ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | รับทำเงินเดือน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | รับทำเงินเดือน

แบบแจ้งการหักลดหย่อนภาษีเงินเดือน ลย.01 กรอกเยอะไป

ผมมักจะพบว่าบ่อยครั้งที่พนักงานมักจะกรอกแบบ ลย.01 ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ตั้งใจจะซื้อประกันชีวิต หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่พอสิ้นปีแจ้งว่าซื้อไม่ทัน ทำให้การคำนวณภาษีเงินเดือน ในปีที่ผ่านมา หักน้อยไป ซึ่งเค้าก็มักจะแจ้งว่า เดี่ยวไปยื่นเสียภาษีเพิ่มเอง (ไม่ได้ไปเช็คว่าไปยื่นจริงหรือเปล่า) แล้วบริษัที่หักไว้ไม่ครบ ต้องรับผิดชอบหรือไม่ มาดูคำตอบกันครับ

คำถาม

บริษัท ก. ให้พนักงานกรอกแบบ ลดหย่อนภาษี ลย.01 ตอนต้นปี 2557 และให้ลงลายมือชื่อรับรองการใช้สิทธิ์หักลดหย่อนของตนเองเพื่อบริษัท ก. ใช้ในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ยื่น ภงด.1 ตลอดปี 2557 โดยไม่ได้ขอเอกสารประกอบการใช้สิทธิ์ว่า มีจริงหรือไม่

พนักงาน ช. กรอกค่าลดหย่อน ซื้อ LTF จำนวน 500,000 บาท โดยตลอดปีไม่ได้นำเอกสารการซื้อ LTF มาให้ บริษัท ก. แต่อย่างใด

ต่อมา พนักงาน ช. ยื่นแบบ ภงด.91 ปี 2557 มีการใช้สิทธิ์หักลดหย่อน LTF ตามที่ซื้อจริง เพียง 20,000 บาท และได้ชำระภาษีบุคคลธรรมดาเพิ่มเติมในส่วนที่บริษัท ก. หักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งไม่ครบถ้วนไว้แล้วการยื่นแบบ ภงด.91

ถามว่า บริษัท ก. ในฐานะผู้จ่ายเงินได้ และมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่ง
เมื่อหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งไม่ครบถ้วน บริษัท ก. ต้องรับผิดในภาษีที่ยังนำส่งไม่ครบถ้วน พร้อมเงินเพิ่ม 1.5 ต่อเดือนหรือไม่ อย่างไรคะ หรือ รับผิดเฉพาะเงินเพิ่ม เพราะภาษีเวินได้ พนักงาน ช. ชำระไว้แล้ว
หรือ ไม่ต้องรับผิดทั้งภาษี และเงินเพิ่ม

คำตอบ

บริษัท ก. ให้พนักงานกรอกแบบ ลดหย่อนภาษี ลย.01 ตอนต้นปี 2557 และให้ลงลายมือชื่อรับรองการใช้สิทธิหักลดหย่อนของตนเอง เพื่อบริษัท ก. ใช้ในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ยื่น ภ.ง.ด.1 ตลอดปี 2557 โดยไม่ได้ขอเอกสารประกอบการใช้สิทธิ์ว่า มีจริงหรือไม่ พนักงาน ช. กรอกค่าลดหย่อน ซื้อ LTF จำนวน 500,000 บาท โดยตลอดปี ไม่ได้นำเอกสารการซื้อ LTF มาให้ บริษัท ก. แต่อย่างใด
ต่อมา พนักงาน ช. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ปี 2557 มีการใช้สิทธิ์หักลดหย่อน LTF ตามที่ซื้อจริง เพียง 20,000 บาท และได้ชำระภาษีบุคคลธรรมดาเพิ่มเติมใน ส่วนที่บริษัท ก. หักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งไม่ครบถ้วนไว้แล้วการยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 นั้น
ตามข้อ 1 (2) วรรคสองของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 96/2543 ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักลดหย่อนดังนี้
“การคำนวณหักค่าลดหย่อน ให้คำนวณตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้พร้อมกับแนบสำเนาหลักฐานแสดงสิทธิในค่าลดหย่อนตามแบบ ล.ย.01 (แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน) ทั้งนี้ ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนได้ตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่เริ่มหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะจ่ายค่าลดหย่อนนั้นในเดือนใดของปีก็ตาม เว้นแต่ค่าลดหย่อนเงินบริจาคให้คำนวณหักได้เมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคจริงเท่านั้น”

ดังนั้น กรณีบริษัท ก. ในฐานะผู้จ่ายเงินได้ และมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่ง เมื่อหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งไม่ครบถ้วน บริษัท ก. ไม่ต้องรับผิดทั้งภาษี และเงินเพิ่ม แต่อย่างใด เว้นแต่จะส่วนรู้เห็นเป็นใจกับพนักงานที่แจ้งรายการหักลดหย่อนไม่ถูกต้องเพื่อการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี อาจต้องระวางโทษตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร จึงควรกำชับให้แจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อนตามความเป็นจริง สถิติการหักลดหย่อนของปีก่อนๆ ก็อาจใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความถูกต้องของ ล.ย.01 รายการเพื่อการหักลดหย่อน ได้บ้างแต่ไม่ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม เมื่อพนักงาน ช. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ปี 2557 มีการใช้สิทธิ์หักลดหย่อน LTF ตามที่ซื้อจริง เพียง 20,000 บาท และได้ชำระภาษีบุคคลธรรมดาเพิ่มเติมในส่วนที่บริษัท ก. หักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งไม่ครบถ้วนไว้แล้วการยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ก็เป็นอันหมดภาระหนี้ภาษีอากรแล้ว เพียงแต่รัฐได้รับเงินภาษีช้าไป ซึ่งไม่ใช่ความผิดของบริษัทฯ แต่อย่างใด

การคำนวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้

นายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ เงินค่าภาษีที่ออกให้ถือเป็นประโยชน์เพิ่ม ถือเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) ซึ่งลูกจ้างต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษี โดยออกภาษีแทนในปีใด ให้ถือเป็นเงินได้ของปีนั้น จริงๆ แล้วเงินค่าภาษีถือเป็นเงินได้ของผู้รับ เพราะฉะนั้นกรณีมีภาษีขอคืน หรือเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ลูกจ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ป. 7/2528

เรื่อง  การคำนวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร

เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณี คำว่า “เงินได้พึงประเมิน” ตามบทนิยามในมาตรา 39 และประเภทเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ในบางกรณี กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.2/2526 เรื่อง การคำนวณค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างตาม มาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2526 แต่ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะ ในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนปีภาษี พ.ศ.2528

ข้อ 2 กรณี นายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้ด้วยตนเองเลย ให้นำเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้นแล้วคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างอาจใช้ตารางการคำนวณภาษีเงินได้ ที่กรมสรรพากรจัดทำขึ้นซึ่งจะได้ผลเท่ากัน และลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมในการคำนวณภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวในปีภาษีนั้นอีก

ข้อ 3 กรณี นายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่นำส่งไว้แล้วให้นำเงินค่าภาษีเงินได้ทีนายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงิน เดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้น แล้วคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าวถ้ามีภาษีจะต้องเสียเพิ่มเติมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษีนั้น ลูกจ้างต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมนั้นด้วยตนเอง

ข้อ 4 ความ ในข้อ 2 และข้อ 3 ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่น ออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรทุกประเภท

ข้อ 5 กรณี นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้ออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้สำหรับ เงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรของปีภาษีก่อน พ.ศ.2528 แต่ได้ออกให้ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้นไป ให้ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ(2) แห่งประมวลรัษฎากรของผู้มีเงินได้ในปีภาษี พ.ศ. 2528 ด้วย

กรณีนายจ้างผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ ผู้มีเงินได้สำหรับเงินได้ประเภทใด ๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะออกแทนให้ในทอดใด ๆ และออกแทนให้ในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือว่าเงินค่าภาษีอากรดังกล่าว เป็นเงินได้ของประเภท และของปีภาษีเดียวกับเงินได้ที่มีการออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ เช่นนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้ให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ ลูกจ้างได้รับในปีภาษี พ.ศ. 2528 โดยออกให้ในปี พ.ศ. 2529 กรณีเช่นนี้ให้ถือว่า เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรของลูกจ้างสำหรับปีภาษี พ.ศ. 2528 นั้น การออกภาษีเงินได้ในกรณีเช่นนี้อาจทำให้ผู้เงินได้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ภาษีอากรตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร

สั่ง ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2528

วิทย์ ตันตยกุล

อธิบดีกรมสรรพากร

แนวปฏิบัติการแยกยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภริยา

การยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภริยาในปีภาษี 2555 จากเดิมเงินได้ของภรรยาให้ถือเป็นเงินได้ของสามี แต่ในปีภาษี 2555 เป็นต้นไป เงินได้ทุกประเภท (ทุกมาตรา) ของภรรยาไม่ถือเป็นเงินได้ของสามีอีกแล้ว จึงทำให้ภริยามีสิทธิแยกยื่นเสียภาษีในนามของตนเอง โดยไม่ต้องนำเงินได้ไปรวมกับสามีอีกแล้ว ยกเว้นว่าเป็นเงินได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการร่วมกันให้ยื่นเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลแทน

คำชี้แจงกรมสรรพากร
เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา

โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ว่าการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยาตามมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการจำกัดสิทธิสามีและภริยาในการยื่นรายการและเสียภาษี ถือว่า ไม่ส่งเสริมความเสมอภาคของชายและหญิง กรณีจึงขัดหรือแย้งต่อมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บทบัญญัติตามมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ แห่ง ประมวลรัษฎากร จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลให้มีผลในวันอ่าน คือ ตั้งแต่วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ตามข้อ ๕๕ ของข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนั้น กรมสรรพากรจึงไดกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากสามีและภริยาเพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยา สำหรับปีภาษี 2555 เป็นต้นไปนั้น มิให้ถือว่าเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี

กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ข้อ 2 การยื่นรายการของสามีหรือภริยา ให้หักลดหย่อนได้ ดังต่อไปนี้

(1) สำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างที่ ๑ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนสำหรับ ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

ัวอย่างที่ ๒ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

(2) สำหรับสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร 30,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๓ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนภริยาได้

ัวอย่างที่ ๔ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่าง หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาทแล้ว จึงไม่มีสิทธิหักลดหย่อนสามีหรือภริยา

(3) สำหรับบุตรและการศึกษาบุตรตามมาตรา 47 (1) (ค) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร

(ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท

ัวอย่างที่ ๕ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ มีบุตรด้วยกัน 1 คน สามีหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท

(ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ ตลอดปีภาษีให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่ง

ตัย่างที่ ๖ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย มีบุตรด้วยกัน 1 คน

ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีและภริยาหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และ การศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท (ฝ่ายละ 17,000 บาท) แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอด ปีภาษี สามีและภริยาหักได้ฝ่ายละ 8,500 บาท

(4) สำหรับเบี้ยประกันชีวิต ตามมาตรา 47 (1) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร

(ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ในกรณีที่ความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินไดมีสิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภริยาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ัวอย่างที่ สามีมีเงินไดแ้ต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหักลดหย่อน 10,000 บาท

ัวอย่างที่ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภริยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท และส่วนของภริยา 10,000 บาท (รวม 20,000 บาท) แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนได้เฉพาะส่วนของตน 10,000 บาท

(ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตส่วนของตนตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ย่างที่ ๙ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภริยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท ภริยาหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท

(5) สำหรับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามมาตรา 47 (1) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร

ย่างที่ ๑๐ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท สามีหักได้ 10,000 บาท

ัวอย่างที่ ๑๑ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท ภริยาจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท ภริยาหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท

(6) สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร

(ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้สามีหรือภริยาฝ่ายที่มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน

ย่างที่ ๑๒ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 บาท ภริยากู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน 10,000 บาท

(ข) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวและร่วมกันกู้ยืม ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ย่างที่ ๑๓ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ ถ้าสามีภริยา

ร่วมกันกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจ านวน 10,000 บาท สามีมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ย เงินกู้ยืมได้ทั้งจ านวน 10,000 บาท

(ค) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และต่างฝ่ายต่างมีสิทธิหัก

ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาสมรสกัน ให้ต่างฝ่ายต่างยังคงหักลดหย่อนดอกเบี้ย เงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจ านวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยา จะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

ย่ที่ ๑๔ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และมีสิทธิหัก ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้วฝ่ายละ 10,000 บาท ต่อมาสมรสกัน สามีและภริยายังคงหัก ลดหย่อนได้ฝ่ายละ 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะไดมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

(ง) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่ายและร่วมกันกู้ยืม ให้ต่างฝ่ายต่าง หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้กึ่งหนึ่งของจ านวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

ย่างที่ ๑๕ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ถ้าสามีภริยาร่วมกัน กู้ยืมและได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจ านวน 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท ภริยาหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท

(7) ส าหรับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตาม มาตรา 47 (1) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร

ัวอย่างที่ ๑๖ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจำ นวนที่จ่ายจริง

ตัย่างที่ ๑๗ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง

(8) ส าหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาตามมาตรา 47 (1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร

(ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท และบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท

ัวอย่างที่ ๑๘ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) และถ้าสามีได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของภริยาด้วย สามีมีสิทธิหักลดหย่อนบิดา ของภริยา 30,000 บาท และมารดาของภริยา 30,000 บาท (รวม 120,000 บาท)

(ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อน ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนได้คนละ 30,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๑๙ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีภริยาต่างฝ่ายต่างอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) ส่วนภริยาหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท)

(9) สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามมาตรา 47 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร

(ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะ เลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท และให้หักลดหย่อนบุตร ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่สามีหรือภริยาเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท

ัวอย่างที่ ๒๐ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดู คนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท

ัวอย่างที่ ๒๑ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดู คนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน และภริยาอุปการะเลี้ยงดูบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการ หรือทุพพลภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท และมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรที่ภริยาเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท (รวม 120,000 บาท)

(ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่า อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท

ย่างที่ ๒๒ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีอุปการะเลี้ยงดู คนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน ส่วนภริยาอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพอีก 1 คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท ภริยาหักลดหย่อน คนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท

ข้อ 3 การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาก่อนปีภาษี 2555 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 48/2545 ลงวันที่ 12 กันยายน 2545 ว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 80 ดังนั้น การจัดเก็บภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยาก่อนปีภาษี 2555 ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญที่ 48/2545 ลงวันที่ 12 กันยายน 2545 และบังคับใช้บทบัญญัติในมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากรต่อไป โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555

จึงขอชี้แจงและประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

กรมสรรพากร / 19 กันยายน 2555
สำนักกฎหมาย โทร. 0-2272-8288