พฤศจิกายน, 2008 | รับทำเงินเดือน - Part 3 พฤศจิกายน, 2008 | รับทำเงินเดือน - Part 3

เบี้ยประกันชีวิตกรณีมีเบี้ยอื่นรวมอยู่ด้วย

ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไป ค่าลดหย่อยเบี้ยประกันชีวิตได้ปรับจาก 50,000 บาทไปเป็น 100,000 บาท เมื่อ 2-3 วันก่อนไปเห็นข่าวเกี่ยวกับกรมสรรพากรเป็นห่วงว่า ผู้ประกันตนไม่ทราบถึงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการหักลดหย่อนทางภาษี จนเป็นเหตุให้มีการเสียภาษีผิดพลาด โดยเฉพาะการทำประกันชีวิตควบคู่กับประกันอื่น เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุับัติเหตุ หรือบางทีก็พ่วงเรื่องของออมทรัพย์เข้ามาด้วย ก็มี

ผมเองก็พอรู้เรื่องนี้อยู่ เคยถามไปทางบริษัทประกัน ให้ช่วยแยกระหว่างประกันชีวิต กับประกันอื่นออกมาได้หรือไม่ เค้าก็บอกมาว่าทำไม่ได้ แบบฟอร์มถูกกำหนดมาเป็นแบบนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ ผมก็เลยลองถามคนทำประกันดูเผื่อจะรู้ บางคนก็ทำไว้เยอะมาก ถามเค้าไปว่า เป็นประกันชีวิตเท่าไหร่ ประกันสุขภาพเท่าไหร่ รู้หรือเปล่า เค้าก็ตอบผมมาว่า ไม่รู้ (จำไม่ได้) แล้วเค้าก็ถามผมกลับว่า เค้าจะรู้ได้ไงว่าแบ่งเป็นอะไรบ้าง ตัวเค้าเองก็อยากรู้เหมือนกัน ใบเสร็จเอามาให้ผมดูก็ไม่ได้แยกไว้ หนังสือรับรองการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตก็ไม่ได้แยกไว้ให้

ผมเองในฐานะที่ต้องยื่นแบบเสียภาษีให้ เมื่อไม่สามารถแยกให้ได้ ก็ต้องใช้ตามหลักฐานตามที่มีอยู่ เบี้ยประกันถึงจะรวมเบี้ยอื่นก็ต้องยื่นไปตามนั้น มาปีนี้ ไม่รู้ว่าสรรพากรนึกยังไง ถึงอยากจะให้บริษัทประกันช่วยแยกด้วยว่ากรมธรรม์ที่ลูกค้าซื้อไป เป็นส่วนของค่าเบี้ยประกันชีวิตเท่าไหร่ เป็นส่วนของค่าประกันประเภทอื่นเท่าไหร่ เช่น สุขภาพ เท่าไหร่ เพื่อให้ลูกค้าทราบว่าวงเงินที่ผู้เอาประกันภัย จะสามารถนำไปใช้หักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษีได้เป็นจำนวนเท่าใด

อ่านข่าวสรรพากรคลิ๊กที่นี่

ประกันสังคมลดอัตราเงินสมทบปีหน้า 2552

ข้อมูลวันนี้ (28 เมษายน 2552)

สปส.ลดเงินสมทบ เหลือร้อยละ3 นายจ้าง-ลูกจ้างเฮ

บอร์ด สปส. เห็นชอบปรับลดเงินสมทบส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างร้อยละ 2 จากเดิมร้อยละ 5 คาดเริ่มเดือน ก.ค.นี้ ส่งผล สปส. สูญเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท

วันนี้ (28 เม.ย.) ที่สำนักงานประกันสังคม นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ให้สัมภาษณ์หลังประชุมบอร์ดสปส.ว่า ที่ประชุมบอร์ด สปส.ได้ มีมติให้ลดเงินสมทบให้กับลูกจ้างและนายจ้างจำนวนร้อยละ 2 คือ จากเดิมที่เคยจ่ายร้อยละ 5 เหลือเพียงร้อยละ 3 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกจ้างนายจ้างที่ได้รับผล กระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งสปส.จะต้องเสียเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจำนวน 15,000 ล้านบาท กระทบต่อผู้ประกันตนที่จะได้รับเงินกรณีชราภาพในปีพ.ศ. 2557 จำนวน 260,000 คนหรือประมาณ 118 ล้านบาท อย่างไรก็ตามจะมีการออกกฎกระทรวงเพื่อนำเงินที่รัฐบาลส่งเงินสมทบจำนวนร้อย ละ 2.7 มาแก้ไขปัญหาดังกล่าว

นายสมชาย กล่าวอีกว่า หลังจากนั้นจะนำเสนอให้นาย ไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน เห็นชอบในวันที่ 1 พ.ค.เพื่อเสนอให้ ครม.อนุมัติต่อไป ทั้งนี้จะเป็นกระบวนแก้กฎกระทรวงจนกระทั่งประกาศใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป โดยการแก้กฎกระทรวงใน 3 ประเด็น 1.แก้กฎกระทรวงงดเก็บเงินสมทบให้กับลูกจ้าง นายจ้างเป็นเวลา 6 เดือน 2. แก้กฎกระทรวงดำเนินการเก็บเงินสมทบในอัตราปกติคือฝ่ายละร้อยละ 5ภายหลังประกาศใช้ไปแล้วครบ 6 เดือน และ 3.แก้กฎกระทรวงเพื่อนำเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายสมทบเดือนละร้อยละ 2.7 มาสมทบในกองทุนกรณีชราภาพ

นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน กล่าวว่า เป้าหมายในการลดเงินสมทบครั้งนี้เพื่อไม่ต้องการให้เกิดการเลิกจ้าง เนื่องจากเป็นเงินที่เสริมสภาพคล่องให้กับนายจ้าง 3.5 แสนแห่งทั่วประเทศ ในระยะเวลาที่เศรษฐกิจกำลังทุรดตัวอย่างหนักโดยเชื่อว่าหลังจากนี้จะมีตัวเลขการเลิกจ้าง สถานประกอบการจะทำการปิดกิจการน้อยลง

จบข่าว

ข่าวเก่า

โดยมาตรการนี้จะมีผลบังคับใช้ประมาณต้นปี 2552 เป็นเวลา 1 ปี การลดการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจให้กับนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล สำหรับอัตราที่ลดเป็นดังนี้

  • นายจ้าง ลดเงินสมทบลง 1.5 % จากเดิม 5.0 % คงเหลือ 3.5 %
  • ลูกจ้าง ลดเงินสมทบลง 1.5 % จากเดิม 5.0 %  คงเหลือ 3.5 %
  • รัฐบาล ลดเงินสมทบลง 0.5 % จากเดิม 2.75 % คงเหลือ 2.25 %

เพราะฉะนั้นเงินสมทบประกันสังคมขั้นต่ำที่เรียกเก็บจากค่าจ้าง 1,650 บาท เดิมเสีย 5% คิดเป็น 83 บาท คงเหลือ 3.5% คิดเป็น 58 บาท หรือลดลงทั้งปีเท่ากับ 300 บาท ส่วนค่าจ้างขั้นสูงสุดที่เรียกเก็บ 15,000 บาท เดิมเสีย 5% คิดเป็น 750 บาท คงเหลือ 3.5% คิดเป็น 525 บาท หรือทั้งปีลดลง 2,700 บาท

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

ข้อมูลเพิ่มเติม (29 มค.2552) ปัจจุบันยังไม่มีการออกกฎหมายจึงยังต้องใช้อัตราเดิมที่ 5% อยู่นะครับ

บอร์ด สปส. มีมติเห็นชอบในหลักการ ลดการจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมลงอีกร้อยละ 2.5 จากเดิมที่นายจ้างและลูกจ้างต้องจ่ายร้อยละ 5 ของรายได้ เหลือจ่ายเพียงร้อยละ 2.5 โดยระหว่างนี้ สปส. จะใช้เวลา 60 วัน ในการเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติและร่างกฎกระทรวง ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ก่อนมีผลบังคับใช้ ซึ่งในระหว่างการจัดทำจะมีการประเมินสถานการณ์การเลิกจ้างจริงว่ามีความ รุนแรงหรือไม่ ก่อนนำมาบังคับใช้อีกครั้ง โดยมีระยะเวลาในการลดการจ่ายเงินสมทบจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมนี้

ความเห็นเพิ่มเติม จากข่าวที่เห็นนี้ ยังต้องใช้เวลาอีก 2-3 เดือน และัอัตราที่ลดเปลี่ยนไปเป็น 2.5% และยังไม่แน่ว่าจะนำมาตราการนี้มาใช้หรือไม่ ถ้ามีการลดอัตราเงินสมทบก็คงเป็นมาตรการชั่วคราวคือลดให้ถึงปลายปี