคุณลืมรหัส คุณจะไม่สามารถกู้ไฟล์ขึ้นมาได้อีกเลย (หมดสิทธิ์)