ข่าวบัญชีและภาษี | รับทำเงินเดือน - Part 5 ข่าวบัญชีและภาษี | รับทำเงินเดือน - Part 5

ข่าวสรรพากรตรวจสอบคณะบุคคลและให้ส่งรายงาน

“สรรพากร”อุดรูรั่ว สกัดพวกหัวใสตั้งคณะบุคคลเป็นดอกเห็ด ใช้เป็นช่องทางหลบภาษี-สร้างรายจ่ายเทียมให้บริษัทนำไปหักภาษี ระบุบางรายมีชื่อในคณะบุคคลร่วมพันแห่ง ร่อนจดหมายแจ้งถึงคณะบุคคลทั่วประเทศ ต้องรายงานให้กรมสรรพากรรู้ก่อน 15 พ.ค.นี้

นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากการตรวจสอบฐานข้อมูลของกรมสรรพากรในเบื้องต้น พบว่ามีผู้เสียภาษีมายื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งคณะบุคคลเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้พบรายที่น่าสงสัยมีชื่อร่วมจัดตั้งคณะบุคคลมากกว่า 100 แห่งจนถึง 1,000 แห่ง เพื่อหลบเลี่ยงภาษี นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมมีผู้ถือหุ้นหรือพนักงานในบริษัทแยกออกไปตั้งคณะ บุคคล เพื่อย้อนกลับมารับงานจากบริษัทออกไปทำ โดยทุกๆ ครั้งที่บริษัทมีการจ่ายเงินค่าจ้างจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งกรมสรรพากรทุกเดือน

ทั้งนี้รายจ่ายในส่วนนี้บริษัทสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ ส่วนภาษีหัก ณ ที่จ่าย คณะบุคคลจะนำไปขอคืนกับกรมสรรพากร ซึ่งกรณีนี้กรมสรรพากรตั้งข้อสงสัยว่า อาจจะมีคณะบุคคลบางแห่งจัดตั้งขึ้นโดยไม่ได้มีการประกอบกิจการจริงๆ เพื่อสร้างรายจ่ายเทียมให้บริษัทนำไปหักภาษี

ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ที่เสียภาษีอย่างถูกต้อง กรมสรรพากรได้ยกเลิกการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งคณะบุคคลทางอินเทอร์เน็ต โดยผู้สนใจจะขอจัดตั้งคณะบุคคลต้องไปติดต่อที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ เพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนตามแบบฟอร์มที่กำหนด  โดยเจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูลอย่างละเอียด

จากนั้นในเดือน เม.ย.นี้กรมสรรพากรจะส่งหนังสือถึงบริษัทผู้สอบบัญชี, ที่ปรึกษาด้านภาษีอากร และผู้เสียภาษีที่มีชื่ออยู่ในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลมากกว่า 1 แห่ง ขอความร่วมมือให้แจ้งรายละเอียดการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนและคณะบุคคลมา ให้กรมสรรพากรได้ทราบภายใน 15 พฤษภาคมนี้

“มาตรการนี้จะเป็นการขอความร่วมมือให้ผู้ที่อยู่ในข่ายจัดตั้งคณะบุคคล มากกว่า 1 แห่ง จะต้องกรอกแบบฟอร์มกลับมา เพื่อขอข้อมูลจากผู้เสียภาษีเท่านั้น เราคงจะไปห้าม หรือไปบังคับไม่ให้ผู้เสียภาษีตั้งเป็นคณะบุคคลไม่ได้ เพราะในกฎหมายบัญญัติเอาไว้ แต่ถ้าการจัดตั้งมีขึ้นเพื่อเลี่ยงภาษี ไม่สามารถตอบคำถามหรือกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มที่กรมกำหนด หรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทางกรมจะถือเป็นการแจ้งความเป็นเท็จ หากไปตรวจพบในภายหลังจะมีความผิดตามกฎหมาย” นายวินัยกล่าว

นายวินัยกล่าวอีกว่า ผู้อยู่ในข่ายต้องทบทวนและกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์ม ล.ป.10.2 พร้อมกับแนบสัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลส่งไปให้สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ภายในวันที่ 15 พ.ค.นี้จะมีอยู่ 2 กรณี 

1) ประสงค์จะดำเนินการต่อไป กรณีนี้จะต้องระบุในแบบ ล.ป. 10.2 ข้อ 1-6 ให้ถูกต้อง โดยขอให้ระบุชัดเจนว่า ธุรกิจอยู่ในสถานะของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ซึ่งมีหลักในการพิจารณาคือ กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะหมายถึง สัญญาที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาทำกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากการทำกิจการนั้น

ส่วนกรณีของคณะบุคคล ตามประมวลรัษฎากรจะมีความแตกต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญตรงที่การจัดตั้งคณะ บุคคลขึ้นมาไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลกำไร โดยกรมสรรพากรจะขอความร่วมมือให้ผู้ที่อยู่ในข่ายดังกล่าวกรอกข้อมูลให้ถูก ต้องตามความเป็นจริง หากพบว่ามีบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นตัวการไปกระทำการหลีกเลี่ยงภาษีจะมีความผิด ตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดเอาไว้ว่า “ผู้ใดจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะนี้มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และถูกปรับตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท

กรณีที่ 2) หากไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป ให้กรอกข้อมูลในแบบ ลป.10.2 ในข้อ 1-4 และข้อ 8 ส่งไปยังสำนักงานสรรพากรพื้นที่ พร้อมบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี เพื่อให้กรมสรรพากรนำไปปรับปรุงฐานข้อมูลให้ถูกต้องต่อไป

ทั้งนี้คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญปัจจุบันเสียภาษีเสมือนบุคคลธรรมดา ทั้งนี้รายได้ที่ได้จากการทำธุรกิจสามารถนำมาหักลดหย่อนส่วนบุคคล, หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย, ประกันชีวิตได้ จากนั้นจะนำเงินได้สุทธิมาคำนวณเสียภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้าในอัตรา 5%, 10%, 20%, 30% และ 37% ตามลำดับ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ที่จดทะเบียนก่อตั้งคณะบุคคลส่วนใหญ่จะประกอบวิชาชีพอิสระ อาทิ แพทย์ ตัวแทนประกัน สถาปนิก วิศวะ ทนายความ ผู้สอบบัญชี ดารา พิธีกรโทรทัศน์ เป็นต้น

โดยก่อนหน้านี้ทางกรมสรรพากรได้ระบุว่า มีกรณีร้านแว่นตาแห่งหนึ่งที่มีแฟรนไชส์ 100 แห่ง ได้ใช้การจัดตั้งคณะบุคคล แจ้งว่าแต่ละแห่งมีรายได้ 1 ล้านบาท สามารถหักค่าใช้จ่าย 80% ทำให้ยอดรายได้คงเหลือแค่ 2 แสนบาท หักลดหย่อนได้อีก 60,000 บาท จึงเหลือรายได้ที่ต้องเสียภาษีแค่ 140,000 บาท เสียภาษีเพียง 4,000 บาท แฟรนไชส์ 100 แห่ง เสียภาษีรวม 4 แสนบาท แต่หากตั้งเป็นนิติบุคคล แฟรนไชส์ 100 แห่ง รวมรายได้ 100 ล้านบาท นำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 80% มีรายได้เหลือ 20 ล้านบาท หักลดหย่อนได้อีก 60,000 บาท เหลือเงินได้นำมา 19,940,000 บาท ทำให้ต้องจ่ายภาษีถึง 6-7 ล้านบาท

นอกจากนี้เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้ออกประกาศว่า มีพฤติการณ์ของการหลีกเลี่ยงภาษี หรือฉ้อโกงภาษี โดยการจัดตั้งคณะบุคคลเป็นเท็จ สร้างรายจ่ายเท็จ ทำให้เสียภาษีน้อยลงหรือไม่ต้องเสียภาษี หรือมีการขอคืนภาษี โดยวิธีการจัดตั้งคณะบุคคลเป็นเท็จขึ้นมาหลายๆ คณะ โดยแต่ละคณะบุคคลจะมีชื่อของผู้มีเงินได้อยู่ในทุกคณะบุคคล เพื่อเป็นการกระจายฐานเงินได้ของผู้มีเงินได้ที่แท้จริง ทำให้เสียภาษีในอัตราต่ำ นอกจากนี้คณะบุคคลยังมีการขอคืนภาษี โดยอ้างว่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งกรมสรรพากรไว้

ที่มา..ข่าวมติชน วันที่ 25 มีนาคม 2552

ถามตอบ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

  • คำถาม : ลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต สำหรับบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยมีขั้นตอนอย่างไร
    คำตอบ : ขั้นตอนการลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต สำหรับบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยมีขั้นตอนดังนี้

             1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากรที่ www.rd.go.th => เลือก ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ เลือก บริการอิเล็กทรอนิกส์ => เลือก ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
             2. เมื่อปรากฏหน้าจอของสำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ท่านดูในส่วน WHAT’S NEW หัวข้อ “ภ.ง.ด.90/91” => เลือก [ลงทะเบียน]
             3. หน้าจอจะปรากฏสถานะของผู้มีหน้าที่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาให้เลือกได้แก่
                           บุคคลธรรมดา 
                                   สัญชาติไทย 
                                   ต่างด้าว 
                           คณะบุคคล 
                           ห้างหุ้นส่วนสามัญ 
                           กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง
    หากท่านเป็นบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย ก็ให้เลือกหัวข้อ “บุคคลธรรมดา” “สัญชาติไทย”
             4. หน้าจอจะปรากฏช่องว่างในส่วนต่าง ๆ ขึ้นมา 5 ส่วน ให้ท่านกรอกรายละเอียดในแต่ละช่องให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามคำแนะนำที่ปรากฏอยู่ข้างท้าย ของแต่ละส่วนให้ถูกต้อง
             5. ส่วนที่ 1 ให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้

    เลขประจำตัวประชาชน

    ให้กรอกเลขประจำตัวประชาชน (13 หลัก) ของผู้มีเงินได้ที่ต้องการลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 (ห้ามใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี)

    ชื่อและชื่อสกุล

    ให้กรอกชื่อและชื่อสกุลของผู้มีเงินได้ (ไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อ)

    วันเดือนปีเกิด

    ให้กรอกวันเดือนปีเกิดเป็นตัวเลขทั้งหมด เช่น เกิดวันที่ 28 ธันวาคม 2498 ให้กรอก 28/12/2498 (กรณีทราบเพียง พ.ศ.เกิด ให้กรอกวัน/เดือน เป็น 00/00 แล้วตามด้วย พ.ศ.เกิด)

    ชื่อและชื่อสกุลบิดา

    ชื่อและชื่อสกุลของบิดาของผู้มีเงินได้โดยไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ ให้กรอกระหว่างชื่อและชื่อสกุลให้เว้นวรรคอย่างน้อย 1 ตัวอักษร

    ชื่อและชื่อสกุลมารดา

    ให้กรอกชื่อและชื่อสกุลของมารดาของผู้มีเงินได้โดยไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อระหว่างชื่อและชื่อสกุลให้เว้นวรรคอย่างน้อย 1 ตัวอักษร

    เบอร์โทรศัพท์

    ให้กรอกหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ (จะเป็นหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือหมายเลขโทรศัพท์บ้านก็ได้)

             6. ส่วนที่ 2 หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน (Userid และ Password)

    หมายเลขผู้ใช้

    ระบบจะ แสดงหมายเลขผู้ใช้ (เลขประจำตัวประชาชน) ให้อัตโนมัติเมื่อท่านกรอกเลขประจำตัวประชาชนในส่วนที่ 1โดยท่านไม่ต้องกรอกข้อมูลซ้ำอีก

    รหัสผ่าน

    ท่าน สามารถกำหนดรหัสผ่านได้เอง เป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 8 ตัวอักษร ต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับชื่อผู้ใช้ และไม่ใช้คำว่า  “password” (รายละเอียดในการตั้งรหัสผ่านให้ดูคำแนะนำคำถามคำตอบข้อที่ 2)

             7. ส่วนที่ 3 เลือกคำถามเพื่อใช้ในกรณีที่ท่านลืมรหัสผ่าน

    คำถาม

    ให้ท่านเลือกคำถามโดยใช้ปุ่ม drop down แล้วเลือกคำถามที่มีอยู่

    คำตอบ

    ให้ ท่านใส่คำตอบให้สัมพันธ์กับคำถามที่เลือกไว้ก่อนแล้ว การตั้งคำถามคำตอบจะเป็นประโยชน์กรณีที่ท่านลืมรหัสผ่าน ระบบจะให้ท่านกรอกข้อมูลคำถามคำตอบ ที่ท่านกำหนดไว้ เพื่อทำการค้นหารหัสผ่านให้ท่าน โดยไม่ต้องเสียเวลาในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ดังนั้นควรเลือกคำถามและคำตอบให้เหมาะสมควร เป็นข้อมูลที่ท่านสามารถจดจำได้ง่าย แต่ผู้อื่นไม่สามารถคาดเดาได้ เพื่ป้องกัน มิให้ผู้อื่นทราบรหัสของท่านและเข้าไปดูข้อมูลส่วนตัวของท่านโดยที่ท่านไม่ อนุญาต

             8. ส่วนที่ 4 ระบุอีเมล์ของท่าน
                           อี เมล์ของท่าน : ให้ท่านกรอกอีเมล์ของท่านที่สามารถติดต่อได้ (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อของเจ้าหน้าที่ (กรณีที่ไม่มีอีเมล์ไม่ต้องกรอกก็ได้)
             9. ส่วนที่ 5 รับข้อตกลง
                           ให้ ท่านคลิ๊กที่ ข้อตกลง ระบบจะแสดงรายละเอียดข้อตกลงในการลงทะเบียน เมื่อท่านเข้าใจและยอมรับเงื่อนไขในข้อตกลง ดังกล่าว ให้ท่านคลิ๊กที่ ปุ่มยอมรับ จากนั้นระบบจะกลับไปที่หน้าจอลงทะเบียน ให้ท่านตรวจสอบข้อมูลที่ท่านได้กรอกไว้ ในแต่ละส่วนอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเห็นว่าข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้คลิ๊ก ปุ่มลงทะเบียน หากมีข้อผิดพลาดที่ส่วนใดจะปรากฏข้อความแจ้งเตือน ให้ท่านแก้ไขตามที่ระบบแจ้งเตือนให้ถูกต้อง

  • คำถาม :  การตั้งรหัสผ่าน กรณีลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต มีข้อกำหนดอย่างไร
    คำตอบ : ข้อกำหนดในการตั้งรหัสผ่าน

         1. รหัสผ่านต้องมีความยาว 8 ตัวอักษร
         2. ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษได้ (ทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่)
         3. ใช้ตัวเลข และ/หรือ สัญลักษณ์ได้
         4. ไม่ใช้ คำว่า “password”
         5. ต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับชื่อผู้ใช้

    คำแนะนำ
    1. การสร้างรหัสผ่านที่มีความปลอดภัย
             (1) ไม่ควรใช้คำที่เดาได้ง่าย เช่น คำในพจนานุกรม หรือชื่อของคน สถานที่ หรือสิ่งของ
             (2) ไม่ควรใช้ตัวอักษรหรือตัวเลขเรียงลำดับต่อเนื่องกัน (เช่น abcdef หรือ 12345678)
             (3) ควรใช้การผสมกันของตัวอักษร ตัวเลข และ/หรือ สัญลักษณ์
    2. การตั้งรหัสผ่านที่จำได้ง่าย
             (1) ผสมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเข้าด้วยกัน แล้วนำไปรวมกับตัวเลข
             (2) ย่อกลุ่มคำ หรือ สำนวนที่ท่านสามารถจดจำได้ 
             (3) ตัดสระออกจากคำพูดซึ่งเป็นที่ชื่นชอบ แล้วเพิ่มตัวเลขลงไป
         3. การป้องกันรหัสผ่าน เก็บรักษารหัสผ่านของท่านไว้ในที่ปลอดภัย เพื่อไว้ใช้ในปีต่อไป

  • คำถาม : ลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต และมีรหัสผู้ใช้กับรหัสผ่านแล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ สามารถทำได้หรือไม่
    คำตอบ : ได้ โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

             1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากรที่ www.rd.go.th => ในส่วนของ Hot Menu เลือก ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ เลือก บริการอิเล็กทรอนิกส์ => เลือก ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
             2. เมื่อปรากฏหน้าจอของสำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ท่านดูในส่วน WHAT’S NEW หัวข้อ “ภ.ง.ด.90/91” => เลือก [เปลี่ยนรหัสผ่าน]
             3. หน้าจอจะปรากฏ “บริการเปลี่ยนรหัสผ่าน สำหรับผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91/94 ปีภาษี 2551 ผ่านอินเทอร์เน็ต”
             4. ให้ท่านกรอกข้อมูลในช่องว่างให้ถูกต้องตามคำแนะนำที่ปรากฏ โดยที่ท่านจะต้องจำรหัสผ่านเดิมได้ และ สามารถกำหนดรหัสผ่านใหม่ได้ด้วยตัวเอง (ซ้ำ 2 ครั้ง) แล้วกดปุ่มยืนยัน ท่านก็จะสามารถใช้รหัสผ่านใหม่ ในการดำเนินการเกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทันที 

  • คำถาม : ลงทะเบียนและยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่จำรหัสผ่านไม่ได้จะต้องทำอย่างไร
    คำตอบ : กรณีลืมรหัสผ่านสามารถนำเม้าส์คลิ้กที่ตัวอักษร "ลืมรหัส" เพื่อกรอกข้อมูลและเลือกคำถามคำตอบที่ได้ให้ไว้เมื่อครั้งที่สมัครเข้ายื่น แบบฯ ถ้ากรอกข้อมูลได้ตรงกัน ระบบจะแสดงรหัสที่เคยตั้งไว้ เพื่อนำไปใช้ในการเข้าระบบยื่นแบบแสดงรายการภาษี
  • คำถาม : ลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ลืมคำถาม- คำตอบที่ได้เลือกไว้ จะขอรหัสผ่านใหม่ได้หรือไม่
    คำตอบ : สามารถติดต่อที่หมายเลข 0-2272-8000 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 18.00 น. ทุกวันทำการ (เฉพาะเดือน มีนาคม 2552 ให้บริการตั้งแต่เวลา 08.30 – 20.00 น. และวันเสาร์ ให้บริการตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น.)
  • คำถาม : ลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบแจ้งว่า ชื่อบิดา มารดา ไม่ตรงกับฐานข้อมูลกรมสรรพากร จะต้องดำเนินการอย่างไร
    คำตอบ : ให้ติดต่อ สรรพากร Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 0-2272-8000 หรือที่ว่าการเขต/อำเภอ/กิ่งอำเภอ เพื่อขอตรวจสอบชื่อบิดา มารดา จากฐานข้อมูลสำนักทะเบียนราษฎร์ที่คัดค้นข้อมูลด้วยเลขประจำตัวประชาชนของ บุตร หากชื่อบิดา มารดาไม่ตรงกับฐานข้อมูลสำนักทะเบียนราษฎร์ ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขฐานข้อมูลสำนักทะเบียนราษฎร์ และส่งเอกสารที่ได้แก้ไขชื่อบิดา มารดาแล้วไปที่ สรรพากร Call Center ทางโทรสารหมายเลข 0-2272-9861 และหมายเลข 0-272-9858 เพื่อรวบรวมส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
  • คำถาม : ผู้สูงอายุยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบแจ้งวันเดือนปีเกิดเป็น 01/01/544 ต้องทำอย่างไร
    คำตอบ : กรณีผู้สูงอายุยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ระบบแจ้งวันเดือนปีเกิดเป็น 01/01/544 ให้ส่งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมระบุเลขประจำตัวประชาชนเพื่อความชัดเจน ไปที่ สรรพากร Call Center ทางโทรสารหมายเลข 0-2272-9861 หรือ 0-2272- 9858 เพื่อรวบรวมส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
  • คำถาม : คนต่างด้าวขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรทางอินเทอร์เน็ต ได้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรแล้ว สามารถนำไปลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ผ่านอินเทอร์เน็ตทันทีได้หรือไม่
    คำตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากระบบขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรทางอินเทอร์เน็ตมิใช่ระบบ Online ต้องให้ระยะเวลาในการปรับปรุงฐานให้เป็นปัจจุบัน จึงจะสามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ทางอินเทอร์เน็ตได้
  • คำถาม : ชาวต่างชาติลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบแจ้งว่า ชื่อ หรือวัน/เดือน/ปีเกิด ไม่ตรงกับฐานข้อมูลกรมสรรพากร จะแก้ไขอย่างไร
    คำตอบ : ยื่นแบบ ล.ป.10.1 ณ สำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่มี ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสำนักงานประจำตั้งอยู่ก็ได้ โดยแนบภาพถ่ายหนังสือเดินทางพร้อมบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม(ถ้า มี) ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ เรื่องกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร
  • คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต บันทึกข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตไม่ได้ ระบบแจ้งว่า "M003 เกินสิทธิที่ได้รับลดหย่อน" จะต้องดำเนินการอย่างไร
    คำตอบ : ให้ตรวจสอบสาเหตุที่บันทึกข้อมูลไม่ได้ อาจเกิดจาก

             1. ยังมิได้พิมพ์จำนวนเงินได้พึงประเมิน
             2. บันทึกข้อมูลไม่ถูกต้อง โดยต้องบันทึกที่ค่าลดหย่อนจำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
             3. กรณีมีคู่สมรส หากภริยาไม่มีเงินได้ ได้รับลดหย่อนเพียง 10,000 บาท
             4. กรณีมีเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ส่วน ก ข้อ 12 น้อยกว่า 90,000 บาท ให้บันทึกข้อมูลเท่ากับจำนวนเงินได้สุทธิ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้เป็นการยกเว้นเงินได้ หากมีเงินได้สุทธิเท่าใดก็ให้ได้รับยกเว้นเท่านั้นแต่ไม่เกิน 90,000 บาท 

  • คำถาม : มีเงินได้จากเงินเดือน 4 ล้าน และถูกหักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในระหว่างปีซื้อกองทุนรวม RMF เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ไม่เกิน 500,000 บาท แต่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ใช้สิทธิลดหย่อนกองทุนรวม RMF ทั้งจำนวนในส่วน ค ระบบแจ้งว่า "M007 ไม่มีสิทธิได้รับลดหย่อน" เพราะสาเหตุใด
    คำตอบ : ค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม RMF ต้องไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อปี ดังนั้น ในการกรอกแบบ ภ.ง.ด.91 ส่วน ค ให้กรอก 5,000 บาท ส่วนที่เหลือให้นำไปรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนที่เกิน 10,000 บาท ในส่วน ข ซึ่งเป็นรายการยกเว้นได้
  • คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ในหน้าจอบันทึกข้อมูลผู้จ่ายเงินได้ ให้กรอกอย่างไร
    คำตอบ : ให้กรอกหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ (กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นนิติบุคคล) หรือหมายเลขประจำตัวประชาชน (กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา) ในแต่ละช่องตามประเภทเงินได้นั้นๆ โดยดูได้จากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้ออกให้ กรณีเงินได้ประเภทหนึ่งๆ มีผู้จ่ายเงินได้หลายราย ให้เลือกกรอกเพียงรายเดียว
  • คำถาม : การบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองมีหลักเกณฑ์อย่างไร
    คำตอบ : การบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองมีหลักเกณฑ์ และวิธีการดังนี้

              1. ผู้บริจาคต้องเป็นบุคคลธรรมดา และมีสัญชาติไทย โดยผู้บริจาคต้องระบุความประสงค์ไม่บริจาค หรือบริจาคในช่องที่กำหนดไว้ในแบบ ภ.ง.ด.90/91 ถ้าบริจาคให้ใส่รหัสพรรคการเมืองที่ต้องการบริจาค และ สามารถค้นหารหัสพรรคการเมืองจากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง www.ect.go.th หรือกรมสรรพากร www.rd.go.th หากไม่ระบุความประสงค์ หรือไม่ระบุรหัสพรรคการเมือง ไว้ในช่องที่กำหนดถือว่า ไม่ได้แสดงเจตนาบริจาค 
                2. การแสดงเจตนาบริจาคเงินภาษีให้แก่รหัสพรรคการเมืองตาม 1. จะบริจาคได้เพียง 1รหัสพรรคการเมือง โดยบริจาคได้ปีละ 100 บาท และจะแสดงเจตนาบริจาคได้เมื่อผู้บริจาคมีเงินภาษีที่ต้องเสีย ตั้งแต่ 100 บาท ขึ้นไป
                3. การแสดงเจตนาบริจาคเงินภาษีให้แก่รหัสพรรคการเมืองตาม 1. ห้ามมิให้นำไปหักเป็นค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร
                4. ผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิระบุการแสดงเจตนาบริจาคเงินภาษีให้แก่รหัสพรรคการ เมืองในแบบแสดงรายการ ให้ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้
                      (1) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ฝ่ายที่มีเงินได้เป็นผู้ระบุความประสงค์ในแบบแสดงรายการภาษี
                      (2) กรณีสามีหรือภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีสิทธิระบุความประสงค์ในแบบแสดงรายการภาษี

  • คำถาม : หลังจากได้ดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 แล้วจะสามารถทราบได้อย่างไรว่า กรมสรรพากรได้รับแบบฯ แล้ว และถือว่าการยื่นแบบฯ นั้นเสร็จสมบูรณ์
    คำตอบ : เมื่อทำรายการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตเสร็จสมบูรณ์ กรมสรรพากรจะยืนยันข้อมูลและตอบรับการยื่นแบบฯ โดยแจ้งผลการยื่นแบบพร้อมหมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบให้ทราบทันทีที่หน้าจอ และหากมีภาษีที่ต้องชำระ การยื่นแบบฯ จะเสร็จสมบูรณ์เมื่อได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรเรียบ ร้อยแล้ว
  • คำถาม : ภายหลังจากได้ดำเนินการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90/91 จะสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินและแบบฯ ได้เมื่อใดและ หากยังไม่ได้ดำเนินการจัดพิมพ์จะสามารถจัดพิมพ์ได้จนถึงเมื่อใด
    คำตอบ : สำหรับผู้ที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถดำเนินการจัดพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน และแบบฯ ด้วยตนเองได้ทางเว็บไซต์ ภายหลังจากวันที่ยื่นแบบฯ 2 วันทำการ โดยเลือกหัวข้อ "พิมพ์แบบฯ / ใบเสร็จ" และ Log in เข้าสู่ระบบด้วยหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน ให้สังเกตวันที่ที่ปรากฏอยู่หน้าจอว่า สามารถพิมพ์ได้ถึงวันที่เท่าใด (สำหรับการพิมพ์แบบฯ สามารถพิมพ์ได้ทันทีที่ทำรายการเสร็จ แต่ถ้าหากออกจากหน้าจอพิมพ์แบบฯ มาแล้วจะต้องรอให้ประมวลผลเสียก่อนประมาณ 2 วันทำการ) ทั้งนี้ สามารถจัดพิมพ์ใบเสร็จรับเงินและแบบฯ ย้อนหลังได้ไม่เกิน 1 ปี หากประสงค์จะพิมพ์แบบฯ หลังจากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว สามารถดำเนินการติดต่อขอคัดแบบฯ ได้ที่สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร
  • คำถาม : ในกรณีที่พบว่ารายการข้อมูลการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ไม่ถูกต้อง ต้องดำเนินการอย่างไร
    คำตอบ : กรณีที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อมาภายหลังพบว่าข้อมูลที่แจ้งไว้นั้นไม่ถูกต้อง สามารถดำเนินการได้ดังนี้

              1. กรณีที่เป็นแบบฯ ที่มีภาษีชำระแต่ยังไม่ได้ชำระ ให้ Log in เข้าสู่ระบบจะปรากฏสถานะแบบค้างชำระให้ Double Click ที่ หมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบ จะปรากฏแบบฯ ขึ้นมา ให้ทำการยกเลิกการยื่นแบบฯ ฉบับนั้น โดยกดปุ่ม “ยกเลิกการยื่นแบบ” (ที่ด้านล่างของแบบ) แล้วทำการยื่นแบบฯ ใหม่
              2. กรณีที่เป็นแบบฯ ที่มีภาษีชำระและได้ชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว หรือเป็นแบบฯ ที่ไม่มีภาษีชำระ หรือเป็นแบบฯ ที่มีเงินคืนภาษี ถือว่าการยื่นแบบเสร็จสมบูรณ์ ไม่สามารถดำเนินการยกเลิกการยื่นแบบฯ ได้ ให้ทำรายการยื่นแบบฯ ใหม่โดยการ Log in เข้าสู่ระบบ และบันทึกรายการ ข้อมูลใหม่ทั้งหมด โดยกรมสรรพากรจะถือว่าแบบฯ ที่ยื่นฉบับล่าสุดเป็นแบบฯ ที่ถูกต้องที่สุด แต่หาก เป็นแบบฯ ที่มีเงินคืนภาษีจะทำให้การได้รับเงินคืนช้าลงเล็กน้อย เพราะเป็นแบบฯ ที่ติดเงื่อนไข เนื่องจากมีการยื่นแบบฯ มากกว่าหนึ่งฉบับในปีภาษีเดียวกัน

  • คำถาม : ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 แล้ว หากพบว่าที่อยู่ที่แจ้งไว้ไม่ถูกต้องซึ่งอาจทำให้ไม่ได้รับเช็คคืนภาษี จากกรมสรรพากร ต้องดำเนินการอย่างไร
    คำตอบ : ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต หากที่อยู่ที่แจ้งไว้ไม่เป็นปัจจุบัน หรือต้องการเปลี่ยนแปลงให้เป็นที่อยู่ที่สะดวกในการติดต่อ สามารถแก้ไขได้ทันทีที่หน้าจอก่อนทำรายการยื่นแบบฯ เท่านั้น หากดำเนินการยื่นแบบฯ เสร็จเรียบร้อยแล้วจะไม่สามารถแก้ไขที่อยู่ได้ ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะจัดส่งหนังสือแจ้งคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาพร้อมเช็คไปให้ทาง ไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้กับกรมสรรพากร ซึ่งหากไม่มีผู้รับไปรษณีย์จะส่งคืน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (จังหวัด) ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏตามแบบฯ ดังนั้น ผู้ขอคืนสามารถติดต่อขอรับเช็คฉบับดังกล่าวได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (จังหวัด) ฝ่ายคืนเงินภาษี
  • คำถาม : การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต หากวันสุดท้ายของการยื่นแบบฯ ตรงกับวันหยุดราชการสามารถยื่นแบบฯ ในวันถัดไปได้หรือไม่
    คำตอบ : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถยื่นแบบฯ ได้ตามเวลาที่กฎหมายกำหนดทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และหากวันสุดท้ายของการยื่นแบบฯ ตรงกับวันหยุดราชการ สามารถยื่นแบบฯ ได้ในวันทำการถัดไป แต่หากเป็นแบบฯ ที่มีภาษีชำระต้องทำรายการยื่นแบบและชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อนเวลา 22.00 น. ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการสิ้นสุดระยะเวลาในการให้บริการของหน่วยรับชำระภาษีที่เลือก เช่น ธนาคาร / ไปรษณีย์ / ATM
  • คำถาม : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องนำส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการหักค่าลดหย่อนให้กรมสรรพากรหรือไม่ และหากไม่ต้องนำส่งต้องเก็บรักษาเอกสารไว้นานเท่าใด และกรมสรรพากรมีวิธีการตรวจสอบข้อมูลอย่างไร
    คำตอบ : การยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ตไม่ต้องนำส่งเอกสารหลักฐานแต่อย่างใด แต่ผู้เสียภาษียังคงต้องเก็บรักษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการลดหย่อนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี กรณีมีเหตุสงสัย เจ้าหน้าที่สรรพากรอาจขอตรวจสอบดูเอกสารหลักฐาน จะต้องนำมาแสดงตามที่ได้ใช้สิทธิ์ไว้ ซึ่งกรมสรรพากรมีระบบการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายในและภายนอก ดังนั้น หากข้อมูลใดไม่สามารถสืบค้นได้ จึงจะขอดูเอกสารหลักฐานเฉพาะบางประเด็นที่จำเป็นเท่านั้น
  • คำถาม : ทำไมวันที่ 1 เมษายน 2552 ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ตไม่ได้ และต้องชำระค่าปรับอย่างไร
    คำตอบ : เนื่องจากการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการให้บริการสำหรับการยื่นแบบฯ ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ 31 มีนาคม 2552 เมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 แล้วต้องไปยื่นแบบฯ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเท่านั้น และต้องเสียค่าปรับดังนี้

                 ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 100 บาท
                 เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 200 บาท
       หากมีเงินภาษีต้องชำระ ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย

  •  

    ที่มา..กรมสรรพากร

    คำแนะนำในการยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด.90, 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

    ภ.ง.ด. 90 คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป
    ภ.ง.ด. 91 คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน
    ++ ดาวน์ โหลดแบบฟอร์มการยื่นภาษีเงินได้แบบบุคลธรรมดา (ยื่นภายในวันที่ 31 มีนาคม) , วิธีการกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90, 91 , การหักลดหย่อนเงินภาษี
    ภาษี,ยื่นแบบชำระภาษี, ภงด90, ภงด91
    การลงทะเบียน
    1. ต้องเปิดเว็ปไซต์โดยใช้ Internet Explorer เวอร์ชั่น 6 เท่านั้น
    2. ต้องลงทะเบียนใหม่ ทุกราย เลือกเมนู “ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตคลิ๊กที่นี่” เลือก “ลงทะเบียน”
    3. การลงทะเบียนจะต้องกรอกชื่อ/ชื่อสกุล ของบิดา มารดา
    4. การเลือกคำถาม จะ ต้องจำ คำตอบที่เลือกให้ได้ เพราะหากท่านลืมรหัสผ่าน ท่านต้องใช้คำถาม/ คำตอบเดิม ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ หากจำคำตอบไม่ได้ จะไม่สามารถทำรายการต่อได้อีก (เป็นระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเอง)
    5. กรณีลืมรหัสผ่าน และไม่สามารถจดจำคำตอบได้
    ให้ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมกับระบุว่า “ขอยกเลิกการลงทะเบียน ภ.อ.01 เนื่องจากลืมคำถาม/คำตอบที่ได้เคยระบุไว้” และส่งโทรสารไปที่หมายเลข 0-2617-3463 จึงจะสามารถลงทะเบียนได้อีกครั้งในวันถัดไป
    หรือติดต่อสรรพากรตามนี้ลิงค์นี้ http://www.rd.go.th/publish/28911.0.html
    6. กรณีชาวต่างชาติพบว่า ชื่อ-ชื่อสกุล หรือ วันเดือนปีเกิดไม่ตรงกับฐานข้อมูลขอให้ยื่น คำร้อง ล.ป.10.1 ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่/พื้นที่สาขา ตามที่อยู่ที่ทำงานของชาวต่างชาติ เพื่อติดต่อหน่วยงานผู้ออกบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรทำการแก้ไขฐานข้อมูล ให้ถูกต้อง
    7. กรณีชาวต่างชาติลงทะเบียนด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ไม่ต้องกรอกชื่อ บิดา/มารดา แต่หากเป็นคนต่างด้าวที่มีเลขประจำตัวประชาชน ต้องกรอกชื่อ-ชื่อสกุลบิดา/มารดา
    การกรอกแบบ
    1. ต้องระบุสถานะของผู้มีเงินได้ และข้อมูลของคู่สมรส ให้ครบถ้วน
    1.1 คู่สมรสเป็นคนไทย ให้ระบุเลขประจำตัวประชาชน โดยไม่ต้องกรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
    1.2 คู่สมรสเป็นคนต่างด้าว และมีเงินได้ ต้องกรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษี แทนเลขบัตรประจำตัวประชาชน
    1.3 คู่สมรส เป็นคนต่างด้าว และไม่มีเงินได้ ให้เลือกระบุ “ไม่มีเงินได้” แล้วจึงเลือก “ต่างด้าว” พร้อมระบุเลขหนังสือเดินทาง และสัญชาติ (จะต้องเลือก “ไม่มีเงินได้”ระบบจึงจะให้ระบุว่าเป็น “ต่างด้าว” ได้)
    2. ช่องรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องกรอกตัวเลขจำนวนเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายให้ถูกต้อง แต่ถ้าไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ต้องใส่ 0.00
    3. เพิ่ม รายการให้กรอกเกี่ยวกับ “ผู้จ่ายเงินได้” ต้องบันทึกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือเลขประจำตัวประชาชนของผู้จ่ายเงินได้ ทุกประเภทของเงินได้ที่ได้รับ อย่างน้อย 1 ราย
    4. ค่าลดหย่อนประกันสังคมให้กรอกเฉพาะผู้มีเงินได้ตาม ม.40(1) เท่านั้น และหักลดหย่อนได้ตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม คือไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินได้ และไม่เกิน 9,000 บาท ( ห้ามปัดเศษทศนิยมขึ้น)
    การตรวจสอบว่ายื่นแบบ ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91 ผ่านหรือไม่
    1. ตรวจสอบที่ >> http://www.rd.go.th/ >> ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตคลิกที่นี่ >> ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 >> ใส่หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน หาก
    1.1 ยื่นแบบปกติผ่านแล้ว ระบบจะมีข้อความแจ้งว่า ท่านได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ปี 2550 ผ่าน Internet แล้ว
    1.2 ไม่มีข้อความเตือน แสดงว่ายังยื่นแบบปกติไม่ผ่าน
    2. กรณีทำรายการเร็วมาก เข้าไปถึงหน้าแบบฯ เลย วิธีการตรวจสอบอีกขั้นหนึ่งคือ ดูในส่วน ก ระหว่างข้อ 15 และ 16 หากมีเครื่องหมาย ü ระบุว่า ยื่นแบบฯเพิ่มเติม ให้อัตโนมัติ แสดงว่ายื่นแบบปกติผ่านแล้ว
    หมายเหตุ : ตรวจสอบได้เฉพาะ การยื่นแบบปกติ เท่านั้น
    การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91 เพิ่มเติม
    1. ต้องกรอกรายการในส่วน ก. ข้อ 18 โดย
    1.1 กรณีแบบฯที่ยื่นไว้ก่อนเป็นแบบฯที่มีภาษีชำระให้ระบุจำนวนเงินที่ชำระตามแบบที่ยื่นไว้ก่อนนั้น
    1.2 กรณีเป็นแบบฯที่ขอคืนหรือไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ให้ใส่ 0.00
    2. การยื่นแบบฯเพิ่มเติม จะไม่สามารถ แก้ไข ชื่อ/นามสกุล และที่อยู่ได้ เพราะถือว่าท่าน แจ้งความประสงค์ไว้แล้วในการยื่นแบบปกติ(ฉบับแรก)
    การชำระภาษี
    1. เมื่อยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ต้องชำระภาษี ตามช่องทาง ที่ระบุไว้บนระบบเท่านั้น ไม่สามารถ นำเงินไปชำระที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
    2. เมื่อทำรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ทางอินเทอร์เน็ตแล้ว จะพิมพ์แบบดังกล่าวออกมานำไปใช้ยื่นแบบฯที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ไม่ได้
    3. การชำระภาษีสำหรับการยื่นแบบฯผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องชำระภาษีทั้งจำนวน ไม่สามารถ ขอผ่อนชำระเป็นงวดๆได้
    4. เมื่อเลือกช่องทางการชำระภาษีไปแล้ว หากไม่สะดวกที่จะใช้ช่องทางดังกล่าว ด้วยเหตุประการใดๆ ก็ตาม ท่านสามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงินได้
    โดย เข้าเวปไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th/ >> ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตคลิกที่นี่ >> ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 >> ใส่หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน จะปรากฏ รายการค้างชำระ ให้เลือกเข้าไปในแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ แบบ ภ.ง.ด.91 โดยคลิ๊กที่ “หมายเลขอ้างอิง” จะปรากฏแบบแสดงรายการ เมื่อเข้าสู่หน้าจอแบบ ให้เลื่อนลงไปล่างสุด แล้วกดปุ่ม ตกลง จะเข้าสู่หน้าจอการชำระเงิน ให้เลือกช่องทางการชำระเงินที่ต้องการใหม่ได้ โดยไม่ถือว่าซ้ำซ้อนใดๆ