ประกอบกิจการเป็นตัวแทนส่งออกสินค้าอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ | รับทำเงินเดือน ประกอบกิจการเป็นตัวแทนส่งออกสินค้าอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ | รับทำเงินเดือน

ประกอบกิจการเป็นตัวแทนส่งออกสินค้าอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

คุณ Peachana Pitaktigul ได้โพสต์ไปเมื่อ 15 ก.ค. 2556 ว่า
"เรียนถามท่านสุเทพ
เนื่องด้วยทางบริษัทประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนในการส่งออก มีการรับรู้รายได้จากการเป็นตัวแทนส่งออก (มี VAT ด้วย) แต่ถ้าจะต้องการเพิ่มรายได้ของธุรกิจ โดยการจัดหาสินค้าเพื่อส่งออกให้กับลูกค้าชาวต่างชาติเท่านั่น โดยรายได้จะเท่ากับราคาสินค้าบวกค่าบริการ (คิดเป็น % ตามมูลค่าของสินค้า) ซึ่งมูลค่านี้จะเท่ากับยอดส่งออกตามใบขนขาออกคำถามมีดังนี้
1) การรับรู้รายได้ดังกล่าวจะต้องมี VAT รึเปล่าค่ะ
2) หลักฐานในการรับรู้รายได้จะต้องมีเอกสารใดประกอบค่ะ
3) ส่วนค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนแยกออกเป็น2ประเภทคือ
– ซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการที่จดทะเบียน VAT ใบกำกับที่มีขอคืนได้ไหมค่ะ
– ซื้อสินค้าจากบุคคลหรือร้านค้าทั่วไปมีแต่นามบัตรกับบิลเงินสดจะสามารถลงค่าใช่จ่ายได้รึเปล่าค่ะ ควรจะใช้หลักฐานใดได้บ้างเพื่อลงต้นทุน
คำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจการด้านขนส่ง
การขนส่งภายในประเทศเป็นธุรกิจได้รับยกเว้นVAT ถูกต้องใช่มั๊ยค่ะแต่ถ้าเป็นการขนส่งทางรถเพื่อส่งออกตามชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านจะถือว่าเป็นธุรกิจในอัตรา0 หรือยกเว้น VAT ค่ะ
ขอขอบพระคุณอย่างสูงมาณ.ที่นี้ค่ะ"

เรียน คุณ Peachana Pitaktigul
ต่อคำถาม เกี่ยวกับการส่งออก
1. การส่งออกถือเป็นการประกอบกิจการ "ขายสินค้า" ที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม ในอัตรา 0% ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่บริษัทฯ ผ่านพิธีการทางศุลกากร แต่ถ้าส่งออกโดยทางไปรษณีย์ หรือนำติดตัวออกไปต่างประเทศ หรือทางคูเรียร์ ที่ไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร บริษัทฯ ต้องมีภาระ VAT ในอัตรา 7% เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์การส่งออกที่จะได้สิทธิอัตรา 0%
2. หลักฐานในการรับรู้รายได้ แบ่งเป็น
(1) กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ใช้หลักฐานอินวอยส์ทางกาค้าทั่วไป โดยต้องรับรู้รายได้เมือมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า ซึ่งต้องพิจารณาจากเงื่อนไขการขาย คือ FOB หรือ CIF แล้วแต่กรณี
(2) กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ศึกษาจากแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 97/2543
3. เมื่อบริษัทฯ ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว บริษัทฯ ย่อมมีสิทธินำภาษีซื้อตามหลักฐานใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกให้ และไม่เข้าเงื่อนไขเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร มาถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้

กรณีบริษัทฯ ซื้อสินค้าจากบุคคลหรือร้านค้าทั่วไป มีแต่เพียงนามบัตรกับบิลเงินสด นั้น บริษัทฯ ต้องสามารถพิสูจน์ผู้รับได้ว่าเป็นใคร จึงจะสามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ โดยไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร
โดยทั่วไป หลักฐานที่อาจพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ มีอาทิ
– Invoice (ใบส่งของ)
– Tax Invoice (ใบกำกับภาษี)
– ประกอบกับ สำเนาภาพถ่าย และต้นขั้วเช็คชีดคล่อมที่ระบุ "A/C payee only" เว้นแต่ไม่มีหลักฐานข้างต้นก็ใช้เฉพาะหลักฐานตามข้อนี้
– สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกอบการที่เป็นผู้รับเงินค่าสินค้าอย่างแท้จริง (มิใช่ไมหยิบฉวยของผู้ใดมา)

เกี่ยวกับธุรกิจการด้านขนส่ง
– การให้บริการขนส่งภายในประเทศ และการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล เป็นกิจการที่ได้รับยกเว้น VAT ตามมาตรา 81 (1)(ณ) และ (ด) แห่งประมวลบรัษฎากร แล้วแต่กรณี ถูกต้องครับ
– การใน้บริการขนส่งระหว่างประเทศทาง โดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล เท่านั้น ที่ได้สิทธิเสีย VAT ในอัตรา 0% ตามมาตรา 80/1 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
อย่างไรก็ตาม การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน เป็นกิจการที่ผู้ประกอบการมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 81/3 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 3 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 241) พ.ศ. 2534

ที่มา..www.facebook.com/Suthep.Pongpitak

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.