การยกเว้นภาษีเงินได้แก่คนพิการ | รับทำเงินเดือน การยกเว้นภาษีเงินได้แก่คนพิการ | รับทำเงินเดือน

การยกเว้นภาษีเงินได้แก่คนพิการ

รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้ดีขึ้น และสามารถพึ่งตนเองได้ จึงได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2554)

โดย ที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้ดีขึ้น และสามารถพึ่งตนเองได้ จึงได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2554) กำหนดให้เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษีนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่คนพิการ

อันจะทำให้มีเงินเพื่อใช้ดำรงชีพเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มรายการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็น ข้อ 2 (81) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ซึ่งได้แก่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 197) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตร ประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) เพิ่มเติมรายการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่คนพิการไว้อย่างไร
วิสัชนา ตาม (81) ของข้อ 2 ในกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) พ.ศ.2509 กำหนดให้รายการเงินได้ดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร

“(81) เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่า ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้ รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด”

ปุจฉา ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 197) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตร ประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2554
วิสัชนา อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตร ประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ ดังต่อไปนี้

1. เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่า ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะเงินได้พึงประเมินที่ได้รับส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ หากผู้มีเงินได้ที่มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีใด ได้ใช้สิทธิยกเว้นตามข้อ 2 (72) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นตามข้อ 2 (81) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ในปีภาษีนั้นอีก

2. ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

3. ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 1 ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีใดหลายประเภท ผู้มีเงินได้จะเลือกใช้สิทธิยกเว้นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับประเภทใด ประเภทหนึ่ง หรือจะเลือกใช้สิทธิยกเว้นเงินได้พึงประเมินหลายประเภท และแต่ละประเภทจะยกเว้นจำนวนเท่าใดก็ได้ แต่เมื่อรวมจำนวนเงินได้พึงประเมินที่ใช้สิทธิยกเว้นดังกล่าวทั้งหมดแล้ว
ต้องไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น

4. ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 1 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี ให้สามีเป็นผู้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับร่วมกัน
(2) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ส่วนที่ตนได้รับ

5. ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 1 ต้องแสดงรายการเงินได้พึงประเมินและจำนวนเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้น ภาษี พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.