สำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ | รับทำเงินเดือน สำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ | รับทำเงินเดือน

สำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ

ขอนำประเด็นสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติตามประกาศกรมสรรพากร

เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติที่กระทำกิจการในประเทศไทย ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2535 ซึ่งกรมสรรพากรได้ชี้แจงประเด็นภาระและหน้าที่ในการเสียภาษีอากรของสำนักงาน ภูมิภาค และผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในสำนักงานดังกล่าว มาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา คำว่า “สำนักงานภูมิภาค” หมายความว่าอย่างไร 
วิสัชนา คำว่า “สำนักงานภูมิภาค” หมายความว่า สำนักงานภูมิภาคที่บริษัทข้ามชาติตั้งขึ้นในประเทศอื่นนอกจากประเทศที่จดทะเบียนเป็นสำนักงานใหญ่ โดยไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปจัดตั้ง เพื่อทำหน้าที่ติดต่อประสานงานและกำกับการดำเนินงานของสาขาและหรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ โดยไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ ไม่มีอำนาจรับคำสั่งซื้อหรือเสนอขายหรือเจรจาทำธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคล ในประเทศที่เข้าไปตั้ง และใช้เงินค่าใช้จ่ายในสำนักงานภูมิภาคที่ได้รับจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น
ปุจฉา คำว่า “บริษัทในเครือ” หมายความว่าอย่างไร
วิสัชนา คำว่า “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความ สัมพันธ์กันในลักษณะตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ 
     1. ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้น ส่วนในนิติบุคคลหนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง
     2. ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง มีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีก นิติบุคคลหนึ่งที่มีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด
     3. นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด หรือ
     4. บุคคลเกินกว่ากึ่งจำนวนกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการใน นิติบุคคลหนึ่งเป็นกรรมการหรือเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการในอีก นิติบุคคลหนึ่ง
ปุจฉา กรณีสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยให้บริการต่างๆ แก่สำนักงานใหญ่ เพื่อทำหน้าที่ติดต่อประสานงานและกำกับการดำเนินงานของสาขาและหรือบริษัทใน เครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ โดยมิได้ให้บริการแก่ผู้อื่นเลยและสำนักงานภูมิภาคดังกล่าวได้รับเงินอุด หนุนจากสำนักงานใหญ่เฉพาะเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำ กิจการในประเทศไทยเท่านั้น สำนักงานภูมิภาคมีภาระภาษีทั้งกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างไร
วิสัชนา กรณีสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยให้บริการต่างๆ แก่สำนักงานใหญ่ เพื่อทำหน้าที่ติดต่อประสานงานและกำกับการดำเนินงานของสาขาและหรือบริษัทใน เครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ โดยมิได้ให้บริการแก่ผู้อื่นเลยและสำนักงานภูมิภาคดังกล่าวได้รับเงินอุด หนุนจากสำนักงานใหญ่เฉพาะเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำ กิจการในประเทศไทยเท่านั้น เงินได้ที่สำนักงานภูมิภาคดังกล่าวที่กระทำกิจการในประเทศได้รับจากสำนักงาน ใหญ่ไม่ถือเป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประการใด แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแม้ว่า สำนักงานภูมิภาคจะไม่มีรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลก็ตาม
ปุจฉา กรณีสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย ได้ให้บริการแก่ผู้อื่นหรือบริษัทในเครือ จะมีภาระภาษีอากรอย่างไร
วิสัชนา ตามกรณีดังกล่าว ไม่ว่าการให้บริการนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ถือว่าสำนักงานภูมิภาคมีหน้าที่ต้องนำรายได้ที่ได้รับจากการให้บริการทุก ประเภทมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร และกรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่มตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร สำนักงานภูมิภาคจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่หรือสำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ที่สำนักงานภูมิภาคที่ กระทำกิจการในประเทศไทยมีสถานประกอบการตั้งอยู่ ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการหรือภายใน 30 วันนับแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกิน 600,000 บาทต่อปีอย่างไรก็ตามหากการบริการของสำนักงานภูมิภาคดังกล่าวมีมูลค่าของฐาน ภาษีไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร

(1)

ขอนำประเด็นสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่า เพิ่ม สำหรับสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติที่กระทำ กิจการในประเทศไทย ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2535 มาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

ปุจฉา กรณีสำนักงานใหญ่ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีถิ่นอยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทยจะมีผลทางภาษีอากรอย่างไร
วิสัชนา การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศเฉพาะให้แก่สำนักงานใหญ่ ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย ถ้าสำนักงานใหญ่ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีถิ่นอยู่ใน ประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทย ก็ไม่ถือว่าสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยเป็นสถานประกอบการถาวร ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศใน ประเทศไทย สำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ โดยนัยความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (ข้อ 4)

ปุจฉา การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของ สำนักงานใหญ่ สาขา หรือบริษัทในเครือของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีผลทางภาษีอากรอย่างไร
วิสัชนา การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของ สำนักงานใหญ่ สาขา หรือบริษัทในเครือของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย มีผลทางภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
1. กรณีสำนักงานใหญ่ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีถิ่นอยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทย ก็ไม่ถือว่าสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยเป็นสถานประกอบการถาวร ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศใน ประเทศไทย สำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (อนุโลมตามข้อ 4)
2. กรณีสำนักงานใหญ่ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยไม่มีถิ่นอยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทย เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 70 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือว่าการส่งสินค้าออกไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งออกไปเป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวม คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งออกไปนั้น (ข้อ 3)
ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่สินค้าส่งออกไปนั้น
(1) เป็นของที่ส่งไปเป็นตัวอย่างหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ
(2) เป็นของผ่านแดน
(3) เป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วส่งกลับออกไปให้ผู้ส่งเข้ามาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่สินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
(4) เป็นของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วส่งกลับคืนเข้ามาให้ผู้ส่งในราชอาณาจักรภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ส่ง สินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร

ปุจฉา กรณีคนต่างด้าวที่ทำงานในสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยโดยได้ รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ว่าเงินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทย คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร

วิสัชนา กรณีคนต่างด้าวที่ทำงานในสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยโดยได้ รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ว่าเงินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทย คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ตามระยะเวลาที่ทำงานในประเทศไทย และสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้ตามนัยมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร (ข้อ 5)

(2)

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.