กรกฎาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 2 กรกฎาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน - Part 2

ส่งออกบริการกับปัญหาทางภาษีอากร

การให้ บริการในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นการให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และถ้าการให้บริการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการส่งออกบริการตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ก็จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในข้อ 2(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กำหนดประเภทหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่าง ประเทศตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 สาระสำคัญคือ การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศที่ จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 นั้น จะต้องเป็นกรณี "การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศ และได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด" เท่านั้น แต่ในทางปฏิบัตินั้นมักเกิดปัญหาขึ้นระหว่าง เจ้าพนักงานประเมินกับผู้ประกอบการที่มี หน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในประเด็นการส่งออกบริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มใน อัตราร้อยละ 0 ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ดังประเด็นปัญหาที่ได้สรุปเป็นกรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 การส่งผลของการให้บริการไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมดนั้นมีขอบเขตเพียงใด ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับการตีความและมีผลกฎหมาย อย่างไร

กรณีที่ 2 ในการนำกฎหมายไปปรับใช้โดยเฉพาะกรณีที่การให้บริการในราชอาณาจักรแก่ผู้รับ บริการในต่างประเทศ และได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด หากพิจารณาได้ว่าเป็นการส่งออกบริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มใน อัตราร้อยละ 0 แล้ว จะต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง ในการนำมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินว่าได้มีการส่งผลของการให้บริการไปใช้ใน ต่างประเทศทั้งหมด

เนื่อง จากภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภค ผู้ที่รับภาระภาษีขั้นสุดท้าย ได้แก่ผู้บริโภค โดยที่ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บจากกิจการ 3 ประเภท คือการขายสินค้าในราช-อาณาจักร การให้บริการในราชอาณาจักรและการนำเข้า ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

บท ความนี้จึงขอนำเสนอเรื่องของการให้บริการในราชอาณาจักรและใช้บริการนั้นใน ต่างประเทศหรือการ "ส่งออกบริการ" และเพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาในภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้เขียนจึงลำดับหัวข้อการนำเสนอดังนี้

1. หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2. แนววินิจฉัยของกรมสรรพากร

3. ประเด็นปัญหาและบทวิเคราะห์

4. บทสรุป

1. หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1.1 ประมวลรัษฎากร

มาตรา 77/1(10) "บริการ" หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความ รวมถึงการใช้บริการของตนเองไม่ว่าประการใดๆ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึง

(ก) การใช้บริการหรือการนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรงตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด1

(ข) การนำเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์2

(ค) การกระทำตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี3

มาตรา 80/1 ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้

(1) …..

(2) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด4

…………………………………………..

1.2 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณา- จักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2543

…………………………………………….

ข้อ 2 กำหนดให้การประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้ เป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่าง ประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร

(1) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศและได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด

การ ให้บริการตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า แต่ไม่รวมถึงการให้บริการจัดนำเที่ยวใน ต่างประเทศ

ข้อ 3 การประกอบกิจการตามข้อ 2 ต้องมีหลักฐานแสดงการชำระราคาค่าบริการตามใบแจ้งหนี้ (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หลักฐานการจัดทำ T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) เอกสารใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการรับชำระเงินตาม L/C (Letter of Credit) หรือ Bank Statement เอกสารที่ระบุว่านำเงิน เข้าบัญชีธนาคารโดยใช้สมุดคู่ฝาก เอกสารการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารโดยไม่มีสมุดคู่ฝาก หลักฐานการรับชำระเงินตามบัตรเครดิต การใช้ E-money หรือ E-cash เว้นแต่ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนก็ไม่จำต้องมีหลักฐาน แสดงการชำระราคาค่าบริการ

1.3 ความรู้พื้นฐานเรื่องการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการ

โดย เหตุที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีหลักการจัดเก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ตลอดจนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ฉะนั้น การที่จะถือว่าผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้าได้ขายสินค้าหรือให้บริการเมื่อใด หรือได้มีการนำเข้าเกิดขึ้นเมื่อใด จึงเป็นปัญหาสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นที่กฎหมายจะต้องกำหนดให้ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้มีการเสียภาษีขาย ออกใบกำกับภาษี หรือให้มีการปฏิบัติหน้าที่ใดๆ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป

สำหรับ การให้บริการในราชอาณาจักร โดยผู้ประกอบการเป็นกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และโดยที่บทบัญญัติมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดนิยามของคำว่า "บริการ" ไว้ว่า

"บริการ" หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า…"

ความ หมายของคำว่า "บริการ" มีความหมายค่อนข้างกว้าง กล่าวโดยนัยที่จะทำความเข้าใจให้ง่ายยิ่งขึ้น ก็คือการกระทำที่ไม่เข้าลักษณะเป็นการ "ขาย" สินค้า จะถือเป็นการให้บริการ หากการกระทำนั้นๆ เป็นการกระทำอันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า เช่น การให้เช่ารถ ให้เช่าเรือ บริการทางด่วน การให้ใช้ลิขสิทธิ์ การให้สัมปทาน การรับจ้างทำของ การเป็นนายหน้า การรับจ้างพิมพ์ เป็นต้น5

การประกอบธุรกิจให้บริการของผู้ประ-กอบการ อาจมีทั้งการให้บริการในราชอาณาจักรและการให้บริการนอกราชอาณาจักร แต่การ ให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ต้องเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร โดย รายได้จากการให้บริการของผู้ประกอบการที่จะต้องนำมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ต้องพิจารณาด้วยว่าเป็นรายได้ที่เกิดจากการให้บริการใน ราชอาณาจักรหรือไม่ ซึ่งมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากรได้ให้ความหมายของการให้บริการในราชอาณาจักรหมายถึง บริการที่ทำ ในราชอาณาจักรโดยไม่คำนึงว่าการใช้บริการนั้น จะอยู่ในต่างประเทศหรือในราชอาณาจักร และนอกจากนี้ หากเป็นการให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราช -อาณาจักร ให้ถือว่าการให้บริการนั้นเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร

ดัง นั้น ในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายได้ค่าบริการ จึงพิจารณาก่อนว่า ต้องเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนการที่จะพิจารณาว่า การให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเท่าใดนั้น ให้พิจารณาอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 0 ก่อน ซึ่งหากกิจการใดไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 0 ก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราทั่วไป6 และอาจแบ่งลักษณะของการให้บริการในราชอาณาจักรได้ 3 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 การให้บริการในราชอาณาจักร และมีการใช้บริการในราชอาณาจักร

การ ให้บริการในราชอาณาจักรและมีการใช้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร กฎหมายบังคับจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร โดยผู้ให้บริการมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้รับบริการในอัตรา ร้อยละ 7.0 เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น

กรณีที่ 2 การให้บริการในต่างประเทศและใช้บริการในราชอาณาจักร

การ ให้บริการที่ได้กระทำขึ้นในต่างประเทศ แต่ได้มีการนำบริการนั้นมาใช้ในประเทศ ให้ถือว่าการให้บริการดังกล่าวเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กฎหมายบังคับจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร โดยกำหนดให้ผู้จ่ายเงินค่าบริการเป็นผู้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบ การต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสีย ตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร

ที่มา..http://www.sanpakornsarn.com/page_article_detail.php?aID=175

ภาษีเงินได้ชาวต่างชาติ

ทุกวันนี้มีชาวต่างชาติมากมายที่ทำมาหากินอยู่ในเมืองไทย และอีกเช่นกันที่ผู้เขียนมักถูกถามบ่อยครั้งเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของชาวต่าง ชาติว่า เสียภาษีหรือไม่ อย่างไร ซึ่งคนโดยทั่วไปมักเข้าใจว่า หากชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในเมืองไทยไม่ถึง 180 วันในปีนั้น ไม่ต้องเสียภาษี

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าประเทศไทย จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยใช้หลักแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ ตามนัยมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสรุปได้ดังนี้

หลักแหล่งเงินได้มาจาก 4 แหล่งใหญ่ คือ

1.เงินได้จากงานที่ทำในประเทศไทย* โดยผู้มีเงินได้ปฏิบัติงานในประเทศไทย เช่น บริษัทในอเมริกา ส่ง นาย A ซึ่งเป็นพนักงานเข้ามาปฏิบัติงานในไทย นาย A ต้องนำเงินเดือนค่าจ้างที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานในไทยมายื่นแบบ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

อย่างไรก็ตาม นาย A อาจจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย หากเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขยกเว้นภาษีตามอนุสัญญาภาษีซ้อน

2.เงินได้จากกิจการที่ทำในประเทศไทย* เช่น นายเอกเปิดร้าน ขายอาหารในประเทศไทย นายเอกต้องนำเงินได้ที่เกิดขึ้นมายื่นเเบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3.เงินได้จากกิจการนายจ้างในไทย* ผู้รับเงินได้อาจจะปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ได้ เช่น บริษัท ข. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทตามกฎหมายไทย ได้ส่ง นายเอก ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ไปปฏิบัติงาน ณ สาขาของบริษัทที่ประเทศฝรั่งเศส โดยบริษัท ข. จำกัด เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้ทุกเดือน นายเอกพนักงานต้องนำเงินได้มายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย

4.เงินได้จากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย* กรณีนี้เป็นเรื่องของเงินได้ที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าเจ้าของทรัพย์สินนั้นจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ เช่น ค่าเช่าบ้าน ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล เป็นต้น

ดังนั้น บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ หากมีเงินได้จากแหล่งเงินได้ข้างต้น ผู้มีเงินได้นั้นต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ และจะได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม กฎหมายบังคับให้จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นนั้น

หลักถิ่นที่อยู่ จะเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อครบเงื่อนไข 3 ข้อ คือ

1.ผู้มีเงินได้มีเงินได้จากงานที่ทำในต่างประเทศหรือจากกิจการ ที่ทำในต่างประเทศ หรือจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

2.ได้นำเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น และ

3.ผู้มีเงินได้นั้นอยู่อาศัยในประเทศไทยถึง 180 วัน

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติก็ตาม หากมีเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ โดยได้นำเงินได้ที่เกิดขึ้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น และได้อาศัยอยู่ในเมืองไทยถึง 180 วัน ก็ต้องนำเงินนั้นมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ กรณีที่ไม่ครบเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมา ผู้มีเงินได้นั้นก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด

ได้มีผู้จ่ายเงินได้ในประเทศไทยเป็น จำนวนมาก เมื่อจ่ายเงินได้ ให้ชาวต่างชาติ เข้าใจผิดคิดว่าชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วัน ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ซึ่งแท้จริงแล้วถ้าเป็นกรณีแหล่งเงินได้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ชาวต่างชาติผู้รับเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทำ ไว้กับประเทศที่ผู้มีเงินได้ มีถิ่นที่อยู่เท่านั้น

ผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาหรือผู้จ่ายเงินได้ ให้แก่ชาวต่างชาติที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย คงนำไปใช้ประโยชน์เพื่อจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง หากสงสัยหรือไม่เข้าใจก็สอบถามเจ้าหน้าที่หรือเข้าดูข้อมูลได้ที่ www.rd.go.th

ที่มา : http://www.posttoday.com/finance.php?id=5212

ความรู้เรื่อง ภงด 51 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

สรุป ภงด.51 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ปีแรกที่ตั้งบริษัทไม่ต้องยื่นแบบ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วรอบบัญชีไม่เต็ม 12 เดือน เช่น เปิดบริษัทวันที่ 10 กพ. ถ้าปิดงบวันที่ 31 ธค. ก็ไม่ต้องยื่นแบบ ภงด.51 หรือถึงแม้ว่าจะปิดงบในวันที่ 31 มค.ของปีถัดไป รอบบัญชีก็ไม่เต็ม 12 เดือนอยู่ดี เว้นแต่ว่าจะปิดงบในวันที่ 9 กพ.ของปีถัดไป ซึ่งจะทำให้รอบบัญชีครบ 12 เดือนพอดี อย่างนี้ก็ต้องยื่นเสียภาษี ภงด.51 กลางปีด้วย

บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิถูก กำหนดให้ต้องยื่นแบบแสดงรายการ 2 ครั้งต่อรอบระยะเวลาบัญชี คือ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี และภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ที่ต้องยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับการยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2523 เป็นต้นมา โดยในช่วงต้นกำหนดให้เสียจากประมาณการกำไรสุทธิแต่เพียงอย่างเดียว ต่อมาได้มีการกำหนดให้เสียจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงในครึ่งแรกของรอบระยะ เวลาบัญชี จึงขอนำประเด็นหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีมาเป็นประเด็นปุจฉา -วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี
วิสัชนา ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก ฐานกำไรสุทธิเท่านั้น ประกอบด้วย
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว หรือเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในรูปของสาขา โดยกิจการที่กระทำนั้นมิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ
3. กิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว หรือเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในรูปของสาขา โดยกิจการที่กระทำนั้นมิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ
4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ หรือกิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย โดยกิจการที่กระทำนั้นมิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ
5. กิจการร่วมค้า ได้แก่ กิจการที่ดำเนินร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น
อนึ่ง สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงิน ได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลาตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด ในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี เงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ตามปกติ เช่นเดียวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลง ทุน เพราะการได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน เป็นแต่เพียงการได้รับสิทธิประโยชน์ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เท่านั้น สำหรับหน้าที่ต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องจัดทำโดยทั่วไป ก็ยังคงต้องดำเนินการ อาทิเช่น การยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก ฐานอื่น เช่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบกิจการสายการบินหรือสาย การเดินเรือ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51
ปุจฉา รอบระยะเวลาบัญชีในกรณีใดบ้างที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51
วิสัชนา รอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ได้แก่
1. รอบระยะเวลาบัญชีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือน ประกอบด้วย รอบระยะเวลาบัญชีแรกเฉพาะกรณีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีที่ดำเนินกิจการมาเป็นปกติ และรอบระยะเวลาสุดท้ายเฉพาะกรณีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือน
2. รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้เปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งมีกำหนดเวลาเกินกว่า 6 เดือน
ปุจฉา รอบระยะเวลาบัญชีในกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51
วิสัชนา กรณีดังต่อไปนี้ ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี
1. กรณีรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกที่มีกำหนดเวลาไม่ถึง 12 เดือน
2. กรณีรอบระยะเวลาบัญชีปีสุดท้ายมีกำหนดเวลาไม่ถึง 12 เดือน
3. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้เปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมีกำหนดเวลาไม่เกิน 6 เดือน
ปุจฉา การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีมีกี่วิธีอะไรบ้าง
วิสัชนา ในปัจจุบันการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. การเสียจากประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำ และจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป
2. การเสียจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการในช่วงเวลา 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดให้มีผู้สอบทานงบการเงินสำหรับรอบ ระยะเวลา 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 26 พ.ย. 34 เป็นต้นมา

ที่มา..www.bangkokbiznews.com

ไขปัญหาภาษี: สุเทพ พงษ์พิทักษ์