ส่งออกบริการกับปัญหาทางภาษีอากร | รับทำเงินเดือน ส่งออกบริการกับปัญหาทางภาษีอากร | รับทำเงินเดือน

ส่งออกบริการกับปัญหาทางภาษีอากร

การให้ บริการในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นการให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และถ้าการให้บริการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการส่งออกบริการตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ก็จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในข้อ 2(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กำหนดประเภทหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่าง ประเทศตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 สาระสำคัญคือ การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศที่ จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 นั้น จะต้องเป็นกรณี "การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศ และได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด" เท่านั้น แต่ในทางปฏิบัตินั้นมักเกิดปัญหาขึ้นระหว่าง เจ้าพนักงานประเมินกับผู้ประกอบการที่มี หน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในประเด็นการส่งออกบริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มใน อัตราร้อยละ 0 ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ดังประเด็นปัญหาที่ได้สรุปเป็นกรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 การส่งผลของการให้บริการไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมดนั้นมีขอบเขตเพียงใด ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับการตีความและมีผลกฎหมาย อย่างไร

กรณีที่ 2 ในการนำกฎหมายไปปรับใช้โดยเฉพาะกรณีที่การให้บริการในราชอาณาจักรแก่ผู้รับ บริการในต่างประเทศ และได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด หากพิจารณาได้ว่าเป็นการส่งออกบริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มใน อัตราร้อยละ 0 แล้ว จะต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง ในการนำมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินว่าได้มีการส่งผลของการให้บริการไปใช้ใน ต่างประเทศทั้งหมด

เนื่อง จากภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภค ผู้ที่รับภาระภาษีขั้นสุดท้าย ได้แก่ผู้บริโภค โดยที่ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บจากกิจการ 3 ประเภท คือการขายสินค้าในราช-อาณาจักร การให้บริการในราชอาณาจักรและการนำเข้า ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

บท ความนี้จึงขอนำเสนอเรื่องของการให้บริการในราชอาณาจักรและใช้บริการนั้นใน ต่างประเทศหรือการ "ส่งออกบริการ" และเพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาในภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้เขียนจึงลำดับหัวข้อการนำเสนอดังนี้

1. หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2. แนววินิจฉัยของกรมสรรพากร

3. ประเด็นปัญหาและบทวิเคราะห์

4. บทสรุป

1. หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1.1 ประมวลรัษฎากร

มาตรา 77/1(10) "บริการ" หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความ รวมถึงการใช้บริการของตนเองไม่ว่าประการใดๆ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึง

(ก) การใช้บริการหรือการนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรงตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด1

(ข) การนำเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์2

(ค) การกระทำตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี3

มาตรา 80/1 ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้

(1) …..

(2) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด4

…………………………………………..

1.2 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณา- จักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2543

…………………………………………….

ข้อ 2 กำหนดให้การประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้ เป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่าง ประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร

(1) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศและได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด

การ ให้บริการตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า แต่ไม่รวมถึงการให้บริการจัดนำเที่ยวใน ต่างประเทศ

ข้อ 3 การประกอบกิจการตามข้อ 2 ต้องมีหลักฐานแสดงการชำระราคาค่าบริการตามใบแจ้งหนี้ (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หลักฐานการจัดทำ T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) เอกสารใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการรับชำระเงินตาม L/C (Letter of Credit) หรือ Bank Statement เอกสารที่ระบุว่านำเงิน เข้าบัญชีธนาคารโดยใช้สมุดคู่ฝาก เอกสารการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารโดยไม่มีสมุดคู่ฝาก หลักฐานการรับชำระเงินตามบัตรเครดิต การใช้ E-money หรือ E-cash เว้นแต่ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนก็ไม่จำต้องมีหลักฐาน แสดงการชำระราคาค่าบริการ

1.3 ความรู้พื้นฐานเรื่องการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการ

โดย เหตุที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีหลักการจัดเก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ตลอดจนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ฉะนั้น การที่จะถือว่าผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้าได้ขายสินค้าหรือให้บริการเมื่อใด หรือได้มีการนำเข้าเกิดขึ้นเมื่อใด จึงเป็นปัญหาสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นที่กฎหมายจะต้องกำหนดให้ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้มีการเสียภาษีขาย ออกใบกำกับภาษี หรือให้มีการปฏิบัติหน้าที่ใดๆ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป

สำหรับ การให้บริการในราชอาณาจักร โดยผู้ประกอบการเป็นกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และโดยที่บทบัญญัติมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดนิยามของคำว่า "บริการ" ไว้ว่า

"บริการ" หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า…"

ความ หมายของคำว่า "บริการ" มีความหมายค่อนข้างกว้าง กล่าวโดยนัยที่จะทำความเข้าใจให้ง่ายยิ่งขึ้น ก็คือการกระทำที่ไม่เข้าลักษณะเป็นการ "ขาย" สินค้า จะถือเป็นการให้บริการ หากการกระทำนั้นๆ เป็นการกระทำอันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า เช่น การให้เช่ารถ ให้เช่าเรือ บริการทางด่วน การให้ใช้ลิขสิทธิ์ การให้สัมปทาน การรับจ้างทำของ การเป็นนายหน้า การรับจ้างพิมพ์ เป็นต้น5

การประกอบธุรกิจให้บริการของผู้ประ-กอบการ อาจมีทั้งการให้บริการในราชอาณาจักรและการให้บริการนอกราชอาณาจักร แต่การ ให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ต้องเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร โดย รายได้จากการให้บริการของผู้ประกอบการที่จะต้องนำมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ต้องพิจารณาด้วยว่าเป็นรายได้ที่เกิดจากการให้บริการใน ราชอาณาจักรหรือไม่ ซึ่งมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากรได้ให้ความหมายของการให้บริการในราชอาณาจักรหมายถึง บริการที่ทำ ในราชอาณาจักรโดยไม่คำนึงว่าการใช้บริการนั้น จะอยู่ในต่างประเทศหรือในราชอาณาจักร และนอกจากนี้ หากเป็นการให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราช -อาณาจักร ให้ถือว่าการให้บริการนั้นเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร

ดัง นั้น ในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายได้ค่าบริการ จึงพิจารณาก่อนว่า ต้องเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนการที่จะพิจารณาว่า การให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเท่าใดนั้น ให้พิจารณาอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 0 ก่อน ซึ่งหากกิจการใดไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 0 ก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราทั่วไป6 และอาจแบ่งลักษณะของการให้บริการในราชอาณาจักรได้ 3 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 การให้บริการในราชอาณาจักร และมีการใช้บริการในราชอาณาจักร

การ ให้บริการในราชอาณาจักรและมีการใช้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร กฎหมายบังคับจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร โดยผู้ให้บริการมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้รับบริการในอัตรา ร้อยละ 7.0 เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น

กรณีที่ 2 การให้บริการในต่างประเทศและใช้บริการในราชอาณาจักร

การ ให้บริการที่ได้กระทำขึ้นในต่างประเทศ แต่ได้มีการนำบริการนั้นมาใช้ในประเทศ ให้ถือว่าการให้บริการดังกล่าวเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กฎหมายบังคับจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร โดยกำหนดให้ผู้จ่ายเงินค่าบริการเป็นผู้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบ การต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสีย ตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร

ที่มา..http://www.sanpakornsarn.com/page_article_detail.php?aID=175

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.