มกราคม, 2010 | รับทำเงินเดือน มกราคม, 2010 | รับทำเงินเดือน

ปัญหาและข้อบกพร่องที่พบในธุรกิจรับทำบัญชีในปริมาณสูง

สรุปปัญหาและข้อบกพร่องที่พบในการดำเนินการตามโครงการวิเคราะห์งบการเงินและตรวจสอบบัญชีธุรกิจที่ผู้ทำบัญชีรับทำบัญชีในปริมาณสูง

1. ปัญหาและข้อบกพร่องเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี เช่น บันทึกบัญชีโดยไม่มีเอกสารที่ต้องใช้ ประกอบการลงบัญชี หรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไม่สมบูรณ์ หรือมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการ ลงบัญชี แต่ไม่บันทึกบัญชี สรุปได้ ดังนี้
1.1 ไม่มีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี สำหรับรายการที่เกิดขึ้นระหว่างกิจการกับกรรมการ เช่น รายการรับ-จ่ายเงินยืมกรรมการ
1.2 เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไม่ครบถ้วน ไม่สมบูรณ์ ไม่น่าเชื่อถือ ขาดข้อมูลในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เช่น
(1) เอกสารภายในที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดทำขึ้นเพื่อใช้อ้างอิงการบันทึก รายการบัญชีและเป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน แต่ไม่มีลายมือชื่อผู้รับเงิน
(2) ใบเสร็จรับเงินไม่มีชื่อที่อยู่ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่มีเลขที่ หรือไม่มีรายละเอียดรายการว่าเป็นรายการรับเงินจากการขายสินค้าหรือบริการ
(3) ใบส่งของชั่วคราว ใบส่งของที่ไม่มีชื่อ/ที่อยู่ หรือไม่มีรายละเอียดสินค้าหรือบริการที่ใช้
1.3 บันทึกรายการในบัญชี โดยไม่มีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

2. ข้อบกพร่องที่เกี่ยวกับการบันทึกบัญชี
2.1 ข้อบกพร่องในการบันทึกบัญชีเงินสด และบัญชีรายวันขั้นต้นต่างๆ
(1) บันทึกบัญชีไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น
– บันทึกรายการซื้อสินค้าเป็นเงินสด โดยใช้ใบส่งของ / ใบกำกับภาษี เป็นหลักฐานประกอบการลงบัญชีโดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน
– บันทึกรายการซื้อสินค้าเป็นเงินสด แต่จากเอกสารที่ต้องใช้ประกอบ การลงบัญชี ซึ่งเป็นใบสำคัญจ่ายปรากฎว่า มีการจ่ายชำระเป็นเช็คผ่านธนาคาร
– แสดงรายการเงินสดในระหว่างปีเป็นยอดติดลบบางเดือน แต่แสดงยอดคงเหลือปลายงวด  โดยปรับกับบัญชีเงินกู้ยืมกรรมการ และบัญชีธนาคารเมื่อสิ้นงวด หรือระหว่างงวดบัญชี
– บันทึกรายการรับชำระหนี้ที่ได้รับเป็นเงินสดหรือเงินฝากธนาคารเป็นลูกหนี้การค้า
– บันทึกรายการจ่ายชำระหนี้ที่จ่ายเป็นเงินสดหรือเงินฝากธนาคารเป็นเจ้าหนี้การค้า
– นำค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ของกิจการมาบันทึกบัญชี

(2) บันทึกรายการในบัญชีไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เช่น
– ไม่บันทึกรายการปิดบัญชีในบัญชีรายวันทั่วไป
– ไม่บันทึกรายการกำไร(ขาดทุน)สุทธิประจำปีในบัญชีกำไร(ขาดทุน)สะสม
– บันทึกการจ่ายชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ โดยไม่บันทึกรายการดอกเบี้ยจ่ายจากการเช่าซื้อรอตัดบัญชีและดอกเบี้ยเช่าซื้อ ซึ่งจะทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ
– บันทึกรายการค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี โดยนำค่าเสื่อมไปหักกับสินทรัพย์โดยตรง

2.2 ข้อบกพร่องที่เกี่ยวกับบัญชีแยกประเภท เช่น
(1) ไม่เปิดบัญชีแยกประเภทบางบัญชี เช่น บัญชีสินค้า บัญชีธนาคาร บัญชีเจ้าหนี้การค้า
(2) บัญชีแยกประเภทแสดงยอดยกมาต้นงวดไม่ตรงกับยอดคงเหลือในงบการเงินปีก่อน

3. ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน และการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน
3.1 แสดงรายการในงบการเงินไม่เป็นไปตามแบบรายการย่อ หรือแสดงรายการไม่ตรงตามหมวดหมู่ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2544
3.2 แสดงรายการในงบกำไรขาดทุนไม่สอดคล้องกับหมายเหตุประกอบงบการเงิน
3.3 งบดุลแสดงรายการกู้ยืมเงินจากกรรมการ แต่ไม่เปิดเผยข้อมูลการกู้ยืมเงินดังกล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

———————————————-

สำนักกำกับดูแลธุรกิจ

ภาษีอุปการะคนพิการ

ปุจฉา การหักลดหย่อนค่าอุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพมีหลักเกณฑ์อย่างไร

วิสัชนา ได้มีการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 37) พ.ศ.2552 โดยเพิ่มค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 (1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ ที่เป็นบิดามารดา สามีหรือภริยาบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ บิดามารดา หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ หรือบุคคลอื่นที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สามารถนำค่าอุปการะเลี้ยงดูบุคคลดังกล่าวมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ได้คนละ 60,000 บาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งจำนวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 182) ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2552

รายการหักลดหย่อนดังกล่าว ให้หักลดหย่อนสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ.2552 ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ.2553 เป็นต้นไป

ปุจฉา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งจำนวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ใน การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพตามมาตรา 47 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 182) มีอย่างไร

วิสัชนา ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อน สำหรับบุคคลซึ่งเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือบุคคลซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ คนละ 60,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

1. คนพิการหรือคนทุพพลภาพดังกล่าวต้องเป็นบุคคลดังนี้
(1) บิดามารดา ของผู้มีเงินได้
(2) บิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
(3) สามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้
(4) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้
(5) บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
(6) บุคคลอื่นนอกจาก (1)(2)(3)(4) และ (5) ที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ จำนวน 1 คน

กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ ตรวจและแสดงความเห็นว่าบุคคลตาม (1)(2)(3)(4) และ (5) มีภาวะจำกัดหรือขาดความ สามารถในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบุคคลทั่วไปอันเนื่องมาจาก สาเหตุทางปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน

2. บุคคลซึ่งเป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพดังกล่าวต้องมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท ในปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิหักลดหย่อน โดยไม่รวมถึงเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร

กรณีบุคคลดังกล่าว เป็นทั้งคนพิการ และเป็นคนทุพพลภาพ ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ในฐานะคนพิการเพียงฐานะเดียว

3. ผู้มีเงินได้นั้นต้องเป็น “ผู้ดูแลคนพิการ” ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลคนพิการในระหว่างปีภาษีให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็น ผู้มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการคนสุดท้ายในปีภาษีนั้น เป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน

4. ผู้มีเงินได้ต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้มาแสดงเพื่อขอใช้สิทธิหักลดหย่อนคนทุพพลภาพ
(1) ใบรับรองแพทย์จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าบุคคลตาม 1. มีภาวะจำกัดหรือขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบุคคล ทั่วไปอันเนื่องมาจากสาเหตุทางปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่อง มาไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน และใบรับรองแพทย์ดังกล่าวต้องเป็นใบรับรองแพทย์ที่ออกในปีภาษีที่ขอใช้สิทธิ หักลดหย่อน

กรณีผู้มีเงินได้หลายคนมีใบรับรองแพทย์จากแพทย์ดังกล่าว ให้ผู้มีเงินได้ทุกคน ทำความตกลงเป็นหนังสือ เพื่อยินยอมให้ผู้มีเงินได้คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะ เลี้ยงดูโดยผู้มีเงินได้ทุกคนดังกล่าวเป็นผู้ลงนามในหนังสือตกลงยินยอมนั้น เพื่อให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนคนทุพพลภาพ ใช้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู

(2) หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ ที่รับรองว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุคคลซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ โดยผู้รับรองต้องเป็นสามีภริยาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมหรือ หลาน หรือบิดามารดา หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือปู่ย่าตายาย หรือลุงป้าน้าอา ของบุคคลซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ หรือกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือบุคคลที่เป็นสมาชิกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในท้องที่ที่บุคคลซึ่ง เป็นคนทุพพลภาพอยู่อาศัย โดยหนังสือรับรองดังกล่าว ผู้รับรองต้องรับรองของแต่ละปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนผู้ รับรองตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และรับรองผู้มีเงินได้ ได้ไม่เกิน 1 คน สำหรับการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพคนหนึ่งคนใด

5. การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามประกาศนี้ให้หัก ได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

6. กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยง ดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพได้เฉพาะคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่เป็นผู้อยู่ใน ประเทศไทย

ขอนำเป็นประเด็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากการอุปการะคนพิการ ตามมาตรา 47 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร

ที่ กำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ ที่เป็นบิดามารดา สามีหรือภริยา บุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ บิดามารดา บุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ หรือบุคคลอื่นที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สามารถนำค่าอุปการะเลี้ยงดูบุคคลดังกล่าวมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ได้คนละ 60,000 บาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งจำนวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 182) ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2552  มาปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้

ปุจฉา มีเงื่อนไขอื่นใดเกี่ยวกับการหักลดหย่อนค่าอุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพหรือไม่ อย่างไร

วิสัชนา เงื่อนไขอื่นใดเกี่ยวกับการหักลดหย่อนค่าอุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพมีดังนี้

1. คนพิการหรือคนทุพพลภาพไม่ว่าจะเป็น บิดามารดา ของผู้มีเงินได้ หรือบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ หรือสามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ หรือบุคคลอื่นนอกจากบุคคลดังกล่าว ที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ จำนวน 1 คน ที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อน จะต้องเป็นบุคคลที่มีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร

2. การหักลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้มีเงินได้ต้องแนบหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย. 04) ซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 182) และแนบหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(1) กรณีหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของบุคคลที่ผู้มี เงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อนพร้อมทั้งภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการดังกล่าว ในส่วนที่แสดงว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้วย

(2) กรณีหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ ให้แนบหลักฐานดังต่อไปนี้
(ก) ใบรับรองแพทย์จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าบุคคลตาม (1) มีภาวะจำกัดหรือขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบุคคล ทั่วไป อันเนื่องมาจากสาเหตุทางปัญหาสุขภาพ หรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน และใบรับรองแพทย์ดังกล่าวต้องเป็นใบรับรองแพทย์ที่ออกในปีภาษีที่ขอใช้สิทธิ หักลดหย่อน

กรณีผู้มีเงินได้หลายคนมีใบรับรองแพทย์จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบ อนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนที่มีใบรับรองแพทย์ดังกล่าว ตกลงกันเพื่อยินยอมให้ผู้มีเงินได้คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่า อุปการะเลี้ยงดูตามประกาศนี้ และทำความตกลงเป็นหนังสือโดยผู้มีเงินได้ทุกคนที่มีใบรับรองแพทย์ดังกล่าว เป็นผู้ลงนามในหนังสือตกลงยินยอมนั้น เพื่อให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนคนทุพพลภาพ ใช้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู

(ข) หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย. 04-1) ที่รับรองว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุคคลตาม (1) ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ โดยผู้รับรองต้องเป็นสามีภริยาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมหรือ หลาน หรือบิดามารดา หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือปู่ย่าตายาย หรือลุงป้าน้าอา ของบุคคลตาม (1) ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ หรือกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือบุคคลที่เป็นสมาชิกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในท้องที่ที่บุคคลตาม (1) ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพอยู่อาศัย โดยหนังสือรับรองดังกล่าว ผู้รับรองต้องรับรองของแต่ละปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนผู้ รับรองตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และรับรองผู้มีเงินได้ ได้ไม่เกิน 1 คน สำหรับการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพคนหนึ่งคนใด

ปุจฉา มีเงื่อนไขเกี่ยวกับหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ กรณีผู้มีเงินได้และสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้และ อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วอย่างไร

วิสัชนา กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคน ทุพพลภาพตามหลักเกณฑ์ และคนพิการหรือคนทุพพลภาพดังกล่าวเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของ ผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ และผู้มีเงินได้และสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้และ อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว โดยภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี ซึ่งสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคน ทุพพลภาพ ได้คนละ 30,000 บาท สำหรับบุตรซึ่งเป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพนั้น ตามมาตรา 57 เบญจ (2) แห่งประมวลรัษฎากร สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ต้องแนบหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(1) ภาพถ่าย แบบ ล.ย. 04 ของผู้มีเงินได้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 182) ซึ่งสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ได้ลงลายมือชื่อรับรองภาพถ่ายนั้น

(2) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการของบุคคลที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อน พร้อมทั้งภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการดังกล่าวในส่วนที่แสดงว่าผู้มีเงินได้ เป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้วย และภาพถ่ายใบรับรองแพทย์จากแพทย์และหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู คนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย. 04-1) ของผู้มีเงินได้ ซึ่งสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ได้ลงลายมือชื่อรับรองภาพถ่ายนั้น

ที่มา..http://www.bangkokbiznews.com

จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด

บริษัทจำกัด

        คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
โครงสร้างของ "บริษัทจำกัด"
        1. ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 3 คน
        2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
        3. มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
        4. ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
        5. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัด ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
        1. ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วไปจดทะเบียน
        2. เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้นมีผู้ เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
        3. ดำเนินการประชุมตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
        4. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
        5. กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อย ละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งเป็นกี่หุ้นก็ได้แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
        6. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน ภายหลังจากการประชุมตั้งบริษัท
        7. ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนตั้งบริษัทไปพร้อมกันภาย ในวันเดียวก็ได้ 
            7.1 จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน 
            7.2 ประชุมจัดตั้งบริษัท  เพื่อพิจารณากิจการต่างๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม และผู้เริ่มก่อการ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคน ให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น 
            7.3 ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการบริษัท 
            7.4 กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ใช้เงินค่าหุ้น โดยจะเรียกครั้งเดียวเต็มมูลค่าหรือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามมาตรา 1110 วรรคสองก็ได้  และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนได้ชำระเงินค่าหุ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว

การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือเลิกและชำระบัญชีบริษัทจำกัด
        ในกรณีที่บริษัทจำกัดนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้ถือหุ้นจะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
        การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้
รายการจดทะเบียนที่บริษัทจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
        1. การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
        2. มติพิเศษของบริษัทให้
                (1) เพิ่มทุน
                (2) ลดทุน
                (3) ควบบริษัท
        3. ควบบริษัท
        4. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท
        5. เพิ่มทุน
        6. ลดทุน
        7. กรรมการ
        8. จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท
        9. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
        10. ตราของบริษัท
        11. รายการอื่นที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ

หน้าที่ของบริษัทจำกัด
        1. บริษัทจำกัด ต้องทำงบการเงินอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน โดยมีผู้ สอบบัญชีอย่างน้อย หนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน ทั้งนี้รวมถึงบริษัทที่แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
        2. จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นและให้นำส่งต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
        3. ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ ภายหลัง 6 เดือน นับแต่วันจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และจัดประชุมครั้งต่อไปอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกระยะเวลา 12 เดือน มิฉะนั้น จะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
        อนึ่ง คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัด ประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และ
        ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของ บริษัท ก่อนนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ เพือลงมติพิเศษให้กระทำการดังว่านั้นก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน
        4. ต้องจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
        5. ต้องจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
        6. บริษัทใดย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท  มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
        ในกรณีนิติบุคคลไม่จัดส่งงบการเงินประจำปีตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนิติบุคคลจะมีความผิดแล้วกรรมการผู้จัดการหรือกรรมการผู้มีอำนาจกระทำ การแทนนิติบุคคล ก็มีความผิดต้องระวางโทษเช่นเดียวกับนิติบุคคลด้วย

กิจการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะเบียน
        1. คำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ซึ่งต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 3 เดือน นับแต่วันประชุมตั้งบริษัท
        2. คำขอจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของบริษัทขึ้นใหม่ และ/หรือกรรมการออกจากตำแหน่ง ต้องยื่นขอขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ตั้งกรรมการขึ้นใหม่ หรือกรรมการออกจากตำแหน่ง
        3. คำขอจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน หรือลดทุนของบริษัทจำกัด หรือให้ควบบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติพิเศษ
        4. คำขอจดทะเบียนตั้งข้อบังคับขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติพิเศษ
        5. คำขอจดทะเบียนควบบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้มีการควบบริษัทเข้ากัน
        6. คำขอจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน
        7. คำขอจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้เปลี่ยนตัว
        8. คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ หรือวันที่ที่ศาลได้มีคำพิพากษา
        9. คำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ
        10. การยื่นรายงานการชำระบัญชีของบริษัทจำกัด ต้องยื่นทุกระยะ 3 เดือนครั้งหนึ่งนั้น ผู้ชำระบัญชีจะต้องยื่นรายงานการชำระบัญชีภายใน 14 วัน นับแต่วันครบกำหนด 3 เดือน *ท่านสามารถ Download แบบพิมพ์ไปใช้ในการจดทะเบียนได้หรือ ขอรับแบบพิมพ์ได้ที่สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกแห่ง

ประเภทการจดทะเบียน

1. หนังสือบริคณห์สนธิ 
        คำขอ บอจ.1 , หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ.1)
        รายการ: แบบ บอจ.2 (ใช้ทั้งสองหน้า) ผนึกอากร 200 บาท
        เอกสารประกอบรายการ :แบบ ว.
        เอกสารประกอบ
             1. แบบจองชื่อนิติบุคคล
             2. หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง  (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม)
             3. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
             4. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
             5. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

2.แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
        คำขอ :แบบ บอจ.1, หน้าหนังสือรับรอง(ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ.1)
        รายการ แบบ บอจ.2 (ใช้เฉพาะหน้า 1)
        เอกสารประกอบรายการ แบบ ว. (ในกรณีแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุที่ประสงค์)
        เอกสารประกอบ
             1. แบบจองชื่อนิติบุคคล (ใช้เฉพาะกรณีเปลี่ยนชื่อบริษัท)
             2. หลักฐานการให้ความยินยอมของผู้เริ่มก่อการทุกคน
             3. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
             4. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
             5. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

3.จัดตั้งบริษัท
        คำขอ :แบบ บอจ.1 , (หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ. 1)
        รายการ : แบบ บอจ.3 (ใช้ทั้ง 2 หน้า)
        เอกสารประกอบรายการ : แบบ ก.
        เอกสารประกอบ
             1. แบบ บอจ.5
             2. สำเนาหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
             3. สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
             4. สำเนาข้อบังคับ ผนึกอากร 200 บาท (ถ้ามี)
             5. สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
             6. กรณีมีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัดตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนหรือต่ำกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียน แต่คนต่างด้าวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทให้ผู้ถือหุ้นทุกคนที่ มีสัญชาติไทยส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนซึ่งปรากฏจำนวนเงินสอดคล้องกับ จำนวนเงิน ที่ชำระค่าหุ้นแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละคน ดังนี้
                  – สำเนาสมุดเงินฝากธนาคารหรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน หรือ
                  – เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้น หรือ
                  – สำเนาหลักฐานที่แสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระค่าหุ้น
             7. แบบ สสช.1 จำนวน 1 ฉบับ
             8. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
             9. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
             10. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

4. หนังสือบริคณห์สนธิและจัดตั้งบริษัท พร้อมกันภายในวันเดียวกัน
        คำขอ :แบบ บอจ.1 หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ.1)
        รายการ :
             1. แบบ บอจ.2 (ใช้ทั้ง 2 หน้า) ผนึกอากร 200 บาท
             2. แบบ บอจ.3 (ใช้ทั้ง 2 หน้า)
        เอกสารประกอบรายการ :
             1. แบบ ก.
             2. แบบ ว.
        เอกสารประกอบ
             1. แบบจองชื่อนิติบุคคล
             2. หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง(เฉพาะการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม)
             3. แบบ บอจ.5
             4. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นในการประชุมให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้
             5. สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
             6. สำเนาข้อบังคับ ผนึกอากร 200 บาท (ถ้ามี)
             7. สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
             8. กรณีมีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัดตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนหรือต่ำกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียน แต่คนต่างด้าวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ให้ผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีสัญชาติไทยส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนซึ่ง ปรากฏจำนวนเงินสอดคล้องกับจำนวนเงินที่ชำระค่าหุ้นแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละคน ดังนี้
                  – สำเนาสมุดเงินฝากธนาคารหรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน หรือ
                  – เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้น หรือ
                  – สำเนาหลักฐานที่แสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระค่าหุ้น
             9. แบบ สสช.1 จำนวน 1 ฉบับ
             10. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
             11. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
             12. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

5. มติพิเศษของบริษัทให้เพิ่มทุน, ลดทุน, ควบบริษัท
        คำขอ : แบบ บอจ.1, หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ในด้านหลังของหน้าแบบ บอจ.1)
        รายการ : แบบ บอจ.4
        เอกสารประกอบรายการ : –
        เอกสารประกอบ
             1. หลักฐานให้ความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย(ใช้เฉพาะบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันภัยหรือนายหน้าประกัน ภัย)
             2. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
             3. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
             4. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

6. ควบบริษัท
        คำขอ : แบบ บอจ.1,หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ.1)
        รายการ :
             1. แบบ บอจ.2 (ใช้เฉพาะหน้า 1 แต่ไม่ต้องกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เริ่มก่อการ) ผนึกอากร 200 บาท
             2. แบบ บอจ.3 (ใช้ทั้ง 2 หน้า)
        เอกสารประกอบรายการ
             1. แบบ ก.
             2. แบบ ว.
        เอกสารประกอบ
             1. แบบ บอจ.5ของบริษัทตั้งใหม่ตามที่ควบเข้ากัน
             2. แบบจองชื่อนิติบุคคล (ใช้เฉพาะกรณีตั้งชื่อบริษัทขึ้นใหม่)
             3. หลักฐานให้ความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย)
             4. สำเนาข้อบังคับของบริษัทตั้งใหม่ตามที่ควบเข้ากัน ผนึกอากร 200 บาท (ถ้ามี)
             5. แบบ สสช.1 จำนวน 1 ฉบับ
             6. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
             7. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
             8. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

7. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท ได้แก่ แก้ไขชื่อบริษัท, ที่ตั้ง, สำนักงานใหญ่ข้ามจังหวัด วัตถุที่ประสงค์ และรายการเกี่ยวกับทุน
        คำขอ : บอจ.1 ,หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ.1)
        รายการ : แบบ บอจ.4
        เอกสารประกอบรายการ : แบบ ว. (ใช้เฉพาะกรณีแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุที่ประสงค์)
        เอกสารประกอบ
             1. แบบจองชื่อนิติบุคคล (ใช้เฉพาะกรณีแก้ไขเพิ่มเติมชื่อบริษัท)
             2. หนังสือบริคณห์สนธิฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ผนึกอากร 50 บาท จำนวน 1 ฉบับ
             3. แบบ สสช.1 จำนวน 1 ฉบับ
             4. หลักฐานให้ความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
             5. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนสำเนาหลักฐานการ เป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
             6. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

8. ตั้งข้อบังคับขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
        คำขอ : แบบ บอจ.1 หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ.1)
        รายการ : แบบ บอจ.4
        เอกสารประกอบรายการ : –
        เอกสารประกอบ
             1. ข้อบังคับใหม่หรือข้อบังคับฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ผนึกอากร 50 บาท จำนวน 1 ฉบับ
             2. หลักฐานให้ความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย (ใช้เฉพาะบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัย)
             3. การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเพื่อเปลี่ยนรอบปีบัญชี ให้ส่งหลักฐานแล้วแต่กรณีดังต่อไปนี้
                   3.1 หนังสือขอเปลี่ยนรอบปีบัญชี ซึ่งระบุงวดปีบัญชีที่จะเริ่มเปลี่ยนต่อสารวัตร    ใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีกรณีเปลี่ยนรอบปีบัญชีเป็นรอบปีบัญชี ที่เริ่ม ตั้งแต่วันที1 มกราคม สิ้นสุด 31 ธันวาคม
                   3.2 หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนรอบปีบัญชีจากกรมสรรพากร หรือธนาคารแห่งประเทศไทย แล้วแต่กรณี กรณีเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่างไปจากกรณีตาม 3.1
                   3.3 หนังสือยืนยันว่าตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทยังไม่เคยดำเนินการปิดบัญชี เพื่อจัดทำงบดุลกรณีที่บริษัทไม่เคยดำเนินการปิดรอบปีบัญชีเพื่อจัดทำงบดุล
             4. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
             5. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
             6. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

9. แก้ไขเพิ่มเติม ได้แก่ เพิ่มทุน, ลดทุน, กรรมการ จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และ/หรือสำนักงานสาขา, ตราของบริษัท, รายการอย่างอื่นซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ
        คำขอ : แบบ บอจ.1 ,หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ.1)
        รายการ : แบบ บอจ.4
        เอกสารประกอบรายการ : แบบ ก.(ใช้เฉพาะกรณีมีกรรมการเข้าใหม่)
        เอกสารประกอบ
             1. สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้น (ใช้เฉพาะกรณีจดทะเบียนเพิ่มทุน)
                  – หนังสือรับรองจากธนาคาร หรือ
                  – สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
             2. หลักฐานการอนุญาตให้ เพิ่มทุน ลดทุน แต่งตั้งกรรมการใหม่ แก้ไขเพิ่มเติมสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย แล้วแต่กรณี (ใช้เฉพาะบริษัทที่ประกอบธุรกิจ เงินทุน หรือหลักทรัพย์ หรือเครดิตฟองซิเอร์ หรือธนาคารพาณิชย์ หรือประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัย)
             3. สำเนาใบมรณบัตร (ใช้เฉพาะกรณีกรรมการถึงแก่กรรม)
             4. สำเนาคำสั่งศาลให้ล้มละลาย (ใช้เฉพาะกรณีฟื้นฟูกิจการ)
             5. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
             6. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
             7. หนังสือมอบอำนาจ(ถ้ามี)

10. เลิกบริษัท
        คำขอ : แบบ ลช.1,หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ ลช.1)
        รายการ แบบ ลช.2
        เอกสารประกอบรายการ : –
        เอกสารประกอบ
             1. สำเนาคำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (ถ้ามี)
             2. สำเนารายงานการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุมและมี มติเป็นเอกฉันท์ในการตั้งผู้ชำระบัญชีหรือตั้งผู้อื่นที่ไม่ใช่กรรมการทุกคน เป็นผู้ชำระบัญชี พร้อมทั้งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทุกคนที่ได้เข้าร่วมประชุมใหญ่ดัง กล่าว (ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ชำระบัญชีมิใช่กรรมการทุกคนตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
             3. สำเนาใบมรณบัตร (ใช้เฉพาะกรณีกรรมการถึงแก่กรรม)
             4. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
             5. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
             6. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

11. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจของผู้ชำระบัญชี, ที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี, ตั้ง/เปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี
        คำขอ : แบบ ลช.1 ,หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ ลช.1)
        รายการ : แบบ ลช.2
        เอกสารประกอบรายการ : –
        เอกสารประกอบ
             1. สำเนาคำสั่งศาลกำหนดอำนาจของผู้ชำระบัญชีและ/หรือตั้งหรือเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี (ถ้ามี)
             2. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
             3. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
             4. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

12. เสร็จการชำระบัญชีบริษัท
        คำขอ : แบบ ลช.1,หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ ลช.1)
        รายการ : แบบ ลช.5
        เอกสารประกอบรายการ
             1. แบบ ลช.3 พร้อมเอกสารประกอบ
             2. แบบ ลช.6
        เอกสารประกอบรายการ
             1. งบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท (จะใช้งบการเงิน ณ วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท หรืองบการเงิน ณ วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกบริษัทก็ได้ )
             2. แบบรับรองการตรวจสอบบัญชีของกรมสรรพากร
             3. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
             4. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
             5. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

ที่มา..กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์