Company | รับทำเงินเดือน - Part 11 Company | รับทำเงินเดือน - Part 11

การยื่นงบการเงิน และค่าปรับยื่นงบล่าช้า

เพิ่มเติม

1.จากเดิมที่ต้องส่งแบบ สปช.3 จำนวน 3 ฉบับ และงบการเงิน 2 ชุด ปัจจุบัน(ปี 2551) ให้ส่งแบบ สปช.3 จำนวน 2 ฉบับและงบการเงิน 1 ชุด (ต่างจังหวัดให้เพิ่มอีกอย่างละ 1) และในวันนำส่งงบ จะมีการตรวจสอบว่าผู้สอบบัญชีแจ้งรายชื่อธุรกิจแล้วหรือยัง โดยจะมีตรายางประทับไว้ในแบบ สปช.3 ที่คืนมา 1 ฉบับ

ดูประกาศแก้ไข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒ คลิ๊ก

2.อีกเรื่องที่ต้องระวังก่อนส่งงบการเงิน ให้ตรวจสอบก่อนว่าในข้อบังคับบริษัท กำหนดรอบบัญชีไว้เป็นเมื่อไหร่ ถ้าส่งงบไม่ตรงกับรอบบัญชีที่แจ้งไว้ตอนจดทะเบียนบริษัท ทางเจ้าหน้าที่จะไม่รับแบบ ต้องไปแก้ไขข้อบังคับ หรือทำหนังสือยืนยันให้กรรมการเซ็นรับรองและประทับตราว่า บริษัทจะดำเนินการเปลี่ยนรอบบัญชีในข้อบังคับต่อไป

กำหนดเวลายื่นงบการเงิน
1) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายของต่างประเทศที่ ประกอบ ธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พฤษภาคมของปีถัดไป
2) บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ต้องจัดทำงบการเงินขึ้นเพื่อให้ผู้สอบบัญชี ีรับอนุญาตตรวจสอบ รับรอง แล้วจึงนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ โดยจะต้องจัดให้มี การประชุมเพื่ออนุมัติิงบการเงิน ภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้นรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี จะต้องจัด ประชุมภายในวันที่ 30 เมษายนของปีถัดไป มิฉะนั้นจะมีความผิดโทษปรับไม่ เกิน 20,000 บาท
งบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมแล้ว จะต้องนำไปยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติ จากที่ประชุมใหญ่

ตัวอย่าง

  1. ประชุมเมื่นวันที่ 31 มีนาคม จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 30 เมษายน ของเดือนถัดไป
  2. ประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 20 พฤษภาคม ของเดือนถัดไป
  3. ประชุมเมื่อวันที่ 30 เมษายน จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 31 พฤษภาคม ของเดือนถัดไป

เอกสารที่ต้องการใช้ในการยื่นงบการเงิน
กิจการที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
1) แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) จำนวน 2 ฉบับ (แก้ไขใหม่)
2) งบการเงิน จำนวน 1 ชุด (แก้ไขใหม่)
3) สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมใหญ่อนุมัติงบการเงินของบริษัทจำกัด จำนวน 1 ชุดจะต้องยื่นภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมใหญ่
***กรณีมิได้ยื่นพร้อมกับงบการเงิน จะต้องมีหนังสือนำส่งลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจประทับตรา (ถ้ามี) ด้วยสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดจะต้องลงนามรับรองโดยกรรมการอย่างน้อย 1 คน
4) สำเนารายงานการประชุมเฉพาะที่เกี่ยวกับการอนุมัติงบการเงิน การจัดสรรกำไร และการแบ่งเงินปันผล (กรณีเป็นบริษัทมหาชนจำกัด) จำนวน 1 ชุด
5) รายงานประจำปี (กรณีเป็นบริษัทมหาชนจำกัด) จำนวน 1 ชุด

กิจการที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค
ยื่นเอกสารเช่นเดียวกับนิติบุคคลที่ตั้งในกรุงเทพมหานคร แต่ต้องเพิ่มเอกสารตาม 1-5 (แล้วแต่ประเภทกิจการ) อีกอย่างละ 1 ชุด

*การกรอกแบบนำส่งงบการเงิน (ส.บ.ช.3)

  1. ให้กรอกข้อความลงในชื่อว่างหรือทำเครื่องหมายถูกในช่องสี่เหลื่อมตามที่ประกอบอยู่จริงเท่านั้น
  2. ให้ระบุประเภทธุรกิจและระบุสินค้า/บริการที่ประกอบกิจการอยู่ในปัจจุบันให้ตรงตามความเป็นจริง เนื่องจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะให้เป็นข้อมูลเพื่อเผยแพร่ธุรกิจของท่านทั้งทางอินเตอร์เน็ต และตามที่มีผู้ขอข้อมูล
  3. ผู้ทำบัญชีต้องลงชื่อในแบบนำส่งด้วย โดยผู้ทำบัญชีต้องเป็นผู้ที่ได้แจ้งรายชื่อต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไว้แล้วว่าเป็นทำบัญชีของกิจการที่นำส่งงบการเงิน
  4. ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการต้องลงลายมือชื่อในแบบด้วยตนเอง จะมอบอำนาจให้ผู้ใดลงลายมือแทนมิได้ และประทับตรา (ถ้ามี) ด้วย

รายละเอียดในงบการเงิน ประกอบด้วย
1.ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการจะต้องลงลายมือชื่อและประทับตรา (ถ้ามี) ในงบดุลและงบกำไรขาดทุนทุกหน้าส่วนเอกสารงบการเงินอื่น ให้ผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อรับรอง
2.งบการเงินของบริษัทจำกัดให้ระบุข้อความไว้ในหน้างบดุลด้วยกว่า "งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด เมื่อวันเดือนปีใด" เว้นแต่กรณีส่งสำเนารายงานการประชุมดังกล่าวมาพร้อมกับการยื่นงบการเงิน
3.งบการเงินของนิติบุคคลที่ตั้งในกรุงเทพมหานครจะต้งมีต้นฉบับที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อด้วยหมึก อย่างน้อย 1 ชุด กรณีตั้งในภูมิภาคต้องมีต้นฉบับอย่างน้อย 2 ชุด สำเนาที่นำส่งพร้อมต้นฉบับจะต้องรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการและประทับตรา (ถ้ามี) ในเอกสารทุกหน้า
4.ให้หมายเหตุในงบดุลหรือแจ้งในแบบ ส.บช.3ว่าไม่ประกอบกิจการ หากธุรกิจมิได้ประกอบกิจการในรอบปีบัญชีที่นำส่งงบการเงิน

การแจ้งรายชื่อธุรกิจที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อรับรองงบการเงิน
– งบการเงินที่ยื่นตอ่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อกรมฯได้รับงบการเงินดังกล่าวแล้วเจ้าหน้าที่จะดำเนินการ ตรวจสอบว่าเป็นนิติบุคคลที่ผู้สอบบัญชีได้แจ้งชื่อไว้ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 44 (พ.ศ.2544) หรือไม่ หากไม่ปรากฎชื่อกรมฯ จะทำการแจ้งนิติบุคคลให้ดำเนินการให้ถูกต้อง ภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง จึงจะถือว่าได้ยื่นงบการเงินไว้โดยถูกต้องแล้วนับตั้งแต่วันที่ยื่นครั้งแรก หากไม่ดำเนินการภายในระยะเลาดังกล่าวจะถือว่าไม่ได้ยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าย่อมเป็นความผิดมีโทษปรับตามกฏหมาย
– จึงขอให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีหรือผู้ที่เกี่ยวข้องว่าผู้สอบบัญชีได้แจ้งรายชื่อธุรกิจไว้แล้วหรือไม่หรือตรวจสอบได้ที่ www.dbd.go.th หากยังมิดได้แจ้งขอให้ดำเนินการแจ้งรายชื่อต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก่อนำมายื่น

สถานที่ยื่นงบการเงิน
– กิจการที่ตั้งในกรุงเทพมหานคร ยื่นที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 1100
– กิจการที่ตั้งในต่างจังหวัด ยื่นที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ สำนัหงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่ตั้งกิจการการจัดส่งทางไปรษณีย์
– ส่ง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ในกรุงเทพฯและไปรษณีย์นนทบุรี ถนนติวานนท์ ถึงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยสามารถเลือกใช้วิธีไปรษณีย์รับประกันทั้งไปและกลับ และแนบซองติดแสตมป์จ่าหน้าซองกลับถึงตัวผู้รับได้ 2 แบบคือ

  1. ฝากส่งงบการเงิน จำนวน 1 ชุด ชำระค่าบริการ 65 บาท หากเอกสารสูญหาย/เสียหายจะได้ชดใช้เป็นเงิน 500 บาท ทั้งไปและกลับ หรือ
  2. ฝากส่งงบการเงิน จำนวนไม่เกิน 5 ชุดส่งในซอง/กล่องเดียวกัน ชำระค่าบริการ 105 บาท ซึ่งหากเอกสารสูญหาย/เสียหาย จะได้รับชดใช้เป็นเงิน 700 บาท สำหรับขาไป และ 500 บาท สำหรับขากลับ

กรณีส่งถึงสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสามารถเลือกส่งได้เฉพาะไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือพัสดุไปรษณีย์หรือไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) เท่านั้น แต่ต้องแนบซองติดแสตมป์จ่าหน้าซองกลับเช่นเดียวกัน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะถือว่ากิจการได้ยื่นงบการเงินตั้งแต่วันที่ประทับบนซองจดหมาย/กล่อง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทาง

คำเตือน

1)เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ขอให้นิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดรีบดำเนินการจัดส่งงบการเงินก่อนเดือนพฤษภาคม หากนำมายื่นในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมอาจมีปัญหาไม่ได้รับความสะดวกและรวดเร็วเท่าที่ควร หรือจัดส่งทางไปรษณีย์จะได้รับความสะดวกกว่า
2)กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะได้รับฝากงบการเงินที่ยื่นครั้งละจำนวนมากของสำนักบริการรับทำบัญชีอีกต่อไป
3)ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้าเกินกำหนดเวลามีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และปรับผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการอีกไม่เกิน 50,000 บาท ด้วย ทั้งนี้ กรมได้กำหนดอัตราค่าปรับตามระยะ เวลาที่ยื่นงบการเงิน หากยื่นงบการเงินล่าช้าอัตราค่าปรับก็จะเพิ่มขึ้น หากมีข้อสงสัยประการใด สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02 547 4369-70 หรือสายด่วน 1570

ตารางค่าปรับ

 ลำดับ

  ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วน

   ยอดรวม

1.อัตราค่าปรับกรณียื่่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน 

1

ทุกประเภทยกเว้นกิจการร่วมค้า

600

600

1,200

2

กิจการร่วมค้า

600

600

2.อัตราค่าปรับกรณียื่่นงบการเงินล่าช้า่เกินกว่า 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน 

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

1,200

1,200

2,400

2

บริษัทจำกัด

2,400

2,400

4,800

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

6,000

6,000

12,000

4

บริษํทมหาชนจำกัด

12,000

12,000

24,000

5

กิจการร่วมค้า

6,000

6,000

3.อัตราค่าปรับกรณียื่่นงบการเงินล่าช้า่เกินกว่า 4เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน 

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

2,400

2,400

4,800

2

บริษัทจำกัด

4,800

4,800

9,600

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

12,000

12,000

24,000

4

บริษํทมหาชนจำกัด

24,000

24,000

48,000

5

กิจการร่วมค้า

12,000

12,000

4.อัตราค่าปรับกรณียื่่นงบการเงินล่าช้า่เกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป หรือไม่ยื่นงบการเงิน 

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

3,600

3,600

7,200

2

บริษัทจำกัด

6,000

6,000

12,000

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

18,000

18,000

36,000

4

บริษํทมหาชนจำกัด

36,000

36,000

72,000

5

กิจการร่วมค้า

18,000

18,000

 

สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีรอบบัีญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เป็นต้นไป อายุความของค่าปรับเป็น 1 ปี
นับจากวันครบกำหนดวันสุดท้ายของการยื่นงบการเงิน

ที่มา..http://www.dbd.go.th/mainsite/fileadmin/contents/docservice/files/html/explanation_account.html

จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ขั้นตอนและวิธีการ

คำแนะนำการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนจำกัด

จะจัดตั้งห้างหุ้นส่วนได้อย่างไร
การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงที่จะทำการค้าร่วมกัน โดยมุ่งหวังที่จะแบ่งผลกำไรจากการดำเนินกิจการค้านั้น

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ทำความตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญ ๆ
ห้างหุ้นส่วนเป็นรูปแบบการประกอบกิจการค้าที่มีคนหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างประกอบการค้า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงควรทำความตกลงกันในเรื่องสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ไว้ก่อนให้ชัดเจน

1. จำนวนเงินลงทุนหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะนำมาลงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ (ยกเว้นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดจะลงทุนด้วยแรงงานไม่ได้) แต่การลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือแรงงาน ต้องตีราคาเป็นจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาชำระเงินหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำมาลงทุน ซึ่งควรชำระให้ครบก่อนการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
2. กำหนดขอบเขตหรือกรอบของกิจการค้าที่ห้างหุ้นส่วนจะประกอบกิจการ หรือที่เรียกว่า “วัตถุที่ประสงค์” ในปัจจุบันส่วนมากจะกำหนดวัตถุประสงค์ไว้หลาย ๆ กิจการ เพื่อความคล่องตัวในการเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนกิจการค้า จะได้ไม่ต้องเสียเวลา
ในการดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มหรือเปลี่ยนวัตถุที่ประสงค์ แต่การจดทะเบียนวัตถุที่ประสงค์ไว้
เป็นหลาย ๆ กิจการ นั้นอาจไม่เป็นผลดี เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารประกอบกิจการค้าที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ตนถนัดและให้อำนาจกว้างขวางมากเกินไป *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุที่ประสงค์*
3. แต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนผู้จัดการคือ ผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วน ซึ่งต้องแต่งตั้งจากหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น)
4. การแบ่งส่วนผลกำไรและขาดทุน
5. เรื่องอื่น ๆ เช่น หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาจัดตั้งห้างเดิม
สถานที่ที่จะใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ข้อจำกัดในการใช้อำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ และการตั้งผู้ชำระบัญชี เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 ขอตรวจสอบและจองชื่อห้างหุ้นส่วน
ในปัจจุบันมีการประกอบกิจการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อที่คล้ายหรือซ้ำกัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่ต้องขอตรวจและจองชื่อนิติบุคคลก่อนจะจดทะเบียนจัดตั้ง

ขั้นตอนที่ 3 จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ
เมื่อผ่านการตรวจและตอบรับจากเจ้าหน้าที่ว่าชื่อที่จะจดทะเบียนไม่คล้ายหรือซ้ำกับชื่อของนิติบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนต้องกรอกรายละเอียด (โดยวิธีการพิมพ์) ในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามความเป็นจริงใน
แบบพิมพ์คำขอจดทะเบียน

ขั้นตอนที่ 4 การยื่นขอจดทะเบียน
การยื่นขอจดทะเบียนทำได้ 2 วิธี คือ

1. ยื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมเอกสารประกอบต่อนายทะเบียน กรณีนี้
หุ้นส่วนผู้จัดการจะไปยื่นขอจดทะเบียนด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนก็ได้
2. ยื่นขอจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th เพื่อให้นายทะเบียนตรวจพิจารณาคำขอจดทะเบียนก่อน และเมื่อผ่านการตรวจและตอบรับว่าคำขอจดทะเบียนถูกต้องแล้ว ให้ผู้ขอจดทะเบียนสั่งพิมพ์ (print out) เอกสารคำขอจดทะเบียนดังกล่าวให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของห้าง หลังจากนั้นก็นำไปยื่นขอจดทะเบียน ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีความรวดเร็วกว่ากรณีการยื่นขอจดทะเบียนตาม 1. มาก เนื่องจากนายทะเบียนจะตรวจเอกสารคำขอจดทะเบียนที่นำมายื่นนั้นว่ามีข้อความถูกต้องตรงกับที่ยื่นไว้ทางอินเทอร์เน็ตหรือไม่เท่านั้น

ข้อมูลที่ใช้
1. ชื่อของห้างหุ้นส่วน
2. วัตถุประสงค์ของห้าง
3. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสาขา
4. ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ และสิ่งที่นำมาลงหุ้น
5. ชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ (ต้องเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด)
กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทุกคน
6. ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี)
7. ตราสำคัญของห้าง *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดดวงตรา*

เอกสารและหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน
ในการขอจดทะเบียนต้องเตรียมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
1. คำขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน (แบบ หส. 1)
2. รายการจดทะเบียน (แบบ หส.2) /ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ใช้เฉพาะหน้า 1 และ 3
3. วัตถุประสงค์ (แบบ ว.)
4. แบบ สสช. 1 จำนวน 1 ฉบับ
5. แบบจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่เกินกำหนด
6. สำเนาบัตรประจำตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
7. สำเนาหลักฐานการรับชำระเงินลงหุ้นที่ห้างหุ้นส่วนได้ออกให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน
8. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน*
9. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเองก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและปิดอากรแสตมป์ด้วย)
10. กรณีมีคนต่างด้าวลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือมีคนต่างด้าวลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนต่ำกว่า ร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียน แต่คนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วน ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนที่มีสัญชาติไทยส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุน ซึ่งปรากฏจำนวนเงินสอดคล้องกับจำนวนเงินที่นำมาลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน ดังนี้
– สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร หรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน หรือ
– เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรอง หรือแสดงฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้น หรือ
– สำเนาหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาลงทุน
คำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบสามารถขอและซื้อได้ที่หน่วยงานของกรมพัฒนาธุรกิจทุกแห่ง หรือ Download ได้จาก www.dbd.go.th

อัตราค่าธรรมเนียม
1. การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนทุกจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท แห่งทุนที่กำหนดไว้ 100 บาท เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท ทั้งนี้ รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า 1,000 บาท และไม่ให้เกิน 5,000 บาท
2. หนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
3. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
4. กรณีขอให้นายทะเบียนรับรองสำเนาเอกสารการจดทะเบียน หน้าละ 50 บาท
สถานที่จดทะเบียน
1. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนได้ที่ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 9 ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี หรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง *ดูรายละเอียด*
2. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น ยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่ห้างหุ้นส่วนมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
3. ยื่นจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th

รูปภาพประกอบในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

Partnership

ข้อมูลอ้างอิง..กระทรวงพาณิชย์

จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ขั้นตอนและวิธีการ

จะดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดภายในหนึ่งวันได้อย่างไร
ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนตั้งบริษัทไปพร้อมกันภายในวันเดียวก็ได้
1. จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
2. ประชุมจัดตั้งบริษัท เพื่อพิจารณากิจการต่างๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม (มอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนได้)
และผู้เริ่มก่อการ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคน ให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น 1
3. ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการบริษัท
4. กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ใช้เงินค่าหุ้น โดยจะเรียกครั้งเดียวเต็มมูลค่าหรือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามมาตรา 1110 วรรคสองก็ได้ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนได้ชำระเงินค่าหุ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัทจำกัด
1. ชื่อของบริษัท (ตามที่ได้จองชื่อไว้) *ดูหลักเกณฑ์การจองชื่อนิติบุคคล*
2. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ (ตั้งอยู่ ณ จังหวัดใด)
3. วัตถุที่ประสงค์ของบริษัทที่จะประกอบกิจการค้า *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุที่ประสงค์*
4. ทุนจดทะเบียน จะต้องแบ่งเป็นหุ้นๆ มีมูลค่าหุ้นเท่าๆ กัน (มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท)
5. ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ และจำนวนหุ้นที่ผู้เริ่มก่อการจองซื้อไว้
6. ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ ของพยาน 2 คน
7. อากรแสตมป์ 200 บาท
8. ข้อบังคับ (ถ้ามี)
9. จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชำระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
10. ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการ
11. รายชื่อหรือจำนวนกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท (อำนาจกรรมการ) *ดูตัวอย่างการกำหนดอำนาจกรรมการ*
12. ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน
13. ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ และจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
14. ตราสำคัญ *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดดวงตรา*
15. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่/สาขา
บริษัทจะไม่จดทะเบียนตราสำคัญของบริษัทก็ได้ หากว่าอำนาจกรรมการไม่ได้กำหนดให้ต้องประทับตราสำคัญด้วย

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
2. หนังสือบริคณห์สนธิ (แบบ บอจ.2) ผนึกอากรแสตมป์ 200 บาท
3. รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)
4. แบบวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.)
5. รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
6. แบบจองชื่อนิติบุคคล
7. หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม เช่น ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กิจการข้อมูลเครดิต บริหารสินทรัพย์ กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็น)
8. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
9. สำเนารายชื่อผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นในการประชุมให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมจัดตั้งบริษัทพร้อมลายมือชื่อ
10. สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
11. สำเนาข้อบังคับ ผนึกอากร 200 บาท (ถ้ามี)
12. สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
13. กรณีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัด ตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือกรณีมีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัดต่ำกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียนแต่คนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ให้ผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละราย อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
13.1 สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร หรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน หรือ
13.2 เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรอง หรือแสดงฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้น หรือ
13.3 สำเนาหลักฐานที่แสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระค่าหุ้น
14. แบบ สสช.1 จำนวน 1 ฉบับ
15. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
16. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน*
17. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกอากรแสตมป์ด้วย)
แบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถขอและซื้อได้จากหน่วยงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือ Download จาก www.dbd.go.th

ค่าธรรมเนียม
1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิทุกจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 50 บาท เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท ทั้งนี้รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า 500 บาท
และไม่ให้เกิน 25,000 บาท
2.. จดทะเบียนตั้งบริษัทคิดตามทุนจดทะเบียนแสนละ 500 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และไม่เกิน 250,000 บาท (เศษของแสนคิดเป็นแสน)
3. หนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
4. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
5. รับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท
สถานที่จดทะเบียน
1. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนได้ที่ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี หรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง *ดูรายละเอียด*
2. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น ยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่บริษัทมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
3. ยื่นจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th *ดูคำแนะนำการจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต*

 

รูปภาพประกอบ

OneDayRegist

ที่มา…กระทรวงพาณิชย์