พฤษภาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 3 พฤษภาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 3

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมกรรมการ

เงินกู้ยืมกรรมการ ที่มักจะปรากฎอยู่ในงบดุลฝั่งลูกหนี้ เนื่องจากเงินสดของกิจการมีมาก แต่ไม่สามารถให้ตรวจนับได้ จะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่สำหรับกิจการเอสเอ็มอี บัญชีที่จะถูกนักบัญชีไปพักไว้ก็คือ บัญชีลูกหนี้เงินยืมกรรมการ หรือเงินกู้ยืมกรรมการ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดไว้ว่า กิจการต้องแสดงหรือรับรู้รายได้ หรือค่าตอบแทนจากโอนทรัพย์สิน รายได้ค่าบริการ และดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงิน เพื่อการคำนวณกำไร หรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรตามราคาตลาด ณ วันที่มีการโอนขายทรัพย์สิน หรือสินค้าให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงินนั้น ในกรณีที่ผลตอบแทนดังกล่าว หรือได้รับผลตอบแทนแต่ต่ำกว่าราคาตลาด ทั้งนี้เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สามารถแสดงเหตุผลอันสมควร เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร มีอำนาจประเมินผลตอบแทนให้เป็นไปตามราคาในวันที่เกิดกิจการมีรายได้นั้นได้

สำหรับลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ อัตราดอกเบี้ยที่ควรจะเป็น ได้แก่ อัตราที่กิจการกู้ยืมมาจากสถาบันการเงินอื่น หรือกู้ยืมจากบุคคลภายนอก แต่ถ้ากิจการนำเงินสดในมือของตนออกให้กู้ยืมโดยมิได้มีแหล่งเงินกู้ยืมเลย ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ในขณะนั้น สำหรับระยะเวลา 1 ปีเป็นเกณฑ์ (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/936 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2532) (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802(ก) /3598 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2535) อ้างอิงหนังสือการบัญชีภาษีอากร ของอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ เขียนไว้ "เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล" ข้อ 7 ในกรณีที่บริษัทให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย

(ก) ถ้านำเงินของบริษัทที่มีอยู่ไปให้กู้ยืม โดยไม่คิดดอกเบี้ย หรือคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้เจ้าพนักงานประเมินฯ ประเมินดอกเบี้ยที่ควรได้รับตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำธนาคารในเวลาที่มี การกู้ยืม
(ข) ในกรณีนำเงินที่กู้ยืมมาจากผู้อื่นไปให้กู้ยืม โดยไม่คิดดอกเบี้ยหรือคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้เจ้าพนักงานประเมินฯ ประเมินดอกเบี้ยที่ควรได้รับตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในเวลาที่มีการกู้ยืม

ข้อ 9 ห้างหุ้นส่วนจำกัดประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ในบัญชีของห้างปรากฎว่ามียอดเงินคงเหลือยกมาประมาณ 3,000,000 บาท และในแต่ละเดือนมีการรับ-จ่าย มีเงินสดคงเหลือประมาณเดือนละ 2 ถึง 3 ล้านบาท แต่มิได้นำไปฝากธนาคาร หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้เก็บรักษา ดังนี้ถือว่าห้าง ๆ ได้ให้หุ้นส่วนผู้จัดการกู้ยืมเงินดังกล่าว และเป็นการให้กู้ยืม โดยไม่คิดดอกเบี้ยโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินฯ มีอำนาจประเมินดอกเบี้ยดังกล่าว ได้ตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ในขณะนั้น

(อ้างใน กรมสรรพากร)

ดูอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ย้อนหลัง ของธนาคารกรุงเทพ

ดูอัตราดอกเบี้ยเงินฝากย้อนหลัง ของธนาคารกรุงเทพ

จดทะเบียนบริษัท คำถามที่ถูกถามบ่อย

คำถาม ผู้ร่วมลงทุนไม่ถึง 7 คนได้หรือไม่

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป กฎหมายได้เปลี่ยนจำนวนผู้เริ่มก่อการและถือหุ้นบริษัทจากอย่างน้อย 7 คน เหลือ อย่างน้อย 3 คน (มาตรา 1097)

คำถาม ทุนจดทะเบียนไม่ถึง 1,000,000 บาทได้หรือไม่

บริษัทจำกัด ตามกฎหมาย (ป.พ.พ.) กำหนดมูลค่าหุ้นไม่น้อยกว่าหุ้นละ 5 บาท ฉะนั้น ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำสุดของบริษัท คือ 15 บาท ก็สามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้แล้ว (ผู้ถือหุ้น 3 ราย ถือคนละ 1 หุ้นๆ ละ 5 บาท) ห้างหุ้นส่วน กฎหมายไม่ได้กำหนดทุนขั้นต่ำไว้

ผมเคยเข้าไปตรวจสอบทุนจดทะเบียน เคยเห็นมีบริษัทที่จดทะเบียนทุนไว้ 10,000 บาทอยู่ 2-3 ราย จากจำนวนบริษัทจดทะเบียนในเดือนนั้น 1,000 กว่าบริษัท (เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร)

การกำหนดทุนจดทะเบียนขึ้นอยู่กับ งบกระแสเงินสด (Cashflow) ต้องเพียงพอต่อการทำดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ต้องดูประเภทของธุรกิจด้วยว่าเป็นธุรกิจแบบไหน เป็นธุรกิจซื้อมาขายไป บริการ หรือโรงงานอุตสาหกรรม แต่ละธุรกิจก็มีความจำเป็นในการใช้เงินแตกต่างกัน เช่น

  • โรงงานอุตสาหกรรม อาจจะต้องเงินลงทุนมากเนื่องจากต้องสร้างอาคารโรงงาน ซื้อเครื่องจักร วัตถุดิบ
  • กิจการซื้อมาขายไป ก็ต้องดูในเรื่องสต๊อค ต้องเก็บสต๊อคไว้มากน้อยแค่ไหน การหมุนเวียนเป็นเงินสดเร็วช้าแค่ไหน
  • กิจการบริการ อาจไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนทุนไว้สูง เนื่องจากไม่มีความจำเป็นในการใช้เงินเพื่อลงทุน

คำถาม ทุนจดทะเบียน ต้องชำระอย่างน้อยเท่าไหร่

ต้องชำระค่าหุ้นอย่างน้อย 25% ของมูลค่าหุ้น ตัวอย่างเช่น ทุนจดทะเบียน 500,000 บาท ยอดเงินลงทุนที่ต้องเรียกชำระขั้นต่ำ 25% เท่ากับ 125,000 บาท จึงจะสามารถไปจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์ได้

หลังจากกิจการได้ประชุมผู้ถือหุ้นและแต่งตั้งกรรมการชุดแรก เพื่อบริหารงานและกรรมการชุดแรกนี้ต้องเรียกชำระค่าหุ้น เพื่อนำไปจดทะเบียนบริษัทต่อไป

คำถาม กรณีจดทะเบียนทุน 1 ล้านแต่ไม่กรรมการยังไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีบริษัทได้หรือไม่

ในขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท กรรมการชุดแรกจะต้องเรียกชำระค่าหุ้น และมีหลักฐานการรับชำระค่าหุ้น จึงจะสามารถจดทะเบียนบริษัทได้ ต่อมาภายหลัง กรรมการไม่ได้นำเงินที่รับชำระค่าหุ้นเข้าบัญชีบริษัท ต้องถือว่า กรรมการได้ยืมเงินของกิจการไปใช้ ในทางบัญชีจะต้องบันทึกกรรมการ เป็นลูกหนี้เงินให้ยืมกรรมการ และคิดดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากประจำ หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (กรณีกิจการกู้ยืมเงินมาใช้ในการดำเนินงาน)

คำถาม ชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนหรือชำระค่าหุ้นตามจริง (บางส่วน) อย่างไหนดีกว่า

กฎหมายอนุญาตให้มีการเรียกชำระค่าหุ้น เป็นระยะได้และไม่ได้กำหนดเวลาไว้ว่าจะต้องชำระให้เสร็จสิ้นเมื่อใด เพียงแต่กำหนดการเรียกชำระค่าหุ้นในครั้งแรกไว้ว่าต้องไม่ต่ำกว่า 25%

การบันทึกบัญชีทั้ง 2 กรณี มีวิธีบันทึกที่แตกต่างกันไป ดังนี้

กรณีชำระเต็มจำนวนและกรรมการไม่นำเงินเข้าบัญชี แต่นำไปใช้ส่วนตัว ก็ต้องบันทึกกรรมการเป็น ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ และคิดดอกเบี้ย

กรณีชำระบางส่วนและกรรมการนำเงินเข้าบัญชีจริง ส่วนที่ผู้ถือหุ้นยังชำระค่าหุ้นไม่ครบก็ต้องบันทึกผู้ถือหุ้น เป็น ลูกหนี้ค่าหุ้น อันนี้ไม่ต้องคิดดอกเบี้ย (แต่ผู้ถือหุ้นยังคงมีหน้าที่ที่ต้องชำระค่าหุ้นอยู่ ตามจำนวนเงินที่ค้าง)

รับสมัครผู้ที่ต้องการทำงานพิเศษ Part Time กับสำนักงานบัญชี

สำนักงานบัญชี รับทำเงินเดือน รับจดทะเบียนบริษัท รับทำบัญชี

  • รับสมัครผู้ที่ต้องการทำงานพิเศษ (Part Time)
  • สามารถทำงานวันจันทร์-ศุกร์ ในเวลา 8.00-17.00 น.ได้ (ไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน)
  • คีย์ข้อมูลบัญชีเพื่อออกงบการเงิน
  • คีย์ข้อมูลเงินเดือน เพื่อจัดทำเงินเดือน
  • อัตราค่าตอบแทนวันละ 400-600 บาท ขึ้นอยู่กับประสบการณ์การทำงาน
  • สนใจติดต่อ 080-268-7000

— ปิดรับชั่วคราว —