พฤศจิกายน, 2008 | รับทำเงินเดือน - Part 2 พฤศจิกายน, 2008 | รับทำเงินเดือน - Part 2

สิทธิประโยชน์ประกันสังคม

สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองที่ผู้ประกันตนควรทราบ

การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตัน

เมื่อรับพนักงานและลูกจ้างชั่วคราว เข้ามาปฏิบัติงานแล้ว จะต้องดำเนินการแจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนต่อสำนักงานประกันสังคม โดยให้พนักงานและลูกจ้างขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน

(1) กรณีที่พนักงานและลูกจ้างชั่วคราวยังไม่เคยขึ้นทะเบียนประกันตน จะต้องแนบหลักฐานได้แก่

  • แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจำนวน 1 ชุด หรือสำเนาทะเบียนบ้าน
  • หนังสือเดินทาง หรือใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าว สำหรับลูกจ้างชาวต่างประเทศ

(2) กรณีที่พนักงานและลูกจ้างชั่วคราว เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้ว จะต้องแนบเอกสารหลักฐาน ได้แก่

  • แบบขึ้นทะเบียนรับผู้ประกันตนเข้าทำงาน (สปส.1-03/1) หรือ (สปส.6-08)
  • สำเนาประจำตัวบัตรประชาชน จำนวน 1 ชุด

(3) ในปัจจุบันสำนักงานประกันสังคม จะให้ใช้บัตรประจำตัวประชาชน แทนบัตรประกันสังคมฉบับเดิม

บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล

จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ไว้ใช้แสดงตน เมื่อจะเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ที่ระบุในบัตรทุกครั้ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และต้องแนบหลักฐาน ได้แก่

  • แบบขอรับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล (สปส.9-02)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน  1 ชุด

การเปลี่ยนแปลงบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล เนื่องจาก

(1) เปลี่ยนสถานที่ประกอบการใหม่ หรือย้ายที่พัก

(2) ชื่อ – สกุล ไม่ถูกต้อง

(3) บัตรรับรองสิทธิสูญหาย

(4) ต้องการจะเปลี่ยนโรงพยาบาลใหม่ ผู้ประกันตนจะต้องแนบหลักฐาน ได้แก่

  • แบบขอเปลี่ยนแปลงบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล (สปส.9-02)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน  1 ชุด
  • ให้คืนบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลฉบับเดิม

การลาออกของผู้ประกันตน

หน่วยงานต้นสังกัด จะต้องดำเนินการกรอกแบบแจ้งการลาออกของผู้ประกันตน (สปส.6-09) และนำส่งภายในไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่พนักงานลาออก

การขอรับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคม

ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2533 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 ลูกจ้างผู้ประกันตนมีสิทธิ ได้รับสิทธิประโยชน์ และความคุ้มครอง รวม 7 กรณี

  1. เจ็บป่วย หรือประสบอันตราย (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)
  2. ทุพพลภาพ (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)
  3. ตาย (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)
  4. คลอดบุตร
  5. สงเคราะห์บุตร
  6. ชราภาพ
  7. ว่างงาน

กรณีเจ็บป่วยหรือประสบภัยอันตราย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

  • ผู้ประกันตนมีสิทธิ ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำงาน ดังนี้
  • บริการทางการแพทย์รวมถึงค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษา
  • ค่าบริการทางการแพทย์กรณีทันตกรรม

ผู้มีสิทธิ…

ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนวันเข้ารับบริการทางการแพทย์

1 กรณีเจ็บป่วยทั่วไป

ให้ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามที่ระบุไว้ในบัตรรับรองสิทธิฯ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่มีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องผู้ป่วยพิเศษ หรือเวชภัณฑ์พิเศษ นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง

2 กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้ สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง (ไม่นับรวมวันหยุดราชการ) ซึ่งผู้ประกันตน หรือผู้เกี่ยวข้อง ต้องแจ้งสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิทราบโดยเร็ว เพื่อให้รับผิดชอบการรักษาพยาบาลต่อไป สำหรับผู้ประกันตน ที่ไม่มีเงินสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ในกรณีฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง ควรแสดงบัตรรับรองสิทธิต่อ สถาน พยาบาลก่อนการรักษาพยาบาล ซึ่งสถานพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ประกันตน หรือผู้ประกันตน ที่สำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลคืนจากสำนักงานประกันสังคม ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

(ก) ผู้ป่วยนอก ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง

  • ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง
  • ค่าตรวจวิเคราะห์จ่ายเพิ่ม จากค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 200 บาทต่อครั้ง
  • ค่าหัตถการแพทย์จ่ายเพิ่มจากค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 200 บาทต่อครั้ง

(ข) ผู้ป่วยใน ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง

  • ค่ารักษาพยาบาลไม่เกินวันละ 1,500 บาท
  • ค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท
  • ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มกรณีที่ต้องรักษาในห้อง ICU ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
  • กรณีผ่าตัดใหญ่ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง 8,000 บาท เกิน 2 ชั่วโมง 14,000 บาท
  • CT Scan หรือ MRI 4,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

กรณีอุบัติเหตุ

  • กรณีอุบัติเหตุ และไม่สามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ สามารถเข้ารับการรักษา กับสถานพยาบาลอื่นได้ สำนักงานประกันสังคม จะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จำเป็น ภายใน ระยะเวลา ไม่เกิน 72 ชั่วโมง และมีเงื่อนไขเช่นเดียวกับ กรณีฉุกเฉิน โดยผู้ประกันตน สำรองจ่าย ค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และสามารถ เบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคม ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

(1) เข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลของรัฐ

  • ผู้ป่วยนอก จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
  • ผู้ป่วยใน จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ยกเว้น ค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

(2) เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชน

  • จ่ายตามหลักเกณฑ์เดียวกับกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

(3) ค่าพาหนะ ในกรณีที่สถานพยาบาลนั้น มีความจำเป็นต้องส่งผู้ป่วยไปตรวจวินิจฉัย หรือรักษาต่อ ณ สถานพยาบาล อีกแห่งหนึ่งภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมงแรก ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าพาหนะในอัตรา ดังนี

  • ค่ารถพยาบาลหรือเรือพยาบาล ไม่เกินครั้งละ 500 บาท
  • ค่าพาหนะรับจ้าง หรือพาหนะส่วนบุคคล หรือพาหนะอื่น ๆ เหมาจ่าย 300 บาทต่อครั้ง
  • หากข้ามจังหวัดจ่ายเพิ่มอีกตามระยะทางกิโลเมตรละ 90 สตางค์

ผู้มีสิทธิ…

หลักฐานที่ต้องใช้เมื่อไปสถานพยาบาล

  • บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล
  • บัตรที่ทางราชการออกให้ มีรูปถ่ายของผู้ประกันตน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์

การบริการที่ผู้ประกันตน จะได้รับจากสถานพยาบาล

สถานพยาบาลต่าง ๆ จะให้การตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคตามมาตรฐานทางการแพทย์ รวมทั้งรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ทางโรงพยาบาลไม่สามารถให้บริการได้ และต้องมีการส่งตัวไปรับการรักษายังสถานพยาบาลอื่น

การรับบริการจากโรงพยาบาลเครือข่าย

ในกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบัตรรับรองสิทธิฯ ที่ระบุชื่อสถานพยาบาล และสถานพยาบาลนั้น มีสถานพยาบาลอื่นที่เป็นเครือข่ายร่วมกัน ผู้ประกันตน สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ ในทุกสถานพยาบาลที่อยู่ในเครือข่าย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

วิธีการ

ขั้นตอนการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

(1) ผู้ประกันตนยื่นแบบ คำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีเจ็บป่วย ประสบอันตราย (สปส.2-01) ที่งานสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ พร้อมแนบหลักฐาน

  • ใบเสร็จรับเงิน
  • ใบรับรองแพทย์
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประกันสังคม สำเนาบัตรรับรองสิทธิฯ
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าแรก เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์ และ ธนาคารทหารไทย อย่างละ 1 ชุด

(2) สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงิน และผู้ประกันตนมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะ ให้บุคคลอื่นมารับแทนได้ หรือส่งธนานัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาต่าง ๆ ตามบัญชี ของผู้รับ ประโยชน์ทดแทน

กรณีทันตกรรม

ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าบริการทางการแพทย์กรณีทันตกรรม เฉพาะกรณีการ ถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูน ได้ครั้งละไม่เกิน 250 บาท ปีละไม่เกิน 500 บาท และมีสิทธิใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก 1 – 5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,200 บาท มากกว่า 5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้จากฐานอคริลิก

ขั้นตอนการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม

1. ผู้ประกันตนยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16) ที่งานสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ พร้อมแนบหลักฐาน

  • ใบเสร็จรับเงิน
  • สำเนาบัตรรับรองสิทธิฯ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค และผู้ประกันตนมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะ ให้บุคคลอื่นมารับแทนได้ หรือส่งธนานัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคาร ตามบัญชีของผู้รับ ประโยชน์ทดแทน

กรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

  • ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนวันที่คณะกรรมการแพทย์กำหนดให้ เป็นผู้ทุพพลภาพ
  • มีสิทธิรับเงินทดแทนการขาดรายได้ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างตลอดชีวิต
  • มีสิทธิรับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง เดือนละไม่เกิน 2,000 บาท
  • หากผู้ทุพพลภาพตาย ผู้จัดการศพรับค่าทำศพ 30,000 บาท และทายาทรับเงินสงเคราะห์ 3 เท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ ถ้าส่งเงินสมทบครบ 36 เดือนขึ้นไปก่อนทุพพลภาพ และรับ 10 เท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ ถ้าส่งเงินสมทบครบ 36 เดือนขึ้นไปก่อนทุพพลภาพ

วิธีการ

1. ผู้ประกันยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีทุพพลภาพ (สปส.2-01) ที่งานสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ พร้อมแนบหลักฐาน

  • หนังสือรับรองของนายจ้าง
  • ใบเสร็จรับเงิน (กรณีขอรับค่าอวัยะเทียม/อุปกรณ์ ฯ)
  • ใบรับรองแพทย์ระบุการทุพพลภาพ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค และผู้ประกันตนมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้คนอื่นมารับแทนได้ หรือส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตนหรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ตามบัญชีของผู้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

ผู้มีสิทธิ

  • ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนวันที่ถึงแก่ความตาย
  • ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 30,000 บาท

ผู้จัดการศพ ได้แก่ บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุ ให้เป็นผู้จัดการศพ และได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน หรือ
คู่สมรส บิดา มารดา หรือบุตรของผู้ประกันตน ที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน หรือบุคคลอื่นที่มีหลักฐาน แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

ผู้จัดการศพ ได้แก่ บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุ ให้เป็นผู้จัดการศพ และได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน หรือ
คู่สมรส บิดา มารดา หรือบุตรของผู้ประกันตน ที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน หรือบุคคลอื่นที่มีหลักฐาน แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

  • เงินสงเคราะห์กรณีตาย ดังนี้
    • เงินสงเคราะห์ 1.5 เท่าของค่าจ้างรายเดือนเฉลี่ยจากค่าจ้างที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนก่อนตาย ถ้าส่งเงินสมทบครบ 36 เดือนขึ้นไปหรือ
    • เงินสงเคราะห์ 5 เท่าของค่าจ้างรายเดือน เฉลี่ยจากค่าจ้างที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนก่อนตาย ถ้าส่งเงินสมทบครบ 10 ปีขึ้นไป

วิธีการ

1. กรณีขอรับค่าทำศพ ผู้จัดการศพยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส.2-01) พร้อมแนบหลักฐาน

  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกันตน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพ
  • หลักฐานฌาปนสถาน หรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ
  • ใบมรณบัตรต้นฉบับพร้อมสำเนา

2. กรณีขอรับเงินสงเคราะห์ ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ ยื่นแบบขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส.2-01) พร้อมแนบหลักฐาน

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
  • ทะเบียนสมรสของผู้ประกันตน และของบิดามารดา (ถ้ามี) พร้อมสำเนา
  • สูติบัตร หรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร
  • หนังสือรับรองของนายจ้าง

3. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค และผู้ประกันตนมารับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้คนอื่นมารับแทนได้ หรือส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ตามบัญชีของผู้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีคลอดบุตร

ผู้มีสิทธิ…

  • ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ก่อนวันคลอดบุตร
  • ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 12,000 บาทต่อครั้ง ไม่เกิน 2 ครั้ง
  • เฉพาะผู้ประกันตนหญิง ที่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน
  • กรณีสามี – ภรรยา เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเบิกต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง หรือให้ใช้สิทธิในการเบิกจ่ายค่าคลอดบุตร รวมกันไม่เกิน 4 ครั้ง

วิธีการ...

1. ผู้ประกันตนยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร (สปส.2-01) พร้อมแนบหลักฐาน

  • ทะเบียนสมรสพร้อมสำเนา
  • สูติบัตรของบุตร
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตนมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้คนอื่นมารับแทน) หรือส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ตามบัญชี ของผู้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีสงเคราะห์บุตร

ผู้มีสิทธิ

  • ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ ได้รับประโยชน์ทดแทน
  • มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 350 บาทต่อบุตร 1 คน ไม่เกิน 2 คน
  • บุตรชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่แรกเกิดจนถึง อายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์
  • ทั้งสามี – ภรรยา เป็นผู้ประกันตน ให้ใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเบิกก่อน

วิธีการ

1. ผู้ประกันตนยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีสงเคราะห์บุตร (สปส.2-01/5) พร้อมแนบหลักฐาน

  • หนังสือรับรองของนายจ้าง
  • ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ประกันตน/คู่สมรส
  • สำเนาบัตรประกันสังคม
  • สำเนาทะเบียนสมรส/ทะเบียนหย่าของผู้ประกันตน (กรณีจดทะเบียนหย่า)
  • สูติบัตรพร้อมสำเนา

2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายให้เป็นรายเดือน โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาต่าง ๆ ตามบัญชีของผู้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีชราภาพ

1.ผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ

  • กรณีจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือน จะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม และ
  • มีอายุมีครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • มีสิทธิรับบำนาญชราภาพ รายเดือนตลอดชีพ ในอัตราร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ที่ใช้เป็นฐาน ในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • หากจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน ให้ปรับเพื่มอัตราเงินบำนาญชราภาพ จากอัตราร้อยละ 15 เพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อระยะเวลาการตายเงินสมทบทุก 12 เดือน

2. ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ

  • กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
  • กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ เข้ากองทุน
  • กรณีจ่ายเงินสมทบ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับ จำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตน และนายจ้างจ่ายสมทบ เข้ากองทุนพร้อมดอกผล ตามอัตราที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
  • กรณีผู้รับบำนาญชราภาพ ถึงแก่ความตาย ภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จำนวน 10 เท่า ของเงินบำนาญชราภาพ รายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้าย ก่อนถึงแก่ความตาย

3. ผู้ประกันตน หรือผู้มีสิทธิ จะต้องยื่นคำขอรับประโยชน์แทนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน

4. ขั้นตอนการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ

วิธีการ

1. ผู้ประกันตนยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ (สปส.2-01/6) พร้อมแนบหลักฐาน

  • สำนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของทายาทผู้มีสิทธิ (กรณีผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ถึงแก่ความตาย)
  • ใบมรณบัตรพร้อมสำเนา (กรณีผู้รับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพถึงแก่ความตาย)

2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตนมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้คนอื่นมารับแทน) หรือส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ตามบัญชีของผู้รับประโยชน์ทดแทน

หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์

หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ

จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนการว่างงาน

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ

1. ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ

2. มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้

3. ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน

4. ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

5. ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี

  • ทุจริตต่อหน้าที่
  • กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง
  • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วัน ทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
  • ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

6. ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

7. มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงาน กับนายจ้างรายสุดท้าย

8. ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39

สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีที่ถูกเลิกจ้าง

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างกรณีลาออกจากงาน

กรณีสมัครใจลาออก

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน ปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง

หาก ใน 1 ปีปฏิทินมีการยื่นขอรับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานเกินกว่า 1 ครั้ง ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทน ระหว่างการว่างงานรวมกันไม่เกิน 180 วัน

เงินทดแทนการขาดรายได้จะจ่ายเป็นงวดเดือน โดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารตามที่ผู้ประกนตนแจ้ง

กรณีว่างงาน

ขั้นตอนและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทน

ขั้นตอนและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทน

1. ต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักจัดหางาน กรมการจัดหางาน

2. กรอกแบบฟอร์มใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้

  • บัตรประชาชน
  • รูปถ่าย 1 นิ้ว 1 ใบ

3. กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้

  • หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการออกจากงาน (สปส 6-09) หรือ
  • หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี

4. เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการสัมภาษณ์/ตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติการทำงาน

5. เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการเลือกตำแหน่งงานว่างให้เลือก 3 แห่ง ให้ผู้ประกันตนกรณีว่างงานได้พิจารณา

6. หากยังไม่มีงานที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานจะประสานงานส่งฝึกอบรมแรงงานตามความจำเป็น

7. เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกสถานะผู้ประกันตนกรณีว่างงานเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง

8. เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมดึงข้อมูลผู้ประกันตนกรณีว่างงานขึ้นมาวินิจฉัยตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

9. เมื่อคุณสมบัติครบถ้วน สำนักงานประกันสังคมทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคาร

10. หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

ขั้นตอนการยื่นแบบประกันสังคมและตัวอย่าง

1.กรณีมีพนักงานเข้าทำงานใหม่ จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1.1 กรณีไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ให้ยื่นแบบ สปส.1-03 พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง )

1.2 กรณีเคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาก่อน (ไม่ว่าทางประกันสังคมจะออกบัตรรับรองสิทธิให้แล้วหรือไม่ก็ตาม) ให้ยื่นแบบ สปส. 1-03/1 เท่านั้น
หมายเหตุ บุคคลที่จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์

หลักการนำส่ง สปส.1-03 และ สปส. 1-03/1 มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. สปส. 1-03 → แนบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน → พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (รวมเรียกว่า 1 แผ่น)
2. สปส. 1-03/1 (รวมเรียกว่า 1 แผ่น )
3. ปะหน้าด้วย สปส.1-02 แล้วรวมจำนวนแผ่นที่นำส่งประกันสังคม
4. ส่งให้ นายจ้าง / ผู้รับมอบอำนาจ → เซ็น → พร้อมประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)

2. กรณีพนักงานลาออก ให้ยื่นแบบ สปส. 6-09

3. กรณีพนักงานขอเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่ และหรือขอแก้ไขบัตร ให้ยื่นแบบ สปส.9-02
(ขอเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่ประจำปีได้ในวันที่ 1 ม.ค – 31 มี.ค ของทุกปี )

4. กรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง ให้ยื่นแบบ กท.16 และ กท.44

5. กรณีขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม ให้ยื่นแบบ สปส.2-01

ข้อกำหนดของประกันสังคม

– กรณีนำส่ง สปส. 1-03 และ สปส. 1-03 / 1 ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้า
ทำงาน มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– กรณีนำส่ง สปส. 6-09 ให้แจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 15
ของเดือน ถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การกรอกแบบเพื่อนำส่ง สปส.1-03 และ สปส.1-03/1 มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ในส่วนข้อมูลนายจ้าง

1. กรอกชื่อสถานประกอบการ
2. เลขที่บัญชี ของสถานประกอบการ
3. ลำดับที่สาขา (ถ้ามี)
4. วันที่ผู้ประกันตนเข้าทำงาน (ให้กรอกวันเดือนปี ที่ผู้ประกันตนเข้าปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะมีผลต่อการขอรับประโยชน์)
5. ประเภทการจ้าง

ข้อมูลผู้ประกันตน

– ให้กรอกข้อมูลผู้ประกันตนในลำดับที่ 1 – 6 ให้ครบถ้วนเรียบร้อย
คำแนะนำ ข้อ 6. สถานภาพครอบครัว ให้ระบุตามความเป็นจริง กรณีมีบุตรอายุไม่เกิน 6 ปี มากกว่า 2 คน ให้กรอกปี พ.ศ.เกิดเพียง 2 คน เรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลังที่มีชีวิตอยู่

ข้อปฏิบัติผู้มีอำนาจเซ็น
– ผู้ลงชื่อรับรองข้อมูลผู้ประกันตนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น
– ใน ( …………………………… ) → ให้ลงคำนำหน้านาม ชื่อ – ชื่อสกุลให้เรียบร้อย
– วันที่ ………………………….. พร้อมลงวันที่ให้เรียบร้อย

ข้อมูลการเลือกสถานพยาบาล
– การเลือกสถานพยาบาลในข้อ 8 ให้ผู้ประกันตนเลือกได้ตามเอกสารรายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคมปีปัจจุบันเท่านั้น

รายละเอียดการทำ สปส.1-03/1 มีขั้นตอนดังนี้

1.กรอกชื่อสถานประกอบการและชื่อสาขาพร้อมเลขที่บัญชี ลำดังสาขา ที่ตั้งสถานประกอบการหรือสาขา ตามที่ได้แจ้งขึ้นทะเบียนนายจ้างไว้ กรณีเป็นสำนักงานใหญ่หรือเป็นกิจการซึ่งไม่มีสาขากรุณาใส่ 000000 ลงที่ช่องลำดับที่สาขา

2.กรอกลำดับที่ เลขประจำตัวประชาชน คำนำหน้านาม ชื่อ-ชื่อนามสกุล ของผู้ประกันตนให้ชัดเจน

3.กรอก วันเดือนปี ที่ผู้ประกันตนเข้าทำงาน

4.ผู้ลงชื่อรับรองข้อมูลผู้ประกนตนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทหรือผู้ได้รับมอบหมายอำนาจเท่านั้น

5.ลงชื่อ………………………….. นายจ้าง/ผู้รับมอบอำนาจ (ให้เซ็นชื่อนายจ้างหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น)
6.ใน ( …………………………… ) → ให้ลงคำนำหน้านาม ชื่อ – ชื่อสกุลให้เรียบร้อย
7.ตำแหน่ง……………… ( ให้กรอกเป็นภาษาไทยชื่อตำแหน่งเต็ม ) ** ห้ามใช้ตัวย่อหรือภาษาอังกฤษ ( PM.)

8. วันที่ ………………………….. พร้อมลงวันที่ให้เรียบร้อย

รายละเอียดการทำ สปส. 6-09 มีขั้นตอนดังนี้

1.กรอกชื่อสถานประกอบการและชื่อสาขาพร้อมเลขที่บัญชี ลำดับที่สาขา ที่ตั้งสถานประกอบการหรือสาขา ตามที่ได้แจ้งขึ้นทะเบียนนายจ้างไว้ กรณีเป็นสำนักงานใหญ่หรือเป็นกิจการซึ่งไม่มีสาขากรุณาใส่ 000000 ลงที่ช่องลำดับที่สาขา

2.กรอกลำดับที่ เลขประจำดัวประชาชน คำนำหน้านาม ชื่อ – ชื่อสกุล ของผู้ประกันตนให้ชัดเจน

3.กรอก วัน เดือน ปี ที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน คือ วันที่ถัดจากวันสุดท้ายที่ผู้ประกันตนมาทำงาน เช่น ผู้ประกันตนมาทำงานวันสุดท้ายวันที่ 31 สิงหาคม 2550 ให้กรอกวันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนเป็นวันที่ 1 กันยายน 2550
กรณีตาย ระบุวัน เดือน ปี ที่ผู้ประกันตนตาย

4.สาเหตุการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน กรณีลาออก ให้ทำเครื่องหมาย √ ในช่องที่ 1

5.ผู้ลงชื่อรับรองการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น

6.ลงชื่อ………………………….. นายจ้าง/ผู้รับมอบอำนาจ (ให้เซ็นชื่อนายจ้างหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น)

7. ใน ( …………………………… ) → ให้ลงคำนำหน้านาม ชื่อ – ชื่อสกุลให้เรียบร้อย

8. ตำแหน่ง……………… ( ให้กรอกเป็นภาษาไทยชื่อตำแหน่งเต็ม ) ** ห้ามใช้ตัวย่อหรือภาษาอังกฤษ ( PM.)

9. วันที่ ………………………….. พร้อมลงวันที่ให้เรียบร้อย

ลองมาตัวอย่างการกรอกแบบดูนะครับ

ตัวอย่างการกรอกแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03

SPS1-03R

ตัวอย่างการกรอกแบบขึ้นทะเบียนผู้กันตน (เคยขึ้นทะเบียนมาก่อนแล้ว) สปส.1-03/1

SPS1-03.1

ตัวอย่างการกรอกหนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน สปส.6-09

SPS6-09

ตัวอย่างการกรอกแบบขอบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล สปส.9-02

sps9-02R

ตัวอย่างการกรอกแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จริงผู้ประกันตน สปส.6-10

sps6-10R

สำหรับท่านใดที่สนใจใช้บริการของสำนักงานบัญชี บริการรับทำเงินเดือน เราให้บริการยื่นแบบประกันสังคมด้วย รวมถึงการจัดทำรายงานส่งกองทุนเงินทดแทน แบบแสดงเงินค่าจ้างประจำปี (กท.20ก) อ่านข้อมูลบริการเพิ่มเติมได้ที่ รับทำเงินเดือน

หมายเหตุ รูปภาพประกอบเอามาจากสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่

การแจ้งประกันสังคม กรณีพนักงานลาออก

ผมเองทำงานด้านบัญชีและต้องรับผิดชอบในการทำเงินเดือนพนักงาน ใช้งานโปรแกรมบัญชีและโปรแกรมเงินเดือนมาหลายตัว วันนี้ขอเล่าถึงปัญหาในการจัดทำเงินเดือนพนักงานในกรณีพนักงานลาออกในส่วนที่เกี่ยวกับประกันสังคมนะครับ

โดยปกติพนักงานเข้าใหม่เมื่อคีย์ข้อมูลลงไปในโปรแกรมและระบุวันที่เข้างาน คุณก็สามารถพิมพ์รายงานนำส่งประกันสังคม สปส.1-03 และ สปส.1-03/1 ได้เลยไม่มีปัญหาอะไร ไม่จำเป็นต้องประมวลผลหรือปิดงวดก่อน แต่ในกรณีที่พนักงานลาออกนี่สิ หลายโปรแกรมที่ผมใช้เมื่อคุณคีย์บันทึกพนักงานรายวันลาออก โปรแกรมจะตัดรายชื่อของพนักงานคนนี้ออกทันที จะไม่มีการจ่ายเงินให้ในงวดนั้น ถึงแม้ว่าจะมีวันทำงานที่ยังต้องจ่ายอยู่ ซึ่งผมเองก็ต้องบอกว่า ถูกต้องแล้ว (เพื่อความปลอดภัยในการทำงานควรจะเป็นแบบนั้น) เพราะฉะนั้นถ้าในงวดการจ่ายที่มีพนักงานลาออกและยังมีค่าจ้างค้างจ่ายอยู่ การบันทึกพนักงานลาออกก็ต้องไปคีย์ในงวดการจ่ายถัดไป

ผมขอยกตัวอย่างนะครับ งวดการจ่ายค่าจ้างงวดวันที่ 15/10/2551 งวดการตัดค่าจ้างและโอทีวันที่ 21/09/2551 – 05/10/2551 นาย ก.ลาออกจากงานในวันที่ 29 กันยายน เพราะฉะนั้น นาย ก.ยังมีค่าจ้างค้างจ่ายอยู่  9 วัน (21-29 กย.) รวมทั้งโอทีด้วย ที่ต้องจ่ายให้ในวันที่ 15 ตค. ดังนั้นเมื่อยังมีค่าแรงค้างจ่ายอยู่ ผมก็ยังไม่สามารถคีย์บันทึกพนักงานลาออกในงวดนี้ได้ (15 ตค.) ต้องไปบันทึกในงวดถัดไปคืองวดการจ่ายค่าจ้างวันที่ 31 ตค. ซึ่งก็จะทำให้คุณไม่สามารถพิมพ์รายงาน สปส.6-09 (แจ้งพนักงานลาออก) ได้ในงวดนี้ ต้องไปพิมพ์ในงวดถัดไป

รายงานการนำส่งประกันสังคมกรณีพนักงานเข้าใหม่ต้องแจ้งภายใน 30 วัน แต่ในกรณีพนักงานลาออก ต้องแจ้งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เพราะฉะนั้นถ้าดูจากที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น พนักงานลาออกวันที่ 29 กย. รายงานแจ้งการลาออก (6-09) ต้องแจ้งภายในวันที่ 15 ตค. แต่เนื่องจากต้องรอบันทึกการลาออกในงวดถัดไป ทำให้รายงานกว่าจะพิมพ์ได้ก็ต้องเป็นงวดการจ่ายวันที่ 31 ตค. ซึ่งก็จะทำให้การส่งรายงานล่าช้ากว่าที่ประกันสังคมกำหนดไว้

ในฐานะที่ผมเป็น Outsource รับทำเงินเดือน รับทำบัญชี เพราะฉะนั้นผมควรทำงานให้ได้ตามมาตรฐานและตามกำหนดเวลา(ประกันสังคม) ปัจจุบันนี้ผมสามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยสามารถแจ้งพนักงานลาออกทันในวันที่ 15 ตค. (เดิมที ตั้งใจจะใช้ระบบ Manual คือนำ สปส.6-09 มาเขียนเอง) แต่ตอนหลังเมื่อทำค่าแรงในงวดกลางเดือนเสร็จก็สั่งประมวลผล แล้ววันถัดไปก็บันทึกพนักงานลาออก และสั่งประมวลผลใหม่อีกครั้ง (ที่ต้องประมวลผลเพื่อให้ระบบ update วันที่ลาออกของพนักงานซึ่งถ้าเข้าไปดูในประวัติพนักงานก็จะเห็นวันที่ลาออกพร้อมเหตุผล) เพียงแต่ว่าการทำงานค่อนข้างยุ่งยาก

แต่พอแก้ปัญหานี้ได้ ก็มาลองคิดดู มันก็แปลกดีนะครับ แจ้งพนักงานลาออกในงวดวันที่ 15 ตค. แต่ในเดือนถัดไป 15 พย.พนักงานที่แจ้งลาออกยังต้องนำส่งประกันสังคมอยู่ (หักไว้เมื่องวด 15 ตค.) ก็เลยลองมาคิดดูอีกทีว่า ที่ถูกน่าจะแจ้งลาออกในเดือน พย. อันที่จริงมันก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรมากหรอกครับ เพราะประสังคมก็ไม่ได้เคร่งครัดในเรื่องนี้เท่าไหร่ถึงคุณจะแจ้งช้า หรือไม่คุณก็อาจจะแก้วันที่ลาออกให้อยู่ในกำหนดก็ได้

หมายเหตุ โปรแกรมเงินเดือนบางโปรแกรม สามารถบันทึกพนักงานลาออกระหว่างวดได้ ทางบัญชีสามารถคืนสภาพหรือเมื่อทำงานเสร็จแล้วสามารถปรับจากพนักงานลาออกระหว่างงวดไปเป็นลาออก(จริง) ได้ในภายหลัง