ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | รับทำเงินเดือน - Part 5 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | รับทำเงินเดือน - Part 5

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้พนักงาน

ค่าเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายให้พนักงานที่เดินทางไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ ถือเป็นเงินได้ของพนักงาน มีข้อยกเว้นที่จะไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงานอยู่ 2 กรณีคือ

  1. มีใบเสร็จหรือหลักฐานค่าใช้จ่ายแนบประกอบการจ่าย  หรือ
  2. จ่ายไม่เกินจากอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงที่ราชการกำหนดไว้ (ส่วนที่จ่ายเกินให้ถือเป็นเงินได้ของพนักงาน)

เลขที่หนังสือ : กค 0702/5806

วันที่ : 2 สิงหาคม 2553

เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้พนักงาน

ข้อกฎหมาย : มาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ
          1. บริษัทให้ นาย ก. เดินทางไปทำงานที่บริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ ต่างจังหวัด โดยเดินทางไปวันจันทร์และกลับวันศุกร์ ในการเดินทางไปทำงานที่บริษัทในเครือนั้น บริษัทจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้ นาย ก. วันละ 300 บาท โดยจ่ายให้เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งการรับเบี้ยเลี้ยงนั้นไม่มีหลักฐานเอกสารใบเสร็จมาให้กับบริษัท
          2. บริษัทให้ นาย ก. เดินทางไปทำงานที่บริษัทในเครือที่ตั้ง อยู่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเดินทางไปทำงานเป็นครั้งคราวและ บริษัทจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้ นาย ก. วันละ 3,000 เยน โดยจ่ายให้เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งการ รับเบี้ยเลี้ยงนั้นไม่มีหลักฐานเอกสาร ใบเสร็จมาให้กับบริษัท
          นาย ก. ขอทราบว่า เงินเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวถือเป็นเงินได้ที่ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

แนววินิจฉัย
          กรณีค่าเบี้ยเลี้ยงที่ นาย ก. ได้รับตาม 1. และ 2. ที่บริษัทได้มอบ หมายให้กับ นาย ก. เดินทางไปทำงานที่บริษัทในเครือ ที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัดและบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ประเทศญี่ปุ่น เป็นครั้งคราว นาย ก. จะ ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเข้าลักษณะดังนี้
          1. ต้องเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งนาย ก. ได้จ่ายไปโดยสุจริตตาม ความจำเป็นเฉพาะในการที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของนาย ก. และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
          2. ในกรณีนาย ก. ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราไม่เกินอัตราค่า เบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ทางราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในประเทศหรือ ต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์ การเบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่ายให้ถือว่า ค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งนาย ก. ได้จ่ายไป โดยสุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของนาย ก. และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น โดยไม่ต้องมีหลักฐานการ จ่ายเงินมาพิสูจน์
          3. ในกรณีที่นาย ก. ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราเกินกว่าอัตรา ค่าเบี้ยเลี้ยงตาม 2. และไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ว่าได้จ่ายไป
          ทั้งหมดในการนั้น ให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวเป็นค่าเบี้ย เลี้ยงซึ่งได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในส่วนที่ ไม่เกินอัตราตาม 2.
          การเดินทางปฏิบัติงานตามหน้าที่ตาม 1. 2. และ 3. ต้องมี หลักฐานการได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสำนักงานหรือนอกสถานที่จากนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินได้โดยต้องระบุลักษณะงานที่ ทำและระยะเวลาปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วแต่กรณีด้วย

เลขตู้  : 73/37435

เงินได้จากการตรวจรักษาผู้ป่วย ถือเป็นเงินได้ตามมาตราไหน

เงินได้จากการตรวจรักษาผู้ป่วยที่แพทย์ได้รับ ถือเป็นเงินได้ประเภทค่าจ้าง หรือเงินได้จากรับทำงานให้ หรือเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ต้องดูวิธีการที่ได้รับเงินได้มา ถ้าทำงานในฐานะลูกจ้างของโรงพยาบาลก็ถือเป็นเงินเดือนค่าจ้าง ตามมาตรา 40(1) ถ้าไม่ได้เป็นลูกจ้างแต่มาทำงานพิเศษนอกเวลา ก็ถือเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40(2) แต่ถ้าเป็นการเปิดคลีนิคเอง หรือตกลงทำสัญญาเพื่อขอใช้สถานที่กับโรงพยาบาลแบบนี้ ถึงจะเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ตามมาตา 40(6) ลองมาดูที่สรรพากรตอบไว้นะครับ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/1703

วันที่ : 4 มีนาคม 2553

เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ

ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(1) มาตรา 40(2) และมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ
          นาย ก. ได้รับเงินเดือนและได้รับเงินจากการตรวจรักษาผู้ป่วยที่ คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการของโรงพยาบาล โดยมี หนังสือข้อตกลงการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งแพทย์เป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาจากผู้ ป่วยและมีการตกลงแบ่งรายได้จากค่าตรวจ รักษาให้โรงพยาบาลตามอัตราส่วนที่กำหนด เงินรายได้จากการตรวจรักษาผู้ป่วยที่คลินิก พิเศษนอกเวลาราชการดังกล่าว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้มีเอกสารรับรองเป็นค่าตอบแทนจากการประกอบ วิชาชีพอิสระ ตาม มาตรา 40(6) แห่ง ประมวลรัษฎากร ซึ่งนาย ก.ได้ยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2551 แล้ว แต่เมื่อเดือนกันยายน 2552 นาย ก. เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร นาย ก.จึงขอทราบว่า เงินได้จากการตรวจผู้ป่วยในคลินิกพิเศษนอก เวลาราชการเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด

แนววินิจฉัย
          1. หากค่าตอบแทนที่แพทย์ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงาน ค่า ตอบแทนดังกล่าว ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แม้ว่างานที่ปฏิบัตินั้นจะใช้วิชาการทางการประกอบ โรคศิลปะอันเป็นวิชาชีพอิสระก็ตาม และเงินได้เนื่องจาก การจ้างแรงงาน หมายรวมถึง เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้รับ เนื่องจากการจ้างแรงงาน
          2. หากค่าตอบแทนที่แพทย์ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือ ตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ซึ่งรวมถึง เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้ ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่ รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร
          3. สำหรับค่าตอบแทนที่แพทย์ได้รับ ซึ่งจะถือเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องปรากฏว่าแพทย์ได้เปิดคลินิกรักษาคนไข้เป็นการส่วนตัว หรือแพทย์ทำสัญญาหรือ ตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือและ อุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของแพทย์ เพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วยโดย แพทย์เป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาเองและมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ ได้รับจากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร หรือแพทย์ทำสัญญาหรือตกลงกับ สถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนาม ของแพทย์เพื่อ ตรวจและรักษาผู้ป่วย และมี ข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วย โดยสถานพยาบาลเป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาแทนแพทย์ แล้วนำมาจ่ายให้กับแพทย์เพื่อแบ่งรายได้ให้สถานพยาบาล เงินได้ที่แพทย์เรียกเก็บจากผู้ป่วยทั้งจำนวนเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่เฉพาะส่วนแบ่งที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของสถานพยาบาลออก
          กรณีตามข้อเท็จจริง หากนาย ก.ทำสัญญาหรือข้อตกลงกับ มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของนาย ก. เพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วย และมีข้อตกลงแบ่งค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วย โดย มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาแทนนาย ก. แล้วนำมาจ่ายให้กับนาย ก. เพื่อ แบ่งรายได้ให้มหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป เงินได้ที่นาย ก.เรียกเก็บจากผู้ป่วยทั้งจำนวนเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวล รัษฎากร มิใช่เฉพาะ เงินส่วนแบ่งที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของมหาวิทยาลัยมหิดลออกแล้ว

เลขตู้ : 73/37159

ลาออกจากงาน เนื่องจากป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก

เงินชดเชย เงินช่วยเหลือที่ได้รับไม่ได้รับการยกเว้นภาษี แต่เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับการยกเว้นภาษี เนื่องจากเป็นกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไข แต่ทั้งนี้ต้องมีหลักฐานยืนยันทางการแพทย์ ลองมาดูที่สรรพากรตอบไว้นะครับ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/1968

วันที่ : 12 มีนาคม 2553

เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการออกจากงานก่อนการเกษียณอายุ

ข้อกฎหมาย : มาตรา 42 และมาตรา 42(25) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ
          นาย ก. อายุ 54 ปี เป็นพนักงานธนาคารฯ (ธนาคารฯ) มีอายุงาน 31 ปี ได้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2552 โดยมีอาการอัมพาตอ่อนแรงซีกขวา ธนาคารฯ ได้แนะนำให้นาย ก. ยื่น ใบลาออกโดยขอรับเงินช่วยเหลือตามระเบียบของธนาคาร ซึ่งพิจารณาตามตำแหน่งองค์กรและอายุงาน นาย ก. มีตำแหน่งเป็นหัวหน้างาน มีอายุงาน 25 ปีขึ้นไป นาย ก. จึงยื่นใบลาออกจากงานโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2553 โดยได้รับเงินช่วยเหลือจากธนาคารฯ ดังนี้
          1. เงินช่วยเหลือตามระเบียบของธนาคาร โดยคิดจากเงิน เดือน เดือนสุดท้ายรวมกับค่าครองชีพคูณด้วยอายุงาน
          2. เงินสมทบจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
          3. เงินบำเหน็จชราภาพ จากกองทุนประกันสังคม
          นาย ก. จึงขอทราบว่า เงินดังกล่าวมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

แนววินิจฉัย
          1. กรณีตาม 1. เงินช่วยเหลือตามระเบียบของธนาคารเข้าลักษณะ เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวล รัษฎากร ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวม คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 แห่ง ประมวลรัษฎากร และในขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้เงินได้พึงประเมินดังกล่าวได้ รับการยกเว้นภาษีเงินได้แต่อย่างใด
          2. กรณีตาม 2. เมื่อนาย ก. ได้ยื่นความประสงค์จะขอลาออก จากงานก่อนเกษียณอายุ 60 ปี เพราะป่วยด้วยโรคหลอดเลือด สมองแตก หากนาย ก. มีหลักฐานยืนยันจากแพทย์ที่ทางราชการรับรองว่า นาย ก.ออกจากงานเพราะทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถ ที่จะทำงานในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป และมีหลักฐานจากธนาคารฯ รับรองว่า นาย ก. ออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าว มาแสดง จึงเข้าลักษณะเป็นการออกจากงานเพราะทุพพลภาพ ตามข้อ 1(2) และข้อ 1 วรรคสอง ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการ สำหรับกรณี ลูกจ้างออกจากงาน เพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่นาย ก. ได้รับจาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในกรณีดังกล่าว จึงจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 2(36) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
          3. กรณีตาม 3. หากเป็นเงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตน ได้รับจากกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วย การประกันสังคม ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(25) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้ : 73/37199