ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | รับทำเงินเดือน - Part 9 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | รับทำเงินเดือน - Part 9

ภาษีเงินได้ชาวต่างชาติ

ทุกวันนี้มีชาวต่างชาติมากมายที่ทำมาหากินอยู่ในเมืองไทย และอีกเช่นกันที่ผู้เขียนมักถูกถามบ่อยครั้งเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของชาวต่าง ชาติว่า เสียภาษีหรือไม่ อย่างไร ซึ่งคนโดยทั่วไปมักเข้าใจว่า หากชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในเมืองไทยไม่ถึง 180 วันในปีนั้น ไม่ต้องเสียภาษี

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าประเทศไทย จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยใช้หลักแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ ตามนัยมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสรุปได้ดังนี้

หลักแหล่งเงินได้มาจาก 4 แหล่งใหญ่ คือ

1.เงินได้จากงานที่ทำในประเทศไทย* โดยผู้มีเงินได้ปฏิบัติงานในประเทศไทย เช่น บริษัทในอเมริกา ส่ง นาย A ซึ่งเป็นพนักงานเข้ามาปฏิบัติงานในไทย นาย A ต้องนำเงินเดือนค่าจ้างที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานในไทยมายื่นแบบ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

อย่างไรก็ตาม นาย A อาจจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย หากเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขยกเว้นภาษีตามอนุสัญญาภาษีซ้อน

2.เงินได้จากกิจการที่ทำในประเทศไทย* เช่น นายเอกเปิดร้าน ขายอาหารในประเทศไทย นายเอกต้องนำเงินได้ที่เกิดขึ้นมายื่นเเบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3.เงินได้จากกิจการนายจ้างในไทย* ผู้รับเงินได้อาจจะปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ได้ เช่น บริษัท ข. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทตามกฎหมายไทย ได้ส่ง นายเอก ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ไปปฏิบัติงาน ณ สาขาของบริษัทที่ประเทศฝรั่งเศส โดยบริษัท ข. จำกัด เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้ทุกเดือน นายเอกพนักงานต้องนำเงินได้มายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย

4.เงินได้จากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย* กรณีนี้เป็นเรื่องของเงินได้ที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าเจ้าของทรัพย์สินนั้นจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ เช่น ค่าเช่าบ้าน ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล เป็นต้น

ดังนั้น บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ หากมีเงินได้จากแหล่งเงินได้ข้างต้น ผู้มีเงินได้นั้นต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ และจะได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม กฎหมายบังคับให้จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นนั้น

หลักถิ่นที่อยู่ จะเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อครบเงื่อนไข 3 ข้อ คือ

1.ผู้มีเงินได้มีเงินได้จากงานที่ทำในต่างประเทศหรือจากกิจการ ที่ทำในต่างประเทศ หรือจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

2.ได้นำเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น และ

3.ผู้มีเงินได้นั้นอยู่อาศัยในประเทศไทยถึง 180 วัน

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติก็ตาม หากมีเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ โดยได้นำเงินได้ที่เกิดขึ้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น และได้อาศัยอยู่ในเมืองไทยถึง 180 วัน ก็ต้องนำเงินนั้นมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ กรณีที่ไม่ครบเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมา ผู้มีเงินได้นั้นก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด

ได้มีผู้จ่ายเงินได้ในประเทศไทยเป็น จำนวนมาก เมื่อจ่ายเงินได้ ให้ชาวต่างชาติ เข้าใจผิดคิดว่าชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วัน ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ซึ่งแท้จริงแล้วถ้าเป็นกรณีแหล่งเงินได้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ชาวต่างชาติผู้รับเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทำ ไว้กับประเทศที่ผู้มีเงินได้ มีถิ่นที่อยู่เท่านั้น

ผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาหรือผู้จ่ายเงินได้ ให้แก่ชาวต่างชาติที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย คงนำไปใช้ประโยชน์เพื่อจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง หากสงสัยหรือไม่เข้าใจก็สอบถามเจ้าหน้าที่หรือเข้าดูข้อมูลได้ที่ www.rd.go.th

ที่มา : http://www.posttoday.com/finance.php?id=5212

เงินบริจาคกับการหักลดหย่อนทางภาษี (จ่าย 1 ได้ 2)

เงินบริจากเพื่อการศึกษาและเพื่อการกีฬา ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือที่เรียกว่าจ่าย 1 ได้ 2 หรือ จ่าย 1 ได้ 1.5 มาดูกันนะครับ

1. เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา

  • สำหรับบุคคลธรรมดา สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  • สำหรับนิติบุคคล สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่บริจาคไป ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิก่อนหักเงินบริจาคเพื่อการศึกษาและเพื่อการกีฬา

อ้างอิงตาม พรก.ประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 420 พ.ศ.2547

ตรวจสอบรายชื่อ สถานศึกษาที่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้

2. เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการกีฬา

  • สำหรับบุคคลธรรมดา สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ 1.5 เท่าของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน
  • สำหรับนิติบุคคล สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่าของจำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่บริจาคไป ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิก่อนหักเงินบริจาคเพื่อการศึกษาและเพื่อการกีฬา
  • ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการกีฬา ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการ ดังต่อไปนี้

(1) จัดหาอุปกรณ์กีฬาสำหรับการฝึกซ้อมหรือการแข่งขันกีฬา

(2) ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนานักกีฬาและบุคลากรด้านกีฬา

อ้างอิงตาม พรก.ประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 458 (พ.ศ.2549)

ลืมรหัสผ่านยื่นแบบ ภงด.90/91 ทางอินเตอร์เน็ต

ผมยื่นแบบเสียภาษีทางอินเตอร์เน็ตมาหลายปี เพราะทำงานทางด้านบัญชีการเงิน และมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีเงินเดือน จำได้ว่าเมื่อก่อนเวลาลืมรหัส เราสามารถขอรหัสใหม่ได้โดยกรอกวันเดือนปีเกิดลงไป ระบบก็จะส่งรหัสมาให้ใหม่ เนื่องจากผมต้องยื่นแบบเสียภาษีให้พนักงานหลายคน บางทีก็ลืมจดรหัสเอาไว้

มาปีนี้การขอรหัสใหม่ ต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชนเซ็นรับรองเพื่อแจ้งขอยกเลิกการลงทะเบียน เพื่อให้สรรพากรยกเลิกการลงทะเบียนแล้วจึงจะสามารถลงทะเบียนขอรหัสใหม่ได้ ผมว่ามันค่อนข้างยุ่งยากมาก เชื่อว่ามีคนจำนวนมากจำรหัสไม่ได้เพราะปีหนึ่งยื่นครั้งหนึ่ง การแจ้งขอรหัสใหม่แบบนี้ยุ่งยาก และเป็นการเพิ่มภาระให้สรรพากรต้องมาคอยรับเรื่องและยกเลิกรหัสให้

มาตอนนี้เราสามารถยกเลิกรหัสเองได้แล้ว โดยเข้าไปสู่หน้าจอการยื่นแบบ ภงด.90 หรือ 91 ที่มุมล่างซ้ายจะมีคำว่า ลืมรหัส ให้คลิ๊ก แล้วจะเข้าสู่หน้าจอใหม่ ให้สังเกตที่มุมล่างขวาอีกทีจะมีคำว่า ขอรหัสผ่านใหม่ กดเลือกแล้วจะเข้าสู่หน้าจอถัดไป ให้กรอกรายละเอียดลงไป เมื่อกรอกเสร็จแล้ว โปรแกรมก็จะส่งรหัสผ่านมาให้ใหม่ หลังจากได้รหัสใหม่มาแล้ว เราสามารถเปลี่ยนรหัส โดยติ๊กคำว่า เปลี่ยนรหัสผ่าน เพื่อขอตั้งรหัสเอง

รูปภาพประกอบการขอรหัสผ่านใหม่

LOST PASSWORD - 1

LOST PASSWORD - 2

LOST PASSWORD - 3

LOST PASSWORD - 4

LOST PASSWORD - 6