กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | รับทำเงินเดือน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | รับทำเงินเดือน

เพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษี RMF-LTF เป็น 700,000

กฎกระทรวง

ฉบับที่ 267 (พ.ศ. 2551)

ออกตามความในประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

—————————–

อาศัย อำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 และมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของ ( 55 ) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

“ในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้มีการซื้อหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้เงินได้ตามวรรคหนึ่งเท่ากับส่วนที่ไม่เกินเจ็ดแสนบาท แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน และในกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวได้จ่ายเงินสะสมตามวรรคสองด้วย เมื่อรวมเงินได้กับเงินสะสมแล้วต้องไม่เกินเจ็ดแสนบาท ทั้งนี้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และให้นำความในวรรคสามมาใช้บังคับด้วย”

ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของ ( 66 ) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

“ในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้มีการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้เงินได้ตามวรรคหนึ่งเท่ากับส่วนที่ไม่เกินเจ็ดแสนบาท แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นและการถือหน่วยลงทุนดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และให้นำความในวรรคสามมาใช้บังคับด้วย”

ให้ไว้ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สุชาติ ธาดาดำรงเวช
(นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

——————————————————————————————————————–

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยง ชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนการลงทุนในตลาดทุนภายในประเทศอันจะทำให้เศรษฐกิจขยาย ตัวเพิ่มขึ้น และป้องกันไม่ให้ตลาดทุนภายในประเทศได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สมควรเพิ่มวงเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้น ระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กรณีที่ได้มีการลงทุนใน กองทุนทั้งสองดังกล่าวในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

(ร.จ.ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 125 ตอนที่ 130 ก วันที่ 16 ธันวาคม 2551)

ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ตอน..เมื่อถึงเวลายื่นภาษีประจำปี (2 มี.ค. 50)

สวัสดีค่ะ.. ผู้ที่ติดตามอ่านสรรหามาเล่าทุกท่าน ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีแล้วนะ คะ  เชื่อว่าทุกท่านคงจะได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายกันครบถ้วนแล้วใช่ไหมคะ และนั่นหมายความว่าเราพร้อมที่จะยื่นแบบชำระภาษีกันได้แล้วล่ะค่ะ สรรหามาเล่าฉบับนี้ขอนำสาระเกี่ยวกับภาระภาษีของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาเล่าให้ฟังแบบทุกแง่ทุกมุมเลยค่ะ

สำหรับท่านที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ในกองทุน  ท่านสามารถนำเงินที่จ่ายสะสมเข้ากองทุนในปีนั้นมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษี  แต่หากสมาชิกมีการลงทุนใน  RMF ด้วย เงินที่ได้รับยกเว้นทั้งสองกองทุนรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทค่ะ

สำหรับท่านที่สิ้นสมาชิกภาพและได้รับเงินจากกองทุน ลองพิจารณาดูว่าท่านตรงกับกรณีใดใน 3 กรณีดังนี้

กรณีแรก ถ้าท่านลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน  ให้ท่านนำเงินที่ได้รับจากกองทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบไปรวมคำนวณกับเงินได้ทุกประเภทเพื่อชำระภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาประจำปี โดยเงินได้สุทธิจำนวน 150,000 บาทแรกได้รับยกเว้นภาษี

กรณีที่สอง ถ้าท่านลาออกจากงาน ให้ดูว่าท่านมีระยะเวลาทำงานกี่ปี หากท่านมีระยะเวลาทำงานน้อยกว่า 5 ปี ท่านมีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับกรณีแรก  หรือถ้าท่านมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ท่าน สามารถเลือกเสียภาษีโดยนำเงินที่ได้รับจากกองทุนไปรวมคำนวณกับเงินได้ทุก ประเภทเพื่อชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีเช่นเดียวกับกรณีแรก หรือจะไม่นำไปรวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่นก็ได้ ซึ่งหากท่านไม่นำไปรวมคำนวณ ให้นำเงินที่ได้รับจากกองทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบไปคำนวณภาษี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากับ 7,000 บาท คูณจำนวนปีที่ทำงาน เหลือเท่าใดหักได้อีกร้อยละ 50 แล้วคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีข้อสังเกตว่าการคำนวณภาษีในกรณีนี้จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ สุทธิจำนวน 150,000 บาทแรก และอย่าลืมกรอกใบแนบ ภงด. 91 หรือ 90 ตามแบบของกรมสรรพากรด้วย ท่านที่ไม่คุ้นเคยกับใบแนบ ลองเข้าไปดูได้ตาม ลิงค์ นี้ได้ค่ะ การกรอกใบแนบก็เพื่อให้สรรพากรทราบว่าท่านเลือกใช้สิทธิแยกคำนวณภาษีค่ะ

กรณีที่สาม ถ้า ท่านเกษียณอายุ  ให้ดูว่าท่านเป็นสมาชิกกองทุนกี่ปี หากเป็นสมาชิกกองทุนน้อยกว่า 5 ปี  เงินที่ท่านได้รับจากกองทุนไม่เข้าข่ายได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จึงต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับกรณีแรก หรือถ้าท่านเป็นสมาชิกกองทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ให้ดูเพิ่มเติมว่าท่านมีอายุขณะเกษียณตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไปหรือไม่ เพราะ เงินที่ได้รับจากกองทุนจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวนหากท่านเป็นสมาชิกกองทุน ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์

สำหรับท่านที่อยากทราบจำนวนภาษีที่ต้องชำระ  ลองเข้าโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีที่อยู่บนเว็บไซต์ thaipvd.com ดูก็ได้ค่ะ คลิก

สำหรับท่านที่ลาออกจากงานโดยขอคงเงินไว้ในกองทุนเดิมเพื่อรอโอนย้ายไปเข้ากองทุนของนายจ้างรายใหม่ กรณีนี้ท่านไม่มีเงินได้เกิดขึ้น  จึงยังไม่มีหน้าที่ยื่นแบบชำระภาษีจากเงินจำนวนดังกล่าว อย่างไรก็ดี หากครบ 1 ปีแล้วยังไม่มาแจ้งว่าให้โอนเงินดังกล่าวไปเข้ากองทุนใหม่  ท่านต้องรับเงินออกจากกองทุนและมีหน้าที่ชำระภาษีจากเงินจำนวนดังกล่าว ส่วนวิธีคำนวณจะเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาว่าท่านมีอายุงานกี่ปี โดยพิจารณาแบบเดียวกันกับกรณีที่สอง

ถึงตอนนี้ท่านคงพร้อมที่จะยื่นแบบชำระภาษีกันแล้วใช่ไหมคะ   สรรหามาเล่าจะเสนอสาระเรื่องภาษีของสมาชิกกองทุนที่เกษียณแล้วแต่ได้รับการว่าจ้างให้ทำงานต่อมาเล่าให้ฟังในฉบับต่อๆไป  ติดตามอ่านให้ได้นะคะ.. แล้วพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ

ผมเองมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ และก็เคยสอบถามถึงการเสียภาษีไปทาง TISCO (ที่ทำงานเก่าใช้ของที่นี่) ซึ่งก็เป็นไปตามบทความ เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินที่หักจากการทำงานบริษัท ถ้าท่านลาออกจากงาน ก็ต้องลาออกจากกองทุนโดยปริยาย แต่ทั้งนี้ท่านสามารถโอนย้ายกองทุนได้ภายใน 1 ปี

Kiatchai Accounting & Payroll รับทำเงินเดือน รับทำบัญชี ในราคาไม่แพง

หมายเหตุ ในส่วนที่เป็นสีแดงคือส่วนที่ผมแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่ปรับปรุงในปี 2551

ที่มาบทความ..http://www.thaipvd.com/thaipvd_v3/sunha/article05-50.shtml

ตัวอย่างการการคำนวณภาษี

กรณีที่หนึ่ง ลาออกจากงานและมีอายุงานน้อยกว่า 5 ปี
กรณีนี้จะไม่ได้รับการยกเว้น ต้องเสียภาษีเงินได้ตามปกติ โดยนำ ส่วนของเงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ของ เงินสะสม + ผลประโยชน์ของเงินสมทบ มารวมเป็นเงินได้ เพื่อเสียภาษี
ตัวอย่างเช่น : สมมติว่ามีสมาชิกลาออกจากกองทุน หลังจากทำงานมาแค่ 4 ปี และได้รับเงินจากกองทุน 150,000 บาท โดยเป็นเงินสะสม 40,000 บาท ดังนั้น เงินได้ที่ต้องนำคำนวณเพื่อเสียภาษี จะเท่ากับ 150,000 – 40,000 = 110,000 บาท

กรณีที่สอง ลาออกจากงานแต่มีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
เสียภาษีเงินได้โดยนำส่วนเงินสมทบของนายจ้าง+ผลประโยชน์ จากเงินสะสม + ผลประโยชน์จากเงินสมทบ มาคำนวณเพื่อ เสียภาษี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ปีละ 7,000 บาท เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายได้อีกครึ่งหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น : สมมติว่ามีสมาชิกลาออกจากกองทุน หลังจาก ที่ทำงานมาแล้ว 6 ปี และได้รับเงินจากกองทุน 250,000 บาท โดยเป็นส่วนของเงินสะสม 50,000 บาท ดังนั้น
เงินได้ที่นำมาคำนวณภาษีได้                                                        200,000
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 * 6 ปี)                                            (42,000)
คงเหลือ 158,000 หัก ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 (158,000/2)               (79,000)
คงเหลือเป็นเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี                                            79,000

พรบ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2550 มีอะไรเพิ่มเติมบ้าง

พ.ร.บ. ฉบับใหม่ สมาชิกได้ประโยชน์อะไร นับตั้งแต่ประเทศไทยมี พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 หลังจากนั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม 2 ครั้ง คือ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นฉบับใหม่ล่าสุด มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา โดยสมาชิกจะได้รับประโยชน์ดีๆ เพิ่มขึ้น 5 ประการ ดังนี้

พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ. ศ. 2530

1) ออกจากงาน – คงเงินในกองทุนได้รับผลตอบแทนต่อเนื่อง
เมื่อก่อนถ้าเราออกจากงาน แต่ยังไม่สามารถโอนเงินกองทุนไปยังบริษัทนายจ้างใหม่ได้ เราสามารถขอ “คงเงิน” ของเราไว้ในกองทุนเดิมได้ไม่เกิน 1 ปี แต่เราจะถูกตัดออกจากการเป็นสมาชิกกองทุน และเงินที่คงไว้จะแช่อยู่เฉยๆ ไม่มีสิทธิได้รับผลตอบแทนของกองทุน ดังนั้น ระหว่างที่เราคงเงิน ไม่ว่ากองทุนจะกำไร หรือขาดทุน เงินเราก็จะนิ่งอยู่เท่าเดิม แต่ตาม พ.ร.บ. ใหม่ ถ้าเราขอคงเงินไว้ในกองทุน ดังนั้น เงินของเราที่คงไว้จะยังได้รับผลตอบแทนต่อเนื่อง นั่นหมายความว่าไม่ว่ากองทุนจะกำไร หรือขาดทุน เราก็จะมีส่วนได้เสียเหมือนสมาชิกคนอื่นที่อยู่ในกองทุน

อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่เราคงเงิน เราไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัทนายจ้างเดิมแล้ว ทั้งเราและนายจ้างจึงไม่ต้องนำส่งเงินสะสม-สมทบเข้ากองทุนอีก นอกจากนี้ ช่วงเวลาที่คงเงิน จะไม่มี ผลต่อการนับอายุงาน หรืออายุสมาชิก เพื่อยืดสิทธิประโยชน์ในเงินส่วนของนายจ้าง หรือเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพราะทุกอย่างสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่เราออกจากงานแล้ว โดยกฎหมายกำหนดให้บริษัทจัดการต้องเปิดระยะเวลาคงเงินของสมาชิกได้ไม่น้อยกว่า 90 วัน โดยสมาชิกสามารถแจ้งระยะเวลาที่จะคงเงินในกองทุนได้ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับกองทุน ทั้งนี้ทั้งนั้น จนถึงวันนี้ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องภาษี ว่าหากในที่สุดไม่ได้โอนกองทุนต่อไปยังกองทุนอื่น ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่คงเงินต้องเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินกองทุนที่มีสิทธิได้รับในวันสิ้นสมาชิกภาพหรือไม่ อย่างไร คำถามนี้ ยังต้องรอคำตอบเรื่องภาษีจากกรมสรรพากรค่ะ

2) เกษียณอายุ – รับเงินเป็นงวดได้
จากเดิมถ้าสิ้นสุดการเป็นสมาชิกกองทุน เราจะได้รับเงินกองทุนทั้งก้อนครั้งเดียวภายใน 30 วัน นับจากวันสิ้นสมาชิกภาพ แต่ต่อจากนี้ คนเกษียณอายุมีสิทธิเลือกว่าอยากรับเงินทั้งหมดครั้งเดียว หรือจะเลือกทยอยรับเป็นงวดๆ คล้ายกับข้าราชการที่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญ และมีสิทธิเลือกรับเงินบำเหน็จ หรือบำนาญ ก็ได้ ดังนั้นคนเกษียณอายุที่ไม่รู้จะเอาเงินไปลงทุนต่อที่ไหนดี ก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป ปล่อยให้เป็นหน้าที่ผู้จัดการกองทุนช่วยบริหารเงินให้ต่อ แล้วรอรับเงิน เป็นงวดๆ สบายกว่ากันเยอะเลย สำหรับระยะเวลาที่จะรับเงินจะนานเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบต่างๆ ของกองทุนที่ผู้จัดการกองทุนเสนอให้เลือกภายใต้กำหนดในข้อบังคับกองทุน โดยระหว่างที่รอรับเงินไม่ต้องนำส่งเงินสะสม-สมทบเข้ากองทุน เช่นเดียวกันกับกรณีคงเงินในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษี นั่นคือ ยังไม่มีคำตอบจากกรมสรรพากรว่าคนเกษียณอายุและขอรับเงินเป็น งวดจะยังต้องเสียภาษีหรือไม่

อย่างไร ดังนั้น ระหว่างที่ยังไม่มีคำตอบเรื่องภษี คนที่เกษียณอายุตามเงื่อนไข (อายุตัวไม่น้อยกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี) ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวนอยู่แล้ว ยังมีทางออกอื่น คือ รับเงินกองทุนออกไปทั้งหมดครั้งเดียว แล้วนำเงินไปลงทุนกองทุนรวม และทยอยขายกองทุนเป็นงวดๆ ซึ่งปัจจุบันยังได้รับการยกเว้นภาษีในเรื่องของ Capital Gain

3) Master Fund – ทางออกของคนอยากเลือกนโยบายการลงทุนเอง
ถึงแม้ที่ผ่านมาจะเปิดโอกาสให้สมาชิกเลือกนโยบายการลงทุนได้ด้วยตัวเอง (Employee’s Choice) แต่ 1 กองทุน มีได้เพียง 1 นโยบายการลงทุน ดังนั้น การมีหลายนโยบายการลงทุนให้สมาชิกเลือก นั่นหมายถึง การต้องจัดตั้งหลายกองทุน ซึ่งอาจไม่สะดวกต่อนายจ้างในการดำเนินการ เพราะต้องทำข้อบังคับกองทุนหลายชุด มีคณะกรรมการหลายชุด แต่ต่อไปนี้การจัดกองทุนในรูปแบบ Master Fund ซึ่งหนึ่งกองทุนสามารถมีได้หลายนโยบายการลงทุนซึ่งจะเป็น Employee’s Choice อย่างเต็มรูปแบบ และทำให้สมาชิกไม่เพียงแต่สามารถเลือกนโยบายได้ด้วยตนเอง แต่ยังจะสามารถจัดสรรสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเองได้โดยไม่สร้างความยุ่งยากให้กับนายจ้าง

รูปแบบกองทุน Master Fund “หนึ่งกองทุน มีหลายนโยบายการลงทุน” ให้สมาชิกเลือก

อย่างไรก็ดี การจัดทำ Employee’s Choice ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเดิม หรือ Master Fund ก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุด คือ สมาชิกต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการลงทุนที่ดีพอที่จะสามารถเลือกนโยบายการลงทุนได้ด้วยตนเองจริงๆ

4) เงื่อนไขการจ่ายเงิน – นายจ้างต้องเป็นธรรม
จริงอยู่ถึงแม้ว่าเงินกองทุนส่วนของนายจ้าง นายจ้างมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขว่าจะให้สมาชิกเท่าไร เมื่อไรซึ่งนายจ้างส่วนใหญ่ กำหนดเอาจำนวนปีที่ทำงาน หรือจำนวนปีที่เป็นสมาชิกกองทุน เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ แต่หากระยะเวลาที่กำหนดนั้นนานเกินไป ก็ดูจะไม่เป็นธรรมกับลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตาม พ.ร.บ. ใหม่ จึงกำหนดว่าการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินส่วนของนายจ้างต้องไม่ตัดสิทธิลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ดังนั้น ก.ล.ต. จึงมีแนวทางในการพิจารณารับจดทะเบียนกองทุนให้เฉพาะบริษัทที่กำหนดระยะเวลาที่สมาชิกจะได้รับเงินส่วนของนายจ้างเต็มจำนวน ไม่เกิน 10 ปี หากเกินกว่านี้ ก.ล.ต. จะไม่รับจดทะเบียน อย่างไรก็ตาม การกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินส่วนของนายจ้างที่ต้องไม่ตัดสิทธิลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ทั้งนี้ ยกเว้น กรณีลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน หรือกรณีเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายร้ายแรง ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันที่มีข้อกำหนด ห้ามพนักงานสูบบุหรี่ โดยกำหนดโทษร้ายแรงให้ออกจากงาน เนื่องจากอาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของบริษัทและเพื่อนพนักงาน

5) เงินกองทุน กบข. – โอนมาเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้
ข่าวดีสำหรับข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และเปลี่ยนใจลาออกจากราชการมาทำงานกับบริษัทเอกชน ตอนนี้คุณสามารถโอนเงินกองทุน กบข. ที่มีสิทธิได้รับทั้งจำนวนมาเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเอกชนได้ ทำให้สามารถออมเงินได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ต้องนำเงินที่ได้รับจาก กบข. ไปเสียภาษี เพราะเหตุออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ แต่สำหรับพนักงานเอกชนที่จะไปรับราชการ ตอนนี้ยังไม่สามารถโอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปเข้ากองทุน กบข. ได้ ต้องรอให้ กบข. แก้ไข พ.ร.บ. ก่อนค่ะ

ที่มา.. TISCO Asset Management Co.,Ltd.