บทความประกันสังคม | รับทำเงินเดือน - Part 4 บทความประกันสังคม | รับทำเงินเดือน - Part 4

ผู้ประกันตนที่ออกจากงานยังได้รับสิทธิอะไรจากประกันสังคม

ผู้ประกันตนที่ออกจากงาน จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรจากการประกันสังคม ?

  1. เมื่อลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตน (ตามมาตรา 33) ลาออกจากงาน ลูกจ้างยังคงได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี คือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตาย จากการประกันสังคมต่อไปอีก 6 เดือน
  2. หากลูกจ้างมีความประสงค์จะประกันตนต่อ หลังจากสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
  2. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

การยื่นใบสมัคร

  1. ต้องยื่นใบสมัครตามแบบแสดงความจำนง (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
  2. สถานที่ยื่นใบสมัคร กรุงเทพมหานครยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ภูมิภาคยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา

หลักฐานการสมัคร

  1. แบบแสดงความจำนง (สปส. 1-20)
  2. บัตรประกันสังคมพร้อมสำเนา
  3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้พร้อมสำเนา
  4. หลักฐานแสดงการจ่ายเงินสมทบมาแล้ว จำนวน 12 เดือน

วันเริ่มต้นการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39

     ผู้สมัครจะเริ่มต้นการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ในวันที่ 1 ของเดือนถัดจากเดือนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานประกันสังคมตัวอย่างเช่น นาย ก. ยื่นใบสมัครเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2544 ได้รับอนุมัติจากสำนักงานประกันสังคมเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544  นาย ก. มีผลเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป

เงินสมทบที่ต้องนำส่ง

  • คำนวณเงินสมทบจากฐานค่าจ้างเดือนละ 4,800 บาท อัตราเดียวเท่ากันทุกคน
  • ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องออกเงินสมทบเป็น 2 เท่า ของอัตราเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนแต่ละกรณีตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 ต้องนำส่งเงินสมทบ 6 กรณี (เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตาย สงเคราะห์บุตรและชราภาพ) ในอัตราเดือนละ 288 บาท (6% x 4,800 บาท)

หน้าที่ของผู้ประกันตน มาตรา 39

  1. ต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากนำส่งเงินสมทบเกินกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน
  2. แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ให้สำนักงานประกันสังคมทราบ ดังนี้
  • กรณีย้ายที่อยู่หรือเปลี่ยนสถานที่นำส่งเงินสมทบ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน
  • กรณีเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล หรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ต้องแจ้งทันที พร้อมแนบสำเนาหลักฐาน
  • กรณีประสงค์ลาออก หรือกลับเข้าทำงาน และมีสถานะเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรทันที ณ สำนักงานประกันสังคมที่จ่ายเงินสมทบ

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ได้รับความคุ้มครอง กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตาย สงเคราะห์บุตร และชราภาพ ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
  2. การใช้การบริการทางการแพทย์ ในกรณีเจ็บป่วย จะได้รับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งได้ระบุสถานพยาบาลตามที่ได้เลือกไว้

เหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสภาพ

  1. ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือน ติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)
  2. ลาออก
  3. กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
  4. ตาย
  5. ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับภายหลังจากการสิ้นสภาพ

  • การสิ้นสภาพตามข้อ 1, 2 และ 5 จะได้รับการคุ้มครองเฉพาะกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตายต่อไปอีก 6 เดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน ทั้งนี้ ต่อเมื่อผู้ประกันตนได้นำส่งเงินสมทบจนครบเงื่อนเวลาที่ก่อให้เกิดสิทธิ
  • การสิ้นสภาพตามข้อ 3 สามารถนับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบต่อเนื่องได้ทุกกรณี
  • การสิ้นสภาพตามข้อ 4 และมีบุตรที่อยู่ระหว่างการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร จะได้รับเงินสงเคราะห์ต่อเนื่องจนบุตรอายุครบเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง (6 ปีบริบูรณ์)

ทางเลือกใหม่ในการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39

หากผู้ประกันตนมีความประสงค์จะส่งเงินสมทบโดยให้ธนาคารหักเงินจากบัญชีเงินฝากของท่าน จะต้องปฏิบัติดังนี้

  • เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ณ สาขาหลักที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดได้แจ้งให้ทราบ สำหรับการฝากครั้งต่อไป ผู้ประกันตนจะนำฝากเข้าบัญชีธนาคารที่สาขาใดก็ได้
  • ให้กรอกรายละเอียดและยื่นแบบคำขอส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 โดยทางธนาคาร ณ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่ท่านส่งเงินสมทบอยู่ในปัจจุบัน
  • ธนาคารจะหักเงินสมทบจากบัญชีเงินฝากของท่าน เดือนละ 1 ครั้ง (ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป) โดยธนาคารจะหักค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ธนาคารประกาศกำหนด (ครั้งละ 10 บาท) ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวก  ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับผู้ประกันตน
  • กรณีในบัญชีมีเงินฝากไม่เพียงพอที่ธนาคารจะดำเนินการหักบัญชีไว้ ท่านจะต้องนำส่งเงินสมทบด้วยตนเอง ณ สำนักงานประกันสังคม ที่ท่านนำส่งเงินสมทบ

ที่มา..http://www.ubu.ac.th/~ubustaff/insur4.htm

สรุปสิทธิที่ได้รับกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน

กองทุนประกันสังคม

    คุ้มครองลูกจ้างกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน 7 กรณี ได้แก่

1.กรณีเจ็บป่วย

     จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์

     – มีสิทธิเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ

     – มีสิทธิรับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50 % ของค่าจ้าง ตามใบรับรองแพทย์โดยใช้สิทธิลาป่วยกับนายจ้าง 30 วันทำงานต่อปีก่อน

     – มีสิทธิเบิกค่าทันตกรรม (ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน) ครั้งละไม่เกิน 250 บาท ปีละไม่เกิน 500 บาท

     – มีสิทธิเบิกค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ต่างๆ

***เมื่อผู้ประกันตนไม่สามารถเข้ารับ การรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯในกรณีฉุกเฉิน สำนักงานประกันสังคมจ่ายค่ารักษาฯ ที่เกิดขึ้นภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่วันเข้ารับการรักษาไม่นับรวมวันหยุดราชการ

ผู้ป่วยนอก (ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง)

    – ค่ารักษาฯ ไม่เกินครั้งละ 300 บาท

    – ค่าตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการครั้งละไม่เกิน 200 บาท

    – ค่าหัตถการไม่เกิน 200 บาทต่อครั้ง

ผู้ป่วยใน (ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง)

    – ค่ารักษาฯ ไม่เกินวันละ 2,000 บาท

    – ค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท

    – ค่าผ่าตัดใหญ่ไม่เกิน 2 ชม. 8,000 บาท ถ้าเกิน 2 ชม. 14,000 บาทต่อครั้ง

    – ค่ารักษาพยาบาล ICU ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อวัน

    – CT SCAN หรือ MRI ไม่เกิน 4,500 บาท ต่อครั้ง

อุบัติเหตุ (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)

    – โรงพยาบาลของรัฐ จ่ายค่ารักษาฯไม่เกิน 72 ชม. (ไม่นับรวมวันหยุดราชการ)เท่าที่จ่ายจริง

    – โรงพยาบาลเอกชน จ่ายตามหลักเกณฑ์เดียวกับกรณีฉุดเฉิน

    – เบิกค่าพาหนะกรณีเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปสถานพยาบาลอื่นที่มิใช่สถานพยาบาลตามบัตรฯ

(หมายเหตุ ให้แจ้งสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ทราบโดยเร็วไม่ต้องรอให้ครบ 72 ชม. เพื่อให้สถานพยาบาลตามบัตรฯ รับผิดชอบการรักษาพยาบาลต่อไป)

2.กรณีคลอดบุตร

    – จ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันคลอด มีสิทธิได้รับคนละ 2 ครั้ง

      ผู้ประกันตนชาย มีสิทธิรับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 12,000 บาทต่อครั้ง

      ผู้ประกันหญิง มีสิทธิรับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 12,000 บาทต่อครั้ง และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่าย ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

3.กรณีทุพพลภาพ

     จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนดให้เป็นทุพพลภาพ

     – รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงเดือนละไม่เกิน 2,000 บาท

     – รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 บาท ของค่าจ้างตลอดชีวิต

     – ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์

4.กรณีตาย

    จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือนภายใน 6 เดือน ก่อนวันถึงแก่ความตาย

     – ค่าทำศพ 30,000 บาท แก่ผุ้จัดการศพ

     – เงินสงเคราะห์แก่ทายาท

5.กรณีสงเคราะห์บุตร

     จ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน

     – รับเงินสงเคราะห์เดือนละ 350 บาท ต่อบุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 2 คน และเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย อายุไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์ กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนให้ใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อน หากผู้ประกันตนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ บุตรมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ต่อจนอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์

6.กรณึชราภาพ

     จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือน จะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม มีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

     บำนาญรายเดือน จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน และสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน

     – เดือนละ 15 % ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

     – รับบำนาญแล้วเสียชีวิตภายใน 60 เดือน ทายาทเป็นผู้รับบำเหน็จ 10 เท่าของเงินบำนาญ

     บำเหน็จชราภาพ จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน และสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน (ออกจากงาน ตาย ทุพพลภาพ)

     – จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จ่ายคืนเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน (เงินสมทบสงเคราะห์บุตรและชราภาพ)

     – จ่ายเงินสมทบ 12 เดือนขึ้นไป จ่ายส่วนของผู้ประกันตนรวมกับส่วนของนายจ้าง พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่กำหนด

7.กรณีว่างงาน

     – เมื่อตกงานจะได้รับความช่วยเหลือในรูปแบบเงินทดแทนการขาดรายได้ บริการจัดหางาน และการพัฒนาฝีมือแรงงาน

     – จ่ายเงินสมทบกรณีว่างงานมาแล้ยวไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

     – มีความสามารถในการทำงานและพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้ และไม่ปฎิเสธการฝึกงาน

     – ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ

     – ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39

     – ต้องมีใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

 

กองทุนเงินทดแทน

นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีหน้าที่ขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนภายใน 30 วัน และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนเพียงฝ่ายเดียว ปีละ 1 ครั้ง โดยในปีแรกนายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบภายใน 30 วัน สำหรับปีต่อ ๆ ไป จ่ายภายในเดือนมกราคมของทุกปี

สิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง

     เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ตาย หรือสูญหาย จะได้รับเงินทดแทน ซึ่งประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนรายเดือนค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ ดังนี้:-

   1.นายจ้างแจ้งการประสบอันตราย ตามแบบ กท.16 ภายใน 15 วัน และใช้แบบ กท.44 ส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วนำใบเสร็จมาเบิกค่ารักษาพยาบาล

   2.ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อการเจ็บป่วย หรือประสบอันตราย 1 ครั้ง หากเกินกว่าสามหมื่นบาท เบิกเพิ่มได้อีกไม่เกิน 5 หมื่นบาท

   3.แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว ได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนจำนวน 60 % ของค่าจ้างรายเดือน หากต้องหยุดพักรักษาตัวติดต่อกันเกิน 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1 ปี

   4.กรณีสูญเสียอวัยวะ ได้รับค่าทดแทน 60 % ของค่าจ้างรายเดือนตามประเภทของการสูญเสียอวัยวะ แต่ไม่เกิน 10 ปี และกรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จะได้รับค่าฟื้นฟูเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 2 หมื่นบาท และค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดไม่เกิน 2 หมื่นบาท

   5.กรณีทุพพลภาพ ได้รับค่าทดแทน 60 % ของค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลาไม่เกิน 15 ปี

   6.กรณีตายหรือสูญหาย ได้รับค่าทำศพเป็นเงิน 100 เท่า ของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน และค่าทดแทน 60% ของค่าจ้างรายเดือน เป็นเวลา 8 ปี

ที่มา..สำนักงานประกันสังคม

สปส. ลดอัตราเงินสมทบ เหลือร้อยละ 3 ตั้งแต่งวดเดือน ก.ค. –ธ.ค. 52

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) บรรเทาภาระให้นายจ้างและผู้ประกันตน โดยการลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม จากเดิมฝ่ายละ ร้อยละ 5 เป็นฝ่ายละ ร้อยละ 3 ตั้งแต่ งวดเดือน ก.ค. – งวดเดือน ธ.ค. 52

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคมได้มีมาตรการ “ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม” เพื่อเป็นการบรรเทาภาระให้กับนายจ้างผู้ประกันตน ซึ่ง สนองตอบต่อมาตรการในการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้างของกระทรวงแรงงานในการลดค่าครองชีพตามมาตรการ “3 ลด 3 เพิ่ม” จากเดิมฝ่ายละ ร้อยละ 5 ของค่าจ้าง เป็นฝ่ายละ ร้อยละ 3 ของ ค่าจ้าง ส่วนรัฐบาลจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ 2.75 เท่าเดิม โดยจะเริ่มลดอัตราเงินสมทบ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ซึ่ง วันที่ 1 มกราคม 2553  ให้นายจ้างนำส่งเงินสมทบในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละ ร้อยละ 5 เช่นเดิม ดังนั้น การนำส่งเงินสมทบของงวดเดือน กรกฎาคม ถึง งวดเดือนธันวาคม 2552 (6 งวด) นายจ้างจะต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายค่าจ้าง ในอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง เช่น ค่าจ้างงวดเดือนกรกฎาคม 2552 นายจ้างจะต้องนำส่งเงินสมทบในอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง (ฐานค่าจ้าง 15,000 บาท นายจ้างจะต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนฝ่ายละ450 บาทต่อเดือน) แต่สำหรับ ค่าจ้าง งวดเดือนมกราคม 2553 นายจ้างจะต้องนำส่งเงินสมทบ ในอัตราฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้าง (ฐานค่าจ้าง 15,000 บาท นายจ้างจะต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละ 750 บาทต่อเดือน) ตามเดิม

สำหรับ ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ) ได้กำหนดลดอัตราเงินสมทบ จากเดิมร้อยละ 9 ของค่าจ้าง (ฐานค่าจ้าง 4,800 บาท) ลดเหลือร้อยละ 5 ของค่าจ้าง เช่นกัน ดังนั้นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ที่นำส่งเงินสมทบเดิม 432 บาท เป็นนำส่งเงินสมทบเดือนละ 240 บาท ตั้งแต่งวดเดือน กรกฎาคม 2552 และสิ้นสุดที่งวดเดือน ธันวาคม 2552 เป็นระยะเวลา 6 งวด ทั้งนี้ งวดเดือน มกราคม 2553 ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ให้นำส่งเงินสมทบ เดือนละ  432 บาท เช่นเดิม

หากนายจ้างและผู้ประกันตนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือ โทร.1506 ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น.หรือติดต่อระบบโทรศัพท์ ตอบรับอัตโนมัติให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.sso.go.th

……………………………………………………………..

ศูนย์สารนิเทศ สายด่วน 1506 www.sso.go.th

ประกาศของสำนักงานประกันสังคมลงวันที่ 14/07/2552  ประกาศสำหรับเจ้าของสถานประกอบการ , สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39

ที่มาข่าวเอามาจากเว็บของสำนักงานประกันสังคมเห็นลงไว้วันที่ 17/07/2552  http://www.sso.go.th/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7/page_3264