Company | รับทำเงินเดือน - Part 13 Company | รับทำเงินเดือน - Part 13

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน

ตารางค่าธรรมเนียม

ใบสำคัญ การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง
และการขอหนังสือรับรอง ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด

บาท

1.การออกใบสำคัญหรือใบแทนใบสำคัญ

1.1 การขอใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจำกัด

ฉบับละ

100.-

1.2 การขอใบสำคัญหรือใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน บริษัทมหาชนจำกัด

ฉบับละ

200.-

2. การตรวจเอกสาร

2.1 การตรวจคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบของห้างหุ้นส่วน

รายละ

50.-

หรือบริษัทจำกัด

2.2 การตรวจเอกสารของแต่ละบริษัท (บริษัทมหาชนจำกัด)

ครั้งละ

50.-

2.3 การตรวจงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น

รายละ

50.-

3. การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง

หน้าละ

50.-

4. การขอหนังสือรับรองข้อความในทะเบียน

รายการละ

40.-

5. การถ่ายข้อมูลที่ได้จัดทำจากระบบคอมพิวเตอร์

ค่าบริการ

ครั้งละ

1,000

ค่าบันทึกข้อมูลซึ่งมีความยาวของระเบียนไม่เกินสองร้อยอักขระ

ระเบียนละ

0.10

กรณีระเบียนมีความยาวมากกว่าสองร้อยอักขระ คิดทุกจำนวน

สองร้อยอักขระ ให้คิดเป็นหนึ่งระเบียน

ระเบียนละ

0.10

เศษของสองร้อยอักขระ ให้คิดเป็นหนึ่งระเบียน

หมายเหตุ ระเบียน หมายความว่า หน่วยงานของรายการข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งแสดงออกในรูปของอักขระในแต่ละบรรดา

จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

บาท

1. จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

1.1 ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนรวมกันไม่เกิน 1,000,000 บาท

1,000.-

1.2 ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนรวมกันทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้

100.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

1.3 ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนรวมกันตั้งแต่ 5,000,000 บาท

5,000.-

2. จดทะเบียนควบห้างหุ้นส่วน

2,000.-

3. จดทะเบียนแก้ไขชื่อห้างหุ้นส่วน

400.-

4. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์

400.-

5. จดทะเบียนแก้ไขที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และ/หรือสำนักงานสาขา

400.-

6. จดทะเบียนหุ้นส่วนเข้าใหม่

คนละ

300.-

7. จดทะเบียนหุ้นส่วนออก

คนละ

300.-

8. จดทะเบียนแก้ไขทุน

8.1 จดทะเบียนลดทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน

คนละ

300.-

8.2 จดทะเบียนเพิ่มทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน

คิดตามทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนที่เพิ่มขึ้นรวมกันทุก 100,000 บาท

100.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

เพิ่มทุนตั้งแต่ 5,000,000 บาท

5,000.-

9. จดทะเบียนเปลี่ยนสิ่งที่นำมาลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วน

คนละ

300.-

10. จดทะเบียนเปลี่ยนจำพวกหุ้นส่วน

คนละ

300.-

11. จดทะเบียนแก้ไขหุ้นส่วนผู้จัดการ

400.-

12. จดทะเบียนข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ

400.-

13. จดทะเบียนแก้ไขตรา

400.-

14. จดทะเบียนรายการอื่น ๆ ซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ

400.-

15. จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน

400.-

16. จดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี

400.-

17. จดทะเบียนแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี

400.-

18. จดทะเบียนแก้ไขสำนักงานชำระบัญชี

400.-

19. จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

400.-

หมายเหตุ กรณีเพิ่มผู้เป็นหุ้นส่วน ให้คิดค่าธรรมเนียมตามจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนที่เพิ่ม โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนทุน

จดทะเบียนบริษัทจำกัด

บาท

1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ

1.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท

500.-

1.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้

50.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

1.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท

25,000.-

2. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนจัดตั้งบริษัท

2.1 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิทุกข้อ(นอกจากการเพิ่มทุน)

400.-

2.2 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อเพิ่มทุน

(1) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มไม่เกิน 1,000,000 บาท

500.-

(2) ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่เพิ่มขึ้น

50.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

(3) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มตั้งแต่ 50,000,000 บาท

25,000.-

3. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด

3.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท

5,000.-

3.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้

500.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

3.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

250,000.-

4. จดทะเบียนควบบริษัทจำกัด

5,000.-

5. จดทะเบียนการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือ

ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด

5.1 ทุนจำนวนไม่เกิน 1,000,000 บาท

5,000.-

5.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้

500.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

5.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

250,000.-

6. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมบริษัท

6.1 จดทะเบียนมติพิเศษ (เพิ่มทุน/ลดทุน/ควบบริษัท)

400.-

6.2 จดทะเบียนเพิ่มทุน

คิดตามทุนที่เพิ่มทุก 100,000 บาท

500.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

เพิ่มทุนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

250,000.-

6.3 จดทะเบียนลดทุน

400.-

6.4 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิทุกข้อ

400.-

6.5 จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับทุกข้อ

400.-

6.6 จดทะเบียนกรรมการเข้าใหม่ คนละ

400.-

6.7 จดทะเบียนกรรมการออก (ไม่กำหนดจำนวนคน)

400.-

6.8 จดทะเบียนแก้ไขอำนาจกรรมการ

400.-

6.9 จดทะเบียนแก้ไขสำนักงานแห่งใหญ่ และ/หรือสำนักงานสาขา

400.-

6.10 จดทะเบียนแก้ไขดวงตรา

400.-

6.11 จดทะเบียนรายการอื่น ๆ ซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ

400.-

7. จดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชี

400.-

8. จดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี

400.-

9. จดทะเบียนแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี

400.-

10. จดทะเบียนแก้ไขสำนักงานผู้ชำระบัญชี

400.-

11. จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

400.-

จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด

บาท

1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ

1.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท

1,000.-

1.2 ทุนจดทะเบียนทุก 1,000,000 บาท ที่กำหนดไว้

1,000.-

(เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท)

1.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

50,000.-

2. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนจัดตั้งบริษัท

2.1 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิทุกข้อก่อนจัดตั้งบริษัท

500.-

(นอกจากการเพิ่มทุน)

2.2 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อเพิ่มทุน

(1) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มไม่เกิน 1,000,000 บาท

1,000.-

(2) ทุนจดทะเบียนทุก 1,000,000 บาท ที่เพิ่มขึ้น

1,000.-

(เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท)

(3) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

50,000.-

3. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

3.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท

1,000.-

3.2 ทุนจดทะเบียนทุก 1,000,000 บาท ที่กำหนดไว้

1,000.-

(เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท)

3.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 250,000,000 บาท ขึ้นไป

250,000.-

4. จดทะเบียนแปรสภาพบริษัท

4.1 ทุนจำนวนไม่เกิน 1,000,000 บาท

1,000.-

4.2 ทุนจดทะเบียนทุก 1,000,000 บาท ที่กำหนดไว้

1,000.-

(เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท)

4.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

50,000.-

5. จดทะเบียนควบบริษัท

10,000.-

6. จดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท

6.1 ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มไม่เกิน 1,000,000 บาท

1,000.-

6.2 ทุนจดทะเบียนทุก 1,000,000 บาท ที่เพิ่มขึ้น

1,000.-

(เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท)

6.3 ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มตั้งแต่ 250,000,000 บาท

250,000.-

7. จดทะเบียนลดทุนบริษัท

500.-

8. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิบริษัทนอกจากกรณีเพิ่มทุน

500.-

9. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ

500.-

10. จดทะเบียนตั้งกรรมการเข้าใหม่ คนละ

500.-

11. จดทะเบียนกรรมการออก (ไม่กำหนดจำนวนคน)

500.-

12. จดทะเบียนเลิกบริษัท

500.-

13 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

500.-

14. จดทะเบียนเรื่องอื่น ๆ เรื่องละ

500.-

เปิดบริษัทใหม่ต้องทำอะไรบ้าง

1.ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

มาดูกันตั้งแต่เริ่มแรกเลยนะครับ การเปิดบริษัทใหม่ การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทอาจจะไม่ใช่เรื่องยากมากนัก เพียงแต่มีเอกสารที่ต้องจัดทำค่อนข้างมาก และปัจจุบันทางกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเปลี่ยนให้การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทสามารถจดในวันเดียวกันได้ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้สั้นลง นอกจากนี้ยังลดจำนวนผู้เริ่มก่อการจาก 7 คนลดเหลือ 3 คน แต่ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าเรื่องเอกสารที่ต้องจัดทำยังเหมือนเดิมทุกอย่าง

เรามาดูขั้นตอนการจดทะเบียนกันนะครับ

ศึกษาขั้นตอนเรียบร้อยแล้วก็มาเริ่มจดทะเบียนบริษัทกันเลยนะครับ ลิงค์ด้านล่างนี้จะเป็นการจดทะเบียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

หรือถ้าต้องการนำแบบฟอร์มมาพิมพ์และนำไปยื่นเองก็สามารถทำได้ คลิ๊ก ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

2.บัญชีที่ต้องจัดทำและการจัดทำงบการเงิน (กระทรวงพาณิชย์)

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรต้องจัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ โดยต้องจัดทำให้ครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
(๑) บัญชีรายวัน
(ก) บัญชีเงินสด
(ข) บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร
(ค) บัญชีรายวันซื้อ
(ง) บัญชีรายวันขาย
(จ) บัญชีรายวันทั่วไป
(๒) บัญชีแยกประเภท
(ก) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน
(ข) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย
(ค) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้
(ง) บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้
(๓) บัญชีสินค้า
(๔) บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธุรกิจ

คลิ๊ก อ่านเพิ่มเติม ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

การจัดทำงบการเงิน

  • จัดให้มีผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี ปิดงบการเงินครั้งแรกภายใน 12 เดือน (เฉพาะปีแรกอาจปิดงบไม่ถึง 12 เดือนก็ได้ เช่น ถ้าจดทะเบียนวันที่ 18 สิงหาคม และต้องการปิดบัญชีในวันที่ 31 ธันวาคมก็ได้ ปีแรกจะปิดบัญชีวันไหนก็ได้ แต่อย่าเกิน 12 เดือน) หลังจากนั้นให้ปิดบัญชีครั้งต่อไปทุกรอบ 12 เดือน
  • จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือนนับจากวันปิดบัญชี เช่น ปิดงบการเงินวันที่ 31 ธันวาคม ก็ต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบภายในวันที่ 30 เมษายน ปีถัดไปและหลังจากงบได้รับการอนุมัิติจากที่ประชุมแล้วก็ต้องนำไปยื่นกระทรวงพาณิชย์ภายใน 1 เดือน หรือภายในวันที่ 31 พฤษภาคม

3.การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย (กรมสรรพกร)

ถ้ายังไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเลขทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ สามารถเขาไปจดทะเบียนที่กรมสรรพากรได้

การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือการเสียภาษีประจำปี

ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี โดยใช้แบบ ภงด.50 กำหนดเวลาในการยื่นแบบภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เช่น ถ้าปิดงบวันที่ 31 ธันวาคม จะต้องยื่นภายในวันที่ 29 พฤษภาคม (ในกรณีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน) หรือต้องยื่นภายในวันที่ 30 พฤษภาคม (กรณีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน)

นอกจากนี้ยังต้องประมาณการเพื่อเสียภาษีครึ่งปี สำหรับงบที่มีรอบระยะเวลาบัญชี มค-ธค. รอบระยะเวลา 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน กำหนดยื่นภายใน 2 เดือน ต้องยื่นภายในวันที่ 31 สิงหาคม

ภาษีเิงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องยื่นประจำทุกเดือน

เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งให้สรรพากรภายในวันที่ 7 ของทุกเดือน โดยเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 70 สำหรับแบบที่ใช้ในการยื่น ได้แก่

  • ภงด.1 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้ประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง
  • ภงด.3 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้ประเภทอื่นที่ที่จ่ายให้แก่บุคคลธรรมดา
  • ภงด.53 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่จ่ายให้แก่บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ข้อมูลอ้างอิงและถ้าต้องการศึกษาเพิ่มเติม

การยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) ต้องยื่นประจำทุกเดือน

กำหนดยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน ไม่ว่าจะมีภาษีต้องเสียหรือไม่ก็ตาม ถ้าไม่มีภาษีต้องจ่่ายก็ให้ยื่นฟอร์มเปล่า อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

4.ประกันสังคม

สำหรับกิจการที่มีูลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องยื่นขึ้นทะเบียนนายจ้าง ภายใน 30 วันนับจากที่มีลูกจ้าง และนำส่งเงินประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยใช้แบบนำส่ง สปส.1-10

เอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมกับการยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง

กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด)

  1. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
  2. สำเนา หรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
  3. แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
  4. หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)

การยื่นขอขึ้นทะเบียนให้ใช้ แบบขึ้นทะเบียนทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01)

คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มประกันสังคม

จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท รับจดทะเบียนบริษัท และห้างหุ้นส่วน

จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด (บริการจองชื่อนิติบุคคล บริการจัดเตรียมแบบฟอร์มจดทะเบียน บริการจดทะเบียนจัดตั้งบริคณห์สนธิและจัดตั้งบริษัท ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และขึ้นทะเบียนประกันสังคม)

จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนร้านค้า จดทะเบียนคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ

จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง เช่น แก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการ, เปลี่ยนที่ตั้งสำนักงาน, เพิ่มทุน / ลดทุน อื่นๆ

จดทะเบียนเลิกกิจการและชำระบัญชี ของห้างหุ้นส่วนและบริษัท

ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของคณะบุคคล หรือนิติบุคคล

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม , ภาษีธุรกิจเฉพาะ รวมทั้งจดเปลี่ยนแปลงภาษีต่างๆ ต่อกรมสรรพากร ได้แก่ แจ้งย้ายเข้า-ออก, ย้ายที่อยู่, แจ้งเปลี่ยนชื่อหรือเปลี่ยนลักษณะการประกอบธุรกิจ ฯลฯ

ขึ้นทะเบียนประกันสังคม : นายจ้าง, ลูกจ้าง, แจ้งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต่อสำนักงานประกันสังคม

บริการขอหนังสือรับรอง จากกระทรวงพาณิชย์

นอกจากนี้เรายังให้บริการรับทำบัญชี รับทำเงินเดือน ยื่นแบบเสียภาษี และยื่นแบบนำส่งเงินสมทบประกันสังคม