พฤษภาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน พฤษภาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน

ปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากกรมพัฒนธุรกิจการค้า)

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

1.ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 คือใครบ้าง

แนวคำตอบ

  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
  • บริษัทจำกัด
  • บริษัทมหาชนจำกัด
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
  • บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก เทปเพลง ซีดี วีดีโอ

2.สาขาที่ต้องทำบัญชีแยกออกจากสำนักงานใหญ่ต้องเข้าเงื่อนไขอะไรบ้าง และถ้ากรณีดังต่อไปนี้สาขาต้องทำบัญชีแยกหรือไม่

กรณีที่ 1 สาขาเป็นโกดังเก็บสินค้า ไม่มีการเปิดใบกำกับภาษีขาย มีเพียง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ และเงินเดือนพนักงานบางคน

กรณีที่ 2 สาขาเป็นเพียงสถานที่ผลิตสินค้า (ในกรณีเป็นโรงงานผลิตสินค้าเพื่อขาย) หรือเป็นเพียงสถานที่พิมพ์งาน (ในกรณีเป็นโรงพิมพ์) แล้วส่งให้สำนักงานใหญ่ เป็นผู้เปิดใบกำกับภาษี-ขาย (ในกรณีขายสินค้า) หรือเป็นผู้เปิดใบกำกับภาษีค่ารับจ้างพิมพ์ (ในกรณีเป็นโรงพิมพ์)

แนวคำตอบ

กรณีสาขาที่ต้องทำบัญชีแยกจากสำนักงานใหญ่ ต้องพิจารณาให้เข้าเงื่อนไข ทั้ง 3 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. มีสถานประกอบการที่ตั้งประจำแยกออกไปจากสำนักงานใหญ่
  2. ต้องมีพนักงานประจำ

3.บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน จำเป็นต้องทำบัญชีด้วยหรือไม่

แนวคำตอบ

ขึ้นอยู่กับว่าเป็นธุรกิจที่มีประกาศของกระทรวงพาณิชย์กำหนดให้ต้องจัดทำบัญชีหรือไม่ ในขณะนี้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 กำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจผลิตจำหน่าย นำเข้า ส่งออก เทปเพลง ซีดี วีดีโอต้องทำบัญชีสินค้าตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป หากไม่ได้ทำธุรกิจนี้ก็ไม่ต้องจัดทำบัญชี

4.ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศเข้ามาเปิดสำนักงานผู้แทนในประเทศไทยโดยเข้ามาวิจัยตรวจสอบตลาดและไม่มีรายได้ จะต้องจัดทำงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือไม่

แนวคำตอบ

จะต้องจัดทำงบการเงินส่งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เนื่องจากเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศจึงเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

    ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

    1. การจัดหาผู้ทำบัญชี

    5.ในกรณีบริษัทไม่มีรายรับ ปลายปีจึงหาผู้ทำบัญชีเพื่อส่งงบดุล จะแจ้งเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี อย่างไร

    แนวคำตอบ

    บริษัทไม่ต้องแจ้งชื่อผู้ทำบัญชีเป็นการล่วงหน้าต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ใน ตอนยื่นงบการเงินเมื่อสิ้นรอบปีบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัทต้องระบุชื่อผู้ทำบัญชีของบริษัทใน แบบ ส.บช.3 ส่วนผู้ทำบัญชีของบริษัทต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชี ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ทำบัญชีโดยใช้แบบ ส.บช. 5 จำนวน 2 ชุด(ต่างจังหวัดใช้ 3 ชุด) พร้อมทั้งแนบหลักฐานประกอบ ดังนี้

    1. สำเนาทะเบียนบ้าน
    2. สำเนาบัตรประชาชน
    3. สำเนาปริญญาบัตรหรือสำเนาใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร ( Transcript)
    4. รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป (ต่างจังหวัดใช้ 3 รูป)
    5. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี) โดยแจ้งที่ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จังหวัดนนทบุรี 11000 สำหรับต่างจังหวัดสามารถแจ้งได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้นๆ

    1. การจัดทำบัญชี

    6.ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชีต้องเริ่มทำบัญชีเมื่อใด

    แนวคำตอบ

    • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดต้องจัดทำบัญชีนับแต่วันที่จดทะเบียน
    • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรเริ่มทำเมื่อประกอบกิจการ
    • นิติบุคคลต่างประเทศ เริ่มทำเมื่อเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย

    7.บริษัท บันทึกรายการรับและจ่ายโดยใช้ระบบใบสำคัญโดยไม่มีการลงรายการที่เกิดขึ้นใน บัญชีรายวันต่างๆ ตามที่กำหนดและมีการผ่านรายการจากใบสำคัญไปบัญชีแยกประเภท จะถือว่าเข้าเงื่อนไขบัญชีที่ต้องจัดทำครบถ้วนหรือไม่

    แนวคำตอบ

    ไม่เข้าเงื่อนไข กิจการจะต้องจัดทำบัญชีรายวันตามที่กฎหมายกำหนด

    8.กิจการลงรายการในบัญชีเป็นภาษาต่างประเทศโดยมีภาษาไทยกำกับ กิจการต้องขอนุมัติต่ออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนหรือสามารถทำได้เลย

    แนวคำตอบ

    ไม่ต้องขออนุมัติ

    9.บริษัทลงรายการในบัญชีเป็นรหัสบัญชี และมีคำแปลรหัสบัญชีเป็นภาษาอังกฤษซึ่งถือว่าเป็นภาษากลางแล้ว ไม่ทราบว่าใช้ได้หรือไม่และจำเป็นต้องจัดทำและนำส่งคำแปลรหัสบัญชีที่เป็นภาษาไทยต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอีกหรือไม่

    แนวคำตอบ

    บริษัทต้องจัดทำคำแปลรหัสบัญชีเป็นภาษาไทยไว้ด้วยโดยไม่จำเป็นต้องนำส่งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    10.บริษัทจัดทำบัญชีโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการลงบัญชี สมุดรายวันต่างๆที่จัดพิมพ์โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกต้องครบถ้วนตาม พ.ร.บ. การบัญชีหรือไม่

    แนวคำตอบ

    ถ้ามีข้อความและรายการครบตามที่กฎหมายกำหนด ก็ถือว่าเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติกำหนดแล้ว

    11.ตามที่กฎหมายบัญชีกำหนดว่าต้องมีการทำบัญชีรายวัน 5 เล่ม บริษัทจัดทำบัญชีโดยคอมพิวเตอร์ บัญชีทุกอย่างจะต้องทำในรายวันทั่วไปเพียงอย่างเดียวแล้วจะ post ไปแยกประเภทเป็นแต่ละรายการ กรณีนี้จะถือว่าจัดทำบัญชีรายวันเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

    แนวคำตอบ

    กรณีนี้ถือว่าได้จัดทำเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว

    12.เอกสาร ที่ใช้ประกอบการลงบัญชี ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการใน บัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ในหัวข้อเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี – เอกสาร ที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก กรณีเอกสารนั้นเป็นหลักฐานในการรับชำระ รับฝาก รับเงิน หรือตั๋วเงิน และข้อ 10(จ) ระบุว่า เอกสารนั้นจะต้องมีลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน เว้นแต่เอกสารที่จัดทำและส่งมอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมืออื่น ที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน ต้อง การทราบตัวอย่างของกรณีดังกล่าวและถ้ากิจการรับชำระโดยหักบัญชีเงินฝาก ธนาคารลูกค้า และมีระบบคอมพิวเตอร์ออกใบเสร็จรับเงิน พร้อมกับมีระบบในการคัดแยกและจัดทำเป็นจดหมายพร้อมส่งให้ ลูกค้าทางไปรษณีย์ ในกรณีนี้เข้าข่ายหรือไม่

    แนวคำตอบ

    กรณีที่ถือว่าเป็นเอกสารในการรับชำระ รับฝาก รับเงินหรือตั๋วเงินที่จัดทำ และ ส่งมอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจไม่ต้องมีลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน เช่นการออกใบเสร็จรับเงินซึ่งจัดทำโดยระบบคอมพิวเตอร์และสั่งพิมพ์ จากสำนักงานใหญ่ไปยังสาขาเพื่อส่งมอบให้แก่ลูกค้าที่สาขาในสภาพเดียวกับที่ออกและสั่งพิมพ์ที่สำนักงานใหญ่ เป็นต้น สำหรับกรณีของท่านเป็นเพียงการจัดพิมพ์ใบเสร็จรับเงินด้วยคอมพิวเตอร์แล้วจึงจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ ดังนั้น ใบเสร็จรับเงินดังกล่าวต้องมีลายมือชื่อของผู้รับเงินจึงจะถือว่าเป็นเอกสารที่สมบูรณ์

    1. การปิดบัญชีและการนำส่งงบการเงิน

    13.การยื่นงบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้ยื่นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่ หากมีการประชุมใหญ่วันที่ 31 มีนาคม จะต้องยื่นงบการเงินภายในวันที่ใด

    แนวคำตอบ

    ภายในวันที่ 30 เมษายน

    14.บริษัทที่จดทะเบียนในระหว่างปี เช่น 20 มิถุนายน จะต้องปิดบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินงวดแรกเมื่อไร

    แนวคำตอบ

    ให้พิจารณาจากข้อบังคับของบริษัทว่ามีการกำหนดให้ปิดบัญชีเมื่อใดก็ต้องปิดบัญชีให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท เว้นแต่ในข้อบังคับไม่ได้กำหนดไว้ บริษัทจะเลือกปิดบัญชีเมื่อใดก็ได้แต่ต้องไม่เกิน12 เดือนนับจากวันที่จดทะเบียน และการปิดบัญชีคราวต่อไปให้ปิดในวันเดียวกันกับรอบแรกและต้องปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน

    15.หากต้องการเปลี่ยนรอบบัญชีจะต้องขออนุญาตหรือไม่ มีวิธีการขออนุญาตอย่างไร ที่ไหน

    แนวคำตอบ

    1. ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประสงค์จะขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ในการขออนุญาตต้องจัดเตรียมเอกสาร ดังนี้

    1.1. แบบคำขออนุญาต( ส.บช. 4) จำนวน 1 ชุด

    1.2. สำเนาหลักฐานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

    • สำเนาหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กรณีเป็นนิติบุคคล
    • สำเนาทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย หรือบุคคลธรรมดา
    • สำเนาการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กรณีเป็นกิจการร่วมค้า

    1.3. สำเนาหนังสือของกรมสรรพากรที่อนุญาตให้เปลี่ยนรอบปีบัญชี (ถ้ามี)

    1.4. สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้เปลี่ยนรอบปีบัญชี

    1.5. สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท หรือสำเนาข้อบังคับของบริษัท อย่างใดอย่างหนึ่ง (ถ้ามี)

    1.6. สำเนาแบบนำส่งงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน (ส.บช. 3) ครั้งสุดท้ายก่อนการขออนุญาต

    1.7. หนังสือมอบอำนาจที่ติดอาการครบถ้วนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลมอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทน)

    ทั้งนี้ สำเนาเอกสารประกอบคำขออนุญาตทุกฉบับจะต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาโดยผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลพร้อมประทับตราสำคัญ(ถ้ามี) หรือโดยผู้รับมอบอำนาจแล้วแต่กรณี

    กรณี บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีข้อบังคับระบุเรื่องรอบปีบัญชีให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชี พร้อมกับการขอจดทะเบียนข้อบังคับ โดยยื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

    2. สถานที่ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชี

    2.1. กรณี เป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำ ท้องที่กรุงเทพมหานครหรือยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชีสำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    2.2. กรณี เป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัด อื่นให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานประจำ ท้องที่จังหวัด ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่นิติบุคคลดังกล่าวตั้งอยู่หรือจะยื่น ต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนัก งานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะเปลี่ยนรอบปีบัญชีได้ต่อเมื่อ ได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีแล้วจึงจะเปลี่ยนรอบปี บัญชีได้ ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีอนุญาตแล้วจะมี หนังสือแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร

    16.นิติบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แก่นิติบุคคลประเภทใด

    แนวคำตอบ

    ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาทสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท แต่ยังต้องส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าตามกำหนดคือภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี ส่วนงบการเงินที่ส่งกรมสรรพากรยังต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีภาษีอากร( TAX AUDITOR )

    1. การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

    17.ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตาม พ.ร.บ. การบัญชี ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้

    ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ใด และเก็บรักษาไว้นานเท่าใด

    แนวคำตอบ

    • สถานที่
      • สถานที่ทำการ
      • สถานที่ทำการผลิต
      • สถานที่เก็บสินค้า
      • สถานที่ทำงานเป็นประจำ
    • ระยะเวลา

    ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชีและเมื่อเก็บไว้ครบ 5 ปี หากจะไม่จัดเก็บต่อไปก็ไม่ต้องขออนุญาตต่อสารวัตรบัญชี แต่ควรพิจารณากฎหมายอื่นที่ธุรกิจเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ว่ามีกฎเกณฑ์ใดที่กำหนดให้เก็บนานกว่ากฎหมายบัญชีหรือไม่ หากมีต้องคำนึงถึงกฎหมายนั้นๆ ด้วย

    18.บัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ที่เก็บไว้เกิน 5 ปี สามารถทำลายได้เลย หรือต้องขออนุญาตก่อนที่จะทำลาย

    แนวคำตอบ

    สามารถทำลายได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต

    19.บัญชีและเอกสารเก่าที่เก็บมาครบ 5 ปีหรือนานกว่านั้น ยังต้องขออนุญาตในการจัดเก็บไว้นอกสถานประกอบกิจการด้วยหรือไม่ และถ้าจะทำลายต้องขออนุญาตหรือไม่

    แนวคำตอบ

    ไม่ต้องขออนุญาต หากเก็บไว้ครบ 5 ปี แล้ว

    20.จัดเก็บเอกสารในรูปอื่นได้หรือไม่ สถานที่จัดเก็บเอกสารไม่เพียงพอเป็นไปได้หรือไม่ จะจัดเก็บในรูปmicrofilm หรือจัดเก็บเอกสารในรูปอื่น

    แนวคำตอบ

    ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 มาตรา 13 อนุญาตให้จัดทำบัญชี ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น หาก การจัดเก็บข้อมูลการลงรายการในบัญชีด้วยสื่ออื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำบัญชีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ บริษัทฯสามารถเก็บรักษาบัญชีในลักษณะดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต และถ้าหากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีเรียกบัญชีมาตรวจสอบ บริษัทฯ ไม่สามารถนำบัญชีมาให้ตรวจสอบ และ ไม่สามารถพิสูจน์ให้เชื่อได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังรอบคอบตามสมควรแก่ กรณี แล้ว เพื่อป้องกันมิให้บัญชีสูญหายหรือเสียหายตามมาตรา 16 จะถือว่าบริษัทฯ มีเจตนาทำให้บัญชีสูญหายหรือเสียหาย ซึ่งมีโทษตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 สำหรับการเก็บรักษาเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีด้วยสื่ออิเลคทรอนิค ในขณะนี้ยังไม่สามารถกระทำได้

    21.อยากทราบว่าหากกิจการจะนำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปไว้ที่อื่น จะต้องขออนุญาตหรือไม่ และหากต้องขออนุญาตต้องดำเนินการอย่างไร

    แนวคำตอบ

    จะต้องขออนุญาตจัดเก็บบัญชีและเอกสารไว้ ณ สถานที่อื่น ต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี โดยใช้แบบ ส.บช.1 และแนบเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาต ดังนี้

    1. สำเนาหลักฐานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ให้ความยินยอมใช้สถานที่ ดังนี้

    • สำเนาหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกรณีเป็นนิติบุคคล
    • สำเนาทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย หรือบุคคลธรรมดา
    • สำเนาการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กรณีเป็นกิจการร่วมค้า

    2. เอกสารสำคัญแสดงสิทธิการใช้สถานที่

    • สำเนาสัญญาเช่าสถานที่ กรณีใช้บริการของธุรกิจรับฝากเก็บบัญชีฯ (บริการคลังสินค้า)
    • สำเนาทะเบียนบ้าน โฉนดที่ดิน สัญญาเช่า สัญญาซื้อ/ขายที่ดิน กรณีธุรกิจเป็นเจ้าของสถานที่ที่นำบัญชีไปเก็บ
    • หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ กรณีสถานที่นำบัญชีฯ ไปจัดเก็บ เป็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (เป็นกรรมการ , ผู้ถือหุ้น) หรือเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี

    3. แผนที่โดยสังเขปและภาพถ่ายของสถานที่ที่ขออนุญาตนำบัญชีและเอกสารฯไปจัดเก็บไว้

    4. หนังสือมอบอำนาจที่ติดอากรครบถ้วนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้มอบอำนาจ กรณีผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลมอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทน

    สำเนาเอกสารประกอบคำขออนุญาตทุกฉบับจะต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาโดยผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลพร้อมประทับตราสำคัญ(ถ้ามี) หรือโดยผู้รับมอบอำนาจแล้วแต่กรณี

    กรณีนิติบุคคลขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีฯ ไว้ที่อื่นโดยมีสัญญา หรือการให้ความยินยอมมีกำหนดเวลา เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องยื่นคำขออนุญาตพร้อมแนบหลักฐานใหม่ทั้งหมด ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสัญญาเพิ่มเติมหรือต่อท้ายต้องแนบมาพร้อมการยื่นแบบคำขอด้วย

    สถานที่ยื่นคำขออนุญาต

    1. กรณีเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชี ประจำท้องที่กรุงเทพมหานครหรือยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    2. กรณี เป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัด อื่นให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานประจำ ท้องที่จังหวัด ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่

    นิติบุคคลดังกล่าวตั้งอยู่หรือจะยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    1. ปัญหาอื่นๆ

    22.บริษัทได้จ้างให้สำนักงานบัญชีจัดทำบัญชีให้ โดยได้จัดส่งเอกสารต่างที่ใช้ในการลงบัญชีทั้งหมดให้กับสำนักงานรับทำบัญชี แต่สำนักงานไม่ได้จัดทำบัญชีให้จึงไปขอเอกสารคืนเพื่อให้คนอื่นทำบัญชีให้แต่ได้รับเอกสารคืนไม่ครบถ้วน เมื่อทวงถามทางสำนักงานบัญชีก็จะบอกว่าทางบริษัทส่งให้เท่าที่คืนไป (ตอนส่งเอกสารให้กันไม่ได้ทำหลักฐานว่าส่งอะไรบ้าง) บริษัทจะทำอย่างไร

    แนวคำตอบ

    ใน การจัดส่งเอกสารเพื่อให้สำนักงานบัญชีหรือผู้ทำบัญชีอิสระทำบัญชีให้ควรที่ การทำหลักฐานการส่งมอบเอกสารให้กันเพื่อป้องกันข้อโต้เถียง ซึ่งในกรณีนี้ หากไม่สามารถหาเอกสารที่สูญหายไปได้ บริษัทควรแจ้งเอกสารสูญหายต่อสารวัตรบัญชีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหาย โดยยื่นแบบแจ้งบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหายตามแบบ ส.บช. 2 กรณีเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นแบบ ส.บช. 2 จำนวน 2 ชุด และเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นแบบ ส.บช. 2 จำนวน 3 ชุด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบ ดังนี้

    1. สำเนาหลักฐานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ดังนี้

    • สำเนาหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กรณีเป็นนิติบุคคล
    • สำเนาทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย หรือบุคคลธรรมดา
    • สำเนาการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กรณีเป็นกิจการร่วมค้า

    2. ภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ

    3. หลักฐานที่แสดงได้ว่ามีการสูญหาย ( ใบแจ้งความ)

    4. หนังสือ มอบอำนาจที่ติดอากรครบถ้วนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ อำนาจ กรณีผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลมอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทน

    สำเนาเอกสารประกอบคำขออนุญาตทุกฉบับจะต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาโดยผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลพร้อมประทับตราสำคัญ (ถ้ามี) หรือโดยผู้รับมอบอำนาจแล้วแต่กรณี

    สถานที่ยื่นคำขออนุญาต

    1. กรณีเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่กรุงเทพมหานครหรือยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    2. กรณี เป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัด อื่นให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานประจำ ท้องที่จังหวัด ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่นิติบุคคลดังกล่าวตั้งอยู่หรือจะยื่น ต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    ที่มา..http://www.fap.or.th/mission/detail.php?id=411&type=003&memu_id=3.1.1

    ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าวิทยากร

    โดย..อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

    เรา ต้องยอมรับกันอย่างหนึ่งว่า การศึกษาหาความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องมี ความรู้ในการประกอบอาชีพ ความรู้ที่ต้องมีประดับไว้เพื่อให้รู้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน การขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมเป็นสิ่งที่ควรกระทำไม่ต่างอะไรกับการเติมน้ำ ในแก้วที่ไม่มีวันเต็ม ยิ่งมีความรู้มากเท่าใดก็ยิ่งทำให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

    การ หาความรู้ที่ลงทุนน้อยที่สุดก็คือการติดตามข้อมูลข่าวสารทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อาจจะหาความรู้โดยการลงทุนซื้อหนังสือ ตำราวิชาการต่าง ๆ ที่ลงทุนไม่มากนักมาอ่านเพิ่มเติม หรือเข้ารับการอบรมสัมมนาจากวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ จะต้องเสียค่าใช้จ่าย การจ่ายค่าใช้จ่ายในการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ถือเป็นการลงทุนที่ คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบธุรกิจที่มี พนักงานในองค์กรค่อนข้างมากยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างความรู้ให้ แก่พนักงานให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันในท้องตลาดได้ การให้ความรู้แก่พนักงานในองค์กรสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาตำรา หนังสือที่ให้ความรู้ในแต่ละด้านตามความจำเป็นของพนักงานแต่ละฝ่าย อาจจะใช้วิธีส่งพนักงานไปอบรมตามสถาบันของรัฐหรือเอกชนที่มีการจัดอบรม สัมมนากันอยู่เป็นประจำ หรืออาจจะเลือกให้พนักงานคนใดคนหนึ่งของกิจการที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถมาอบรมให้ความรู้แก่พนักงานของตนเอง ซึ่งวิธีนี้ประหยัดค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก

    วิธีหนึ่งที่จะให้ได้ผลดี แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงก็คือ การจ้างวิทยากรภายนอกเข้ามาอบรมความรู้ให้แก่พนักงานที่เราเรียกว่า In-house Training การว่าจ้างวิทยากรจากภายนอกเข้ามาอบรมสัมมนาให้ความรู้แก่พนักงานนั้นอาจจะ เป็นการว่าจ้างตัววิทยากรโดยตรงหรือบุคคลธรรมดา หรืออาจจะว่าจ้างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าจัดการอบรมภายในของ กิจการก็ได้

    ในกรณีที่มีการว่าจ้างวิทยากรโดยตรงซึ่งเป็นบุคคล ธรรมดาเข้ามาเป็นวิทยากรที่ให้ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาต่าง ๆ ที่พนักงานต้องการสะสมประสบการณ์ในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น ประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้ว่าจ้างที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เมื่อมีการจ่ายเงินค่าจ้างวิทยากรจะต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

    ปัญหา ที่มักจะพบความผิดพลาดอยู่บ่อย ๆ ก็คือจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราใด จะสังเกตได้ว่าส่วนมากแล้วผู้จ่ายเงินที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลมักจะหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 3% ของจำนวนเงินที่จ่าย ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายหักอย่างไร จึงจะถูกต้อง จะต้องพิจารณาจากประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่ายค่าจ้างวิทยากรว่าเป็นเงิน ได้ประเภทใด เงินได้พึงประเมินที่จ่ายเป็นค่าวิทยากรให้กับบุคคลธรรมดาถือเป็นเงินได้พึง ประเมินตามมาตรา 40(2) ที่กฎหมายกำหนดไว้ดังต่อไปนี้

    "มาตรา 40 (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่ เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว"

    การจ่ายค่าจ้าง ให้กับวิทยากรที่นำความรู้ประสบการณ์มาถ่ายทอดให้กับพนักงานของกิจการถือ เป็นการ "รับจ้างทำงานให้" เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) ผู้จ่ายเงินที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเมื่อจ่ายเงินให้กับผู้ รับเงินจะต้องนำเงินได้ที่จ่ายไปคำนวณภาษีที่ต้องหักเสมือนหนึ่งได้จ่ายทั้ง ปี หักด้วยค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท

    และหัก ด้วยค่าลดหย่อนตามกฎหมาย เงินได้พึงประเมินส่วนที่เหลือจะต้องนำไปคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งหากเงินได้พึงประเมินส่วนที่เหลือไม่เกิน 100,000 บาทแรก ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเนื่องจากกฎหมายยกเว้นภาษีให้ ส่วนที่เกิน 100,000 บาทจะต้องนำไปคำนวณหักภาษีในอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ 10 -37% ในแต่ละขั้นของเงินได้พึงประเมิน ตัวอย่างเช่น จ่ายเงินค่าจ้างวิทยากรให้กับนายอนันต์เป็นครั้งแรกในปี 2548 เป็นเงิน 80,000 บาท จะคำนวณภาษีดังนี้

            เงินได้ค่าวิทยากร – มาตรา 40(2) 80,000 บาท
            หัก: ค่าใช้จ่ายเหมา 40% 32,000 บาท
            คงเหลือ 48,000 บาท
            หัก: ค่าลดหย่อน-คนโสด 30,000 บาท
            เงินได้พึงประเมินสุทธิ 18,000 บาท

    ดัง นั้นเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงินค่าวิทยากรให้กับนาย อนันต์ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เนื่องจากเมื่อคำนวณภาษีแล้วเงินได้พึงประเมินสุทธิของนายอนันต์คงเหลืออยู่ 18,000 บาทไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งกฎหมายยกเว้นภาษีเงินได้ให้ในส่วนของ 100,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี

    แต่หากได้มีการว่าจ้างนายอนันต์มา เป็นวิทยากรอีกก็ให้นำเงินได้ที่จ่ายครั้งแรกรวมกับครั้งที่สอง แล้วนำมาคำนวณภาษีอีกหากนำมาคำนวณตามตัวอย่างข้างต้นนี้แล้วปรากฏว่า เงินได้พึงประเมินสุทธิยังคงไม่เกิน 100,000 บาทแรกก็ยังไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และหากมีการว่าจ้างเป็นครั้งที่สามก็ให้เอาเงินได้ที่จ่ายตั้งแต่ครั้งแรก ครั้งที่สอง และครั้งที่สามมารวมกันนำไปคำนวณเหมือนกับวิธีดังกล่าวข้างต้น หากคำนวณแล้วไม่ต้องหักภาษีก็ยังไม่ต้องหักภาษีหากมีการจ้างครั้งต่อไปก็จะ คำนวณลักษณะเดียวกันจนกว่าจะถึงเกณฑ์หักภาษี ณ ที่จ่ายในปีภาษีนั้น

    หาก การจัดอบรมสัมมนาได้มีการว่าจ้างให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับ จ้างจัดอบรมสัมมนา In-house Training หากผู้จ่ายเงินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายค่าจ้างอบรมสัมมนา ให้กับผู้รับเงินที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลถือเป็นการจ่ายเงิน ค่าบริการตามเงินได้พึงประเมินมาตรา 40(8) ผู้จ่ายเงินจะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 3% ของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไป จะเห็นได้ว่าการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายค่าจ้างวิทยากรจะหักภาษีไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ผู้จ่ายเงินจะต้องระมัดระวังและหักภาษีให้ถูกต้อง

    SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร?

    ท่ามกลางกระแสของสังคมที่เรียกร้องต้องการแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงใน ปัจจุบัน การประกอบกิจการในรูปแบบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ Small and Medium Enterprises (SMEs) นับว่าเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการทั่วไป หากย้อนกลับไปดูจะพบว่า SMEs เป็นกลุ่มพลังที่ใหญ่ที่สุดของภาคธุรกิจที่มีประมาณกว่าร้อยละ 85 ของรายที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบัน นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยเพราะเป็นกิจการที่สร้าง มูลค่าแก่ระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ทั้งในแง่ของการสร้างงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ในบทบาทที่หลากหลาย เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่ายสินค้าและผู้ให้บริการ เรื่องจากปกในสรรพากรสาส์นฉบับนี้ จึงนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร รวมทั้งสิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรที่ SMEs ได้รับตามประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญต่อการประกอบกิจการในรูปแบบของ SMEs ในประเทศไทย

        ลักษณะของ SMEs
    กิจการ ที่จะเข้าลักษณะเป็น SMEs นั้น ความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปอาจอนุมานมาจากความหมายที่สำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการสนับสนุน SMEs โดยเฉพาะ ในการนี้ สสว. ได้กำหนดลักษณะของ SMEs ที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยแสดงเป็นตารางดังนี้1

    จำนวน
    ขนาดย่อม
    ขนาดกลาง
     

    จำนวน
    (คน)

     สินทรัพย์ถาวร
    (ล้านบาท)

    จำนวน
    (คน)

     สินทรัพย์ถาวร
    (ล้านบาท)

    กิจการการผลิต ไม่เกิน 50 ไม่เกิน 50 51-200 เกินกว่า 50 – 200
    กิจการบริการ ไม่เกิน 50 ไม่เกิน 50 51-200 เกินกว่า 50 – 200
    กิจการค้าส่ง ไม่เกิน 25 ไม่เกิน 50 26-50 เกินกว่า 50 – 100
    กิจการค้าปลีก ไม่เกิน 15 ไม่เกิน 30 16-30 เกินกว่า 30-60

    (ที่มา : กฎกระทรวง กำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2545)

         ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า กิจการที่จะเข้าลักษณะเป็น SMEs สสว. พิจารณาจากมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรในการประกอบกิจการ และจำนวน แรงงานที่ใช้ประกอบกัน โดยแยกตามประเภทการประกอบกิจการสูงสุดจะมีมูลค่าขั้นสูงของสินทรัพย์ถาวร สำหรับการประกอบกิจกรรมด้านการผลิตหรือการให้บริการไม่เกิน 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
         สำหรับ SMEs ในด้านภาษีอากรนั้น กรมสรรพากรมิได้ให้คำนิยามไว้ หากแต่เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ให้สิทธิและประโยชน์แก่ ผู้ประกอบการกลางและขนาดย่อม จะพบว่าในประมวลรัษฎากรได้กล่าวถึงผู้ประกอบการที่จะได้สิทธิประโยชน์ทาง ภาษีอากร อันถือว่าเป็นการประกอบกิจการในลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไว้ดัง นี้

    1. พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 431) พ.ศ. 2548 บัญญัติให้ลดอัตราภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี ทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท
    2. พระ ราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวม ที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่งได้

         ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า SMEs ในทางภาษีอากรหมายถึงบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วใน วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือจะมีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คนก็ได้

         ภาระภาษี ตามประมวลรัษฎากร
         การประกอบกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs พบว่าจะมีทั้งในรูปแบบของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ภาระภาษีของการประกอบกิจการจึงต้องเกี่ยวข้องกับประเภทภาษีต่างๆ ดังนี้

          ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
         ประมวลรัษฎากรได้กำหนดหน่วยภาษีที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไว้จำนวน 4 หน่วย อันได้แก่ บุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ดังนั้น กรณี SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดาจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ด้วย ทั้งนี้ ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากรที่ได้บัญญัติว่า “ให้บุคคลทุกคน เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา แล้วพร้อมทั้งข้อความอื่นๆ ภายในเดือนมีนาคมทุกๆ ปี…” โดยในการคำนวณภาษี ผู้ประกอบการ SMEs จะต้องคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ กรณีการประกอบกิจการให้บริการ ผลิต ค้าปลีก หรือค้าส่ง ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร SMEs จะต้องนำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับไป หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนด ในพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือจะขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถหักค่าลดหย่อนต่างๆ ที่มีได้ตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากรอีกด้วย
         เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว SMEs ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องนำเงินได้สุทธิไปคำนวณภาษี เงินได้ในอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate) ดังนี้
     

    เงินได้สุทธิ
    เงินได้แต่ละขั้นสุทธิ
    อัตราภาษีร้อยละ
    ภาษีแต่ละขั้นเงินได้

    ภาษีเงินสะสม

    0 – 150,000 150,000 ยกเว้น

    150,001 – 500,000 350,000 10 35,000 35,000
    500,001 – 1,000,000 500,000 20 100,000 135,000
    1,000,001 – 4,000,000 3,000,000 30 900,000 1,035,000
    4,000,001 บาทขึ้นไป

    37

         อย่างไรก็ดี นอกจากการคำนวณภาษีเงินได้ ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว SMEs ที่มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษีเงินได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นที่ไม่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(2) โดยไม่คำนึงว่าในการประกอบกิจการในปีภาษีนั้นๆ จะมีผลกำไรหรือขาดทุนอย่างไร

         ภาษีเงินได้นิติบุคคล
         สำหรับ SMEs ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ โดยคำนวณหากำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการให้เป็นไปตามหลัก เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประมวลรัษฎากร กล่าวคือให้ใช้เกณฑ์สิทธิ์ในการคำนวณกำไรสุทธิ โดยนำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้น และนำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้นแม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลา บัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แล้วคำนวณกำไรสุทธิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
         เมื่อคำนวณหากำไรสุทธิได้แล้ว SMEs ที่มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 50 พร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลนั้นตั้งอยู่ในท้องที่ด้วย

         ภาษีมูลค่าเพิ่ม
         เนื่องจากการประกอบกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการโดยผู้ประกอบการ และการนำเข้าสินค้าโดยผู้นำเข้า อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อ SMEs ประกอบกิจการให้บริการ ผลิต ค้าปลีก หรือค้าส่ง จึงมีหน้าที่ จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย อย่างไรก็ดี หากผู้ประกอบการ SMEs ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการตามประเภทที่บัญญัติไว้ในมาตรา 81 แห่งประมวลรัษฎากร ก็จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทนั้นๆ สำหรับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีมูลค่าของฐานภาษีไม่เกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม กล่าวคือ มีรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร

     

    สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร
         ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดา การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบันยังมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาเหมือนกับบุคคลทั่วไป โดยมิได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรที่พิเศษหรือแตกต่างไปแต่ประการใด แต่เฉพาะสำหรับ SMEs ที่มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะได้รับสิทธิและประโยชน์ทาง ภาษีดังนี้

         1.ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดย่อม2 ที่ มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 15 สำหรับกำไรสุทธิ ไม่เกิน 1 ล้านบาท และ ร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิ 1-3 ล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เกินกว่า 3 ล้านบาทยังคงเสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 โดยผู้ประกอบการขนาดย่อม เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบการมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้รับการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้

    กำไรสุทธิ (บาท)
    อัตราภาษี (%)
    1-1,000,000 15
    1,000,001-3,000,000 25
    3,000,0001 30

         หมายเหตุ : สำหรับกรณีมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเกิน 5 ล้านบาท ขึ้นไป ยังคงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ตามปกติ

         2. บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ อาคาร และเครื่องจักรในอัตราพิเศษ สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาภายในหรือหลัง วันที่ 31 ม.ค. 45 ดังนี้3
           2.1 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (ไม่รวมโปรแกรมคอมพิวเตอร์) ให้หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นร้อยละ 40 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สามารถหักค่าเสื่อมได้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 3 รอบระยะเวลาบัญชี
           2.2 อาคาร โรงงาน ให้หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นร้อยละ 25 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ อาคาร โรงงาน สามารถหักค่าเสื่อมได้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 20 รอบระยะเวลาบัญชี
           2.3 เครื่อง จักร และอุปกรณ์เครื่องจักร ให้หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นร้อยละ 40 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ เครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักร สามารถหักค่าเสื่อมได้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 5 รอบระยะเวลาบัญชี

         3. ยกเว้นเงินปันผล หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นที่นิติบุคคลร่วมลงทุน (Venture Capital: VC)4 ได้ รับจากการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: SMEs (สินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาทและจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน) โดยมีเงื่อนไข ดังนี้5
           (1) นิติบุคคลร่วมลงทุน (VC) ต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยตามประกาศกระทรวงการคลังที่ประกอบธุรกิจเงิน ร่วมลงทุน โดยมีทุนจดทะเบียน ไม่น้อยกว่า  200  ล้านบาท  และมีการชำระค่าหุ้นครั้งแรกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียน และชำระค่าหุ้นที่เหลือทั้งหมดภายใน  3  ปีนับแต่วันจดทะเบียน (โดย VC สามารถลดทุนจดทะเบียนได้หากถือหุ้นใน SMEs ติดต่อกันนานกว่า 7 ปี)
           (2) ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ภายในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551
           (3) VC ต้องมีสัดส่วนหุ้นใน SMEs ต่อทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ดังนี้
             – 20% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 1 เว้นแต่มีเหตุอันสมควรและได้รับอนุญาตจากอธิบดี จะมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 20 ก็ได้
             – 40% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 2
             – 60% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 3
             – 80% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 4
           (4) ต้องถือหุ้นใน SMEs อย่างน้อย   5 ปีติดต่อกัน เว้นแต่ SMEs นั้นจะสามารถเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีในรอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน หรือ SMEs ที่ VC ถือหุ้นมีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาทและมีการจ้าง แรงงานไม่เกินสองร้อยคน จึงจะอนุโลมให้ถือหุ้นใน SMEs น้อยกว่า 5 ปี ก็ได้
           (5) ต้องมอบหมายให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุนเป็นผู้จัดการ VC ใน SMEs

         4. ยกเว้นเงินปันผลและผลประโยชน์จากการโอนหุ้นที่ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจาก VC ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามข้อ 3.

    สรุปสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

    สิทธิประโยชน์
    หลักเกณฑ์/เงื่อนไข
    1. ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ  ผู้ประกอบการขนาดย่อม จากร้อยละ 30 เหลือ

    • ร้อยละ 15 สำหรับกำไรสุทธิไม่เกิน 1 ล้านบาท
    • ร้อย ละ 25 สำหรับกำไรสุทธิที่เกิน 1 ล้าน บาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท และสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เกินกว่า 3 ล้านบาทให้เสียภาษี ในอัตราร้อยละ 30
    1. ต้องเป็นนิติบุคคลไทยที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท
    2. ต้องเป็นกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป

    2. ให้ผู้ประกอบการการขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ อาคาร และเครื่องจักรในอัตราพิเศษ ดังนี้

    • คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ (ไม่รวม โปรแกรม คอมพิวเตอร์) ให้หักค่าเสื่อมราคา เบื้องต้นร้อยละ 40 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยสามารถหักค่าเสื่อมภายในเวลา ไม่น้อยกว่า 3 รอบระยะเวลาบัญชี
    • อาคาร โรงงาน ให้หักค่าเสื่อมราคา เบื้องต้นร้อยละ 25 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยสามารถหักค่าเสื่อมภายในเวลา ไม่น้อยกว่า 20 รอบระยะเวลาบัญชี
    • เครื่อง จักร และอุปกรณ์เครื่องจักร ให้หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นร้อยละ 40 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยสามารถหักค่าเสื่อมภายในเวลาไม่น้อยกว่า 5 รอบระยะเวลาบัญชี
    1. ต้องเป็นนิติบุคคลไทย ที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน
    2. ใช้สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาภายในหรือหลังวันที่ 31 ม.ค. 45
    3. ยกเว้นเงินปันผล หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นที่นิติบุคคลร่วมลงทุน (VC) ได้รับจากการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

    1. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ VC เข้าไปลงทุน หมายถึง นิติบุคคลไทย ที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน
    2. บริษัทที่เป็น VC จะต้องเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นนิติบุคคลร่วมลงทุนตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยกำหนดกิจการ จัดการเงินร่วมลงทุนให้เป็นธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท โดยต้องมีการชำระค่าหุ้นครั้งแรกเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทุนจด ทะเบียน และชำระค่าหุ้นที่เหลือทั้งหมดภายในระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันจดทะเบียน สำหรับการลดทุนจดทะเบียนให้กระทำได้ เมื่อได้ถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 7 ปีติดต่อกัน
    3. ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ภายในวันที่ 31 มกราคม 2551
    4. VC ต้องมีสัดส่วนหุ้นใน SMEs ต่อทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ดังนี้

    • 20% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 1 เว้นแต่มีเหตุอันสมควรและได้รับอนุญาตจากอธิบดี จะมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 20 ก็ได้
    • 40% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 2
    • 60% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 3
    • 80% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 4

    5. ต้องถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีในรอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ จะมีระยะเวลาการถือหุ้นน้อยกว่า 5 ปีในรอบปีบัญชีต่อเนื่องกันก็ได้
    (ก) เป็นการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี ในรอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน หรือ
    (ข) เป็นการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตลอดระยะเวลาที่วิสาหกิจนั้นมี สินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
    6. ต้องมอบหมายให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุนเป็น ผู้จัดการ VC ใน SMEs

    4. ยกเว้นเงินปันผลและผลประโยชน์จากการโอนหุ้นที่ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจาก VC ที่ได้รับจากการยกเว้นภาษีตาม ข้อ 3. ผู้ถือหุ้นใน VC หากได้รับเงินปันผลหรือผลประโยชน์จากการโอนหุ้น จะได้รับการยกเว้นภาษีโดยไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาในการถือครองหุ้นใน VC ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 3

     

    บทสรุป
         จากภาพรวมภาระภาษีที่เกี่ยวข้องกับ กิจการ SMEs รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการ SMEs ที่มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากร จะได้รับการสนับสนุน และส่งเสริมการประกอบกิจการด้านอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยเสียภาษีใน อัตราที่ต่ำกว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และยังได้รับสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราพิเศษ เป็นผลให้สามารถบันทึกรายจ่ายได้มากกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ทั่วไป ทั้งนี้ ด้วยความมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถแข่งขันกับ ผู้ประกอบการรายใหญ่ต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ดี นอกจาก ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแล้ว ยังพบว่ามีผู้ประกอบการ SMEs ในรูปแบบบุคคลธรรมดาอยู่จำนวนไม่น้อย แต่ก็ยังมิได้มีมาตรการทางภาษีที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนเฉพาะเจาะจงแต่ประการ ใด ดังนั้น หากรัฐจะกำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดาให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ก็น่าจะเป็นการพัฒนาธุรกิจรากหญ้าของประเทศไทยให้แข็งแรงมากขึ้น อันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กลุ่ม รากแก้วเข้มแข็งตามไปด้วยได้ แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ SMEs ในรูปแบบใด การศึกษาข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะกฎหมายภาษีอากร ก็จะช่วยให้การประกอบกิจการราบรื่นและเติบโตไปได้ตามเป้าหมาย ซึ่งนอกเหนือจากหลักการสำคัญ ที่นำเสนอผ่านทางบทความนี้แล้ว ก็ขอให้ศึกษาแนวคำวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องท้ายบทสำหรับประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจควบคู่กันไปด้วย

    ที่มา..สรรพากรสาส์น