บทความบัญชีและภาษี | รับทำเงินเดือน - Part 2 บทความบัญชีและภาษี | รับทำเงินเดือน - Part 2

เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา หักลดหย่อนได้ 2 เท่า

มาตรการทางภาษีที่เรียกว่า “เงินบริจาคหักลดหย่อนได้ 2 เท่า” ซึ่งการบริจาค ประเภทนี้ มีชื่อเรียกว่า “เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา”

บริจาคอย่างไรจึงจะได้สิทธิลดหย่อน 2 เท่า

1.กรณีบุคคลธรรมดา ต้องบริจาคเป็น “เงินสด” เท่านั้น

2.กรณีบริจาคในนามบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคล สามารถบริจาคได้ทั้ง “เงินสดและทรัพย์สิน” โดยทรัพย์สินที่บริจาคให้ต้องเป็นทรัพย์สิน “ใหม่” เท่านั้น

3.ต้องบริจาคให้แก่โรงเรียนหรือสถานศึกษาตามรายชื่อที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบเท่านั้น สามารถตรวจสอบสถาบันการศึกษาที่กรมสรรพากรรับรองได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/28654.0.html 

4.มีหลักฐานจากโรงเรียนหรือสถานศึกษารับรองว่าคุณได้บริจาคจริง

วิธีการใช้สิทธิหักลดหย่อน 2 เท่าทำอย่างไร

1.กรณีบุคคลธรรมดา เมื่อคุณบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา 100 บาท คุณจะสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ 200 บาท แต่..เงินสนับสนุนการศึกษานี้เพดานการหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักลดหย่อนตามรายการปกติ และยังคงสามารถหักลดหย่อนเงินบริจาคทั่วไป (วัด สาธารณกุศล) ได้เหมือนเดิม

2.กรณีเป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือนิติบุคคล เมื่อบริจาคเงินหรือทรัพย์สินในนามนิติบุคคล สามารถนำเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ 2 เท่าของเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่บริจาค แต่..มีเพดานเช่นเดียวกันคือ หักได้ไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลหรือสาธารณประโยชน์เพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ที่หักได้ตามปกติอยู่แล้ว

ไม่มีใบกำกับภาษี ขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่

ใบกำกับภาษีเป็นเอกสารสำคัญอย่างยิ่งในการใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอคืนภาษีซื้อ (ในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย) แต่มีปัญหาว่า ถ้าผู้ประกอบการไม่มีใบกำกับภาษีซื้อมาลง จะมีวิธีใดบ้างที่จะนำใบกำกับภาษีมาขอคืนหรือขอเครดิตภาษีได้ ในกรณีนี้ผู้ประกอบการต้องย้อนกลับไปหาสาเหตุก่อนว่า ทำไมจึงไม่มีใบกำกับภาษีซื้อ แล้วจึงค่อยหาทางแก้ไขเพื่อที่จะให้ได้เอกสารที่จะนำมาแทนใบกำกับภาษีซื้อได้ ทั้งนี้ใบกำกับภาษีซื้อที่จะนำมาหักออกจากภาษีขายได้ต้องเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

1.กรณีใบกำกับภาษีซื้อสูญหาย

วิธีการแก้ไข ให้จัดหาใบแทนใบกำกับภาษีเพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการขอคือหรือขอเครดิตภาษี ซึ่งในเรื่องเกี่ยวกับการขอใบแทนใบกำกับภาษี มีหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 36) ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ให้การขอใบแทนใบ กำกับภาษีจากผู้ออกใบกำกับภาษี ทำได้ดังนี้

(1) ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีถ่ายสำเนาใบกำกับภาษี

(2) ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีบันทึกรายการ ดังต่อไปนี้ ลงในภาพถ่ายหรือด้านหลังภาพถ่าย

  • (ก) ใบแทนออกให้ครั้งที่
  • (ข) วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน
  • (ค) คำอธิบายย่อๆ ถึงสาเหตุที่ออกใบแทน
  • (ง) ลงลายมือขื่อของผู้ออกใบแทน ทั้งนี้ ให้ผู้ออกใบแทนใบกำกับภาษีบันทึก รายการตาม (ก) – (ง) ลงในหลังสำเนาใบกำกับ ภาษีที่อยู่กับตนเอง และไปบันทึกรายการออกใบ แทนในรายงานภาษีขายด้วย

2. กรณีไม่มีใบกำกับภาษีซื้อเพราะผู้ออกใบกำกับภาษี ระบุชื่อผิดไป

กรณีนี้เกิดขึ้นจากการที่ผู้ออกใบกำกับภาษีระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบกำกับภาษี ผิดไปโดยระบุเป็นชื่อบุคคลอื่น ทำให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่มีใบกำกับภาษีซื้อที่เป็นชื่อของตนเอง มาแสดง

วิธีการแก้ไข ผู้ที่ได้รับใบกำกับภาษีดังกล่าว จะต้องไปร้องขอต่อผู้ออกใบกำกับภาษีให้ยกเลิก ใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าว และให้ออกใบกำกับภาษี ฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่ยกเลิกนั้น ระบุรายการของใบกำกับภาษี และชื่อของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการให้ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งวิธีการดังกล่าวได้กำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/25421 ข้อ 25 ดังนี้

(1) ผู้ออกใบกำกับภาษีดำเนินการเรืยกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิม และนำมาประทับตราว่า "ยกเลิก" หรือ ขีดฆ่า แล้วเก็บรวมไว้กับสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิม

(2) จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่ แต่จะต้องลงวัน เดือน ปี ให้ตรงกับวัน เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิม และ

(3) หมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ว่า "เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทน ฉบับเดิม เล่มที่…. ,เลขที่…." และหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือน ภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ด้วย

มีปัญหาอยู่ว่า ก้าผู้ออกใบกำกับภาษีไม่ยอมยกเลิก ใบกำกับภาษีฉบับเดิมและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ผู้ขื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะต้องทำอย่างไร?

ตามกฎหมายแล้วยังไม่มีการกำหนดบังคับให้ผู้ออกใบกำกับภาษีต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจึงควรร้องขอให้ผู้ออกใบกำกับภาษีดำเนินการยกเลิก และออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ โดยอาจใช้เหตุผลทางความสัมพันธ์ทางธุรกิจ เพราะถ้าไม่มีใบกำกับภาษีฉบับใหม่ที่ระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการแล้ว ก็ไม่มีทางที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาใช้ได้

3. กรณีผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่ออกใบกำกับภาษีให้

ทำให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่มีใบกำกับภาษี ผู้ซื้อสามารถแจ้งให้ผู้ขายสินค้าออกใบกำกับภาษีตามกฎหมาย เพราะการไม่ออกใบกำกับภาษีมีความผิดตามกฎหมายทั้งทางอาญาและต้องรับผิด เสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม อีกด้วย

ที่มา..สรรพากรสาส์น

สำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ

ขอนำประเด็นสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติตามประกาศกรมสรรพากร

เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติที่กระทำกิจการในประเทศไทย ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2535 ซึ่งกรมสรรพากรได้ชี้แจงประเด็นภาระและหน้าที่ในการเสียภาษีอากรของสำนักงาน ภูมิภาค และผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในสำนักงานดังกล่าว มาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา คำว่า “สำนักงานภูมิภาค” หมายความว่าอย่างไร 
วิสัชนา คำว่า “สำนักงานภูมิภาค” หมายความว่า สำนักงานภูมิภาคที่บริษัทข้ามชาติตั้งขึ้นในประเทศอื่นนอกจากประเทศที่จดทะเบียนเป็นสำนักงานใหญ่ โดยไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปจัดตั้ง เพื่อทำหน้าที่ติดต่อประสานงานและกำกับการดำเนินงานของสาขาและหรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ โดยไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ ไม่มีอำนาจรับคำสั่งซื้อหรือเสนอขายหรือเจรจาทำธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคล ในประเทศที่เข้าไปตั้ง และใช้เงินค่าใช้จ่ายในสำนักงานภูมิภาคที่ได้รับจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น
ปุจฉา คำว่า “บริษัทในเครือ” หมายความว่าอย่างไร
วิสัชนา คำว่า “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความ สัมพันธ์กันในลักษณะตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ 
     1. ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้น ส่วนในนิติบุคคลหนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง
     2. ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง มีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีก นิติบุคคลหนึ่งที่มีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด
     3. นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด หรือ
     4. บุคคลเกินกว่ากึ่งจำนวนกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการใน นิติบุคคลหนึ่งเป็นกรรมการหรือเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการในอีก นิติบุคคลหนึ่ง
ปุจฉา กรณีสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยให้บริการต่างๆ แก่สำนักงานใหญ่ เพื่อทำหน้าที่ติดต่อประสานงานและกำกับการดำเนินงานของสาขาและหรือบริษัทใน เครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ โดยมิได้ให้บริการแก่ผู้อื่นเลยและสำนักงานภูมิภาคดังกล่าวได้รับเงินอุด หนุนจากสำนักงานใหญ่เฉพาะเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำ กิจการในประเทศไทยเท่านั้น สำนักงานภูมิภาคมีภาระภาษีทั้งกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างไร
วิสัชนา กรณีสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยให้บริการต่างๆ แก่สำนักงานใหญ่ เพื่อทำหน้าที่ติดต่อประสานงานและกำกับการดำเนินงานของสาขาและหรือบริษัทใน เครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ โดยมิได้ให้บริการแก่ผู้อื่นเลยและสำนักงานภูมิภาคดังกล่าวได้รับเงินอุด หนุนจากสำนักงานใหญ่เฉพาะเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำ กิจการในประเทศไทยเท่านั้น เงินได้ที่สำนักงานภูมิภาคดังกล่าวที่กระทำกิจการในประเทศได้รับจากสำนักงาน ใหญ่ไม่ถือเป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประการใด แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแม้ว่า สำนักงานภูมิภาคจะไม่มีรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลก็ตาม
ปุจฉา กรณีสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย ได้ให้บริการแก่ผู้อื่นหรือบริษัทในเครือ จะมีภาระภาษีอากรอย่างไร
วิสัชนา ตามกรณีดังกล่าว ไม่ว่าการให้บริการนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ถือว่าสำนักงานภูมิภาคมีหน้าที่ต้องนำรายได้ที่ได้รับจากการให้บริการทุก ประเภทมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร และกรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่มตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร สำนักงานภูมิภาคจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่หรือสำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ที่สำนักงานภูมิภาคที่ กระทำกิจการในประเทศไทยมีสถานประกอบการตั้งอยู่ ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการหรือภายใน 30 วันนับแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกิน 600,000 บาทต่อปีอย่างไรก็ตามหากการบริการของสำนักงานภูมิภาคดังกล่าวมีมูลค่าของฐาน ภาษีไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร

(1)

ขอนำประเด็นสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่า เพิ่ม สำหรับสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติที่กระทำ กิจการในประเทศไทย ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2535 มาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

ปุจฉา กรณีสำนักงานใหญ่ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีถิ่นอยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทยจะมีผลทางภาษีอากรอย่างไร
วิสัชนา การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศเฉพาะให้แก่สำนักงานใหญ่ ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย ถ้าสำนักงานใหญ่ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีถิ่นอยู่ใน ประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทย ก็ไม่ถือว่าสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยเป็นสถานประกอบการถาวร ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศใน ประเทศไทย สำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ โดยนัยความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (ข้อ 4)

ปุจฉา การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของ สำนักงานใหญ่ สาขา หรือบริษัทในเครือของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีผลทางภาษีอากรอย่างไร
วิสัชนา การประกอบกิจการจัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของ สำนักงานใหญ่ สาขา หรือบริษัทในเครือของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย มีผลทางภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
1. กรณีสำนักงานใหญ่ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีถิ่นอยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทย ก็ไม่ถือว่าสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยเป็นสถานประกอบการถาวร ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศใน ประเทศไทย สำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (อนุโลมตามข้อ 4)
2. กรณีสำนักงานใหญ่ของสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยไม่มีถิ่นอยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทย เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 70 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือว่าการส่งสินค้าออกไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งออกไปเป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวม คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งออกไปนั้น (ข้อ 3)
ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่สินค้าส่งออกไปนั้น
(1) เป็นของที่ส่งไปเป็นตัวอย่างหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ
(2) เป็นของผ่านแดน
(3) เป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วส่งกลับออกไปให้ผู้ส่งเข้ามาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่สินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
(4) เป็นของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วส่งกลับคืนเข้ามาให้ผู้ส่งในราชอาณาจักรภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ส่ง สินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร

ปุจฉา กรณีคนต่างด้าวที่ทำงานในสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยโดยได้ รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ว่าเงินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทย คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร

วิสัชนา กรณีคนต่างด้าวที่ทำงานในสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทยโดยได้ รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ว่าเงินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทย คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ตามระยะเวลาที่ทำงานในประเทศไทย และสำนักงานภูมิภาคที่กระทำกิจการในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้ตามนัยมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร (ข้อ 5)

(2)

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์