Company | รับทำเงินเดือน - Part 12 Company | รับทำเงินเดือน - Part 12

จดทะเบียนพาณิชย์ ขั้นตอนและวิธีการ

เนื่องจากข้อมูลในส่วนของเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนที่กระทรวงการคลังไม่ตรงกับที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร ผมจึงปรับข้อมูลใหม่โดยใช้ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานครแทน เนื่องจากงานจดทะเบียนพาณิชย์ได้โอนไปให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการรับจดทะเบียนแทนกระทรวงพาณิชย์แล้ว โดยในแต่ละจังหวัด แต่ละเขตอำเภอจะเป็นผู้ดำเนินการรับจดทะเบียน

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ผู้ประกอบการพาณิชที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในท้องที่กรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน ที่ประกอบ  12 พานิชยกิจ จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ โดยสามารถยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขต ที่สถานที่ประกอบการนั้นตั้งอยู่ หรือที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง ชั้น 2 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 (เสาชิงช้า)

ประเภทกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ฝ่ายปกครองสำนักงานเขต หรือ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 (เสาชิงช้า)

การทำโรงสีข้าว และการทำโลงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดขายได้เป็นเงินตั้งแต่
20 บาทขึ้นไปหรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป
การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียว หรือ หลายอย่างก็ตามและ
สินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
การประกอบหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้
มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงิน
ตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป
การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือรถยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม

หมายเหตุ กิจการนอกเหนือจากที่ระบุติดต่อสอบถามรายละเอียดที่สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-4438, 0-2547-5979

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์
เอกสารที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

1. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล)
หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในต่างประเทศ (กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ)
2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดสแตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
4. สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจ (ถ้ามี)
5. กรณีเจ้าของกิจการมิได้เป็นเจ้าบ้าน ณ
สถานประกอบการดังกล่าว แนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
5.1 หนังสือยินยอมจากเจ้าบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน
5.2 (กรณีเช่าสถานที่)
(1) ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา
สำเนาทะเบียนเบียนบ้านของเลขที่ตั้งสถานประกอบการ
สำเนาสัญญาเช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
สำเนาบัตรประชาชนผู้ใช้เช่า (เจ้าบ้าน)
(2) ผู้ใช้เช่ามีลักษณะเป็นบริษัท
สำเนาสัญญาเช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
หนังสือรับรองบริษัท พร้องลงรายมือชื่อของผู้มีอำนาจกระทำการแทรบริษัท
สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
(3) กรณีการซื้ออาคารชุด/ห้องชุด
สำเนาโฉนดที่ดิน/ห้องชุด
6. กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้น่สวนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลให้แนบเอกสารของผู้เป็น หุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล,
สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้เป็นหุ้นส่วน

เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง Download file

1. บัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล)
หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ (กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ)
2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
4. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
5. ใบทะเบียนพาณิชย์

เอกสารที่ต้องใช้จดยกเลิกทะเบียนพาณิชย Download file

1. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการ ในประเทศ
กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ
2. ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความ กรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย
3. สำเนาเอกสารการสั่งเลิกประกอบกิจการในประเทศ กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ
4. สำเนาใบมรณะบัตรของผู้ประกอบกิจการ กรณีผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม
5. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
6. สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)

เอกสารที่ใช้กรณีการคัดรับรองสำเนา การขอตรวจเอกสารทะเบียนพาณิชย Download file

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง


การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทอนิกส์

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านเคลือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP)
3. ให่เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ขาย (Web Hosting)
4. บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ (E-Marketplace)

ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะออกเครื่องหมายรับรองการจด
ทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (REGISTERED) ให้แก่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียน เพื่อนำไปแสดงไว้บนเวปไซต์ของตนเอง
เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย REGISTERED แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เพิ่มมากขึ้น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะนำรายชื่อเวปไซต์ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปเผยแพร่ไวบนเวปไซต์ของ
กรมฯ (ww.dbd.go.th) เืพื่อช่วยประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของผู้ประกอบการอีกช่องทางหนึ่ง
ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่จดทะเบียนแล้วสามารถยื่นขอใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ
(Trustmark) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ ซึ่งเครื่องหมาย Trustmark นี้ จะมีความน่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย
REGISTERED กล่าวคือ จะออกให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมฯ กำหนดเท่านั้น
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.trustmarkthai.com)
– การได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น การเข้าร่วมอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำต่าง และการได้รับข้อมูลข่าวสาร
ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

สถานที่จดทะเบียน

1. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ต่อสำนักงาน
เขตต่างๆ และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
2. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์
ต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นๆ หรือ เมืองพัทยา แล้วแต่กรณี

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์

มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบการกรอกฟอร์ม ระบบตระกร้า E-mail หรืออื่นๆ
มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระด้วยบัตรเครติด หรือ
e-cash เป็นต้น
มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่นๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ)
มีวัตถุประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการโฆษณานั้น
รับจ้างออกแบบเว็บไซต์
เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น (เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน)
เว็บไซต์ที่สามารถส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ Download เพลง โปรแกรม
เกมส์ Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ไม่ต้องจดทะเบียน

มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้
ติดต่อได้ เช่น สนใจโทรติดต่อ… หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…
มีการโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทาง
การค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติด และมีรายได้จาก banner ก็ตาม
การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น
เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า
เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว
เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

Download แบบฟอร์มรายระเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์

อัตราค่าธรรมเนียม

  • จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ฉบับละ 50 บาท
  • จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ฉบับละ 20 บาทท
  • จดทะเบียนยกเลิก ฉบับละ 20 บาท
  • ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
  • ตรวจเอกสาร ครั้งละ 20 บาท
  • คัดสำเนาและรับรองสำเนา ฉบับละ 30 บาท

ที่มา…ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการคลังและการลงทุนของกรุงเทพมหานคร


ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ขั้นตอนและวิธีการ

เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

กรม สรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีอากรทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและ นิติบุคคลและเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บจึงได้ใช้ระบบ คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บฐานข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรโดยกำหนดให้ผู้มี หน้าที่เสียภาษีอากรแต่ละรายมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเพียง 1 หมายเลข ประกอบด้วยตัวเลข 10 หลัก ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ดังนี้
”มาตรา 3 เอกาทศ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรและผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้ มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรได้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ โดยอนุมัติรัฐมนตรี
การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา”

เลขประจำตัวประชาชนใช้แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่ หักภาษี ณ ที่จ่าย เฉพาะบุคคลธรรมดาที่มีและใช้เลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียน ราษฎร ใช้เลขประจำตัวประชาชนในการยื่นรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและยื่นรายการ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ยังคงต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

ประเภทผู้เสียภาษี

การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

กำหนดเวลา

แบบคำร้อง

สถานที่ยื่นคำร้อง

1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(1) กรณีไม่มีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เช่น คนต่างด้าว ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล กองมรดก ที่ยังมิได้แบ่ง(2) กรณีบุคคลธรรมดาที่ประสงค์จะจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่า เพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ(3) กรณีเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะอยู่ ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2546

ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้พึงประเมิน

(1) บุคคลธรรมดาใช้แบบ
ล.ป.10.1

(2) คณะบุคคลใช้แบบ
ล.ป.10.2

ก. ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ที่ผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาอยู่

ข. ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ที่ผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาอยู่กรณีผู้เสียภาษีอากรที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่สะดวกที่จะยื่นคำร้อง ณ สถานที่ดังกล่าวข้างต้น จะยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา แห่งใดแห่งหนึ่งในท้องที่ของจังหวัดที่มีภูมิลำเนาอยู่หรือ จะยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา แห่งใดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครก็ได้

2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไทยหรือ วันที่นิติบุคคลต่างประเทศเริ่มประกอบกิจการ ในประเทศไทย

แบบ
ล.ป.10.3

ก. ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

ข. ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ กรณีเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สามารถยื่น ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ได้อีกแห่งหนึ่ง

3. ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้

ภายใน 60 วัน ก่อนวันจ่ายเงินได้

แบบ
ล.ป.10.4

ก. ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ที่ผู้จ่ายเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่หรือที่สำนักงานของผู้จ่ายเงินได้ตั้งอยู่

ข. ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ที่ผู้จ่ายเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่หรือที่สำนักงานของผู้จ่ายเงินได้ตั้งอยู่

เอกสารที่ต้องแนบพร้อมกับแบบคำร้องการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

ประเภทบุคคลธรรมดา (แนบพร้อมกับแบบ ล.ป.10.1)

1. กรณีขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทาง / บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรประจำตัวข้าราชการ
(2) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียภาษี / ผู้จัดการมรดก
(3) ภาพถ่ายคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
2. กรณีขอแก้ไขรายละเอียดผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล หรือที่อยู่
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม
3. กรณีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรชำรุดหรือสูญหาย ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / บัตรประจำตัวข้าราชการ / ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว / หนังสือเดินทาง
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม (ถ้ามี)
4. กรณีขอคืนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายใบมรณบัตรของผู้เสียภาษีอากร
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่คืน

ประเภทคณะบุคคล (แนบพร้อมกับแบบ ล.ป.10.2)

1. กรณีขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจจัดการและผู้ร่วมคณะทุกคน
(2) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของที่ตั้งสถานประกอบการ
(3) ภาพถ่ายสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงในการจัดตั้งคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ (ถ้ามี)
2. กรณีขอแก้ไขรายละเอียดผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ของคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม
3. กรณีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรชำรุดหรือสูญหาย ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจจัดการ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม (ถ้ามี)
4. กรณีขอคืนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหนังสือที่แสดงว่าคณะบุคคลเลิกประกอบกิจการ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่คืน

ประเภทนิติบุคคล (แนบพร้อมกับแบบ ล.ป.10.3)

1. กรณีขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นสถานประกอบการของสำนักงานใหญ่
(2) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
(3) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการประกอบกิจการในประเทศไทย
(4) ภาพถ่ายหนังสือสัญญาประกอบกิจการร่วมกัน
(5) ภาพถ่ายหนังสือสัญญาแต่งตั้งลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนฯในประเทศไทย
(6) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทางของกรรมการผู้จัดการ /
หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจจัดการหรือลูกจ้างผู้ทำการแทนฯ ในประเทศไทย
(7) ภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (กรณีที่ใช้สถานที่ของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ)
(8) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้มีอำนาจจัดการ / ลูกจ้าง / ผู้ทำการแทนฯ ในประเทศไทย
2. กรณีขอแก้ไขรายละเอียดผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ ที่ตั้งนิติบุคคล
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม
3. กรณีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรชำรุดหรือสูญหาย ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทางของกรรมการผู้จัดการ
หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจจัดการ หรือลูกจ้างผู้ทำการแทนฯในประเทศไทย
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม (ถ้ามี)
4. กรณีขอคืนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหนังสือจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ / ควบกิจการ / โอนกิจการทั้งหมด
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่คืน

ประเภทผู้จ่ายเงินได้ (แนบพร้อมกับแบบ ล.ป.10.4)

1. กรณีขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งสำนักงาน
(2) ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล / ใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนราษฎร์
(3) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจจัดการ
2. กรณีขอแก้ไขรายละเอียดผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ ที่ตั้งนิติบุคคล
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม
3. กรณีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรชำรุดหรือสูญหาย ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทางของผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจจัดการ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม (ถ้ามี)
4. กรณีขอคืนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหนังสือจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ / ควบกิจการ / โอนกิจการทั้งหมด
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่คืน

ที่มา..กรมสรรพากร

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขั้นตอนและวิธีการ

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.   แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

แบบคำขอที่ใช้ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ แบบ ภ.พ.01 ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานครขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(เขต/อำเภอ) หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำหรับในจังหวัดอื่นขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ทุกแห่ง

2.   เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(1)   คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ

(2)   สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว

(3)   บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว

(4)   สัญญาเช่าอาคารอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ และหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นเจ้าบ้าน, สัญญาซื้อขาย, คำขอหมายเลขบ้าน, ใบโอนกรรมสิทธิ์, สัญญาเช่าช่วง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการและภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

(5)   หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล)

(6)   หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นนิติบุคคล)

(7)   บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

(8)   แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป และภาพถ่ายสถานประกอบการจำนวน 2 ชุด

(9)   กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมภาพถ่ายบัตรดัง กล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป

กำหนดเวลาจดทะเบียน

1.   ผู้ประกอบการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบการมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีการดำเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การสร้างอาคารสำนักงานหรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ผู้ประกอบการมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ

2.   ผู้ประกอบการที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษี-มูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี

สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 ณ สถานที่ดังต่อไปนี้

1.  กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่ สถานประกอบการตั้งอยู่

2.   กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ และกรณีสถานประกอบการตั้งในท้องที่อำเภอ หรือกิ่งอำเภอตั้งใหม่ที่กรมสรรพากรมิได้จัดอัตรากำลังไว้ ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ที่เคยควบคุมพื้นที่เดิมของอำเภอหรือกิ่งอำเภอตั้งใหม่นั้น

กรณีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่สถานประกอบการอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว

3.   กรณีสถานประกอบการที่อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ ยื่น ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ก็ได้