กันยายน, 2011 | รับทำเงินเดือน กันยายน, 2011 | รับทำเงินเดือน

สำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ

ขอนำประเด็นสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติตามประกาศกรมสรรพากร

เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติที่กระทำกิจการในประเทศไทย ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2535 ซึ่งกรมสรรพากรได้ชี้แจงประเด็นภาระและหน้าที่ในการเสียภาษีอากรของสำนักงาน ภูมิภาค และผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในสำนักงานดังกล่าว มาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา คำว่า “สำนักงานภูมิภาค” หมายความว่าอย่างไร 
วิสัชนา คำว่า “สำนักงานภูมิภาค” หมายความว่า สำนักงานภูมิภาคที่บริษัทข้ามชาติตั้งขึ้นในประเทศอื่นนอกจากประเทศที่จดทะเบียนเป็นสำนักงานใหญ่ โดยไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปจัดตั้ง เพื่อทำหน้าที่ติดต่อประสานงานและกำกับการดำเนินงานของสาขาและหรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ โดยไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ ไม่มีอำนาจรับคำสั่งซื้อหรือเสนอขายหรือเจรจาทำธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคล ในประเทศที่เข้าไปตั้ง และใช้เงินค่าใช้จ่ายในสำนักงานภูมิภาคที่ได้รับจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น
ปุจฉา คำว่า “บริษัทในเครือ” หมายความว่าอย่างไร
วิสัชนา คำว่า “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความ สัมพันธ์กันในลักษณะตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ 
     1. ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้น ส่วนในนิติบุคคลหนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง
     2. ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง มีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีก นิติบุคคลหนึ่งที่มีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด
     3. นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด หรือ
     4. บุคคลเกินกว่ากึ่งจำนวนกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการใน นิติบุคคลหนึ่งเป็นกรรมการหรือเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการในอีก นิติบุคคลหนึ่ง
ปุจฉา กรณีสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยให้บริการต่างๆ แก่สำนักงานใหญ่ เพื่อทำหน้าที่ติดต่อประสานงานและกำกับการดำเนินงานของสาขาและหรือบริษัทใน เครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ โดยมิได้ให้บริการแก่ผู้อื่นเลยและสำนักงานภูมิภาคดังกล่าวได้รับเงินอุด หนุนจากสำนักงานใหญ่เฉพาะเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำ กิจการในประเทศไทยเท่านั้น สำนักงานภูมิภาคมีภาระภาษีทั้งกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างไร
วิสัชนา กรณีสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยให้บริการต่างๆ แก่สำนักงานใหญ่ เพื่อทำหน้าที่ติดต่อประสานงานและกำกับการดำเนินงานของสาขาและหรือบริษัทใน เครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ โดยมิได้ให้บริการแก่ผู้อื่นเลยและสำนักงานภูมิภาคดังกล่าวได้รับเงินอุด หนุนจากสำนักงานใหญ่เฉพาะเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำ กิจการในประเทศไทยเท่านั้น เงินได้ที่สำนักงานภูมิภาคดังกล่าวที่กระทำกิจการในประเทศได้รับจากสำนักงาน ใหญ่ไม่ถือเป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประการใด แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแม้ว่า สำนักงานภูมิภาคจะไม่มีรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลก็ตาม
ปุจฉา กรณีสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย ได้ให้บริการแก่ผู้อื่นหรือบริษัทในเครือ จะมีภาระภาษีอากรอย่างไร
วิสัชนา ตามกรณีดังกล่าว ไม่ว่าการให้บริการนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ถือว่าสำนักงานภูมิภาคมีหน้าที่ต้องนำรายได้ที่ได้รับจากการให้บริการทุก ประเภทมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร และกรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่มตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร สำนักงานภูมิภาคจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่หรือสำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ที่สำนักงานภูมิภาคที่ กระทำกิจการในประเทศไทยมีสถานประกอบการตั้งอยู่ ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการหรือภายใน 30 วันนับแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกิน 600,000 บาทต่อปีอย่างไรก็ตามหากการบริการของสำนักงานภูมิภาคดังกล่าวมีมูลค่าของฐาน ภาษีไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร

(1)

ขอนำประเด็นสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่า เพิ่ม สำหรับสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติที่กระทำ กิจการในประเทศไทย ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2535 มาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

ปุจฉา กรณีสำนักงานใหญ่ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีถิ่นอยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทยจะมีผลทางภาษีอากรอย่างไร
วิสัชนา การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศเฉพาะให้แก่สำนักงานใหญ่ ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย ถ้าสำนักงานใหญ่ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีถิ่นอยู่ใน ประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทย ก็ไม่ถือว่าสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยเป็นสถานประกอบการถาวร ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศใน ประเทศไทย สำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ โดยนัยความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (ข้อ 4)

ปุจฉา การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของ สำนักงานใหญ่ สาขา หรือบริษัทในเครือของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีผลทางภาษีอากรอย่างไร
วิสัชนา การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของ สำนักงานใหญ่ สาขา หรือบริษัทในเครือของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย มีผลทางภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
1. กรณีสำนักงานใหญ่ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีถิ่นอยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทย ก็ไม่ถือว่าสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยเป็นสถานประกอบการถาวร ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศใน ประเทศไทย สำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (อนุโลมตามข้อ 4)
2. กรณีสำนักงานใหญ่ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยไม่มีถิ่นอยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทย เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 70 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือว่าการส่งสินค้าออกไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งออกไปเป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวม คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งออกไปนั้น (ข้อ 3)
ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่สินค้าส่งออกไปนั้น
(1) เป็นของที่ส่งไปเป็นตัวอย่างหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ
(2) เป็นของผ่านแดน
(3) เป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วส่งกลับออกไปให้ผู้ส่งเข้ามาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่สินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
(4) เป็นของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วส่งกลับคืนเข้ามาให้ผู้ส่งในราชอาณาจักรภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ส่ง สินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร

ปุจฉา กรณีคนต่างด้าวที่ทำงานในสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยโดยได้ รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ว่าเงินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทย คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร

วิสัชนา กรณีคนต่างด้าวที่ทำงานในสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยโดยได้ รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ว่าเงินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทย คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ตามระยะเวลาที่ทำงานในประเทศไทย และสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้ตามนัยมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร (ข้อ 5)

(2)

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

การยกเว้นภาษีเงินได้แก่คนพิการ

รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้ดีขึ้น และสามารถพึ่งตนเองได้ จึงได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2554)

โดย ที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้ดีขึ้น และสามารถพึ่งตนเองได้ จึงได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2554) กำหนดให้เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษีนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่คนพิการ

อันจะทำให้มีเงินเพื่อใช้ดำรงชีพเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มรายการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็น ข้อ 2 (81) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ซึ่งได้แก่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 197) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตร ประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) เพิ่มเติมรายการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่คนพิการไว้อย่างไร
วิสัชนา ตาม (81) ของข้อ 2 ในกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) พ.ศ.2509 กำหนดให้รายการเงินได้ดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร

“(81) เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่า ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้ รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด”

ปุจฉา ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 197) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตร ประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2554
วิสัชนา อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตร ประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ ดังต่อไปนี้

1. เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่า ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะเงินได้พึงประเมินที่ได้รับส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ หากผู้มีเงินได้ที่มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีใด ได้ใช้สิทธิยกเว้นตามข้อ 2 (72) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นตามข้อ 2 (81) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ในปีภาษีนั้นอีก

2. ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

3. ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 1 ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีใดหลายประเภท ผู้มีเงินได้จะเลือกใช้สิทธิยกเว้นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับประเภทใด ประเภทหนึ่ง หรือจะเลือกใช้สิทธิยกเว้นเงินได้พึงประเมินหลายประเภท และแต่ละประเภทจะยกเว้นจำนวนเท่าใดก็ได้ แต่เมื่อรวมจำนวนเงินได้พึงประเมินที่ใช้สิทธิยกเว้นดังกล่าวทั้งหมดแล้ว
ต้องไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น

4. ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 1 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี ให้สามีเป็นผู้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับร่วมกัน
(2) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ส่วนที่ตนได้รับ

5. ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 1 ต้องแสดงรายการเงินได้พึงประเมินและจำนวนเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้น ภาษี พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ปัญหาค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต

ขอนำประเด็นปัญหาค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 47 (1)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร

การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเบี้ย ประกันชีวิตในส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (61) มาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

ปุจฉา บริษัทฯ ได้จัดให้มีการประกันชีวิตพนักงานรวมทุกคน (ประกันชีวิตหมู่) และบริษัทฯ เป็นผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว โดยค่าเบี้ยประกันชีวิตของพนักงาน บริษัทฯ ได้จ่ายไปจริงและสามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้ และในส่วนของพนักงานนั้นหากปรากฏว่าพนักงานไม่ได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ อันเนื่องมาจากการประกันชีวิตดังกล่าวจากบริษัทฯ ซึ่งเป็นนายจ้างและบริษัทฯ ผู้รับประกันชีวิต ก็ไม่เข้าข่ายเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด ถูกต้องหรือไม่

วิสัชนา ตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ ได้ทำประกันชีวิตและสุขภาพให้แก่พนักงานที่ทำงานมาครบ 3 ปีทุกคน ซึ่งการทำประกันชีวิตดังกล่าวได้รับความยินยอมจากพนักงานเหล่านั้น โดยกรมธรรม์จะทำเพียงฉบับเดียว มิได้แยกเป็นรายบุคคล ระบุชื่อผู้ถือกรมธรรม์ คือ บริษัทฯ และสมาชิกผู้เอาประกันภัยคือ สมาชิกประจำทั้งหมดที่อยู่ปฏิบัติงานเต็มเวลามาแล้วสามปี ในวันที่มีผลบังคับของกรมธรรม์ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี และต่ำกว่า 65 ปี บริษัทฯ จะปิดประกาศรายละเอียดที่พนักงานจะได้รับสิทธิคุ้มครองไว้ให้พนักงานได้ทราบ พร้อมทั้งเรียกพนักงานตั้งแต่ระดับ SUB LEADER ขึ้นไปมาอธิบายและชี้แจงรายละเอียด เพื่อแจ้งให้พนักงานในบังคับบัญชาได้ทราบต่อไป กรณีพนักงานได้รับอุบัติเหตุหรือเสียชีวิต ทางบริษัทผู้เอาประกันจะจ่ายค่าชดเชยการเรียกร้องของพนักงานคืนมาให้เป็น เช็คในนามของบริษัทฯ และบริษัทฯ จะเบิกจ่ายเป็นเงินสดให้แก่พนักงานหรือผู้รับผลประโยชน์อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

ดังนั้น ผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์ที่แท้จริง คือ พนักงาน โดยบริษัทฯ เป็นเพียงผู้จ่ายค่าเบี้ยประกันและเบิกจ่ายค่าชดเชยแทนพนักงานเท่านั้น เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทฯ จ่ายแทนพนักงาน จึงถือเป็นประโยชน์เพิ่มจากการจ้างแรงงานของพนักงาน เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งพนักงานผู้มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์อันเป็นสมาชิกผู้เอาประกัน ภัยแต่ละคน จะต้องนำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตเฉพาะส่วนของตนไปรวมคำนวณกับเงินเดือนเพื่อ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย และกรณีบริษัทฯ จ่ายเงินชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนพนักงาน บริษัทฯ สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811(กม)/795 ลงวันที่ 22 เมษายน 2541) 

อย่างไรก็ตาม นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นมา ได้มีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 263 (พ.ศ.2549) เพิ่ม (77) ของข้อ 2 ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) เพื่อกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ลูกจ้าง เป็นจำนวนเท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือ บริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับ

(ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย

(ข) ลูกจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว

กล่าวโดยสรุป ค่าเบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน หนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล และที่นายจ้างได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นมา ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ถ้าเป็นการคุ้มครองค่าอย่างอื่นที่มิใช่การรักษาพยาบาล ลูกจ้างจะได้ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์