บทความประกันสังคม | รับทำเงินเดือน - Part 3 บทความประกันสังคม | รับทำเงินเดือน - Part 3

สิทธิประโยชน์ประกันสังคม กรณีเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ

หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ
จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ (โดยแยกหลักเกณฑ์การขอใช้สิทธิไว้ดังนี้)
สิทธิที่ท่านจะได้รับ
1.บริการทางการแพทย์ รวมถึงค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบาบัดรักษาโรคตามประกาศสานักงาน เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสาหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทางาน
2.เงินทดแทนการขาดรายได้
3.การบาบัดทดแทนไต
4.การปลูกถ่ายไขกระดูก
5.ค่าบริการทางการแพทย์กรณีทันตกรรม (ถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูน)

กรณีเจ็บป่วยทั่วไป
ผู้ประกันตนเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
1.ผู้ประกันตนเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่ท่านเลือกตามบัตรรับรองสิทธิ หรือสถานพยาบาลเครือข่ายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
2.ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ระหว่างที่หยุดพักรักษาตัว ตามคาสั่งแพทย์ในจานวน50 %ของค่าจ้างตามจานวนวันที่หยุดจริงไม่เกินครั้งละ 90 วัน และไม่เกิน 180 วันในหนึ่งปี หากเจ็บป่วยเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วัน

กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ หากผู้ ประกันตนไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ได้ เนื่องจากมีความจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาพยาบาล  โดยเร่งด่วน ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาได้ที่โรงพยาบาลใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ที่สุด และควรให้ญาติหรือผู้เกี่ยวข้องรีบแจ้งโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ให้รับทราบโดยด่วน เพื่อมารับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหรือรับตัวผู้ประกันตนไปรักษา ต่อไป สำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนการแจ้งให้โรงพยาบาลตามบัตรรับรอง สิทธิฯ รับทราบ สำนักงานประกันสังคม จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายใน 72 ชั่วโมงแรก หากผู้ประกันตนต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วน ประกันสังคม 1506 ติดต่อทางระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรงให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00–19.00 น.

กรณีเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลรัฐ
– ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น 
– ผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะ เวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยกเว้น ค่าห้องและอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท

กรณีเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชน   
กรณีผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจพิเศษ จะพิจารณาจ่ายตามรายการที่กำหนดไว้ ในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ดังนี้

– การให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด การฉีดสารต่อต้านพิษจากเชื้อบาดทะยัก
– การฉีดวัคซีนหรือเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเฉพาะเข็มแรก การตรวจอัลตร้าซาวด์
– กรณีที่มีภาวะฉุกเฉินเฉียบพลันในช่องท้อง การตรวจด้วย CT – SCAN หรือ MRI จ่ายตามเงื่อนไขที่กาหนด การขูดมดลูก
– กรณีตกเลือดหลังคลอดหรือตกเลือดจากการแท้งบุตร ค่าฟื้นคืนชีพ
– และกรณีที่มีการสังเกตอาการในห้องสังเกตอาการตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไป

กรณีผู้ป่วยในเบิกค่ารักษาพยาบาลได้วันละ 2,000 บาท ค่าห้องและอาหารไม่เกิน 700 บาท ค่ารักษาพยาบาลในห้อง ICU วันละ 4,500 บาท (รวมค่าห้อง อาหารและค่ารักษา) กรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000–16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด ได้แก่
– ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายาและอุปกรณ์เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท
– ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการเอกซเรย์เบิกได้ในวงเงินไม่เกินรายละ 1,000 บาท
– กรณีมีความจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยพิเศษ ได้แก่การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง การตรวจคลื่นสมอง การตรวจอัลตร้าซาวด์
– การสวนเส้นเลือดหัวใจและเอกซเรย์ การส่องกล้อง การตรวจด้วยการฉีดสี การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด 

หมายเหตุ กรณีฉุกเฉิน เบิกได้ปีละไม่เกิน 4 ครั้ง (ผู้ป่วยนอก 2 ครั้ง ผู้ป่วยใน 2 ครั้ง) กรณี อุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
วิธีการเบิก
– ทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน
– ขอใบรับรองแพทย์ ระบุเหตุผลของการฉุกเฉินหรือมีการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุอย่างไรบ้าง
– ขอใบเสร็จรับเงินแสดงค่าใช้จ่ายโดยละเอียดเบิกคืนได้รับสำนักงานประกันสังคม ตามอัตราที่ประกาศได้ทุกแห่งทั่วประเทศ
การ เบิกค่ารถพยาบาล กรณีฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ โรงพยาบาลที่รักษาโรงพยาบาลแรกส่งไปรักษาโรงพยาบาลที่สองซึ่งไม่ใช่โรง พยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ
ภายในเขตจังหวัด
– ค่ารถพยาบาลหรือเรือพยาบาล เบิกคืนได้ 500 บาท
– รถรับจ้างส่วนบุคคล เบิกคืนได้ 300 บาท
ข้ามเขตจังหวัด
– เบิกเพิ่มได้อีกกิโลเมตรละ 6 บาท (ตามระยะทางของกรมทางหลวง)

กรณีทันตกรรม
กรณีทันตกรรม (ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และใส่ฟันเทียม) ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับการบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลใดก็ได้ในกรณี ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน โดยสำรองเงินจ่ำยไปก่อนและนำหลักฐำนมำขอเบิกเงินคืนได้ในอัตรำไม่เกิน 250บำท/ครั้ง ปีละไม่เกิน 500บำท และมีสิทธิใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐำนอคริลิก (พลำสติก) 1-5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,200 บำท ตั้งแต่ 6 ซี่ขึ้นไปจะเบิกได้ไม่เกิน 1,400 บำท ภำยในระยะเวลำ 5 ปี ตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก

กรณีโรคเฉพาะทาง
การบริการทางการแพทย์ของกองทุนประกันสังคมยังรวมถึง โรคเฉพาะทาง ดังนี้
1. การปลูกถ่ายไขกระดูก เบิกได้ไม่เกิน 750,000 บาท
2. การเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา เบิกได้ไม่เกิน 25,000 บาท
3. ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค เช่น เท้าเทียม แขนเทียม ฯลฯ เบิกได้ตามรายการ
4. โรคเอดส์ สามารถรับยาต้านไวรัสเอดส์ทั้งสูตรพื้นฐาน สูตรทางเลือก และสูตรดื้อยา รวมทั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ที่โรงพยาบาลตามบัตรฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
5. การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 3 วิธี คือ
– การปลูกถ่ายไต สามารถเบิกค่าใช้จ่ายก่อนการผ่าตัดปลูกถ่ายไตได้ไม่เกิน 30,000 บาท ค่าใช้จ่ายระหว่างการผ่าตัดได้ไม่เกิน 230,000 บาท และค่าใช้จ่ายหลังการผ่าตัดอีกเดือนละ 10,000 – 30,000 บาท โดยมีตารางกำหนดชัดเจน
– การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เบิกได้ครั้งละไม่เกิน 1,500 บาท สัปดาห์ละไม่เกิน 4,500 บาท (ยกเว้นท่านที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายก่อนเป็นผู้ประกันตน ตัวเลขจะเป็น 1,000 บาท/ครั้ง และ 3,000 บาท/สัปดาห์) และมีสิทธิเบิกค่าเตรียมเส้นเลือดไม่เกินคนละ 20,000 บาทต่อ 2 ปี

– การล้างไตทางช่องท้อง เบิกค่าน้ำยาล้างช่องท้องได้ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน มีดังนี้
– แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2 – 01) 
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ,ใบรับรองแพทย์,ใบเสร็จรับเงิน
– หนังสือรับรองของนายจ้าง (กรณีขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้)
– กรณีขอรับเงินทางธนาคาร กรุณาแนบสำเนาสมุดบัญชี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา,ธนาคารกรุงไทย,ธนาคารกรุงเทพ,ธนาคารกสิกรไทย,ธนาคารไทย พาณิชย์,ธนาคารนครหลวงไทย,ธนาคารทหารไทย,ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ ธนาคารซีไอเอ็มบี (ไทยธนาคารเดิม)

ถูกสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ..ใช้สิทธิประกันสังคมได้

จากข่าวในหนังสือพิมพ์หลายฉบับขณะนี้ กรณีผู้ขายสุนัข ถูกสุนัขที่เลี้ยงไว้กัดแต่ไม่ได้ไปพบแพทย์ เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าในทันที เพราะประมาทไม่คิดว่าจะติดเชื้อ จนกระทั่งอาการกำเริบติดเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ ทำให้เสียชีวิตในเวลาต่อมานั้น
          จากเหตุการณ์ดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมมีความห่วงใยมิได้นิ่งนอนใจ จึงขอแนะนำผู้ประกันตนให้มีความระมัดระวังอย่าได้ประมาท หากถูกสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่บ้านหรือสัตว์จรจัด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า โดยใช้สิทธิประกันสังคมในกรณีประสบอันตรายได้
          ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษา พยาบาลในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หากผู้ประกันตนไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯได้ ให้เข้ารับการรักษาโดยฉีดวัคซีนเข็มแรก ในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดแล้วนำใบ เสร็จรับเงินที่สำรองจ่ายไปก่อน พร้อมใบรับรองแพทย์มาเบิกคืนได้ที่ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทุกแห่งที่สะดวก สำหรับการฉีดวัคซีนเข็มต่อไป ผู้ประกันตนจะต้องไปใช้สิทธิการรักษา ณ โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิเพราะไม่ใช่กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน
          โดยสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิด ขึ้นตามความจำเป็นไม่เกิน 72 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ โดยไม่รวมระยะเวลาใน วันหยุดราชการและโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯจะต้องรับผิดชอบ การให้บริการ ทางการแพทย์ต่อจากโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาพยาบาลนับตั้งแต่ เวลา ที่ได้รับแจ้ง สำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนการแจ้งฯ ซึ่งผู้ประกันตนสำรองจ่ายไปก่อน
          สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุให้ ดังนี้
          1. ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐบาล สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้ เท่าที่จ่ายจริงพร้อมค่าห้องและค่าอาหารวันละไม่เกิน 700 บาท
          2. ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชน จ่ายให้ ดังนี้
              – กรณีผู้ป่วยนอก  ค่ารักษาพยาบาลจะจ่ายให้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน ครั้งละ 1,000 บาท และจ่ายเพิ่มตามรายการการรักษาที่กำหนด
              – กรณีผู้ป่วยใน  ค่ารักษาพยาบาลจะจ่ายให้วันละไม่เกิน 2,000 บาท ค่าห้องค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท แต่ถ้าเจ็บหนักต้องนอนในห้องไอซียูจ่ายให้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท              พร้อมการเบิกรายการค่ารักษาอื่นๆ ได้ตามรายการที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
           ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขต พื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือโทร 1506 ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดตั้งแต่เวลา 07.00 น. -19.00 น หรือติดต่อระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา..สำนักงานประกันสังคม

เงิน เงิน เงิน….. ค่าจ้าง

ใกล้วันตรุษจีนแล้วนะครับคุณผู้อ่าน หลายคนโดยเฉพาะเด็ก ๆ ก็คงตั้งหน้าตั้งตารอซองอั่งเปาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว ส่วนคนทำงานบริษัทหลายท่านก็อาจแอบมีความหวังเล็ก ๆ ว่าเจ้านายอาจแจกโบนัส ที่เป็นแต๊ะเอียหรืออั่งเปา ในช่วงเทศกาลตรุษจีน แต่คนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้คือผู้สมัครรับเลือกตั้งรวมทั้ง ผู้สนับสนุนผู้สมัครทั้งหลาย ซึ่งหากท่านใจดีแจกอั่งเปาหรือแจกแตะเอียให้กับคนอื่นโดยจูงใจให้เขามาใช้ สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครคนใดคนหนึ่งหรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมือง หนึ่ง ผิดกฎหมายเลือกตั้งนะครับ รับรองได้รับของสมนาคุณเป็นใบแดง (แสลงใจ) และอาจพ่วงด้วยการรับของชำร่วยเป็นคดีอาญาโทษจำคุกถึง 10 ปี เลยทีเดียวนะครับ

Lisa ฉบับนี้ผมอยากทำความเข้าใจกับคุณผู้อ่านทั้งที่เป็นลูกจ้างตาดำ ๆ หรือนายจ้างใจดีทั้งหลายในเรื่องของอั่งเปา โบนัส เงิน หรือสิ่งของแบบไหนที่นายจ้างจ่าย ที่กฎหมายไทยถือเป็นค่าจ้าง ? ซึ่งถ้าหากเป็น ค่าจ้างตามกฎหมาย ทั้งสองฝ่ายก็สามารถใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวค่าชด เชย ค่าทำงานล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้อ่าน Lisa ทั้งที่เป็นลูกจ้างและนายจ้าง ดังนี้ครับ

ค่าจ้าง..…คืออะไร ?

ค่าจ้าง คือเงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการที่ลูกจ้างได้ทำงาน ให้แก่นายจ้าง ไม่ว่าจะจ่ายเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น (บางคนทำงานต่อเนื่องจ่ายเป็นรายปีก็มีครับ) หรือจ่ายโดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงาน รวมถึงเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานด้วย โดยเงินที่ถือเป็นค่าจ้างต้องจ่ายโดยนายจ้างเท่านั้น หากจ่ายโดยคนอื่นไม่ถือเป็นค่าจ้างนะครับ เช่น ทำงานอยู่ร้านอาหารมีรายได้จากเงินค่าจ้างส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งได้จากค่าทิปของผู้มาใช้บริการที่เห็นว่าเสริฟอาหารได้ถูกใจ (ไม่หน้าบึ้ง) เรียกใช้ได้ง่าย ลูกค้าไม่ต้องลุกขึ้นไปตามอาหาร ถึงได้ทิปก็ไม่ใช่ค่าจ้างนะครับ เพราะไม่ใช่เงินของนายจ้าง

ลูกจ้างบางคนต้องเกี่ยวพันกับลูกค้าใกล้ชิด จนลูกค้าพอใจการบริการของลูกจ้างบางคน อาจให้เงินพิเศษแก่ผู้ให้บริการอย่างนี้ก็ไม่ใช่ค่าจ้างเช่นกันครับ และเงินค่าจ้างบางประเภทไม่ได้เรียกว่าเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง โดยอาจจะเรียกว่าค่าครองชีพ เช่นเราทำงานได้เงินเดือน 15,000.-บาท ค่าครองชีพ 3,000.-บาท อย่างนี้ถ้าหากค่าครองชีพดังกล่าวเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็น ประจำ มีจำนวนแน่นอนเช่นนี้ก็ถือเป็นค่าจ้างเหมือนกันนะครับ จึงเท่ากับว่าลูกจ้างรายนี้มีเงินเดือน 18,000.-บาท ครับ

แต่ช้าก่อนครับอย่าเพิ่งดีใจไปจ๊ะคุณลูกจ้างทั้งหลาย เพราะศาลฎีกาเคยตัดสินว่าค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้าง เนื่องจากค่าครองชีพดังกล่าวนายจ้างไม่ได้เป็นผู้จ่าย เช่น ค่าครองชีพของครูโรงเรียนเอกชน ซึ่งเจ้าของโรงเรียนผู้เป็นนายจ้างไม่ได้เป็นผู้จ่าย แต่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จ่ายให้แก่ครูเอกชน ดังนั้นค่าครองชีพของครูเอกชนจึงไม่ใช่ค่าจ้างครับผม

นายจ้างบางรายจ่ายเงินพิเศษโดยแบ่งออกเป็นหลายส่วนให้ลูกจ้างควบคู่ไปกับ เงินเดือน เช่น เงินสวัสดิการ เงินเบี้ยเลี้ยง เช่น เงินเดือน 10,000.-บาท เงินสวัสดิการ 3,000.-บาท บางครั้งลูกจ้างต้องออกไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดเป็นประจำ นายจ้างต้องให้เบี้ยเลี้ยงในเดือนนั้นเพิ่มอีก 6,000.-บาท ถ้าเงินทั้ง 3 จำนวนนี้จ่ายกันเป็นประจำในทางกฎหมายก็ถือเป็นค่าจ้างนะครับ แต่ถ้าหากเป็นเบี้ยเลี้ยงที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นครั้งคราว เช่น ถ้าออกไปทำงานต่างจังหวัดก็จะได้รับ บางเดือนไม่ได้ออกไปทำงานต่างจังหวัดก็เลยไม่ได้รับ เงินเบี้ยเลี้ยงนี้จึงไม่เป็นค่าจ้างครับ
เงินค่าตอบแทน..…อื่นๆ

ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันรถ เนื่องจากลูกจ้างใจดีใช้รถส่วนตัวไปในกิจการงานของบริษัท เจ้านายจึงช่วยเหลือค่าน้ำมันรถให้ลูกจ้างโดยให้ลูกจ้างนำใบเสร็จค่าน้ำมันรถใน แต่ละเดือนมาเบิกได้ โดยทางบริษัทจะจ่ายให้ตามความเป็นจริงและการเบิกเงินแต่ละครั้งต้องมีใบ เสร็จมาแสดง ดังนี้ ไม่เป็นเงินค่าจ้างนะครับ เพราะว่าไม่ใช่เงินที่ลูกจ้างได้รับเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน แต่ถ้าหากนายจ้างให้ความช่วยเหลือค่าพาหนะ ค่าน้ำมันรถแก่ลูกจ้างโดยการเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำ เช่น จ่ายค่าน้ำมันรถเดือนละ 10,000.-บาท โดยที่ลูกจ้างไม่ต้องนำใบเสร็จเป็นหลักฐานมาแสดงว่าได้จ่ายไปจริง และเหลือก็ไม่ต้องมาคืน เช่นนี้ ในทางกฎหมายถือเป็นค่าจ้างนะครับ เพราะฉะนั้นคุณผู้อ่าน Lisa อย่าเพิ่งเหมารวมไปนะครับ เพราะเงินค่าพาหนะ ค่าน้ำมันรถจากบริษัทบางครั้งก็เป็นค่าจ้าง บางครั้งก็ไม่เป็นค่าจ้าง ต้องพิจารณาดังข้างต้นครับ

เงินค่านายหน้า ค่าคอมมิชชั่น หรือค่าธรรมเนียมการขาย ถ้าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณเป็นร้อยละจากยอดที่ลูกจ้าง คนเก่งคนนั้นๆขายสินค้าได้ โดยต้องขายในวันและเวลาปกติของวันทำงานจึงจะถือเป็นค่าจ้าง แต่ถ้าหากลูกจ้างไม่มีวันเวลาปกติของการทำงานคือจะขายเมื่อใด วันใดก็ได้ อย่างเช่นสินค้าขายตรงทั้งหลายที่ขายได้ตั้งแต่บนรถเมล์จนถึงรถไฟใต้ดิน หรือขายได้ตั้งแต่ที่บ้านไปจนที่ทำงานเช่นนี้ ก็ไม่ถือเป็นค่าจ้างนะจ๊ะสาวมิสทีน สาวยูสตาร์ สาวแอมเวย์ สาวกิพฟารีน ฯลฯ ไปจนสาวยาคูลท์

เงินจากค่าบริการ ถ้าเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากลูกค้าที่มาใช้บริการและนายจ้างเฉลี่ย จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำอย่างนี้ก็ถือเป็นค่าจ้างครับ แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่นายจ้างใจดีมาก ๆ หรือบางทีลูกค้าเขี้ยวยาวลากดินเป็นหนี้ไม่ยอมจ่ายค่าบริการมาตลอด จนมาเจอพนักงานแสนเก่งที่สามารถเรียกเก็บเงินให้บริษัทได้สำเร็จ บริษัทจึงยกเงินทั้งหมดให้แก่ลูกจ้างคนนั้น ๆ โดยนายจ้างไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากเงินดังกล่าวเลย อย่างนี้ต้องถือว่าเป็นเงินที่ลูกค้าจ่ายให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างมิได้เป็นผู้จ่าย เช่นนี้ ก็ไม่ถือเป็นค่าจ้างนะครับ

เบี้ยกันดาร ฟังดูแล้วเหมือนไปทำงานกลางทุ่งกุลาสมัยโบราณ (ที่บัดนี้อีสานเขียวแล้วครับ) หรืออยู่ห่างไกลไปจนถึงดินแดนโคกอี (คุณ) หลวย เขาอี (คุณ) หลอด แต่ปัจจุบันยังมีนะครับที่บางครั้งลูกจ้างต้องไปทำงานในต่างจังหวัดห่างไกล และทุรกันดาร นายจ้างก็จะเพิ่มเงินพิเศษให้แก่ลูกจ้างเรียกว่าเบี้ยกันดาร ซึ่งหากจ่ายเป็นประจำทุกเดือน ก็ถือเป็นค่าจ้างครับ

เงินค่ากะกลางคืน บางบริษัททำงานทั้งวันทั้งคืน ดังนั้น ลูกจ้างที่เข้าทำงานในช่วงกลางคืนซึ่งเป็นเวลาพักผ่อนหลับนอน นายจ้างก็จ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้เพื่อเป็นค่าตอบแทนกรณีพิเศษที่ลูกจ้างยอมอด ตาหลับขับตานอน (จนมีนัยน์ตาคล้ายหมีแพนด้า) เข้าทำงานในกะกลางคืน โดยเพิ่มเงินอีกจำนวนหนึ่งนอกเหนือจากค่าจ้าง เช่นนี้ ลูกจ้างที่เข้ากะหมุนเวียนในรอบกลางคืนจึงได้รับเงินค่ากะกลางคืนเป็นประจำ จากนายจ้าง เช่นนี้ก็เป็นค่าจ้างเหมือนกัน

เงินประกันค่าเสียหาย การทำงานในบางตำแหน่งต้องมีเงินประกันค่าเสียหาย แต่ปรากฏว่าลูกจ้างมิได้ชำระเงินประกันค่าเสียหายไว้ นายจ้างจึงได้หักเงินค่าจ้างจากลูกจ้างไว้ทุกเดือน เพื่อเป็นเงินประกันค่าเสียหาย กฎหมายให้ถือว่าเงินส่วนที่หักไปก็เป็นค่าจ้างเหมือนกันครับ

เงินประจำตำแหน่ง คือเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่มีความสามารถจนได้ตำแหน่งสำคัญ เช่น ผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการฝ่าย รองผู้จัดการฝ่าย หรือผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย ฯลฯ หากลูกจ้างคนใดอยู่ในตำแหน่งที่บริษัทกำหนดว่าจะได้เงินประจำตำแหน่ง ก็จะได้เงินพิเศษจำนวนนี้ นอกเหนือจากค่าจ้าง ซึ่งมักจ่ายเป็นประจำทุกเดือน มีกำหนดเวลาที่แน่นอน อย่างนี้ก็เป็นค่าจ้างแน่นอนครับ ไม่พลาด จนกว่าเก้าอี้คุณจะถูกเลี่อย

เงินรับรอง ลูกจ้างตำแหน่งผู้บริหารที่มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่จากชาติปางก่อน มาชาตินี้จึงได้ทำหน้าที่สำคัญ เช่นผู้จัดการ หรือรองผู้จัดการ ก็จะมีเงินหรืองบพิเศษ ที่เรียกว่าเงินรับรอง เงินจำนวนนี้นายจ้างจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำทุกเดือน ไม่ว่าลูกจ้างจะออกไปรับรองลูกค้าหรือไม่ก็ตาม อย่างนี้ก็เป็นเงินค่าจ้างเหมือนกันครับ แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่ลูกจ้างต้องนำใบเสร็จรับเงินค่ารับรองมาเบิกเงิน จากบริษัท แปลว่าต้องมีการรับรองกันจริงถึงจะได้เงินค่ารับรองนี้จากบริษัท เช่นนี้ก็ไม่ใช่ค่าจ้างนะครับเพราะไม่ใช่เงินได้ของลูกจ้างครับ

กรณีนายจ้างจ่าย..…แต่ไม่ใช่ค่าจ้าง
เงินบางประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แต่ไม่ได้จ่ายกันเป็นประจำทุกเดือน หรือจ่ายแบบครั้งคราวเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เงินโบนัส เงินบำเหน็จ เงินค่าทิป เงินรางวัลเพื่อจูงใจ เบี้ยขยัน ค่าที่พัก ค่าจอดรถเหมาจ่าย เงินช่วยเหลือสวัสดิการ ค่าอาหาร เงินช่วยเหลือบุตร เงินภาษีที่นายจ้างออกให้ เงินค่าอบรมพิเศษ เงินค่าไฟฟ้าที่นายจ้างออกให้ เงินช่วยเหลือเมื่อไปทำงานต่างประเทศ เงินค่ายังชีพที่จ่ายในระหว่างหยุดกิจการ เงินค่าซักรีด เงินค่าล่วงเวลา เงินค่าทำงานในวันหยุด ฯลฯ ตัวอย่างเหล่านี้ล้วนเป็นเงินที่นายจ้างมิได้จ่ายเป็นประจำอันเนื่องมาจาก การทำงานในวันเวลาปกติ เช่นนี้ ก็ไม่ถือเป็นค่าจ้างนะครับ เวลาจะนำเงินค่าจ้างมาคำนวณเพื่อหาค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดหรือค่าชดเชยก็จะไม่นำเงินเหล่านี้มารวมคำนวณด้วยครับผม
อั่งเปา แตะเอีย โบนัส…ไม่ใช่ค่าจ้าง

เงินอั่งเปา แตะเอีย หรือ โบนัสที่นายจ้างได้จัดไว้เป็นเงินพิเศษให้แก่ลูกจ้างเนื่องในโอกาสวันตรุษ จีนเพื่อให้ลูกจ้างได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้สอยหรือไปเที่ยวหาความสุข ความสำราญ เงินเหล่านี้ไม่ใช่เงินค่าจ้างครับ แต่เป็นเงินพิเศษที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งแม้จะจ่ายเป็นประจำทุกปี แต่เงินอั่งเปา แตะเอีย หรือโบนัสที่จ่ายกันในช่วงวันตรุษจีนจึงไม่ใช่เงินค่าจ้างครับ ซึ่งถ้าหากมีกรณีเลิกจ้างกันเกิดขึ้นก็จะไม่นำมาคำนวณเพื่อคิดเป็นค่าชดเชย หรอกครับ

รู้ทันนายจ้าง..…หัวหมอ
นายจ้างบางคนขี้โกงครับ เช่น กำหนดเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างในอัตราเดือนละ 10,000.-บาท ซึ่งลูกจ้างคนนี้ทำงานอยู่ในฝ่ายขายโดยเขาจะมีรายได้จากค่าคอมมิชชั่นจากการ ขายคิดเป็นร้อยละจากยอดขายเฉลี่ยตกเดือนละประมาณ 20,000.-บาท นอกจากนั้นยังได้รับค่าน้ำมันรถเป็นการเหมาจ่ายอีกเดือนละ 10,000.-บาท ลูกจ้างทำงานมาได้ 3 ปีเศษ นายจ้างกลับบอกเลิกจ้างลูกจ้าง โดยลูกจ้างไม่มีความผิด ซึ่งในการคำนวณเพื่อจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าว กฎหมายกำหนดให้คิดจากค่าจ้างเงินเดือนบวกเงินค่าชดเชยอีกเป็นเวลา 6 เดือน รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 7 เดือน นายจ้างหัวหมอ (ขี้โกง) ก็คำนวณจากฐานเงินเดือนในอัตราเดือนละ 10,000.-บาทแค่นั้น เท่ากับจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเงิน 70,000.-บาท เช่นนี้ไม่ถูกต้องและผิดกฎหมายนะครับ

แท้จริงแล้วรายได้ของลูกจ้างคนนี้ไม่ใช่แค่เงินเดือน ๆ ละ 10,000.-บาท หากแต่มีรายได้จากเงินเดือน ๆ ละ 10,000.-บาท บวกค่าคอมมิชชั่นเดือนละ 20,000-บาท บวกค่าน้ำมันรถอีกเดือนละ 10,000.-บาท รวมแล้วลูกจ้างมีรายได้เดือนละ 40,000.-บาท ซึ่งต้องนำจำนวนเงิน 40,000.-บาท มาคำนวณเป็นเงินค่าจ้าง ดังนั้น ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับเงินค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวและค่าชดเชยรวมแล้ว เป็นเงิน 280,000.-บาท มิใช่ 70,000.-บาท ตามที่นายจ้างหัวหมอพิจารณาจ่ายให้ครับ อย่าทำนะครับคุณนายจ้าง เดี๋ยวถูกฟ้องจากลูกจ้าง

เป็นอย่างไรบ้างครับคุณผู้อ่าน หวังว่าคงพอเข้าใจในเรื่องค่าจ้างชัดเจนขึ้นแล้วใช่ไหมครับ ไม่ว่าคุณผู้อ่านจะอยู่ในฐานะนายจ้างหรือลูกจ้าง ต่อไปคงไม่ปวดหัวกับการพิจารณาเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าชดเชยอีกแล้วนะครับ และในช่วงตรุษจีนปีนี้ผมขออวยพรให้คุณผู้อ่าน Lisa ทั้งหลายมีความสุข ซินเจียยูอี่ ซินนี้ฮวดไช้ และขอให้ได้รับอั่งเปากันทั่วหน้า และขอให้ร่ำรวยมีเงินเยอะ ๆ ครับผม

เงิน เงิน เงิน….. ค่าจ้าง เล่ม 5
ลงหนังสือ Lisa ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 วันพฤหัส 3 กุมภาพันธ์ 2548
อ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช

ที่มา..http://www.pramarn.com/