กรกฎาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน กรกฎาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน

สปส. ลดอัตราเงินสมทบ เหลือร้อยละ 3 ตั้งแต่งวดเดือน ก.ค. –ธ.ค. 52

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) บรรเทาภาระให้นายจ้างและผู้ประกันตน โดยการลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม จากเดิมฝ่ายละ ร้อยละ 5 เป็นฝ่ายละ ร้อยละ 3 ตั้งแต่ งวดเดือน ก.ค. – งวดเดือน ธ.ค. 52

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคมได้มีมาตรการ “ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม” เพื่อเป็นการบรรเทาภาระให้กับนายจ้างผู้ประกันตน ซึ่ง สนองตอบต่อมาตรการในการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้างของกระทรวงแรงงานในการลดค่าครองชีพตามมาตรการ “3 ลด 3 เพิ่ม” จากเดิมฝ่ายละ ร้อยละ 5 ของค่าจ้าง เป็นฝ่ายละ ร้อยละ 3 ของ ค่าจ้าง ส่วนรัฐบาลจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ 2.75 เท่าเดิม โดยจะเริ่มลดอัตราเงินสมทบ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ซึ่ง วันที่ 1 มกราคม 2553  ให้นายจ้างนำส่งเงินสมทบในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละ ร้อยละ 5 เช่นเดิม ดังนั้น การนำส่งเงินสมทบของงวดเดือน กรกฎาคม ถึง งวดเดือนธันวาคม 2552 (6 งวด) นายจ้างจะต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายค่าจ้าง ในอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง เช่น ค่าจ้างงวดเดือนกรกฎาคม 2552 นายจ้างจะต้องนำส่งเงินสมทบในอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง (ฐานค่าจ้าง 15,000 บาท นายจ้างจะต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนฝ่ายละ450 บาทต่อเดือน) แต่สำหรับ ค่าจ้าง งวดเดือนมกราคม 2553 นายจ้างจะต้องนำส่งเงินสมทบ ในอัตราฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้าง (ฐานค่าจ้าง 15,000 บาท นายจ้างจะต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละ 750 บาทต่อเดือน) ตามเดิม

สำหรับ ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ) ได้กำหนดลดอัตราเงินสมทบ จากเดิมร้อยละ 9 ของค่าจ้าง (ฐานค่าจ้าง 4,800 บาท) ลดเหลือร้อยละ 5 ของค่าจ้าง เช่นกัน ดังนั้นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ที่นำส่งเงินสมทบเดิม 432 บาท เป็นนำส่งเงินสมทบเดือนละ 240 บาท ตั้งแต่งวดเดือน กรกฎาคม 2552 และสิ้นสุดที่งวดเดือน ธันวาคม 2552 เป็นระยะเวลา 6 งวด ทั้งนี้ งวดเดือน มกราคม 2553 ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ให้นำส่งเงินสมทบ เดือนละ  432 บาท เช่นเดิม

หากนายจ้างและผู้ประกันตนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือ โทร.1506 ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น.หรือติดต่อระบบโทรศัพท์ ตอบรับอัตโนมัติให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.sso.go.th

……………………………………………………………..

ศูนย์สารนิเทศ สายด่วน 1506 www.sso.go.th

ประกาศของสำนักงานประกันสังคมลงวันที่ 14/07/2552  ประกาศสำหรับเจ้าของสถานประกอบการ , สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39

ที่มาข่าวเอามาจากเว็บของสำนักงานประกันสังคมเห็นลงไว้วันที่ 17/07/2552  http://www.sso.go.th/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7/page_3264

กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท เรื่องการประกาศหนังสือพิมพ์ กรณีประชุมผู้ถือหุ้น

สรุปสิ่งสำคัญที่บริษัทฯ ที่ต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค. 2551 )

การเรียกประชุมผู้ถือหุ้น (มาตรา 1175) การเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้ต้องออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น/คณะกรรมการ ….กรณีเป็นบริษัทจำกัด

หัวข้อ
เดิม
ใหม่
1.การเปลี่ยนแปลงกรรมการหรืออำนาจกรรมการ เช่น ลาออก ตาย ล้มละลาย ไร้ความสามารถประชุมสามัญประจำปี ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
2.การเพิ่มทุน (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
3.การแก้ไขชื่อและตราสำคัญบริษัทฯ (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
4.การแก้ไขวัตถุประสงค์บริษัทฯ (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
5.การแก้ไขที่ตั้งสำนักงานใหญ่เฉพาะข้ามจังหวัด (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
6.การแก้ไขข้อบังคับของบริษัท (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
7.การลดทุน (มติพิเศษ) มี 2 ขั้น ที่ต้องลงโฆษณา
ขั้นที่ 1 ะมีการประชุมมติพิเศษออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นขั้นที่ 2 หลังจากจดทะเบียนมติพิเศษแล้ว ทำหนังสือแจ้งเจ้าหนี้
ไม่ต้องลงก็ได้โฆษณาหนังสือพิมพ์ 7 ครั้ง ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

ลงเมื่อไร ก็ได้ เพราะต้องนับวัน ถ้าปล่อยค้างไว้ 1 ปี มติยกเลิกตามกฏหมาย

8.แก้ไขเพิ่มดวงตราสำคัญ
(จะประชุมหรือไม่ก็ได้)
ไม่ต้องลงก็ได้ (ถ้าประชุม)ลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับ
9.การควบบริษัท (มติพิเศษ) มี 2 ขั้น ที่ต้องลงโฆษณา
ขั้นที่ 1 ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นขั้นที่ 2 หลังจากจดทะเบียนพิเศษให้ควบบริษัท ทำหนังสือแจ้งเจ้าหนี้
ไม่ต้องลงก็ได้โฆษณาหนังสือพิมพ์ 7 ครั้ง ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ (เฉพาะขั้นที่ 1)
10.เลิกบริษัท มี 2 ขั้น ที่ต้องลงโฆษณา
ขั้นที่ 1 ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น (ช่วงขอจดทะเบียนเลิก)ขั้นที่ 2 เมื่อจดทะเบียนเลิกเสร็จ
ไม่ต้องลงก็ได้โฆษณาหนังสือพิมพ์ 2 ครั้ง ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วันประกาศโฆษณาเลิกในหนังสือพิมพ์ท้องที่ อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 14 วันนับจากวันที่เลิก
11.การชำระบัญชี
ออกหนังสือนัดประชุมเพื่อยืนยันตัวผู้ชำระบัญชีและอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิกออกหนังสือนัดประชุมเพื่อพิจารณาการชำระบัญชี
ไม่ต้องลงก็ได้ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับ
12.การแจ้งการจ่ายเงินปันผล (มาตรา 1204) ไม่ต้องลงก็ได้ ในกรณีมีหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ
ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราวด้วย

….กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด

หัวข้อ
เดิม
ใหม่
1.การแปลงสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทฯ จำกัด (เพิ่มส่วนที่12 ในหมวด4 มาตรา 1246/1-1246/7) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องโฆษณาหนังสือพิมพ์ 1 คราว
2.เลิกห้างหุ้นส่วน เมื่อจดทะเบียนเลิกเสร็จ โฆษณาหนังสือพิมพ์ 2 ครั้ง ประกาศโฆษณาเลิกใน หนังสือพิมพ์ท้องที่ อย่างน้อย 1 ครั้ง
ภายใน 14 วันนับจากวันที่เลิก

ตัวอย่าง บริษัท ก. ต้องการประชุมสามัญประจำปี วันที่ 29 เมษายน 2552 ดังนั้นบริษัทฯ ก จะต้องลงประกาศ ออกหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น ในหนังสือพิมพ์ท้องที่ 1 คราว ในระหว่างวันที่ 4 – 21 เมษายน 2552 โดยจะลงก่อน หรือหลัง จากช่วงนี้ไม่ได้ (ลงก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 24 วัน)

ตัวอย่าง บริษัท ก. มีมติพิเศษ การแก้ไขชื่อและตราสำคัญของบริษัท โดยจะประชุมผู้ถือหุ้น วันที่ 30 มกราคม 2552
ดังนั้น บริษัท ก. ต้องลงประกาศออกหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์ท้องที่ 1 คราว ในระหว่างวันที่ 18 – 31
ธันวาคม 2551 และ1 – 15 มกราคม 2552 (ลงก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน แต่ไม่เกิน 42 วัน) การนับวัน รวมหมด ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดราชการ หรือ วันเสาร์ อาทิตย์

คำแนะนำในการจดทะเบียนพาณิชย์

คำแนะนำทะเบียนพาณิชย์

ภาย หลังจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ได้ถ่ายโอนงานจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 ตามแผนขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพร้อมได้ออกประกาศกระทรวง พาณิชย์ ตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นสำนักงานทะเบียนพาณิชย์และแต่งตั้งเจ้า หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียน พาณิชย์เพื่อปฏิบัติงานในเขตจังหวัด รวมทั้งกำหนดพาณิชยกิจที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจจะต้องมาจดทะเบียน ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ เรื่อง การตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียน พาณิชย์(ฉบับที่6) พ.ศ.2549 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์(ฉบับที่9) พ.ศ.2549 ลว. 29 มีนาคม 2549
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาจึงได้ใคร่ขอให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจในเขตจังหวัดจังหวัดสงขลาต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ณ งานทะเบียนพาณิชย์องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา หลังที่ว่าการอำเภอเมืองสงขลา ถนนราชดำเนิน อำเภอเมืองจังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2549 เป็นต้นไป
1. ผู้ประกอบพาณิชยกิจ หมายถึง

– บุคคลธรรมดา(เจ้าของคนเดียว)

– ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

– นิติบุคคลต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย
2. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
– การจัดทำโรงสีข้าวและการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
– การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตามคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใด ขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายที่มีค่ารวมเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป

– การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตามและสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป

– การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือ เรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อ ขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อขายตั๋วเงิน การธนาคารการโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม

3. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2549
– การขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัลเฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
– การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี

– การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยใช้วิธีการใช้สื่อ

– การบริการอินเตอร์เน็ต

– การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย

– การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้า หรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

– การผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือ แผ่นดิจิทัลเฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง

– การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต

– การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ

– การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์

– การให้บริการตู้เพลง

– โรงงานแปรสภาพ แกะสลักและการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

4. การยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ การจดทะเบียนตั้งใหม่มีเอกสารดังนี้
(1) คำขอจดทะเบียน(แบบ ทพ.)

(2) หลักฐานประกอบคำขอ

– สำเนาบัตรประจำตัวของเจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการ
ในประเทศในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ

– สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศ หนังสือแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินการในประเทศ ใบอนุญาตทำงานในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ

– หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

การจดทะเบียนเลิก มีเอกสารดังนี้

(1) คำขอจดทะเบียน(แบบ ทพ.)

(2) หลักฐานประกอบคำขอ

– สำเนาบัตรประจำตัวของเจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ ในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ

– ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความกรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย

– หนังสือรับฝากบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีในกรณีที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี

– สำเนาเอกสารสั่งการให้เลิกประกอบกิจการในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม
– หนังสือมอบอำนาจ(ถ้ามี)

การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง มีเอกสารดังนี้

(1) คำขอจดทะเบียน(แบบ ทพ.)
(2) หลักฐานประกอบคำขอ

– สำเนาบัตรประจำตัวของเจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ ในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ

– ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความกรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย

– สำเนาหลักฐานอื่นแล้วแต่กรณี เช่น ใบสำคัญ การสมรส ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว และสกุล เป็นต้น

– หนังสือแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินการในประเทศหรือหลักฐานการเปลี่ยนแปลงกรรมการ ในกรณีเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบดำเนินการในประเทศหรือกรรมการ

– หนังสือมอบอำนาจ(ถ้ามี)

5. รายการที่ต้องจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง

– เลิกชนิดประกอบกิจการบางส่วนและ / หรือเพิ่มใหม่

– เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ

– ย้ายสำนักงานใหม่

– เปลี่ยนผู้จัดการ

– เจ้าของหรือผู้จัดการย้ายที่อยู่

– เพิ่มหรือลดเงินทุน

– ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขาโรงเก็บสินค้า หรือตัวแทนค้าต่าง

– อื่นๆ เช่นเจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลหรือรายการที่จดทะเบียนไว้ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง

หมายเหตุ

1. ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการ หรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือวันเลิกประกอบกิจการ

2. กรณีแจ้งเลิกเพราะเหตุผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรมให้ลงชื่อโดยทายาทคนใดคนหนึ่งหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้รับมอบอำนาจจากทายาท

6. ค่าธรรมเนียม

– ตั้งใหม่ 50 บาท

– เปลี่ยนแปลง ครั้งละ 20 บาท

– เลิก 20 บาท

– ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท

– ตรวจเอกสาร ครั้งละ 20บาท

– คัดสำเนาและรับรองสำเนา ฉบับละ 30บาท

7. พาณิชยกิจบางอย่างที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ

– การรับเหมาก่อสร้าง

– การรับจ้างแรงงานทั่วไป

– รับซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด

– รับจ้างบรรทุกของโดยรถยนต์

– รับจ้างซ่อมรถยนต์ ล้าง อัด ฉีด เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องต่างๆ

– รับจ้างอื่นๆ ซึ่งเป็นการให้บริการและยังไม่ได้กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกาให้เป็นพาณิชยกิจ

– รวมทั้ง ร.ม.ต. กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาให้เป็นพาณิชยกิจ

* ผู้ประกอบการดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

 

ที่มา..http://www.abjsongkhla.go.th/th/v2/borikarn.php?pid=5