เงินปันผล และเครดิตภาษีเงินปันผล | รับทำเงินเดือน เงินปันผล และเครดิตภาษีเงินปันผล | รับทำเงินเดือน

เงินปันผล และเครดิตภาษีเงินปันผล

เครดิตภาษีสำหรับเงินปันผล (1)

สิทธิประโยชน์ประการหนึ่งของผู้มีเงินได้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้ รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

กรุงเทพ ธุรกิจออนไลน์ : ก็คือการใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกรมสรรพากรได้เคยออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 119/2545 เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 พ.ย.2545 โดยยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.108/2544 ลงวันที่ 27 ก.ค.2544 แต่ด้วยระยะเวลาได้ล่วงเลยมานานแล้วจึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา – วิสัชนา อีกครั้งหนึ่งดังนี้ครับ

ปุจฉา ทำไมจึงต้องมีการให้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

วิสัชนา การให้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อาจพิจารณาได้เป็น 2 ประการคือ

ประการที่ 1 เป็นไปเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังกล่าวได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อนำเงินกำไรหลังจากภาษีเงินได้นิติบุคคลมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก ครั้งหนึ่ง ซึ่งถือเป็นความซ้ำซ้อนทางเศรษฐกิจ (ECONOMIC DOUBLE TAXATION) รัฐๆ หนึ่งจัดเก็บภาษีเงินได้จากเงินได้ก้อนเดียวกันตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป)

ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่เกิดจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยให้แก่ผู้อยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้มีภูมิลำเนาในไทย จึงกำหนดให้ผู้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าว ได้รับเครดิตภาษีเท่ากับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล หารด้วยร้อยลบอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งอาจแสดงเป็นสูตรได้ดังนี้

เครดิตภาษี    =    เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร   x   อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

100 – อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

เครดิตภาษีที่ได้รับให้นำมาถือรวมเป็นเงินได้พึงประเมิน เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้เป็นเงินภาษีเท่าใด ให้นำเครดิตภาษี (รวมทั้งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย) มาหักออก หากยังขาดให้ชำระเพิ่ม แต่ถ้าเกินให้มีสิทธิขอคืนภาษีจากกรมสรรพากร

ซึ่งวิธีการเครดิตภาษีดังกล่าวเป็นการที่รัฐให้เครดิตภาษีเต็มจำนวน (FULL CREDIT) ที่ผู้มีเงินได้ได้ชำระภาษีเงินได้ในรูปของภาษีเงินได้นิติบุคคล

ประการที่ 2 การพิจารณาให้เครดิตภาษีดังกล่าว เป็นการให้ทางเลือกเเก่ผู้มีเงินได้ที่จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลัก ความสามารถในการเสียภาษี (ABILITY TO PAY PRINCIPLE) กล่าวคือ หากผู้มีเงินได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% ของเงินปันผล เท่ากับผู้มีเงินได้ได้เสียภาษีเงินได้ไปแล้วเป็นจำนวนถึง 37% ของกำไรสุทธิ ซึ่งเป็นอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขั้นสูงสุด ที่ใช้สำหรับผู้ที่มีเงินได้สุทธิเกินกว่าสี่ล้านบาทขึ้นไป กฎหมายจึงให้สิทธิแก่ผู้มีเงินได้ที่จะเลือกเสียภาษีเงินได้เท่ากับจำนวน ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้อีกต่อไป เพราะโดยภาพรวมรัฐได้เม็ดเงินภาษีจากผู้มีเงินได้ท่านนั้นเต็มตามจำนวนที่ รัฐพึงได้แล้ว

แต่สำหรับผู้มีเงินได้ที่ความสามารถในการเสียภาษียังไม่ถึงขั้นที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้ในอัตราสูงสุดหรือ 37% ของเงินได้สุทธิ การได้สิทธิเครดิตตามเหตุผลประการที่ 1 ดังกล่าว ย่อมทำให้เกิดความเป็นธรรมที่ผู้มีเงินได้จะได้เริ่มคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาจากเงินกำไรสุทธิในส่วนของตนอีกครั้งหนึ่ง ตามขั้นหรือระดับความสามารถในการเสียภาษีของตน

ปุจฉา การได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรจะเกิดขึ้นในกรณีใดและเมื่อใด

วิสัชนา เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้จ่ายเงิน ปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ไม่ว่าผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ ตาม บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้จ่ายเงินได้จะทำการหักภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 10% ของเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งขอกำไร ซึ่งผู้เงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 เลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่าที่ถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย โดยไม่นำเงินได้ที่เป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรมารวมคำนวณเพื่อ เสียเงินได้ตามปกติ และไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายนั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ได้ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน โดยวิธีนี้ ผู้มีเงินได้จะไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด

วิธีที่ 2 เลือกที่จะนำเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาตามวิธีปกติ คือ นำเงินได้พึงประเมินมาหักด้วยค่าใช้จ่าย (ถ้ามี) และค่าลดหย่อน คงเหลือเป็นเงินสุทธิเท่าใด นำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้า แต่จำนวนภาษีที่ต้องเสียต้องไม่น้อยกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้จากอัตรา 0.5% ของเงินได้พึงประเมินที่จำนวนตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป แต่ทั้งนี้ไม่รวมเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร

โดยวิธีนี้ เฉพาะผู้มีเงินได้ที่อยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้มีภูมิลำเนาในไทย จะได้รับเครดิตภาษีเท่ากับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล หารด้วยร้อยลบอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยจะต้องนำเครดิตภาษีที่ได้รับให้นำมาถือรวมเป็นเงินได้พึงประเมิน เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

เครดิตภาษีสำหรับเงินปันผล (2)

ขอนำประเด็นสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้รับเงินปันผล หรือ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 มา ปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่จะได้รับเครดิตภาษี หรือไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรอย่างไร

วิสัชนา หลักเกณฑ์เบื้องต้นในการพิจารณาว่า ผู้มีเงินได้รายได้จะได้รับเครดิตภาษีตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้

1. สิทธิประโยชน์ข้อนี้ กำหนดไว้เป็นพิเศษแก่เฉพาะผู้มีเงินได้ที่เป็นอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี หรือไม่ก็ต้องเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย กล่าวคือ เป็นผู้มีชื่อในทะเบียนราษฎร์ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร์ของไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้มีเงินได้ดังกล่าวจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าว

2. ต้องเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย รวมทั้งกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย หรือจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น กองทุนสินภิญโญ กองทุนทรัพย์ทวิ เป็นต้น

3. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล รวมทั้งกิจการร่วมค้า เว้นแต่กองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้ผ่านการเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิมาแล้ว

ปุจฉา กรณีใดบ้างที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไร แต่ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

วิสัชนา กรณีดังต่อไปนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่ง ของกำไร โดยไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

1. สำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

(1) กรณีได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยจ่ายจากกำไรของโครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน และได้รับในช่วงเวลาที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนนั้น

(2) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยบริษัทการจัดการกองทุนรวม

(3) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น โรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือกิจการฝึกอบรมภายในแก่พนักงานของตนและพนักงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลในเครือเดียวกัน บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ประกอบกิจการขนส่งสินค้าโดยเรือเดิน ทะเล

2. สำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

(1) เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล ซึ่งกฎหมายกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42(14) แห่งประมวลรัษฎากร

(2) เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากกองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ปุจฉา กรณีได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยได้รับเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล แต่มีการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวภายหลังพ้นระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริมการลง ทุน ผู้ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งขอกำไรดังกล่าวมีภาระภาษีอย่างไร และมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่

วิสัชนา กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล อาจแยกพิจารณาได้ดังนี้

1. กรณีกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนได้จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของ กำไรในช่วงเวลาที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผู้ได้รับเงินปันผลจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด และไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีสำหรับเงินได้ดังกล่าว

2. กรณีกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนได้จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของ กำไรภายหลังพ้นระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว ผู้จ่ายเงินปันผลต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ออกให้แก่ผู้มีเงินได้ว่า “ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร” ด้วย ทั้งนี้ ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด

เครดิตภาษีสำหรับเงินปันผล (3)

ขอ นำประเด็นสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้รับเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายไทย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 มา ปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ

ปุจฉา ช่วยตอกย้ำแนวคิดในการมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อีกสักครั้งหนึ่ง เพราะยังไม่ชัดเจนในส่วนที่เกี่ยวกับเหตุผลความจำเป็น

วิสัชนา เป็นคำถามที่ดี ที่ยังไม่ได้ชี้แจงมาก่อน จึงขอโอกาสนี้กล่าวถึงแนวคิดในการมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้ครับ

1.ในบ้านเรากำหนดหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นสองระดับ กล่าวคือ นอกจากระดับที่เป็นกำไรสุทธิ ซึ่งอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยทั่วไป คือ ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ คงเหลือกำไรสะสมหลังจากเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวนร้อยละ 70 ของกำไรสุทธิ ในระดับที่สอง คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินปันผล ซึ่งเสียภาษีสูงสุดในอัตราร้อยละ 10 ของเงินกำไรสะสมที่เหลือดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 7 ของกำไรสุทธิ

เมื่อรวมภาษีเงินได้ที่ชำระทั้งสองระดับแล้วเทียบกับกำไรสุทธิทั้งสิ้น โดยคิดเป็นอัตรา % ก็จะได้เป็นร้อยละ 37 ของกำไรสุทธิ ซึ่งจะเห็นได้ว่า อัตราร้อยละ 37 เป็นอัตราเดียวกับอัตราสูงสุดของอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นั่นเองเป็นคำตอบว่าทำไมอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรดาสูงสุดจึงเป็นอัตราร้อย ละ 37 ของเงินได้สุทธิ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดความเป็นกลางในการจัดเก็บภาษีเงินได้ทั้งสองประเภท เพราะไม่ว่าจะเลือกประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดาหรือประกอบกิจการในรูป ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลก็ตาม อัตราภาษีเงินได้สูงสุดก็จะไม่เกินร้อยละ 37 ทั้งสองรูปแบบ อันเป็นหลักการของภาษีอากรที่ดี ในข้อที่ว่าด้วย “ความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ”
ดังนั้น หากผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งได้สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละ 10 ของเงินปันผล ตามมาตรา 48(3) แห่งประมวลรัษฎากร ก็จะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าว เสียภาษีเงินได้ทั้งสิ้นร้อยละ 37 ของกำไรสุทธิ

2.กล่าวสำหรับผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่อาจจะมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 37 ของกำไรสุทธิ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดของอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงเกิดแนวคิดที่จะให้ผู้มีเงินได้รายนั้นๆ ได้ความเป็นธรรมในระบบภาษีอากรสูงสุด และเป็นไปตามหลักความสามารถในการเสียภาษีอากร กล่าวคือ หากมีเงินได้น้อยก็ให้เสียภาษีเงินได้ในอัตราต่ำ และเพิ่มอัตราสูงขึ้นไปเป็นขั้นบันไดหรือที่นิยมเรียกกันว่า “อัตราก้าวหน้า” (PROGRESSIVE RATE) ทั้งนี้ โดยให้ผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้รับเงินได้ ที่เป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือมีภูมิลำเนาในประเทศไทย ได้สิทธิเสียภาษีจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น เสมือนเป็นผู้ประกอบกิจการเองแต่เพียงลำพัง จึงให้คำนวณและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากกำไรสุทธิในส่วนของผู้มีเงิน ได้อีกครั้งหนึ่ง สำหรับภาษีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ตนได้เสียไป ก็ให้นำมาเป็นเครดิตหักออกจากจำนวนภาษีที่คำนวณได้ หากเหลือก็ให้มีสิทธิได้รับคืนจากรัฐ

แนวคิดดังกล่าว เป็นแนวคิดที่ประเทศไทยเราได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ อันเป็นแม่แบบของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยเรียกการให้เครดิตในลักษณะนี้ว่า ระบบเครดิตเต็มจำนวน (FULL CREDIT)
แต่เดิมอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระบบอัตราเดียว คือ ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ การบัญญัติกฎหมายมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร จึงกำหนดเป็นการตายตัวว่า เครดิตที่ผู้มีเงินได้ได้รับคิดเป็นอัตราเศษ 3 ส่วน 7 ของเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ผู้มีเงินได้ได้รับ

ครั้นต่อมา มีการพัฒนาระบบอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระบบหลายอัตรา จึงจำเป็นต้องปรับจำนวนเครดิตภาษีให้เป็นธรรมตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นๆ ได้เสียไปจริง

ปุจฉา การจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิที่เกิดจากการรับรู้รายได้ตามเกณฑ์ส่วนได้ส่วนเสีย (EQUITY METHOD) มีผลกระทบต่อการได้รับเครดิตภาษีอย่างไร

วิสัชนา เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากบริษัทที่รับรู้รายได้ตามเกณฑ์ส่วนได้ส่วน เสีย จะไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อบริษัทผู้จ่ายปันผลได้รับเงินปันผลจากบริษัทร่วมหรือบริษัทในเครือ ของตน ก็ไม่มีสิทธินำมาจ่ายเงินปันผลอีก จึงทำให้ผู้ถือหุ้นเสียสิทธิประโยชน์ข้อนี้ไป แต่ข้อดีคือผู้ถือหุ้นได้สิทธิรับเงินปันผลก่อน

เครดิตภาษีสำหรับเงินปันผล (4)

ขอนำประเด็นสิทธิ ประโยชน์เกี่ยวกับการใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้รับเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 มา ปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ

ปุจฉา กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไร จากกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจะได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่

วิสัชนา กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือมีภูมิลำเนาในประเทศไทย และเป็นผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการใน ประเทศไทย และได้ผ่านการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิในอัตรา 30% ของกำไรสุทธิ ผู้มีเงินได้ดังกล่าวก็ย่อมได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรด้วย เนื่องจากกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ถือเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิเช่นเดียวกับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทยทั่วไป เงินส่วนแบ่งของกำไรจึงถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

ปุจฉา กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น กองทุนสินภิญโญ หรือกองทุนทรัพย์ทวี และเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร และผู้ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร จะได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่

วิสัชนา กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม เช่น กองทุนสินภิญโญ กองทุนทรัพย์ทวี ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าว มีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเลือกเสียภาษีเท่าที่ถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 10% ของเงินได้ หรือจะนำเงินส่วนแบ่งของกำไรไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแบบ ภ.ง.ด.90 เมื่อสิ้นปีภาษีตามปกติก็ได้ ซึ่งผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด เนื่องจากเงินได้ของกองทุนรวม และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไร จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 เช่น กองทุนบัวหลวง กองทุนรวงข้าว เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นนี้ผู้ได้รับเงินปันผลไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด เนื่องจากกองทุนดังกล่าวไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และหากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 10% ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการ ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเลือกเสียภาษีเท่าที่ถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย หรือจะนำเงินส่วนแบ่งของกำไรไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแบบ ภ.ง.ด.90 เมื่อสิ้นปีภาษีตามปกติก็ได้ ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 262) พ.ศ.2536

โดยทั้งสองกรณี ผู้จ่ายเงินได้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ออกให้แก่ผู้มีเงินได้ว่า “ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร” ด้วย

ปุจฉา กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการสถานฝึกอบรม เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างของตน หรือของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ผู้ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร จะได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่

วิสัชนา เนื่องจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนและ สถาบันอุดมศึกษา หรือกิจการสถานฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างของตน หรือของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวล รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 284) พ.ศ.2538 ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการดังกล่าว จะไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนและสถาบันอุดมศึกษา ยังได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2(37) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ส่วนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ประกอบกิจการสถานฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างของตน หรือของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ผู้จ่ายเงินปันผลต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 10% ของเงินได้ ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนผู้จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร จะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ออกให้แก่ผู้มีเงินได้ว่า “ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร” ด้วย

เครดิตภาษีสำหรับเงินปันผล (5)

ขอนำประเด็นสิทธิ ประโยชน์เกี่ยวกับการใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีเงินได้ที่เป็นถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้รับเงินปันผลหรือ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 119/2545 มา

ปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

วิสัชนา กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหลายอัตรา เมื่อจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ทราบโดยชัดแจ้งว่า จ่ายจากเงินกำไรสุทธิหลังจากเสียภาษีในอัตราใด ผู้จ่ายเงินได้จะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้น จำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวไม่สามารถทราบโดยชัดแจ้งว่า จ่ายจากเงินกำไรสุทธิหลังจากเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราใด ให้เฉลี่ยเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามส่วนของกำไรสุทธิหลังจากเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลในแต่ละอัตราภาษี และจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้น จำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราใด ซึ่งในกรณีนี้ ทั้งยุ่งยาก และที่สุดแล้วก็ต้องระบุอยู่ดีว่า ได้จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกำไรสุทธิหลังจากเสียภาษีเงิน ได้บุคคลอัตราใด ดังนั้น จึงควรที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหลาย อัตรา เช่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท รวมทั้งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับการลดอัตรา หรือกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จะได้จัดทำบัญชีแยกประเภทกำไรสะสมหลังจากเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมทั้งบัญชีสำรองตามกฎหมาย (สำหรับบริษัทจำกัด) เป็นรายอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อความสะดวกในการจัดสรรกำไรสะสมเป็นเงินปันผล โดยเลือกจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิหลังจากเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอัตราใด ก่อนหลังก็ได้

ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับโทษ กรณีระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิการได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไร วิสัชนา มีแนวปฏิบัติดังนี้

1. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผล แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้โดยถูกต้องและครบถ้วนแล้ว หากผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี หรือนำไปใช้เครดิตภาษีถูกต้องตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผล แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว หากผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่ใช้เครดิตภาษีไม่ถูกต้อง โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบ ถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับผู้มีเงินได้ต้องรับผิดตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงิน ภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียก เก็บภาษีเพิ่มเติมจากผู้มีเงินได้ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร

3. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผล แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร

4. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผล แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้จะได้รับเงินภาษีคืนเกินไป หากผู้มีเงินได้ยังไม่ได้รับเงินภาษีคืน หรือได้รับเงินภาษีคืนแต่ยังไม่เกินกว่าจำนวนที่พึงได้รับ ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร

5. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผล แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบ ถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืน เกินไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียก เก็บภาษีเพิ่มเติมจากผู้จ่ายเงินได้ก่อน

แต่ถ้าเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้จ่ายเงินได้ไม่ได้หรือไม่ครบ จำนวนที่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้มีเงิน ได้ ตามมาตรา 18 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินปันผลจากผู้จ่ายเงินได้หลายราย และผู้จ่ายเงินได้บางรายแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการ หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง หากผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบ ถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงิน ภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

เครดิตภาษีสำหรับเงินปันผล (6)

ขอนำประเด็นสิทธิ ประโยชน์เกี่ยวกับการใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีเงินได้ที่เป็นถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้รับเงินปันผลหรือ เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 มาปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ

ปุจฉา กรณีบริษัทจดทะเบียน บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการดังต่อไปนี้ ผู้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าว จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ อย่างไร

1. บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

2. กองทุนรวมทั้งกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น กองทุนสินภิญโญ กองทุนทรัพย์ทวี และกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535

3. กิจการร่วมค้า (JOINT VENTURE: JV) ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร

4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุน

วิสัชนา กรณีดังกล่าวอาจแยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้

1. สำหรับบริษัทจดทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งกรณีบริษัทจดทะเบียนทั่วไป (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาด MAI

(1) กรณีได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการดังต่อไปนี้ ให้ได้สิทธิไม่ต้องนำเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้นิติบุคคล (ก) บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

(ข) กองทุนรวมทั้งกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และกองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

(ค) กิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

(ง) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน โดยได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ ได้ส่งเสริมการลงทุน และได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวในช่วงเวลาที่ได้รับส่ง เสริมการลงทุน

กรณีตาม (ก) และ (ข) ต้องถือหุ้นหรือหน่วยลงทุนในกิจการผู้จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ดังต่อไปนี้ ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเดือนทั้งก่อนและหลังวันได้รับเงินปันผลหรือเงิน ส่วนแบ่งของกำไร จึงจะได้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว

(1) กรณีได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการดังต่อไปนี้ ต้องนำเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลทั้งจำนวน (ก) ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

2. สำหรับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

(1) กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยได้ถือหุ้นในกิจการผู้จ่ายเงินปันผล ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเดือนทั้งก่อนและหลังวันได้รับเงินปันผล

(ก) บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยทั่วไป ได้สิทธินำเงินปันผลมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียงกึ่งหนึ่ง (50%)

(ข) สำหรับบริษัท HOLDING COMPANY หรือบริษัทจำกัดที่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่น้อยกว่า 25% ของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง และบริษัทจำกัดตามข้อ 1 มิได้ถือหุ้นในบริษัท HOLDING COMPANY ผู้รับเงินปันผลไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และได้ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผลตามข้อ 1 ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเดือนทั้งก่อนและหลังวันได้รับเงินปันผล บริษัท HOLDING COMPANY จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินปันผลที่ได้รับนั้นทั้งจำนวน

(2) กรณีได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร หรือกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 จะได้สิทธินำเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน ได้นิติบุคคลเพียงร้อยละ 50

(3) กรณีได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการร่วมค้า ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลง ทุน และเป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ ได้ส่งเสริมการลงทุน และได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวในช่วงเวลาที่ได้รับส่ง เสริมการลงทุน จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร จากกิจการดังกล่าวทั้งจำนวน

Comments

  1. ที่บอกว่านิติบุคคลจ่ายภาษี30% และหักณที่จ่ายปันผลสูงสุดีก10% ทําให้รวมเป็น 37% เหมือนบุคคลธรรมดา ถ้าหลักการกําหนด tax rate เป็นแบบนี้จริงๆ ตอนนี้นิติบ์คคลไดิลดภาษี ลงเหลือ 23% ปีหน้า20%บุคคลธรรมดาก็ควรได้ลดสินะ? ควรไปเรียกร้องต่อใครได้มั๊ยคะ

  2. ตอบคุณศักดิ์ชัย

    สามารถขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ได้ครับ ให้ยื่นแบบ ภงด.90 ถ้าผลการคำนวณมีภาษีชำระไว้เกิน สามารถขอคืนได้ครับ
    ที่ถามมาว่า ไม่ต้องยื่นแบบได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ได้ครับ

  3. ศักดิ์ชัย says:

    รบกวนสอบถาม กรณีบุคคลธรรมดามีเงินได้รวมไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี แต่ได้รับปันผลจากหุ้นแล้วถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย10% ไม่ทราบว่าจะยื่นแบบภาษีอย่างไร เพื่อขอคืนภาษีที่จ่ายไปครับ
    ในกรณีของผม มีเงินได้ 160000 บาทต่อปี
    เงินปันผลจากหุ้น 50000 บาท

    แล้วถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 5000 บาท ไม่ทราบว่าผมจะขอคืนภาษีที่จ่ายไปได้หรือไม่และต้องยื่นแบบภาษีใดบ้างครับ

  4. ตอบคุณจันทิพ

    เงินปันผล กฎหมายให้สิทธิในการเลือกครับคือไม่ต้องนำมารวมคำนวณกับภาษีปลายปีก็ได้ แต่จะเสียสิทธิในการขอคืนภาษี หรือจะนำมารวมคำนวณภาษีปลายปีก็ได้ เพื่อขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องลองคำนวณดูว่าคุ้มหรือไม่ครับ

  5. เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้่รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าเราได้รับปันผลจากบริษัทนี้มา เราก็ไม่ต้องนำรายได้ส่วนนี้มารวมกับรายได้ส่วนอื่น แต่เราจะขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายได้อย่างไร แต่เงินปันผลจากตัวอื่นที่สามารถเครดิตได้ เราก็นำไปยื่นในแบบ ภงด.90 ตามปกติ ส่วนตรงที่ไม่ต้องนำไปรวมเป็นรายได้ก็ไม่ได้ยื่น แต่ต้องการขอภาษีที่ถูกหัก ไปคืนได้หรือไ่ม่

  6. ตอบคำถาม

    1.บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะให้ถือว่า เงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดา ผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดาในกรณีบิดามารดา ใช้อำนาจปกครองร่วมกัน (เท่ากับบุตรไม่มีเงินได้)

    2.ต้องนำมารวมด้วยครับ ไม่มีเครดิตภาษีเพราะเงินปันผลนี้ไม่ได้เสียภาษีเงินไ้ด้นิติบุคคล แต่จะมีเครดิตภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ถูกต้องครับ

  7. บุตรอายุ 17 ปีได้รับเงินปันผล says:

    บุตรอายุ 17 ปีเข้าถือหุ้นเมื่อ มี.ค.2553 ในเดือน ธ.ค.53 ได้รับเงินปันผล 921,250 ซึ่งมีทั้งส่วนที่ไม่เสียภาษี 9,880.22 (เนื่องจากกำไรสุทธิของบริษัทจำนวน 150,000 ยกเว้นภาษี(ทุนบริษัทไม่เกิน 5 ล้าน)) และส่วนที่มีเครดิตภาษีทั้ง15/85 ,20/80 ,25/75 แต่บริษัทหักภาษีไปแล้ว 92,125 บาทหากประสงค์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพื่อใช้สิทธิขอคืนภาษี ถามว่า
    1.)เงินปันผลของบุตร ต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมยื่นรายการหรือต้องนำไปรวมกับเงินได้ของบิดา(เป็นหม้าย,เป็นผู้ปกครองบุตรและมีเงินได้ตนเองอยู่แล้ว)
    2.)เงินปันผล 9,880.22 ต้องนำไปรวมด้วยหรือไม่ หากรวมจะไม่มีเครดิตภาษี มีเพียงภาษีหักไว้ 10% ใช่มั๊ย

  8. ตอบคำถามคุณภา
    คณะบุคคลไม่น่าจะถือหุ้นได้ครับ แต่บุคคลอาจจะถือหุ้นร่วมกันได้
    บริษัทต้องออกหนังสือรับรองแยกเป็นรายบุคคลให้
    ปกติบุคคลธรรมดาสามารถขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้

    อ้างอิง
    ตามมาตรา 1118 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 กำหนดว่า บุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปสามารถถือหุ้นหุ้นเดียวหรือหลายหุ้นร่วมกันได้ ซึ่งคำว่า “บุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และตามมาตรา 15 หรือมาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดว่า คณะบุคคลไม่มีสภาพเป็นบุคคล ดังนั้น การถือหุ้นในบริษัทๆ จะต้องมีบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ในการถือหุ้นหุ้นเดียวหรือหลายหุ้นร่วมกัน ประกอบด้วยบุคคลใดร่วมถือหุ้นบ้าง และกรณีร่วมกันถือหุ้นหลายหุ้นต้องระบุจำนวนหุ้นที่แต่ละบุคคลถือ รวมทั้งระบุว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้ถือหุ้น ส่วนการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นที่ร่วมกันถือหุ้นดังกล่าว ต้องจ่ายให้กับบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะที่เป็น ผู้ถือหุ้น และเงินปันผลที่ได้รับถือเป็นการรับแทนผู้ที่ร่วมกันถือหุ้นทุกคน

    กรณีบริษัทจ่ายเงินปันผลให้กับนาย ก. และ นาย ข. ที่ร่วมกันถือหุ้นหลายหุ้นในบริษัทดังกล่าว จึงมีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ให้กับนาย ก. และ นาย ข. คนละฉบับตามจำนวนหุ้นที่แต่ละบุคคลถือ บริษัทไม่สามารถออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในนามคณะบุคคล

    ส่วนการนำเงินปันผลดังกล่าวไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นาย ก. และ นาย ข. จะต้องนำเงินปันผลดังกล่าวที่ได้รับตามจำนวนหุ้นที่ถือมารวมคำนวณเป็นเงิน ได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของแต่ละบุคคล

  9. รบกวนถามหน่อยค่ะ

    คณะบุคคลได้รับเงินปันผลจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย๋ ควรจะเสียภาษีอย่างไร มีสิทธิ์ในการได้รับเครดิตภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาหนึ่งคนหรือไม่ ถ้ามีสิทธิ์จะต้องคำนวณอย่างไร ถ้าไม่มีสิทธิ์จะต้องคำนวณอย่างไร บริษัทที่จ่ายเงินปันผลได้แจ้งว่าหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว 10% และ บริษัทถูกหักภาษีไว้แล้วอีก 30%

  10. ตอบคุณ Noon

    ได้ครับ เงินปันผลสามารถนำไปเป็นเครดิตภาษีได้ 3 ใน 7 ส่วน เนื่องจากก่อนได้รับเงินปันผล บริษัทที่จ่ายจะถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้แล้ว 30% เพื่อไม่ให้เป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนจึงต้องให้เครดิตภาษีไว้ครับ

  11. รบกวนขอถามหน่อยค่ะ พอดีได้เงินปันผลมา ในใบสลิปมีการรายงานว่าถูกหักภาษีไป 30% แบบนี้เราจะขอคืนภาษีได้มั้ยคะ และต้องทำอย่างไรบ้าง ขอคำแนะนำด้วยค่ะ
    ขอบพระคุณอย่างสูง

  12. คุณเกียรติชัยครับ
    รับคำนวณเครดิตภาษีจากเงินปันผลจากหุ้นไหมครับ ผมรู้สึกว่ายุ่งยากแต่ละบริษัทใช้ฐานภาษีต่างกันอีก
    หากรับคำนวณคิดค่่าใช้จ่ายเท่าไหร่ครับ

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.