พฤศจิกายน, 2011 | รับทำเงินเดือน พฤศจิกายน, 2011 | รับทำเงินเดือน

การนัดประชุมผู้ถือหุ้นและลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง

การแก้ไขกฏหมายหุ้นส่วนบริษัทฯ ซึ่งมีผลต่อทุกกิจการ (เริ่มใช้ 1 ก.ค. 2551)
สรุปสิ่งสำคัญที่บริษัทฯ ที่ต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (ต้องกระทำตั้งแต่ 1 ก.ค. 2551 )
การเรียกประชุมผู้ถือหุ้น (มาตรา 1175)
(ข้อสังเกตุ หากมีการเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้ต้องออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น/คณะกรรมการ)
   
บริษัท
1.การเปลี่ยนแปลงกรรมการหรืออำนาจกรรมการ
เช่น ลาออก ตาย ล้มละลาย ไร้ความสามารถ
ประชุมสามัญประจำปี
ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
2.การเพิ่มทุน (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
3.การแก้ไขชื่อและตราสำคัญบริษัทฯ (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
4.การแก้ไขวัตถุประสงค์บริษัทฯ (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
5.การแก้ไขที่ตั้งสำนักงานใหญ่เฉพาะข้ามจังหวัด (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
6.การแก้ไขข้อบังคับของบริษัท (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
7.การลดทุน (มติพิเศษ) มี 2 ขั้น ที่ต้องลงโฆษณา
ขั้นที่ 1 จะมีการประชุมมติพิเศษออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น

ขั้นที่ 2 หลังจากจดทะเบียนมติพิเศษแล้ว ทำหนังสือแจ้งเจ้าหนี้

ไม่ต้องลงก็ได้

โฆษณาหนังสือพิมพ์ 7 ครั้ง

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ(เฉพาะขั้นที่ 1)

ลงเมื่อไร ก็ได้ เพราะต้องนับวัน ถ้าปล่อยค้างไว้ 1 ปี มติยกเลิกตามกฏหมาย

8.แก้ไขเพิ่มดวงตราสำคัญ
(จะประชุมหรือไม่ก็ได้)
ไม่ต้องลงก็ได้ (ถ้าประชุม)ลงพิมพ์โฆษณา 1
คราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
ก่อน วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
9.การควบบริษัท (มติพิเศษ)
มี 2 ขั้น ที่ต้องลงโฆษณา
ขั้นที่ 1 ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น

ขั้นที่ 2 หลังจากจดทะเบียนพิเศษให้ควบบริษัท ทำหนังสือแจ้งเจ้าหนี้

ไม่ต้องลงก็ได้

โฆษณาหนังสือพิมพ์ 7 ครั้ง

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวใน
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ(เฉพาะขั้นที่ 1)

10.เลิกบริษัท
มี 2 ขั้น ที่ต้องลงโฆษณา
ขั้นที่ 1 ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น (ช่วงขอจดทะเบียนเลิก)

ขั้นที่ 2 เมื่อจดทะเบียนเลิกเสร็จ

ไม่ต้องลงก็ได้

โฆษณาหนังสือพิมพ์ 2 ครั้ง

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวใน
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน

ประกาศโฆษณาเลิกในหนังสือพิมพ์ท้องที่ อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 14 วันนับจากวันที่เลิก

11.การชำระบัญชี
ออกหนังสือนัดประชุมเพื่อยืนยันตัวผู้ชำระบัญชีและอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิก

ออกหนังสือนัดประชุมเพื่อพิจารณาการชำระบัญชี

ไม่ต้องลงก็ได้

ไม่ต้องลงก็ได้

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวใน
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวใน
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

การแจ้งการจ่ายเงินปันผล (มาตรา 1204) ไม่ต้องลงก็ได้ ในกรณีมีหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ
ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราวด้วย
ห้างหุ้นส่วน
1.การแปลงสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทฯ จำกัด (เพิ่มส่วนที่12 ในหมวด4 มาตรา 1246/1-1246/7)

2.เลิกห้างหุ้นส่วน
เมื่อจดทะเบียนเลิกเสร็จ

ไม่ต้องลงก็ได้

โฆษณาหนังสือพิมพ์ 2 ครั้ง

ต้องโฆษณาหนังสือพิมพ์ 1 คราว

ประกาศโฆษณาเลิกใน
หนังสือพิมพ์ท้องที่ อย่างน้อย 1 ครั้ง
ภายใน 14 วันนับจากวันที่เลิก

ตัวอย่าง บริษัท ก. ต้องการประชุมสามัญประจำปี วันที่ 29 เมษายน 2552 ดังนั้นบริษัทฯ ก จะต้องลงประกาศ ออกหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์ท้องที่ 1 คราว ในระหว่างวันที่ 4 – 21 เมษายน 2552 โดยจะลง ก่อน หรือหลัง จากช่วงนี้ไม่ได้ (ลงก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 24 วัน)

ตัวอย่าง บริษัท ก. มีมติพิเศษ การแก้ไขชื่อและตราสำคัญของบริษัท โดยจะประชุมผู้ถือหุ้น วันที่ 30 มกราคม 2552 ดังนั้น บริษัท ก. ต้องลงประกาศออกหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์ท้องที่ 1 คราว ในระหว่างวันที่ 18 – 31 ธันวาคม 2551 และ1 – 15 มกราคม 2552 (ลงก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน แต่ไม่เกิน 42 วัน) การนับวัน รวมหมด ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดราชการ หรือ วันเสาร์ อาทิตย์

สรุป พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
ที่ไม่โฆษณาหนังสือพิมพ์

1 การประชุมผู้ถือหุ้น,การแจ้งการจ่ายเงินปันผล,การเลิกห้างหุ้นส่วนและบริษัทฯ มาตรา ๑๗* บริษัทจำกัดใด ไม่ลงพิมพ์ โฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ ไม่ส่ง คำบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้น หรือไม่ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุม ปรึกษากันในคำบอกกล่าวตามมาตรา ๑๑๗๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
2 การลดทุน มาตรา ๒๒* บริษัทจำกัดใดไม่โฆษณา หรือไม่มีหนังสือบอกกล่าวความประสงค์จะลด ทุนตามมาตรา ๑๒๒๖ วรรคหนึ่ง แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือจัดการลดทุน โดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๒๖ วรรคสาม แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
3 การควบบริษัท มาตรา ๒๔* บริษัทจำกัดใด ไม่โฆษณา หรือไม่ส่งคำบอกกล่าวให้ทราบรายการที่ประ สงค์จะควบบริษัทเข้ากันตามมาตรา ๑๒๔๐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ หรือจัดการควบบริษัทเข้าด้วยกันโดย ฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๔๐ วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
4 การแปลสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทฯ จำกัด มาตรา ๓๑/๑ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดใดไม่โฆษณาหรือไม่มีหนังสือ บอกกล่าวความประสงค์จะแปรสภาพตาม มาตรา ๑๒๔๖/๑ (๒) หรือจัดการแปรสภาพ โดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๔๖/๑ วรรคสอง แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

นัดประชุมผู้ถือหุ้น ส่งคำบอกกล่าวได้ 2 วิธี

คำชี้แจง
เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด


ตามที่ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2551 ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทเกี่ยวกับการบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ ถือหุ้น ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 นั้น

รากฏว่า การบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดตามมาตรา 1175 ที่ปรับปรุงแก้ไขใหม่ ซึ่ง ได้กำหนดให้บริษัทจำกัดทุกบริษัทต้องส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนของ บริษัทและต้องนำคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นนั้นลงประกาศหนังสือ พิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวนั้นก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติต่อผู้ประกอบธุรกิจ 2 ประการดังนี้

ประการแรก การที่ให้บริษัทจำกัดต้องนำคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นลงโฆษณา หนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ทำให้เกิดปัญหาและเป็นภาระในทางปฏิบัติ กล่าวคือ บริษัทในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นบริษัทในครอบครัว การบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นจึงมักจะทำกันอย่างง่าย ๆ โดยการส่งจดหมายแจ้ง โทรศัพท์แจ้ง หรือส่งจดหมายนัดประชุมให้ถึงตัวผู้ถือหุ้นโดยตรง ดังนั้นการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องนำคำบอกกล่าวลงโฆษณาหนังสือพิมพ์จึงเป็นการ สร้างภาระเกินความจำเป็น อีกทั้งในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีที่บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งมี อยู่กว่า 200,000 รายต้องจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีพร้อมกัน หนังสือพิมพ์มีเนื้อที่ไม่เพียงพอรองรับการลงโฆษณาคำบอกกล่าวได้ ทำให้บริษัทเป็นจำนวนมากเกรงว่าการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้ลงโฆษณาคำ บอกกล่าวนัดเรียกประชุมผู้ถือหุ้นจะเสียไป และอาจต้องถูกดำเนินคดีอาญาที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายด้วย ซึ่งปัญหาดังกล่าวกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไม่ได้นิ่งนอนใจ ขณะนี้ได้ทำการยกร่างกฎหมายเพื่อปรับปรุงแก้ไขประเด็นที่เป็นปัญหาแล้วโดย หลักเกณฑ์การบอกกล่าวจัดประชุมผู้ถือหุ้นตามร่างที่จะปรับปรุงแก้ไขใหม่นั้น จะยึดหลักเกณฑ์เดียวกันกับการบอกกล่าวการจ่ายเงินปันผล กล่าวคือ คำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นให้ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้น ทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัท แต่การลงโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นนั้นจะลงโฆษณาก็แต่เฉพาะ กรณีที่บริษัทจำกัดใดมีการออกใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือเท่านั้น กรณีที่ออกใบหุ้นชนิดระบุผู้ถือหุ้นทั้งหมดไม่ต้องนำคำบอกกล่าวเรียกนัด ประชุมผู้ถือหุ้นนั้นลงโฆษณาหนังสือพิมพ์อีกต่อไป ขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านขั้นตอนของการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ เกี่ยวข้องแล้ว คาดว่าจะนำเสนอกระทรวงพิจาณาได้ภายในต้นเดือนกรกฎาคม ศกนี้

ประการที่สอง เรื่องเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุม ซึ่งมีปัญหาว่าจะดำเนินการอย่างไรจึงจะถือว่าได้ส่งคำบอกกล่าวเรียกนัด ประชุมให้กับผู้ถือหุ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เนื่องจากเรื่องการส่งคำบอกกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วน บริษัทได้กำหนดไว้ 2 แห่งคือ มาตรา 1175 (ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้เฉพาะเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัด ประชุมผู้ถือหุ้น) และมาตรา 1244 (ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปสำหรับการส่งคำบอกที่บริษัทต้องส่งให้แก่ผู้ถือ หุ้น) เรื่องนี้เพื่อให้มีความชัดเจน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงขอเรียนชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งคำ บอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นที่ถูกต้องดังนี้ การส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นอาจทำได้ 2 วิธี กล่าวคือ ส่งจดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นที่มีชื่อในทะเบียน บริษัท หรือส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นให้ถึงตัวผู้ถือหุ้นที่มีชื่อใน ทะเบียนโดยตรง แต่ในกรณีหลังหากผู้ถือหุ้นนั้นไม่ยอมรับ บริษัทก็จะต้องดำเนินการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นใหม่โดยส่ง จดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับ

จึงขอเรียนชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
3 กรกฎาคม 2552

ที่มา..กระทรวงพาณิชย์

ขยายเวลายื่นแบบภาษีเงินได้ทุกชนิดในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติอุทกภัย (น้ำท่วม)

เลขที่ข่าว ปชส. 6/2555
วันที่แถลงข่าว 3 พฤศจิกายน 2554
เรื่อง คำชี้แจงแนวปฏิบัติการเสียภาษีของผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย
…………………………………………………………………………….

จากสถานการณ์ภัยพิบัติอุทกภัยในปัจจุบันมีผลกระทบทำให้ผู้เสียภาษีทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมากและยังมีการขยายเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง กรมสรรพากรได้มีการนำเสนอขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้มีการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากรให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในท้องที่ที่เกิดอุทกภัย เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้เสียภาษี โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. กรณีการขยายระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากร

1.1 ปัจจุบันกระทรวงการคลังได้อนุมัติให้มีการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีอากรให้กับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในเขตท้องที่ต่าง ๆ ดังนี้
– สำนักงานสรรพากรภาค 4 ได้แก่
(1) สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (สส.) ทุกแห่ง ในท้องที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (สท.) พระนครศรีอยุธยา 1 สท. พระนครศรีอยุธยา 2 สท. ชัยนาท สท. สิงห์บุรี สท. อ่างทอง สท. อุทัยธานี สท. ลพบุรี สท. ปทุมธานี 1 สท. ปทุมธานี 2 สท. นนทบุรี
(2) ท้องที่ สส. เมืองสระบุรี สส. แก่งคอย สส. บ้านหมอ สส. เสาไห้ สส. ดอนพุด สส. หนองโดน สส. เฉลิมพระเกียรติ ใน สท. สระบุรี
– สำนักงานสรรพากรภาค 6 ได้แก่ ท้องที่ สส. บางเลน ใน สท. นครปฐม 1
– สำนักงานสรรพากรภาค 7 ได้แก่
(1) ท้องที่ สส. เมืองสุโขทัย สส. สวรรคโลก สส. ศรีสำโรง ใน สท. สุโขทัย
(2) ท้องที่ สส. เมืองนครสวรรค์ สส. ท่าตะโก สส. โกรกพระ สส. บรรพตพิสัย สส. ชุมแสง สส. ลาดยาว สส. พยุหะคีรี สส. ตาคลี สส. เก้าเลี้ยว ใน สท. นครสวรรค์
(3) ท้องที่ สส. เมืองพิษณุโลก สส. บางระกำ สส. บางกระทุ่ม สส. เนินมะปราง สส. วังทอง สส. พรหมพิราม ใน สท. พิษณุโลก
(4) ท้องที่ สส. ทุกแห่งใน สท. พิจิตร
– สำนักงานสรรพากรภาค 8 ได้แก่
(1) ท้องที่ สส. เมืองเชียงใหม่ 1 สส. เมืองเชียงใหม่ 2 สส. หางดง สส. สารภี สส. ฮอด สส. แม่แจ่ม ใน สท. เชียงใหม่ 1
(2) ท้องที่ สส. ฝาง สส. สันทราย ใน สท. เชียงใหม่ 2
– สำนักงานสรรพากรภาค 9 ได้แก่ ท้องที่ สส. วารินชำราบ ใน สท. อุบลราชธานี
– สำนักงานสรรพากรภาค 10 ได้แก่ ท้องที่ สส. ด่านซ้าย ใน สท. เลย
ทั้งนี้ได้ขยายระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีในแบบฯ ทุกประเภท ออกไปเป็นภายใน วันที่ 30 ธันวาคม 2554

1.2 สำหรับเขตพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในเขตกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดอื่นที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม กรมสรรพากรได้ดำเนินการเสนอกระทรวงการคลัง ให้มีการขยายระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีออกไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2554 เช่นกัน ยกเว้นเฉพาะการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะครบกำหนดยื่นแบบฯ ภายในเดือน สิงหาคม – ธันวาคม 2554 จะขยายเวลาการยื่นแบบฯ ได้จนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 ดังนี้
– สำนักงานสรรพากรภาค 1 ได้แก่
(1) ท้องที่ สส. จตุจักร ใน สท.กทม. 7
(2) ท้องที่ สส. บางเขน ใน สท.กทม. 8
(3) ท้องที่ สส. หลักสี่ ใน สท.กทม. 9
– สำนักงานสรรพากรภาค 2 ได้แก่ ท้องที่ สส. ทุกแห่ง ใน สท.กทม 21
– สำนักงานสรรพากรภาค 3 ได้แก่
(1) ท้องที่ สส. ทุกแห่ง ใน สท.กทม. 25
(2) ท้องที่ สส. ทุกแห่ง ใน สท.กทม. 26
(3) ท้องที่ สส. บางกอกน้อย ใน สท.กทม. 30
– สำนักงานสรรพากรภาค 6 ได้แก่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (สส.) ทุกแห่ง ในท้องที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (สท.) นครปฐม 1 สท. นครปฐม 2 สท. สมุทรสาคร 1
สท. สมุทรสาคร 2 และ สท. สุพรรณบุรี

1.3 กรณีผู้ประกอบการที่มีสาขาซึ่งได้รับผลกระทบในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย และมีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะรวมกัน จะให้ยื่นรายการเฉพาะในส่วนของ
สำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ไม่ได้รับผลกระทบไปก่อน สำหรับในส่วนของสาขาซึ่งอยู่ในเขตที่ได้รับผลกระทบ จะขยายเวลาให้ยื่นแบบเพิ่มเติมได้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2554 เช่นกัน ทั้งนี้ โดย
ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

1.4 กรณีรายผู้ประกอบการทั่วไปที่ได้รับอนุมัติให้เก็บเอกสารนอกสถานที่ และสถานที่ที่เก็บเอกสารอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จนไม่สามารถคำนวณภาษีได้ ให้ขยายระยะเวลาได้ตามนัยข้างต้น
1.5 สำหรับรายผู้ประกอบการใดที่ไม่เข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ทำคำร้องชี้แจงเหตุผลมาเป็นการเฉพาะรายโดยให้เสนอผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่และสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
ที่รับผิดชอบ เพื่อส่งให้กรมสรรพากรพิจารณาต่อไป
1.6 ทั้งนี้กรมสรรพากร ได้สั่งการให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สามารถรับแบบต่างท้องที่ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบด้วยแล้ว

2. กรณีหลักฐานเอกสารทางภาษีเสียหายหรือสูญหาย ขอให้ผู้เสียภาษีได้ดำเนินการแจ้งความไว้เป็นหลักฐานต่อทางราชการตำ รวจท้องที่ เกี่ยวกับรายละเอียดบัญชีเอกสารหลักฐานที่เสียหายหรือ
สูญหาย และหากมีปัญหาในทางปฏิบัติขอให้หารือกับสำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ที่รับผิดชอบ

3. กรณีทรัพย์สินเสียหายหรือสูญหาย หากผู้ประกอบการไม่มีการทำประกันไว้จะสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ทันที แต่หากมีการทำประกันภัย และได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนที่เกิดจากการชดเชยความเสียหาย เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือจากการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้

ที่มา..กรมสรรพากร