บทความบัญชีและภาษี | รับทำเงินเดือน บทความบัญชีและภาษี | รับทำเงินเดือน

ภาษีคณะบุคคล

  • คณะบุคคล และห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เสียภาษีอยู่ในกลุ่มของบุคคลธรรมดา (ยื่นแบบ ภงด.90)
  • ปัจจุบันมีกฎหมายที่อยู่ระหว่างพิจาณาว่า ที่จะให้คณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญ เสียภาษีในอัตรา 20% ของรายรับ (ก่อนหักรายจ่ายใดๆ)

ภาษีคณะบุคคล ตอนที่ 1

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากรนั้น นอกจากผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา รวมทั้งผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่งแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากรมิได้กำหนดคำนิยามคำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล” ไว้อย่างไร การจัดตั้งจึงกระทำได้โดยสัญญา ตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ดังนั้น การประกอบกิจการร่วมกันในฐานะของคณะบุคคลตามประมวลรัษฎากรจะต้องเป็นกรณีที่ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน โดยใน การประกอบกิจการในฐานะคณะบุคคลนั้นจะต้องร่วมกันประกอบกิจการตามความเป็น จริงและร่วมกันรับผิดชอบในกิจการของคณะบุคคลนั้น และเงินได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการจะต้องเป็นของคณะบุคคลด้วย

อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากรได้เคยวินิจฉัยถึงความแตกต่างของห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่ นิติบุคคลกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลในส่วนที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การมีวัตถุประสงค์ที่จะหากำไรและแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการอัน เป็นเงื่อนไขสำคัญของห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่คณะบุคคลไม่มี

คณะบุคคล มีสิทธิประกอบกิจการใดก็ได้ เว้นแต่โดยสภาพของหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำนั้นคณะบุคคลไม่อาจกระทำได้ เช่น การรับจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นต้น
คณะ บุคคลเป็นหน่วยภาษีที่ถูกกำหนดขึ้นตามประมวลรัษฎากร เพื่อให้ครอบคลุมการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีบุคคลตั้งแต่สองคน ขึ้นไป ตกลงกระทำกิจการร่วมกัน โดยให้ผู้จัดการหรือผู้อำนวยการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อ ของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลนั้น จากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลเดียวไม่มีการแบ่งแยก

ทั้งนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคน ไม่ต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสีย ภาษีอีก (มาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)
นอกจากนี้ เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคลในคณะบุคคลได้รับจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เฉพาะส่วนที่เกิดจากเงินได้ที่ได้เสียภาษีเงินได้ไว้ดังกล่าวให้ผู้มีเงิน ได้ได้รับยกเว้นภาษี (มาตรา 42(14) แห่งประมวลรัษฎากร)

าษีคณะบุคคล ตอนที่ 2

การจัดตั้งคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เพื่อการประกอบกิจการนั้น จะเป็นเสรีภาพตามกฎหมายที่กลุ่มบุคคลจะกระทำการได้ แต่ก็มีขอบเขตหรือโดยพื้นฐานแล้วควรเป็นไปโดยสุจริต และมีการประกอบกิจการจริง มิใช่เป็นไปเพื่อการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือทำให้ไม่ต้องเสียภาษีอากร และหากภายหลังมีการตรวจสอบพบว่า ไม่อยู่บนพื้นฐานดังกล่าว กรมสรรพากรอาจทำการประเมินย้อนหลัง และเสียหายไม่คุ้มกับจำนวนภาษีที่ประหยัดได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ทำการตรวจสภาพกิจการของ คณะบุคคล พบว่า มีการจัดตั้งคณะบุคคลจำนวนหกคณะ มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกัน ประกอบกิจการประเภทเดียวกัน และมีผู้จัดการคณะบุคคลคนเดียวกัน ซึ่งจากการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน คณะบุคคลฯ ทั้งหกคณะประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง โดยมีนาย จ. เป็นผู้จัดการคณะบุคคล ในปี 2548 คณะบุคคลทั้งหกคณะได้เข้าทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับบริษัท ก. จำกัด ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 3 ชั้นครึ่ง จำนวน 10 หน่วย มูลค่างานเป็นเงิน 9,500,000 บาท ซึ่ง มีผลทำให้แต่ละคณะมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (รายได้ต่อปีไม่เกิน 1.8 ล้านบาท)

แต่โดยที่มีการทำสัญญาฉบับเดียวกันและมีผู้ว่าจ้างรายเดียวกัน จึงเป็นกรณีที่คณะบุคคลทั้งหกคณะมีเจตนาร่วมกันในการก่อสร้างอาคารดังกล่าว แม้ว่าในรายละเอียดการเบิกเงินตามเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างจะมี การระบุรายละเอียดงานและจำนวนเงินงวดตามคณะบุคคล แต่สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างเป็นสัญญาที่ตกลงจ้างคณะบุคคลทั้งหกคณะ มิได้กำหนดว่าจ้างเป็นรายคณะบุคคลและการดำเนินการก่อสร้างก็ไม่อาจแบ่งแยก เนื้องานได้อย่างชัดเจนประกอบกับข้อสัญญาในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระบุการ จ่ายค่าจ้างเป็นรายงวดของงานที่ทำเสร็จให้แก่ผู้รับจ้างคิดเป็นมูลค่ารวมมิ ได้แบ่งแยกแต่อย่างใด

ดังนั้น คณะบุคคลทั้งหกคณะดังกล่าวจึงต้องเสียภาษีเงินได้ในนามคณะบุคคลเพียงคณะ เดียวหรือในนามห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล และเนื่องจากการรับเหมาก่อสร้างดังกล่าวเป็นการให้บริการที่มีมูลค่าของฐาน ภาษีเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลดังกล่าวจึงต้องเสียภาษี มูลค่าเพิ่ม จากมูลค่างานทั้งหมดนั้นด้วย

ทำให้คณะบุคคลดังกล่าวต้องรับผิดเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ตามแนววินิจฉัยของกรมสรรพากรที่ กค 0706/10581 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2550 เป็นกรณีที่ได้ไม่คุ้มเสียเลยนะครับ…

ภาษีคณะบุคคล ตอนที่ 3

ในช่วงนี้ ในแวดวงภาษีสรรพากร หลายท่านที่ประกอบวิชาชีพอิสระ ซึ่งมีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เพื่อการกระจายเงินได้พึงประเมินออกจากการมีเงินเดือนค่าจ้าง อันเป็นรายได้ประจำกันเป็นอันมาก จึงเกิดปัญหาตามมาว่าการจัดตั้งขึ้นห้างฯ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลดังกล่าวกระทำได้หรือไม่เพียงใด ดังตัวอย่างแนววินิจฉัยของกรมสรรพากร ต่อไปนี้ครับ

นาย ว. ได้จัดตั้งคณะบุคคลชื่อ “คณะบุคคลโดยนาย ว. หรือ ด.ช. จ.” และได้ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ประกอบกิจการรับทำบัญชี คณะบุคคลฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับ ปีภาษี 2547 ขอคืนภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร แจ้งว่า คณะบุคคลฯ ไม่สามารถรับทำบัญชีได้ และให้นำเงินได้จากการรับทำบัญชีดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้ประเภท เงินเดือนของนาย ว. นาย ว. จึงขอความเป็นธรรมในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีดังกล่าว

โดยให้เหตุผลว่า กฎหมายมิได้กำหนดว่าผู้ร่วมในคณะบุคคลต้องมีความรู้ความสามารถในด้านเดียว กันหรือเท่าเทียมกัน แม้ ด.ช. จ. จะมีอายุย่างเข้า 12 ขวบ และเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 6 แต่ก็มีความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี โดยลักษณะงานที่ได้มอบหมายให้ ด.ช. จ. ช่วยปฏิบัติสนับสนุนการดำเนินกิจการของคณะบุคคลฯ ได้แก่ จัด เตรียมและพิมพ์ใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า และเป็นผู้ลงนามในฐานะเป็นผู้รับเงินของสำนักงานบัญชี ค้นหาและสั่งพิมพ์ประกาศ และคำสั่งของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากรที่ได้แจ้งทางอินเทอร์เน็ต นำเอกสารของลูกค้าไปถ่ายเอกสาร และทำหน้าที่รับและส่งอีเมล จัดเก็บเอกสารเข้าแฟ้มและอื่น ๆ เป็นต้น

เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว กรมสรรพากรมีแนววินิจฉัยว่า 
1. การประกอบกิจการร่วมกันในฐานะของคณะบุคคลตามประมวลรัษฎากรจะต้องเป็นกรณีที่ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน โดยในการประกอบกิจการในฐานะคณะบุคคลนั้นจะต้องร่วมกันประกอบกิจการตามความ เป็นจริงและร่วมกันรับผิดชอบในกิจการของคณะบุคคลนั้น และเงินได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการจะต้องเป็นของคณะบุคคลด้วย

2. คณะบุคคลมีสิทธิประกอบกิจการใดก็ได้ เว้นแต่โดยสภาพของหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำนั้นคณะบุคคลไม่อาจกระทำได้ เช่น การรับจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นต้น

และในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ผู้อำนวยการหรือ ผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของคณะบุคคลนั้นตาม มาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามนัยหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0706/5637 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2548

ภาษีคณะบุคคล ตอนที่ 4

ถึงคราวที่มีคำถามไปที่ กรมสรรพากรว่า คณะบุคคลแพทย์จัดตั้งได้หรือไม่เพียงใด กรมสรรพากรได้มีหนังสือตอบข้อหารือที่ กค 0811/2227 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2545  ดังนี้

คณะบุคคลยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 ราย คณะที่ 1 คณะบุคคลนายแพทย์ ส. และคณะ จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบวิชาชีพเวชกรรมประกอบด้วย นายแพทย์ ส. และนายแพทย์ บ. โดยนายแพทย์ ส. เป็นผู้จัดการ และคณะที่ 2 คณะบุคคลนายแพทย์ บ. และคณะ จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบวิชาชีพเวชกรรมประกอบด้วย นายแพทย์ ส. และนายแพทย์ บ. เพื่อประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยนายแพทย์ บ.เป็นผู้จัดการ มีปัญหาว่าคณะบุคคลทั้งสองเป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่

เกี่ยวกับเรื่องนี้กรมสรรพากรได้มีแนววินิจฉัยว่า
คณะบุคคลเป็นหน่วยภาษีที่ถูกกำหนดขึ้นตามประมวลรัษฎากร เพื่อให้ครอบคลุมการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีบุคคลตั้งแต่สองคน ขึ้นไปตกลงกระทำกิจการร่วมกัน คณะบุคคลมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้ง สิ้นที่ได้จากการประกอบกิจการร่วมกัน ตามนัยมาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบุคคลในคณะบุคคลทุกคนจะต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงโดยไม่มีจำกัด

กรณีตามข้อเท็จจริงนายแพทย์ ส. และนายแพทย์ บ. มีเงินได้จากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมร่วมกัน จึงเข้าลักษณะเป็นคณะบุคคล แม้จะมีการจัดตั้งคณะบุคคลโดยแบ่งออกเป็น 2 คณะ แต่ทั้ง 2 คณะประกอบด้วยบุคคลในคณะบุคคลที่เป็นบุคคลเดียวกัน คือ นายแพทย์ ส. และนายแพทย์ บ. จึงต้องถือว่าเป็นคณะบุคคลเดียวกัน ดังนั้น ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของคณะบุคคล ดังกล่าว จึงต้องนำเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นที่ได้รับจากการเป็นคณะบุคคลมารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ก็เป็นอันว่า การสลับชื่อบุคคลในคณะบุคคลที่มีคณะบุคคลเป็นกลุ่มคนเดียวกันนั้น ไม่อาจทำให้เป็นคณะบุคคลใหม่แต่อย่างใด เป็นผลให้ต้องนำเงินได้มารวมกันเป็นคณะบุคคลเดียว ซึ่งอาจทำให้ได้คืนภาษีน้อยลงหรืออาจต้องจ่ายเพิ่มขึ้น เพราะอัตราภาษีก้าวหน้าตามฐานภาษีที่สูงขึ้นเพราะเหตุที่นำเงินได้มาคำนวณ รวมกัน

ปัญหาเกี่ยวกับการเสียภาษีเงิน ได้ ของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มุมภาษีนำมาเล่าสู่กันฟังนี้ เป็นมุมมองในอดีตของกรมสรรพากรที่ไม่ได้มีการแยกให้ชัดเจนว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลแตกต่างกันอย่างไร อาจเป็นเพราะผลสุดท้ายของ การเสียภาษีเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลเหมือนกันทุกประการและประมวลรัษฎากรก็มิได้มีการแยกแยะให้ชัดแจ้ง แต่อย่างใด เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ที่จะมีการทบทวนกันใหม่หมดทั้งระบบครับ

ภาษีคณะบุคคล ตอนจบ

แต่เดิมการจัดเก็บภาษีเงินได้จากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมิได้กำหนดคำนิยามคำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล” ไว้เป็นการเฉพาะแต่อย่างไร

หากแต่กล่าวรวม ๆ กันไว้ในหลายบทบัญญัติอาทิ มาตรา 42 (14)-การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จาก ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
หรือมาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งกำหนด หน้าที่ในการยื่นรายการและเสียเงินได้บุคคลธรรมดาในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือ คณะบุคคลที่มิใช่ติบุคคลเสมือนเป็นบุคคลธรรมดา คนเดียวโดยไม่มีการแบ่งแยก
โดยให้เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการหรือผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

กรณีการ จัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล การจัดตั้งจึงกระทำได้โดยสัญญา ตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

กรณีคณะบุคคล อันประกอบด้วยนาย ก. นาง ข. นาย ค. และนาง ง. ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ทำการซื้อขายที่ดิน ถือเป็นการแสดงเจตนาตกลงเข้ากันเพื่อซื้อที่ดินมาเพื่อขาย แม้จะได้มีการซื้อที่ดินบางแปลงโดยมีการระบุชื่อบุคคลในคณะบุคคลเพียงสามคน และต่อมาได้ขายไป โดยได้นำเงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวทั้งหมดไปรวมคำนวณยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ในนามของคณะบุคคลที่มีชื่อทั้งสี่คน
กรณี กรมสรรพากรได้มีแนววินิจฉัยตามหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811/04248 ลงวันที่ 8 เมษายน 2541ว่า บุคคลทั้งสี่มีเจตนาในการจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ในการเสียภาษีจึงต้องเสียภาษีในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิ ใช่นิติบุคคลทั้งสี่คนนั้น 

และสำหรับกรณีการเสียภาษีเงินได้จากการขายที่ดินนั้น แม้ตามสัญญาซื้อขายจะได้ระบุชื่อบุคคลเพียงสามคนคือ นาย ก. นาง ข. และนาย ค. โดยบุคคลทั้งสามได้ นำเงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวไปคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้ในนามของคณะบุคคลทั้งสี่คนแล้วก็ถือได้ว่าเมื่อบุคคลทั้งสี่คนมี เจตนาในการตกลงเข้ากันเพื่อการซื้อขายที่ดินดังกล่าว

และ แม้ตามสัญญาซื้อขายจะได้ระบุชื่อบุคคลเพียงสามคน บุคคลที่สี่จึงถือเป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ ตามมาตรา 806 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นการเสียภาษีเงินได้สำหรับการขายที่ดินดังกล่าวในนามของคณะบุคคลทั้งสี่คน จึงชอบด้วยมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

ที่มา..หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดยอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ความรับผิดทางภาษี ภงด.90 ภงด.91

ระบบการเสียภาษีเงินได้ของประเทศไทยนั้นใช้ระบบการประเมินตนเองซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีตามประเภทเงินได้ที่ตนได้รับตามแบบ ภ.ง.ด.91 กรณีมีเงินได้เฉพาะเงินเดือนเท่านั้น หรือ ภ.ง.ด.90 กรณีมีเงินได้อื่นนอกเหนือจากเงินเดือน แล้วแต่กรณี ซึ่งหากผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีไม่ถูกต้องไม่ว่าจงใจหรือไม่จงใจก็ตามผู้เสียภาษีจะมีภาระการชำระภาษีเพิ่มขึ้น

หากกรมสรรพากรมีการตรวจสอบแล้วพบว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการหรือเสียภาษีไม่ถูกต้อง โดยเสียภาษีไม่ครบถ้วน กรมสรรพากรจะใช้อำนาจประเมินภาษีเพิ่ม โดยอำนาจกรมสรรพากรในการประเมินภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 2 ปี แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินขยายระยะเวลาได้ถึง 5 ปี ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งผู้เสียภาษีจะต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม หากผู้เสียภาษีเห็นว่าการประเมินของกรมสรรพากรไม่ถูกต้อง จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีโดยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร

ผู้อุทธรณ์ภาษีต้องหาหลักทรัพย์มาวางประกันตามจำนวนภาษีที่ต้องเสียซึ่งหลักทรัพย์ที่นำมาวางเป็นประกันการอุทธรณ์ ได้แก่ เงินสด บัญชีเงินฝากประจำ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง พันธบัตร หรือใช้บุคคลค้ำประกัน อย่างไรก็ตามหากผู้อุทธรณ์ไม่สามารถหาหลักทรัพย์มาวางได้ กรมสรรพากรอาจดำเนินการเตือนให้ผู้ถูกประเมินหาหลักทรัพย์มาวางเป็นประกันในการอุทธรณ์ สืบหาทรัพย์ของผู้ถูกประเมิน หากผู้ถูกประเมินไม่ดำเนินการ อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์ของผู้ถูกประเมินเพื่อขายทอดตลาดได้ โดยไม่ต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรืออายัดหากทรัพย์สินของผู้ถูกประเมินถูกเจ้าหนี้อื่นอายัดไว้แล้ว กรมสรรพากรก็มีอำนาจอายัดซ้ำได้และมีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์กับเจ้าหนี้อื่นๆ

หากในที่สุดผู้ถูกประเมินไม่สามารถชำระภาษีได้ก็จะถูกฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลาง หรือศาลจังหวัดกรณีคดีมิได้เกิดในกรุงเทพมหานคร ในระหว่างรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือคำพิพากษาของศาลผู้ถูกประเมินต้องชำระภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้ง เนื่องจากการอุทธรณ์ไม่ถือเป็นการทุเลาการบังคับ เว้นแต่จะได้มีการยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรและได้รับอนุมัติให้ทุเลาการบังคับ

ดังนั้น ในการเสียภาษีควรให้ความสำคัญ และกระทำด้วยความละเอียดรอบคอบเป็นไปที่ตามกฎหมายกำหนดหากท่านใดที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี ยังสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2556 เพื่อมิให้เกิดภาระภาษีเพิ่มขึ้นในภายหลัง และโปรดตรวจสอบอีกครั้งว่า “วันนี้ท่านเสียภาษีครบถ้วนแล้วหรือยัง…”

นางสาววรปรานี สิทธิสรวง
สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ภาระภาษีจากการโอนเงินไปต่างประเทศ กับ ภงด.54 และ ภพ.36

ค่านายหน้ากรณีผู้รับเป็นนิติบุคคล
สำหรับค่านายหน้าทางด้านผู้มีเงินได้เป็นนิติบุคคล ไม่ค่อยมีปัญหานัก เพราะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (2) เพียงกรณีเดียว

รับค่านายหน้าจากต่างประเทศต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
โดยปกติ ค่านายหน้าเป็นกิจกรรมที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าผู้รับมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี อยู่ในบังคับต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยกเว้นกรณีค่านายหน้าที่ได้รับจากต่างประเทศ ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็คือตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40 ข้อ 2 (3) “มูลค่าของการให้บริการเนื่องจากการเป็นนายหน้าตัวแทนให้แก่ผู้ประกอบการใน ต่างประเทศ ทั้งนี้เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศดังกล่าวขายสินค้า หรือให้บริการกับผู้ซื้อหรือผู้รับบริการในต่างประเทศด้วยกัน”

ค่านายหน้าที่ได้รับจากต่างประเทศที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น บริษัทเป็นนายหน้าขายสินค้าให้กับบริษัทในประเทศสิงคโปร์ และบริษัทในสิงค์โปร์ได้ขายสินค้าให้กับบริษัทในประเทศเวียดนาม บริษัทจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่านายหน้าที่ได้รับดังกล่าวมารวมคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2 (3) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40 (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/พ.1564 ลว.29 มกราคม 2539)

ตัวอย่างค่านายหน้ารับจากต่างประเทศที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กรณีที่บริษัทฯ เป็นผู้ทำการติดต่อในการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อในประเทศกับบริษัทผู้ ขายในต่างประเทศ ทำให้บริษัทในต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้ ถือว่า บริษัทฯ เป็นนายหน้าขายสินค้าของบริษัทในต่างประเทศ บริษัทฯ จึงมีหน้าที่นำค่านายหน้าที่ได้รับจากบริษัทในต่างประเทศมารวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
โดยเสียภาษีใน อัตราร้อยละ 30 จากกำไรสุทธิ และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือตอบกรมสรรพากรที่ กค 0811/พ.09658 ลว. 14 กันยายน 2542 http://www.rd.go.th/publish/23724.0.html )
สิ่งที่ควรจะต้องระวังในการรับค่านายหน้าจากต่างประเทศก็คือ กรณีเป็นนายหน้าตัวแทนให้กับบริษัทต่างประเทศเพื่อขายสินค้าให้ลูกค้าใน ประเทศไทย ต้องดูด้วยว่าบริษัทผู้รับค่านายหน้าเข้าข่ายเป็นลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนให้ กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ตามมาตรา 76 ทวิหรือไม่ ถ้าเข้าข่ายเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตามมาตรา 76 ทวิ ก็จะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบเสียภาษีแทนนิติบุคคลต่างประเทศ อีกทั้งยังมีภาระต้องยื่นแบบนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 ทวิ การจ่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยอีกด้วย แม้ว่าบริษัท จะเพียงแต่รับค่านายหน้าจากการขายสินค้าหรือบริการ โดยไม่ได้มีส่วนในการรับ จ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการนั้นแต่อย่างใด กรณีนี้ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2548 วินิจฉัยเอาไว้แล้ว


การหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับการจ่ายค่านายหน้าให้กับนิติบุคคลนั้นมีอยู่ 2 กรณีคือ
มาตรา 3 เตรส ซึ่งคำสั่งทป.4/2528 ข้อ 3/1 กำหนดให้ผู้จ่ายที่เป็นนิติบุคคลหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราดังนี้
1. ผู้รับเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย หักในอัตรา 3%
2. ผู้รับเป็นมูลนิธิหรือสมาคม (แต่ไม่ใช่มูลนิธิหรือสมาคมที่เข้าข่ายเป็นองค์การสาธารณกุศลตามประกาศรัฐมนตรีฯ) หักในอัตรา 10%

มาตรา 70 ผู้จ่ายไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล จ่ายค่านายหน้าให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย หักในอัตรา 15% ยกเว้นการจ่ายค่านายหน้าให้กับนิติบุคคลต่างประเทศที่เป็นประเทศที่มี อนุสัญญาภาษีซ้อนกับไทย ค่านายหน้าที่ได้รับจะเข้าข่ายเป็นกำไรจากธุรกิจ หากนิติบุคคลต่างประเทศนั้นไม่มีสถานประกอบการถาวรในไทย ประเทศไทยในฐานะประเทศแหล่งเงินได้จะไม่มีสิทธิจัดเก็บภาษีเงินได้กับ นิติบุคคลต่างประเทศนั้นได้ การจ่ายเงินค่านายหน้าดังกล่าวจึงไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

การนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
1. ถ้าเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส จะนำส่งด้วยแบบ ภงด.53
2. ถ้าเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 จะนำส่งด้วยแบบ ภงด.54

ที่เห็นจะเป็นปัญหากันบ่อย ๆ ก็คือนักบัญชีบ้านเรามักยึดเลข 3 คือเลขประจำชีวิต อะไรที่ไม่แน่ใจ ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 3% ไว้ก่อน การจ่ายค่านายหน้าก็เลยหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตรา 3% ทุกกรณีโดยไม่ได้ดูว่าจ่ายให้ให้ใคร ปัญหาจึงอยู่ที่ถ้าหักน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ก็อาจถูกสรรพากรให้ไปยื่นภาษีเพิ่มเติมพร้อมกับเงินเพิ่ม เช่น ถ้าไปจ่ายค่านายหน้าให้สมาคมฯ ซึ่งคำสั่งทป.4/2528 ข้อ 3/1 ให้หักในอัตรา 10% แต่ไปหักในอัตรา 3% เท่ากับนำส่งภาษีขาดไป 7% หรือกรณีจ่ายค่านายหน้าให้บุคคลธรรมดาที่เข้าข่ายเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (2) ถ้าจ่ายค่านายหน้าไปเพียง 100,000 ไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ไปหักไว้ในอัตรา 3% คือ 3,000 ถือว่าหักโดยไม่มีหน้าที่ต้องหัก จะไม่มีผลต้องรับผิดต่อสรรพากร แต่กลายเป็นว่าผู้รับค่านายหน้าต้องถูกหักภาษีไปทั้งที่ไม่จำเป็นต้องถูกหัก แต่ถ้าข้อเท็จจริงเปลี่ยนเป็นว่าจ่ายค่านายหน้าไป 300,000 ซึ่งบริษัทควรจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จำนวน 11,000 (เงินได้ 300,000 หักค่าใช้จ่าย 60,000 และลดหย่อนส่วนตัว 30,000 คงเหลือเงินได้สุทธิ 210,000 เงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรกยกเว้นภาษี ที่เหลือ 110,000 x 10%) ถ้าไปหักไว้ในอัตรา 3% คือ 300,000 x 3% = 9,000 เท่ากับนำส่งภาษีต่ำไป 2,000 บาท สรรพากรอาจให้ผู้จ่ายเงินต้องนำส่งภาษีส่วนที่นำส่งขาดไปพร้อมเงินเพิ่มได้

การจ่ายค่านายหน้าไปต่างประเทศกับการยื่นแบบภพ.36
การยื่นแบบภพ.36 จะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ
1. กิจการจ่ายเงินให้กับผู้ประกอบการในต่างประเทศ และผู้ประกอบการต่างประเทศนั้นเข้ามาให้บริการในไทยเป็นการชั่วคราว โดยไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ดูมาตรา 83/6 (1)) เช่น บริษัท ก. จำกัด จ้างบริษัทในต่างประเทศเข้ามาตรวจสอบขั้นตอนการทำงานของห้องแล็บของบริษัท ซึ่งอยู่ในประเทศไทย โดยบริษัทในต่างประเทศส่งพนักงานเข้ามาดำเนินการในไทย ถือว่าผู้ประกอบการในต่างประเทศเข้ามาให้บริการในไทย บริษัท ฯ จ่ายค่าซ่อมเครื่องจักรดังกล่าว มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.36) (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811/610 ลว. 25 มกราคม 2544 )
2. กิจการจ่ายเงินให้กับผู้ประกอบการในต่างประเทศ และผู้ประกอบการนั้นได้ให้บริการในต่างประเทศแต่ได้มีการใช้บริการนั้นใน ประเทศไทย (ดูมาตรา 83/6 (2)) เช่น บริษัท ก. จำกัดส่งเครื่องจักรไปซ่อมในต่างประเทศ เมื่อบริษัทในต่างประเทศซ่อมเสร็จเรียบร้อยแล้วได้ส่งกลับมาให้บริษัทฯ ใช้ในประเทศไทย ถือเป็นการให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในไทย บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.36) (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.104/2544 ข้อ 6 ตัวอย่าง (1))


การจ่ายค่านายหน้าไปต่างประเทศต้องยื่น ภงด.54 และภพ.36 ทุกครั้งหรือไม่ ?
การ จะยื่นแบบ ภงด.54 หรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ถ้าเป็นการจ่ายค่านายหน้าให้กับนิติบุคคลต่างประเทศที่ไม่มีอนุสัญญาภาษี ซ้อนกับไทย ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 ก็ต้องมีการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยแบบ ภงด.54 แต่ถ้าเป็นการจ่ายค่านายหน้าให้กับนิติบุคคลต่างประเทศที่มีอนุสัญญาภาษี ซ้อนกับไทย และนิติบุคคลนั้นไม่มีสถานประกอบการถาวร ค่านายหน้าที่ได้รับเข้าข่ายเป็นกำไรจากธุรกิจ จึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ต้องยื่นแบบ ภงด.54
สำหรับการยื่น ภพ.36 ก็ต้องดูว่าเข้าข่ายเป็นการให้บริการในต่างประเทศและมีการใช้บริการนั้นใน ประเทศหรือไม่ ถ้าเข้าข่ายก็ต้องยื่นแบบ ภพ.36 ถ้าไม่เข้าข่ายก็ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภพ.36
ถ้าจะสรุปการยื่นแบบ ภงด.54 และ ภพ.36 สำหรับการจ่ายค่านายหน้าไปต่างประเทศ จะแบ่งออกได้เป็น 4 กรณี คือ
1. กรณีต้องยื่นทั้งแบบ ภงด.54 และ ภพ.36 จะเป็นกรณีจ่ายค่านายหน้าให้กับนิติบุคคลต่างประเทศซึ่งไม่มีอนุสัญญาภาษี ซ้อนกับไทย และค่านายหน้านั้นเข้าข่ายเป็นการให้บริการในต่างประเทศ แต่ได้มีการใช้บริการในประเทศ เช่น บริษัทจ่ายค่านายหน้าให้นิติบุคคลในประเทศพม่า เนื่องจากบริษัทในประเทศพม่าติดต่อแนะนำให้บริษัทในประเทศไทยขายสินค้าให้ กับลูกค้าภายในประเทศไทย เวลาจ่ายเงินค่านายหน้าต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 และต้องนำส่งภาษมูลค่าเพิ่ม (ภพ.36) ด้วย
2. กรณีต้องยื่นแบบ ภงด.54 แต่ไม่ต้องยื่นแบบ ภพ.36 จะเป็นกรณีจ่ายค่านายหน้าให้กับนิติบุคคลต่างประเทศซึ่งไม่มีอนุสัญญาภาษี ซ้อนกับไทย และค่านายหน้านั้นจัดเป็นการให้บริการที่ทำในต่างประเทศ และไม่ได้มีการใช้บริการในประเทศ เช่น บริษัท จ้างบริษัทในประเทศไต้หวัน ให้เป็นนายหน้าติดต่อหาลูกค้าในประเทศไต้หวัน เวลาจ่ายเงินค่านายหน้าต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ด้วยแบบ ภงด.54 แต่ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.36)
3. กรณีต้องไม่ยื่น ภงด.54 แต่ต้องยื่นภพ.36 เป็นกรณีบริษัทจ่ายค่านายหน้าให้นิติบุคคลต่างประเทศซึ่งมีอนุสัญญาภาษีซ้อน กับไทย และนิติบุคคลต่างประเทศนั้นไม่มีสถานประกอบการถาวรในไทยด้วย แต่ค่านายหน้านั้นเข้าข่ายเป็นการให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้ บริการนั้นในประเทศ เช่น บริษัทฯ ได้รับการแนะนำจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งไม่มีสถานประกอบการหรือตัวแทนในประเทศไทย โดยทางโทรศัพท์หรือโทรสาร ให้ติดต่อขายสินค้าให้กับลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทย การจ่ายเงินค่านายหน้าดังกล่าวไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 (ภพ.36) (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811 (กม)/พ.2168 ลว.25 ธันวาคม 2541 http://www.rd.go.th/publish/23304.0.html)
4. กรณีไม่ต้องยื่นทั้ง ภงด.54 และภพ.36 จะเป็นกรณีจ่ายค่านายหน้าให้นิติบุคคลต่างประเทศซึ่งมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับ ไทย และนิติบุคคลต่างประเทศนั้นไม่มีสถานประกอบการถาวรในไทยด้วย และค่านายหน้าที่นิติบุคคลต่างประเทศได้รับไม่เข้าข่ายเป็นการให้บริการใน ต่างประเทศและใช้บริการนั้นในประเทศ เช่น บริษัทเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ได้จ่ายค่านายหน้าเพื่อเป็นค่าบริการในการจัดหาสินค้าและค่าตรวจสอบ (Q.C.) ให้กับบริษัทในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย การจ่ายเงินค่านายหน้าดังกล่าวไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและไม่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0706/1552 ลว.23 กุมภาพันธ์ 2549 http://www.rd.go.th/publish/30945.0.html


แบบ ภ.พ.36 ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 ประเภท คือ
ส่วนที่ 1 ได้แก่ ผู้จ่ายเงินซึ่งจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้ ผู้ประกอบการที่เข้ามาประกอบกิจการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวฯ หรือให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ หรือให้แก่ผู้ประกอบการอื่นที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
ส่วนที่ 2 ได้แก่ ผู้รับรับโอนสินค้า หรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0
ส่วนที่ 3 ได้แก่ ผู้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือส่วนราชการขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกยึดมาตามกฏหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด