พฤศจิกายน, 2013 | รับทำเงินเดือน - Part 3 พฤศจิกายน, 2013 | รับทำเงินเดือน - Part 3

เงินสนับสนุนจากการขายไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย

คุณ Pu Boonkua ได้โพสต์ไปเมื่อ 15 ก.ค. 2556 ประมาณ 21 ชั่วโมงที่แล้ว ว่า
"เรืยน ท่านอาจารย์ สุเทพ
ดิฉันขอเรียนถามค่ะ
บริษัทฯ ประกอบกิจการภัตตาคาร ขายอาหารและเครื่องดื่ม ปกติก็ได้รับเงินสนับสนุนการขายจากบริษัทผู้จำหน่ายเหล้า หรือไวน์ บริษัทฯ มีความประสงค์จะปรับปรุงร้านเพื่อดูดีขึ้น และคาดว่าจะเพิ่มยอดขายได้ บริษัทผู้จำหน่ายเหล้า/ไวน์ นั้นได้ให้เงินมาจำนวน 1 ล้านบาท เพื่อช่วยในการปรับปรุงร้าน
อยากทราบว่า
1. บริษัทฯ ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
2. กรณีนี้ถือเป็นเงินสนับสนุนการขายหรือไม่
ขอกราบขอพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างยิ่งที่ช่วยตอบปัญหานี้ค่ะ"

เรียน คุณ Pu Boonkua
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545 เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ได้นิยามความหมายของคำว่า
"รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย" ที่อยู่ในข่ายที่ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 ลงวันที่ 26 กันยายน 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 101/2544 ในอัตรา 3% ของเงินได้ ว่า "หมายถึง เงินอุดหนุน เงินสนับสนุน เงินช่วยเหลือ เงินส่วนลด หรือเงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายที่ซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินดังกล่าวจะคำนวณจากฐานการซื้อขายหรือคำนวณจากฐานอื่นใด เพื่อให้มีผลต่อการขาย การลดต้นทุน หรือลดรายจ่าย ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย"
ซึ่งตามข้อ 8 ของคำสั่งดังกล่าวกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ว่า
"ข้อ 8 รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายตามข้อ 1 ไม่เข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้รับจึงไม่ต้องนำเงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายดังกล่าวไปรวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร"
ดังนั้น กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการภัตตาคาร ขายอาหารและเครื่องดื่ม ได้รับเงินสนับสนุนการขายจากบริษัทผู้จำหน่ายเหล้า หรือไวน์ แม้จะเป็น "รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย" ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นรายได้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด

ที่มา..www.facebook.com/Suthep.Pongpitak

ประกอบกิจการเป็นตัวแทนส่งออกสินค้าอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

คุณ Peachana Pitaktigul ได้โพสต์ไปเมื่อ 15 ก.ค. 2556 ว่า
"เรียนถามท่านสุเทพ
เนื่องด้วยทางบริษัทประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนในการส่งออก มีการรับรู้รายได้จากการเป็นตัวแทนส่งออก (มี VAT ด้วย) แต่ถ้าจะต้องการเพิ่มรายได้ของธุรกิจ โดยการจัดหาสินค้าเพื่อส่งออกให้กับลูกค้าชาวต่างชาติเท่านั่น โดยรายได้จะเท่ากับราคาสินค้าบวกค่าบริการ (คิดเป็น % ตามมูลค่าของสินค้า) ซึ่งมูลค่านี้จะเท่ากับยอดส่งออกตามใบขนขาออกคำถามมีดังนี้
1) การรับรู้รายได้ดังกล่าวจะต้องมี VAT รึเปล่าค่ะ
2) หลักฐานในการรับรู้รายได้จะต้องมีเอกสารใดประกอบค่ะ
3) ส่วนค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนแยกออกเป็น2ประเภทคือ
– ซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการที่จดทะเบียน VAT ใบกำกับที่มีขอคืนได้ไหมค่ะ
– ซื้อสินค้าจากบุคคลหรือร้านค้าทั่วไปมีแต่นามบัตรกับบิลเงินสดจะสามารถลงค่าใช่จ่ายได้รึเปล่าค่ะ ควรจะใช้หลักฐานใดได้บ้างเพื่อลงต้นทุน
คำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจการด้านขนส่ง
การขนส่งภายในประเทศเป็นธุรกิจได้รับยกเว้นVAT ถูกต้องใช่มั๊ยค่ะแต่ถ้าเป็นการขนส่งทางรถเพื่อส่งออกตามชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านจะถือว่าเป็นธุรกิจในอัตรา0 หรือยกเว้น VAT ค่ะ
ขอขอบพระคุณอย่างสูงมาณ.ที่นี้ค่ะ"

เรียน คุณ Peachana Pitaktigul
ต่อคำถาม เกี่ยวกับการส่งออก
1. การส่งออกถือเป็นการประกอบกิจการ "ขายสินค้า" ที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม ในอัตรา 0% ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่บริษัทฯ ผ่านพิธีการทางศุลกากร แต่ถ้าส่งออกโดยทางไปรษณีย์ หรือนำติดตัวออกไปต่างประเทศ หรือทางคูเรียร์ ที่ไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร บริษัทฯ ต้องมีภาระ VAT ในอัตรา 7% เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์การส่งออกที่จะได้สิทธิอัตรา 0%
2. หลักฐานในการรับรู้รายได้ แบ่งเป็น
(1) กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ใช้หลักฐานอินวอยส์ทางกาค้าทั่วไป โดยต้องรับรู้รายได้เมือมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า ซึ่งต้องพิจารณาจากเงื่อนไขการขาย คือ FOB หรือ CIF แล้วแต่กรณี
(2) กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ศึกษาจากแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 97/2543
3. เมื่อบริษัทฯ ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว บริษัทฯ ย่อมมีสิทธินำภาษีซื้อตามหลักฐานใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกให้ และไม่เข้าเงื่อนไขเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร มาถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้

กรณีบริษัทฯ ซื้อสินค้าจากบุคคลหรือร้านค้าทั่วไป มีแต่เพียงนามบัตรกับบิลเงินสด นั้น บริษัทฯ ต้องสามารถพิสูจน์ผู้รับได้ว่าเป็นใคร จึงจะสามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ โดยไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร
โดยทั่วไป หลักฐานที่อาจพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ มีอาทิ
– Invoice (ใบส่งของ)
– Tax Invoice (ใบกำกับภาษี)
– ประกอบกับ สำเนาภาพถ่าย และต้นขั้วเช็คชีดคล่อมที่ระบุ "A/C payee only" เว้นแต่ไม่มีหลักฐานข้างต้นก็ใช้เฉพาะหลักฐานตามข้อนี้
– สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกอบการที่เป็นผู้รับเงินค่าสินค้าอย่างแท้จริง (มิใช่ไมหยิบฉวยของผู้ใดมา)

เกี่ยวกับธุรกิจการด้านขนส่ง
– การให้บริการขนส่งภายในประเทศ และการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล เป็นกิจการที่ได้รับยกเว้น VAT ตามมาตรา 81 (1)(ณ) และ (ด) แห่งประมวลบรัษฎากร แล้วแต่กรณี ถูกต้องครับ
– การใน้บริการขนส่งระหว่างประเทศทาง โดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล เท่านั้น ที่ได้สิทธิเสีย VAT ในอัตรา 0% ตามมาตรา 80/1 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
อย่างไรก็ตาม การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน เป็นกิจการที่ผู้ประกอบการมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 81/3 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 3 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 241) พ.ศ. 2534

ที่มา..www.facebook.com/Suthep.Pongpitak

บริจาคเงินให้หน่วยงานที่ไม่ใช่องค์กรสาธรณะกุศลและได้ลงสื่อสิ่งพิมพ์?

คุณ Pensri Owat ได้โพสต์ไปเมื่อ 16 ก.ค. 2556 ว่า
"เรียน อาจารย์สุเทพ
รบกวนเรียนถามปัญหาอาจารย์ค่ะ เนื่องจากบริษัทได้รับจดหมายจาก สภาทนายความขอให้ร่วมสนับสนุนเพื่อพิมพ์และแปลหนังสือเพื่อแจกต่อหน่วยงานต่าง โดยจะพิมพ์ Logo ของบริษัทว่าเป็นผู้สนับสนุนโครงการในท้ายหนังสือ ซึ่งทางบริษัทได้ตรวจสอบดูแล้วว่าทาง สภาทนายความ ไม่ได้เป็นองค์กรสารธารณะกุศล และไม่มีโครงการจดโครงการดังกล่าวเป็นสาธารณะกุศลด้วย จึงเรียนปรึกษาอาจารย์ว่า
1. บริษัทคงไม่สามารถบันทึกเป็นค่าบริจาคการกุศลได้ แต่จะสามารถลงเป็นค่าโฆษณาได้หรือไม่ (มีการพิมพ์ Logo บริษัทในหนังสือที่แจก)
2. ถ้าได้ (บริษัทอยากสนับสนุนโครงการนี้ค่ะ) เราต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายสภาทนายความ โดยต้องเป็นภาษีออกให้ และภาษีนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ค
ขอบคุณอาจารย์ค่ะ"
เรียน คุณ Pensri Owat
1. การให้ร่วมมือสนับสนุนเพื่อพิมพ์และแปลหนังสือของสภาทนายความเพื่อแจกต่อหน่วยงานต่าง โดยจะพิมพ์ Logo ของบริษัทว่าเป็นผู้สนับสนุนโครงการในท้ายหนังสือ นั้นถือเป็๋นราย จ่ายค่าโฆษณา มิใช่รายจ่ายค่าการกุศลสาธารณ เนื่องจากรายจ่ายค่าการกุศลสาธารณะต้องจ่ายโดยไม่หวังผลตอบแทน แต่ตามข้อเท็จจริงข้างต้น มีการพิมพ์เผยแพร่ Logo ของบริษัทว่าเป็นผู้สนับสนุนโครงการในท้ายหนังสือ จัดเป็นการกระทำที่หวังผลตอบแทน
2. บริษัทฯ ไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย เนื่องจากสภาทนายความมิใช่ "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" ตามนัยมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ที่กำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด

ที่มา..www.facebook.com/Suthep.Pongpitak