บทความบัญชีและภาษี | รับทำเงินเดือน - Part 5 บทความบัญชีและภาษี | รับทำเงินเดือน - Part 5

เงินหรือผลประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

          แต่เดิมลูกจ้างในภาคเอกชนหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยง ชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 52) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 แต่มาบัดนี้อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 188) ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2553 ยกเลิกประกาศฯ (ฉบับที่ 52) และกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการใหม่ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้ 

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินหรือผล ประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพ หรือเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามประกาศอธิบดีกรม สรรพากร ฉบับใหม่อย่างไร

วิสัชนา เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพ หรือเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น 
           1. ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ดังนี้
           (1) กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการตาย 
           (2) กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะทุพพลภาพต้องมีหลักฐานจากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียน รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ 
           (3) กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ต้องเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีอยู่ในเวลาที่ออก จากงาน โดยการเกษียณอายุตามข้อบังคับนั้นลูกจ้างต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนี้ 
           (ก) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาโดยตลอด ต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ
           (ข) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเคยเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ โดยได้โอนเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้คงไว้ทั้งจำนวนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการเมื่อรวมกับการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี

           การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (ก) และ (ข) ถ้ามีการโอนเงินหรือผลประโยชน์ระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้นับอายุการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อเนื่องกัน

           ทั้งนี้ การรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

           2. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานในกรณี อื่นนอกจากตามข้อ 1 แล้วได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจำนวนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและต่อ มาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรือครบกำหนดเวลาเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ดังนี้
           (1) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการตาย 
           (2) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นทุพพลภาพต้องมีหลักฐาน จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดง ความเห็นว่าทุพพลภาพ 
           (3) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นครบกำหนดเวลาเกษียณอายุ ตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องเป็นการรับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นครบกำหนดเวลาเกษียณ อายุตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีอยู่ในเวลาที่ลูกจ้างผู้นั้น ออกจากงาน โดยการเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นลูกจ้างต้องมีอายุ ไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนี้
           (ก) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาโดยตลอด ต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ 
           (ข) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเคยเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ โดยได้โอนเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้คงไว้ทั้งจำนวนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว การเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อรวมกับการเป็นสมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพแล้ว ต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี

           การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (ก) และ (ข) ถ้ามีการโอนเงินหรือผลประโยชน์ระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้นับอายุการ เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อเนื่องกัน

           ทั้งนี้ การรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ที่มา..bangkokbiznews.com

ปัญหาภาษีมูลค่าเพิ่มกับการให้บริการบนอินเตอร์เน็ต

ในช่วงวันหยุดที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์เพื่อนๆในวงการธุรกิจดอท คอมหลายคนและได้แลกเปลี่ยนสนทนาปัญหาต่างๆมากมาย ปัญหาที่ถกเถียงกันมากที่สุดคือเรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่มกับการประกอบกิจการบนอินเตอร์เน็ตว่า ควรจะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไรโดยเฉพาะกรณีที่เว็บไซท์ที่ให้บริการแก่ ลูกค้าในต่างประเทศควรจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 7 หรือร้อย 0  กรมสรรพากรมีแนวทางในการวินิจฉัยอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเพราะถ้าเสียภาษีมูลค่าเพิ่มผิดพลาดก็อาจเจอเบี้ย ปรับและเงินเพิ่มย้อนหลังเหมือนเพื่อนผมได้ วันนี้เราจะมาคุยถึงเรื่องดังกล่าวกันครับ

เพื่อประกอบความเข้าใจผมขอยกตัวอย่างสมมติดังต่อไปนี้เพื่ออธิบายถึงปัญหาข้างต้นดังนี้ครับ

สมมติว่า บริษัท ก เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้บริการโฆษณาผ่านเว็บไซท์ yahoothai.com โดยเว็บไซท์ yahoothai.com ให้บริการโฆษณาเชื่อมต่อระหว่างเว็บไซท์ของบริษัท ก และเว็บไซท์ของลูกค้าซึ่งอยู่ในต่างประเทศทั้งหมด โดยเว็บไซท์ yahoothai.com เป็นเว็บที่บริษัท ก ออกแบบและสร้างขึ้นในประเทศไทยทั้งหมด หลังจากนั้น บริษัท ก จะนำเว็บไซท์ yahoothai.com ไปฝากหรือโฮสท์ (host)ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ของบริษัท เอ ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการอัพโหลด (Up Load) ข้อมูล หรือการโอนถ่ายข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยไปไว้ยังเครื่อง คอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งบริษัท ก ทำสัญญาเช่าไว้ กับบริษัท เอ

การติดต่อลงโฆษณาในเว็บไซท์ yahoothai.com ของบริษัท ก ลูกค้าในต่างประเทศของบริษัท ก จะติดต่อโดยส่งอีเมลล์มายังบริษัท ก เพื่อขอลงโฆษณาพร้อมรายละเอียดของแผ่นป้ายโฆษณา (Banner) หรือ รายละเอียดของที่อยู่ของเว็บไซท์ (Web Address) ของลูกค้าซึ่งอยู่ต่างประเทศ หลังจากนั้น บริษัท ก จะทำการเชื่อมต่อระหว่างตำแหน่งของเว็บไซท์ของบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศกับ ที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเว็บไซท์ของลูกค้าซึ่งเป็นผู้ลงโฆษณาโดยใช้ เทคโนโลยี Hyperlink

ในส่วนของกลุ่มลูกค้าของบริษัท ก นั้น เป็นลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศทั้งหมด โดยจัดทำเว็บไซท์ yahoothai.com เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดโดยให้บริการโฆษณาผ่านเว็บไซท์ yahoothai.com แก่ลูกค้าเฉพาะชาวต่างประเทศและรายได้ของบริษัท ก เกิดจากการรับโฆษณาโดยใช้พื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ของบริษัท เอ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ที่ต้องการดูข้อมูลของลูกค้าของบริษัท ก ก็จะเรียกดูข้อมูลผ่านเว็บไซท์ yahoothai.com ในประเทศสหรัฐอเมริกาและคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการทำการเชื่อมต่อ (host) และเรียกดูข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตรง โดยไม่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัท ก ในประเทศไทยแต่อย่างใด

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินนั้น ลูกค้าสามารถชำระเงินให้แก่บริษัท ก ได้ 3 วิธี คือ

ก) ชำระเป็นเช็คโดยสั่งจ่ายผ่านธนาคารในประเทศไทย
ข) ชำระค่าบริการโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารในประเทศไทย และ
ค) ชำระเป็นบัตรเครดิต

จากปัญหาดังกล่าวมีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มคือ การให้บริการของบริษัท ก นั้นจะถือว่าเป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการ นั้นในต่างประเทศทั้งหมดหรือไม่ ตามมาตรา 80/1 (2) ของประมวลรัษฎากรและประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 105 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2543 ข้อ 2. โดยถือได้ว่าการให้บริการของบริษัทกระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่าง ประเทศและได้ส่งผลของการให้บริการ (การโฆษณา) นั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด ซึ่งเสียภาษีมูลค่าในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (2) ของประมวลรัษฎากร หรือบริษัท ก ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการโดยทั่วไปในอัตราร้อยละ 7

เพื่อประกอบการพิจารณา ผมขอหยิบยก คำวินิจฉัยของกรมสรรพากรที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว คือ คำวินิจฉัยที่ กค 0706/ พ /6172ลงวันที่  2 กรกฎาคม 2546   บริษัท ส จำกัด หารือข้อเท็จจริงว่า บริษัท ส (“ บริษัทฯ”) ประกอบกิจการสื่ออินเตอร์เน็ทโดยเปิดเว็บไซท์ yindii.com  เพื่อแนะนำข้อมูลต่างๆโดยเน้นการให้ข้อมูลด้านการศึกษาเป็นหลัก พร้อมทั้งแนะนำเว็บไซท์อื่นในต่างประเทศ หากผู้ใช้บริการต้องการข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมโดยเปิดข้อมูลจาก เว็บไซท์ต่างประเทศ บริษัทฯเจ้าของเว็บไซท์ต่างประเทศดังกล่าวจะชำระค่าตอบแทนให้กับบริษัทฯตาม จำนวนผู้ใช้บริการที่บริษัทฯแนะนำโดยชำระค่าบริการเป็นเช็ค บริษัทฯหารือว่าลักษณะการประกอบกิจการดังกล่าวเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 0 หรือไม่

กรมสรรพากร  วินิจฉัยว่า กรณีการโฆษณาเว็บไซท์ต่างประเทศบนสื่ออินเตอร์เน็ตของบริษัทฯ เข้าเป็นลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/1(10) และ มาตรา  77/2 วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากรและการให้บริการดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการที่ กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตาม มาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม( ฉบับที่ 105) เรื่องการกำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่าง ประเทศ ตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากแม้ว่าจะเป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้ให้บริการใน ต่างประเทศแต่มิได้ส่งผลของการให้บริการไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด เพราะลูกค้าในประเทศไทยอาจใช้บริการเปิดข้อมูลเว็บไซท์ของต่างประเทศเนื่อง จากการโฆษณานั้นได้ บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร

เมื่อพิจารณาคำวินิจฉัยของกรมสรรพกรดังกล่าวกับกรณีเว็บไซท์ yahoothai.com  ตามที่สมมตินั้น จะเห็นว่า มีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันเนื่องจากกรณีเว็บไซท์ yahoothai.com เว็บไซท์ของบริษัท ก นั้นเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดและไม่มีลูกค้าคนไทยเลยขณะที่ กรณีเว็บไซท์ yindii.com นั้นตามคำวินิจฉัยของกรมสรรพากรข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนว่า ให้บริการแก่คนไทยด้วยหรือไม่เพราะถ้ามีการให้บริการในราชอาณาจักรด้วยก็คง ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 7 อย่างแน่นอน นอกจากนี้ กิจการให้บริการสื่อโฆษณาบนเว็บไซท์ yahoothai.com  ของบริษัท ก เป็นการให้บริการโดยการจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์เว็บไซท์ในประเทศ ไทยและมีการอัพโหลดข้อมูลดังกล่าวไปไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ซึ่ง อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมด ซึ่งเป็นการให้บริการโดยผลสำเร็จของงานคือการโฆษณาทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นที่ เครื่องคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เข้าชมเว็บไซท์ yahoothai.com ของบริษัท ก ทั้งที่เป็นชาวต่างประเทศทั้งหมดจะเรียกดูข้อมูลของลูกค้าของบริษัทผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตรง จึงไม่มีการกระทำหรือให้บริการใด ๆ ของบริษัทเกิดขึ้นในราชอาณาจักร บริษัท ก จึงควรต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 80/1 (2) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 105

ประเด็นที่น่ากังวลสำหรับการปรับใช้กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มคือ จากคำวินิจฉัยดังกล่าวมีความเป็นไปได้กรมสรรพากรอาจตีความว่าหากเป็นการให้ บริการเว็บไซท์บนอินเตอร์เน็ทใดก็ตามที่ลูกค้าในประเทศไทยสามารถเปิดใช้ บริการจากเว็บไซท์ได้ เจ้าของเว็บไซท์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ทั้งหมด  ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็จะทำให้เกิดปัญหาการปรับใช้กฎหมายอย่างมาก เพราะเท่ากับว่าเว็บไซท์ทั่วโลกหลายล้านเว็บไซท์ที่ให้บริการทั่วโลกที่อาจ ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ได้ให้บริการกับคนไทย หากคนไทยเพียงเปิดดูได้ผ่านอินเตอร์เน็ทก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง

แนวทางที่น่าจะเป็นและสอดคล้องกับแนวกฎหมายภาษีในต่างประเทศ-ทั้งประเทศ สหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปคือ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการบนอินเตอร์เน็ทในอัตรา ร้อยละ 7 หรือ 0 นั้นน่าจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่า “ผลของการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่หรือเว็บไซท์นั้นมี เจตนาให้บริการลูกค้าที่เป็นคนไทยหรือไม่” หากมีก็คงต้องถือว่าเป็นการให้บริการในประเทศไทยต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มใน อัตรา ร้อยละ 7 ครับ

ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นก็เพียงเป็นข้อมูลสำหรับท่านผู้อ่านที่อยู่ใน ธุรกิจดอทคอมได้ทราบไว้เท่านั้นครับ เพราะหากเสียภาษีผิดพลาดอาจเจอเบี้ยปรับเงินเพิ่มมากกว่ารายได้ก็จะทำให้ได้ ไม่คุ้มเสียครับ–

ข้อมูลอ้างอิง

กรุงเทพฯ–6 ม.ค.–กิลเบิร์ต รี้ด แอนด์ คอมปานี
โดย          ไพบูลย์  อมรภิญโญเกียรติ
บริษัท กิลเบิร์ต รี้ด แอนด์ คอมปานี จำกัด
paiboon@gilbertereed.com

การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.104/2544

เรื่อง   การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณี การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร

———————————————

                เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาเกี่ยวกับการ เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักร ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่าง ประเทศตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

                ข้อ 1   กรณีผู้ประกอบการซึ่งได้ให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการ นั้นในราชอาณาจักร ถือว่าการให้บริการนั้นเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/13 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นเมื่อได้ มีการชำระราคาค่าบริการทั้งหมดหรือบางส่วนตามมาตรา 78/1(3) แห่งประมวลรัษฎากร โดยคำนวณจากฐานภาษีตามมาตรา 79 และอัตราภาษีตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร

                ข้อ 2   การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศได้กระทำขึ้นในต่างประเทศ และผู้รับบริการในราชอาณาจักรได้นำผลของการกระทำนั้นมาใช้ในราชอาณาจักร

                        กรณีผู้ประกอบการในต่างประเทศได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่ไม่มีรูปร่างให้กับ ผู้ประกอบการหรือบุคคลใดในราชอาณาจักรไม่ถือเป็น การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตาม มาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง ตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร

                        การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามวรรคสอง เช่น การโอนกรรมสิทธิ์สิทธิในสิทธิบัตร การโอนกรรมสิทธิ์ในกู๊ดวิลล์ การโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้า การโอนกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ การโอนกรรมสิทธิ์ในสัมปทาน การโอนกรรมสิทธิ์ในค่าสิทธิ หรือการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

                        กรณีผู้ประกอบการในต่างประเทศได้ให้ผู้ประกอบการหรือบุคคลใดใน ราชอาณาจักรได้ใช้สิทธิในสิทธิบัตร ได้ใช้กู๊ดวิลล์ ได้ใช้เครื่องหมายการค้า ได้ใช้ลิขสิทธิ์ ได้ใช้สัมปทาน ได้ใช้ค่าสิทธิ หรือได้ใช้สินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน โดยผู้ประกอบการใน ต่างประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สิทธิในสิทธิบัตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ค่าสิทธิ หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ไม่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักรตามมาตรา 77/2 วรรคสาม และมาตรา 77/5 แห่งประมวลรัษฎากร

                        กรณีผู้ประกอบการในต่างประเทศรับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ให้กับผู้ประกอบการหรือ บุคคลใดซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างในราชอาณาจักร โดยผู้ว่าจ้างในราชอาณาจักรยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ดังกล่าว ไม่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักรตามมาตรา 77/2 วรรคสาม และมาตรา 77/5 แห่งประมวลรัษฎากร

                ข้อ 3   กรณีผู้รับบริการในราชอาณาจักรจ่ายเงินค่าบริการให้กับผู้ประกอบการตามข้อ 1 ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสีย ภาษีตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยผู้จ่ายเงินต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้กับผู้ ประกอบการตามมาตรา 83/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

                        ตัวอย่าง

                        (1) บริษัท ก จำกัด ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้ดำเนินการ ให้คำปรึกษาและแนะนำด้านการบริหาร การจัดการ การวางแผน กฎหมาย การเงิน การตลาดและบุคคล ซึ่งการให้บริการทั้งหมดได้กระทำในต่างประเทศและบริษัทในต่างประเทศได้จัด ส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านทางโทรศัพท์ โทรสาร E – MAIL (ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) และจดหมายให้กับบริษัท ก จำกัด กรณีดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักร บริษัท ก จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)

                        (2) บริษัท ข จำกัด ได้ทำสัญญาเช่าเครื่องจักรจากบริษัทในต่างประเทศเพื่อ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปถือเป็นการให้บริการที่กระทำใน ต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ข จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)

                        (3) บริษัท ค จำกัด ได้ทำสัญญารับจ้างออกแบบคำนวณโครงสร้างทางยกระดับโครงการแห่งหนึ่ง ซึ่งบริษัท ค จำกัด ได้ทำสัญญาจ้างช่วงงานคำนวณโครงสร้างบางส่วนกับบริษัทในต่างประเทศโดยบริษัท ในต่างประเทศจะดำเนินการออกแบบและ คำนวณโครงสร้างในต่างประเทศ และส่งผลของงานให้กับบริษัท ค จำกัด กรณีดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักร บริษัท ค จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)

                        (4) บริษัท ง จำกัด ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้ซ่อมแซมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต สินค้าโดยส่งเครื่องจักรไปซ่อมแซมในต่างประเทศ เมื่อบริษัทในต่างประเทศดำเนินการเรียบร้อยแล้วได้ส่งกลับมาให้บริษัท ง จำกัด ใช้ในประเทศไทย กรณีดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักร บริษัท ง จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)

                        (5) บริษัท จ จำกัด ประกอบกิจการเกี่ยวกับสนามกอล์ฟได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้ ดำเนินการออกแบบสนามกอล์ฟโดยมีการจัดทำแผนผัง รายละเอียดและงานเขียนแบบสำหรับใช้ในการก่อสร้างสนามกอล์ฟ ซึ่งบริษัทในต่างประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในงานเขียนแบบและแผนผัง อื่น ๆ เงินค่าจ้างออกแบบดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นค่า ตอบแทนเพื่อค่าสิทธิ กรณีดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท จ จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)

                        (6) บริษัท ช จำกัด ประกอบธุรกิจถลุงโลหะ ได้ซื้อลิขสิทธิ์กรรมวิธีการผลิตจากบริษัทในต่างประเทศโดยบริษัทในต่าง ประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์กรรมวิธีการผลิต กรณีดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักร บริษัท ช จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)

                        (7) ส่วนราชการแห่งหนึ่งทำสัญญาจัดซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากบริษัทในต่างประเทศ โดยบริษัทในต่างประเทศเสนอราคาค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยค่าลิขสิทธิ์ ที่บริษัทในต่างประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ ค่าติดตั้ง ค่าบำรุงรักษา ค่าฝึกอบรม ค่าให้คำปรึกษา ค่าเดินทาง และค่าที่พักของพนักงาน กรณีดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ส่วนราชการมีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)

                        (8) บริษัท ซ จำกัด ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศผลิต BROCHURE เป็นรูปภาพของโรงแรมและเย็บเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ โดยบางส่วนแจกให้ลูกค้าในประเทศไทย และบางส่วนแจกให้ลูกค้าในต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ซ จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36) โดยคำนวณจากค่าบริการทั้งหมด

                        “(9) บริษัท ฌ จำกัด ได้ทำสัญญาใช้บริการนำเสนอข้อมูลสินค้าหรือบริการผ่านอินเตอร์เน็ต หรือบริการเช่าพื้นที่บนเว็บไซท์ (Web Site) หรือบริการเช่าพื้นที่บนเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของบริษัทในต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ฌ จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) โดยคำนวณจากค่าบริการทั้งหมด

                        (10) บริษัท ญ จำกัด ได้ทำสัญญาใช้บริการอินเตอร์เน็ต หรือบริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider) จากบริษัทในต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ญ จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) โดยคำนวณจากค่าบริการทั้งหมด

                        (11) บริษัท ฎ จำกัด ได้ทำสัญญาใช้บริการรับฝากเซิร์ฟเวอร์ (Data Management หรือ Co-Location) จากบริษัทในต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัท ฎ จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) โดยคำนวณจากค่าบริการทั้งหมด”

( แก้ไขเพิ่มเติมโดย คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.116/2545 )

                ข้อ 4   การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้คำนวณจากฐานภาษีตามมาตรา 79 และอัตราภาษีตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร

                        ฐานภาษีสำหรับการให้ บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ ซึ่งหมายความถึง เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน

                        กรณีผู้รับบริการในราชอาณาจักรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร หรือมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้รับบริการในราชอาณาจักรต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากเงินได้พึงประเมินที่ จ่ายทั้งจำนวนก่อนหักภาษีเงินได้

                        กรณีผู้รับบริการในราชอาณาจักรตกลงเป็นผู้ออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนผู้ ประกอบการตามข้อ 1 ภาษีเงินได้ที่ออกแทนถือเป็นประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ผู้รับบริการในราชอาณาจักรต้องนำภาษีที่ออกแทนมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐาน ภาษีจนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีที่ต้องออกแทนให้อีก

                ข้อ 5   กรณีผู้รับบริการในราชอาณาจักรตามข้อ 3 เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้รับบริการในราชอาณาจักรมีสิทธินำภาษีมูลค่า เพิ่มที่ได้นำส่งตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากรไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้ โดยมีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษีที่มีการยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่า เพิ่ม (ภ.พ.36) และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร

                “ข้อ 6   กรณีผู้ประกอบการซึ่งได้ให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและ มิได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ไม่ถือว่าการให้บริการนั้นเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการดังกล่าวไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/13 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินค่าบริการจึงไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร

                        ตัวอย่าง

                        (1) บริษัท ก จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้า ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้เป็นนายหน้าติดต่อหาลูกค้าในต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักร บริษัท ก จำกัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)

                        (2) บริษัท ข จำกัด ประกอบกิจการประเภทธุรกิจหลักทรัพย์ ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคารในต่างประเทศ โดยบริษัท ข จำกัด ได้ว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศแห่งหนึ่งเป็นตัวแทนในการจัดหาแหล่งเงินกู้ ซึ่งบริษัท ข จำกัดจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่ตัวแทน ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักร บริษัท ข จำกัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)

                        (3) บริษัท ค จำกัด ประกอบกิจการผลิตสินค้า ได้ทำสัญญาแต่งตั้งบริษัทในต่างประเทศเป็นตัวแทนในการชำระราคาค่าสินค้าให้ แก่ผู้ขายในต่างประเทศ โดย ตัวแทนต้องจ่ายเงินทดรองแทนบริษัทฯ ไปก่อนและเรียกเก็บเงินคืนจากบริษัทฯ พร้อมกับ เรียกเก็บค่าบริการ ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักร บริษัท ค จำกัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)

                        (4) บริษัท ง จำกัด ประกอบกิจการโรงแรม ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้ดำเนินการส่งเสริมการขาย การตลาด โฆษณา และรับจองห้องพัก ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักร บริษัท ง จำกัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)

                        (5) สถานีโทรทัศน์ในต่างประเทศรับจ้างโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์ในต่างประเทศ โดยมีรายได้จากการรับจ้างโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์จากผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย สินค้าทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งมีผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายสินค้าในประเทศไทยได้ว่าจ้างโฆษณาดังกล่าวด้วย ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักร ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายสินค้าในประเทศไทยไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษี มูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)

                        (6) บริษัท จ จำกัด ว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศจัดทำโฆษณาลงในนิตยสารสวัสดีที่มีผู้โดยสารอ่านบน เครื่องบินซึ่งมีทั้งสายการบินในประเทศและต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักร บริษัท จ จำกัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)

                        (7) บริษัท ฉ จำกัด ว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศลงพิมพ์โฆษณาในนิตยสาร (Magazine) ในต่างประเทศ ซึ่งมีการขายนิตยสารดังกล่าวในประเทศไทยด้วย ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและมิได้มีการใช้บริการนั้นในราช อาณาจักร บริษัท ฉ จำกัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)”

( แก้ไขเพิ่มเติมโดย คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.116/2545 )

                ข้อ 7   กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้ให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82(1) แห่งประมวลรัษฎากร

                        กรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่าง ประเทศ เป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศและได้ ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณอัตราภาษีตาม มาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร

                ข้อ 8   การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตาม ข้อ 7 หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร

                        กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่ไม่มีรูปร่างให้กับผู้ ประกอบการหรือบุคคลใดในต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นใน ต่างประเทศตามมาตรา 77/1(10) และมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร

                        การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามวรรคสอง เช่น การโอนกรรมสิทธิ์สิทธิในสิทธิบัตร การโอนกรรมสิทธิ์ในกู๊ดวิลล์ การโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้า การโอนกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ การโอนกรรมสิทธิ์ในสัมปทาน การโอนกรรมสิทธิ์ในค่าสิทธิ หรือการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

                        กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ให้ผู้ประกอบการหรือบุคคลใดในต่างประเทศได้ใช้ สิทธิในสิทธิบัตร ได้ใช้กู๊ดวิลล์ ได้ใช้เครื่องหมายการค้า ได้ใช้ลิขสิทธิ์ ได้ใช้สัมปทาน ได้ใช้ค่าสิทธิ หรือได้ใช้สินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สิทธิในสิทธิบัตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ค่าสิทธิ หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ไม่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 77/1(10) มาตรา 77/5 และมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร

                        กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนรับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ให้กับผู้ประกอบการหรือ บุคคลใดซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างในต่างประเทศโดยผู้ว่าจ้างในต่างประเทศยังคงเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ไม่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(9) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นใน ต่างประเทศตามมาตรา 77/1(10) มาตรา 77/5 และมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร

สั่ง ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544

ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล

อธิบดีกรมสรรพากร

ที่มา..กรมสรรพากร