พฤศจิกายน, 2013 | รับทำเงินเดือน - Part 2 พฤศจิกายน, 2013 | รับทำเงินเดือน - Part 2

เงินได้จากกิจการโรงเรียนที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้

คุณ Suwanna Mongkonsamai ได้โพสต์จากบริเวณ Bangkok ไปยัง Suthep Pongpitak เมื่อ 19 ก.ค. 2556 ว่า
"เรียนอาจารย์ สุเทพที่เคารพ
หนูมีคำถามรบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะดังนี้คะ
บริษัททำธุรกิจเป็นโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ โดยได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกชน ตาม พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 จากกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งโดยปกติจะจัดการเรียนการสอนที่บริษัทเอง ในกรณีที่มีบริษัทว่าจ้างให้ไปสอนภาษาอังกฤษ ให้แก่พนักงานของบริษัท ตามหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ แต่ให้โรงเรียนไปสอนที่บริษัท โดยบริษัทจะเป็นผู้จัดสถานที่ให้ ในกรณีนี้ถือว่าเป็นการเงินได้จากกิจการของโรงเรียนหรือไม่คะ เนื่องจากไปดู้ใน คำวินิจฉัยที่ กค 0702/7241 วันที่ 7 กันยายน 2554 วินิจฉัยว่า ตามมาตรา 120 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัตโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ข้อ 2(4) ของประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่องการกำหนดประเภทและลักษณะของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรของโรงเรียนนอกระบบ การสอนนอกสถานศึกษาตามมาตรฐาน เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการของโรงเรียนราษฎร์ จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำรายได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
แต่มี คำวินิจฉัยที่ กค 0706/4101 วันที่ 18 เมษายน 2550 ตอบว่า การกระทำในลักษณะเดียวกับข้างต้นเป็นการจ้างเนื่องจาก ผู้ว่าจ้างเป็นผู้กำหนดรายละเอียด หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในสัญญาจ้าง และอีกทั้งเป็นการสอนให้กับบุคคลภายนอกที่มิใช่นักเรียนของโรงเรียน ดังนั้นเงินค่าจ้างจึงถือว่าไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ไม่ทราบว่าตกลงตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ทางโรงเรียนต้องนำส่งภาษีหรือไม่คะ และคำวินิจฉัยทั้ง 2 ข้อ มีข้อแตกต่างกันอย่างไรคะ
ขอบคุณล่วงหน้าคะอาจารย์
ขอแสดงความนับถือ"
เรียน คุณ Suwanna Mongkonsamai
ได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้ว ผมมีความเห็นว่า กรณีของบริษัทฯ ไม่เข้าตามข้อเลขที่หนังสือ : กค 0702/7241 ลงวันที่ 7 กันยายน 2554 ซึงเป็นกรณีการจัดการจัดการศึกษาร่วมของสถานศึกษา ตามมาตรา 120 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ซึ่งใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ประกอบกับข้อ 2 (4) ของประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่องการกำหนดประเภทและลักษณะของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรของโรงเรียนนอกระบบ ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 กำหนดว่า การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ครูหรือผู้สอน โดยใช้สื่อการเรียนการสอน หรือโดยการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยมีทั้งครูหรือผู้สอนและสื่อการเรียนการสอน อาจจัดร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน หรือกับหน่วยงานอื่นทั้งในและนอกสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน
หากแต่เข้าตามแนวคำตอบข้อหารือเลขที่ กค 0706/4101 ลง
วันที่ 18 เมษายน 2550 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้ของโรงเรียนสยามคอมพิวเตอร์และภาษา หาดใหญ่ การทำสัญญาจ้างระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. กับโรงเรียนฯ เป็นการจ้างเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้ว่าจ้าง ซึ่งผู้ว่าจ้างเป็นผู้กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอบรมตามสัญญาจ้าง อีกทั้งเป็นการสอนให้กับบุคคลภายนอกที่มิใช่นักเรียนของโรงเรียนฯ ดังนี้
ข้อหารือ :
1. โรงเรียนฯ ได้เข้าทำสัญญากับองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. เพื่อดำเนินการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ตามโครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ข. และองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่น คิดเป็นค่าเล่าเรียนคนละ 7,974 บาท ซึ่งโรงเรียนฯ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งจากกระทรวง ศึกษาธิการ ตามใบอนุญาตลงวันที่ 13 ธันวาคม 2539 เพื่อเปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และกวดวิชาระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลายให้แก่บุคคลทั่วไป เมื่อเรียนจบหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตรเพื่อรับรองวิทยฐานะจากโรงเรียนฯ ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยในการสมัครเข้าเรียน ผู้สมัครต้องกรอกใบสมัคร และโรงเรียนฯ ต้องจัดทำบัญชีรายชื่อผู้เข้าเรียน มีการให้ลงลายมือชื่อเข้าเรียนตามวันและเวลาที่กำหนดในแต่ละหลักสูตร ผู้ผ่านเกณฑ์การทดสอบประเมินผลต้องเขียนคำขอรับใบประกาศนียบัตร และโรงเรียนฯ จะจัดทำทะเบียนไว้เป็นหลักฐานตามข้อบังคับที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด สำหรับผู้เข้ารับการอบรมตามสัญญาฉบับดังกล่าว ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 ถึง 3 รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงฯ กำหนดเช่นเดียวกับนักเรียนผู้สมัครเข้ารับการอบรมด้วยตนเองทุกประการ
2. แม้สัญญาจ้างจะกำหนดรายละเอียดให้อบรมด้วยหลักสูตร Microsoft Window XP, Adobe Photoshop CS และ Macromedia Authoware ก็ตาม แต่หลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตรที่ทางโรงเรียนฯ ได้เปิดสอนเป็นการทั่วไปอยู่แล้ว มิได้กำหนดขึ้นใหม่แต่อย่างใด องค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. เป็นเพียงผู้เลือกหลักสูตร เพื่อให้บุคลากรในสังกัดได้เข้ารับการอบรมเท่านั้น ส่วนเงื่อนไขอื่นในสัญญาเป็นเพียงข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาในการอบรม สถานที่ที่ใช้อบรมการจัดให้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากการศึกษาที่โรงเรียนฯ แต่อย่างใด และแบบสัญญาจ้างที่ใช้เป็นเพียงแบบฟอร์มที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. นำมาใช้กับการทำนิติกรรมสัญญาทุกประเภท รายละเอียดบางส่วนจึงมิได้เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมเนื้อหาบางส่วนไม่อาจถือเป็นรายละเอียดในการอบรมตามโครงการนี้ได้
3. นักเรียนที่จะได้รับประกาศนียบัตรต้องผ่านการสอบประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร ซึ่งผู้รับการอบรมตามสัญญานี้ก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขนี้เช่นเดียวกัน ตามมาตรฐานของกระทรวงฯ ที่กำหนดให้ใช้กับนักเรียน ผู้เข้ารับการอบรมตามสัญญานี้จึงเป็นนักเรียน ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน มิใช่บุคคลภายนอกแต่อย่างใด ในโครงการนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลามีงบสนับสนุนให้จัดการอบรมบุคลากรได้จำนวน 750 คน หากจะให้บุคลากรเหล่านั้นเดินทางมาสมัครเรียนด้วยตนเองเป็นรายบุคคล ย่อมจะเกิดความไม่สะดวก
แนววินิจฉัย :
การทำสัญญาจ้างระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. กับโรงเรียนฯ เป็นการจ้างเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้ว่าจ้าง ซึ่งผู้ว่าจ้างเป็นผู้กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอบรมตามสัญญาจ้าง อีกทั้งเป็นการสอนให้กับบุคคลภายนอกที่มิใช่นักเรียนของโรงเรียนฯ ดังนั้น เงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างที่โรงเรียนฯ ได้รับไม่ถือว่าเป็นเงินได้จากกิจการของโรงเรียนราษฎร์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรม ดา ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(1) ของกฎกระทรวง 126 (พ.ศ. 2509)ฯ และรายรับดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 70/34860

การรับรู้รายได้จากการจำหน่ายบัตรเงินสด

คุณ Jiggee Naja ได้โพสต์ไปจากบริเวณ Bangkok เมื่อ 17 ก.ค. 2556 ว่า
"เรียน อาจารย์สุเทพคะ
อยากจะขอเรียนปรึกษาอาจารย์หน่อยค่ะ เนื่องจากต้องการทำให้ทุกอย่างถูกต้อง
บริษัทฯ ประกอบธุรกิจขายดีลผ่านทางออนไลน์ (เว็บดีล) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า บริษัทฯ ต้องการจัดจำหน่ายบัตรที่ใช้แทนเงินสด โดยบัตรดังกล่าวจะถูกเก็บในรูปของ “เครดิต” ในบัญชีของลูกค้า ลูกค้าสามารถจ่ายด้วยเครดิตที่มี เมื่อต้องการซื้อดีลกับบริษัท โดยเครดิตดังกล่าว มีอายุ 1 ปี หลังจากซื้อ ถ้าไม่มีการใช้จ่ายเครดิตนี้จะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ
บริษัทฯ จึงขอเรียนปรึกษาอาจารย์ว่าการขายบัตรเงินสดนี้ จะมีภาระภาษีใดเกี่ยวข้องบ้าง ในกรณีดังนี้ค่ะ
1. การขายบัตรเงินสด (เครดิต)
2. เครดิตหมดอายุ
ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์"

เรียน คุณธันยนันท์ "Jiggee Naja" (ลูกศิษย์ อาจารย์ที่หอการค้า)
เนื่องจากข้อเท็จจริงตามคำถามยังไม่ชัแจ้งที่จะตอบ แต่เกี่ยวกับธุรกิจบัตรเงินสด กรมสรรพากรได้ตอบข้อหารือตามหนังสือ
เลขที่หนังสือ กค 0706/7571 ลงวันที่ 8 กันยายน 2548 เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบธุรกิจบัตรเงินสด จึงขออนำมาโพสต์ให้ศึกษาไปก่อนหากมีข้อสงสัยประการใด ก็สอบถามเข้าไปใหม่ได้ครับ
ข้อหารือ :
บริษัท อ. จะออกบัตรที่ใช้แทนเงินสดออกจำหน่ายให้แก่ลูกค้าเพื่อใช้บัตรดังกล่าวชำระค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ ซึ่งเป็นสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการรายอื่นๆ เช่น ชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซื้อบัตรชมภาพยนตร์ ชำระค่าใช้บริการ Internet เป็นต้น ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการธุรกิจดังกล่าวได้จากกระทรวงการคลัง ในการจำหน่ายบัตรเงินสดดังกล่าว บริษัทฯ จะจำหน่ายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายต่าง ๆ ซึ่งตัวแทนจำหน่ายเหล่านั้นจะนำบัตรไปจัดจำหน่ายต่อ ๆ ไป จนถึงมือลูกค้าผู้ใช้บัตร โดยบริษัทฯ จะให้ค่าตอบแทนการจำหน่ายบัตรแก่ตัวแทนจำหน่ายที่คำนวณจากมูลค่าหน้าบัตรในอัตราตามที่จะตกลงกัน เมื่อลูกค้านำบัตรมาใช้ซื้อหรือชำระค่าสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่ได้มีข้อตกลงการรับบัตรของบริษัทฯ ล่วงหน้า บริษัทฯ ก็จะจ่ายคืนค่าสินค้าหรือค่าบริการที่ลูกค้าใช้บัตรชำระให้แก่ผู้ประกอบการเหล่านั้นตามมูลค่าหน้าบัตร โดยบริษัทฯ จะเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรจากผู้ประกอบการนั้น ๆ ตามอัตราที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านั้นจะเป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษี (ถ้ามี) ของค่าสินค้าหรือบริการโดยตรงให้แก่ลูกค้าต่อไป บริษัทฯ จึงขอหารือภาระภาษีในการประกอบธุรกิจบัตรเงินสดดังนี้
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
1.1 ในการขายบัตรเงินสดให้แก่ตัวแทนจำหน่าย บริษัทฯ จะต้องนำรายได้ดังกล่าวมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ ซึ่งบริษัทฯ มีความเห็นว่า บริษัทฯ เป็นเพียงผู้ขายบัตรเงินสดให้แก่ลูกค้าเพื่อที่ลูกค้าจะได้นำบัตรนั้นไปใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการแทนการชำระด้วยเงินสด โดยที่สินค้าหรือบริการที่จะได้มีการชำระราคานั้น เป็นของผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่มีข้อตกลงร่วมกับบริษัทฯ มิใช่สินค้าหรือบริการของบริษัทฯ เพราะบริษัทฯ ไม่สามารถประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้บริการบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ บริษัทฯ มีรายได้จากค่าธรรมเนียมการใช้บัตรที่เรียกเก็บจากลูกค้า (ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีนโยบายเรียกเก็บ) และค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากบรรดาผู้ประกอบการที่ยอมรับการชำระราคาด้วยบัตรเงินสดที่ออกโดยบริษัทฯ อีกทั้งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2547 ในข้อ 4.4 กำหนดให้บริษัทฯ ต้องนำเงินที่ได้รับล่วงหน้าจากลูกค้าซึ่งก็คือค่าบัตรเงินสดที่จำหน่ายได้ฝากเป็นเงินสดไว้ที่ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ามูลค่ายอดคงค้างของเงินที่ได้รับล่วงหน้าจากลูกค้า โดยจะต้องเปิดเป็นบัญชีแยกต่างหากจากบัญชีเงินฝากอื่น ๆ ของบริษัทฯ ปราศจากภาระผูกพันและใช้เฉพาะสำหรับการชำระบัญชีอันเนื่องมาจากการให้บริการบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น รายได้การขายบัตรเงินสดจึงมิใช่รายได้จากการประกอบกิจการของบริษัทฯ ที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด
1.2 บริษัทฯ จะต้องนำค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ลูกค้านำบัตรเงินสดของบริษัทฯ ไปใช้ชำระราคาสินค้าหรือค่าบริการมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยจะต้องบันทึกรายได้ค่าธรรมเนียมเมื่อบัตรนั้นได้ถูกนำไปใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการใช่หรือไม่
1.3 ในส่วนของค่าดำเนินการที่บริษัทฯ ต้องชำระให้แก่ตัวแทนจำหน่ายที่ซื้อบัตรเงินสดไปจำหน่ายต่อ บริษัทฯ จะต้องนำค่าดำเนินการดังกล่าวมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อมีการขายบัตรเงินสดให้แก่ตัวแทนจำหน่ายใช่หรือไม่
2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
2.1 ในการจัดจำหน่ายบัตรเงินสด บริษัทฯ จะขายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายดังกล่าวเต็มตามมูลค่าบัตรหน้าบัตร เช่น บัตรราคา 300 บาท ก็จะขายในราคา 300 บาท และตัวแทนจำหน่ายก็จะขายให้ตัวแทนจำหน่ายรายย่อยๆ ในราคาที่เต็มมูลค่าเช่นเดียวกันจนกระทั่งถึงมือลูกค้าก็จะซื้อในราคา 300 บาท ตามมูลค่าที่ระบุไว้ที่หน้าบัตร
รายได้จากการจำหน่ายบัตรเงินสดดังกล่าวข้างต้นไม่ว่าจะเป็นการขายบัตรเงินสดในช่วงที่บริษัทฯ ขายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายรวมถึงในช่วงที่ตัวแทนจำหน่ายได้จำหน่ายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายย่อยๆ รายอื่นๆ อยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 หรือไม่
2.2. ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรที่บริษัทฯ เรียกเก็บจากผู้ประกอบการที่ลูกค้านำบัตรเงินสดไปใช้ซื้อสินค้าหรือบริการ อยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 หรือไม่
2.3 ค่าดำเนินการขายบัตรที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายอยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 หรือไม่
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.1 การจำหน่ายบัตรเงินสดตามข้อเท็จจริงข้างต้น บริษัทฯ หรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้ซื้อบัตรและนำไปจำหน่ายต่อให้ตัวแทนจำหน่ายรายย่อยหรือลูกค้า จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีการจำหน่ายบัตรเงินสดหรือไม่ หากต้องเรียกเก็บจะต้องเรียกเก็บจากมูลค่าตามราคาหน้าบัตรหรือมูลค่าที่ได้ขายให้โดยหักส่วนลดแล้ว และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อใด
3.2 ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรที่บริษัทฯ เรียกเก็บจากลูกค้า และค่าธรรมเนียมร้านค้าที่บริษัทฯ เรียกเก็บจากผู้ประกอบการที่ลูกค้านำบัตรเงินสดไปใช้ซื้อสินค้าหรือบริการ จัดเป็นการให้บริการ จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคา ใช่หรือไม่
3.3 บัตรเงินสดจัดเป็นสินค้าที่อยู่ในบังคับต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
แนววินิจฉัย :
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
กรณีบริษัทฯ ได้จำหน่ายบัตรเงินสดให้แก่ตัวแทนจำหน่ายตามข้อเท็จจริง มิได้เป็นการจำหน่ายบัตรเงินสดให้แก่ลูกค้าเพื่อนำมาใช้ซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทฯ เองแต่อย่างใด ซึ่งลูกค้าผู้ซื้อบัตรจะนำไปใช้ชำระราคาสินค้าหรือค่าบริการของผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ตามที่มีข้อตกลงร่วมกันกับทางบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะได้รับค่าธรรมเนียมการใช้บัตรจากลูกค้าและผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการ เงินที่ได้รับจากการจำหน่ายบัตรดังกล่าว แม้จะเป็นเงินที่บริษัทฯ ได้รับมาก็ตาม แต่ก็เป็นเงินที่มีภาระผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องเก็บรักษาไว้เพื่อประโยชน์ของลูกค้าผู้ซื้อบัตรที่จะนำบัตรนั้นไปใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการในอนาคต ไม่สามารถนำไปใช้เพื่อการอื่นใดได้ นอกจากนำไปใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ลูกค้านำบัตรไปใช้เท่านั้น
ดังนั้น รายได้จากจำหน่ายบัตรเงินสดให้แก่ตัวแทนจำหน่ายจึงมิใช่รายได้ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการที่จะต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด แต่บริษัทฯ จะต้องนำค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากผู้ประกอบการเมื่อบัตรเงินสดนั้นได้ถูกนำไปใช้ชำระราคาค่าสินค้าหรือบริการและต้องนำค่าดำเนินการที่จ่ายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายบัตรเมื่อมีการขายบัตรเงินสดให้แก่ตัวแทนจำหน่ายมาถือเป็นรายได้และรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรแล้วแต่กรณี
2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
2.1 ลูกค้าผู้ซื้อบัตรเงินสดสามารถนำบัตรนั้นไปใช้ชำระราคาสินค้าและบริการต่างๆ แทนที่จะชำระเป็นเงินสดได้นั้น การขายบัตรเงินสดดังกล่าวจึงเป็นการขายสิทธิการซื้อสินค้าหรือบริการตามมูลค่าที่กำหนดในบัตร จึงจัดเป็นการขายทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการขายบัตรเงินสดในช่วงที่บริษัทฯ ขายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายรวมถึงในช่วงที่ตัวแทนจำหน่ายได้จำหน่ายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายย่อยๆ รายอื่นๆ ต่อไป
อย่างไรก็ตาม การที่ตัวแทนจำหน่ายและตัวแทนจำหน่ายย่อยๆ ได้จำหน่ายบัตรเงินสดในทอดต่างๆ โดยได้รับค่าดำเนินการจากผู้ขายบัตรให้นั้น เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในการจัดจำหน่ายบัตรให้แก่บริษัทฯ หรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้ขายบัตรให้แก่ตน ค่าดำเนินการที่ได้รับเข้าลักษณะเป็นค่าบริการที่อยู่ในบังคับที่ผู้จ่าย ซึ่งผู้ขายบัตรที่เป็นผู้จ่ายค่าบริการมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
2.2 ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรที่บริษัทฯ เรียกเก็บจากลูกค้า และค่าธรรมเนียมร้านค้าที่บริษัทฯ เรียกเก็บจากผู้ประกอบการที่ลูกค้านำบัตรเงินสดไปใช้ซื้อสินค้าหรือบริการ
เข้าลักษณะเป็นเงินได้ค่าบริการ หากผู้จ่ายเงินได้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่
ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.1 การจำหน่ายบัตรเงินสดตามข้อเท็จจริง เป็นการจำหน่ายสิ่งที่จะนำไปแทนตัวเงินที่จะนำไปซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการต่างๆ เปรียบเสมือนสิ่งที่ใช้แทนเงินสด
เท่านั้น เมื่อมีการใช้บัตรเงินสดชำระราคาค่าสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ขายสินค้าหรือบริการมีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ ดังนั้น การจำหน่ายบัตรเงินสดในขั้นตอนการขายต่าง ๆ จึงมิใช่เป็นการขายสินค้าหรือบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
ค่าดำเนินการที่ตัวแทนจำหน่ายได้รับถือเป็นค่าบริการ ตัวแทนจำหน่ายมีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 และมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการชำระค่าบริการตามมาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
3.2 ค่าธรรมเนียมร้านค้าที่บริษัทฯ เรียกเก็บจากผู้ประกอบการที่ลูกค้านำบัตรเงินสดไปใช้ซื้อสินค้าหรือบริการ จัดเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาตามมาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
3.3 บัตรเงินสดมิใช่สินค้าตามคำนิยามที่กำหนดไว้ในมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
เลขตู้ : 68/33576

ที่มา..www.facebook.com/Suthep.Pongpitak

รายจ่ายค่าฝึกอบรมสัมมนา ยกเว้นภาษีเงินได้ต้องเป็นการส่งลูกจ้างเท่านั้น

คุณ Preeda Khempet ได้โพสต์จากบริเวณ Bangkok ไปยัง Suthep Pongpitak เมื่อ 16 ก.ค. 2556 ว่า
"ขอเรียนถามท่านเรื่องรายจ่ายในการส่งลูกจ้างไปฝึกอบรมที่บริษัทจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ของบริษัทเป็นจำนวนร้อยละร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างของบริษัทเข้ารับการศึกษาหรืออบรม มี 3 กรณี
1. กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าใช้จ่าย Training Fee: Senior Executive Program ให้กรรมการบริหารชาวต่างชาติ ระยะเวลาการอบรม 20 วัน จำนวนเงิน 519,000.00 บาท ให้กับสถาบันของรัฐที่เปิดสอนในระดับปริญญาโท
2. กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าอบรม Directors Certification program ตามใบเสร็จรับเงิน ให้กรรมการบริหารชาวต่างชาติ จำนวน 115,500.00 บาท โดยจ่ายให้กับสมาคมในประเทศไทย
3. กรณีบริษัท จ่ายค่าใช่จ่าย Crestcom Bulletproof Manager Training ให้กับผู้จัดการทั่วไปของบริษัทฯ จำนวน 144,000.00 บาท โดยจ่ายให้กับนิติบุคคลในประเทศไทย ที่ประกอบการทางด้านฝึกอบรม
ทั้ง 3 กรณี นี้บริษัท จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ของบริษัทเป็นจำนวนร้อยละร้อย ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 หรือเปล่าค่ะ
ขอขอบพระคุณมากค่ะ"

เรียน คุณ Preeda Khempet
ตามมาตรา 4 แห่งตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 บัญญัติว่า
"มาตรา 4 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมในสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นหรือที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
(2) สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 148) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 60)ฯ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2539
ข้อ 2 หลักสูตรที่ใช้ฝึกอบรมลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องเป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้าง และได้รับการรับรองจากกระทรวงแรงงานและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้างแต่ละคนนั้นต้องเป็นไปตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงแรงงาน
ข้อ 3 การฝึกอบรมตามข้อ 2 ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้างนั้น
ข้อ 4 ลูกจ้างที่เข้ารับการฝึกอบรมตามข้อ 2 ต้องเป็นลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องจัดทำทะเบียนลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเพื่อเป็นหลักฐานการทำงานของลูกจ้าง
ข้อ 5 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานลูกจ้างของตน ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างที่เข้ารับการฝึกอบรมนั้นกลับเข้าทำงานให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นหลังจากการฝึกอบรมเสร็จสิ้น
ข้อ 6 วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะใช้ในการฝึกอบรมตามข้อ 2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องกำหนดลักษณะ ขนาด และคุณสมบัติของวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อมิให้ปะปนกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบกิจการตามปกติของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น

ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
เฉพาะกรณีที่ 3. ที่บริษัทฯ ได้จ่ายค่าใช่จ่าย Crestcom Bulletproof Manager Training ให้กับผู้จัดการทั่วไปของบริษัทฯ จำนวน 144,000.00 บาท โดยจ่ายให้กับนิติบุคคลในประเทศไทยที่ประกอบการทางด้านฝึกอบรม เท่านั้นที่ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ของบริษัทเป็นจำนวนร้อยละร้อย ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 เนื่องจากกฎหมายยกเว้นภาษีดังกล่าว ต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าเป็น "รายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น" จึงจะได้สิทธิ กรณีที่ 1 และ 2 เป็นรายจ่ายในการฝึกอบรมให้แก่กรรมการบริหารชาวต่างชาติ ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัทฯ

ที่มา..www.facebook.com/Suthep.Pongpitak