คณะบุคคล ช่องทางเลี่ยงภาษีจริงหรือ | รับทำเงินเดือน คณะบุคคล ช่องทางเลี่ยงภาษีจริงหรือ | รับทำเงินเดือน

คณะบุคคล ช่องทางเลี่ยงภาษีจริงหรือ

ข่าวสรรพากรใล่บี้ภาษีจากผู้ที่เสียภาษีในรูป "คณะบุคคล" ซึ่งกรมสรรพากรถือว่าบุคคลพวกนี้อาจอยู่ในข่ายเลี่ยงภาษี ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่ทางกรมสรรพากรตั้งขึ้นมาก่อน เพื่อในการเป็นข้ออ้างในการตรวจสอบ

กรมสรรพากร ได้ เคยแถลงข่าวใว้ว่า  ได้ตรวจสอบพบว่า ปัจจุบันได้มีการหลีกเลี่ยงภาษี หรือฉ้อโกงภาษี มีการจัดตั้ง คณะบุคคลเป็นเท็จ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สร้างรายจ่ายเท็จ เช่น รายจ่ายค่าขนส่ง ค่านายหน้า ค่าที่ปรึกษา ค่าจ้างทำของ ฯลฯ เพื่อให้มีกำไรสุทธิน้อยลง หรือมีผลขาดทุนสุทธิ ทำให้เสียภาษีน้อยลงหรือ ไม่ต้องเสียภาษี หรือมีการขอคืนภาษี โดยวิธีการจัดตั้งคณะบุคคลเป็นเท็จ และสร้างหลักฐานว่ามีการจ่าย ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้แก่คณะบุคคล ซึ่งกรมสรรพากรได้ตรวจสอบแล้ว ก็จะพบว่า ผู้มีชื่อร่วมเป็นคณะบุคคล ไม่มีส่วนรู้เห็นในการจัดตั้งคณะบุคคล หรือมิได้มีการประกอบกิจการร่วมกันในฐานะคณะบุคคล แต่อย่างใด รวมถึง ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้จำนวนมาก หลีกเลี่ยงภาษีโดยวิธีจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมา หลาย ๆ คณะ โดยแต่ละคณะบุคคลจะมีชื่อของผู้มีเงินได้อยู่ในทุกคณะบุคคล แต่ชื่อผู้ร่วมจัดตั้งคณะบุคคล จะเปลี่ยนไป เพื่อเกิดเป็นคณะบุคคลใหม่ ทั้งนี ้ เพื่อเป็นการกระจายฐานเงินได้ของผู้มีเงินได้ที่แท้จริง ทำให้ เสียภาษีในอัตราต่า

   ตาม มาตรา 1012 แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ " อันสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน ด้ววัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น "

        มาตรา 1013 แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งประเภทของห้างหุ่นส่วนออกเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด  ( จดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์ )

       สำหรับ คณะบุคคล ( การร่วมกันทำกิจการของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์แบ่งเป็นผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการที่กระทำ ร่วมกันดังกล่าว ) นั้นไม่มีสถานภาพบุคคลตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ในบทบัญญัติของประมวลรัษฏากร ถือให้เป็นหน่วยภาษีที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับ ห้างหุ้นส่วนสามัญ

นอกจาก “คณะบุคคล” จะมีหน้าที่เสียภาษีเสมือนหนึ่งเป็นบุคคลที่แยกออกจากบุคคลธรรมดาทั่วไปแล้ว เมื่อประกอบธุรกิจมีผลกำไร ในแต่ละปี แล้วนำกำไรของคณะบุคคลมาแบ่งให้กับบุคคลที่อยู่ในคณะบุคคล ส่วนแบ่งกำไร ดังกล่าวก็ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (14) เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลที่อยู่ในคณะบุคคลไม่ต้องนำเงินได้ที่ได้รับจากการแบ่งกำไรจากคณะบุคคล ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
“(14) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม”

การคำนวณหัก ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน คณะบุคคลมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ พึงประเมินประเภทต่างๆ ที่ได้รับเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา แต่สำหรับการหักค่าลดหย่อนคณะบุคคลสามารถหักค่าลดหย่อนตามจำนวนบุคคลที่เป็น บุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนซึ่ง  เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยได้คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เท่านั้น คณะบุคคลจะหักลดหย่อนประเภทอื่นๆ เช่นการหัก ลดหย่อนคู่สมรส การหักลดหย่อนบุตร การหัก ลดหย่อนเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต การหักลดหย่อนเงินที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย ดังเช่นที่บุคคลธรรมดามีสิทธิไม่ได้

     การเสียภาษีของคณะบุคคล การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้พึงประเมินภายหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว (หรือเงินได้สุทธิ) คณะบุคคลจะต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate)

    อ่านไปอ่านมาจึงเกิดข้อสงสัยว่ามันจะแตกต่างกันตรงใหนกับการเสียภาษีของ บุคคลธรรมดา หรืออาจจะคิดไปว่าถ้าหากเปรียบเที่ยบไปจะประหยัดสักเท่าไรกัน

ประเด็นที่ยกให้เห็นจะเป็นข้อแตกต่างจาก บุคคลธรรมดาก็คือ การแตกออกมาเป็นหน่วยหนึ่งของการเสียภาษี หมายถึงแยกออกมา ก็หมายความว่าขยายฐานภาษออกมาให้กว้างขึ้น จากที่อาจจะเสียในอัตราสูงสุด 37% พอขยายฐานออกมา รายได้ก็ลดลงกลายเป็นเสียในอัตรา 10% ( ซึ่งจริงๆแล้วกรมสรรพากรก็รู้อยู่แก่ใจแต่จะทำไรได้ครับเมื่อมันมีช่องทาง ให้ผู้มีอันจะกินหลบออกไป  )

อีกหนึ่งประเด็นที่เห็นได้ชัดเจนว่า เมื่อประกอบธุรกิจมีผลกำไร ในแต่ละปี แล้วนำกำไรของคณะบุคคลมาแบ่งให้กับบุคคลที่อยู่ในคณะบุคคล ส่วนแบ่งกำไร ดังกล่าวก็ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (14) เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้  ( ประเด็นนี้ก็ได้อีกต่อหนึ่งเหมือนกันนะครับ )

เพราะฉนั้นพวกวิชาชีพต่างๆ เช่น นักแสดง วิศวะ กฏหมาย แพทย์ บัญชี หรือกระทั้งพ่อค้า หัวใสต่างๆหรือที่ไม่หัวใสแต่มีที่ปรึกษาด้านการบริหารภาษีทีดี ส่วนใหญ่หันไปพึงพา จดเป็นคณะบุคคลเป็นว่าเล่น ไม่นับรวมเอาญาติพี่น้องมาจดร่วมกันหรือว่าเพื่อนฝูงโดนจดร่วมกันทั้งที่ไม่ รู้และก็รู้  คนๆหนึ่งมีไม่ต่ำกว่าหนึ่ง คณะบุคคล

  ถ้ากรมสรรพากรจะจริงจังในการตรวจสอบการเสียภาษีของ คณะบุคคล เห็นทีจะต้องไปแก้กฎหมายเสียใหม่ก่อนนะครับ เพราะว่ามันเป็นชอ่งทางให้คนเขาเดินออกจริงๆ ถ้าปิดได้ก็คงจะดี

" คณะบุคคล " จะเป็นช่องทางที่หลบเลี่ยงภาษีหรือไม่ ลองพิจารณาดูเอาเองครับ เพราะเมือ่มี "คณะบุคคล" ขึ้นมาแล้ว เสียภาษีน้อยกว่าปกติ ครับ

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.